บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) ใช้แบบแผนการทดลองแบบเดียวสอบก่อนเรียน-สอบหลังเรียน (One-Group Pretest – Posttest Design) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการเลือกวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี จำนวน 38 คน โดยให้กลุ่มตัวอย่างเรียนด้วยบทเรียนการพัฒนาเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี ซึ่งจะต้องทำแบบทดสอบก่อนเรียน ศึกษาเนื้อหาบทเรียน เมื่อเรียนจบในแต่ละบทเรียนจะต้องทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียนทุกหน่วยจนครบ 2 หน่วยการเรียน และทำแบบทดสอบหลังเรียน เมื่อเรียนจบครบทุกบทเรียน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการหาประสิทธิภาพของบทเรียนและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนและวัดระดับความ พึงพอใจจากแบบสอบถามผู้เรียน
สรุปผลการวิจัย
หลังจากที่ได้ดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี สรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้
- ประสิทธิภาพของบทเรียนการพัฒนาเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี ดังนี้
เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี มีประสิทธิภาพ 91.05/90.68 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ คือ 85/85 หมายถึง ผลการทดลองนี้พบว่าผู้เรียนสามารถทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียน เรื่อง การปรับแต่งสีให้กับภาพ ได้คะแนนเฉลี่ย 18.21 และสามารถทำแบบทดสอบหลังเรียนได้คะแนนเฉลี่ย 45.34 แสดงว่า เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิกของนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรีมีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอนได้ - การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้บทเรียน การพัฒนาเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี ดังนี้
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยการเรียนด้วยเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ยจะเห็นว่า คะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนจากการทำแบบทดสอบ หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 45.34 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียน ซึ่งมีค่าเท่ากับ 22.34 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานคะแนนสอบก่อนเรียนมีค่าเท่ากับ 4.19 มีการกระจายมากกว่า ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานคะแนนสอบหลังเรียนมีค่าเท่ากับ 1.10 ค่า t-test ตารางมีค่าเท่ากับ -33.024 แสดงให้เห็นว่า การเรียนด้วยเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น - ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนการพัฒนาเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI)วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี ดังนี้
ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อต่อการเรียนโดยใช้เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี โดยรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่ผู้เรียนมีความพึงพอใจมากที่สุด คือ ความชัดเจนของข้อคำถาม คำตอบ
รองลงมา คือ ภาพชัดเจนสวยงามง่ายต่อการเข้าใจ
และข้อที่ผู้เรียนมีระดับความพึงพอใจเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ เนื้อหาครอบคลุมหลักสูตร
และ ระยะเวลาในการเรียนแต่ละหัวข้อเหมาะสม
สรุปได้ว่าเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี ที่สร้างขึ้นในการวิจัยครั้งนี้มีประสิทธิภาพที่สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้ตรงตามสมมติฐานการวิจัย
การอภิปรายผล
ผลจากการวิจัย เรื่อง การพัฒนาเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชา การใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี สามารถนำมาอภิปรายผลการวิจัยได้ดังต่อไปนี้
- ด้านการทดสอบประสิทธิภาพของบทเรียนการพัฒนาเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ กล่าวคือ ประสิทธิภาพของบทเรียนเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี ผู้เรียนได้คะแนนเฉลี่ยของแบบฝึกหัดระหว่างเรียนมีค่าเท่ากับ 91.05 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (E1) และคะแนนเฉลี่ยแบบทดสอบหลังเรียนมีค่าเท่ากับ 90.68 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (E2) และเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพของเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี คะแนนแบบฝึกหัดระหว่างเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนที่ผู้เรียนทำได้มีค่าเท่ากับ 91.05/90.68 สูงกว่าเกณฑ์ 85/85 ที่กำหนดไว้เป็นเพราะการดำเนินการพัฒนาและประเมินได้เป็นไปตามขั้นตอน ตั้งแต่การวิเคราะห์เนื้อหา การสร้างแบบทดสอบ การออกแบบบทเรียน โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา และด้านเทคนิควิธีการตรวจสอบทุกขั้นตอนจากการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน พบว่า บทเรียนการพัฒนาเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี