Category Archives: จิตวิญญาณความเป็นครู คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ

สันติภาพศึกษา

ชื่อผลงานทางวิชาการ : สันติภาพศึกษา

ประเภทผลงานทางวิชาการ : หนังสือประกอบการเรียนการสอนวิชาสันติภาพศึกษา

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2555

ข้อมูลเพิ่มเติม : สาขาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : ศรีมงคล เทพเรณู ตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ สังกัดคณะครุศาสตร์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : สันติภาพพิจารณาได้ 2 ลักษณะ คือ ลักษณะแรก หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของสันติภาพ (Education about peace) และอีกลักษณะหนึ่ง หมายถึง การศึกษาเพื่อดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับสันติภาพ (Peace Activities) หรือสันติภาพ หมายถึง การพัฒนาหรือการขจัดความอยุติธรรม ความเสื่อมของระดับชั้นทางสังคมและเศรษฐกิจ การขจัดความอิจฉาริษยา ไม่ไว้วางใจกัน หรือหมายถึง การจัดหาปัจจัยทางสังคมที่จำเป็น เช่น อาหาร การศึกษา การดูแลสุขภาพ การจ้างงานหรือการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยสงครามและผู้อพยพที่ยากจน

       จากรูปแบบและเนื้อหาสาระของสันติภาพเน้นที่ปัญหาและการอยู่รอดของมนุษย์เป็นสำคัญและเน้นความร่วมมือ การอยู่ร่วมกันเป็นหลักสำคัญของการศึกษา ดังนั้นควรปลูกฝังนิสิต / นักศึกษาในด้านการค้นหาและทำความเข้าใจกับความขัดแย้งในชีวิต และความสามารถในการร่วมมือกันให้เกิดความตระหนัก ซาบซึ้งในความแตกต่างทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมครอบคลุมไปถึงปัญหาการลดอาวุธนิวเคลียร์ด้วย ดังนั้นการศึกษาเพื่อสันติภาพ หมายถึง การศึกษาที่แสดงวิสัยทัศน์ในทางต่อต้านสงคราม พยายามที่จะหลีกเลี่ยงความคิดที่ว่าสงครามเป็นเรื่องปกติธรรมดาและไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ทั้งยังพยายามสร้างความเชื่อว่ายังมีชีวิตที่ไม่รุนแรงในการยุติความขัดแย้ง

       การมีส่วนร่วมขององค์ประกอบทุกประการในสังคม เรื่องการศึกษาเพื่อสันติภาพ วัฒนธรรมเพื่อสันติภาพในปัจจุบัน ได้แก่ ครอบครัว บุคคล โรงเรียน มหาวิทยาลัย ศาสนาและรัฐ ได้มีส่วนร่วม สันติภาพทั้งภายในและภายนอกจะเกิดจากเงื่อนไขสำคัญ คือ ทัศนคติที่เชื่อมั่นในวัฒนธรรมที่ว่ามนุษย์สามารถพัฒนาได้ แต่กระแสความขัดแย้งและความรุนแรงในภูมิภาคต่างๆ ของโลกก็เกิดขึ้นเสมอความรุนแรง ได้แก่ ความต้องการมีชีวิตอยู่ ต้องการความเป็นอยู่ที่ดี ต้องการเสรีภาพและต้องการอัตลักษณ์หรือความหมายของชีวิต ระดับความขัดแย้งมี 3 ระดับ คือ ระดับบุคคล ระดับองค์กรและระดับประเทศ ผลของความขัดแย้งกำหนดโดยพลวัตรของปฏิสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายต่างๆ ความรุนแรงที่นำไปสู่ความขัดแย้งทางสังคมในปัจจุบัน คือ การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

       ประวัติความเป็นมาของการศึกษาปรัชญาสันติภาพในโลกตะวันตก แบ่งเป็นระยะๆ ได้แก่ ระยะที่หนึ่ง คือ การศึกษาสันติภาพเชิงลบและการศึกษาสันติภาพในแง่มุมของการศึกษาสงครามในบริบทวิทยาศาสตร์ ระยะที่สอง คือ ระยะที่สันติภาพถูกนำมารวมไว้กับการพัฒนา มีการพัฒนาด้านต่างๆ เกิดขึ้น ระยะที่สาม คือ ระยะที่ผู้คนเริ่มให้ความสำคัญกับการลดอาวุธให้ความสำคัญเรื่องเพศเท่าเทียมกัน ระยะที่จะก้าวสู่อนาคต คือ ตั้งแต่ปัจจุบันเป็นต้นไป ปัจจุบันมีการขยายกรอบการศึกษาครอบคลุมแนวความคิดที่หลากหลายในมุมของสังคมวิทยา

       จุดเริ่มต้นของทฤษฎีสันติภาพ เป็นทฤษฎีที่ยอมรับว่าสงครามในฐานะมาตรการหนึ่งในการรักษาสันติภาพการแสวงหาคุณูปการจากทฤษฎีเพราะมีประโยชน์ต่อการสร้างทฤษฎีสันติภาพ จึงจำเป็นต้องศึกษาทฤษฎีสงครามให้เข้าใจ เพราะทฤษฎีสันติภาพมีลักษณะบางอย่างสอดคล้องกับทฤษฎีสงครามในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับวิธีการของทฤษฎีสันติภาพ 3 ประเด็น ได้แก่ สันติภาพไม่ใช่การยุติสงคราม การทำสงครามเป็นการศึกษาเฉพาะเรื่องกลยุทธ์วิธีการเท่านั้น และสงครามเป็นเรื่องของการกระทำในสภาพการขัดแย้ง เครื่องมือสำหรับการสร้างสันติภาพ สามารถจำแนกตามภารกิจ ดังนี้ การทูตแบบถาวร วิธีการจัดการกับความขัดแย้งแบบไม่เป็นทางการ มาตรการทางการทหาร มาตรการทางเศรษฐกิจและสังคม การพัฒนาทางการเมืองและมาตรการทางการบริหารจัดการ มาตรการความยุติธรรมและกฎหมายและมาตรการการสื่อสารและการศึกษา

       สังคมนิยมเป็นความหวังใหม่แห่งสันติภาพ แสดงออกมา 2 ลักษณะ คือ แสดงออกทางความสิ้นหวัง กับปฏิกิริยาของประชาชนมีแนวโน้มจะส่งเสริมการเกิดกระแสมิจฉาทิฐิและโมหะจริต ยึดมั่นในแนวคิดของตนโดยไม่สนใจใคร การจัดระเบียบทางเศรษฐกิจเพื่อสันติภาพ เกิดจากการประชุมสำคัญที่เกิดขึ้นโดยกลุ่มนักวิชาการและนักธุรกิจ มีข้อสรุป 2 ประเด็น ได้แก่ จุดจำกัดของการเจริญเติบโต (The Limits to Growth) กับจุดเปลี่ยนของมนุษย์ (Mankind at the Turning Paint) ทางกฎหมายและการเมืองให้ความสำคัญของสันติภาพและต้องการให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น กรณีเกิดข้อพิพาททางกฎหมาย อาจใช้ระบบและบุคลากรที่เป็นทางการ ทางกฎหมายและทนาย เช่น ศาล ฯลฯ เป็นต้น กระบวนการการสร้างสันติวิธีมี 2 ขั้นตอน คือ พยายามป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งขึ้นพยายามแก้ไขความขัดแย้งและรักษา เยียวยาภายหลังความขัดแย้งสิ้นสุดลง

       สภาพการณ์และสันติภาพของประเทศไทย พบว่าเกิดความรุนแรงทั้งเปิดเผยและไม่เปิดเผย สันติภาพในประเทศไทยจะนึกถึงความขัดแย้งหรือการปะทะกันระหว่างชาติ ประเทศไทยเกิดแรงเหวี่ยงทางสังคมไทย (Social Momentum) เกิดจากปัจเจกชนนิยมการยึดมั่น ถือมั่น การปรับตัวของปัจเจกชนมี 5 แบบ ได้แก่ พวกทำตาม (ปฏิบัติตาม) พวกแหวกแนว พวกเจ้าระเบียบ พวกหนี้โลกและพวกขบถ ทั้งหมดนี้เป็นผลทำให้เกิดปัญหาความล้าหลังของวัฒนธรรมซึ่งเกิดจากวัฒนธรรมอื่นแตกต่างจากวัฒนธรรมเดิม เกิดภาวการณ์ปฏิบัติไม่ถูกต้อง เช่น ปัญหาอาชญากรรม ฯลฯ เป็นต้น การวิเคราะห์สภาพอาชญากรรมในประเทศไทย เช่น สาเหตุอาชญากรรมที่เกิดจากภาวะความตึงเครียด เกิดจากการถี่ตรงและด้านประชากร การศึกษา เป็นต้น ฯลฯ

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : ทฤษฎีสันติภาพและสันติวิธี ได้แก่

       1. ทฤษฎีสันติภาพของอาดัม เคิร์ล เสนอวิธีศึกษาสันติภาพ โดยการพิจารณาความสัมพันธ์ที่ไม่สันติและความสัมพันธ์ที่สันติ

       2. ทฤษฎีสันติภาพของโยฮัน กัลตุง ได้เสนอทางเลือกใหม่ให้กับสังคม คือ สิ่งที่เรียกว่าสันติภาพเชิงโครงสร้าง โดยได้ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับสันติภาพ เพราะเป็นสันติภาพในสังคมให้ศึกษาในแง่ของศาสนาและพื้นฐานความต้องการของมนุษย์ เช่น ต้องการดำรงชีวิต ต้องการความเป็นอยู่ที่ดี เป็นต้น

       3. ทฤษฎีสันติภาพของท่านพุทธทาสภิกขุ ให้ความสำคัญของสันติภาพ เพราะครอบครัวต้องการสันติภาพ จำแนกสันติภาพเป็นระดับบุคคล ระดับสังคมและระดับโลก ประกอบด้วยด้านสังคม ด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ด้านวัตถุ และด้านจิตใจ จะเห็นว่าจากทักษะเรื่องสันติภาพของพระธรรมปิฎก มุ่งเน้นการสร้างสันติภาพจากภายในอันเป็นหลักสำคัญทางพระพุทธศาสนา ให้สำรวจกิเลสของมนุษย์ ซึ่งเป็นเรื่องภายในและเป็นบ่อเกิดจากการขาดสันติภาพภายในจิตใจ

       แนวความคิดของสมาคมนักการศึกษานานาชาติเพื่อสันติภาพของโลก (NGO ของUN) วิเคราะห์สันติภาพออกเป็น 9 ระดับ ได้แก่ สันติภาพภายในบุคคล ระหว่างบุคคล หมู่คณะ และภายในเผ่าพันธุ์ ฯลฯ เป็นต้น ดังนั้นจากทฤษฎีสันติภาพข้างต้นนั้น การสร้างสันติภาพ คือ การปรับเปลี่ยนความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์และสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อสันติภาพ การสร้างสันติภาพทำให้โลกมีความปลอดภัย เพราะฉะนั้นการศึกษาสันติภาพ จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยทางจิตวิทยาเข้ามามีส่วนร่วม เพราะธรรมชาติในการสร้างมนุษย์ให้มีความแตกต่าง เนื่องจากจิตวิทยา คือ วิชาที่ศึกษาพฤติกรรมหรืออาการกระทำต่างๆ ของมนุษย์และสัตว์ เกี่ยวกับพฤติกรรมปรุงแต่ง ซึ่งพฤติกรรมเหล่านั้นจะถูกการควบคุมและจำกัดโดยสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว มนุษย์มีความเชื่อ คือความเชื่อมโยงโดยอัตนัยของบุคคลระหว่างที่หมายของความเชื่อกับลักษณะคุณสมบัติ

       การสร้างสันติภาพ แบ่งตามความเชื่อหรือหลักการปฏิเสธความรุนแรง 6 ประเภท โดยเฉพาะประเภทที่ 2 ตกลงประนีประนอม ซึ่งมีลักษณะดังนี้

ลักษณะของความรุนแรง ระดับความรุนแรง
ระดับโลก ระดับประเทศ ระดับสังคม ระดับบุคคล
ความรุนแรงทางตรง สงครามปกตินิเคลียร์ละเมิดสิทธิมนุษยชน สงครามกลางเมือง การต่อต้าน การฆ่าตัวตาย
ความรุนแรงทางโครงสร้าง ความยากจน ความไม่เท่าเทียมกัน ความเอาเปรียบ ความไม่เท่าเทียมกันในระดับประเทศ ความยากจน การหมดกำลังใจ
ความรุนแรงทางวัฒนธรรม การข่มเหงทางวัฒนธรรม การเอาเปรียบทางเชื้อชาติ การแบ่งชนชั้น การเอาเปรียบซึ่งกันและกัน การรู้สึกแบ่งแยก
ความรุนแรงทาง สิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ สงครามเคมี สงครามนิวเคลียร์ การใช้ทรัพยากรดิน สิ่งแวดล้อมในประเทศ ป่าไม้ สิ่งแวดล้อมชุมชน ป่าไม้ ภูเขา การบริโภคเกินความจำเป็น

       แนวทางการส่งเสริมสันติภาพตามแนวท่านพุทธทาสภิกขุ จัดว่าเป็นทางเลือกสำหรับมนุษย์ 2 ส่วน คือ ปัจเจกบุคคลกับส่วนของสังคม

       แนวทางส่งเสริมปัจเจกบุคคล คือ ส่งเสริมให้มีการศึกษาดีถูกต้องสมบูรณ์ ทั้งด้านวิชาชีพ ศีลธรรมที่ถูกต้อง ส่วนทางด้านส่งเสริมทางสังคม ให้มีระบบเศรษฐกิจที่ถูกต้องมีการศึกษาที่ถูกต้อง สำหรับด้านเศรษฐกิจการเมืองหรือเศรษฐศาสตร์เป็นความพยายามของมนุษย์ที่จะค้นหา สร้างรูปแบบ การดำเนินชีวิต แม้แต่การปรองดอง (Hamony) ทั้งกายและใจ ในปัจจุบันที่มีการค้นพบวิถีชีวิตแบบใหม่ที่เน้นด้านคุณธรรมในการสร้างความมั่นคง พิทักษ์ประโยชน์ เกิดกระแสการค้นคว้าวิถีชีวิตด้านการผลิตแบบใหม่ เรียกว่า “สังคมนิยม” ที่มีผลมาจากการแสดงออกทางสิ้นหวังกับกระแสมิจฉาทิฐิ โมหะจริต ยึดมั่นในความคิดของตนจึงเกิดการต่อต้านและต้องการเอกภาพในวิธีการและแนวทางการดำเนินชีวิตในประเทศสังคมนิยม

       ปัญหาสันติภาพเป็นสิ่งที่มนุษย์ได้พยายามหาทางวิธีการ มาตรการแก้ไขปัญหาต่างๆ ด้วยความปรารถนาสร้างสรรค์สังคมสันติสุขพร้อมๆ กัน จึงเกิดความพยายามใช้แนวทางต่อสู้แบบสันติวิธี 3 อย่าง ได้แก่ สันติวิธีในการสร้างประชาธิปไตยและเสรีภาพ และคนกลุ่มใดชอบใช้ความรุนแรง ฯลฯ เป็นต้น จึงมีการมอบรางวัลโนเบล คือ บุคคลที่มีผลงานในทางบุกเบิกความสัมพันธ์ที่ดีในการอยู่ร่วมกัน โดยให้มีสันติภาพเกิดขึ้นมีการปรองดองแบบประชาธิปไตย มีสิทธิมนุษยชนเท่าเทียมกัน อาทิเช่น ฌอง อองรี ดูนองค์  (Jean Henri Dunant) ผู้ก่อตั้งสภากาชาดและการประชุมเจนีวาสิทธิมนุษยชน นางอองซาน ซูจี ต่อสู้ไม่รุนแรงในการเรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนและบารัค โอบามา ใช้ความเข้มแข็งในการสร้างความเข้มแข็งให้กับการทูตระหว่างประเทศและความร่วมมือระหว่างผู้คนทั่วโลก ฯลฯ เป็นต้น

       สภาพการณ์และสันติภาพของประเทศไทยเป็นวิธีการไม่ใช้ความรุนแรงต่อผู้อื่น ต่อสิ่งอื่น ต่อตนเอง และต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นความรุนแรงทางโครงสร้าง พบว่าระบบการศึกษาของไทย ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษามีลักษณะแบ่งชนชั้น โดยวัฒนธรรมไทยบางส่วนก็เป็นเรื่องการเกิดสันติภาพยากมาก เพราะสังคมไทยแบ่งคนที่มีอำนาจมีอิทธิพลเหนือคนอื่น

จากปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องมีการปรับตัวใหม่ การปรับตัวของปัจเจกชนมี 5 แบบ ได้แก่ พวกทำตาม (ปฏิบัติตาม) พวกแหวกแนว พวกเจ้าระเบียบ พวกหนี้โลกและพวกขบถ

พฤติกรรมเบี่ยงเบน

เป้าหมายทางวัฒนธรรม

บรรทัดฐานของสังคม

พวกทำตาม

+

+

พวกแหกแนว

+

พวกเจ้าระเบียบ

+

พกหนีโลก

พวกขบถ

+ / –

+ / –

       ประเทศไทยความเบี่ยงเบนต่างๆ เป็นผลของปัญหาความขัดแย้ง ล้าหลังของวัฒนธรรม เกิดภาวการณ์ปฏิบัติไม่ถูกต้อง ปฏิบัติไม่ได้และไม่ปฏิบัติตามระเบียบ จึงเกิดปัญหา เช่น ปัญหาอาชญากรรม ฯลฯ เป็นต้น สาเหตุการเกิดอาชญากรรมบนพื้นฐานการดำรงชีวิตในปัจจุบัน เช่น การพัฒนาประเทศจากสังคมชนบทไปสู่สังคมเมือง พัฒนาอาชีพจากภาคเกษตรกรรมไปสู่ภาคอุตสาหกรรม การวิเคราะห์สภาพอาชญากรรมในประเทศไทย ได้แก่

       1. สาเหตุอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากภาวะตึงเครียด

       2. เกิดจากการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมและการสมาคมกับกลุ่มแตกแยก

       3. เกิดการตีตรา

       4. ทางด้านประชากรการศึกษา

จุดเด่น/ความน่าสนใจของหนังสือ : จากเนื้อหาสาระของหนังสือที่กล่าวถึง

       ประเด็นที่ 1 ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจเกิดขึ้นและขยายตัวอย่างรวดเร็วในเอเชีย ประเทศขาดการบริหารจัดการที่ดีทั้งภาครัฐและเอกชน ต้องขอกู้เงินจากกองทุน IMF (กองทุนระหว่างประเทศ เงื่อนไขสำคัญ รัฐบาลต้องสร้างหลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการภาครัฐให้เกิดอย่างเป็นรูปธรรม จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นแนวคิดธรรมาภิบาล จากเหตุผล

       1. อันเนื่องมาจากความจำเป็นจากสาเหตุปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ

       2. รัฐบาลไทยต้องรับแนวคิดจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย

ทั้ง 2 กรณีนำไปสู่การผสมผสานผลประโยชน์ที่หลากหลายและขัดแย้งกัน โดยมีองค์ประกอบจำเป็นต้องมี 4 มิติ จะต้องเชื่อมโยงระหว่างทั้ง 4 องค์ประกอบ ได้แก่

       1. Accountability คือ ความรับผิดชอบและมีเหตุผลที่อธิบายได้

       2. Paricipation คือ ต้องมีการมีส่วนร่วมของประชาชน

       3. Predictability คือ จะต้องมีการคาดการณ์ได้

       4. Transparency คือ จะต้องมีความโปร่งใส

       ธรรมาภิบาลตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี จึงเรียกว่า การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ซึ่งมีหลักการพื้นฐานสำคัญ 6 กรอบ ได้แก่ หลักนิติธรรม (Rule of Law) หลักคุณธรรม (Ethics) หลักความโปร่งใส (Transparency) หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หลักความสำนึกรับผิดชอบ (Accountability) และหลักความคุ้มค่า (Value of Money)

       สถาบันพระปกเกล้า เสนอว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้สร้างระบบริหารกิจการบ้านเมือง (Good Governance) โดยมีเป้าหมาย 3 ประการ ประกอบด้วย

       1. การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ เพื่อให้งานภาครัฐมีคุณภาพ ได้มาตรฐานตามที่ประชาชนต้องการมีความโปร่งใส ในการตัดสินใจและในกระบวนการทำงาน

       2. การปรับเปลี่ยนบทบาทการทำงานของภาครัฐ เน้นงานหน้าที่หลัก คือ การกำหนดนโยบาย บังคับใช้กฎหมาย ให้ความเสมอภาค เป็นธรรม บริหารอย่างอิสระและประชาชนมีส่วนร่วม

       3. การบริหารแบบพหุภาคี คือ การบริหารที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย ตัดสินใจหรือร่วมปฏิบัติงานโดยไม่ผูกขาดหรือรวมศูนย์อำนาจ

       ดังนั้นในการสร้างธรรมรัฐให้เกิดขึ้นในสังคมไทยต้องให้หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบและหลักความคุ้มค่า องค์ประกอบของการมีธรรมาภิบาลสำคัญ 9 ประการตามความหมายของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ประกอบด้วย การมีส่วนร่วมของประชาชน กฎหมายที่ยุติธรรม ความเปิดเผยโปร่งใส การมีฉันทานุมัติร่วมในสังคม กลไกการเมืองที่ชอบธรรม ความเสอมภาค ประสิทธิภาพและประสิทธิผล พันธะความรับผิดชอบต่อสังคมและความมีวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์

       ประเด็นที่ 2 การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของโลกมีผลนำไปสู่การทำรัฐประหารของฝ่ายขวา เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการเมืองภายในภูมิภาคต่างๆ คือ ชัยชนะของกลุ่มคอมมิวนิสต์ การถอนทหารอเมริกันออกจาภูมิภาค ได้สร้างปัญหาเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจ เกิดภัยคุกคามการเมืองจากค่ายคอมมิวนิสต์ จึงเป็นแรงกดดันและเกิดการแยกขั้วระหว่างฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา และวิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองในตะวันออกกลาง ทำให้การเมืองขาดประสิทธิภาพ จึงมีการนำเทคโนโลยี โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์มาใช้ทำงานตามลักษณะการทำงานและนำไปประยุกต์ใช้งานด้านต่างๆ เช่น การศึกษา กราฟฟิค การค้าปลีก พลังงาน กำหมาย การขนส่ง การเงิน เกษตรกรรม รัฐบาล ที่อยู่อาศัย สุขภาพและการแพทย์ หุ่นยนต์ วิทยาศาสตร์ การสื่อสาร การฝึกอบรมและงานเอกสาร เป็นต้น

       ประเด็นที่ 3 กฎหมายลิขสิทธิ์ที่ทุกคนควรทราบ ลิขสิทธิ์ คือ ทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่งที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง โดยให้เจ้าของลิขสิทธิ์ถือสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว รูปแบบของการละเมิดลิขสิทธิ์ อาจเกิดจาก

       1. การทำสำเนาโดยผู้ใช้

       2. การติดตั้งซอฟแวร์ลงในฮาร์ดดิสก์

       3. การปลอมแปลงสินค้า

       4. การละเมิดลิขสิทธิ์

       5. การขายลิขสิทธิ์ผิดประเภท

       ทั้ง 5 รูปแบบจัดเป็นประเภทการละเมิดลิขสิทธิ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม

       ประเด็นที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทย เป็นโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ พัฒนาบุคลากรทางด้านสารสนเทศและปฏิรูปภาครัฐ โดยใช้เทคโนโลยีสาสนเทศ ประเทศไทยประกาศใช้กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการกำหนดภารกิจที่สำคัญ 3 ประการ คือ

       1. การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศแห่งชาติที่เสมอภาค

       2. การลงทุนในด้านการศึกษาที่ดีของพลเมืองและบุคลากรด้านสารสนเทศ

       3. การปรับปรุงบทบาทภาครัฐเพื่อบริการที่ดีขึ้นและสร้างรากฐานอุตสาหกรรมสารสนเทศที่แข็งแกร่ง

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : จากเนื้อหาสาระของหนังสือสันติภาพศึกษา พบว่า ยังมีบทวิเคราะห์เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้สันติภาพศึกษา เริ่มจากการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน เพื่อสร้างจิตสำนึกใหม่ มีการจัดการศึกษาที่มุ่งมั่นไปที่การสืบค้น สำรวจภายในตัวเอง การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ โดยตรงและการฟังด้วยใจที่เปิดกว้าง ซึ่งจะนำไปสู่การตระหนักหยั่งรู้ความเปิดกว้าง ความเคารพในความเป็นมนุษย์และการยอมรับในความแตกต่าง

       ความจำเป็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คือ การเรียนรู้ด้วยใจอย่างใครครวญ โดยมีแนวทางการให้การศึกษา ดังนี้

       1. Citicality-Based คือ สอนให้มองโลกในแง่ดี ให้มีความคิดวิจารณญาณ รู้จักวิเคราะห์หาเหตุผล

       2. Creativity-Based คือ สอนให้พัฒนาตนเองให้เต็มที่ตามศักยภาพ รู้จักสร้างสรรค์สิ่งใหม่

       3. Productivity-Based คือ สอนให้มองที่ผลงาน ให้รู้จักสร้าง ผลิต คิดอะไรใหม่ๆ

       4.Responsibility-Based คือ สอนให้รู้จักตนเอง เสียสละ ให้ผลักดันสังคมให้ก้าวหน้า ด้วยมือของตนเอง

       การเรียนรู้ตามแนวจิตตปัญญาศึกษา มีการฝึกการใช้ชีวิตทั้งฐานกาย ฐานใจและฐานปัญญา เช่น ฝึกทั้งการโต้แย้ง มองอย่างพินิจพิจารณา ตามหลักศาสนา เปรียบเหมือนต้นไม้แตกกิ่งก้านหลายสาขา กิจกรรมจิตตปัญญามี 4 ขั้นตอน คือ ย้อนพิจารณาถึงประสบการณ์หรือกิจกรรมที่ผ่านมาการน้อมนำสู่ใจ การใครครวญด้วยใจและการนำไปพัฒนาให้ดีขึ้น สำหรับการฝึกให้มีจิตสาธารณะนั้น สอนให้เกิดความสำนึกต่อส่วนร่วมซึ่งเป็นลักษณะหนึ่งของจิตสาธารณะ การแสดงออกของพฤติกรรมจิตสาธารณะมี 3 องค์ประกอบ คือ การหลีกเลี่ยงการใช้อำนาจหรือการกระทำที่ทำให้เกิดความชำรุดเสียหายต่อส่วนรวมที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันของกลุ่ม การถือหน้าที่ที่จะมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาของส่วนรวมในวิสัยที่สามารถทำได้และการเคารพสิทธิในการใช้ขอส่วนรวมที่เป็นประโยชน์ร่วมกันของกลุ่ม

       ความสำคัญของการมีจิตตสาธารณะเพื่อสร้างสันติภาพ การที่คนมาอยู่รวมกันเป็นสังคม ย่อมต้องมีความสัมพันธ์ในรูปแบบการพึ่งพากัน การพัฒนาจิตสาธารณะต้องเกิดจากการฝึกอบรมตั้งแต่วันเด็ก และพัฒนาไปเรื่องๆ จนถึงเป็นผู้ใหญ่ ทำได้โดยการพัฒนาพฤติกรรม เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

       จากแผนภาพนี้แสดงว่า การเปลี่ยนพฤติกรรมภายนอก ส่งผลต่อกระบวนการทางปัญญาที่มีผลต่อพฤติกรรม สามารถเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงได้และมาจากการเปลี่ยนแปลงทางปัญญา

       ในการพัฒนาจิตสาธารณะสู่สันติภาพการศึกษาสามารถทำได้หลายวิธี อาทิเช่น

       1. การใช้แบบสมมติกับตัวแบบ

       2. การใช้สถานการณ์จำลองผสานกับเทคนิคการประเมินผลจากสภาพจริง

       3. การใช้ตัวแบบสัญลักษณ์ผ่านสื่อ หนังสือเรียนเชิงวรรณกรรม

       4. การสอนตัวแบบผ่านภาพการ์ตูน

       5. การใช้วีดีทัศน์ ละครหุ่นเชิดเป็นตัวแบบ

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (Learning Measurement and Evaluation)

ประเภทผลงานทางวิชาการ : หนังสือประกอบการเรียนรู้วิชาพื้นฐานของหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2559

ข้อมูลเพิ่มเติม : สาขาวิชาการประเมินผลและการวิจัยทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : ดร.อัครเดช เกตฉ่ำ และคณะ อาจารย์สาขาวิชาการประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา คณะครุศาสตร์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : การทดสอบ หมายถึง กระบวนการใช้เครื่องมือชนิดหนึ่งในการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อวัดพฤติกรรมของมนุษย์ออกมาเป็นตัวเลข เช่น การตรวจสอบความสามารถในการเรียน

       การวัดผล หมายถึง กระบวนการหรือวิธีการในการกำหนดตัวเลขให้กับคุณลักษณะต่างๆ ของคน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ต่างๆ อย่างมีกฎเกณฑ์ คือ จะต้องดำเนินการอย่างมีขั้นตอน เป็นระเบียบแบบแผน โดยมีเครื่องมือช่วยวัด ซึ่งจะทำให้ตัวเลขใช้แทนลักษณะของสิ่งที่เราต้องการ

       การประเมินผล หมายถึง การนำเอาผลจากการวัดหลายๆ ครั้งมาสรุป ตีราคา คุณภาพของผู้เรียนอย่างมีหลักเกณฑ์ว่า สูง ต่ำ ดี เลว อย่างไร

       หลักของการวัดผลการศึกษา ได้แก่

       1. กำหนดวัตถุประสงค์การวัดให้ชัดเจน

       2. วัดให้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

       3. เลือกเครื่องมือให้เหมาะสมกับ 1 และ 2

       4. ใช้เครื่องมือที่มีคุณภาพเชื่อถือได้

       5. มีความยุติธรรมในการวัด

       6. แปลผลอย่างถูกต้อง

       7. นำผลที่วัดได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า

       เครื่องมือที่ใช้ในการวัดการศึกษา มีหลายชนิดแต่ละชนิดต่างก็มีความเหมาะสมกับการวัดแตกต่างกัน ประกอบด้วย

       1. การทดสอบ (Testing)

       2. แบบสอบถาม (Questionnaires)

       3. แบบสำรวจ (Checkists)

       4. มาตรประมาณค่า (Rating Scale)

       5. การสังเกต (Observation)

       6. การสัมภาษณ์ (Interview)

       7. การบันทึก (Records)

       8. สังคมมิติ (Sociometry)

       9. การศึกษารายกรณี (Case Study)

       10. การให้สร้างจินตนาการ (Projective Technique)

ประเภทของแบบทดสอบ มีดังต่อไปนี้

       1. แบ่งโดยใช้วิธีตอบเป็นเกณฑ์ ประกอบด้วยแบบทดสอบเขียนตอบ (Essay Test) แบบทดสอบปรนัย (Objective Test) และแบบทดสอบให้ปฏิบัติ (Performance Test)

       2. แบ่งโดยใช้วิธีดำเนินการสอบเป็นเกณฑ์ มี 6 ชนิด คือ แบบทดสอบรายบุคคล เป็นกลุ่ม วัดความเร็ว วัดความสามารถสูงสุด ข้อเขียนและปากเปล่า

       3. แบ่งโดยใช้สิ่งที่ต้องการวัดเป็นเกณฑ์ มี 5 ประเภท ได้แก่ วัดผลสัมฤทธิ์ ความถนัด วัดบุคลิกภาพและเจตคติ

       คุณลักษณะที่ดีของแบบทดสอบ ต้องประกอบด้วยความยาก อำนาจจำแนก ความเชื่อมั่นหรือความเชื่อถือได้ ความเที่ยงตรง ความเป็นปรนัย ความยุติธรรม สามารถนำไปใช้ได้ดี ถามลึก จำเพาะเจาะจง ยั่วยุและประสิทธิภาพ สำหรับความเที่ยงตรง (Validity) เป็นเรื่องราวของความต้องการหรือตั้งใจจะให้ข้อเสนอวัดอะไร ชนิดของความเที่ยงตรงมี 3 ชนิด ได้แก่ ความเที่ยงตรงตามเนื้อหา ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างและความเที่ยงตรงเชิงสัมพันธ์กับเกณฑ์

       สถิติเบื้องต้นสำหรับการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ผู้ประเมินต้องเข้าใจวิธีการและเลือกสถิติที่เหมาะสมใช้ให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการประเมิน การวัดแนวโน้มสู่ส่วนกลางเป็นการหาค่าสถิติเพื่อบอกลักษณะที่เป็นตัวแทนของข้อมูล ค่าสถิติที่นิยมใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ยหรือมัชฌิมเลขคณิต (Mean : ) มัธยมฐาน (Median : Mdn.) และฐานนิยม (Mode : Mo.) คะแนนมาตรฐาน (Standard Score) หมายถึง คะแนนดิบที่แปลงรูปให้มีหน่วยวัดเท่ากันเพื่อให้สามารถนำเปรียบเทียบหรือรวมกันอย่างมีความหมาย ทั้งนี้เพราะคะแนนดิบหรือคะแนนสอบแต่ละวิชาไม่สามารถนำมารวมกันหรือเปรียบเทียบกันได้ เช่น คะแนนเต็มไม่เท่ากัน เป็นต้น การแปลงคะแนนดิบเป็นคะแนนมาตรฐาน ต้องอาศัยพื้นฐานที่สำคัญ คือ ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s)

       การประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง เป็นการใช้เทคนิคประเมินผลหลากหลายวิธี เกณฑ์ที่นำมาใช้ประกอบการพิจารณาประเมินผลตามสภาพจริงนั้น ประกอบด้วย เกณฑ์ระดับคุณภาพและเกณฑ์การพิจารณาตัดสิน ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้

       1. วิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้ เป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม สามารถวัดหรือสังเกตเห็นได้ด้วยความรู้ ความเข้าใจทักษะ กระบวนการและด้านจิตใจ

       2. ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้หรือภาระงานการปฏิบัติในลักษณะผลผลิตหรือผลงาน ผลการกระทำหรือพฤติกรรมและกระบวนการ เช่น การทดลอง เป็นต้น

       3. เลือกวิธีการและเครื่องมือวัดและประเมินผล

       4. สร้างเครื่องมือและประเมินผลการเรียนรู้

              – กำหนดเกณฑ์การประเมินตามสภาพจริง

              – เกณฑ์การให้คะแนนแบบภาพรวม

              – เกณฑ์แบบแยกองค์ประกอบ

       การประเมินตามสภาพจริงนั้น ต้องใช้เทคนิคหลากหลาย ได้แก่ การสังเกต การสัมภาษณ์ การรายงานตนเอง บันทึกจากผู้เกี่ยวข้อง แบบทดสอบปฏิบัติจริง และใช้แฟ้มผลงาน

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : หนังสือการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ สามารถสรุปเป็นประเด็นดังต่อไปนี้

       ประเด็นที่ 1 ธรรมชาติของการวัดผลทางการศึกษา

       1.1 การวัดผลการศึกษา เป็นการวัดในสิ่งที่เป็นนามธรรม

       1.2 มีหน่วยการวัดไม่คงที่หรือมีความแตกต่างกัน เพราะหน่วยการวัดจะเปลี่ยนตามเครื่องมือ

       1.3 มีความคลาดเคลื่อน อาจเกิดจากเครื่องมือที่ใช้วัด

       1.4 เป็นการวัดที่ไม่สมบูรณ์ทั้งหมด เนื่องจากไม่สามารถวัดลักษณะต่างๆ ได้ วัดได้เฉพาะบางส่วนเท่านั้น เช่น วัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคำศัพท์ เป็นต้น

       1.5 เป็นงานสัมพันธ์ เพราะผลจากการวัดไม่มีความหมายในตัวเอง ต้องนำผลไปสัมพันธ์กับสิ่งอื่น เช่น คะแนนเฉลี่ยของกลุ่ม เกณฑ์ที่ตั้งไว้ล่วงหน้า เป็นต้น

       ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การวัดผลทางการศึกษาจะประสบกับปัญหาและข้อยุ่งยากหลายประการ เพราะเป็นการวัดทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับบุคคลหรือมนุษย์ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ยากแก่การควบคุม แต่จัดว่าเป็นเครื่องมือ (Tools) หรือ วิถีทาง (Means) ที่จะนำไปสู่เป้าหมาย (Ends) และมีส่วนให้ครู ผู้บริหาร ผู้เกี่ยวข้องสามารถพัฒนางานการศึกษาของเด็กให้ดีขึ้นได้

       ประเด็นที่ 2 การวัดพฤติกรรมทางการศึกษา นั้นต้องศึกษาจุดมุ่งหมายทางการศึกษาทุกวิชา เพื่อเน้นให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรม 3 ด้าน คือ

       2.1 ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) เป็นพฤติกรรมทางสมองมี 6 ขั้น ได้แก่ ความรู้ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้วิเคราะห์ การสังเคราะห์และการประเมินค่า

       2.2 ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) เป็นพฤติกรรมทางด้านจิตใจ ความรู้สึกของมนุษย์มี 5 ขั้น ได้แก่ การรับรู้ การตอบสนอง การสร้างคุณค่า การจัดระบบคุณค่าและการสร้างลักษณะนิสัย

       2.3 ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) เป็นพฤติกรรมด้านทักษะในการปฏิบัติกิจกรรมมี 7 ขั้น ได้แก่ การรับรู้ การเตรียมพร้อมปฏิบัติ การตอบสนองตามแนวทางที่กำหนดให้ ความสามารถด้านกลไก การตอบสนองที่ซับซ้อน การดัดแปลงให้เหมาะสมและการริเริ่ม

       ดังนั้นผู้สอนทุกวิชาควรสอนให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมทั้ง 3 ด้าน จะเป็นด้านใดมาก-น้อย ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของแต่ละวิชาและการวัดผลก็ต้องวัดพฤติกรรมทั้ง 3 ด้านด้วยและต้องวัดให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของแต่ละวิชา

       ประเด็นที่ 3 การสร้างแบบทดสอบ ในการประเมินผลขึ้นอยู่กับประเภทของการประเมิน วัตถุประสงค์ และลักษณะของการประเมินที่แตกต่างกัน ซึ่งการประเมินมี 2 ประเภท คือ

       3.1 การสร้างแบบทดสอบแบบอิงกลุ่ม จะเป็นการวัดความสามารถทางสมอง 6 ด้าน คือ ความรู้ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์และการประเมินค่า ขั้นตอนในการวางแผนสร้างแบบทดสอบ ได้แก่

              – กำหนดวัตถุประสงค์ของการวัดว่าต้องการอะไร วัดใคร นักเรียนชั้นใด ระดับใด เป็นต้น

              – ศึกษาเนื้อหาทั้งหมดที่จะนำมาทดสอบ โดยพิจารณาจากขอบเขตของเนื้อหาที่ต้องการทดสอบ ประกอบด้วย เนื้อหาอะไร แต่ละเนื้อหามีขอบเขตอย่างไร

              – ศึกษาจุดมุ่งหมายของการสอนเนื้อหา เพื่อเป็นสิ่งบ่งชี้ว่าข้อสอบนั้นเน้นพฤติกรรมด้านใด มากน้อยเพียงใด จึงสามารถวัดได้ตรงจุดมุ่งหมายของการสอน

              – สร้างตารางวิเคราะห์หลักสูตร จำเป็นมากในการวางแผนสร้างข้อสอบ และใช้เป็นแนวยึดในการเป็นข้อมูลการทดสอบ (Test Content)

       3.2 การสร้างข้อสอบแบบอิงเกณฑ์ เป็นการวัดผลตามจุดประสงค์เชิงคุณภาพ ข้อสอบจึงต้องเป็นการวัดพฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงออกได้ตามที่กำหนดไว้หรือไม่ สิ่งที่ต้องพิจารณาในการวัดพฤติกรรมตามจุดประสงค์ คือ

              – พฤติกรรมต่างๆ จะเกิดขึ้นได้ เมื่อวางแผนเงื่อนไขหรือมีการเร้าเสียก่อน ดังนั้นการวัดผลตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมจึงต้องเตรียมเงื่อนไขหรือสถานการณ์ที่จะทำให้พฤติกรรมนั้นขึ้นไว้ก่อนเสมอ

              – พฤติกรรมที่เกิดขึ้นนั้น คาดหวังว่าเมื่อเรียนรู้ไปได้สมควรแก่เวลาน่าจะเกิดพฤติกรรมอย่างนั้น พฤติกรรมนี้เองเป็นสิ่งที่ผู้ทำหน้าที่ต้องการวัดเพื่อดูผลการเรียนรู้ของเด็กบรรลุเป้าหมายตามที่คาดหวังหรือไม่

       พฤติกรรมที่คาดหวังพิจารณาแบ่งได้ 2 พวก คือ

       1. พฤติกรรมที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในลำดับขั้นของการเรียนรู้พฤติกรรมที่จะเกิดขึ้นในลำดับขั้นของการเรียนรู้พฤติกรรมที่จะเกิดขึ้นภายหลัง เกิดการเรียนรู้ผ่านมา

       2. พฤติกรรมที่คาดหวังปลายทาง เป็นพฤติกรรมที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในขั้นสุดท้าย เมื่อกระบวนการเรียนการสอนสิ้นสุดลง จะเกิดในลักษณะจุดประสงค์การเรียนการสอนหรือเป้าหมายของการเรียนการสอน

            – เกณฑ์ที่จะยอมรับพฤติกรรมต่างๆ ภายใต้เงื่อนไขหรือสถานการณ์ที่ตั้งขึ้นมา เพื่อให้พฤติกรรมนั้นเกิดขึ้น แต่อาจจะเป็นพฤติกรรมที่ไม่แท้จริง เกิดโดยบังเอิญจึงไม่คงทนถาวร

การนำเนื้อหาจากสาระจากหนังสือเล่มนี้ไปใช้ : ในฐานะผู้สรุปเนื้อหาและอ่านเนื้อหาทั้งเล่ม พบว่า กรณีที่ผู้นำไปใช้เป็นครูผู้สอนในทุกระดับชั้น สามารถนำประโยชน์จากข้อมูลไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ เนื่องจากการวัดและประเมินผลผู้เรียนนั้นเป็นส่วนหนึ่งและขั้นตอนหนึ่งของการสอน สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สอนมาก เรียงลำดับได้ดังนี้

       1. การวัดและประเมินผลผู้เรียน ซึ่งมีวิธีหลายวิธี เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ การใช้แบบสอบถาม การใช้ข้อทดสอบ ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งวิธีที่ผู้สอนควรทำได้ง่ายที่สุดเพื่อดูพฤติกรรมเบื้องต้นของผู้เรียนได้ทันที คือ การสังเกต (Observation) และควรทำขณะสอนได้ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง

       การสังเกตเป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปรากฏการณ์หรือพฤติกรรมของผู้เรียนขณะปรากฏ โดยอาศัยประสาทสัมผัสของผู้สังเกตโดยตรง เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยตรง ทำให้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความจริง น่าเชื่อถือ แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นของการสังเกตแต่ละครั้ง การสังเกตแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

       1. การสังเกตโดยตรง (Direct Observation) หมายถึง การที่ผู้สังเกตเข้าไปร่วมในหมู่ผู้ถูกสังเกตหรือร่วมกิจกรรมนั้นๆ โดยตรง
2. การสังเกตโดยอ้อม (Indirect Observation) หมายถึง การสังเกตที่เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการทั้งผู้หนึ่งผู้ใดเล่าถึงพฤติกรรมของผู้ถูกสังเกต

       การสังเกตจำเป็นต้องมีการจดบันทึกและตีความหมายของพฤติกรรม บางครั้งจำเป็นต้องใช้เครื่องมืออื่นๆ ช่วย เช่น แบบบันทึก แบบสำรวจรายการ หรือมาตรประมาณค่า การสังเกตจะได้ผลดี ผู้สังเกตต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ คือ ต้องมีความใส่ใจ (Attention) ต่อสิ่งจะสังเกต มีประสาทสัมผัส (Sensation) ที่ดีมีการับรู้ (Perception) ที่ดีและมีความคิดรวบยอด (Conception) ที่ดี คือ สามารถสรุปเรื่องราวได้อย่างถูกต้องเชื่อถือได้ สำหรับลำดับขั้นในการสังเกต ประกอบด้วย

       1. ตั้งจุดมุ่งหมาย ก่อนสังเกตทุกครั้งและจะนำผลจากการสังเกตไปใช้ประโยชน์อะไร

       2. ต้องเข้าใจพฤติกรรมที่จะสังเกตจึงจะสามารถทำการสังเกตได้ถูกต้อง

       3. ศึกษาปรากฏการณ์ของสิ่งที่จะสังเกตว่าชนิดใดมีค่าต่อการสังเกต จะได้สามารถกำหนดหัวข้อที่จะสังเกตและวิธีการสังเกตได้ถูกต้อง

       4. วางแผนการดำเนินงานโดยกำหนดระยะเวลาที่จะสังเกตพฤติกรรมให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายและพฤติกรรมที่จะสังเกต

       5. เตรียมเครื่องมือที่จะใช้ในการสังเกตให้เหมาะสมกับวิธีการและพฤติกรรมที่จะสังเกต

       6. บันทึกผลการสังเกตขณะทำการสังเกต ต้องบันทึกผลการสังเกตในเครื่องมือบันทึกผลอย่างละเอียดและตรงตามความเป็นจริงทุกประการ

       7. ตีความหมายจากข้อมูลที่ได้บันทึกไว้

       8. สรุปผลจากการสังเกตหลายๆ คน หลายๆ ครั้ง เพื่อให้การสรุปผลถูกต้องตรงตามความเป็นจริง

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร

พัฒนาพฤติกรรมมนุษย์

ชื่อผลงานทางวิชาการ : พัฒนาพฤติกรรมมนุษย์

ประเภทผลงานทางวิชาการ : หนังสือเรียนวิชาพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2558 – 2559

ข้อมูลเพิ่มเติม : สาขาวิชาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งวิชาการ  : นางสาวปัญจนาฎ วรวัฒนชัย ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : หนังสือเล่มนี้มีประเด็นสำคัญที่น่าสนใจหลายประเด็น โดยเฉพาะเป็นแนวคิดในการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ที่มีระบบตามแนวทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีเกณฑ์การแบ่งไว้ อาทิเช่น แนวคิดทวินิยม (Dualism) แนวคิดเอกนิยม (Monism) และมนุษย์ตามหลักพระพุทธศาสนา

       พฤติกรรม หมายถึง การกระทำทุกอย่างของมนุษย์ภายใต้กลไกของความรู้สึกนึกคิดของตนเอง มีหลายประเภท อาทิเช่น พฤติกรรมภายในและพฤติกรรมภายนอก ปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรมมนุษย์ อาทิเช่น ปัจจัยทางชีวภาพ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ฯลฯ เป็นต้น

       ปัจจัยส่งเสริมความเข้าใจตนเองและผู้อื่น ได้แก่ อัตมโนทัศน์ การเห็นคุณค่าแห่งตนและการเปิดเผยตนเองกระบวนการพัฒนาตนเองเป็นหน้าที่หลักของมนุษย์ ประกอบด้วย แนวคิดพื้นฐานในการพัฒนาตนเอง หลักการพัฒนาตนเองมี 3 แนวทาง ได้แก่ พัฒนาตนเองเชิงการแพทย์ ตามแนวคิดจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม เป็นต้น

       สุขภาพและการปรับตัว การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์มีหลายด้าน อาทิเช่น ด้านการศึกษา ด้านอาชีพ-การงาน ด้านชีวิตครอบครัวและด้านเพื่อนร่วมงาน เทคนิคการจัดการความเครียดของมนุษย์ มีลักษณะบางประการ อาทิเช่น แยกแยะสิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียด และแยกแยะผลกระทบของสิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียด เป็นต้น กลวิธีในการปรับตัวของมนุษย์ ได้แก่ กลไกในการเผชิญปัญหา กลไกป้องกันตนเอง และปฏิกิริยากลบเกลื่อน

       จิตตปัญญาศึกษาและจิตสาธารณะ การเรียนรู้ตามแนวจิตตปัญญาศึกษา มีการฝึกการใช้ชีวิตทั้งฐานกาย ฐานใจและฐานปัญญา ส่วนจิตสาธารณะเป็นความสำนึกต่อส่วนร่วมเป็นลักษณะหนึ่งของจิตสาธารณะ คือ การตระหนักและคำนึงถึงส่วนระบบร่วมกัน ความสำคัญของจิตสาธารณะ คือ การที่คนมาอยู่ร่วมกันในสังคม ต้องมีความสัมพันธ์ในรูปแบบการพึ่งพากันและวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางปัญญา เพื่อพัฒนาจิตสาธารณะสามารถทำได้โดยการใช้บทบาทสมมติกับตัวแบบ ฯลฯ เป็นต้น

       การบริหารตนเองเป็นการจัดการกับตนเองให้ประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพในการดำเนินชีวิต การพัฒนาพฤติกรรมกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมของมนุษย์ มี 3 รูปแบบ ได้แก่ แสดงออกแบบก้าวร้าว ไม่กล้าแสดงออก และกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม

       การติดต่อสื่อสาร คือ กระบวนการถ่ายทอดข้อมูล ข่าวสาร ข้อเท็จจริง ความต้องการ อารมณ์ ความรู้สึกจากผู้ส่งไปยังผู้รับ และเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลจะเกิดขึ้นเมื่อมีกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันระหว่าง 2 คนขึ้นไป

       ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์สัมพันธ์มี 2 ทฤษฎี ได้แก่ ทฤษฎีวิเคราะห์การติดต่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และทฤษฎีหน้าต่างหัวใจของ โจว – แฮรี่ รูปแบบการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในสังคมมีรูปแบบที่ 1 คือ หลีกเลี่ยง รูปแบบที่ 2 แบบพิธีการ รูปแบบที่ 4 การพูดคุยสนทนา รูปแบบที่ 5 เกม และรูปแบบที่ 6 ความใกล้ชิด เทคนิคการสร้างมนุษยสัมพันธ์มีวิธีการดังนี้ การทักทายผู้อื่น ยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ ฯลฯ เป็นต้น การสร้างมนุษยสัมพันธ์กับบุคลทั่วไปในสังคม คือ สร้างกับคนที่มีอารมณ์อ่อนไหว คนขลาดกลัว คนดื้อรั้นและคนก้าวร้าว

จุดเด่น / ความน่าสนใจของสาระเนื้อหา : การแบ่งเกณฑ์ศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ประกอบด้วย

1. แนวคิดทวินิยม ประกอบด้วย กายและจิต มี 3 แนวคิดย่อย คือ ลัทธิปฏิสัมพันธ์ ลัทธิคู่ขนานและลัทธิผลพลอยได้

2. แนวคิดเอกนิยม ประกอบด้วย กายและจิตเป็นสิ่งเดียวกัน สามารถอธิบายรูปแบบของกิจกรรมทางสองได้หมด

3. มนุษย์ตามหลักพุทธศาสนา ร่างกายมีองค์ประกอบ 5 อย่าง คือ ขันธ์ 5 หรือเบญจขันธ์ เป็นทั้งรูปธรรมและนามธรรม

       หลักธรรมที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน เรียกหลักธรรม 7 ประการ ได้แก่ ธัมมัญญุตา รู้จักเหตุ อัตถัญญุตา รู้จักผล อัตตัญญุตา รู้จักตน ฯลฯ เป็นต้น ทั้งหมดนี้เป็นคุณธรรมที่มนุษย์สามารถประพฤติปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง มนุษย์เรามีการกระทำที่เรียกว่า พฤติกรรม จึงแบ่งพฤติกรรมตามลักษณะได้ 4 ลักษณะ ได้แก่ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เกิดจากการเรียนรู้ พฤติกรรมปกติ และพฤติกรรมอปกติ

ปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ 4 ปัจจัย เช่น

       ปัจจัยทางชีวภาพ ร่างกายของมนุษย์เกิดการปะทะสัมพันธ์ระหว่างระบบสรีรวิทยาของร่างกายกับสิ่งเร้าภายนอก ปัจจัยทางด้านสังคมเป็นการกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น กาลเวลา ฯลฯ เป็นต้น วิธีศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ทำได้โดย การสังเกตการณ์สำรวจ การทดสอบและการวัด ศึกษาสหสัมพันธ์ ศึกษาอัตชีวประวัติและการทดลอง การประเมินพฤติกรรมโดยตรงสามารถทำได้หลายวิธีอาทิเช่น การสังเกตและบันทึกพฤติกรรมตนเอง บันทึกพฤติกรรมผู้อื่น ประเมินตนเองจากการสังเกตและบันทึก นอกจากนั้นศึกษาพฤติกรรมจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมด้วย เช่น สิ่งแวดล้อมก่อนเกิด กับหลังเกิด เป็นต้น หลักการในการพัฒนาตนเองมี 3 แนวทาง ได้แก่ พัฒนาตนเองเชิงการแพทย์ อวัยวะของร่างกาย เป็นต้น

       หลักการพัฒนาตนเองตามแนวทางพุทธศาสนาประกอบด้วย 3 ประการ คือ ทมะ สิกขา และภาวนา หลักการพัฒนาชีวิตที่ดีงามถูกต้องมี 7 ประการ คือ เลือกแหล่งความรู้และแบบอย่างที่ดี รู้จักระเบียบชีวิต มีแรงจูงใจสร้างสรรค์ พัฒนาให้เต็มศักยภาพ ปรับเจตคติและค่านิยม มีสติ กระตือรือร้นและรู้จักแก้ปัญหา พึ่ง พาตนเองได้ ขั้นตอนพัฒนาตนเอง

ขั้นที่ 1 การสำรวจ – พิจารณาตนเอง รับรู้สภาพการดำรงชีวิตในปัจจุบัน

ขั้นที่ 2 วิเคราะห์จุดเด่น-จุดบกพร่อง ของตนเองต่อจากขั้นที่ 1

ขั้นที่ 3 การกำหนดปัญหาและพฤติกรรมเป้าหมาย มีสภาพใดควรปรับปรุง เกิดจากสาเหตุใด เช่น ปัญหาเกิดจากความคิด อารมณ์ ความรู้สึก

ขั้นที่ 4 รวบรวมข้อมูลพื้นฐาน เพื่อเลือกเทคนิคที่จะปรับปรุงต่อไป

ขั้นที่ 5 การเลือกเทคนิค วิธีและการวางแผนปรับปรุงตนเอง อาจใช้การฝึกหัดได้

ขั้นที่ 6 การทดลองปรับปรุงและพัฒนาตนเอง ควรทำเป็นระยะๆ ตามเวลาที่ระบุไว้

ขั้นที่ 7 การประเมินและขยายผลการพัฒนาตนเองวางแผนเตรียมการไว้ล่วงหน้า

       กลวิธีในการปรับตัวของบุคคล ได้แก่ กลไกการเผชิญหน้าหรือการตอบโต้ปัญหาหรือบุคคล เช่น การร้องไห้ หัวเราะ ฯลฯ เป็นต้น กลไกป้องกันตนเอง เป็นวิธีลดความเครียด ความวิตกกังวล ความคับข้องใจ หรือปกป้องตนเอง จะเป็นการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ได้ จึงเป็นความสามารถทางอารมณ์ที่จะช่วยให้การดำเนินงานของชีวิตเป็นไปอย่างสร้างสรรค์

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : สาระของหนังสือการพัฒนาพฤติกรรมของมนุษย์เล่มนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกคน ทุกอาชีพ โดยเฉพาะอาชีพครู อาชีพให้บริการ (ธุรกิจ) ฯลฯ เป็นต้น เพราะจะทำให้เข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ เพิ่มความสำเร็จบังเกิดประสิทธิผลในงานสูงมาก

       ด้านการให้ความรู้ โดยเฉพาะการให้การศึกษาผู้ใหญ่ จะสามารถปรับเปลี่ยนมโนทัศน์ วิธีการ แปลความหมายได้ง่ายจากพฤติกรรมที่แสดงออก โดยใช้วิธีศึกษาจิตปัญญา เพื่อมุ่งมั่นให้เกิดการพัฒนาด้านจิตและการคิด เพราะจิตตปัญญา เป็นกระบวนการจัดการศึกษาที่มุ้งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตนเอง โดยการพัฒนาจากด้านจิตและความคิดของมนุษย์

       โดยการใช้กิจกรรมจิตปัญญาจะช่วยย้อนพิจารณาถึงประสบการณ์หรือกิจกรรมที่ผ่านมา เพื่อน้อมนำไปสู่ใจ ใคร่ครวญด้วยใจนำไปพัฒนาให้ดีขึ้น จะช่วยให้บุคคลมีการเปลี่ยนแปลง 3 ขั้นตอน เริ่มจากการตระหนักต่อกระบวนการคิด เข้าใจความรู้สึกของตนต่อสิ่งต่างๆ รอบตัวบุคคลจะปรับเปลี่ยนความคิดจะช่วยให้เกิดมโนทัศน์เป็นแนวทางปฏิบัติ ซึ่งสาระดังกล่าวจะช่วยให้เกิดการบริหารตนเองได้ และกล้าแสดงออกทางพฤติกรรมอย่างเหมาะสม เช่น การบริหารเวลา การอ่อนน้อมถ่อมตน การคิดเชิงบวก โดยเริ่มจากมองตนเองว่าดี หาข้อดี มองคนอื่นว่าดี มองสิ่งที่เหลืออยู่ไม่ใช่สิ่งที่ขาดหาไป หมั่นบอกตัวเองและใช้ประโยชน์จากคำว่า ขอบคุณ

       สำหรับการนำมาใช้ในการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ต้องศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด วางแผน เตรียมการติดต่อสื่อสาร ศึกษาอุปนิสัยใจคอ ความต้องการและตำแหน่งของผู้ที่เราจะติดต่อสัมพันธ์ด้วย

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร

ปัญหาสังคม

ปัญหาสังคม

Problems and Society

นางลักษณา เกยุราพันธ์


แบบฟอร์มสำหรับการนำเสนอบทสรุปผลงานทางวิชาการ

ชื่อผลงานทางวิชาการ : ปัญหาสังคม (Problems and Society)

ประเภทผลงานทางวิชาการ : หนังสือประกอบการเรียนการสอน ปัญหาสังคม

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2557

ข้อมูลเพิ่มเติม : สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : นางลักษณา เกยุราพันธ์ คณะครุศาสตร์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : หนังสือประกอบการเรียนการสอนวิชาปัญหาสังคมนี้ เป็นเนื้อหาที่เน้นปัญหาสังคมที่เกิดจากแนวคิดหรือทัศนคติจากความบกพร่องของสถาบันสังคม ในด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจและสังคม การศึกษาและวัฒนธรรม ปัญหาสังคมที่ส่งผลกระทบต่อสังคมทำให้หน่วยงานจำเป็นต้องให้ความร่วมมือเร่งแก้ปัญหาเพื่อลดความรุนแรง ดังนั้นการนำหนังสือเล่มนี้มาใช้ประกอบการเรียนการสอนจะทำให้ทราบถึงปฏิกิริยาที่แตกต่างกันของบุคคลเมื่อเกิดปัญหาก็จะส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : ปัญหาสังคมเป็นสถานการณ์ที่สมาชิกของสังคมไม่พึงปรารถนาหรือเห็นว่าจะเป็นอันตรายต่อสมาชิก ถ้าปล่อยทิ้งไว้และคนส่วนใหญ่พิจารณาแล้วว่าเป็นสภาวะที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นและเมื่อปัญหาเกิดขึ้นจำเป็นต้องให้ความร่วมมือกันในหมู่สมาชิกของสังคมที่จะช่วยกันขจัดการแก้ไขป้องกันและมีการแสดงออกในรูปแบบของการกระทำที่แตกต่าง สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาสังคม ได้แก่ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เกิดจากการเสียระเบียบทางสังคมและเกิดจากพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากบรรทัดฐานของสังคม

ปัญหาสังคมมี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ปัญหาสังคมอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีกับปัญหาเรื่องของพฤติกรรมการเบี่ยงเบนจากปกติและความไม่เป็นระเบียบในสังคม เมื่อเกิดปัญหาก็จะมีผลกระทบตามมา เช่น ผลเสียทางเศรษฐกิจ ผลเสียทางสังคมและผลที่เกิดแก่ผู้เกี่ยวข้องกับการสร้างปัญหาสังคม เช่น การเสื่อมเสียเกียรติยศ จากสาเหตุการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นทั้งในอดีตและปัจจุบันนั้น พบว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงเป็นอุตสาหกรรมการผลิต การเป็นเจ้าของธุรกิจ การอพยพเคลื่อนย้าย เมืองและสังคมอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ค่านิยมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีวิทยาการสมัยใหม่

วิธีการแก้ไขปัญหาทางสังคมมี 5 ประการ กล่าวคือ

1. ใช้ทฤษฎีเกี่ยวกับพยาธิทางสังคม จำเป็นต้องกำหนดโครงสร้างเพื่อพฤติกรรมหน้าที่ต่างๆ ในสังคม เช่น การผลิตสมาชิกใหม่แต่ละสถาบันต้องปรับตัวเข้าหากัน เช่น สถาบันครอบครัวต้องปฏิบัติตามโครงสร้าง 2. ทฤษฎีการเสียระเบียบหรือความไม่เป็นระเบียบทางสังคม เกิดจากการรวมตัวอย่างมีกฎเกณฑ์และแน่นอนตามที่สังคมคาดหวังให้สมาชิกปฏิบัติตามสังคมนั้นๆ 3. ทฤษฎีเกี่ยวกับความขัดแย้งในคุณค่า พฤติกรรมเบี่ยงเบนอาจเป็นเพียงสถานการณ์ที่ไม่สอดคล้องกับคุณค่าที่กลุ่มยึดถือ แก้ไขโดยการเห็นพ้องต้องกัน การต่อรองหรือการใช้อำนาจ หรือการทำตามที่ตนเห็นสมควร 4. ทฤษฎีพฤติกรรมเบี่ยงเบน ก่อให้เกิดการกระทำผิดมีผลกระทบต่อสังคมโดยตรง เช่น การลักขโมย

สังคมจึงควรให้โอกาสให้ผู้เรียน รู้ระเบียบวินัย ความประพฤติที่ดีงามเพื่อให้เป็นที่สังคมทั้งระบบสังคมยอมรับไม่เข้มงวดเกินไป เปิดโอกาสอันชอบธรรมและเป้าหมายต่างๆ อย่างทั่วถึงจนสามารถสำเร็จได้ และทฤษฎีตีตรา เชื่อว่าการกระทำใดจะเป็นการเบี่ยงเบนขึ้นอยู่กับสังคมที่บุคคลเป็นสมาชิก ดังนั้นควรมีวิธีการแก้ไขปัญหาและป้องกันได้ เช่น การอบรมสั่งสอนและถ่ายทอดวัฒนธรรม การลงโทษ การให้การศึกษา ใช้คำสอนทางศาสนา หน่วยงานแนะแนวและให้คำปรึกษา

หน่วยงานที่ตั้งขึ้นเพื่อบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคม การประกันสังคม การประชาสงเคราะห์ ครอบครัว และการใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับการแก้ปัญหามี 2 วิธีใหญ่ คือ การแก้ปัญหาแบบย่อย และการแก้ไขแบบเท่าทัน สำหรับการแก้ปัญหาสังคมตามแนวคิดทฤษฎี ประกอบด้วยแนวคิดทฤษฎีแนว  Consensus , แนวคิดทฤษฎีแนว Structural – Function , แนวคิดทฤษฎี Conflict , แนวคิดจากทฤษฎี Symbolic Interactionism และแนวคิดทฤษฎี Neoconservative

จุดเด่น / การนำไปใช้ประโยชน์ : พบว่าหนังสือปัญหาสังคมเล่มนี้มีจุดเด่นหลายประการ อาทิเช่น พฤติกรรมและความต้องการของวัยรุ่นขึ้นอยู่กับค่านิยม ซึ่งแต่ละคนยึดถือเป็นแนวปฏิบัติและยึดถือตามกระแสนิยมตอบสนองความต้องการของตัวเอง กลุ่มมีอิทธิพลเพราะต้องการยอมรับในสังคม ต้องการมั่นคงในชีวิต ต้องการเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ

ประโยชน์ / คุณค่าของหนังสือ : มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ผลิตบัณฑิตที่เป็นวัยรุ่นตอนกลางและวัยผู้ใหญ่ จึงมีพฤติกรรมต้องการความรัก ต้องการความสนุกสนาน ต้องการความเป็นอิสระ ต้องการได้รับการยกย่อง มีความสนใจในเรื่องเพศและเพื่อนต่างเพศ ต้องการรวมกลุ่ม ต้องการยอมรับจากผู้ใหญ่ ต้องการแบบอย่างที่ดี ต้องการประสบการณ์ใหม่ๆ ความรู้สึกรุนแรง ต้องการมีอนาคตและต้องการความปลอดภัยและความมั่นคง ดังนั้นคณาจารย์และผู้บริหารมหาวิทยาลัยทุกระดับ ต้องให้ความสำคัญวัยรุ่น เพราะมหาวิทยาลัยมีบทบาทพัฒนาทัศนคติและพฤติกรรม ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่นโดยตรง สิ่งที่คณาจารย์ต้องรีบดำเนินการ ควรให้การยอมรับความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล เปิดโอกาสให้เข้ากลุ่มพบปะสังสรรค์ สอนเรื่องเพศตามความเป็นจริงให้เป็นเรื่องธรรมดา ให้คำแนะนำที่ถูกต้องให้เสรีภาพตามความเหมาะสม ให้รู้จักใช้สิทธิและหน้าที่สร้างความซื่อสัตย์ สร้างระเบียบวินัย การเป็นแบบอย่างที่ดี ปลูกฝังการช่วยเหลือตนเอง ส่งเสริมให้ใช้สติปัญญาและสอนให้รู้จักหลักการประหยัด

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : มหาวิทยาลัยควรจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเน้นด้านป้องกันแก้ไขปัญหาเด็กวัยรุ่นในการกระทำผิด จัดทำค่ายเรียนรู้จากครอบครัวสู่มหาวิทยาลัย เปิดโอกาสให้ครอบครัวมาเข้าร่วมกิจกรรมกับนิสิตนักศึกษาในค่ายนั้นๆ เพราะสถาบันครอบครัวมีการใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา การให้กำลังใจ การใกล้ชิดวัยรุ่นอาจจะช่วยลดปัญหาความขัดแย้งเบื้องต้นของวัยรุ่นได้ระดับหนึ่ง

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร


จิตวิทยาการพัฒนาการ

จิตวิทยาการพัฒนาการ

นางสาวปัญจนาฏ วรวัฒนชัย


แบบฟอร์มสำหรับการนำเสนอบทสรุปผลงานทางวิชาการ

ชื่อผลงานทางวิชาการ : จิตวิทยาการพัฒนาการ

ประเภทผลงานทางวิชาการ : หนังสือเพื่อการศึกษาค้นคว้าประกอบการเรียนรู้

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2559

ข้อมูลเพิ่มเติม : จัดพิมพ์โดย ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ISBN 978-616-426-019-4 พิมพ์ที่โรงพิมพ์พลัฏฐกรการพิมพ์ นนทบุรี 11130

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : นางสาวปัญจนาฏ วรวัฒนชัย

ตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : จิตวิทยาพัฒนาการเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ในแต่ละช่วง เริ่มตั้งแต่การปฏิสนธิจนถึงวันชรา ประกอบด้วยศาสตร์หลายแขนง อาทิเช่น จิตวิทยา มนุษยวิทยา ชีววิทยา และสังคมวิทยา วิธีการศึกษาจิตวิทยาพัฒนาการมี 6 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นปัญหา ขั้นที่ 2 การทบทวนความรู้ ขั้นที่ 3 การสังเกต ขั้นที่ 4 การตั้งสมมุติฐานหรือการตั้งทฤษฎีขึ้นมา ขั้นที่ 5 ทดสอบสมมุติฐาน และขั้นที่ 6 การประยุกต์ใช้

การพัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางด้านคุณภาพที่ติดต่อกันไป เป็นลำดับที่ทุกส่วนต่อเนื่องกันในระยะเวลาและจะก้าวหน้าไปเรื่อยๆ เป็นขั้นๆ เป็นระยะ ทำให้มีลักษณะและความสามารถใหม่ๆ เกิดขึ้น

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : การศึกษาทางด้านพัฒนาการมนุษย์สามารถทำได้ด้วยวิธีการศึกษาระยะยาว ศึกษาแบบภาคตัดขวาง ศึกษาเป็นรายกรณี การทดลอง การสำรวจ การสังเกต สังคมมิติ การสัมภาษณ์ การศึกษาสหสัมพันธ์ ศึกษาข้ามวัฒนธรรม จดบันทึกประจำวัน และการใช้แบบทดสอบ เพราะการพัฒนาการของมนุษย์นั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดความสามารถใหม่จากต่ำไปสูง เป็นกระบวนการเริ่มตั้งแต่ก่อนเกิด ระเบียบแบบแผนของการพัฒนาการจะมีลักษณะ ได้แก่ พัฒนาการจะเป็นไปตามแบบแผนเฉพาะ เริ่มจากส่วนบนไปสู่ส่วนล่าง เริ่มจากแกนกลางของลำตัวไปสู่อวัยวะส่วนล่างเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในแต่ละวัยจะมีลักษณะเฉพาะวัย ทุกคนจะมีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการ 2 อย่าง คือ วุฒิภาวะกับการเรียนรู้ แต่จะมีสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการ อาทิเช่น สติปัญญา เพศ ต่อมต่างๆ ในร่างกาย อาหาร อากาศบริสุทธิ์และแสงแดด การบาดเจ็บหรือได้รับโรคภัยไข้เจ็บ เชื้อชาติ วัฒนธรรม ลำดับการเกิดและการอบรมเลี้ยงดู ทฤษฎีพัฒนาการที่นำมาประกอบการศึกษาพัฒนาการ ได้แก่ ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์ ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์ ทฤษฎีพัฒนาการทางบุคลิกภาพของฟรอยด์ ทฤษฎีพัฒนาการทางสังคมของอิริคสัน ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบอร์กและทฤษฎีงานของตามขั้นพัฒนาการของฮาวิกเฮอร์ส

หลักสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการทารก คือ ความรู้สึกพ่อแม่ต้องมีชีวิตชีวาในการเป็นพ่อแม่ ประกอบด้วย สัญชาตญาณของการเป็นพ่อแม่ วัยเด็กแบ่งเป็นวัยเด็กตอนต้น ต้องการเป็นตัวของตัวเอง ต้องการอิสระสามารถช่วยตัวเองได้ จึงสอนยากเป็นช่วงสำคัญมากที่ต้องเรียนรู้พื้นฐานทางสังคม เพื่อเรียนรู้พฤติกรรมที่เหมาะสมเพื่อเตรียมเข้าสู่สังคม ชอบอยากรู้อยากเห็น ชอบสำรวจสิ่งรอบตัวมีความคิดสร้างสรรค์ ร่างกายพัฒนาการเจริญเติบโตค่อนข้างเชื่องช้า แต่พัฒนาการทางสติปัญญาเร็วมาก เพราะความอยากรู้อยากเห็น สำหรับพัฒนาการทางอารมณ์ซ้ำซ้อนมาก รุนแรงมาก อารมณ์โกรธจะเกิดบ่อยครั้ง พัฒนาการทางสังคมสามารถช่วยเหลือตนเองได้ แต่มีทัศนคติต่อต้าน เลียนแบบ ก้าวร้าว วัยเด็กตอนกลาง เริ่มเข้าโรงเรียนเรียนรู้กฎเกณฑ์ระเบียบของสังคม ฝึกฝนอบรมให้ประพฤติปฏิบัติตามลักษณะที่พึงประสงค์ของหมู่คณะ ก้าวหน้าในการเรียนรู้ สนใจการทำงานเป็นหมู่คณะแสดงออกความเป็นตัวของตัวเอง มีความสามารถอ่าน เขียน เพิ่มขึ้น แต่ร่างกายเจริญเติบโตช้า วัยเด็กตอนปลายเริ่มมีวุฒิภาวะทางกายหรือเรียกว่า วัยเข้าสู่วัยรุ่น ชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ ทัศนคติและพฤติกรรมต่างๆ ซึ่งมีผลมาจากการที่เด็กได้ปะทะสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมกว้างขวางขึ้น สำหรับวัยรุ่นย่างเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ใช้ภาวะร่างกายกับภาวะสุกถึงขีดของร่างกายเป็นเครื่องตัดสิน เป็นวัยหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างความเป็นเด็กความเป็นผู้ใหญ่ จึงเกิดการสับสนในบทบาทและความขัดแย้งกับผู้ใหญ่และเพื่อนร่วมวัย จึงเกิดการตึงเครียดนำไปสู่ปัญหา การแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ถ้าแก้ไขไม่ได้จะกลายเป็นเด็กวัยรุ่นที่มีเอกลักษณ์สับสน มีบุคลิกภาพไม่มั่นคง ผู้ใหญ่จึงควรช่วยให้เด็กทราบถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองอย่างชัดเจน จะเกิดความรู้สึกต้องการอุทิศตนให้แก่สังคมได้ ประกอบด้วย วัยรุ่นตอนต้น วัยรุ่นตอนปลาย และวัยผู้ใหญ่เป็นช่วงสุดท้ายของชีวิตที่มียาวนานตั้งแต่ 21 – 60 ปี มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง แต่ลักษณะความเป็นผู้ใหญ่แตกต่างกัน เพราะแต่ละคนมีพัฒนาการทางบุคลิกภพแตกต่างกันจึงยากต่อการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ยังต้องเผชิญกับฐานะการเปลี่ยนแปลง การเลือกอาชีพ การเลือกคู่ครอง ปัญหาชีวิตครอบครัว การใช้ชีวิตหลังเกษียณ ซึ่งแบ่งเป็นวัยผู้ใหญ่ตอนต้น 20 – 40 ปี มีการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกาย เริ่มสูญเสียความสามารถทางการสืบพันธุ์ วัยผู้ใหญ่ตอนกลางหรือวัยกลางคน 40 – 60 ปี ร่างกายและจิตใจเริ่มเปลี่ยนแปลงทางเสื่อมและวัยผู้ใหญ่ตอนปลายหรือวัยชรา 60 ปีหรือ 65 ปี จนถึงสิ้นสุดชีวิต เป็นวัยที่ร่างกาย จิตใจเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว

จุดเด่น / การนำไปใช้ประโยชน์ : จากเนื้อหาของหนังสือจิตวิทยาพัฒนาการนี้ พบว่ามีจุดเด่นหลายแห่ง อาทิเช่น วัยรุ่นตอนต้น จะพยายามทำตัวให้เหมือนผู้ใหญ่ เพราะสภาพแวดล้อมมีผลต่อทัศนคติและความรู้สึกที่รุนแรงมาก จึงแสดงพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจจากบุคคลอื่นๆ ซึ่งเป็นลักษณะพัฒนาการของวัยรุ่นตอนต้นที่เน้นทางสรีระทั้งส่วนสูงและน้ำหนักและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ นอกจากนั้นจะพบว่าด้านพัฒนาการทางอารมณ์ สติปัญญาและสังคม ยังเป็นส่วนประกอบที่จะทำให้ก้าวสู่วัยผู้ใหญ่ได้อย่างเต็มที่ สำหรับวัยรุ่นตอนปลายนั้นอยู่ระหว่าง 17 -20 ปี เริ่มมีทัศนคติ แบบแผนของชีวิตแน่นอนสามารถปรับตัวเข้ากับปัญหาต่างๆ ได้ ตั้งแต่ การทำงาน การเงิน การเรียน ความสัมพันธ์ทางเพศ แต่ผู้ใหญ่กลับสนใจน้อยลง ดังนั้นลักษณะวัยรุ่นตอนปลาย จึงเป็นเรื่องของพัฒนาการสืบเนื่องมาตั้งแต่วัยรุ่นตอนต้น ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจและทางสังคม เพราะเริ่มมีวุฒิภาวะสมบูรณ์

การนำไปใช้ประโยชน์ : จากเนื้อหาของหนังสือจิตวิทยาพัฒนาการนี้ มหาวิทยาลัยฐานะสถาบันผลิตคนออกสู่สังคมในหลายรูปแบบ ทั้งภาคธุรกิจ ธุรกิจบริการ อาชีพครู อิสระแม้กระทั้งจิตบริการหรือแพทย์ ผู้สอนจำเป็นต้องเรียนรู้จิตวิทยาเกี่ยวกับพัฒนาการผู้เรียนจะได้ปรับประยุกต์กระบวนการสอนให้เหมาะสม ตั้งแต่การมอบหมายงานทั้งกลุ่มและเดี่ยว ซึ่งจะช่วยด้านกระบวนการพัฒนาการทั้งทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจและสังคมด้วย ผู้สอนอย่าเข้มงวดจนเกินไปจนทำให้นิสิตนักศึกษาขาดความมั่นใจในตนเองได้ ยอมรับนับถือความคิดส่วนบุคคลของนิสิตนักศึกษาด้วย มหาวิทยาลัยควรสำรวจว่าผู้สอนบางคนที่ไม่มีวุฒิครูทางการสอนทุกศาสตร์ ควรเรียนหรืออบรมวิชาจิตวิทยาพัฒนาการด้วยจะดีมาก โดยการจัดเป็นคอร์สสั้นๆ  (Mini Course) ใช้เวลา 3 – 5 วัน เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ เพราะการเรียนการสอน Child Coontre ผู้เรียนเป็นสำคัญตามที่ สกอ. และคุรุสภากำหนดไว้ หรือตามที่แผนการศึกษาชาติฉบับปัจจุบันกล่าวไว้

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : นอกจากนี้ สำนักกิจการนิสิตนักศึกษา ควรให้ความสำคัญกับพัฒนาการของนิสิตนักศึกษาและพบว่า วัยของผู้สอนกับนิสิตนักศึกษาใกล้เคียงกันอาจจะทำให้การจัดการเรียนการสอนยาก ยิ่งจำเป็นต้องรีบจัดกิจกรรมพัฒนาผู้สอน ( อาจารย์ใหม่ๆ ) ให้มีความรู้จิตวิทยาการพัฒนาการอย่างมาก อาจเสนอในรูปโครงการเข้าค่ายปรับตัว ปรับสภาพ เรียนรู้ซึ่งกันและกัน

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร

ความคิดเห็นของนิสิตสาขาวิชาพลศึกษาและนันทนาการที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาพลศึกษาและนันทนาการ

ความคิดเห็นของนิสิตสาขาวิชาพลศึกษาและนันทนาการที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาพลศึกษาและนันทนาการ

นายสุรศักดิ์ เครือหงษ์


แบบฟอร์มสำหรับการนำเสนอบทสรุปผลงานทางวิชาการ

ชื่อผลงานทางวิชาการ : ความคิดเห็นของนิสิตสาขาวิชาพลศึกษาและนันทนาการที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาพลศึกษาและนันทนาการ

ประเภทผลงานทางวิชาการ : งานวิจัย ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2557

