ชื่อผลงานทางวิชาการ : พัฒนาพฤติกรรมมนุษย์

ประเภทผลงานทางวิชาการ : หนังสือเรียนวิชาพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2558 – 2559

ข้อมูลเพิ่มเติม : สาขาวิชาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งวิชาการ  : นางสาวปัญจนาฎ วรวัฒนชัย ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : หนังสือเล่มนี้มีประเด็นสำคัญที่น่าสนใจหลายประเด็น โดยเฉพาะเป็นแนวคิดในการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ที่มีระบบตามแนวทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีเกณฑ์การแบ่งไว้ อาทิเช่น แนวคิดทวินิยม (Dualism) แนวคิดเอกนิยม (Monism) และมนุษย์ตามหลักพระพุทธศาสนา

       พฤติกรรม หมายถึง การกระทำทุกอย่างของมนุษย์ภายใต้กลไกของความรู้สึกนึกคิดของตนเอง มีหลายประเภท อาทิเช่น พฤติกรรมภายในและพฤติกรรมภายนอก ปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรมมนุษย์ อาทิเช่น ปัจจัยทางชีวภาพ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ฯลฯ เป็นต้น

       ปัจจัยส่งเสริมความเข้าใจตนเองและผู้อื่น ได้แก่ อัตมโนทัศน์ การเห็นคุณค่าแห่งตนและการเปิดเผยตนเองกระบวนการพัฒนาตนเองเป็นหน้าที่หลักของมนุษย์ ประกอบด้วย แนวคิดพื้นฐานในการพัฒนาตนเอง หลักการพัฒนาตนเองมี 3 แนวทาง ได้แก่ พัฒนาตนเองเชิงการแพทย์ ตามแนวคิดจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม เป็นต้น

       สุขภาพและการปรับตัว การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์มีหลายด้าน อาทิเช่น ด้านการศึกษา ด้านอาชีพ-การงาน ด้านชีวิตครอบครัวและด้านเพื่อนร่วมงาน เทคนิคการจัดการความเครียดของมนุษย์ มีลักษณะบางประการ อาทิเช่น แยกแยะสิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียด และแยกแยะผลกระทบของสิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียด เป็นต้น กลวิธีในการปรับตัวของมนุษย์ ได้แก่ กลไกในการเผชิญปัญหา กลไกป้องกันตนเอง และปฏิกิริยากลบเกลื่อน

       จิตตปัญญาศึกษาและจิตสาธารณะ การเรียนรู้ตามแนวจิตตปัญญาศึกษา มีการฝึกการใช้ชีวิตทั้งฐานกาย ฐานใจและฐานปัญญา ส่วนจิตสาธารณะเป็นความสำนึกต่อส่วนร่วมเป็นลักษณะหนึ่งของจิตสาธารณะ คือ การตระหนักและคำนึงถึงส่วนระบบร่วมกัน ความสำคัญของจิตสาธารณะ คือ การที่คนมาอยู่ร่วมกันในสังคม ต้องมีความสัมพันธ์ในรูปแบบการพึ่งพากันและวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางปัญญา เพื่อพัฒนาจิตสาธารณะสามารถทำได้โดยการใช้บทบาทสมมติกับตัวแบบ ฯลฯ เป็นต้น

       การบริหารตนเองเป็นการจัดการกับตนเองให้ประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพในการดำเนินชีวิต การพัฒนาพฤติกรรมกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมของมนุษย์ มี 3 รูปแบบ ได้แก่ แสดงออกแบบก้าวร้าว ไม่กล้าแสดงออก และกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม

       การติดต่อสื่อสาร คือ กระบวนการถ่ายทอดข้อมูล ข่าวสาร ข้อเท็จจริง ความต้องการ อารมณ์ ความรู้สึกจากผู้ส่งไปยังผู้รับ และเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลจะเกิดขึ้นเมื่อมีกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันระหว่าง 2 คนขึ้นไป

       ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์สัมพันธ์มี 2 ทฤษฎี ได้แก่ ทฤษฎีวิเคราะห์การติดต่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และทฤษฎีหน้าต่างหัวใจของ โจว – แฮรี่ รูปแบบการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในสังคมมีรูปแบบที่ 1 คือ หลีกเลี่ยง รูปแบบที่ 2 แบบพิธีการ รูปแบบที่ 4 การพูดคุยสนทนา รูปแบบที่ 5 เกม และรูปแบบที่ 6 ความใกล้ชิด เทคนิคการสร้างมนุษยสัมพันธ์มีวิธีการดังนี้ การทักทายผู้อื่น ยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ ฯลฯ เป็นต้น การสร้างมนุษยสัมพันธ์กับบุคลทั่วไปในสังคม คือ สร้างกับคนที่มีอารมณ์อ่อนไหว คนขลาดกลัว คนดื้อรั้นและคนก้าวร้าว

จุดเด่น / ความน่าสนใจของสาระเนื้อหา : การแบ่งเกณฑ์ศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ประกอบด้วย

1. แนวคิดทวินิยม ประกอบด้วย กายและจิต มี 3 แนวคิดย่อย คือ ลัทธิปฏิสัมพันธ์ ลัทธิคู่ขนานและลัทธิผลพลอยได้

2. แนวคิดเอกนิยม ประกอบด้วย กายและจิตเป็นสิ่งเดียวกัน สามารถอธิบายรูปแบบของกิจกรรมทางสองได้หมด

3. มนุษย์ตามหลักพุทธศาสนา ร่างกายมีองค์ประกอบ 5 อย่าง คือ ขันธ์ 5 หรือเบญจขันธ์ เป็นทั้งรูปธรรมและนามธรรม

       หลักธรรมที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน เรียกหลักธรรม 7 ประการ ได้แก่ ธัมมัญญุตา รู้จักเหตุ อัตถัญญุตา รู้จักผล อัตตัญญุตา รู้จักตน ฯลฯ เป็นต้น ทั้งหมดนี้เป็นคุณธรรมที่มนุษย์สามารถประพฤติปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง มนุษย์เรามีการกระทำที่เรียกว่า พฤติกรรม จึงแบ่งพฤติกรรมตามลักษณะได้ 4 ลักษณะ ได้แก่ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เกิดจากการเรียนรู้ พฤติกรรมปกติ และพฤติกรรมอปกติ

ปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ 4 ปัจจัย เช่น

       ปัจจัยทางชีวภาพ ร่างกายของมนุษย์เกิดการปะทะสัมพันธ์ระหว่างระบบสรีรวิทยาของร่างกายกับสิ่งเร้าภายนอก ปัจจัยทางด้านสังคมเป็นการกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น กาลเวลา ฯลฯ เป็นต้น วิธีศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ทำได้โดย การสังเกตการณ์สำรวจ การทดสอบและการวัด ศึกษาสหสัมพันธ์ ศึกษาอัตชีวประวัติและการทดลอง การประเมินพฤติกรรมโดยตรงสามารถทำได้หลายวิธีอาทิเช่น การสังเกตและบันทึกพฤติกรรมตนเอง บันทึกพฤติกรรมผู้อื่น ประเมินตนเองจากการสังเกตและบันทึก นอกจากนั้นศึกษาพฤติกรรมจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมด้วย เช่น สิ่งแวดล้อมก่อนเกิด กับหลังเกิด เป็นต้น หลักการในการพัฒนาตนเองมี 3 แนวทาง ได้แก่ พัฒนาตนเองเชิงการแพทย์ อวัยวะของร่างกาย เป็นต้น

       หลักการพัฒนาตนเองตามแนวทางพุทธศาสนาประกอบด้วย 3 ประการ คือ ทมะ สิกขา และภาวนา หลักการพัฒนาชีวิตที่ดีงามถูกต้องมี 7 ประการ คือ เลือกแหล่งความรู้และแบบอย่างที่ดี รู้จักระเบียบชีวิต มีแรงจูงใจสร้างสรรค์ พัฒนาให้เต็มศักยภาพ ปรับเจตคติและค่านิยม มีสติ กระตือรือร้นและรู้จักแก้ปัญหา พึ่ง พาตนเองได้ ขั้นตอนพัฒนาตนเอง