มีส่วนกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความตั้งใจและสนใจเรียนมากกว่าการเรียนรู้ในลักษณะมีผู้สอนเป็นผู้บรรยาย เพราะว่าการจัดการบทเรียนผู้เรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหามากยิ่งขึ้นด้วยคุณลักษณะขององค์ประกอบของมัลติมีเดีย โดยนำเสนอเนื้อหาในแบบข้อความ เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว การสร้างสรรค์ชิ้นงานด้านมัลติมีเดีย จำเป็นต้องถ่ายทอดจินตนาการจากสิ่งที่ยากให้เป็นสิ่งที่ง่ายต่อการรับรู้ ผู้เรียนยังได้รับประโยชน์และเพลิดเพลิน จึงไม่เกิดความเบื่อหน่ายในการเรียนรู้ ช่วยเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้เรียนมากขึ้น ผู้เรียนสามารถปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกับบทเรียนได้ในที่สุด ก็จะเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้และเพื่อตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนได้ สอดคล้องกับงานวิจัยของศศิกัญชณา เย็นเอง (2549) ได้ทำการวิจัยเรื่อง เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สำหรับใช้ในการเรียนการสอนวิชา สถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ระดับปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (นานาชาติ) ผลการวิจัยปรากฏว่า เว็บช่วยสอนที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 86.44/85.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 85/85 ผู้เรียนสามารถทำแบบฝึกหัดของบทเรียนทั้ง 6 โมดูลได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ86.44 และสามารถทำแบบทดสอบ หลังเรียน ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 85.00 นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับงานวิจัยของสุรภี เทพานวล (2550) ได้ทำวิจัยเรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานประดิษฐ์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 ผลการวิจัยปรากฏว่า ผลการทดลองหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย ทั้ง 2 ตอน มีประสิทธิภาพโดยรวมเป็น 89.11/88.56 โดยตอนที่ 1 เป็น 89.56/89.72 ตอนที่ 2 เป็น 88.67/87.41 ซึ่งได้ประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 85/85 และทุกขั้นตอนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้เช่นกัน
- การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้วิธีการทดสอบทางสถิติ t-test ปรากฏว่าค่า t-test ที่ได้จากตารางมีค่าเท่ากับ 33.02 แสดงว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนจาก เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนการเรียนด้วยเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก ของนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 df.37 เมื่อพิจารณาจากผลคะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนจากการทำแบบทดสอบหลังเรียน มีค่าเท่ากับ 45.34 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียนซึ่งมีค่าเท่ากับ 22.34 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรีทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น จากการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนพบว่า ผู้เรียนตั้งใจเรียนรู้จากเนื้อหาตลอดเวลา เพราะมีกิจกรรมที่กำหนดให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน ส่วนการนำเสนอเนื้อหาใช้เสียงบรรยายมาประกอบกับภาพเคลื่อนไหว เนื่องจากเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี เป็นลักษณะนามธรรม ไม่สามารถอธิบายให้เกิดภาพได้ จึงต้องการให้ผู้เรียนได้เห็นภาพอย่างชัดเจน เป็นขั้นตอน เข้าใจง่าย ทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเนื้อหาตรงกันและสามารถกลับไปเรียนซ้ำตรงหน่วยการเรียนที่ยังไม่เข้าใจได้อีก ก่อนที่จะลงมือทำแบบทดสอบ ซึ่งเหมาะกับการแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดีกับการเรียนแบบปกติ ซึ่งจะใช้การบรรยายประกอบกับสื่อภาพ สื่อสไลด์ อาจทำให้ผู้เรียนเกิดความไม่เข้าใจในบางจุดได้ ผลการวิจัยการพัฒนาเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี สามารถช่วยเสริมการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ วีระยุทธ์ ช่วยอุปการ (2553) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียแบบมีปฏิสัมพันธ์ เรื่องไทร์สเตอร์ ทดลองกับกลุ่มตัวอย่างระดับ ปวช.1 แผนกช่างอิเล็คทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคระยอง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกสุ่มอย่างง่าย ผลการวิจัยปรากฏว่า คะแนนการทดสอบหลังการเรียน มีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้วยการคำนวณจากสูตรหาค่า t-test ที่ได้จากการคำนวณมีค่าเท่ากับ 22.59 ซึ่งมากกว่าที่ได้จากตารางที่ระดับนัยสำคัญ .05 มีค่าเท่ากับ 2.03 และเมื่อพิจารณาผลคะแนนสอบหลังเรียน ปรากฏว่าคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบมีค่าเท่ากับ 45.34 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยที่ได้จากการทดสอบก่อนเรียน ซึ่งมีค่าเท่ากับ 22.34 คะแนน แสดงว่า ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนซึ่งมีค่าเท่ากับ 45.34 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยที่ได้จากการทดสอบก่อนเรียน ซึ่งมีค่าเท่ากับ 22.34 คะแนน แสดงว่า ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับงานวิจัยของ นิตยา มณีนิล (2550) ได้ทำวิจัยเรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์แบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รายวิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบ 1 เรื่อง UNIFIEDMODELLING LANGUAGE (UML) และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของบทเรียนที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มาจากประชากรที่เป็นนักศึกษาโปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ระดับชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษที่ลงทะเบียนรหัสวิชา 4122502 จำนวน 53 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง ผลการวิจัยปรากฏว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนแบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบ 1 เรื่อง UNIFIED MODELLING LANGUAGE (UML) พบว่า ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาผลคะแนนสอบหลังเรียนปรากกว่า คะแนนร้อยละเฉลี่ยจากการทดสอบท้ายบทเรียนเท่ากับ 91.87 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยรวมที่ได้จากการทดสอบก่อนเรียน ซึ่งมีค่าเท่ากับ 52.02 คะแนน ให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- ผลการหาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี มีจำนวนผู้เรียน 38 คน ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.46 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.26 ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับดี โดยมีความพึงพอใจในด้านของเนื้อหาการดำเนินเรื่อง ภาพ ภาษา เสียง ตัวอักษร สี แบบทดสอบและการจัดการบทเรียน เนื่องจากเว็บ ช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิกของนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี ซึ่งเป็นสิ่งแปลกใหม่สำหรับผู้เรียน จึงไม่สึกเบื่อหน่ายต่อการเรียนด้วยตนเองและมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับบทเรียน ผู้เรียนจึงมีความเข้าใจในเนื้อหาได้ดีขึ้น ทำให้ความพึงพอใจของผู้เรียนอยู่ในระดับดี สอดคล้องกับงานวิจัยของบุษราคัม ทองเพชร (2549) ได้ทำวิจัยเรื่อง พัฒนาและหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) กลุ่มตัวอย่างจำนวนผู้เรียน 30 คน ผลการวิจัยปรากฏว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาคณิตศาสตร์ มีประสิทธิภาพ 88.42/87.56 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาผลคะแนนสอบหลังเรียน ปรากฏว่า คะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบมีค่าเท่ากับ 26.27 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยที่ได้จากการทดสอบก่อนเรียน ซึ่งมีค่าเท่ากับ 9.97 ค่า t-test ที่ได้จากการคำนวณมีค่าเท่ากับ 17.23 ซึ่งมากกว่าค่าที่ได้จากตารางระดับนัยสำคัญที่ระดับ .05 มีค่าเท่ากับ 1.699 และความคิดของผู้เรียนที่มีต่อการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ โดยมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.05 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.78 ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับดี
จากการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่า การพัฒนาเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี สามารถนำไปใช้กับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อเสนอแนะการวิจัย
ข้อเสนอแนะเพื่อการนำผลการวิจัยไปใช้
- การจัดเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนด้วยเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรีจะต้องมีการเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เพียงพอกับจำนวนผู้เรียน
- การนำเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรีจำเป็นจะต้องมีการอธิบายวิธีการใช้ให้กับผู้เรียนก่อน เพื่อผู้เรียนได้เรียนด้วยเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี ได้อย่างถูกต้อง
- การพัฒนาเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี มีการวางแผนตามลำดับขั้นตอน เพื่อสะดวกในการแก้ไขข้อบกพร่องตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ด้านเทคนิคและวิธีการและอาจารย์ที่ปรึกษา จะทำให้การพัฒนาบทเรียนง่ายต่อการสร้างมากขึ้น
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
- ควรเพิ่มเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) กับรายวิชาอื่น เพื่อใช้เป็นสื่อที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น
- ควรมีการประมวลผลให้หลากหลายมากขึ้น เช่น การจับคู่การตอบคำถาม การเติมคำในช่องว่าง เพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเรียนและรู้สึกอยากทำมากขึ้น
- ควรศึกษารูปแบบการเรียนรู้ในรูปแบบอื่น เพื่อให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันมากขึ้น โดยการสอดแทรกกิจกรรม เช่น แบบเกมการแข่งขัน การจูงใจด้วยรางวัล หรือคะแนน จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลายมากขึ้น