Category Archives: ไม้ดอกไม้ประดับ พืชผัก ไม้ผล ความหลากหลายทางชีวภาพ

บัวสวรรค์…ไม้พุ่มดอกสวยมีกลิ่นหอม

ผศ.วิชัย  ปทุมชาติพัฒน์


ความนำ ผู้เขียนได้รับคำถามอยู่เสมอทั้งในสถานที่ต่างๆและทั้งการสื่อสารเข้ามาถามเกี่ยวกับไม้พุ่มดอกสวยต้นนี้ “บัวสวรรค์” หรือ “กัตตาเวีย” เป็นไม้ดอกที่มีถิ่นกำเนิดมาจากตะวันออกกลาง แอฟริกาตะวันออก โคลัมเบีย และปานามา ซึ่งเป็นประเทศในเขตร้อนชื้น ดังนั้นการนำบัวสวรรค์มาปลูกในเมืองไทยจึงสามารถเจริญเติบโตได้ดี ออกดอกดกและสวยงามน่าประทับใจผู้ปลูกเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งมีกลิ่นหอมชวนดม ทรงพุ่มสวยงามตามธรรมชาติ มีความสูงพอเหมาะที่จะปลูกเป็นไม้ประดับ สำหรับผลสวยๆรูปร่างคล้ายฝักบัวนั้นก็มีเมล็ดขนาดใหญ่หลายเมล็ด สามารถแกะออกมาจากผลที่แก่จัดนำมาเพาะกล้าไปปลูกเพิ่มเติม หรือแจกจ่ายให้เพื่อนฝูง รวมทั้งอาจตอนกิ่งขายได้

 

บัวสวรรค์

ชื่อวิทยาศาสตร์  Gustavia gracillima Miers

ชื่อวงศ์  LECYTHIDACEAE

ชื่อสามัญ  Gustavia, Gutzlaffia

ชื่ออื่น บัวฝรั่ง

ฤดูการออกดอก ออกดอกช่ในฤดูฝน

ถิ่นกำเนิด ตะวันออกกลาง แอฟริกาตะวันออก โคลัมเบีย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่ม หรือหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 2-5 เมตร ไม่ผลัดใบ เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้ม ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านในระดับต่ำ ทรงพุ่มแน่น มักออกดอกในทรงพุ่ม  จะมีปุ่มปมหลายขนาดปรากฏอยู่ทั่วไปรอบลำต้น ผิวลำต้นหยาบขรุขระ ใบเดี่ยวรูปหอก เวียนเรียงสลับเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ขอบใบเป็นคลื่น มีจักฟันเลื่อยตื้นๆบ้างช่วงปลายใบ โคนใบสอบ ปลายใบแหลมยาวคล้ายหาง ผิวใบมันวาวสีเขียว ขนาดใบกว้าง 5-8 ซม. ยาว 13-25 ซม. ดอกเดี่ยว ออกเป็นช่อ ตามซอกใบใกล้ยอด หรือตามกิ่งแก่ในทรงพุ่ม ช่อละ 5-10 ดอก กลีบดอกหนา 8-9 กลีบ ซ้อนเหลื่อมกัน สีชมพูอ่อน ลักษณะค่อนข้างกลม ขอบกลีบเป็นคลื่นหยัก งอ ปลายกลีบจะมีสีชมพูเข้มกว่าโคนกลีบ เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 7-10 ซม. เกสรเพศผู้สีเหลืองก้านสีชมพูจำนวนมากอยู่ตรงกลาง งุ้มเข้าหากันเป็นวงกลม คล้ายดอกบัวหลวง แต่ดอกมักออกซ่อนอยู่ภายในทรงพุ่ม ถ้าไม่สังเกตก็จะไม่พบดอกที่กำลังบาน เมื่อกลีบดอกและเกสรร่วงก็จะติดผลอ่อนสีเขียว ผลจะมีลักษณะคล้ายฝักบัวหลวงหรือรูประฆังคว่ำขนาด 3-4.5 ซม. เมื่อแก่สีน้ำตาลอมเขียว ผิวขรุขระ ภายในผลมีเนื้อสีเหลืองและมีเมล็ดสีดำขนาดใหญ่ 2-3 เมล็ด เมล็ดกลมแต่เบี้ยว ขนาด 0.8-1.5 ซม. ที่ขั้วเมล็ดมีเนื้อสีเหลืองติดอยู่

การขยายพันธุ์ เพาะกล้าจากเมล็ด ปักชำ และตอนกิ่ง ต้นจากการเพาะเมล็ดจะใช้เวลาในการออกดอก ราว 5 ปี การปักชำหรือตอนกิ่งจะออกดอกเร็วกว่ามาก

การดูแลรักษา   เป็นพันธุ์ไม้ที่ดูแลง่าย ทนต่อสภาพแวดล้อม ชอบแสงแดดจัดและน้ำปานกลางถึงมาก หากแสงแดดรำไรจะออกดอกน้อย สีดอกซีด หมั่นรดน้ำพรวนดินในระยะแรกปลูก ให้ปุ๋ยเม็ดสูตรเสมอทุกต้นฤดูฝนก่อนการออกดอก และใส่ปุ๋ยอีกครั้งตอนปลายฤดูฝน

ข้อดีการปลูกของบัวสวรรค์ ดอกสวย มีกลิ่นหอม ใบร่วงน้อยมาก เหมาะที่จะปลูกพลางแสงที่จะเข้าตัวบ้าน

ทั้งทางทิศตะวันออกและตะวันตก   

   

อ้างอิง

1. http://clgc.agri.kps.ku.ac.th/index.php/linkoldfragrant-2/291-gustavia

2. http://maidokmaipradab.blogspot.com/2012/01/buaswan.html

3. https://th.wikipedia.org/wiki

มะกอก…ไม้ป่ามีคุณค่าทางเศรษฐกิจ

ผศ.วิชัย  ปทุมชาติพัฒน์


ความนำ มะกอก มีหลายชนิด ได้แก่ มะกอก(หรือมะกอกป่า) มะกอกฝรั่ง มะกอกน้ำ และมะกอกโอลีฟ แต่ละชนิดก็มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์และความสำคัญแตกต่างกันไป ในบทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะ“มะกอก”ซึ่งมีหลายชื่อ เช่น มะกอกไทย มะกอกป่าเพราะพบในป่าเต็งรังทั่วประเทศไทย บางแห่งเรียกว่า “มะกอกส้มตำ” อันเนื่องมาจากนิยมนำมาใส่ในส้มตำซึ่งทำให้ส้มตำเกิดรสชาติหวานหอมอมฝาด แม้ว่าจะทำให้สีของส้มตำเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลก็ตาม อาหารพื้นเมืองทางเหนือและทางอีสานหลายชนิดจะมีมะกอกเป็นส่วนผสมเพื่อให้ความเปรี้ยงแทนมะนาว เช่น น้ำพริกต่างๆ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่อยู่ห่างไกลจากป่าจะรู้จักมะกอกอย่างผิวเผิน ทั้งที่มะกอกถูกนำมาใช้บริโภคทั้งส่วนที่เป็นยอดอ่อน ผลอ่อน และผลแก่ มะกอกป่ากลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในระดับท้องถิ่นที่มีจำหน่ายในตลาดทุกระดับ บทความนี้จะช่วยเผยแพร่ความรู้เรื่องมะกอกให้รู้จักโดยละเอียด สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษา และสามารถขยายพันธุ์เองได้

 

มะกอก

ชื่อวิทยาศาสตร์  Spondias pinnata (L. f.) Kurz

ชื่อวงศ์ ANACARDIACEAE

ชื่อสามัญ  Hog plum, Wild Mango

ชื่ออื่น กอกกุก กอกเขา  กอกป่า บักกอก มะกอกไทย มะกอกป่า มะกอกส้มตำ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

            ไม้ต้นผลัดใบ สูง 15-25 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม แตกกิ่งก้านโปร่ง กิ่งมักห้อยลง เปลือกต้นเป็นสีเทา หนา เรียบ มีปุ่มปมบ้างเล็กน้อย และมีรูอากาศตามลำต้น กิ่งอ่อนมีรอยแผลการหลุดร่วงของใบ เปลือก ใบ และผลมีกลิ่นหอม ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ปลายใบคี่ ออกเรียงสลับ มีใบย่อยประมาณ 4-6 คู่ ออกตรงข้ามกันหรือเยื้องกันเล็กน้อย ใบเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบแหลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบมนเบี้ยวหรือขอบไม่เท่ากัน ขอบใบเรียบ กว้าง 3-4 ซม. ยาว 7-12 ซม. แผ่นใบนุ่ม หนาเป็นมัน ใบอ่อนเป็นสีน้ำตาลแดง หลังใบเรียบเกลี้ยง ส่วนท้องใบเรียบ มีก้านใบยาว 12-16 ซม. ดอกเป็นแบบแยกเพศแต่อยู่บนต้นเดียวกัน โดยจะออกเป็นช่อแยกแขนงที่ปลายกิ่งหรือออกตามซอกใบ มีดอกย่อยจำนวนมากและมีขนาดเล็ก จะออกดอกในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์  ผลเป็นผลสดแบบมีเนื้อ ฉ่ำน้ำ ลักษณะของผลเป็นรูปไข่ มีขนาดกว้าง 2.5-3.5 ซม. และยาว 4-5.5 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว ส่วนผลแก่เป็นสีเหลืองอมเขียวถึงเหลืองอ่อน มีจุดประสีดำบนผิว มีกลิ่นหอมและมีรสเปรี้ยว ภายในผลมีเมล็ดเดี่ยวขนาดใหญ่และแข็งมาก ผิวเมล็ดเป็นเสี้ยนและขรุขระ มีหลายคัพภะทำให้งอกได้ต้นกล้าหลายต้น

การขยายพันธุ์ เพาะกล้าจากเมล็ด ปักชำ และตอนกิ่ง

ถิ่นกำเนิดดั้งเดิม อยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย

ประโยชน์ 1. ผลอ่อนนำมาฝานบางๆใส่อาหารประเภทยำ ผลสุกนำมาใส่ส้มตำ น้ำพริก ยำ และใช้ประกอบอาหารอื่น ๆ ที่ต้องการรสเปรี้ยว โดยจะมีรสเปรี้ยวและฝาดเล็กน้อยแต่มีกลิ่นหอม เนื้อในของผลสุกนำมาทำน้ำผลไม้หรือทำเป็นเครื่องดื่ม  ที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ

2. ยอดอ่อนมีรสเปรี้ยวอมฝาด มีกลิ่นหอมใช้รับประทานเป็นผัก โดยรับประทานร่วมกับน้ำพริก ลาบ ส้มตำ น้ำตก อาหารเวียดนาม และอาหารประเภทยำที่มีรสจัด ชาวเหนือนิยมนำมาสับผสมลงไปในลาบ เพื่อช่วยให้รสชาติไม่เลี่ยนและอร่อยขึ้น ช่อดอกมะกอกก็ใช้กินแบบดิบได้เช่นกัน

3. ผลมะกอกที่ร่วงอยู่บนพื้นจะเป็นอาหารของสัตว์ป่าได้เป็นอย่างดี พรานป่ามักจะเฝ้าต้นมะกอกเพื่อรอส่องสัตว์ป่าที่เข้ามากินผล

4. ยางจากต้นมีลักษณะใสเป็นสีน้ำตาลปนแดง ไม่ละลายน้ำ แต่จะเกิดเป็นเมือก สามารถนำมาทำเป็นกาวใช้ติดของใช้และกระดาษว่าว

5. เนื้อไม้มะกอกเป็นไม้เนื้ออ่อน สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ทำไม้จิ้มฟัน ทำกล่องไม้ขีด ทำกล่องใส่ของ ทำหีบศพ ฯลฯ

สรรพคุณของมะกอก

1. เปลือกต้น ใบ และผล ใช้กินเป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยแก้ร้อนใน เป็นยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ

2. เนื้อในผลมีสรรพคุณช่วยแก้ธาตุพิการ เพราะน้ำดีไม่ปกติและกระเพาะอาหารพิการ

3. ผลมีรสเปรี้ยวอมหวาน สรรพคุณช่วยแก้โรคขาดแคลเซียมได้ มีสรรพคุณเป็นยาแก้บิด

อ้างอิง

1. https://medthai.com

2. https://www.thai-thaifood.com/th

3. https://th.wikipedia.org/wiki

 

ความหลากหลายของจุลินทรีย์ในดินจากพื้นที่ป่าชุมชนบ้านศรีสรรเพชญ์ที่มีความสามารถในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช

ความหลากหลายของจุลินทรีย์ในดินจากพื้นที่ป่าชุมชน

บ้านศรีสรรเพชญ์ที่มีความสามารถในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช

รุ่งลักษณ์ แก้ววิเชียร1, จรัญ ประจันบาล1 และวิชัย ปทุมชาติพัฒน์1

1คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทคัดย่อ

            การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบคทีเรียและยีสต์จากตัวอย่างดินในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านศรีสรรเพชญ์ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีความสามารถในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชซึ่งดำเนินงานวิจัยโดยคัดแยกแบคทีเรียและยีสต์จากตัวอย่างดิน 21 ตัวอย่าง แล้วคัดเลือกแบคทีเรียและยีสต์ที่มีสมบัติในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชในระดับห้องปฏิบัติการ คือ ความสามารถในการละลายฟอสเฟต การผลิตสารซิเดอร์โรฟอร์ การสร้างอินโดล-3-แอซิติก และการตรึงก๊าซไนโตรเจน จากนั้นเลือกแบคทีเรียและยีสต์ที่มีสมบัติในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชที่ดีที่สุดมาทดสอบการส่งเสริมการเจริญเติบโตของข้าวในระดับกระถางทดลอง จากผลการวิจัยพบว่าแบคทีเรียทั้งหมด 122 ไอโซเลต สามารถละลายฟอสเฟตได้ 27 ไอโซเลต ผลิตสารซิเดอโรฟอร์ 19 ไอโซเลต สร้างกรดอินโดล-3-แอซิติก 24 ไอโซเลต และตรึงก๊าซไนโตรเจน 13 ไอโซเลต และพบยีสต์ที่คัดแยกได้ 40 ไอโซเลต สามารถละลายฟอสเฟต 11 ไอโซเลต ผลิตสารซิเดอโรฟอร์และสร้างกรด อินโดล-3-แอซิติกทุกไอโซเลต และสามารถเจริญในอาหาร nitrogen free medium (NFM) 39 ไอโซเลต จากการศึกษาความสามารถของแบคทีเรียและยีสต์ที่คัดเลือก 12 ไอโซเลตต่อการเจริญเติบโตของข้าว ได้แก่ แบคทีเรีย 7 ไอโซเลต คือ BSP48 BSP97 BSP102 BSP107 BSP108 BSP110 และ BSP114 และยีสต์ 5 ไอโซเลต คือ YSP3 YSP24 YSP27 YSP35 และ YSP40 พบว่า แบคทีเรียไอโซเลต BSP114 สามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตของข้าวได้ดีที่สุด ซึ่งมีค่าความสูงของต้นข้าวเท่ากับ 16.89±3.62 เซนติเมตรซึ่งสูงกว่าต้นข้าวชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคิดเป็นร้อยละ 24.2 ของความสูงต้นข้าวชุดควบคุม ซึ่งจะนำไปพัฒนาเพื่อเป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชให้กับเกษตรกรต่อไป และจากการจัดจำแนกแบคทีเรียและยีสต์ด้วยอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลโดยการหาลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ 16S rRNA gene และบริเวณ D1/D2 ของ LSU rRNA gene ตามลำดับ พบว่าแบคทีเรีย 7 ไอโซเลตจัดจำแนกเป็น Enterobacter sp., (BSP48 และ BSP110), Brachybacterium sp. (BSP97), Enterobacter kobei (BSP102), Moraxella osloensis (BSP107), Pantoea sp. (BSP108), Bacillus sp. (BSP114) และยีสต์ 5 ไอโซเลตจัดจำแนกเป็น Brettanomyces naardenensis (YSP3 และ YSP24), Candida glabrata (YSP27 และ YSP40) และ Tortispora caseinolytica (YSP35)

คำสำคัญ : จุลินทรีย์ในดิน, ป่าชุมชนบ้านศรีสรรเพชญ์, การส่งเสริมการเจริญของพืช

Diversity of Microorganism in Soil from Ban Sri Sanphet Community Forestry with the Capability of Plant Growth Promoter Rungluk Kaewwichian1, Jaran Prajanban1 & Wichai Pathumchartpat1

1Faculty of Science and Technology, Bansomdejchaopraya Rajabhat University

Abstract

            This research aims to study the bacteria and yeast in soil from Ban Sri Sanphet community forestry, U-thong district, Suphan Buri province with the capability of plant growth promoting. Bacteria and yeast were isolated from 21 soil samples, there were investigated the capability of plant growth promoting in the laboratory, i.e. Phosphate solubilization, siderophore production, indole-3-acetic acid production and nitrogen fixation. Bacteria and yeast are the highest capability of plant growth promoting were examined in the pot experiment. The results showed that from bacteria 122 isolates found 27 isolates solubilized phosphate, 19 isolates produced siderophore, 24 isolates produced indole-3-acetic acid and 13 isolates fixed nitrogen and yeast 40 isolates found 11 isolates solubilized phosphate, all isolates produced siderophore and indole-3-acetic acid and 39 isolates grew in nitrogen free medium (NFM). According to the study the ability of bacteria and yeast 12 isolates on the promoting rice growth, including seven bacterial isolates were BSP48, BSP97, BSP102, BSP107, BSP108, BSP110 and BSP114 and five yeast isolates were YSP3, YSP24, YSP27, YSP35 and YSP40 found bacterial isolate BSP114, that can promote the growth of rice. The height of rice was 16.89±3.62 cm, which is higher than the rice in control statistically significant, representing 24.2 percent of the height of rice in control. This result will lead to the development of microorganisms that help promote the growth of crops to farmers in the future. Moreover, the results of bacteria and yeast identification showed that bacteria seven isolates were identified as Enterobacter sp., (BSP48 and BSP110), Brachybacterium sp. (BSP97), Enterobacter kobei (BSP102), Moraxella osloensis (BSP107), Pantoea sp. (BSP108), Bacillus sp. (BSP114) and yeast five isolates were identified as Brettanomyces naardenensis (YSP3 and YSP24), Candida glabrata (YSP27 and YSP40) and Tortispora caseinolytica (YSP35)

Key word: Microorganism in soil, Ban Sri Sanphet Community forestry, Plant growth promoter

 

 

บทที่ 4

ผลการวิจัย

การเก็บตัวอย่างดิน

            ผลจากการสุ่มเก็บตัวอย่างดินในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านศรีสรรเพชญ์ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ได้ตัวอย่างดินทั้งหมด 21 ตัวอย่าง บันทึกลักษณะทางกายภาพแล้วพบว่าตัวอย่างดินมีลักษณะเป็นดินร่วน มีสีน้ำตาลแดง สีน้ำตาลเข้ม และสีดำ มีค่าความชื้นร้อยละ 1.88 ถึง10.97 มีค่าพีเอชอยู่ในช่วง 6.10 ถึง 8.04 และมีปริมาณอินทรียวัตถุร้อยละ 4.05±0.35 ถึง 6.55±0.00 ซึ่งจัดอยู่ในระดับสูงถึงสูงมาก ดังแสดงในตารางที่ 4.1

การคัดแยกจุลินทรีย์

            นำตัวอย่างดินมาแยกจุลินทรีย์ทั้งแบคทีเรียและยีสต์ด้วยวิธี dilution plate techniques บนอาหาร nutrient agar (NA) และ Yeats extract-Malt extract (YM) agar ที่ปรับ pH 5.5 เพื่อคัดแยกแบคทีเรียและยีสต์ตามลำดับ ทำการเลือกเก็บลักษณะโคโลนีของจุลินทรีย์แต่ละชนิดที่มีลักษณะแตกต่างกัน เช่น ลักษณะรูปร่างและสีของโคโลนี ตลอดจนลักษณะที่เห็นภายใต้กล้องจุลทรรศน์ แล้วทำให้เชื้อบริสุทธิ์ด้วยวิธี cross streak จากตัวอย่างดินทั้งหมด 21 ตัวอย่าง พบว่าได้แบคทีเรียทั้งหมด 122 ไอโซเลต และได้ยีสต์ทั้งหมด 40 ไอโซเลต (ตารางที่ 4.2)

ตารางที่ 4.1 ลักษณะทางกายภาพ ความชื้น พีเอช และปริมาณสารอินทรีย์ของตัวอย่างดินในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านศรีสรรเพชญ์ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

จุดที่

ลักษณะทางกายภาพ

ค่าความชื้น (ร้อยละ)

ค่าพีเอช

ปริมาณสารอินทรีย์ (ร้อยละ)

ระดับสารอินทรีย์

1

ดินร่วน เนื้อละเอียด

สีน้ำตาลแดง

10.07

7.17

5.88±0.06

สูงมาก

2

ดินร่วน เนื้อละเอียด

สีน้ำตาลแดง

4.84

8.04

4.89±0.08

สูงมาก

3

ดินร่วน เนื้อละเอียด

สีน้ำตาลเข้ม

7.69

7.50

วิเคราะห์ค่าไม่ได้

4

ดินร่วน เนื้อละเอียด

สีน้ำตาลแดง

5.97

6.10

วิเคราะห์ค่าไม่ได้

5

ดินร่วน เนื้อละเอียด

สีน้ำตาลแดง

8.00

7.12

วิเคราะห์ค่าไม่ได้

6

ดินร่วน เนื้อละเอียด

สีน้ำตาลเข้ม

5.94

7.13

6.55±0.00

สูงมาก

7

ดินร่วน เนื้อละเอียด

สีน้ำตาลเข้ม

8.46

6.85

วิเคราะห์ค่าไม่ได้

8

ดินร่วน เนื้อละเอียด

สีน้ำตาลแดง

10.97

7.92

4.13±0.17

สูง

9

ดินร่วน เนื้อละเอียด

สีน้ำตาลเข้ม

6.63

7.45

วิเคราะห์ค่าไม่ได้

10

ดินร่วน เนื้อละเอียด

สีน้ำตาลแดง

2.68

7.44

4.05±0.35

สูง

11

ดินร่วน เนื้อละเอียด

สีน้ำตาลแดง

4.58

7.72

5.68±0.20

สูงมาก

12

ดินร่วน เนื้อละเอียด

สีน้ำตาลแดง

2.07

7.26

4.42±0.25

สูง

13

ดินร่วน เนื้อละเอียด

สีน้ำตาลแดง

1.94

6.10

6.05±0.21

สูงมาก

14

ดินร่วน เนื้อละเอียด

สีน้ำตาลแดง

1.88

7.14

4.90±0.39

สูงมาก

15

ดินร่วน เนื้อละเอียด

สีน้ำตาลแดง

4.86

7.47

วิเคราะห์ค่าไม่ได้

16

ดินร่วน เนื้อละเอียด

สีน้ำตาลแดง

3.57

7.69

6.11±0.31

สูงมาก

17

ดินร่วน เนื้อละเอียด

สีน้ำตาลแดง

4.51

6.36

วิเคราะห์ค่าไม่ได้

18

ดินร่วน เนื้อละเอียด

สีดำ

4.53

6.43

วิเคราะห์ค่าไม่ได้

19

ดินร่วน เนื้อละเอียด

สีน้ำตาลแดง

4.83

6.76

6.26±0.04

สูงมาก

20

ดินร่วน เนื้อละเอียด

สีดำ

3.80

7.62

วิเคราะห์ค่าไม่ได้

21

ดินร่วน เนื้อละเอียด

สีน้ำตาลเข้ม

3.89

7.73

4.94±0.18

สูงมาก

หมายเหตุ: การแปลผลระดับสารอินทรีย์

ระดับ (rating)

ต่ำมาก

ต่ำ

ค่อนข้างต่ำ

ปานกลาง

ค่อนข้างสูง

สูง

สูงมาก

พิสัย

(ร้อยละ)

< 0.5

0.5-1.0

1.1-1.5

1.6-2.5

2.6-3.5

3.6-4.5

> 4.5

ตารางที่ 4.2 ผลการคัดแยกจุลินทรีย์ในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านศรีสรรเพชญ์ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

ตัวอย่างดิน จุดที่

จำนวน

แบคทีเรีย(ไอโซเลต)

รหัสแบคทีเรีย

จำนวนยีสต์

(ไอโซเลต)

รหัสยีสต์

1

6

BSP1, BSP2, BSP3, BSP4, BSP5, BSP120

3

YSP1, YSP2, YSP3

2

5

BSP6, BSP7, BSP8, BSP9, BSP10

0

3

6

BSP11, BSP12, BSP13, BSP14, BSP15, BSP16

3

YSP4, YSP5, YSP6

4

6

BSP17, BSP18, BSP19, BSP20, BSP21, BSP22

3

YSP7, YSP8, YSP9

5

6

BSP23, BSP24, BSP25, BSP26, BSP27, BSP28

5

YSP10, YSP11,

YSP12, YSP13,

YSP14

6

5

BSP29, BSP30, BSP31, BSP32, BSP121

1

YSP15

7

6

BSP33, BSP34, BSP35, BSP36, BSP37, BSP38

4

YSP16, YSP17,

YSP18, YSP19

8

3

BSP39, BSP40, BSP41

2

YSP20, YSP21

9

5

BSP42, BSP43, BSP44, BSP45, BSP46

2

YSP22, YSP23

10

6

BSP47, BSP48, BSP49, BSP50, BSP51, BSP52

1

YSP24

11

4

BSP53, BSP54, BSP55, BSP56

1

YSP25

12

5

BSP57, BSP58, BSP59, BSP60, BSP61

0

13

5

BSP62, BSP63, BSP64, BSP65, BSP66

0

14

6

BSP67, BSP68, BSP69, BSP70, BSP71, BSP72

2

YSP26, YSP27

15

7

BSP73, BSP74, BSP75, BSP76, BSP77, BSP78, BSP79

2

YSP28, YSP29

16

6

BSP80, BSP81, BSP82, BSP83, BSP84, BSP85

0

17

7

BSP86, BSP87, BSP88, BSP89, BSP90, BSP91, BSP92

4

YSP30, YSP31,

YSP32, YSP33

18

8

BSP93, BSP94, BSP95, SP 96, BSP97, BSP98, BSP99, BSP100

2

YSP34, YSP35

19

6

BSP101, BSP102, BSP103, BSP104, BSP105, BSP106

3

YSP36, YSP37,

YSP38

20

7

BSP107, BSP108, BSP109, BSP110, BSP111, BSP112, BSP113

1

YSP39

21

7

BSP114, BSP115, BSP116, BSP117, BSP118, BSP119, BSP122

1

YSP40

รวม

122

ไอโซเลต

40

ไอโซเลต

 

การศึกษาความสามารถของจุลินทรีย์ต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตพืชในระดับห้องปฏิบัติการ

1) ศึกษาความสามารถในการละลายฟอสเฟต

            จากการทดสอบความสามารถในการละลายฟอสเฟตของแบคทีเรียจำนวน 122 ไอโซเลต และยีสต์จำนวน 40 ไอโซเลตที่คัดแยกได้จากตัวอย่างดินในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านศรีสรรเพชญ์บนอาหาร Pikovskaya’s agar โดยทดสอบไอโซเลตละ 3 ซ้ำ พบแบคทีเรียที่สามารถละลายฟอสเฟตได้จำนวน 27 ไอโซเลต คิดเป็นร้อยละ 22.1 ของแบคทีเรียที่คัดแยกได้ทั้งหมด และมียีสต์ที่สามารถละลายฟอสเฟตได้จำนวน 11 ไอโซเลต คิดเป็นร้อยละ 27.5 ของยีสต์ที่คัดแยกได้ทั้งหมด (ภาพที่ ข1-ข2) จากการเปรียบเทียบความสามารถในการละลายฟอสเฟตของจุลินทรีย์พบว่าไอโซเลตที่ละลายฟอสเฟตได้ดีที่สุด 10 อันดับแรก คือ ไอโซเลต BSP48, BSP110, BSP121, BSP114, BSP97, BSP107, BSP108, YSP27, BSP102, BSP20, YSP35, BSP113 และ YSP3 (ตารางที่ 4.3)

ตารางที่ 4.3 ค่าเฉลี่ยขนาดบริเวณใสหรือส้มรอบโคโลนีของจุลินทรีย์ 10 อันดับแรกที่สามารถละลายฟอสเฟตได้ดีที่สุดบนอาหาร Pikovskaya’s agar

อันดับ

ไอโซเลต

ค่าเฉลี่ยขนาดบริเวณใสหรือส้มรอบโคโลนี (เซนติเมตร)

1

BSP48

1.58 ± 0.03a

2

BSP110

1.55 ± 0.03a

3

BSP121

1.48 ± 0.05a

4

BSP114

1.22 ± 0.04b

5

BSP97, BSP107, BSP108

0.93 ± 0.03c

6

YSP27

0.82 ± 0.02cd

7

BSP102

0.78 ± 0.04de

8

BSP20, YSP35

0.75 ± 0.04de

9

BSP113

0.70 ± 0.00e

10

YSP3

0.68 ± 0.02e

2) ศึกษาความสามารถในการผลิตกรดอินโดล-3-แอซิติก

            ผลการทดสอบการสร้างกรดอินโดล-3-แอซิติก (ภาพที่ ข3) ซึ่งพบว่าแบคทีเรีย 24 ไอโซเลตสามารถสร้างกรดอินโดล-3-แอซิติกได้ที่ความเข้มข้น 4.17-829.59 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และยีตส์ทุกไอโซเลตสามารถสร้างกรดอินโดล-3-แอซิติกได้ที่ความเข้มข้น 1.67-27.50 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร โดยจุลินทรีย์ที่สร้างกรดอินโดล-3-แอซิติกที่ดีที่สุด 10 อันดับแรกเป็นแบคทีเรียทั้งหมด (ตารางที่ 4.4)

ตารางที่ 4.4 ปริมาณกรดอินโดล-3-แอซิติกของจุลินทรีย์ 10 อันดับแรกที่ผลิตได้สูงที่สุด

อันดับ

ไอโซเลต

ปริมาณกรดอินโดล-3-แอซิติก (ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร)

1

BSP113

829.58 ±  4.25a

2

BSP111

752.29 ± 97.26a

3

BSP97

637.08 ±  2.37b

4

BSP105

541.46 ± 70.18c

5

BSP100

539.79 ± 88.07c

6

BSP108

527.08 ± 31.29c

7

BSP110

342.08 ±  6.51d

8

BSP102 

264.17 ± 53.87de

9

BSP115

247.92 ± 21.07de

10

BSP48

204.38 ± 38.80e

3) ศึกษาความสามารถในการสร้างสารซิเดอร์โรฟอร์

จากการทดสอบการสร้างสารซิเดอร์โรฟอร์ของจุลินทรีย์ที่คัดแยกได้ พบแบคทีเรียที่สร้างสารซิเดอร์โรฟอร์ได้ 19 ไอโซเลต ซึ่งแสดงขนาดโซนสีส้มเหลืองรอบคอโลนีได้ตั้งแต่ 0.22-0.87 เซนติเมตร และพบว่ายีสต์ทุกไอโซเลตสามารถสร้างสารซิเดอร์โรฟอร์ได้ โดยสร้างโซนสีส้มเหลืองรอบคอโลนีขนาดตั้งแต่ 0.23-2.23 เซนติเมตร แสดงไอโซเลตที่สร้างสารซิเดอร์โรฟอร์ได้ดีที่สุด 10 อันดับแรกดังตารางที่ 4.5

ตารางที่ 4.5 ค่าเฉลี่ยขนาดโซนสีส้มเหลืองรอบคอโลนีของจุลินทรีย์ 10 อันดับแรกที่สร้างสาร

ซิเดอร์โรฟอร์ได้ดีที่สุดบนอาหาร chrome azurol S agar

อันดับ

ไอโซเลต

ค่าเฉลี่ยโซนสีส้มเหลืองรอบโคโลนี (เซนติเมตร)

1

YSP6

2.23±0.26a

2

BSP122

0.87±0.04b

3

BSP22

0.72±0.04bc

4

BSP115

0.70±0.03bc

5

YSP30

0.65±0.06bc

6

YSP27

0.62±0.04bc

7

BSP48

0.60±0.05bc

8

BSP97, YSP21, YSP32

0.57±0.03c

9

YSP8

0.55±0.08c

10

YSP14

0.50±0.05c

4) ศึกษาความสามารถในการตรึงก๊าซไนโตรเจน

            จากการนำแบคทีเรียที่มีความสามารถในการละลายฟอสเฟต การสร้างกรดอินโดล-3-แอซิติก และผลิตสารซิเดอร์โรฟอร์ได้ มาทดสอบความสามารถในการตรึงไนโตรเจนในอาหารเหลวที่ปราศจากไนโตรเจน พบว่ามีแบคทีเรียจำนวน 10 ไอโซเลต ที่สามารถเจริญได้ในอาหารเหลวที่ปราศจากไนโตรเจน โดยมีลักษณะการเจริญบนผิวหน้าอาหารและมีความขุ่นในหลอดอาหารเหลว และจากการทดสอบความสามารถของยีสต์ในการตรึงก๊าซไนโตรเจนพบว่า มียีสต์ 38 ไอโซเลตที่สามารถเจริญในอาหาร NFM โดยบางไอโซเลตเจริญบนผิวหน้าบางไอโซเลตเจริญเป็นเม็ดเล็ก ๆ และบางไอโซเลตเจริญทั่วทั้งอาหารโดยทำให้อาหารขุ่น คือ YSP1, YSP2, YSP3, YSP4, YSP5, YSP6, YSP7, YSP8, YSP9, YSP10, YSP11, YSP12, YSP13, YSP14, YSP16, YSP17, YSP18, YSP19, YSP20, YSP21, YSP22, YSP23, YSP24, YSP25, YSP26, YSP27, YSP28, YSP30, YSP31, YSP32, YSP33, YSP34, YSP35, YSP36, YSP37, YSP38, YSP39 และ YSP40

 

4.4 ศึกษาจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชในระดับกระถางทดลอง

            วิเคราะห์ผลการทดสอบความสามารถของจุลินทรีย์ต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชในระดับห้องปฏิบัติการเพื่อคัดเลือกแบคทีเรียและยีสต์ที่มีคุณสมบัติในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชที่ดีที่สุดมาทดสอบในระดับกระถางทดลองโดยเลือกจุลินทรีย์ที่มีสมบัติครบและเลือกจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการละลายฟอสเฟตได้ดีที่สุด ซึ่งคัดเลือกได้จุลินทรีย์มาทดสอบทั้งหมด 12 ไอโซเลต (ตารางที่ 4.6) เป็นแบคทีเรีย 7 ไอโซเลต คือ BSP48, BSP97, BSP102, BSP107, BSP108, BSP110 และ BSP114 และยีสต์ 5 ไอโซเลต คือ YSP3, YSP24, YSP27, YSP35 และ YSP40 ทดสอบการส่งเสริมการเจริญเติบโตของข้าวพื้นเมืองพันธุ์        ฝาบาตร โดยวัดความยาวราก ความสูงของต้น และน้ำหนักแห้ง (ภาพที่ ข4-ข13) พบว่าแบคทีเรียไอโซเลต BSP114 สามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตของข้าวในด้านความสูงของต้นได้ดีที่สุด โดยทำให้ต้นกล้าข้าวมีความสูงเท่ากับ 16.89±3.62 เซนติเมตรซึ่งสูงกว่าต้นกล้าข้าวชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติคิดเป็นร้อยละ 24.20 รองลงมาคือยีสต์ไอโซเลต YSP35 ซึ่งทำให้ต้นกล้าข้าวมีความสูงเท่ากับ 15.52±2.37 เซนติเมตรซึ่งสูงกว่าต้นกล้าข้าวชุดควบคุมคิดเป็นร้อยละ 21.44 นอกจากนี้แบคทีเรียไอโซเลต BSP108 ทำให้ต้นกล้าข้าวมีน้ำหนักแห้งสูงที่สุดเท่ากับ 0.029±0.006 กรัมต่อต้นซึ่งสูงกว่าต้นกล้าข้าวชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติคิดเป็นร้อยละ 45  (ตารางที่ 4.7) นอกจากนี้ยังทดสอบการส่งเสริมการเจริญเติบโตของข้าวโพดโดยวัดความยาวราก ความสูงของต้น และน้ำหนักแห้ง (ภาพที่ ข14-ข15) พบว่ายีสต์ ไอโซเลต YSP35 สามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตของข้าวโพดในด้านความยาวของรากได้ดีที่สุด โดยทำให้ต้นกล้าข้าวโพดมีความยาวรากเท่ากับ 28.18±5.02 เซนติเมตรซึ่งยาวกว่ารากต้นกล้าข้าวโพดชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติคิดเป็นร้อยละ 22.62 ยีสต์ไอโซเลต YSP24 ซึ่งทำให้ต้นกล้าข้าวโพดมีความสูงเท่ากับ 27.79±2.27 เซนติเมตรซึ่งสูงกว่าต้นกล้าข้าวโพดชุดควบคุมคิดเป็นร้อยละ 6.8 นอกจากนี้แบคทีเรียไอโซเลต BSP110 ทำให้ต้นกล้าข้าวมีน้ำหนักแห้งสูงที่สุดเท่ากับ 0.25±0.02 กรัมต่อต้นซึ่งสูงกว่าต้นกล้าข้าวชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติคิดเป็นร้อยละ 19.05 (ตารางที่ 4.8)

ตารางที่ 4.6 ความสามารถของจุลินทรีย์ที่ถูกคัดเลือกไปทดสอบในระดับกระถางทดลอง

ไอโซเลต

ค่าเฉลียโซนสีส้มหรือใสรอบโคโลนีจากการทดสอบความสามารถในการละลายฟอสเฟต (ซม.)

ค่าเฉลี่ยโซนสีส้มหรือเหลืองรอบโคโลนีจากการทดสอบการสร้าง

สารซิเดอร์โรฟอร์ (ซม.)

ปริมาณอินโดล

-3-แอซิติก

(µg/ml)

การตรึงก๊าซไนโตรเจน

BSP48

1.58±0.03a

0.60±0.09a

204.38±38.80

+

BSP97

0.93±0.03c

0.57±0.03ab

637.09±2.37

+

BSP102

0.78±0.04de

0.48±0.03abc

264.17±53.87

+

BSP107

0.93±0.03c

0.48±0.06abc

114.97±11.34

+

BSP108

0.93±0.03c

0.45±0.05bcd

527.08±31.29

+

BSP110

1.55±0.03a

0.53±0.12abc

342.08±6.51

+

BSP114

1.22±0.04b

0.53±0.06abc

133.33±5.67

+

YSP3

0.68±0.02e

0.33±0.03d

   9.21±0.14

+

YSP24

0.67±0.06e

0.50±0.05abc

   7.55±0.21

+

YSP27

0.82±0.02cd

0.62±0.08a

   3.12± 0.48

+

YSP35

0.75±0.04de

0.45±0.05bcd

  11.01±0.94

+

YSP40

0.73±0.02de

0.40±0.13cd

   6.42±6.12

+

 

ตารางที 4.7 ผลการทดสอบการส่งเสริมการเติบโตของข้าวพื้นเมืองพันธุ์ฝาบาตรในกระถางทดลองด้วยการใช้จุลินทรีย์

ไอโซเลต

การส่งเสริมการเจริญของต้นกล้าข้าว

ค่าเฉลี่ยความยาวราก (ซม./ต้น)

ค่าเฉลี่ยความสูงของต้น (ซม./ต้น)

ค่าเฉลี่ยน้ำหนักแห้ง

ของต้น (กรัม/ต้น)

control

10.20±1.27a

13.60±1.83bcd

0.020±0.000bcd

BSP48

  7.67±0.83c

12.01±2.32d

0.023±0.005b

BSP97

  8.37±0.74bc

14.33±2.74bc

0.018±0.006d

BSP102

  8.61±0.97b

14.23±1.74bc

0.020±0.000bcd

BSP107

  8.29±0.96bc

14.39±1.66bc

0.020±0.000bcd

BSP108

  9.88±0.82a

12.91±1.49cd

0.029±0.006a

BSP110

  8.21±0.48bc

14.94±1.82abc

0.022±0.004bc

BSP114

  9.62±1.32a

16.89±3.62a

0.019±0.003cd

YSP3

10.14±0.96a

11.74±2.23de

0.018±0.001d

YSP24

  8.71±1.37ab

  9.30±1.06e

0.017±0.001d

YSP27

  8.65±0.55b

12.16±1.92d

0.018±0.002d

YSP35

  9.74±0.81a

15.52±2.37abc

0.021±0.006abc

YSP40

  9.27±0.96a

12.40±1.43d

0.019±0.001d

 

ตารางที่ 4.8 ผลการทดสอบการส่งเสริมการเติบโตของข้าวโพดในกระถางทดลองด้วยการใช้จุลินทรีย์

ไอโซเลต

การส่งเสริมการเจริญของต้นกล้าข้าวโพด

ค่าเฉลี่ยความยาวราก (ซม./ต้น)

ค่าเฉลี่ยความสูงของต้น (ซม./ต้น)

ค่าเฉลี่ยน้ำหนักแห้ง

ของต้น (กรัม/ต้น)

control

  22.98±2.98bc

26.02±2.17abc

0.21±0.02bc

BSP48

  19.91±3.42cde

25.13±2.60abcd

0.21±0.03bc

BSP97

  21.84±3.51cd

25.97±3.13abc

0.24±0.03ab

BSP102

  18.66±3.67de

24.07±2.97cd

0.22±0.02ab

BSP107

  18.56±1.94de

24.68±2.39bcd

0.23±0.01ab

BSP108

  21.02±2.95cd

26.88±2.16ab

0.21±0.02b

BSP110

  16.61±3.33e

27.02±2.83ab

0.25±0.02a

BSP114

  22.03±3.82cd

22.74±2.73d

0.22±0.01ab

YSP3

  18.13±3.84de

26.21±1.72abc

0.18±0.08c

YSP24

  19.85±4.20cde

27.79±2.27a

0.23±0.02ab

YSP27

  26.85±4.31a

24.96±2.51bcd

0.22±0.02ab

YSP35

  28.18±5.02a

25.63±2.11abc

0.22±0.02ab

YSP40

  26.50±6.75ab

23.73±4.20cd

0.23±0.05ab

 

4.5 การจัดจำแนกชนิดของจุลินทรีย์โดยใช้วิธีทางอณูพันธุศาสตร์

            จากการนำจุลินทรีย์ที่มีสมบัติในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชได้ดีที่สุดจำนวน 12  ไอโซเลต คือ แบคทีเรียจำนวน 7 ไอโซเลต ได้แก่ BSP48, BSP97, BSP102, BSP107, BSP108, BSP110 และ BSP114 และยีสต์ 5 ไอโซเลต ได้แก่ YSP3, YSP24, YSP27, YSP35 และ YSP40 นำมาจัดจำแนกชนิดของแบคทีเรียด้วยเทคนิคทางด้านอณูพันธุศาสตร์โดยการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ 16S rDNA และจัดจำแนกยีสต์โดยการวิเคราะห์ลำดับ นิวคลีโอไทด์บริเวณ D1/D2 ของ LSU rDNA เปรียบเทียบกับฐานข้อมูล GenBank ของ National Center for Biotechnology Information (NCBI) จากการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ 16S rDNA พบว่า แบคทีเรียไอโซเลต BSP48 มีลำดับนิวคลีโอไทด์ใกล้เคียงกับ Enterobacter xiangfangensis ร้อยละ 99.72, ใกล้เคียงกับ Enterobacter hormaechei subsp. oharae ร้อยละ 99.59 และใกล้เคียงกับ Enterobacter hormaechei subsp. steigerwaltii ร้อยละ 99.45 จากการเปรียบเทียบความเหมือนของลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ 16S rDNAกับแบคทีเรียที่ใกล้เคียงดังกล่าวไม่สามารถระบุชนิดที่แน่ชัดได้ จำเป็นต้องศึกษาลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณยีนอื่น หรือศึกษาลักษณะอื่นเพิ่มเติม จึงสรุปได้เพียงว่าแบคทีเรียไอโซเลต BSP48 จัดจำแนกเป็น Enterobacter sp. แบคทีเรียไอโซเลต BSP97 ใกล้เคียงกับ Brachybacterium paraconglomeratum และ Brachybacterium conglomeratum ร้อยละ 99 จากการเปรียบเทียบความเหมือนของลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ 16S rDNA กับแบคทีเรียที่ใกล้เคียงดังกล่าวไม่สามารถระบุชนิดที่แน่ชัดได้ จำเป็นต้องศึกษาลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณยีนอื่น หรือศึกษาลักษณะอื่นเพิ่มเติม จึงสรุปได้เพียงว่า แบคทีเรียไอโซเลต BSP97 จัดจำแนกเป็น Brachybacterium sp. แบคทีเรียไอโซเลต BSP102 ใกล้เคียงกับ Enterobacter kobei ร้อยละ 100 ดังนั้น แบคทีเรียไอโซเลต BSP102 จัดจำแนกเป็น Enterobacter kobei แบคทีเรีย ไอโซเลต BSP107 เมื่อเปรียบเทียบลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ 16S rDNA พบว่าใกล้เคียงกับ Enhydrobacter aerosaccus มากที่สุด ร้อยละ 99.45 โดยจากการศึกษาความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการเปรียบเทียบกับแบคทีเรียใกล้เคียงพบว่าแบคทีเรียไอโซเลต BSP107 มีวิวัฒนาการใกล้เคียงกับ Moraxella osloensis และ Enhydrobacter aerosaccus โดยการจัดลำดับอนุกรมวิธานของ Enhydrobacter ด้วยข้อมูลลำดับนิวคลีโอไทด์และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการพบว่ามีการจัดลำดับอนุกรมวิธานแตกต่างไปจากเอกสารรายงานเสนอชื่อแบคทีเรีย Enhydrobacter aerosaccus (Staley et al., 1987) จากข้อมูลดังกล่าวจึงอาจมีความเป็นไปได้ว่าข้อมูลลำดับนิวคลีโอไทด์ของ Enhydrobacter aerosaccus อาจมีความคลาดเคลื่อนและแบคทีเรียไอโซเลต BSP107 เป็นสมาชิกของแบคทีเรียสกุล Moraxella โดยมีความใกล้เคียงกับ Moraxella osloensis ดังนั้นแบคทีเรียไอโซเลต BSP107 จักจำแนกเป็น Moraxella osloensis แบคทีเรียไอโซเลต BSP108 ใกล้เคียงกับ Pantoea dispersa และ Pantoea agglomerans ร้อยละ 99 จากการเปรียบเทียบความเหมือนของลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ 16S rDNA กับแบคทีเรียที่ใกล้เคียงดังกล่าวไม่สามารถระบุชนิดที่แน่ชัดได้ จำเป็นต้องศึกษาลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณยีนอื่น หรือศึกษาลักษณะอื่นเพิ่มเติม จึงสรุปได้เพียงว่า แบคทีเรียไอโซเลต BSP108 จัดจำแนกเป็น Pantoea sp. แบคทีเรียไอโซเลต SP110 ใกล้เคียงกับ Enterobacter cloacae และ Enterobacter hormaechei ร้อยละ 99 จากการเปรียบเทียบความเหมือนของลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ 16S rDNA กับแบคทีเรียที่ใกล้เคียงดังกล่าวไม่สามารถระบุชนิดที่แน่ชัดได้ จำเป็นต้องศึกษาลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณยีนอื่น หรือศึกษาลักษณะอื่นเพิ่มเติม จึงสรุปได้เพียงว่า แบคทีเรียไอโซเลต BSP110 จัดจำแนกเป็น Enterobacter sp. และแบคทีเรีย ไอโซเลต BSP114 เมื่อเปรียบเทียบลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ 16S rDNA ในฐานข้อมูล พบว่าแบคทีเรียไอโซเลต BSP114 มีลำดับนิวคลีโอไทด์ใกล้เคียงกับแบคทีเรีย 2 ชนิด ได้แก่ Bacillus anthracis และ Bacillus cereus มากที่สุด ร้อยละ 99.59 จากการศึกษาความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการร่วมกับการเปรียบเทียบความเหมือนของลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ 16S rDNA กับแบคทีเรียใกล้เคียงดังกล่าวพบว่าไม่สามารถแยกความแตกต่างของแบคทีเรียดังกล่าวได้จึงทำให้ไม่สามารถระบุชนิดของแบคทีเรียไอโซเลต BSP114 ได้จำเป็นต้องศึกษาลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณยีนอื่น หรือศึกษาลักษณะอื่นเพิ่มเติม ดังนั้นแบคทีเรียไอโซเลต BSP114 จัดจำแนกเป็น Bacillus sp.

            จากหลักการจัดจำแนกยีสต์ด้วยเทคนิคทางด้านอณูพันธุศาสตร์โดยการเปรียบเทียบความเหมือนของลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ D1/D2 ของ LSU rRNA gene ซึ่งมีขนาดประมาณ 500-600 นิวคลีโอไทด์ ของยีสต์ที่จัดจำแนกกับลำดับนิวคลีโอไทด์ที่อยู่ในฐานข้อมูล GenBank ซึ่งพิจารณาจากหลักเกณฑ์ของ Kurtzman and Robnett (1998) กล่าวคือ เมื่อเปรียบเทียบลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ D1/D2 ของ LSU rRNA gene กับยีสต์ชนิดที่มีความใกล้เคียงที่สุดจากฐานข้อมูล หากมีการแทนที่ของลำดับนิวคลีโอไทด์มากกว่าร้อยละ 1 (มีการแทนที่ของลำดับนิวคลีโอด์ 6 นิวคลีโอไทด์ ใน 600 นิวคลีโอไทด์) สามารถจัดจำแนกเป็นยีสต์ต่างชนิดกัน แต่หากว่ามีนิวคลีโอไทด์ต่างกัน 0 – 3 นิวคลีโอไทด์ อาจจัดจำแนกเป็นชนิดเดียวกัน (conspecific species) หรือเป็นชนิดที่ใกล้ชิดกันมาก (sister species) จากหลักเกณฑ์ดังกล่าวสามารถจัดจำแนกยีสต์ที่มีสมบัติในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช จำนวน 5 ไอโซเลต ดังนี้ ไอโซเลต YSP3 และ YSP24 เป็นชนิดที่ใกล้ชิดกับ Brettanomyces naardenensis (AY969108) ร้อยละ 99.7 และ 99.1 ตามลำดับ ดังนั้น ไอโซเลต YSP3 และ YSP24 จัดจำแนกเป็น Brettanomyces naardenensis ไอโซเลต YSP27 และ SP40 เป็นชนิดที่ใกล้ชิดกับ Candida glabrata (U44808) ร้อยละ 99.6 และ 99.5 ตามลำดับ ดังนั้น ไอโซเลต YSP27 และ SP40 จัดจำแนกเป็น Candida glabrata และไอโซเลต YSP35 เป็นชนิดที่ใกล้ชิดกับ Tortispora caseinolytica (KC681889) ร้อยละ 99.0 ดังนั้น ไอโซเลต YSP35 จัดจำแนกเป็น Tortispora caseinolytica ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่ายีสต์ที่พบในดินที่มีสมบัติในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชจำนวน 5 ไอโซเลต จัดจำแนกเป็นแอสโคมัยซีตัสยีสต์ 3 ชนิด ใน 2 สกุล ได้แก่ Brettanomyces naardenensis, Candida glabrata และ Tortispora caseinolytica

หงส์เหิร…ไม้ประดับผลสวย

ผศ.วิชัย ปทุมชาติพัฒน์


ความนำ ผู้พบเห็น“หงส์เหิรที่นำมาตกแต่งในงานในสถานที่ต่างๆ มักจะสงสัยว่าผลกลมๆสีเขียวมีหนามอ่อนๆรอบผลในแจกัน ในพวงหรีด ในกระเช้าดอกไม้หรือแจกันขนาดยักษ์ในโรงแรมหรูนั้นคืออะไร แล้วก็ไม่มีใครตอบได้ ผู้เขียนได้รับคำถามนี้บ่อยมาก จึงเห็นสมควรว่าต้องนำมาเขียนเป็นความรู้พร้อมภาพประกอบให้แพร่หลาย ซึ่งจะเกิดประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากยังไม่มีนักวิชาการท่านใดเขียนเป็นภาษาไทยเลย การค้นคว้าในอินเตอร์เน็ตก็เป็นต้นฉบับภาษาอังกฤษ ต้องอาศัยประสบการณ์ที่รู้จักต้นจริงและเคยปลูกมาประกอบการเขียน เพื่อให้เห็นลักษณะทางพฤกษศาสตร์ที่ถูกต้อง

หงส์เหิน

ชื่อสามัญ balloon cotton-bush, bishop s balls, nail head, swan plant

ชื่อวิทยาศาสตร์ Gomphocarpus physocarpus

ชื่อวงศ์ ASCLEPIADACEAE

ชื่ออื่นๆ ลูกโป่ง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่มเตี้ยอายุเกิบ 1 ปี อาจสูงได้ถึง 2 เมตร หาอาหารด้วยระบบรากฝอย มียางสีขาวตามลำต้นและกิ่ง จะออกดอกในช่วงอากาศอบอุ่น สภาพอากาศมีความชื้นปานกลาง ดินร่วนปนทรายระบายน้ำได้ดี และต้องการแดดจัดทั้งวัน ใบเดี่ยวสีเขียวอ่อน ออกตรงข้ามเป็นคู่ๆ ตัวใบเรียวแหลมเหมือนรูปใบหอก ยาว 8-10 ซม. กว้าง 1-1.5 ซม. ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบ ช่อละ 5-10 ดอก ก้านดอกยาว 3-4 ซม. กลีบเลี้ยงสีขาว 5 กลีบทำหน้าที่คล้ายกลีบดอก ส่วนกลีบดอกจริง 5 กลีบเปลี่ยนเป็นถุงสีชมพูอ่อนล้อมรอบเกสรตัวเมียที่อยู่ตรงกลางดอก ดอกบานเต็มที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 ซม. ผลสีเขียวอ่อน มีลักษณะกลมแบน(spherical inflated follicles)  โปร่งมีอากาศอยู่ข้างใน ผิวผลปกคลุมด้วยขนหยาบๆ ห่างๆ ขนยาว 0.8-1.2 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลางผล 6-8 ซม. เมื่อผลแก่จัดจะแตกด้านหนึ่ง ทำให้เห็นเมล็ดแบนสีน้ำตาลจำนวนมากที่มีขนฟูคลายเส้นไหมติดที่ปลายเมล็ดข้างหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นร่มชูชีพ พร้อมที่จะปลิวไปกับลมเพื่อเพื่อแพร่พันธุ์ในพื้นที่ที่ห่างไกลออกไปเรื่อยๆ

การขยายพันธุ์ การเพาะกล้าจากเมล็ด งอกง่ายมาก แล้วย้ายไปปลูกในกลางแจ้งที่ได้รับแสงแดดทั้งวัน

หมายเหตุ 1. “หงส์เหิร” เป็นพรรณไม้ที่มีความใกล้ชิดกับ “ดอกรัก” ที่นำดอกมาร้อยมาลัยและตกแต่ง ซึ่งจะเห็นว่ามีความคล้ายคลึงกันทั้งดอกและผล

2. หงส์เหิร เป็นพืชถิ่นเดิมทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา แถบสวาซีแลนด์ โมแซมบิค แต่ได้กระจายพันธุ์ตามธรรมชาติไปกับลมโดยมีร่มชูชีพที่ขั้วของเมล็ดเป็นอวัยวะสำคัญที่พาไป ทำให้แพร่พันธุ์ไปทั่วโลก ครบทุกทวีป จนดูเหมือนว่าจะเป็นวัชพืชในบางพื้นที่

3. ด้วยความสวยงามเป็นพิเศษของผลที่กลม เบาและนุ่ม จึงถูกนำมาปลูกเป็นไม้ประดับในสวน และกลายเป็นไม้เศรษฐกิจสำคัญชนิดหนึ่งในตลาดไม้ดอกไม้ประดับ ในเมืองไทยเราก็มีแปลงปลูกอาชีพหลายจังหวัดทางภาคเหนือ ได้รับความนิยมในการตกแต่งอย่างกว้างขวาง ภาชนะหรือแจกันที่มีกิ่งยาวๆของหงส์เหิรที่มีผลสวยงามหลายผลพร้อมใบและดอก จะเพิ่มความสวยงามให้แก่ภาชนะนั้นทันที

จันทน์หอม…ไม้มงคลในพระราชพิธี

ผศ.วิชัย  ปทุมชาติพัฒน์


ความนำ งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่กำลังจะมาถึงในปลายเดือนตุลาคม 2560 นั้น สื่อสารมวลชนทุกแขนงต่างก็ออกข่าวเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของพระราชพิธี หนึ่งในความสำคัญของงานพระราชพิธีนี้ที่จะขาดเสียไม่ได้คือ การนำไม้จันทน์หอมมาสร้างพระรองประดับพระโกศ พระบรมศพ รวมทั้งใช้ทำฟืนหรือดอกไม้จันทน์ในพิธีพระราชทานเพลิงศพ ผู้เขียนเห็นสมควรนำความรู้เรื่อง “จันทน์หอม”มาเผยแพร่ให้รู้จักกันพร้อมภาพที่ถ่ายมาจากต้นจริง

 

ไม้จันทน์หอม
ไม้มงคลที่กำลังเป็นที่สนใจในช่วงเวลานี้ นั่นคือไม้จันทน์หอม เพราะเป็นไม้มงคลที่จะนำไปใช้ในพระราชพิธีพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

 

ทำไมถึงใช้ไม้จันทน์หอมในพระราชพิธี
เหตุผลที่ใช้ไม้จันทน์หอมในพระราชพิธี เพราะว่า ไม้จันทน์หอมเป็นไม้มีค่าหายาก จัดเป็นไม้มงคลชั้นสูง ที่ถูกนำไปใช้ในงานพระราชพิธีนับตั้งแต่สมัยโบราณยุคพุทธกาล โดยพบประวัติการใช้ไม้จันทน์หอมในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องนับแต่ยุคประวัติศาสตร์ตอนต้นสมัยอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้ยังพบประวัติที่ระบุในจดหมายเหตุว่า ไม้จันทน์หอมเป็นเครื่องหมายบรรณาการที่สำคัญในช่วงเวลาดังกล่าวอีกด้วย
และด้วยเหตุที่เนื้อไม้จันทน์หอมมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ เนื้อไม้แข็ง มีความละเอียด จึงนิยมนำไม้จันทน์หอมมาสร้างพระรองประดับพระโกศ พระบรมศพ รวมทั้งใช้ทำฟืนหรือดอกไม้จันทน์ในพิธีพระราชทานเพลิงศพมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล เพื่อเป็นเชิงสัญลักษณ์ที่แสดงว่า ไม่ว่าไม้จันทน์หอมจะเป็นหรือตาย ก็ยังคงมีความหอม เปรียบเหมือนคนที่ตอนมีชีวิตอยู่นั้นได้ทำความดีไว้มากมาย แต่เมื่อสิ้นชีวิตไปแล้ว ความดีนั้นก็ยังคงอยู่ ขณะเดียวกัน ความหอมของไม้จันทน์หอมยังช่วยรักษาศพไม่ให้มีกลิ่นเหม็น เนื่องจากในสมัยก่อนยังไม่มีการฉีดยา อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไม้จันทน์หอมเป็นไม้หายากและมีราคาแพง จึงนำมาใช้เฉพาะในงานพระศพของราชวงศ์ชั้นสูงเท่านั้น ภายหลังกรมพระยาดำรงราชานุภาพจึงได้คิดค้นให้ใช้ไม้จันทน์หอมทำเป็นแผ่นบาง ๆ มัดเป็นช่อเรียกว่าดอกไม้จันทน์ เพื่อให้ผู้ที่มาร่วมงานศพได้นำไปวางที่เผาศพและนิยมใช้จนถึงปัจจุบัน

 

พิธีตัดไม้จันทน์หอม
พิธีตัดไม้จันทน์หอมจะประกอบไปด้วยการบวงสรวง ก่อนจะใช้ขวานทองจามไปที่ต้นไม้ที่ถูกคัดเลือกไว้แล้วในเชิงสัญลักษณ์แต่ยังไม่ได้เป็นการตัดจริง โดยจะต้องรอให้ทางช่างสิบหมู่ออกแบบกำหนดลักษณะไม้ที่ต้องการเสร็จสิ้นก่อน จึงจะทำการตัดจริงได้ อีกทั้งต้นไม้จันทน์หอมที่เลือกจะต้องเป็นต้นที่ตายพรายซึ่งหมายถึงยืนต้นตายเองตามธรรมชาติ โดยพิจารณาจากลักษณะไม้ที่มีเนื้อหอม เนื้อไม้แกร่ง เปลาตรง คุณภาพดี ซึ่งก่อนตัดก็ต้องทำพิธีขอจากรุกขเทวดาโดยพราหมณ์อ่านโองการและตัดตามฤกษ์ดี
ไม้จันทน์หอมที่จะใช้ในพระราชพิธีพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นไม้ในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ตำบลหาดขาม อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ถูกคัดเลือกไว้ 4 ต้นด้วยกัน จากทั้งหมด 19 ต้น คือต้นไม้จันทน์หอมลำดับที่ 10, 11, 14 และ 15 ซึ่งได้รับการคัดเลือกจาก นายจำลอง ยิ่งนึก ผู้อำนวยการกองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง และนายฉัตรชัย ปิ่นเงิน หัวหน้างานโหรพราหมณ์ ร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ฝ่ายปกครอง ตลอดจนหน่วยงานเกี่ยวข้อง และทุกต้นยืนต้นตายตามธรรมชาติ มีกลิ่นหอม ลักษณะต้นไม้เปลาตรง ขนาดความโตตั้งแต่ 142-203 เซนติเมตรและสูง11-15เมตร โดยมีกำหนดฤกษ์ตัด เวลา 14.09-14.39 น. ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2559 ซึ่งมีการตั้งโต๊ะเครื่องบวงสรวง ตลอดจนเครื่องสังเวยต่าง ๆ โดยหลั่งน้ำเทพมนต์เจิมบริเวณต้นไม้จันทน์หอม และลงขวานทองที่ต้นไม้จันทน์หอม ต้นที่ 15 เป็นปฐมฤกษ์ ก่อนจะตัดต้นที่เหลืออีก 3 ต้นพร้อมกัน

 

จันทน์หอม

ชื่อวิทยาศาสตร์ Mansonia gagei Drumm.

ชื่อวงศ์ STERCULIACEAE

ชื่ออื่น จันทน์ จันทน์ชะมด จันทน์ขาว จันทน์พม่า

 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 10 – 20 เมตร  เปลือกลำต้นค่อนข้างเรียบสีเทาอมขาว เรือนยอดเป็นพุ่มค่อนข้างโปร่ง กิ่งก้านอ่อน มักห้อยลง  ใบเดี่ยว เรียงสลับ มักออกใบถี่ที่ปลายยอด แผ่นใบรูปรี แกมรูปขอบขนานหรือแกมรูปไข่กลับ กว้าง 3 – 6 เซนติเมตร ยาว 8 – 14 เซนติเมตร ปลายใบแหลมโคนใบเว้า เบี้ยวเล็กน้อย ขอบใบเป็นคลื่นห่าง ๆ  ดอกเล็กสีขาวออกรวมกันเป็นช่อสั้น ๆ ตามปลาย กิ่งและตามง่ามใบ  ผลรูปกระสวย มีปีกบางรูปทรงสามเหลี่ยมสามปีก กว้าง 0.5 – 0.7 เซนติเมตร ยาว 1 – 1.5 เซนติเมตร มีปีก ปีกกว้าง 1 – 1.5 เซนติเมตร ยาว 2.5 – 3 เซนติเมตร

 

การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

หมายเหตุ

1. จันทน์หอมเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลของจังหวัดนครปฐม

2. ต้นจันทน์หอมที่วัดนรนาถสุนทริการาม ที่เทเวศร์มีขนาดใหญ่ สูงราว 12 เมตร อยู่ข้างพระอุโบสถ์ ผู้สนใจสามารถไปชมได้

 

ประโยชน์

1.เนื้อไม้ กระพี้ สีขาว แก่นสีน้ำตาลเข้ม ใช้ทำหีบใส่เสื้อผ้า เครื่องกลึง เครื่อง แกะสลัก ทำหวี ดอกไม้จันทน์ ธูป น้ำมัน

2.ไม้ที่ตายเองจะมีกลิ่นหอม หอมที่ได้จากการกลั่นชิ้นไม้ ใช้ปรุงเครื่องหอมและเครื่อง สำอาง ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ

3.เนื้อไม้ใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้กระหายน้ำและอ่อนเพลีย

 

อ้างอิง 

1.ส่วนเพาะชำกล้าไม้สำนักส่งเสริมการปลูกป่ากรมป่าไม้
   อุทยานแห่งชาติกุยบุรีสำนักอุทยานแห่งชาติ

2. หนังสือพิมพ์คมชัดลึก ฉบับวันที่ 2 มกราคม 2560

3. Kapook.com

มะเขือต้น

ผศ.วิชัย  ปทุมชาติพัฒน์


ความนำ ผู้เขียนได้รับคำถามอยู่เสมอจากผู้รักต้นไม้เกี่ยวกับ “มะเขือต้น” จนเมื่อวันก่อนไปพบมะเขือต้นพรรณไม้ดอกสวยต้นนี้ที่วังตะไคร้ ก็ได้โอกาสบรรยายให้ความรู้แก่นักศึกษาที่พาไปศึกษานอกสถานที่ให้ เป็นความรู้ใหม่สำหรับเยาวชน จึงถือโอกาสนำความรู้เรื่องนี้มาเผยแพร่แก่ผู้สนใจ

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum wrightii  Benth

ชื่อวงศ์ SOLANACEAE

ชื่อสามัญ Potato tree

ชื่ออื่น มะเขือยักษ์  มะเขือดอก  มะเขือประดับ

 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 4-8 เมตร มีหนามห่างๆ แตกกิ่งก้านเป็นทรงพุ่มกลมสวยงาม กิ่งเปราะฉีกขาดง่าย  ใบเดี่ยวขนาดใหญ่ รูปไข่ เรียงสลับ กว้าง 15-20 ซม. ยาวถึง 20-25 ซม. ขอบใบเว้าลึกเป็นพูหลายพู ปลายใบแหลม โคนใบทู่ ไม่สมมาตร ผิวใบมีขนสากทั้งสองด้าน เส้นกลางใบและก้านใบ มีหนามห่าง ดอก สีม่วงแล้วจางเป็นสีขาว ออกเป็นช่อสั้น จากกิ่งใกล้ปลายยอด ยาว 7-10 ซม. ดอกบานเต็มที่กว้าง 5-7 ซม. กลีบรองดอก โคนเชื่อมกัน ปลายเว้าลึกเป็น 5 แฉก กลีบดอก เชื่อมกันคล้ายรูปปากแตร ปลายกลีบเว้าเป็น 5 แฉก ขอบกลีบย่น เกสรผู้ 5 อัน อับเรณูสีเหลือง ยาวประมาณ 1.5 ซม. ผล รูปทรงกลม สีเขียวสด ขนาด 3.5-4.5 ซม. มีกลีบเลี้ยงติดคาที่ขั้วผลกินไม่ได้ ผลสุกสีเขียวคล้ำ เนื้อเหลว มีเมล็ดขนาด 0.1 ซม.จำนวนมากกว่า 100 เมล็ด

 

การกระจายพันธุ์ เป็นไม้ต่างประเทศมีถิ่นกำเนิด ในประเทศเปรูในทวีปอเมริกาใต้ นำมาปลูกที่สวนพฤกษศาสตร์ฯ จังหวัดเชียงใหม่ เจริญเติบโตได้ดี ออกดอกและติดผลตลอดปี

 

ประโยชน์

1. ดอกสวยเพราะกลีบดอกมีสีม่วงสดเมื่อแรกบานแล้วเปลี่ยนเป็นสีม่วงอ่อนและขาวในช่อเดียวกัน ออกดอกตลอดปี จึงนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

2. ใบดกหนาทึบให้ร่มเงาดีมาก เหมาะสำหรับปลูกประดับในสวนสาธารณะ  เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะสวยงาม

 

การขยายพันธุ์ เพาะกล้า และ ตอนกิ่ง

 

การปลูก นำผลสุกมาแยกเอาเมล็ด เพาะกล้าในภาชนะรวม เมื่อต้นกล้ามีใบจริง 3-5 ใบ ให้ย้ายปลูกในภาชนะเดี่ยว เมื่อต้นกล้าสูงราว 20 ซม. นำไปปลูกลงดิน ในสภาพที่ดอน น้ำท่วมไม่ถึง รดน้ำใส่ปุ๋ยเหมือนพืชทั่วไปจะออกดอกเมื่ออายุประมาณ 8-10 เดือน

 

อ้างอิง

องค์การสวนพฤกษศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี. 2546.  สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 7 . โอ. เอส. พริ้นติ้งเฮาส์. กรุงเทพฯ. 347 หน้า.

ตีนเป็ดสองชนิดทำของประดิษฐ์ได้สวยงาม

ผศ.วิชัย  ปทุมชาติพัฒน์


ความนำ ตีนเป็ดทราย กับ ตีนเป็ดทะเล เป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง นิยมปลูกกันมากในสวนในบ้านส่วนตัว ที่ทำงานทั้งเอกชนและของรัฐ รวมทั้งสวนสาธารณะทุกแห่ง จึงพบเห็นกันอยู่เสมอ  เพราะตีนเป็ดทั้ง2ชนิดนี้เป็นพรรณไม้ในวงศ์เดียวกันจึงมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ที่คล้ายกันมาก แม้จะเป็นคนละชนิดกัน จึงทำให้เกิดความสับสนของผู้พบเห็น อีกทั้งเมล็ดแห้งขนาดใหญ่ที่มีความสวยงาม แต่มีน้ำหนักเบาก็ถูกนำมาใช้ในการประดับและประดิดประดอยเป็นของตกแต่งกันทั่วไป  ก็เกิดความสงสัยกันว่าได้มาจากพืชต้นใด บทความนี้จะไขข้อข้องใจได้ทั้งหมด 

 

ตีนเป็ดทราย

ชื่อวิทยาศาสตร์   Cerbera manghas  L.

ชื่อวงศ์    APOCYNACEAE

ชื่ออื่นๆ  ตีนเป็ดเล็ก เทียนหนู  เนียนหนู ปงปง  ปากเป็ด มะตากอ  รักขาว

 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 

ไม้ต้น สูง 5-12 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านมากทำให้เรือนยอดกลม เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลอ่อน ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว ใบเดี่ยว สีเขียวเข้มเป็นมัน เรียงสลับ ออกรวมกันเป็นกระจุกแน่นที่ปลายกิ่ง  ใบรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ดอกสีขาวออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ใจกลางดอกเป็นสีแดงอมชมพู กลีบดอกเมื่อตูมจะซ้อนกันเวียนเป็นเกลียว รูปสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า ปลายด้านหนึ่งจะยาวและแหลมกว่าอีกด้านหนึ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ออกดอกตลอดปี  ผลโต รูปกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6-8 ซม. ผิวผลสีเขียว เรียบ เมื่อแก่มีสีแดง เป็นมัน เมล็ดแข็งมีลายเส้นตามยาวโดยรอบเมล็ด  น้ำหนักเบา

 

การขยายพันธุ์  เพาะกล้าจากเมล็ด และกิ่งตอน

 

การใช้ประโยชน์

1.  ปลูกเป็นไม้ประดับสวน เพราะมีความสวยงามทั้งใบ ดอก ผล และทรงพุ่ม

2. เมล็ดแห้งมีน้ำหนักเบา ลวดลายสวยงาม นำมาประดิษฐ์เป็นของใช้ของตกแต่งได้สวยงาม

3.  มีสรรพคุณเป็นสมุนไพรหลายด้านสรรพคุณของตีนเป็ด ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยแก้ลม แก้ลมให้กระจาย ช่วยแก้โลหิตพิการ ใช้เป็นยาแก้ไข้ตัวร้อน  น้ำมันจากเมล็ดใช้ทามีสรรพคุณแก้หวัด

แก้หลอดลมอักเสบ ช่วยขับผายลม ช่วยแก้อาการบิด ช่วยสมานลำไส้

 

ตีนเป็ดทรายตีนเป็ดทะเล

การขยายและการอนุรักษ์พันธุ์ม่วงไตรบุญ เพื่อเป็นพันธุ์ไม้เศรษฐกิจในอู่ทอง

การขยายและการอนุรักษ์พันธุ์ม่วงไตรบุญ เพื่อเป็นพันธุ์ไม้เศรษฐกิจในอู่ทอง (Tribounia venosa (Barnett) D.J. Middleton) เพื่อเป็นพันธุ์ไม้เศรษฐกิจในอู่ทอง Propagation and conservation of Tribounia venosa (Barnett) D.J. Middleton landrace Muang – Triboun to economic crop at Authong district

ไข่ดาว…กลีบดอกขาวนาสรเหลือง

ผศ.วิชัย  ปทุมชาติพัฒน์


ความนำ ไม้พุ่มดอกหอมต้นนี้ใครเห็นดอกก็จะสะดุดตาทันที เนื่องจากดอกแบนใหญ่ขนาดฝ่ามือหน้าตาคล้ายไข่ดาว มองเห็นแต่ไกลเพราะดอกชูช่อสวยนอกทรงพุ่มคราวละหลายดอก ผู้เขียนได้รับคำถามถึงชื่อดอกไม้ต้นนี้อยู่เสมอ เมื่อยืนยันว่าชื่อ”ไข่ดาว”จริงๆ ก็จะชื่นชมว่าตั้งชื่อได้เหมาะสมมาก ความสวยงามของดอกอยู่ที่กลีบดอกเป็นสีขาวบริสุทธิ์ส่วนเกสรเพศผู้นับร้อยอันเป็นสีเหลืองอยู่ตรงกลางดอก เห็นควรนำมาเผยแพร่ให้รู้จักกันให้กว้างขวางมากขึ้น

ไข่ดาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ Oncoba spinosa Forsk.

ชื่อสามัญ Fried egg tree, Oncoba

ชื่อวงศ์ FLACOURTIACEAE

ถิ่นกำเนิด แอฟริกาเขตร้อน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่มรอเลื้อย ลักษณะพุ่มไม่แน่นอนเนื่องจากแตกกิ่งก้านยื่นยาวออกไปไม่มีระเบียบ สูงได้ถึง 5 เมตร ลำต้นมีหนามยาวจำนวนมากและมีช่องอากาศตามกิ่ง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีหรือรูปไข่ ยาว 3.5-14 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบสอบ แผ่นใบค่อนข้างหนา ผิวใบเกลี้ยง ขอบใบจักซี่ฟันถี่ ใบอ่อนมีสีน้ำตาลแดง ดอกขนาดใหญ่ ออกเดี่ยว ตามซอกใบที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวบริสุทธิ์ มี 8-10 กลีบ ก้านดอกยาว 1-2 ซม. ดอกบานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลาง 7-8 ซม. มีกลิ่นหอมอ่อนๆในช่วงอากาศค่อนข้างเย็น กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ ติดทนที่ขั้วผล เกสรเพศผู้สีเหลืองเป็นเส้นเล็กจำนวนมาก รวมกันอยู่กลางดอก  ทำให้ดูคล้ายไข่ดาว ผลมีเนื้อ ทรงกลม มีสันเล็กน้อย เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 ซม. ผลแก่สีน้ำตาลแดง เปลือกแข็ง มีสันตื้นๆหลายสัน เมล็ดมีจำนวนมาก รูปไข่ สีน้ำตาลดำ เกลี้ยง ยาว 6-7 มม.แทรกอยู่ในเนื้อผลสีดำ

 

การขยายพันธุ์

1. เพาะกล้าจากเมล็ด โดยแคะเมล็ดออกมาจากเนื้อผล แม้เปอร์เซ็นต์ความงอกจะต่ำแต่ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้ได้ต้นไข่ดาว

2. การตอนกิ่ง ควรใช้ฮอร์โมนช่วยเร่งการออกราก

 

หมายเหตุ

1.ไข่ดาวมีถิ่นกำเนิดในแอฟริกา

2.ต้นไข่ดาวเป็นไม้ปลูกง่าย โตเร็ว ในเมืองไทยเรามีปลูกเป็นไม้ประดับแต่ไม่แพร่หลายเนื่องจากทรงพุ่มไม่แน่นอน มีหนามตามลำต้นและกิ่งก้าน ควรตัดแต่งทรงพุ่มให้เป็นรูปทรงที่ต้องการ และตัดหนามออกเพื่อป้องกันอันตราย

3. ต้นไข่ดาวเหมาะสำหรับปลูกในสวนสาธารณะ โดยจำกัดพื้นที่ให้เจริญเติบโตอย่างอิสระ เพื่อให้เห็นความเป็นธรรมชาติของไม้ดอกสวยงามต้นนี้

 

อ้างอิง

หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ  ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลองคณะเกษตร กำแพงแสน  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  วิทยาเขตกำแพงแสน จ. นครปฐม

องค์การสวนพฤกษศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี. 2544. สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 4. โอ.เอส.พริ้นติ้งส์เฮาส์, กรุงเทพฯ. 151 หน้า.

มะแพร้ว : มะพร้าวกลายพันธ์

มะแพร้ว : มะพร้าวกลายพันธุ์

ผศ.วิชัย  ปทุมชาติพัฒน์


ความนำ

“มะแพร้ว” มีมานานแล้ว ฟังชื่อแล้วอาจไม่คุ้นเคยนักสำหรับคนรุ่นใหม่เพราะคุ้นเคยกับมะพร้าวมากกว่า มะแพร้วจัดอยู่ในกลุ่มพืชตระกูลปาล์ม ปัจจุบันหาดูได้ยากมาก น้อยคนจะรู้จักว่า มะแพร้ว คือมะพร้าวชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของยีนซึ่งก็คือการกลายพันธุ์นั่นเอง  ทำให้มะแพร้วไม่มีหางหนู(ระแง้)และดอกเพศผู้ ดอกเพศเมียหรือผลอ่อนจะเกิดอย่างหนาแน่นบนแกนกลาง(หรืองวง)โดนตรง มะแพร้วจะติดผลน้อยกว่ามะพร้าว คือเพียง 4-5 ผลต่อทะลาย นั่นเป็นเพราะไม่มีดอกเพศผู้หรือมีดอกเพศผู้น้อยกว่าปกติหรือมีดอกตัวเมียมากเกินไป


 

มะแพร้ว

ชื่อสามัญ  Spitapa

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cocos nucifera L.  var. spicata K.C.Jacob

ชื่อวงศ์ PALMAE – ARECACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

มะแพร้วมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกันกับมะพร้าวทุกประการจนแยกไม่ออก หากพบเห็นต้นมะแพร้วก็จะเข้าใจว่าเป็นมะพร้าว แต่หากพิจารณาจากช่อดอกหรือทะลายของผลบนต้นก็จะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน ซึ่งจะไม่พบเส้นหางหนูที่เกะกะเหมือนในทะลายมะพร้าว  มะพร้าวมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cocos nucifera L. แต่มะแพร้วมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Cocos nucifera L.  var. spicata K.C.Jacob จะเห็นว่ามะแพร้วแตกต่างจากมะพร้าวเพียง variety เท่านั้น

หมายเหตุ

1. มะแพร้วมีโอกาสสูญพันธุ์ ด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น

  • มะแพร้วติดผลน้อย เกษตรกรไม่นิยมปลูก ขาดแคลนผลแก่ที่จะทำพันธุ์
  • มะแพร้วมีโอกาสกลายพันธุ์กลับมาเป็นมะพร้าวหากได้ผสมข้ามกับเกสรเพศผู้ของมะพร้าว หากในบริเวณที่ปลูกนั้นมีต้นมะพร้าวปลูกอยู่แล้ว

2. หากสนใจอยากรู้จักต้นมะแพร้ว สามารถไปชมได้ที่

– วัดนางชีที่อยู่ใกล้วัดปากน้ำภาษีเจริญ

สวนหลวง ร.9   สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ที่ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ตำบลสระยายโสม อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี มี 2 ต้นซึ่งติดผลมา 3 ปีแล้ว

สรรพคุณของมะแพร้ว มีหลายประการดังนี้

1.ดื่มน้ำของมะแพร้วจะช่วยลดการกระหายน้ำ คลายร้อน รู้สึกสดชื่น ช่วยลดอาการบวมน้ำ มีส่วนในการเสริมสร้างคอลลาเจนและอิลาสติน ช่วยทำให้ผิวพรรณกระชับ ลดการเกิดริ้วรอย ช่วยรักษาอาการไอ ช่วยรักษาอาการอ่อนเพลียเนื่องจากการสูญเสียน้ำภายในร่างกายจากโรคท้องร่วง ช่วยรักษาอาการอาเจียนเป็นเลือด ช่วยรักษาอาการเมาค้าง ช่วยถอนพิษเบื่อเมา รักษาโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ ช่วยขับปัสสาวะ

2.น้ำและเนื้อของมะแพร้วมีวิตามินและแร่ธาตุอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ กรดอะมิโน แคลเซียม เป็นต้น

3.ดอกของมะแพร้วช่วยในการบำรุงโลหิต รักษาอาการเจ็บคอ ลดเสมหะ

4.น้ำของมะแพร้วสามารถฉีดเข้าเส้นเลือดได้ กรณีผู้ป่วยมีอาการขาดน้ำหรือมีปริมาณเลือดน้อย

5.น้ำของมะแพร้วอ่อนมีปริมาณของสารที่เรียกว่า ฮอร์โมนเอสโตรเจน อยู่สูง ช่วยในการป้องกันโรคอัลไซเมอร์หรือสมองเสื่อมได้ ช่วยป้องกันและรักษาการเกิดโรคหัวใจ

6.ใช้เปลือกหุ้มรากของมะแพร้วรักษาโรคคอตีบได้

7.ช่วยรักษาอาการระคายเคืองดวงตาโดยใช้เนื้อมะแพร้วอ่อนนำมาวางบนเปลือกตา

8.ใช้รากหรือจั่นน้ำของมะแพร้ว รักษาโรคไข้ทับระดู

9.การอมน้ำกะทิสดของมะแพร้วประมาณ 3 วันช่วยในการรักษาปากเป็นแผล ปากเปื่อย

10.รากของมะแพร้วใช้อมบ้วนปากเพื่อรักษาอาการเจ็บคอ

11.น้ำมันของมะแพร้วช่วยรักษาอาการปวดกระดูกและเส้นเอ็น ช่วยรักษาแผลติดเชื้อ แผลเรื้อรัง ใช้ทาผิวหนังใช้ทารักษาแผลที่เกิดจากไฟไหม้หรือแผลถูกน้ำร้อนลวกเพื่อป้องกันแสงแดดและทำให้ผิวชุ่มชื้นในหน้าหนาว

12.ใบของมะแพร้วใช้ต้มน้ำดื่มเพื่อรักษาโรคอีสุกอีใส

ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย

สาระเร็ว.COM