การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของส้มลม

การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของส้มลม (Chemical Analysis composition of Aganonerion polymorphum Pierre ex Spire)

เย็นหทัย แน่นหนา*


 

1เย็นหทัย 4

ส้วม ๆ 

ชื่อผลงานทางวิชาการ : ส้วม  

ประเภทผลงานทางวิชาการ : บทความวิชาการ

ปีที่พิมพ์ : 2557

ข้อมูลเพิ่มเติม : เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ ในวารสารวิทยาการ คณะวิทยาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ปีที่ 1 ฉบับที่ 1

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ :  อาจารย์วิชุณี สารสุวรรณ  สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ   คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทความวิชาการ เรื่อง ส้วม ๆ  “สุขา”  ผู้เขียน คือ อาจารย์วิชุณี สารสุวรรณ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ   คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ศึกษา และรวบรวม เกี่ยวกับเรื่อง ส้วม ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ผู้เขียนได้มีโอกาสในการศึกษาดูงานในประเทศต่าง ๆ และเกิดความตื่นตาตื่นใจเกี่ยวกับ “ส้วม” หรือ “สุขา” ที่มีการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์กับสิ่งที่อยู่ในการดำรงชีวิตของคนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จุดเน้นในบทความนี้ ผู้เขียนได้กล่าวถึง “ส้วม กับ “เทคโนโลยี ว่ามีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร ซึ่งเป็นการแสดงถึงความสำคัญของเทคโนโลยีที่มีความสำคัญยิ่งกับชีวิตของคน โดยบทความนี้ได้นำเสนอเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของส้วมแบบไทย ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  จนถึงส้วมที่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการอำนวยความสะดวก รวมถึงจะเป็นประโยชน์ในการเตรียมตัวยามต้องเดินทางหรือท่องเที่ยวไปในสถานที่ต่างๆ  จะได้ทราบข้อมูลและปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องไว้ล่วงหน้า

 


 

อาจารย์วิชุณี สารสุวรรณ

 

ส้วม ๆ

ศึกษาการนุ่ง พับ จับ จีบ ศิลปะอาภรณ์ละครไทย สู่การออกแบบโรงมหรสพละครในเคลื่อนที่

ชื่อผลงานทางวิชาการ : ศึกษาการนุ่ง พับ จับ จีบ ศิลปะอาภรณ์ละครไทย สู่การออกแบบโรงมหรสพละครในเคลื่อนที่ (FOLD AND WRAP: A STUDY IN THAI DRAMATIC COSTUMES FOR MOBILE THEATRE DESIGN)

ปีที่พิมพ์ : 2557

ข้อมูลเพิ่มเติม : เคยได้รับการเผยแพร่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ ปี 2557 ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (หน้า 13-27)

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ  : อาจารย์เพียรพิลาส พิริยาโภคานนท์ สาขาวิชาการการโฆษณาและธุรกิจบันเทิง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

บทความวิจัย เรื่อง  ศึกษาการนุ่ง พับ จับ จีบ ศิลปะอาภรณ์ละครไทย  สู่การออกแบบโรงมหรสพ

             ละครในเคลื่อนที่ FOLD AND WRAP: A STUDY IN THAI DRAMATIC COSTUMES FOR MOBILE THEATRE DESIGN  ผู้ศึกษา คือ อาจารย์เพียรพิลาศ พิริยาโภคานนท์ สาขาวิชาการโฆษณาและธุรกิจบันเทิง คณะวิทยาการจัดการ   มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาประวัติความเป็นมา รูปแบบ และวิธีการ ของศิลปะการนุ่ง พับ จับ จีบเครื่องแต่งกายละครไทย (2) ศึกษากลุ่มผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ  รวมไปถึงงานระบบที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรงมหรสพเคลื่อนที่ (3) ศึกษาวิเคราะห์และนำผลจากการศึกษามาออกแบบโรงมหรสพละครในเคลื่อนที่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญในด้านการนุ่งแบบนาฎศิลปประเพณีที่มีแบบแผน และกลุ่มวัยรุ่นตอนปลายอายุ 18-25 ปี ที่สนใจเกี่ยวกับมโหรสพไทย

จุดเด่นของงานวิจัยนี้   เน้นประเด็นเรื่อง ศิลปะนุ่งพับจับจีบ การแต่งกายยืนเครื่อง จากผู้เชี่ยวชาญในด้านการนุ่งแบบนาฎศิลปประเพณีที่มีแบบแผน และขนบธรรมเนียม รวมไปถึงกลุ่มนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยที่มีความสนใจในเรื่องของมหรสพไทย และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดโรงมหรสพในด้านต่างๆ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึกจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อสรุปมาเป็นแนวทางสู่การออกแบบ  เพื่อเป็นตัวกำหนดพื้นที่ใช้สอยภายในโครงการสู่การตอบสนองผู้ให้บริการอย่างมีประสิทธิผล

ผลการศึกษาประวัติความเป็นมาพบว่ารูปแบบวิธีการของการแต่งกายยืนเครื่องทำให้ทราบว่าได้รับอิทธิพลมาจากเครื่องต้นเครื่องทรงของกษัตริย์และพระบรมวงศ์จนกลายมาเป็นเครื่องแต่งกายยืนเครื่องตัวพระจากนั้นได้ดัดแปลงจากเครื่องทรงของกษัตริย์ผสมผสานกับพระภูษาจีบของเจ้านางฝ่ายในโดยรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีรูปแบบวิธีการที่มีความสวยงามประณีตทำให้เกิดเครื่องแต่งกายยืนเครื่องตัวนางและจากผ้าหนึ่งผืนสามารถรังสรรค์จนเกิดเครื่องแต่งกายที่มีความงดงามผสานกับการใช้งานให้เกิดท่วงท่าต่างๆ  ในการแสดงเพิ่มความวิจิตรตระการตาด้วยเครื่องศิราภรณ์และถนิมพิมพาภรณ์ก่อให้เกิดเครื่องแต่งกายยืนเครื่องที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติสืบมา

ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย

             เป็นความรู้แนวความคิดในการออกแบบโรงมรสพละครในเคลื่อนที่ นำมาแปรรูปเนื้อหาที่ตอบสนองพื้นที่ใช้สอยต่อโครงการและกลุ่มเป้าหมาย ในด้านพฤติกรรม ส่งผลต่อการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยเชิงรุกที่เน้นวัยรุ่นตอนปลาย เพื่อปลูกจิตสำนึกให้เห็นคุณค่าของศิลปะการแสดงอย่างมีประสิทธิภาพ

 


 

บทคัดย่อ

             บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาประวัติความเป็นมารูปแบบและวิธีการของศิลปะการนุ่งพับจับจีบเครื่องแต่งกายละครไทย (2) ศึกษากลุ่มผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการรวมไปถึงงานระบบที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรงมหรสพเคลื่อนที่ (3) ศึกษาวิเคราะห์และนำผลจากการศึกษามาออกแบบโรงมหรสพละครในเคลื่อนที่

วิธีการวิจัยผู้วิจัยได้แบ่งออกเป็น 2ประเภทคือ (1)แนวทางเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึก ที่เน้นประเด็นเรื่อง ศิลปะนุ่งพับจับจีบ การแต่งกายยืนเครื่อง จากผู้เชี่ยวชาญในด้านการนุ่งแบบนาฎศิลปประเพณีที่มีแบบแผน และขนบธรรมเนียม รวมไปถึงกลุ่มนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยที่มีความสนใจในเรื่องของมหรสพไทย และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดโรงมหรสพในด้านต่างๆ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึกจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อนำข้อสรุปมาเป็นแนวทางสู่การออกแบบ (2) แนวทางเชิงปริมาณ ผู้วิจัยใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถาม จากวัยรุ่นตอนปลายอายุระหว่าง 18-25 ปี ที่มีความสนใจเกี่ยวกับมหรสพไทย ซึ่งข้อมูลที่ได้จะนำไปวิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนาและสถิติอ้างอิง เพื่อเป็นตัวกำหนดพื้นที่ใช้สอยภายในโครงการสู่การตอบสนองผู้ให้บริการอย่างมีประสิทธิผล

การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจากการศึกษา ศิลปะอาภรณ์ละครไทย นำมาสรุปสาระสำคัญ อันเป็นความรู้สู่แนวความคิดในการออกแบบโรงมหรสพละครในเคลื่อนที่ นำมาแปรรูปเนื้อหาที่ตอบสนองพื้นที่ใช้สอยต่อโครงการได้เป็นอย่างดี เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้ให้บริการฝ่ายต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรงมหรสพละครในเคลื่อนที่ รวมไปถึงกลุ่มผู้ใช้บริการด้านพฤติกรรม และคุณสมบัติ ซึ่งส่งผลต่อการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมที่เน้นวัยรุ่นตอนปลาย เพื่อตอบจุดประสงค์ของการเผยแพร่โดยพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายที่สามารถปลูกฝังจิตสำนึกให้เห็นถึงคุณค่าของศิลปะการแสดงละครในได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คำสำคัญ : นุ่งพับจับจีบ, พัสตรา, เนรมิตแห่งนาฏกรรม

 

Abstract 

             This present dissertation aims to 1) research the history, formats and practices in the wrapping and folding of Thai dramatic costumes art, including accessories, 2) study those using and those offering theatre services, as well as the system relevant to mobile theatre work, and 3) examine, analyze, and apply the knowledge acquired from the study to the design of mobile theatre.

researcher has employed two approaches, that is 1) Qualitative Approach, in which in-depth interviews with experts who specialize in formats and customs of traditional costume wearing, were conducted – focusing on the art and practices of wearing Thai standard costumes. The interview was also conducted with university students who are interested in Thai traditional performances, including people from various aspects who are related to theatre business. The data obtained from the study were analyzed and concluded as ideas that can be further applied to the design; 2) Quantitative Approach, in which researcher has employed questionnaires and interviewing by questionnaire with late teenagers and university students aged 18-25 years old who are interested in Thai traditional performances. The data obtained were analyzed by descriptive and inferential statistics, so as to determine the space required in the project and efficiently satisfy the needs of those offering services.

The analysis of data acquired by researching Thai dramatic costumes art in which history, formats, and practices are incorporated, has concluded to certain ideas and knowledge, which can be well applied to the use of space in mobile theatre design. This helps to satisfy the needs, behavioral and qualification-wise, of several service sectors involved in Thai theatre business – mobile and not – in general, including potential theatre users and audiences, particularly late teenagers who are the target of this cultural diffusion. The study allows the target group to gain more access and thus exposure to traditional dramatic arts, which in turn efficiently helps to promote values of Thai performing arts.

Keywords : The Magic of Thai Performance: Fold and Wrap Costume

 

ศึกษาการนุ่ง จับ จีบ ศิลปะอาภรณ์ไทย

การประกวดแข่งขันรายการนวัตกรรมอาหารใน (Thailand Innovative Urban Food Challenge ๒๐๑๗) ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญเงินและเหรียญทองแดง สาขาวิชาผู้ประกอบการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโลยี

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การประกวดแข่งขัน รายการนวัตกรรมอาหารในเมือง (Thailand Innovative Urban Food Challenge 2017)

ข้อมูลเพิ่มเติม : ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญเงินและเหรียญทองแดง ของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ : อาจารย์พิมลนาฏ วิธุรัติ อาจารย์วิชชุมา เตชะสิริวิชัย และคณะ สาขาวิชาผู้ประกอบการอาหาร   คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาผู้ประกอบการอาหาร (คหกรรมศาสตร์) ได้ส่งนิสิตสาขาดังกล่าว เข้าประกวดแข่งขันเป็นครั้งแรก  ของรายการนวัตกรรมอาหารในเมือง (Thailand Innovative Urban Food Challenge 2017 ) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ  โดยการนำของอาจารย์พิมลนาฏ วิธุรัติ  อาจารย์วิชชุมา เตชะสิริวิชัยและคณะ ให้การสนับสนุนโดยประธานสาขาผู้ประกอบการอาหาร (อาจารย์ณัฏฐกิตติ์ เหมทานนท์) ร่วมกับคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ประจำสาขาทุกคน และได้รางวัลชนะเลิศ 3 รายการ (1 เหรียญเงิน และ 2 เหรียญทองแดง) ซึ่งรายละเอียดการแข่งขัน ประกาศรับสมัครผู้เข้าแข่งขันทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม ถึง 8 กันยายน 2560  ผู้จัดจะตัดสินผลงานส่งเข้าสมัครโดยคณะกรรมการประกาศผลการคัดเลือกวันที่ 10 กันยายน 2560 เพื่อเข้าแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในวันที่ 13 กันยายน 2560 ณ ห้างเซ็นทรัลเวิล์ด (Central World)

ในการแข่งขันครั้งนี้ นิสิตของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญเงินและเหรียญทองแดง ดังนี้

1) นายธนาคารโศภิณวงศ์รางวัลเหรียญเงิน

  • เมนู ซูชิข้าวผัดไส้อั่วพันเบคอน ซอสน้ำพริกเผา เสิร์ฟเคียงกิมจิห่อสาหร่าย

2) นายวีรภัสอยู่ศูนย์ตรงรางวัลเหรียญทองแดง

  • เมนูพิซซ่าญี่ปุ่นเส้นสปาเกตตี้แฮมและเบคอนรสน้ำพริกเผา

3) นายรามรักษ์เที่ยงตรงรางวัลเหรียญทองแดง

  • เมนูสปาเกตตี้ครีมซอสนมสดแฮมและเบคอนเสิร์ฟเคียงไข่ออนเซนและขนมปังทอดอบชีส

ด้วยความตั้งใจ วิริอุตสาหะ นิสิตสามารถผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ ได้รับเหรียญเงินและเหรียญทองแดง จากผู้แข่งขันทั่วประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามารถของนิสิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ที่สามารถนำความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดจากศึกษาในห้องเรียน ผ่านสู่กระบวนการภาคปฎิบัติในการแข่งขันระดับชาติ จนได้รับรางวัลชนะเลิศดังกล่าว และต้องขอชื่นชมในศักยภาพของอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ผู้สอนในสาขาวิชาผู้ประกอบการอาหารทุกคน ที่ได้พร่ำอบรม สั่งสอน ถ่ายทอดความรู้ จนกระทั่งนิสิตประสบความสำเร็จ สามารถสร้างชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

การท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อชุมชนและท้องถิ่น

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อชุมชนและท้องถิ่น Community Based Tourism for Community and Locality

ปีที่พิมพ์ : 2559

ข้อมูลเพิ่มเติม : เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในการประชุมวิชาการระดับชาติ สหวิทยาการเอเชียอาคเนย์ ครั้งที่ 3

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ  : ผศ.ดร.สุดถนอม  ตันเจริญ สาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการ  คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทความวิชาการ เรื่อง   การท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อชุมชนและท้องถิ่น ผู้ศึกษา คือ ผศ.ดร.สุดถนอม ตันเจริญ   สาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการ คณะวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  ซึ่งบทความนี้ มีจุดเน้นที่สำคัญ โดยจะกล่าวถึง การท่องเที่ยวโดยชุมชน ความหมาย  องค์ประกอบของการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน   องค์ประกอบหลักของการท่องเที่ยวโดยชุมชน มีอยู่ 4 ด้าน คือ 1) ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม 2) องค์กรชุมชน 3) การจัดการ 4) การเรียนรู้ ประเด็นสำคัญของแต่ละองค์ประกอบของการท่องเที่ยวโดยชุมชน กับการพัฒนาชุมชนอย่างเป็นองค์รวม  ความแตกต่างระหว่างการท่องเที่ยวโดยชุมชนกับการท่องเที่ยวรูปแบบอื่น  ข้อควรคำนึงในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน

จากการศึกษา พบว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชนจำเป็นจะต้องมีหลักการจัดการที่ดีด้านการอนุรักษ์ และเสริมสร้างศักยภาพของการใช้ทรัพยากรท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างงานสร้างรายได้ ความเข้มแข็งของชุมชนและการพึ่งตนเอง ตลอดจนคุณภาพของแหล่งท่องเที่ยวและปริมาณของนักท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น มีผลต่อการประกอบอาชีพ และคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นได้อย่างยั่งยืน โดยยึดมั่นต่อการปฏิบัติตามแนวทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน โดยแสวงหาการสนับสนุนสำคัญจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงเทศบาล อบต. ใกล้เคียง สถาบันการศึกษา ชุมชนข้างเคียง  ร้านค้าต่างๆ นักธุรกิจร่วมกันสนับสนุนกิจกรรมหรือกองทุนเพื่อพัฒนาด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน ชี้ให้เห็นว่าการท่องเที่ยวโดยชุมชนทุกพื้นที่ ไม่ว่าจะในประเทศใด จะยั่งยืนได้ สมาชิกในชุมชนด้วยความเข้าใจในแนวคิดของการท่องเที่ยวโดยชุมชนประสมประสานกับการวางแผนการตลาดการท่องเที่ยว (7Ps) การมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับความหมาย องค์ประกอบ และหลักการการการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อชุมชนและท้องถิ่น


 

การท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อชุมชนและท้องถิ่น

Community Based Tourism for Community and Locality

 

ดร.สุดถนอม  ตันเจริญ

Dr.Sudthanom  Tancharoen

 

มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ 19/1 ถนนเพชรเกษม แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม กรุงเทพฯ 10160

Email: [email protected] โทร.0982899495 โทรสาร 028074528

บทคัดย่อ 

การท่องเที่ยวโดยชุมชนแสดงถึงการท่องเที่ยวที่คำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม ชุมชนมีบทบาทเป็นเจ้าของ ทำหน้าที่กำหนดทิศทางการจัดการการท่องเที่ยว จัดการดูแลทรัพยากรการท่องเที่ยวเพื่อให้เกิดการเรียนรู้แก่ผู้มาเยือน ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญคือ ทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม องค์กรชุมชน การจัดการ และการเรียนรู้ โดยทุกส่วนจะเกี่ยวข้องกับแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ วัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิต และประวัติศาสตร์ ปัจจุบันทุกชุมชนยังต้องการความร่วมมือภายในชุมชนต่าง ๆ มากขึ้น รวมถึงการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถช่วยกันเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน ด้วยการพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชนโดยทำความเข้าใจในบทบาทด้านการวางแผน การตัดสินใจ การดำเนินการ และการสรุปบทเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนสู่คนรุ่นต่อ ๆ ไปและเกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่น ทั้งด้านการสร้างงานสร้างรายได้ ความเข้มแข็งของชุมชนและการพึ่งตนเอง ตลอดจนคุณภาพของแหล่งท่องเที่ยวและปริมาณของนักท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น

คำสำคัญ: การท่องเที่ยว การท่องเที่ยวโดยชุมชน การจัดการการท่องเที่ยว ท้องถิ่น

Community Based Tourism presents the consideration of sustainable environment, society, and culture. By which community’s people play roles in the directing the tourism management, taking care of tourism resources for clients’ learning. Its essential components are natural resources, culture, communal organizations, management, and learning which concerning to natural travel destinations, cultural custom, way of life, and history. Nowadays every community needs more cooperation within their community including the participation among communes, municipality and local administrative organization, public and private concerned organizations. All such organizations are able to create and enhance public’s knowledge and understanding about Sustainable Community Based Tourism with community’s potential development by understanding the roles in planning, making decision, operating, and lesson learned summary. Leading to community based tourism management by next generation continually would occur and usefulness for locality on income and careers’ contribution, stronger and self-reliance, including the tourism destination’s quality and more tourists.

Keywords: tourism, community based tourism, tourism management, community

 

การท่องเที่ยวโดยชุมชนฯ

ผักหวานป่า…น่าปลูกเป็นอาชีพ

ผศ.วิชัย ปทุมชาติพัฒน์


ความนำ ผักหวาน หรือผักหวานป่ามีรสชาติหวานมันอร่อย ไม่มีผักใดมาแทนที่ได้  ปรุงเป็นอาหารชนิดใดก็อร่อย แต่เดิมนั้นผักหวานเป็นผักพื้นบ้านที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเฉพาะในพื้นที่ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางบางส่วน ปัจจุบันได้รับความนิยมทั่วประเทศ เป็นเมนูอาหารในภัตตาคารใหญ่ รวมทั้งส่งออกไปหลายประเทศ แม้ราคาในประเทศจะสูงถึงกิโลกรัมละ 300-400 บาทแต่ก็เป็นที่นิยมบริโภคกันมาก การที่หารับประทานได้ค่อนข้างยากเพราะผักชนิดนี้เป็นผักในป่าจะให้ผลผลิตในปลายฤดูหนาวถึงกลางฤดูร้อนประมาณเดือนธันวาคมถึงเดือนเมษายนเท่านั้น และส่วนใหญ่จะถูกชาวบ้านที่อาศัยในหมู่บ้านตามชายป่าเก็บยอดอ่อนดอกอ่อนมาบริโภคและขายตามฤดูกาล การเก็บยอดอ่อนรวมทั้งดอกอ่อน ทำให้ประชากรของต้นผักหวานไม่มีโอกาสเพิ่มขึ้น เพราะไม่มีดอกใหญ่ให้บานก็จะไม่มีผลไม่มีเมล็ดเพื่อขยายพันธุ์ตามธรรมชาติ อีกทั้งมีพ่อค้าต้นไม้ขุดต้นตอเล็กออกเร่ขาย และขุดล้อมต้นใหญ่ออกไปขายในเมืองในราคาต้นละหลายพันบาท โอกาสจะหมดไปจากป่าก็ยิ่งมีมากขึ้น แม้ในปัจจุบันเกษตรกรหันมาปลูกผักหวานเพื่อการค้ากันมากขึ้น โดยแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญในประเทศไทยอยู่ที่จังหวัดสระบุรี และพื้นที่ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายจังหวัด แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด เพราะผักหวานเป็นพืชที่เจริญเติบโตช้ามาก การบำรุงรักษาก็ยุ่งยากกว่าการปลูกพืชอื่น การปลูกแบบพืชทั่วไปมีโอกาสตายมาก บทความนี้จะให้ความรู้เรื่องผักหวานและการปลูกพร้อมภาพประกอบซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการปลูกเป็นอาชีพที่ถูกวิธีมากขึ้น เพื่อการกระจายรายได้ และเป็นการอนุรักษ์ให้ผักหวานอยู่ในป่าเพื่อเป็นอาหารอันโอชะของชุมชนใกล้ป่าและสัตว์ป่าในระยะยาวต่อไป

 

ผักหวานป่า

ชื่อวิทยาศาสตร์  Melientha suavis Pierre

ชื่อวงศ์  OPILIACEAE 

ชื่ออื่น ผักหวาน 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้นขนาดเล็ก ผลัดใบ สูง 4-11 เมตร เปลือกต้นหนา สีเทาอมสีน้ำตาลอ่อน เรียบ  กิ่งอ่อนเป็นสีเขียวเข้ม เนื้อไม้มีความแข็ง สะสมอาหารที่รากและลำต้นสำหรับให้ชีวิตรอดในฤดูแล้ง ใบเดี่ยว หนา เนื้อใบกรอบ ขอบใบเรียบ ลักษณะของใบอ่อนเป็นรูปไข่หรือรูปรียาว สีเขียวอ่อน เมื่อใบแก่จะกว้างขึ้น รูปร่างไม่แน่นอน ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบสอบเรียว สีเขียวเข้ม กว้างประมาณ 3-5 ซม. ยาว 4-8 ซม. ดอกออกเป็นช่อยาว 15-20 ซม. ช่อดอกออกจากกิ่งหรือลำต้นหรือตามซอกใบ ดอกเป็นแบบแยกเพศแต่อยู่บนก้านดอกเดียวกัน โดยดอกเพศผู้จะมีกลีบสีเขียวอ่อน เกสรสีเหลือง ส่วนดอกเพศเมียจะมีกลีบดอกเป็นสีเขียวเข้ม และก้านดอกจะสั้นกว่าดอกเพศผู้  ผลเดี่ยวติดเป็นพวงบนช่อเดิม ผลรูปไข่ มีขนาดกว้าง 1.5-1.7 ซม. ยาว 2.3-3 ซม. ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่สีเหลืองส้ม มีเมล็ดเดียว

การขยายพันธุ์ เพาะกล้าจากเมล็ด งอกภายใน 1 เดือน ต้นกล้ามีรากสะสมอาหาร

ประโยชน์ 1. ยอดอ่อน ดอกอ่อน และผลอ่อน รับประทานเป็นผัก โดยอาจนำมาลวกให้สุกแล้วใช้เป็นผักจิ้มกับน้ำพริก ลาบ ใช้เป็นเครื่องเคียง หรืออาจนำไปผัดไฟแดง

2. ใช้ประกอบอาหารชนิดต่าง ๆ เช่น แกงเลียง แกงส้ม แกงอ่อม แกงปลา แกงกะทิสด แกงกับไข่มดแดงหรือปลาแห้ง แกงคั่ว แกงจืด

3. ผลสุกของผักหวานนำมารับประทานเป็นผลไม้ได้ นำเมล็ดไปต้มรับประทานได้เช่นเดียวกับเมล็ดขนุน โดยจะมีรสหวานมัน

4. ผลสุกยังเป็นอาหารของนกและสัตว์ต่าง ๆ

5. ผักหวานเป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรตีน พลังงาน และวิตามินซี อีกทั้งยังมีปริมาณของเส้นใบอาหารอยู่พอสมควร จึงช่วยในการขับถ่ายได้ดี

6. ผักหวานเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ เช่น เบตาแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินซี และสารประกอบฟีนอลิก การรับประทานผักหวานป่าจึงไม่เพียงแต่จะได้คุณค่าทางโภชนาการเท่านั้น หากแต่ยังได้รับสารอาหารที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย จึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้เป็นอย่างดี

หมายเหตุ 1. ผักหวานเป็นพืชที่อยู่ในวงศ์OPILIACEAE ซึ่งจัดว่าเป็นวงศ์พิเศษที่ยังไม่มีพืชชนิดใดอยู่ในวงศ์นี้เลย เป็นพืชทนแล้ง แต่ไม่ทนแดด

2. ผักหวานสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ยอดเหลืองและพันธุ์ยอดเขียว โดยพันธุ์ยอดเขียวจะเจริญเติบโตได้ดีกว่าและเร็วกว่าพันธุ์ยอดเหลือง แต่ลักษณะของทั้งสองสายพันธุ์ก็จะไม่มีความแตกต่างกันมากนัก ไม่ว่าจะเป็นทรงพุ่ม กิ่ง และแขนงใบ หากไม่สังเกตให้ดี ก็จะไม่เห็นความแตกต่าง 3. ผักหวานป่ากับผักหวานบ้านนั้นไม่ใช่พืชชนิดชนิดเดียวกัน ไม่ได้มีความสัมพันธ์หรือเป็นพืชในตระกูลเดียวกันแต่อย่างใด เพียงแต่มีชื่อเรียกที่พ้องกันเท่านั้น จึงมีการเรียกชื่อผักหวานว่าผักหวานป่า เพื่อให้เกิดความแตกต่าง จากชื่อผักหวานบ้าน

4. ต้นผักหวานป่า มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย จึงพบต้นผักหวานป่าได้ตามป่าเบญจพรรณในที่ราบหรือเชิงเขาที่มีความสูงไม่เกิน 600 เมตรจากระดับน้ำทะเล และโดยปกติจะชอบขึ้นอยู่บนดินร่วนปนทราย

5. ผักหวานป่าเป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูงได้กว่า 10 เมดร แต่ที่พบโดยทั่วจะมีขนาดเล็ก คล้ายไม้พุ่ม เนื่องจากมีการหักกิ่งเพื่อเด็ดยอดไปบริโภค จึงเป็นการกระตุ้นให้เกิดกิ่งและยอดอ่อนออกด้านข้าง ไม่มีโอกาสสูงตามธรรมชาติ

6. มีพรรณไม้ที่มีลักษณะคล้ายกับผักหวานป่า เช่น ต้นเสน ต้นขี้หนอน หากรับประทานเข้าไปจะทำให้เกิดอาการผิดสำแดงได้ คือ มีอาการคลื่นเหียนอาเจียน คอแห้ง อ่อนเพลีย มึนงง และหมดสติ หากร่างกายอ่อนแอก็อาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้

การปลูกผักหวาน ผักหวานเป็นพืชที่เจริญเติบโตช้ามาก ผู้ปลูกต้องรอประมาณ 2-3 ปี จึงจะมียอดอ่อนให้เก็บได้ และต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการปลูกต่อไปนี้

1. ผักหวานชอบพื้นที่ที่มีแสงรำไร เป็นพื้นที่ที่มีแสงส่องไม่ตลอดทั้งวัน ชอบอยู่ใต้ร่มไม้อื่นที่ใหญ่กว่า ดังนั้นการปลูกผักหวาน ต้องเลียนแบบธรรมชาติจึงจะได้ผลดี โดยการปลูกแซมกับไม้ชนิดอื่นที่สามารถให้ร่มเงาได้ เช่น แค ทองหลาง กระถิน ซึ่งเป็นพืชวงศ์ถั่วที่ระบบรากสามารถให้ธาตุไนโตรเจนในดิน

2. ต้นพันธุ์ผักหวานที่เหมาะสมคือต้นกล้าที่ได้จากการเพาะเมล็ด ส่วนการตอนกิ่งจะออกรากได้ยาก ถึงแม้จะใช้ฮอร์โมนเร่งราก  การปลูกจากต้นกล้าจะทำให้ได้ต้นที่แตกกิ่งมากกว่าวิธีอื่น

3. การเพาะกล้า ทำได้โดยนำผลที่สุกจัดที่ร่วงจากต้นมาแกะเปลือกผลออกนำเมล็ดออกมา

วางเรียงลงแปลงเพาะที่เตรียมไว้ แล้วเกลี่ยดินให้คลุมเมล็ด หรือเพาะในภาชนะขนาดเล็ก ซึ่งวัสดุปลูกเป็นดินเก่าผสมแกลบดำ และขุยมะพร้าว เมื่องอกแล้วและมีใบ 3-4 ใบก็ย้ายลงปลูกในถุงเพาะขนาด 4×4 นิ้ว ดูแลรดน้ำใส่ปุ๋ยเม็ด เมื่อต้นกล้าสูง 20-30 ซม. ก็นำไปปลูก หรือนำไปจำหน่ายได้

4. วิธีปลูก  เลือกปลูกในที่ดอน น้ำท่วมไม่ถึง ขุดหลุมกว้างและยาว 1 ฟุต ลึก 1 ฟุต ผสมดินปลูกที่มีมูลสัตว์เป็นส่วนผสมครึ่งหนึ่งลงไปให้เต็มหลุม แล้วนำต้นกล้าออกจากภาชนะเดิมลงปลูก โดยปักไม้หลักพยุงไว้กันล้ม โรยปุ๋ยเม็ดเล็กน้อย แล้วรดน้ำตามทันที

5. การปลูกพืชพี่เลี้ยงเป็นร่มเงาให้แก่ต้นผักหวาน ต้นแคเหมาะสมที่สุด เป็นพืชโตเร็วจะช่วยพลางแสงให้ผักหวานขณะยังเล็กไปจนโต และแคยังให้ยอดให้ดอกเป็นอาหารได้ ควรเตรียมต้นกล้าแคสูง 2- 3 ฟุตไว้ล่วงหน้า เมื่อปลูกผักหวานเสร็จแล้วก็ปลูกต้นแคประกบทั้งด้านซ้ายและขวาทันที ให้ห่างจากต้นผักหวานราว 50 ซม.

6. เมื่อต้นผักหวานโตจนสามารถเก็บยอดขายได้ก็ต้องตัดแต่งกิ่งก้านของต้นแค ไม่ให้เบียดกับทรงพุ่มของผักหวานจนไม่ได้รับแสงแดด

อ้างอิง

1. http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=1559

2. https://medthai.com

3. http://puechkaset.com

4. https://th.wikipedia.org/wiki

 

จิกนา ไม้ต้นปลูกง่ายหลายประโยชน์

ผศ.วิชัย  ปทุมชาติพัฒน์

 

                    ความนำ จิกนา หรือ จิกน้ำ เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก ออกดอกเป็นช่อยาวห้อยลง ดอกสีแดงสด บานตอนกลางคืน เวลามีดอกจะทิ้งใบเหลือเพียงใบอ่อนเป็นสีแดง สวยงามน่าชมมาก และยังมีกลิ่นหอมอ่อนๆ จิกนาได้รับความนิยมนำมาปลูกประดับสวนในบ้าน ในรีสอร์ท ในสวนสาธารณะ และสถานที่ต่างๆ ผู้พบเห็นต่างก็ชื่นชมอยากปลูกบ้าง เพราะจิกนาโตเร็ว  บำรุงรักษาง่าย ไม่มีศัตรูรบกวน แต่มีปัญหาที่หาซื้อต้นพันธุ์ได้ยากและราคาสูง ในตลาดต้นไม้มีขายจำนวนน้อย ขนาดต้นสูง 2 เมตร ในราคาต้นละกว่า2,000 บาท จึงขอแนะนำให้เพาะกล้าเอง ซึ่งงอกง่ายมาก

 

จิกนา

 

ชื่อวิทยาศาสตร์  Barringtonia acutangula (L.) Gaertn.

ชื่อวงศ์              LECYTHIDACEAE

ชื่ออื่น               จิกน้ำ จิกอินเดีย กระโดนทุ่ง กระโดนน้ำ กระโดนสร้อย

ชื่อสามัญ                      Indian Oak , Freshwater Mangrove

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

                    ไม้ต้นผลัดใบ สูง 5-10 เมตร เปลือกลำต้นสีน้ำตาลถึงดำ ลำต้นเป็นปุ่มปม ปลายกิ่งลู่ลง ทรงพุ่มแน่นทึบ ใบเดี่ยว ใบอ่อนเป็นสีน้ำตาลถึงแดงเข้ม ออกเวียนสลับถี่บริเวณปลายยอด ใบรูปหอก หรือรูปไข่กลับ ปลายและโคนใบแหลม ขอบใบเป็นจักถี่แบบฟันเลื่อย กว้าง 6-8 ซม. ยาว 10-15 ซม. ดอกออกเป็นช่อยาวที่ปลายยอด ห้อยลงเป็นระย้า ยาว 30-40 ซม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบซึ่งติดทนอยู่จนเป็นผล กลีบดอกสั้น ปลายแยกเป็น 4 กลีบ หลุดร่วงง่าย เป็นสีแดง หรือ ชมพูเข้ม เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 ซม. เกสรเพศผู้เป็นเส้นเล็กสีแดง จำนวนมาก ดอกบานพร้อมกันตอนกลางคืน โดยจะผลัดใบก่อนมีดอก จะทิ้งใบหมดหรือเกือบหมดทั้งต้น และแตกยอดอ่อนเป็นสีแดงจัดขึ้นมาทดแทน ผลเป็นรูปขอบขนาน สีเขียว ขนาดนิ้วก้อย กว้าง 1.5- 2.0 ซม. ยาว 3-5 ซม. มีสันเป็นเหลี่ยม 4 สัน ตามความยาวของผล เมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลมี 1 เมล็ดต่อผล

ฤดูออกดอก      ออกดอกช่วงฤดูหนาวถึงฤดูร้อน บางแห่งก็สามารถออกดอกได้ตลอดปี

การขยายพันธุ์   เพาะกล้าจากเมล็ด โดยนำผลแก่ที่ร่วงอยู่ใต้ต้นมาผึ่งลมให้แห้งสัก 5 วัน แล้วนำไปเพาะในภาชนะรวม รดน้ำทุกวัน เพียง 3-4 สัปดาห์ก็จะงอก เมื่อต้นกล้าสูง 12-15 ซม.จึงย้ายไปปลูกเป็นต้นเดียวในภาชนะที่ใหญ่ขึ้น เมื่อต้นกล้าสูง 50 ซม. จึงนำไปปลูกในสถานที่ที่ต้องการ

ประโยชน์

  1. ยอดอ่อน และ ดอกอ่อน ใช้รับประทานเป็นผักสดและผักจิ้มกับ น้ำพริก ลาบน้ำตก แจ่ว ขนมจีน  และอาหารรสเผ็ดอื่นๆ มีรสชาติมันปนฝาด [2]
  2. เปลือกและต้นมีสรรพคุณใช้เบื่อปลา
  3. เนื้อไม้ใช้ทำไม้อัดทำเครื่องมือเกษตรและทำเครื่องเรือนได้
  4. เป็นสมุนไพรแก้ระดูขาวใบแก่ใช้ต้มน้ำดื่มแก้ท้องร่วง เมล็ดใช้ทำเป็นยาลมแก้อาการจุกเสียดและแก้ไอในเด็ก
  5. เนื่องจากจิกนาเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก จึงนิยมปลูกเป็นไม้ประดับที่ริมน้ำริมตลิ่ง หรือบริเวณอาคารบ้านเรือน รีสอร์ท สวนสาธารณะ และสถานที่ต่างๆ เพื่อให้ร่มเงา และดูช่อดอกที่สวยงามแปลกตา จิกนามีความแข็งแรง ทนน้ำท่วมขังได้เป็นอย่างดี

 

อ้างอิง

https://th.wikipedia.org/wiki

https://medthai.com

http://www.tungsong.com

 

มะกอกฝรั่ง…ปลูกง่ายขายได้ทั้งปี

มะกอกฝรั่ง…ปลูกง่ายขายได้ทั้งปี

ผศ.วิชัย ปทุมชาติพัฒน์


 

                    ความนำ มะกอกฝรั่ง เป็นมะกอกอีกชนิดหนึ่ง เป็นชนิดที่ผลโตที่สุดในบรรดามะกอกด้วยกัน นิยมกินเป็นผลไม้สด คือปอกเปลือกแล้วล้างเมือกออกให้หมด สับออกเป็นชิ้นแล้วจิ้มพริกเกลือกินเป็นของว่าง ติดผลตลอดปี จึงเห็นมีขายในรถเข็นขายผลไม้ทั่วไปตลอดทุกฤดู ผู้บริโภคทั่วไปมักเรียกชื่อผิดว่ามะกอกน้ำ ซึ่งเป็นมะกอกผลเล็กขนาดปลายนิ้วมือ จึงเขียนบทความนี้ขึ้นมา เพื่อให้เกิดความกระจ่างด้วยภาพประกอบที่เห็นรายละเอียดอย่างชัดเจน  

มะกอกฝรั่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์  Spondias dulcis Parkinson

วงศ์มะม่วง ANACARDIACEAE

ชื่อสามัญ  Jew’s plum, Otatheite apple, Golden apple, Jew plum

ชื่ออื่น ๆ มะกอกหวาน  มะกอกดง  มะกอกเทศ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้นเขตร้อน  สูง 7-12 เมตร เปลือกต้นเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลแดง ผิวเรียบ ทรงพุ่มแผ่ออกกระจายแบบไม่มีรูปร่างแน่นอน ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ใบย่อยออกตรงข้าม 6 – 8 คู่ ก้านใบยาว ใบหนา เรียบลื่น สีเขียว ใบย่อยเป็นรูปไข่ค่อนข้างเรียวแหลม ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย ดอกออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงตามปลายยอด  เป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศคล้ายช่อดอกมะม่วง ดอกย่อยขนาดเล็กมาก สีขาวอมเขียว กลีบดอก 5 กลีบ ฐานรองดอกเป็นสีเหลือง ผลสดเป็นรูปไข่หรือรูปกระสวย ออกเป็นพวง มียางเป็นจุดๆบนผิว ผลอ่อนเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนผลแก่เป็นสีเขียวอมเหลือง สุกแล้วเป็นสีส้ม ขนาดกว้าง 4 – 5.5 ซม. ยาว 5.5 – 7.5 ซม.  มีเมือกหุ้มผลที่ปอกเปลือกแล้ว เนื้อในเป็นสีขาวอมเขียว  มีเส้นใยหยาบๆคล้ายหนามแทรกอยู่  รสเปรี้ยวอมหวานมันและกรอบอร่อย ภายในผลมีกะลาที่มีเส้นใยหยาบๆคล้ายหนามโดยรอบหุ้มอยู่ ภายในกะลามีเมล็ดระหว่าง 3-5 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปทรงกลมรี

ถิ่นกำเนิด ในทวีปเอเชีย

การขยายพันธุ์ เพาะกล้าจากเมล็ด และการตอนกิ่ง

ประโชน์ของมะกอกฝรั่ง

1. ผลใช้รับประทานเป็นผลไม้ ใช้ปรุงอาหาร หรือคั้นน้ำจากผลมาทำเครื่องดื่มสมุนไพร ผลมีรสเปรี้ยวปนหวานมันและกรอบอร่อยมาก นิยมนำมาจิ้มกับพริกเกลือ โดยหาซื้อได้ง่ายในรถเข็นขายผลไม้ริมถนน หรือสับราดน้ำจิ้มรสเผ็ด อีกทั้งยังสามารถนำไปแปรรูปทำน้ำผลได้ เพราะมีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยอุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินซี แคลเซียม ฟอสฟอรัส ฯลฯ

2. เนื้อผลมีรสเปรี้ยวฝาด หวานชุ่มคอ เป็นยาช่วยบำบัดโรคธาตุพิการเพราะน้ำดีไม่ปกติ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด เป็นยาแก้ร้อนในอย่างแรง น้ำคั้นจากใบใช้เป็นยาหยอดหู แก้อาการปวดหูได้ดี

3. หลายชาตินำใบอ่อนมารับประทาน ประเทศฟิจิใช้ใบอ่อนมาทำแยม ในซามัวและตองกาใช้ทำอาหารพื้นเมือง ส่วนในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย นำมาจิ้มกับกะปิ สับยำใส่เครื่องปรุงพื้นเมือง หรือใช้เป็นส่วนผสมในอาหารที่มีลักษณะคล้ายกับยำผลไม้หรือส้มตำผลไม้

หมายเหตุ  1. มะกอกฝรั่ง อยู่ในวงศ์เดียวกันกับมะม่วง คือวงศ์ ANACARDIACEAE

2. มะกอกฝรั่งมี 2 ชนิด คือ มะกอกฝรั่ง และมะกอกฝรั่งแคระ  ในบทความนี้เราจะมะกอกฝรั่งเท่านั้น ส่วนมะกอกแคระ ก็มีลักษณะโดยรวมเหมือนมะกอกฝรั่ง เพียงแต่มีลำต้นแคระ  สูงได้เพียง1.00 – 1.50 เมตร ผลดก ขนาดของผลเล็กกว่ามะกอกฝรั่งเล็กน้อย นิยมปลูกไว้ในสวนในบริเวณบ้านไว้บริโภค

3. เมล็ดมะกอกฝรั่งจะมีกะลาที่มีเส้นใยหยาบๆคล้ายหนามโดยรอบหุ้มอยู่ ภายในมีเมล็ดระหว่าง 3-5 เมล็ด เมื่อนำไปเพาะกล้าจึงได้ต้นกล้ามากกว่า 1 ต้น ซึ่งอาจงอกไม่พร้อมกัน

4. ผลมะกอกฝรั่งที่สุกแล้ว เนื้อจะเหลว เมื่อนำมาบีบเนื้อออกให้หมด ล้างน้ำหลายครั้งให้สะอาด ผึ่งลมไว้ 1-2 วันแล้วจึงนำไปเพาะกล้า จะงอกได้ง่ายและได้ต้นกล้าที่สมบูรณ์

5. มะกอกฝรั่งเป็นพืชที่ปลูกง่ายโตเร็ว ชอบที่ริมน้ำ ออกดอกติดผลตลอดทั้งปี ปลูกเป็นอาชีพได้ หากมีโรคใบหงิกที่ยอดอ่อน ให้หักยอดส่วนนั้นออกไปเผาทำลาย หากระบาด ต้องตัดแต่งออกมาก รอให้แตกยอดใหม่

อ้างอิง 1. https://medthai.com

2. https://www.thai-thaifood.com

 

เทคนิคการสำรวจพรรณพืช (สื่อ Powerpoint) ใช้ประกอบการบรรยายให้นักเรียนโรงเรียนด่านช้างวิทยา อ.ด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี

วิชัย ปทุมชาติพัฒน์

 

**เนื่องจากไฟล์สื่อมีขนาดใหญ่อาจใช้เวลาโหลดนานกว่าปกติ**

 

View Fullscreen

 

หงอนไก่ทะเล…พรรณไม้หลายคุณค่า

ผศ.วิชัย ปทุมชาติพัฒน์

 

                    ความนำ ครั้งแรกที่เห็นผลของ“หงอนไก่ทะเล”เมื่อกว่าสิบปีมาแล้วที่วัดแห่งหนึ่งในอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ก็ได้เห็นถึงความสวยงามของผลขนาดใหญ่ที่มีรูปร่างแปลก ก็ได้นำมาเก็บสะสมไว้ เมื่อเวลาผ่านไปเนิ่นนานจนถึงปัจจุบันก็ยังอยู่ในสภาพเดิม ก็เลยย้อนกลับไปที่วัดเดิม ปรากฏว่าต้นนั้นไม่อยู่แล้ว เลยเสาะหาแหล่งอื่น พบ 3 ต้นที่สวนหลวง ร.9 และสวนธนบุรีรมย์ อีก 3 ต้น ทั้ง6 ต้นนี้ยังเล็กเพิ่งติดผลไม่มาก  ล่าสุดมาพบที่วัดวังชัยทรัพย์วิมลที่อำเภอบ้านแพ้วเช่นเดิม ต้นใหญ่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ สูงกว่า10เมตร มีผลดกมาก เมื่อนำมาผลที่ร่วงตามพื้นดินใต้ต้นมาให้ที่ประชุมศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพของมหาวิทยาลัยราชภัฏ 19 แห่ง อาจารย์ทุกท่านก็ความสนใจกันเป็นอย่างมาก เพราะต่างก็ไม่เคยเห็นมาก่อน ผู้เขียนเห็นควรเผยแพร่ให้รู้จักกันให้กว้างขวางยิ่งขึ้น และส่งเสริมให้มีการปลูกมากขึ้น เนื่องจากเป็นพรรณไม้ที่มีประโยชน์หลายด้าน ทั้งด้านให้เนื้อไม้ในการก่อสร้าง ให้ร่มเงา ให้ความสวยงาม เป็นสมุนไพร และผลแห้งที่มีรูปร่างสวยงามยังสามารถนำไปประดิษฐ์เป็นของตกแต่งได้ด้วย

 

หงอนไก่ทะเล

 

ชื่อวิทยาศาสตร์              Heritiera littoralis Ait.

ชื่อวงศ์                          STERCULIACEAE

ชื่ออื่นๆ             ไข่ควาย (กระบี่)  ดุหุน (ตรัง)  หงอนไก่

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้น สูง  5–15 เมตร ทรงพุ่มค่อนข้างกลม เปลือกต้น สีน้ำตาลเทา แตกสะเก็ดตามยาวเป็นร่องตื้นๆ เปลือกต้นชั้นในสีน้ำตาลอมชมพู ระบบรากตื้นจึงพบว่ารากจะเจริญเติบโตบนผิวดิน ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ ถึงรูปขอบขนาน กว้าง 5–10 ซม. ยาว 10–22 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบกลมมน สอบแคบ หรือเบี้ยวเล็กน้อย ผิวใบเกลี้ยง หลังใบสีเข้ม ท้องใบมีไขสีขาว ขอบใบเรียบ หรือเป็นคลื่นเล็กน้อย เส้นแขนงใบ 7–15 คู่ ปลายเส้นแขนงใบเชื่อมประสานกันก่อนถึงขอบใบ ก้านใบยาว 1–2 ซม. ดอกออกเป็นช่อตามง่ามใบ ดอกรูประฆัง สีเหลือง ผลกลมรี มีครีบเป็นสันด้านบน ผิวเกลี้ยงเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีน้ำตาลแก่ ขนาดกว้างประมาณ 4 ซม. ยาว 5- 6 ซม. เปลือกด้านในเป็นเส้นใย เป็นผลแห้งชนิดไม่แตก เปลือกผลจะแตกอ้าออกเมื่อเมล็ดจะงอกเป็นต้นกล้าเมล็ดค่อนข้างกลม 1 เมล็ดต่อผล

 

การขยายพันธุ์               เพาะกล้าด้วยผลแห้ง จะงอกภายใน 2-3 เดือน

การปลูกและบำรุงรักษา  ปลูกด้วยต้นกล้าที่สูงราว 50 ซม. ช่วงต้นฤดูฝน ในทำเลที่เป็นที่ดอนใกล้แหล่งน้ำหรือริมน้ำที่ได้รับแสงแดดเต็มที่ บำรุงรักษาเหมือนไม้ต้นทั่วไป

การใช้ประโยชน์

  1. เนื้อไม้สีขาว แข็งแรงทนทาน ใช้ทำเสา ทำชิ้นส่วนต่อเรือ และอุปกรณ์ในการก่อสร้างต่างๆ
  2. เมล็ดมีแทนนิน ปรุงเป็นยาแก้ท้องเสียและบิด
  3. เปลือก ใช้ต้มน้ำอมบ้วนปากแก้รำมะนาด ปากอักเสบ
  4. กิ่งอ่อน มีสารเทนนิน ใช้ถูฟันรักษาเหงือก
  5. ใบสวย ปลูกเป็นไม้ประดับ ให้ร่มเงาได้ดี
  6. ผลแห้ง นำมาประดับตกแต่ง หรือประดิดประดอยเป็นรูปร่างต่างๆได้สวยงาม

 

อ้างอิง

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ. วัลลิ์รุกขบุปผชาติตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9484

http://www.doa.go.th/hrc/chumphon (ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร)

http://www.thaikasetsart.com