ข้อมูลเพิ่มเติม : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : นายสุรศักดิ์ เครือหงษ์ สาขาวิชาพลศึกษาและนันทนาการ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : งานวิจัยเล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อความมุ่งหมายศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษา วิชาพลศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาพลศึกษาและนันทนาการ มีกลุ่มตัวอย่าง 196 คน แจกแจงความถี่ โดยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ความแตกต่าง โดยการทดสอบค่า T-Test

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : ผลการทดสอบปรากฏว่า ความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน วิชาพลศึกษาและนันทนาการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก

จุดเด่นของการวิจัย : ผลการวิจัยมีจุดเด่นหลายประการ อาทิเช่น

ประเด็นที่หนึ่ง : นิสิตที่แสดงความคิดเห็นส่วนบุคคลจากความรู้สึก ความเข้าใจที่มีต่อสิ่งใดเกิดขึ้นจากการไตร่ตรองหรือความเข้าใจที่ตนเองมีอยู่ด้วยการพูดหรือการเขียน โดยมีพื้นฐานความรู้และประสบการณ์และเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงความคิดเห็น และนิสิตนักศึกษาก็กำลังศึกษาอยู่ในสาขาวิชาพลศึกษาและนันทนาการด้วย

ประเด็นที่สอง : ผู้วิจัยได้กำหนดกรอบความคิดเห็นของนิสิตไว้ 5 ด้าน คือ ด้านหลักสูตร ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านครูผู้สอน ด้านวัสดุอุปกรณ์ สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านการวัดและประเมินผล

จากจุดเด่นทั้ง 2 ประเด็น แสดงว่าการแสดงความคิดเห็นมีองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ องค์ประกอบด้านความรู้ และองค์ประกอบด้านความรู้สึก นอกจากนี้ความคิดเห็นอาจจะเกิดจากอิทธิพลจากกลุ่มต่างๆ เช่น สถานศึกษา ครูผู้สอน ฯลฯ เป็นต้น สำหรับหลักสูตรเป็นศาสตร์ เป็นทฤษฎี หลักการและการนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ก็มีอิทธิพลต่อความรู้สึกความคิดเห็นเช่นกัน

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : มหาวิทยาลัยควรนำกระบวนการวิจัยสอบถามความคิดเห็นของนิสิตในทุกๆ สาขาวิชาของมหาวิทยาลัย จะได้นำผลมาปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรประยุกต์วิธีการจัดการเรียนการสอนการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยด้วย

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร

การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการศึกษาไทย

การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการศึกษาไทย

Curriculum Development & Education Management

นายจิตตวิสุทธิ์ วิมุตติปัญญา และคณะ


แบบฟอร์มสำหรับการนำเสนอบทสรุปผลงานทางวิชาการ

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการศึกษาไทย (Curriculum Development & Education Management)

ประเภทผลงานทางวิชาการ : หนังสือใช้ประกอบการเรียนวิชาการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการศึกษาไทย

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 255๘

ข้อมูลเพิ่มเติม : จัดพิมพ์โดยคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พิมพ์ที่บริษัท 21 เซนจูรี่ จำกัด กรุงเทพฯ

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : นายจิตตวิสุทธิ์ วิมุตติปัญญา และคณะ ตำแหน่งอาจารย์คณะครุศาสตร์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : หลักสูตรเป็นเครื่องมือที่สำคัญของการจัดการศึกษาทุกระดับ เพราะเป็นตัวกำหนดหรือกรอบของแนวปฏิบัติที่จะทำให้การจัดการเรียนการสอนให้บรรลุจุดมุ่งหมาย หลักสูตรในฐานะที่เป็นวิชาและเนื้อหาสาระที่จัดให้ผู้เรียน เป็นเอกสาร เป็นกิจกรรม เป็นมวลประสบการณ์และเป็นจุดมุ่งหมายปลายทางของการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรมีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ในตัวหลักสูตร 4 องค์ประกอบ มี 3 ประเภท คือ หลักสูตรเนื้อหาวิชา หลักสูตรแกนและหลักสูตรกิจกรรม หลักสูตรที่ดีต้องสอดคล้องกับความสนใจ ความต้องการของผู้เรียนและหลักสูตรพัฒนาการด้านพุทธพิสัย ทักษะพิสัยและจิตพิสัย

   ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตรเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต่อนักพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีจะบอกให้ทราบปรากฏการณ์ต่างๆ ของหลักสูตรที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต และยังช่วยจัดระเบียบข้อมูลจำนวนมากที่ได้จากการวิจัย ทฤษฎีหลักสูตรมี 2 ลักษณะ คือ ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร (Design Theories) กับทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (Engineering Theories)

   ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างหลักสูตรการศึกษาไทยมี 3 ส่วน คือ การกำหนดจุดประสงค์ เป็นสิ่งคาดหวังในระดับโรงเรียนและสามารถวัดได้ แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัยและทักษะพิสัย เกณฑ์การเลือกเนื้อหาเน้นความเป็นประโยชน์ ความสนใจของผู้เรียน และการพัฒนาการของมนุษย์ ด้านการพัฒนาหลักสูตรโดยเฉพาะกระบวนการออกแบบและพัฒนาหลักสูตร ได้แก่ พื้นฐานด้านปรัชญา ด้านจิตวิทยา ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและด้านสังคม การจัดการศึกษาไทยเริ่มมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน จัดเป็น 2 รูปแบบ คือ การจัดการแบบโบราณกับการจัดการศึกษาแบบใหม่หรือการจัดการศึกษาแบบปัจจุบัน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 มาตรา 15 ได้กำหนดการจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ ได้แก่ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : หนังสือการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการศึกษาไทย มีสาระเนื้อหาที่สำคัญตั้งแต่ คำว่าหลักสูตรมาจากภาษาอังกฤษว่า Curriculum สรุปว่าหลักสูตร คือ สิ่งที่สร้างขึ้นในลักษณะของรายวิชาซึ่งประกอบไปด้วยเนื้อหาสาระที่จัดเรียงลำดับความยาก ง่าย หรือเป็นขั้นตอน และเป็นประสบการณ์ทางการเรียนที่วางแผนล่วงหน้า เพื่อมุ่งหวังให้เด็กได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในทางที่ต้องการ

   หลักสูตรเป็นหัวใจสำคัญการจัดการศึกษา เพราะหลักสูตรเป็นเครื่องมือในการแปลงจุดมุ่งหมายและนโยบายทางการศึกษาของชาติสู่การปฏิบัติในสถาบันการศึกษาระดับต่างๆ ดังนั้นหลักสูตรจึงจัดเป็นตัวกำหนดในการจัดการศึกษาเพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมาย ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ ตามที่สังคมต้องการ

   คำศัพท์เกี่ยวกับหลักสูตร ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Development) คือ การจัดทำเนื้อหาใหม่กับปรับหลักสูตรเดิมใหม่ ฯลฯ เป็นต้น หลักสูตรมีองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ วัตถุประสงค์ทั่วไปและวัตถุประสงค์เฉพาะเนื้อหา จำนวนชั่วโมงสอนแต่ละวิชา วิธีการจัดการเรียนการสอน หรือนำหลักสูตรไปใช้และวิธีการประเมินผล หลักสูตรสามารถจำแนกได้ 3 ประเภท คือ หลักสูตรเนื้อหารายวิชา (Subject Curriculum) หลักสูตรแกน (Core Curriculum) และหลักสูตรกิจกรรม (Activity Curriculum) การจัดประเภทของหลักสูตรขึ้นอยู่กับเกณฑ์ของนักวิชาการแต่ละท่าน โดยการจำแนกตามบริบทและตามเป้าหมายของการจัดการศึกษาของแต่ละกลุ่ม

   หลักสูตรเนื้อหาวิชา เป็นการถ่ายทอดเนื้อหาวิชา สาระและความรู้ของวิทยาการต่างๆ เป็นหลักในการจัดการเรียนรู้ หลักสูตรหมวดวิชาแบบกว้างมีการผสมผสานความรู้โดยรวมวิชาต่างๆ ที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกันมารวมกัน เช่น หลักสูตรการศึกษาไทย หลักสูตรสัมพันธ์จัดทำเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนความสัมพันธ์ของรายวิชาที่เกี่ยวข้องกัน เอาเนื้อหาของรายวิชาต่างๆ สอดคล้องกันเชื่อมโยงกัน หลักสูตรแบบแกน เป็นแกนร่วมกันจากเนื้อหา ความรู้และประสบการณ์ที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนเข้าด้วยกัน

   หลักสูตรเอกัตบุคคล จัดทำเพื่อสนองความต้องการและความสนใจของผู้เรียนแต่ละคน ส่งเสริมความรับผิดชอบของผู้เรียน สามารถทำกิจกรรมได้หลากหลายเพราะยึดหลักปรัชญาสวภาพนิยม ส่วนหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง คือ หลักสูตรที่เน้นผู้เรียน เช่น วิชาภาษาไทย จัดให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนทุกคนทุกกลุ่ม ครูสามารถสอนได้หลายรูปแบบ นอกจากนั้นยังมีหลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม เน้นกิจกรรมกระบวนการทางสังคมและการดำรงชีวิต ยึดปรัชญาพิพัฒนาการนิยมและปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ครูให้คำปรึกษา สอดคล้องกับหลักสูตรประสบการณ์หรือหลักสูตรแบบกิจกรรมและประสบการณ์ หลักสูตรกระบวนการและหลักสูตรเกณฑ์ความสามารถ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นเนื้อหาที่เปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา สามารถพัฒนาผู้เรียนให้เกิดประสบการณ์เรียนรู้สอดคล้องกับความสามารถของผู้เรียนในด้านพุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และเจตพิสัย เพื่อพัฒนาผู้เรียนและสังคม

   การสร้างหลักสูตรแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ ทฤษฎีการออกแบบ (Design Theories) และทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (Engineering Theories) ทฤษฎีการสร้างหลักสูตรของนักการศึกษาต่างประเทศ ได้แก่ Roph W. Tylor เสนอว่าหลักสูตรมาจาก 3 แหล่งคือ ทางสังคม ทางผลเรียนและทางผู้เชี่ยวชาญในเนื้อหา หลักสูตรรอง Hilda Taba เสนอรูปแบบหลักสูตร 4 ส่วน คือ จุดประสงค์เลือกประสบการณ์ จักหลักสูตรและเรียงลำดับเนื้อหาและหลักสูตรของ U. Galen Saylor , William Alexander and Arthur J. Lewis เสนอกระบวนการจัดทำหลักสูตรควรตัดสินใจเลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับเป้าหมายและจุดประสงค์ กับผู้เรียนและลักษณะทางสังคม

   ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรให้พิจารณาจาก

1) พื้นฐานด้านปรัชญา ประกอบด้วย ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม ปรัชญาสารัตถนิยม ปรัชญาพิพัฒนนิยม และปรัชญาปฏิรูปนิยม

2) พื้นฐานด้านจิตวิทยา เกี่ยวกับความแตกต่างของผู้เรียนทั้งด้านวุฒิภาวะทางร่างกาย สังคมและจิตใจ

3) พื้นฐานด้านความต้องการและความสนใจของผู้เรียน สืบเนื่องมาจากสภาพแวดล้อม สภาพการเรียนของนักเรียนและความมุ่งหมาย

4) พื้นฐานทางด้านสังคม คือ การอนุรักษ์ถ่ายทอดวัฒนธรรมของสังคมไปสู่คนรุ่นหลังและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมให้เข้ากับด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

   หลักการพัฒนาหลักสูตร ประกอบด้วย กระบวนการพัฒนา 4 ขั้นตอน คือ เป้าหมาย / วัตถุประสงค์และความครอบคลุมการออกแบบหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้และการประเมินผลหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้เป็นการนำไปปฏิบัติเป็นงานที่มีขอบเขตกว้างขวาง โดยยึดหลักสำคัญ ดังนี้

1. ต้องวางแผนเตรียมการ

2. ต้องมีองค์คณะบุคคลส่วนกลางหรือท้องถิ่น

3. การนำหลักสูตรไปใช้อย่างเป็นระบบตามขั้นตอน

4. ต้องมีปัจจัยสำคัญ คือ งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ เอกสาร

5. ครู คือ บุคลากรที่สำคัญในการนำหลักสูตรไปใช้ ฯลฯ เป็นต้น

จุดเด่น / ความน่าสนใจจากสาระสำคัญของหนังสือ : จากเนื้อหาและข้อมูลพบว่า หนังสือเล่มนี้มีจุดเด่น / ความน่าสนใจมาก อาทิเช่น การสร้างหลักสูตรที่เป็นพื้นฐานด้านสังคมดีมาก เพราะการศึกษาทำหน้าที่อนุรักษ์วัฒนธรรมของสังคมไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน เพราะขึ้นอยู่กับโครงสร้างของสังคม ค่านิยมคนในสังคม ธรรมชาติของคนในสังคม การชี้นำสังคมในอนาคต ลักษณะของสังคมตามความคาดหวังและศาสนาและวัฒนธรรม

   การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญยิ่งของประเทศในการพัฒนาประชาชนให้เป็นพลเมืองดี มีคุณภาพ มีศักยภาพ และยังช่วยคาดการณ์ล่วงหน้า เพื่อจัดการศึกษาในอนาคต เช่น การศึกษาของไทยเริ่มตั้งแต่โบราณ ในรัชสมัยกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้อน เป็นต้น โดยเฉพาะการศึกษาแผนใหม่ถึงปัจจุบันเริ่มในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นคนปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่จึงเป็นแผนการศึกษาฉบับแรกของไทย โดยเฉพาะในสมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 มีการประกาศใช้แผนการศึกษาชาติ ซึ่งปรากฏอยู่ในกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทำให้มองเห็นวิสัยทัศน์การศึกษาไทยที่เชื่อมโยงกับภารกิจ ค่านิยมและความเชื่อเข้าด้วยกัน สาระของวิสัยทัศน์ คือ คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพเป็นคนดี มีความสุข มีภูมิคุ้มกัน รู้เท่าทันในเวทีโลก

   พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ได้กำหนดประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามมาตรา 4, มาตรา 6, มาตรา 8, มาตรา 9, มาตรา 10, มาตรา 16, มาตรา 17, มาตรา 24, มาตรา 47 – 51 และมาตรา 53

การนำไปใช้ประโยชน์ : หนังสือเล่มนี้สามารถนำไปใช้สอนวิชาชีพครู โดยเฉพาะวิชาการศึกษาทั่วไปด้วย เพราะผู้ที่จะเป็นครูจำเป็นต้องเรียนรู้เรื่องหลักสูตร การจัดการศึกษา โดยเฉพาะผู้ที่เป็นครูก็สามารถนำไปใช้กับการปฏิบัติงานประจำวันการสอน การศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม แม้แต่ผู้ที่จะศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา สายวิชาชีพครู

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ได้กำหนดระบบการศึกษาไว้ 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาอัธยาศัย การศึกษาขั้นพื้นฐานแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษาปกติเรียน 6 ปี และระดับมัธยมศึกษา 2 ระดับ คือ มัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย

   หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีแนวคิดและหลักการจัดดังนี้ คือ เกี่ยวกับการพัฒนาการเด็ก การเล่นของเด็ก เป็นต้น หลักการจัดต้องสร้างหลักสูตรให้เหมาะสม จัดสภาพแวดล้อมเอื้อเฟื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก สอนแบบบูรณาการการเรียนรู้ ประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กและความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวกับผู้เลี้ยงเด็ก

โครงสร้างหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย (สำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี )

โครงสร้างหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 3 – 5 ปี
ช่วงอายุ 3 – 5 ปี ประสบการณ์สำคัญ สาระการเรียนรู้
สาระการเรียนรู้

– ด้านร่างกาย
– ด้านอารมณ์และจิตใจ
– ด้านสังคม
– ด้านสติปัญญา

  • เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
  • เรื่องราวเกี่ยวกับบุคลและสิ่งแวดล้อม
  •  ธรรมชาติรอบตัว สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก

ระยะเวลาเรียน

ขึ้นอยู่กับอายุเด็กที่ดูแลและความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร

กฎหมายและจริยธรรมสื่อสารมวลชน

กฎหมายและจริยธรรมสื่อสารมวลชน

นายสิงห์ สิงห์ขจร


แบบฟอร์มสำหรับการนำเสนอบทสรุปผลงานทางวิชาการ

ชื่อผลงานทางวิชาการ : กฎหมายและจริยธรรมสื่อสารมวลชน

ประเภทผลงานทางวิชาการ : เอกสารประกอบการสอน วิชากฎหมายและจริยธรรมสื่อสารมวลชน

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2556

ข้อมูลเพิ่มเติม : คณะวิทยาการจัดการ ผลงานทางวิชาการ

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : นายสิงห์ สิงห์ขจร ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัดสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : สิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกของมนุษย์ ปรัชญา กฎหมาย กฎหมายเกี่ยวกับหนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์ในประเทศไทย กฎหมายสื่อสารมวลชน และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จริยธรรมและจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชน ความเป็นธรรมและความเป็นกลางในงานนิเทศศาสตร์และจิตวิญญาณของนักนิเทศศาสตร์

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : สิทธิเสรีภาพของประชาชนและสื่อมวลชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 กำหนดสิทธิ ดังนี้ สิทธิในครอบครัวและความเป็นส่วนตัว สิทธิอนุรักษ์ฟื้นฟูจารีตประเพณี สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิในการศึกษาฝึกอบรม สิทธิในการรับบริการทางด้านสาธารณสุขอย่างเสมอภาคและได้มาตรฐาน และสิทธิที่จะได้รับข่าวสารจากหน่วยงานของรัฐ ฯลฯ เป็นต้น

สิทธิและเสรีภาพของสื่อมวลชนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการนำเสนอข่าว หรือความคิดเห็นใดๆ ต่อสาธารณะ ซึ่งเป็นหัวใจของการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย เพราะสื่อมวลชน หมายถึง สื่อที่จะสามารถนำสารจากผู้ส่งสารไปสู่ผู้รับสาร ที่ประกอบด้วยคนจำนวนมากอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาเดียวหรือใกล้เคียงกัน ปัจจุบันนี้สื่อมวลชนเป็นสถาบันที่มีอิทธิพลต่อความคิดเห็นของสังคมมาก จึงต้องรับผิดชอบต่อสังคม บทบาทของสื่อมวลชนมี 5 ประการ ได้แก่ บทบาทในฐานะผู้แจ้งข่าวสาร สุนัขเฝ้าบ้าน การเป็นตัวกลาง การเป็นตัวเชื่อมและการเป็นผู้เฝ้าประตู

สิทธิของสื่อมวลชน ประกอบด้วย สิทธิที่จะแสวงหาข่าวสาร สิทธิในการพิมพ์ สิทธิในการวิพากษ์วิจารณ์ ดังนั้นสื่อมวลชนจึงมีหน้าที่ต่อสาขาวิชาชีพ หน้าที่ต่อตนเอง หน้าที่ต่อผู้อื่นและหน้าที่ต่อคุณธรรม สำหรับในประเทศไทยรัฐธรรมนูญได้บัญญัติสิทธิและเสรีภาพของสื่อมวลชนไว้ในมาตรา 45 , 46 , 47 และ 48 การศึกษากฎหมายเป็นการศึกษาสิ่งที่เป็นนามธรรม เป็นระดับความคิดบริสุทธิ์ชั้นสูง ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับความยุติธรรมศึกษา ดังนั้น การศึกษากฎหมาย เหมือนการศึกษาปรัชญา ซึ่งมี 4 สาขา อาทิเช่น อภิปรัชญา คือ การศึกษาความเป็นจริงว่ากฎหมายคืออะไร ซึ่งแบ่งได้ 5 ประการ ได้แก่ กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับต้องมาจากรัฎฐาธิปัตย์ คือ ผู้มีอำนาจสูงสุด บังคับใช้ทั่วไปจนกว่ามีการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงและมีสภาพบังคับด้วย

กฎหมายที่นิยมใช้อยู่มี 2 ประเภท คือ กฎหมายสารบัญญัติ คือ กฎหมายทั่วๆ ไป ใช้ความคุมความประพฤติและกำหนดสิทธิหน้าที่ต่างๆ ของพลเรือนไว้กับกฎหมายวิธีสบัญญัติ คือ กฎหมายบัญญัติถึงกระบวนการ / วิธีการบังคับให้ดำเนินการไปตามกฎหมาย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 หมวดที่ 3 กล่าวถึงสิทธิเสรีภาพของชนชาวไทย ตั้งแต่มาตรา 45 – 48 โดยในส่วนของสิ่งพิมพ์ มีบัญญัติไว้ในมาตรา 45 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณาและการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น มาตรา 46 พนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนที่ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์หรือสื่อมวลชนอื่น ย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าว แสดงความคิดเห็นภายใต้ข้อจำกัดตามรัฐธรรมนูญ โดยไม่ตกอยู่ภายใต้อาณัติของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจหรือเจ้าของกิจการ แต่ต้องไม่ขัดต่อจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพและมีสิทธิจัดตั้งองค์กรเพื่อปกป้องสิทธิ เสรีภาพและความเป็นธรรม รวมทั้งมีกลไกควบคุมกันเองขององค์กรวิชาชีพ มาตรา 47 คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และโทรคมนาคม ทรัพยากรสื่อสารและชาติ เพื่อประโยชน์สาธารณะ และมาตรา 48 ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือโทรคมนาคมมิได้ ไม่ว่าในนามของตนเองหรือให้ผู้อื่นเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นแทน

กฎหมายสื่อสารมวลชน ประกอบด้วย กฎหมายเกี่ยวกับข้องกับวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และวิทยุโทรคมนาคม กฎหมายเกี่ยวข้องกับสารสนเทศและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์

จุดเด่น / ความน่าสนใจและประโยชน์ : เอกสารประกอบการสอนวิชากฎหมายและจริยธรรมสื่อสารมวลชน เล่มนี้มีจุดเด่นหลายประเด็น อาทิเช่น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศที่กล่าวถึง หลักการสำคัญในพระราชบัญญัติว่าด้วย ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 โดยเฉพาะความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มีสาระดังนี้ การเข้าถึงระบบที่มีมาตรการป้องกัน การเปิดเผยมาตรการป้องกันระบบ การเข้าถึงข้อมูลที่มีมาตรการป้องกันและการดักรับรู้ข้อมูลผู้อื่น ฯลฯ เป็นต้น จุดเด่นประเด็นที่ 2 กล่าวถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์มี 91 มาตรา แบ่งเป็น 7 หมวดใหญ่ ๆ เช่น หมวดที่ 1 เป็นเรื่องของคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดีทัศน์แห่งชาติ ชุดใหญ่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ฯลฯ เป็นต้น ประเด็นที่ 3 กฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสื่อสารมวลชน เช่น มาตรา 56 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบและการเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยงาน ฯลฯ เป็นต้น ประเด็นที่ 4 ในหนังสือเล่มนี้ยังประกอบไปด้วย กรณีศึกษาหลายด้าน อาทิเช่น นายชาติไทยแต่งเพลงลูกทุ่งขึ้นหนึ่งเพลง ขณะเดินทางไปประเทศราชอาณาจักรกัมพูชา ดังนั้นนายชาติไทยเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงนี้ แม้ยังไม่ได้เผยแพร่ เป็นต้น

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : เนื้อหาสาระของเอกสารประกอบการสอน วิชากฎหมายและจริยธรรมสื่อมวลชน ยังมีประโยชน์ต่อผู้สนใจที่จะนำกฎหมายที่เกี่ยวข้องสื่อมวลชนมาใช้กับสถาบันอุดมศึกษาได้ดีมาก เพราะในมหาวิทยาลัยมีการผลิตบัณฑิตหลายอาชีพ เช่น แพทย์แผนไทย ศิลปะทั้งดนตรี นาฏศิลป์ แม้แต่สายวิชาการศึกษา จำเป็นต้องเรียนรู้เพราะเป็นวิชาชีพที่ต้องมีผลงาน วิชาการนำไปประยุกต์เป็นสินค้าได้ ดังนั้นเมื่อไม่เรียนรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้องจะเกิดปัญหาภายหลังได้ และผู้ประกอบอาชีพทุกอาชีพ ควรเรียนรู้หลักจริยธรรมสำหรับแต่ละอาชีพด้วย ซึ่งเนื้อหาเกี่ยวกับจริยธรรมนั้นมีอยู่ในเอกสารเล่มนี้ด้วย

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร

คำอธิบายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยเรื่องซื้อขายแลกเปลี่ยนให้

ชื่อผลงานทางวิชาการ : คำอธิบายกฎหมายแพ่งและพานิชย์ ว่าด้วยเรื่อง ซื้อขายแลกเปลี่ยน ให้

ประเภทผลงานทางวิชาการ : หนังสือใช้ประกอบการเรียนการสอนวิชา กฎหมาย

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2556

ข้อมูลเพิ่มเติม : สาขานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : นายพิบูลย์ วิฑูรย์ปัญญากุล ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจของผลงาน : หนังสือใช้ประกอบการสอนเล่มนี้มีสาระสำคัญของสัญญาซื้อขาย โดยกล่าวถึงสัญญาซื้อขายเป็นสัญญาที่มีค่าตอบแทน วัตถุประสงค์ของสัญญาซื้อขายส่งมอบทรัพย์และโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อ วัตถุของสัญญาซื้อขาย คือ  ทรัพย์สิน และผู้ซื้อตกลงชำระราคาคือ เงิน สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาที่กฎหมายกำหนดชื่อไว้เป็นการเฉพาะมีวัตถุประสงค์ในการโอนกรรมสิทธิ์ คือ ผู้ขายต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อและผู้ซื้อตกลงชำระราคาให้แก่ผู้ขายเป็นการตอบแทน การที่บุคคลทั้งสองฝ่ายเข้ามาทำนิติกรรมผูกพันซึ่งกันและกัน โดยพื้นฐานต้องเกิดจากการยินยอมและเต็มใจทั้งสองฝ่าย ซึ่งรากฐานความคิดของนิติกรรมและสัญญานั้นมาจากอิสระในทางแพ่ง (Private autonomy) และหลักเสรีภาพในการทำสัญญา (Principle of freedom of contract)

       หลักเกณฑ์ทั่วๆ ไปในการแสดงเจตนา โดยในการพิจารณาจากบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ บรรพ 1 แยกสาระสำคัญได้คือ บุคคลที่แสดงเจตนาประกอบด้วย บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล และวิธีการแสดงเจตนา การแสดงโดยการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งออกมาเป็นกรณีย่อย 2 กรณี คือ การแสดงเจตนาโดยชัดเจนกับการแสดงเจตนาโดยปริยาย องค์ประกอบของการซื้อขายได้แก่ คู่สัญญา วัตถุประสงค์/เป้าหมายของการซื้อขาย แบบและเจตนา สัญญาซื้อขายมี 4 ประเภท ได้แก่ สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ข้อแตกต่างระหว่างสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดกับสัญญาจะซื้อจะขายต่างกัน สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข สัญญาซื้อขายมีเงื่อนเวลาและสัญญาจะซื้อจะขาย บุคคลที่มีสิทธิทำสัญญาซื้อขาย และหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีตามสัญญาซื้อขายกล่าวถึงบุคคลที่มีสิทธิทำสัญญาต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะอายุ 20 ปีบริบูรณ์ หรือบรรลุนิติภาวะโดยการสมรส สำหรับผู้ที่มีสิทธิขายสินทรัพย์ได้แก่ เจ้าของกรรมสิทธิ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 1336 เจ้าของรวมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 1361 และบุคคลอื่นซึ่งมีสิทธิขายได้ตามกฎหมาย

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : เนื้อหาสาระของหนังสือเล่มนี้กล่าวถึง ตามเนื้อความของประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 456 นั้นทรัพย์สินที่สามารถนำมาเป็นวัตถุแห่งสัญญาจะซื้อจะขาย แยกตามประเภทได้ คือ อหังสาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน ตึก บ้าน และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ เช่น เรือที่มีระวางตั้งแต่ 5 ต้นขึ้นไป แพและสัตว์พาหนะได้แก่ ช้าง ม้า โค กระบือ ล่อและลา ที่ได้ทำตั๋วรูปพรรณตามกฎหมายแล้ว

       สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษตามพระราชบัญญัติอื่น คือ พระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ.2514พระราชบัญญัติการเดินอากาศและพระราชบัญญัติเรือสยาม สถานที่รับจดทะเบียนตามประเภทของทรัพย์ คือ ที่ดิน เรือ แพ สัตว์พาหนะ อากาศยาน เครื่องจักร ทรัพย์สินที่ซื้อขายกันไม่ได้ ได้แก่ ทรัพย์สินที่ไม่สามารถถือเอาได้ ทรัพย์สินซึ่งไม่อาจโอนให้แก่กันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ความแตกต่างระหว่างสัญญาซื้อขายกับสัญญาอื่น คือ สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาที่ผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายให้ผู้ซื้อแลกกับเงินที่เป็นราคาของทรัพย์สินตามที่ตกลงกัน ฯลฯ เป็นต้น สัญญาซื้อขายเป็นนิติกรรมหลายฝ่าย จึงต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ บรรพ 1 บททั่วไปลักษณะ 4 ว่าด้วยนิติกรรม และความเป็นโมฆียะของสัญญาซื้อขายเกิดจากความบกพร่อง เนื่องจากมีลักษณะไม่สมบูรณ์เต็มร้อยแต่สามารถบังคับใช้ชั่วคราวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 157 บัญญัติไว้ว่า การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคล หรือทรัพย์สินเป็นโมฆียะ และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 159 บัญญัติ ไว้ว่าการแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ

       การโอนกรรมสิทธิ์ กล่าวว่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 458 คือ ตั้งแต่ผู้ขายตกลงโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้านั้นให้เราและเราก็ตกลงจะชำระราคาค่าสินค้านั้นให้ผู้ขาย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การโอนกรรมสิทธิ์ในสังหาริมทรัพย์ธรรมดา และการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ

       บุคคลมีสิทธิทำสัญญาซื้อขายและหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีตามสัญญาซื้อขายนั้น ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้สำหรับทรัพย์สินบางประเภท คือ อสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ สำหรับผู้ที่ถือว่ามีสิทธิที่จะขายสินทรัพย์ ได้แก่ เจ้าของกรรมสิทธิ์ เจ้าของรวมและบุคคลอื่น ซึ่งมีสิทธิขายได้ตามกฎหมาย เช่น ผู้จัดการมรดก ผู้ใช้อำนาจปกครอง เจ้าพนักงานขายทอดตลาดบังคับคดีและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ การจะซื้อขายทรัพย์สินที่สำคัญอันได้แก่ อสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษตามกฎหมายบัญญัติ ตามมาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม ใช้บังคับถึงสัญญาซื้อขายที่ตกลงกัน สิทธิของผู้ขายได้แก่ สิทธิที่จะยึดหน่วงทรัพย์สิน สิทธิที่จะเรียกให้ผู้ซื้อชำระหนี้ สิทธิในการริบมัดจำและสิทธิในการเลิกสัญญา หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ขายตามกฎหมายลักษณะซื้อขายมี 3 ประการ คือ หน้าที่ในการส่งมอบทรัพย์สินที่ขาย ผู้ขายต้องส่งมอบทรัพย์สินกรณีที่เป็นสังหาริมทรัพย์ ตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไปและอสังหาริมทรัพย์ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 465 และมาตรา 466 ส่วนเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์ถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้ขายและต้องรับผิดชอบกรณีเกิดการชำรุดของทรัพย์สินที่ขาย

       ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 475 กล่าวถึงความรับผิดชอบในการรอนสิทธิ์ สำหรับสิทธิของผู้ซื้อ ได้แก่ สิทธิที่จะเรียกให้ผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินตามเวลา สถานที่ วิธีการและปริมาณที่ตกลงกันไว้ สิทธิที่จะยึดหน่วงเวลาในกรณีที่ผู้ซื้อพบการชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินที่ซื้อ ฯลฯ เป็นต้น หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ซื้อ คือ การรับมอบทรัพย์สินที่ซื้อขายตามเวลา สถานที่และวิธีที่ตกลงกันในสัญญาซื้อขาย มาตรา 486 และหน้าที่ในการชำระราคาทรัพย์สิน มาตรา 453 ฯลฯ เป็นต้น

       การซื้อขายเฉพาะอย่างมี 5 ประเภท คือ การซื้อขายตามตัวอย่าง การซื้อขายตามคำพรรณนา การซื้อขายเผื่อชอบ การซื้อขายฝากและการซื้อขายทอดตลาด สำหรับผู้ที่มีสิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝาก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 497 พึงใช้ได้กับบุคลเหล่านี้ คือ ผู้ขายเดิมหรือทายาทของผู้ขายเดิมหรือผู้รับโอนสิทธิหรือบุคคลซึ่งในสัญญายอมไว้โดยเฉพาะว่าให้เป็นผู้ไถ่ได้ สามารถจำแนกผู้มีสิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากได้ คือ ผู้ขายเดิม ทายาทของผู้ขายเดิม ผู้รับโอนสิทธินั้นและบุคคลซึ่งในสัญญายอมรับไว้โดยเฉพาะว่าเป็นผู้ไถ่ได้ และผู้มีหน้าที่รับไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝาก คือ ผู้ซื้อเดิม/ทายาทของผู้ซื้อเดิมและผู้รับโอนทรัพย์สิน

       การขายทอดตลาดอาจเกิดขึ้นได้ 2 วิธี คือ ขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลหรือคำพิพากษาของศาลและโดยไม่มีคำสั่งศาล ซึ่งเกี่ยวข้องกับบุคลต่อไปนี้ คือ ผู้ขาย (เจ้าของทรัพย์) Seller ผู้ดำเนินการขายทอดตลาด (ผู้ทอดตลาด) Auctioneer ผู้สู้ราคา Bidder และผู้ซื้อ Buyer

จุดเด่น /ความน่าสนใจของผลงานทางวิชาการ : ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 518 และ520 เป็นสัญญาแลกเปลี่ยนเป็นเอกเทศที่มีบทบัญญัติเพียง 3 มาตราเท่านั้น ซึ่งมีคำจำกัดความสัญญาแลกเปลี่ยนไว้ดังนี้

       สัญญาแลกเปลี่ยนมีคู่สัญญา 2 ฝ่าย สัญญาแต่ละฝ่ายต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ทำการแลกเปลี่ยนด้วย ต้องมีวัตถุแห่งสัญญาแลกเปลี่ยน วัตถุประสงค์ของสัญญาแลกเปลี่ยนเจตนาและแบบ ลักษณะสัญญาแลกเปลี่ยนมีดังนี้ เป็นสัญญาจ่ายตอบแทน เป็นสัญญาที่สมบูรณ์ด้วยความยินยอม เป็นสัญญาที่มีผลในทางทรัพย์และเป็นสัญญาที่กฎหมายให้บังคับตามหลักเกณฑ์ในเรื่องซื้อขาย

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายเป็นนิติกรรมหลายฝ่าย ซึ่งเป็นสัญญาซื้อขายที่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ บรรพ 1 บททั่วไป ลักษณะ 4 ว่าด้วยนิติกรรม แต่กำหนดสัญญาซื้อขายไม่สมบูรณ์เพราะมีเหตุเป็นโมฆียะ สัญญานั้นย่อมสามารถก่อให้เกิดผลในทางกฎหมายไปได้ทั้งผลในทางหนี้และทางทรัพย์เพราะคู่สัญญาถือได้ว่าได้รับโดยมีฐานของสัญญาซื้อขายเป็นมูลรองรับ แต่ถ้าหากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอมคืน คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งย่อมสามารถใช้สิทธิที่จะเรียกร้องให้คืนได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่บอกล้างโมฆียะตามมาตร 176 วรรคสาม

สิ่งที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางเนื้อหาสาระ : กรณีการนำเนื้อหาสาระไปใช้ประโยชน์ในทางการศึกษาสามารถดำเนินการได้เนื่องจากมหาวิทยาลัยเป็นสถาบันทางการศึกษาระดับอุดมศึกษามีสาขาการตลาด การท่องเที่ยว การเงินการบัญชีและแพทย์แผนไทย เป็นต้นนั้นเกี่ยวข้องกับสัญญาการขาย การให้บริการ หลายรูปแบบผู้สอนควรสอดแทรกหลักการ กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิผลประโยชน์ของนิติบุคคลด้วย

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร

จิตวิทยาสำหรับครู

ชื่อผลงานทางวิชาการ : จิตวิทยาสำหรับครู

ประเภทผลงานทางวิชาการ : หนังสือใช้ประกอบการเรียนการสอนวิชาชีพครู

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2559-2560

ข้อมูลเพิ่มเติม : สาขาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์ พิมพ์ที่โรงพิมพ์สหธรรมิก จำกัด กรุงเทพมหานคร

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : สาขาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจของผลงาน : การพัฒนาการ เป็นการเปลี่ยนแปลงในด้านร่างกายและจิตใจอย่างเป็นระเบียบแบบแผน ตั้งแต่ปฏิสนธิจวบจนตลอดชีวิต ทำให้มีลักษณะและความสามารถใหม่ๆ เกิดขึ้น โดยควบคู่กับวุฒิภาวะและการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม การแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นทางด้านขนาด สัดส่วน ลักษณะต่างๆ ในร่างกาย เป็นต้น สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาประกอบด้วย สติปัญญา เพศ ต่อมต่างๆ ในร่างกาย อาหาร อากาศบริสุทธิ์และแสงแดด เชื้อชาติ เป็นต้น

       การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร เนื่องจากประสบการณ์หรือการฝึก เพราะการเรียนรู้มีลักษณะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเกิดขึ้น พฤติกรรมค่อนข้างถาวรและมาจากประสบการณ์หรือการฝึกเท่านั้น องค์ประกอบของการเรียนรู้มีตัวผู้เรียน วิธีการจัดการเรียนการสอน บทเรียนและสิ่งแวดล้อม

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : การถ่ายโยงการเรียนรู้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการเรียนรู้เพราะการเรียนรู้จะมีความรู้เดิมหรือประสบการณ์แทรกอยู่ การถ่ายโยงการเรียนรู้มีผลต่อการเรียนรู้ในปัจจุบัน การถ่ายโยงการเรียนรู้แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางบวก (Positive Transfer of Learning) กับการถ่ายโยงการเรียนรู้ทางลบ (Negative Transfer of Leaning)

       องค์ประกอบที่ทำให้เกิดการถ่ายโยงการเรียนรู้เกิดจากความคล้ายคลึงของสิ่งที่จะเรียนรู้ ความสามารถในการสรุปความของผู้เรียน ความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ของผู้เรียน และการมีเจตคติและอุดมคติของผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดการถ่ายโยงการเรียนรู้ทำได้โดยควรสอนวิชาต่างๆ ให้สัมพันธ์กัน ก่อนเรียนบทเรียนใหม่ควรทบทวนความรู้เดิม สอนให้เกิดความรู้ความเข้าใจในกฎเกณฑ์ต่างๆ จัดสภาพการเรียนการสอนให้คล้ายกับสถานการณ์จริงในชีวิตประจำวัน คำนึงถึงระดับเชาว์ปัญญาและความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก พยายามให้เด็กเกิดประสบการณ์มากๆ ก่อนเริ่มเรื่องใหม่ ส่งเสริมการแสดงความคิดสร้างสรรค์ด้วยตนเองและจัดให้เด็กมีทักษะและความเข้าใจสถานการณ์ต่างๆ ให้มาก

       ทฤษฎีการเรียนรู้เกิดจากนักจิตวิทยานำสัตว์มาทดลอง เพราะการทดลองบางอย่างใช้เวลานาน ฯลฯ เป็นต้น ทฤษฎีการเรียนรู้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behavior Learning Theories) หรือกลุ่มสิ่งเร้ากับการตอบสนอง (Stimulus-Response Theories) ประกอบด้วยทฤษฎีการเรียนรู้แบบเชื่อมโยง (Connectionism Theory) เจ้าของทฤษฎี คือ Thorndike ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการวางเงื่อนไข มีแบบคลาสสิก (Classical Condition) ของ Paulow กับวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Condition ของ Skinner) ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive Leaning Theories) หรือทฤษฎีสนาม (Field Theories) ประกอบด้วยทฤษฎีการเรียนรู้ของ (Gestalt’s Theory) ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบ (Discovery Leaning) ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory) และทฤษฎีการเรียนรู้ปัญหาสังคม (Social Cognitives Learning Theory)

       ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้แบบเชื่อมโยง (Connectionism Theory) สรุปเป็นกฎเกณฑ์ได้ 3 กฎ คือ กฎแห่งความพร้อม กฎแห่งการฝึกหัด และกฎแห่งผลที่พอใจ

       การนำทฤษฎีไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ทำได้โดย

       1. เปิดโอกาสให้เด็กได้ลองผิดลองถูกในบางเรื่อง เพราะบางสถานการณ์ไม่มีวิธีการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีที่จะเหมาะสมเท่ากับวิธีลองผิดลองถูก
2. สอนเมื่อเด็กมีความพร้อม
3. สร้างบรรยากาศที่ยั่วยุให้เด็กอยากเรียน อยากรู้อยากเห็น ซึ่งเป็นความพร้อมและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันจริง
4. ทำงานร่วมกันกับเด็กอย่างใกล้ชิด และต้องให้เด็กทราบผลงานของเขาด้วย
5. เปิดโอกาสให้เด็กทบทวน ฝึกฝนการทำกิจกรรมที่เรียนรู้ไปซ้ำๆ ตามสมควร
6. เปิดโอกาสให้เด็กนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสภาพการณ์ต่างๆ
7. ครูควรจัดการเรียนโดยการแทรกสิ่งที่น่าสนใจและเกิดความสนุกสนาน
8. สอนเด็กต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะด้านอารมณ์

       ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้มี 2 ด้านใหญ่ๆ คือ ด้านผู้รับรู้กับด้านสิ่งเร้าหรือสิ่งที่จะรับรู้ ในด้านผู้รับรู้มีความแตกต่างกันเกี่ยวกับอวัยวะสัมผัสของผู้รับรู้ ประสบการณ์เดิม สติปัญญา ความสนใจ ความต้องการ เจตคติและภาวะของอารมณ์ ส่วนสิ่งเร้าหรือสิ่งที่รับรู้ต้องสามารถดึงดูดความสนใจได้ เช่น ขนาดของสิ่งเร้า ระดับความเข้มหรือความหนัก-เบาของสิ่งเร้า การเปลี่ยนแปลงของสิ่งเร้าและการเกิดซ้ำของสิ่งเร้า นอกจากนี้สิ่งที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ยังประกอบด้วยแรงจูงใจที่ใช้กระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมความต้องการ/ตามจุดมุ่งหมาย ส่งให้เกิดพฤติกรรมการทำงาน 3 ประการ คือ เกิดพลังกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรม แรงจูงใจกำหนดทิศทางและเป้าหมายของพฤติกรรมและระดับความพยายาม แรงจูงใจประกอบด้วยความต้องการของมนุษย์ คือ ต้องการทางร่างกายหรือสรีระและต้องการทางจิตใจหรือต้องการทางสังคม สำหรับแรงขับเป็นสภาวะที่ร่างกายถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้า พฤติกรรมก็จะแสดงออกมาและเป้าหมายใช้บำบัดความต้องการเพื่อลดระดับแรงขับ

       แรงจูงใจมี 2 แนวคิด คือ แบ่งตามแหล่งที่มาของแรงจูงใจ และแบ่งตามเหตุผลเบื้องหลังในการตอบสนอง ดังนั้นนักจิตวิทยาจึงศึกษาทฤษฎีสำหรับนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วยทฤษฎีแรงขับทางชีวภาพ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ และทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม การนำทฤษฎีแรงจูงใจมาใช้การจัดการเรียนการสอนสามารถสร้างแรงจูงใจได้ทั้งภายในและภายนอก เพราะทำให้เด็กตื่นตัว (Arousal) การตั้งจุดมุ่งหมาย (Objective) การให้รางวัลหรือเครื่องล่อ (Incentive) และการแข่งขัน

       ด้านเชาวน์ปัญญาเป็นสิ่งที่แต่ละคนมีติดตัวมาตั้งแต่แรกเกิดและสามารถพัฒนาสมบูรณ์ยิ่งขึ้น บางคนมีเชาวน์ปัญญาดีแต่ไม่ประสบผลสำเร็จในชีวิต เชาวน์ปัญญาเป็นสิ่งสามารถกระตุ้นส่งเสริมให้พัฒนาได้ สำหรับเชาวน์ปัญญากับความสำเร็จในชีวิตทั้งด้านการเรียนและการประกอบอาชีพต่างๆ ต้องมีความพยายามอดทน ประกอบด้วย  นอกจากนี้บุคคลยังมีความคิดสร้างสรรค์ ไม่เคร่งครัดต่อระเบียบแบบแผนมีลักษณะเป็นผู้นำ มีความคิดอิสระและยืดหยุ่นเสมอ ช่างสงสัย ชอบถามและรับรู้สิ่งที่ซับซ้อนได้ ปัจจัยที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วย ความรู้พื้นฐานของแต่ละคน จินตนาการและวิจารณญาณ

       ในการสอนเด็กให้มีความคิดสร้างสรรค์ ครูต้องพัฒนาตนเองให้เป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์เสียก่อน ต้องแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ฝึกคิด ฝึกใช้จินตนาการ กล้าคิดค้นวิธีสอนใหม่ๆ พัฒนาวิธีการทำงานของตนเองและก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์

จุดเด่น / ความน่าสนใจของผลงานทางวิชาการ :  การศึกษาบุคคลด้วยวิธีการทางจิตวิทยาและรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) วิธีพฤติกรรมนิยม (Behavior Method)

วิธีศึกษาด้วยพฤติกรรมนิยมมี 2 วิธีการใหญ่ คือ วิธีทางธรรมชาติ ได้แก่ การสังเกต การสัมภาษณ์ การรายงานตนเอง การใช้แบบสอบถามและการสำรวจ การใช้แบบทดสอบทางจิตและการศึกษารายกรณี และวิธีทดลอง มีวิธีการทางวิทยาศาสตร์

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : หนังสือจิตวิทยาสำหรับครูเล่มนี้ สามารถนำไปใช้เป็นคู่มือการจัดการเรียนการสอนของอาชีพครูได้ดีทุกรายวิชาทั้งอาจารย์คณะครุศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาการจัดการและวิทยาลัยการดนตรี เพราะมนุษย์มีพฤติกรรมทั้งภายในและภายนอกแตกต่างกัน ผู้สอนต้องรู้เข้าใจผู้เรียนเนื่องจากผู้เรียนแสดงพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ต้องการ ผู้สอนต้องเข้าใจหลักจิตวิทยา หลักพัฒนาการของมนุษย์ เช่น ควรใช้แรงเสริมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และพฤติกรรมที่ถูกต้องเพราะการเรียนรู้เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองในลักษณะที่ว่า การกระทำใดๆ หรือการตอบสนองใดๆ ที่ได้รับแรงเสริมหรือสิ่งเร้าที่พอใจ ก็มีแนวโน้มที่จะกระทำพฤติกรรมนั้นๆ ซ้ำอีกในเวลาต่อไป แต่ถ้าการกระทำใดหรือการตอบสนองใดไม่ได้รับแรงเสริมหรือสิ่งเร้าที่พอใจ การกระทำพฤติกรรมนั้นมีแนวโน้มลดลงและหายไปในที่สุด

       การนำทฤษฎีการเรียนรู้ในหนังสือเล่มนี้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน สามารถทำได้ดังนี้

       1. ใช้ในการสร้างบทเรียนสำเร็จรูป
2. ใช้ในการปลูกฝังพฤติกรรมบางอย่าง
3. ใช้ปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรม
4. ช่วยเสริมให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียน

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร