บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

     การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ     การพัฒนาหาประสิทธิภาพ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนหาความ พึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทดลอง ดังนี้

  1. ประสิทธิภาพเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี
  2. เปรียบเทียบคะแนนผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี
  3. การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี

ประสิทธิภาพเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี

     การหาประสิทธิภาพเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์โดยเปรียบเทียบจากคะแนนจากแบบทดสอบหลังเรียน จำนวน 38 คน ได้ผลดังตารางที่ 3

ตารางที่ 3 การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของบทเรียนเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี หน่วยที่ 10 และหน่วยที่ 11

  แบบทดสอบ คะแนนเต็ม คะแนนรวม ประสิทธิภาพ
ระหว่างเรียน (E1) 760 692 18.21 91.05
หลังการเรียน (E2) 1900 1723 45.34 90.68

     จากตารางที่ 3 แสดงให้เห็นว่าเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี มีประสิทธิภาพ 91.05/90.68 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ คือ 85/85 หมายถึง ผลการทดลองนี้ พบว่า ผู้เรียนสามารถทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียน หน่วยที่ 10 และหน่วยที่ 11 วิชา การใช้โปรแกรมกราฟิก ได้คะแนนเฉลี่ย 18.21 และสามารถทำแบบทดสอบหลังเรียนได้คะแนนเฉลี่ย 45.34 แสดงว่า การพัฒนาเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิกของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรีมีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอนได้ (รายละเอียดแสดงในภาคผนวก ง หน้า 131-135 )

การเปรียบเทียบคะแนนผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี

     จากการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนระหว่างคะแนนสอบก่อนเรียน และคะแนนสอบที่ได้จากการทำแบบทดสอบท้ายบทเรียนของผู้เรียนมาวิเคราะห์หาผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้สถิติ แบบ t-test แบบจับคู่ (Matched-paired T-test) สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลปรากฏดังในตารางที่ 4

ตารางที่ 4 ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์  ทางการเรียนก่อน -หลังการจัดการเรียนรู้เป็นรายหน่วยจำนวน 2 หน่วย ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง 38 คน

คะแนนทดสอบก่อนเรียน

(50 คะแนน)

คะแนนทดสอบหลังเรียน

(50 คะแนน)

ค่าความแตกต่าง

ทางการเรียน

ค่า t
S S D %
22.34 4.19 45.34 1.09 23 46 33.02

n = 38 ค่า t จากตาราง t-distribution critical values ที่ df (n-1) = 37
* นัยสำคัญที่ระดับ .05 มีค่า = 1.689

     จากตารางที่ 4 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้เว็บช่วยสอนระบบ
มัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 พบว่า มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน 22.34 (= 22.34 ) มีผลคะแนนหลังเรียน มีคะแนนเฉลี่ย 45.34 (= 45.34) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  สูงกว่าก่อนเรียน คะแนนเฉลี่ย 23.00 (= 23.00) และค่า t ที่จากการคำนวณ (33.024) สูงกว่าค่า t ที่เปิดจากตาราง 1.689 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

     สรุปได้ว่า เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิกสำหรับนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น (รายละเอียดแสดงในภาคผนวก ข หน้า130) สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ   ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี

     ผู้วิจัยได้ทำแบบประเมินความพึงพอใจสำหรับผู้เรียน 38 คน ที่มีต่อเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิกของนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรีดำเนินการโดยให้ผู้เรียนทำแบบประเมินความพึงพอใจหลังจากที่ผู้เรียนได้ทำการศึกษาจนครบทุกบทเรียน เรียบร้อยแล้ว สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ซึ่งผลที่ได้จากการประเมินแสดงในตารางที่ 5

ตารางที่  5 ผลการประเมินคุณภาพความพึงพอใจของกลุ่มผู้เรียนด้วยเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมของนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี

ผู้เชี่ยวชาญ N S.D. ระดับความพึงพอใจ
      ผู้เรียน 38 4.46 0.26 ดี

     จากตารางที่  5 แสดงให้เห็นว่าผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย(MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก ของนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี  ผู้เรียนจำนวน 38 คน มีค่าโดยเฉลี่ยรวมมีค่าเท่ากับ 4.46 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.26 ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับดี (รายละเอียดแสดงในภาคผนวก ง หน้า 131-135 )

ตารางที่ 6 ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี

อันดับที่ รายการข้อคำถาม ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับ

ความพึงพอใจ

() (S.D.)
1. ความชัดเจนของวัตถุประสงค์ 4.42 0.55 มาก
2. สามารถเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์ 4.47 0.56 มาก
3. เนื้อหาครอบคลุมหลักสูตร 4.34 0.67 มาก
ตารางที่ 6 (ต่อ)
อันดับที่ รายการข้อคำถาม ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับ

ความพึงพอใจ

() (S.D.)
4. เนื้อหาอ่านเข้าใจง่าย 4.47 0.65 มาก
5. การเรียงลำดับของเนื้อหาสอดคล้องเหมาะสม 4.39 0.75 มาก
6. ปริมาณของเนื้อหาแต่ละหน่วยมีความเหมาะสม 4.45 0.50 มาก
7. ภาพชัดเจนสวยงามง่ายต่อการเข้าใจ 4.63 0.49 มากที่สุด
8. เสียงอธิบายชัดเจนง่ายต่อการเข้าใจ 4.39 0.68 มาก
9. แบบฝึกหัดช่วยให้เข้าใจบทเรียนง่ายขึ้น 4.42 0.72 มาก
10. ความชัดเจนของข้อคำถาม คำตอบ 4.63 0.54 มากที่สุด
11. ความเหมาะสมของกิจกรรมกับเวลาที่กำหนด 4.47 0.51 มาก
12. เกณฑ์การให้คะแนนมีความชัดเจน 4.58 0.50 มากที่สุด
13. การประเมินผลตามสภาพจริงที่เน้นการเรียนรู้ 4.45 0.50 มาก
14. ระยะเวลาในการเรียนแต่ละหัวข้อเหมาะสม 4.39 0.59 มาก
15. กระบวนการจัดการเรียนรู้ 4.42 0.55 มาก
เฉลี่ยทุกข้อ 4.46 0.26 มาก

     จากตารางที่ 6 ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อต่อการเรียนโดยใช้เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย(MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.46, S.D. = 0.26) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่ผู้เรียนมีความพึงพอใจมากที่สุด คือ ความชัดเจนของข้อคำถามคำตอบ (= 4.63, S.D. = 0.54) รองลงมา คือ ภาพชัดเจนง่ายต่อความเข้าใจ (= 4.63, S.D. = 0.49) และเกณฑ์การให้คะแนนมีความชัดเจน(= 4.58, S.D. = 0.50) และข้อที่ผู้เรียนมีระดับความพึงพอใจเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ เนื้อหาครอบคลุมหลักสูตร (= 4.34, S.D. = 0.67) เสียงอธิบายชัดเจนง่ายต่อการเข้าใจ (= 4.39, S.D. = 0.68) และการเรียงลำดับของเนื้อหาสอดคล้องเหมาะสม (= 4.39, S.D. = 75)