ขั้นที่ 1 การสำรวจ – พิจารณาตนเอง รับรู้สภาพการดำรงชีวิตในปัจจุบัน

ขั้นที่ 2 วิเคราะห์จุดเด่น-จุดบกพร่อง ของตนเองต่อจากขั้นที่ 1

ขั้นที่ 3 การกำหนดปัญหาและพฤติกรรมเป้าหมาย มีสภาพใดควรปรับปรุง เกิดจากสาเหตุใด เช่น ปัญหาเกิดจากความคิด อารมณ์ ความรู้สึก

ขั้นที่ 4 รวบรวมข้อมูลพื้นฐาน เพื่อเลือกเทคนิคที่จะปรับปรุงต่อไป

ขั้นที่ 5 การเลือกเทคนิค วิธีและการวางแผนปรับปรุงตนเอง อาจใช้การฝึกหัดได้

ขั้นที่ 6 การทดลองปรับปรุงและพัฒนาตนเอง ควรทำเป็นระยะๆ ตามเวลาที่ระบุไว้

ขั้นที่ 7 การประเมินและขยายผลการพัฒนาตนเองวางแผนเตรียมการไว้ล่วงหน้า

       กลวิธีในการปรับตัวของบุคคล ได้แก่ กลไกการเผชิญหน้าหรือการตอบโต้ปัญหาหรือบุคคล เช่น การร้องไห้ หัวเราะ ฯลฯ เป็นต้น กลไกป้องกันตนเอง เป็นวิธีลดความเครียด ความวิตกกังวล ความคับข้องใจ หรือปกป้องตนเอง จะเป็นการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ได้ จึงเป็นความสามารถทางอารมณ์ที่จะช่วยให้การดำเนินงานของชีวิตเป็นไปอย่างสร้างสรรค์

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : สาระของหนังสือการพัฒนาพฤติกรรมของมนุษย์เล่มนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกคน ทุกอาชีพ โดยเฉพาะอาชีพครู อาชีพให้บริการ (ธุรกิจ) ฯลฯ เป็นต้น เพราะจะทำให้เข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ เพิ่มความสำเร็จบังเกิดประสิทธิผลในงานสูงมาก

       ด้านการให้ความรู้ โดยเฉพาะการให้การศึกษาผู้ใหญ่ จะสามารถปรับเปลี่ยนมโนทัศน์ วิธีการ แปลความหมายได้ง่ายจากพฤติกรรมที่แสดงออก โดยใช้วิธีศึกษาจิตปัญญา เพื่อมุ่งมั่นให้เกิดการพัฒนาด้านจิตและการคิด เพราะจิตตปัญญา เป็นกระบวนการจัดการศึกษาที่มุ้งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตนเอง โดยการพัฒนาจากด้านจิตและความคิดของมนุษย์

       โดยการใช้กิจกรรมจิตปัญญาจะช่วยย้อนพิจารณาถึงประสบการณ์หรือกิจกรรมที่ผ่านมา เพื่อน้อมนำไปสู่ใจ ใคร่ครวญด้วยใจนำไปพัฒนาให้ดีขึ้น จะช่วยให้บุคคลมีการเปลี่ยนแปลง 3 ขั้นตอน เริ่มจากการตระหนักต่อกระบวนการคิด เข้าใจความรู้สึกของตนต่อสิ่งต่างๆ รอบตัวบุคคลจะปรับเปลี่ยนความคิดจะช่วยให้เกิดมโนทัศน์เป็นแนวทางปฏิบัติ ซึ่งสาระดังกล่าวจะช่วยให้เกิดการบริหารตนเองได้ และกล้าแสดงออกทางพฤติกรรมอย่างเหมาะสม เช่น การบริหารเวลา การอ่อนน้อมถ่อมตน การคิดเชิงบวก โดยเริ่มจากมองตนเองว่าดี หาข้อดี มองคนอื่นว่าดี มองสิ่งที่เหลืออยู่ไม่ใช่สิ่งที่ขาดหาไป หมั่นบอกตัวเองและใช้ประโยชน์จากคำว่า ขอบคุณ

       สำหรับการนำมาใช้ในการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ต้องศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด วางแผน เตรียมการติดต่อสื่อสาร ศึกษาอุปนิสัยใจคอ ความต้องการและตำแหน่งของผู้ที่เราจะติดต่อสัมพันธ์ด้วย

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร