ชื่อผลงานทางวิชาการ : การท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อชุมชนและท้องถิ่น Community Based Tourism for Community and Locality

ปีที่พิมพ์ : 2559

ข้อมูลเพิ่มเติม : เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในการประชุมวิชาการระดับชาติ สหวิทยาการเอเชียอาคเนย์ ครั้งที่ 3

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ  : ผศ.ดร.สุดถนอม  ตันเจริญ สาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการ  คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทความวิชาการ เรื่อง   การท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อชุมชนและท้องถิ่น ผู้ศึกษา คือ ผศ.ดร.สุดถนอม ตันเจริญ   สาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการ คณะวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  ซึ่งบทความนี้ มีจุดเน้นที่สำคัญ โดยจะกล่าวถึง การท่องเที่ยวโดยชุมชน ความหมาย  องค์ประกอบของการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน   องค์ประกอบหลักของการท่องเที่ยวโดยชุมชน มีอยู่ 4 ด้าน คือ 1) ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม 2) องค์กรชุมชน 3) การจัดการ 4) การเรียนรู้ ประเด็นสำคัญของแต่ละองค์ประกอบของการท่องเที่ยวโดยชุมชน กับการพัฒนาชุมชนอย่างเป็นองค์รวม  ความแตกต่างระหว่างการท่องเที่ยวโดยชุมชนกับการท่องเที่ยวรูปแบบอื่น  ข้อควรคำนึงในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน

จากการศึกษา พบว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชนจำเป็นจะต้องมีหลักการจัดการที่ดีด้านการอนุรักษ์ และเสริมสร้างศักยภาพของการใช้ทรัพยากรท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างงานสร้างรายได้ ความเข้มแข็งของชุมชนและการพึ่งตนเอง ตลอดจนคุณภาพของแหล่งท่องเที่ยวและปริมาณของนักท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น มีผลต่อการประกอบอาชีพ และคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นได้อย่างยั่งยืน โดยยึดมั่นต่อการปฏิบัติตามแนวทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน โดยแสวงหาการสนับสนุนสำคัญจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงเทศบาล อบต. ใกล้เคียง สถาบันการศึกษา ชุมชนข้างเคียง  ร้านค้าต่างๆ นักธุรกิจร่วมกันสนับสนุนกิจกรรมหรือกองทุนเพื่อพัฒนาด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน ชี้ให้เห็นว่าการท่องเที่ยวโดยชุมชนทุกพื้นที่ ไม่ว่าจะในประเทศใด จะยั่งยืนได้ สมาชิกในชุมชนด้วยความเข้าใจในแนวคิดของการท่องเที่ยวโดยชุมชนประสมประสานกับการวางแผนการตลาดการท่องเที่ยว (7Ps) การมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับความหมาย องค์ประกอบ และหลักการการการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อชุมชนและท้องถิ่น


 

การท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อชุมชนและท้องถิ่น

Community Based Tourism for Community and Locality

 

ดร.สุดถนอม  ตันเจริญ

Dr.Sudthanom  Tancharoen

 

มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ 19/1 ถนนเพชรเกษม แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม กรุงเทพฯ 10160

Email: [email protected] โทร.0982899495 โทรสาร 028074528

บทคัดย่อ 

การท่องเที่ยวโดยชุมชนแสดงถึงการท่องเที่ยวที่คำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม ชุมชนมีบทบาทเป็นเจ้าของ ทำหน้าที่กำหนดทิศทางการจัดการการท่องเที่ยว จัดการดูแลทรัพยากรการท่องเที่ยวเพื่อให้เกิดการเรียนรู้แก่ผู้มาเยือน ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญคือ ทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม องค์กรชุมชน การจัดการ และการเรียนรู้ โดยทุกส่วนจะเกี่ยวข้องกับแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ วัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิต และประวัติศาสตร์ ปัจจุบันทุกชุมชนยังต้องการความร่วมมือภายในชุมชนต่าง ๆ มากขึ้น รวมถึงการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถช่วยกันเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน ด้วยการพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชนโดยทำความเข้าใจในบทบาทด้านการวางแผน การตัดสินใจ การดำเนินการ และการสรุปบทเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนสู่คนรุ่นต่อ ๆ ไปและเกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่น ทั้งด้านการสร้างงานสร้างรายได้ ความเข้มแข็งของชุมชนและการพึ่งตนเอง ตลอดจนคุณภาพของแหล่งท่องเที่ยวและปริมาณของนักท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น

คำสำคัญ: การท่องเที่ยว การท่องเที่ยวโดยชุมชน การจัดการการท่องเที่ยว ท้องถิ่น

Community Based Tourism presents the consideration of sustainable environment, society, and culture. By which community’s people play roles in the directing the tourism management, taking care of tourism resources for clients’ learning. Its essential components are natural resources, culture, communal organizations, management, and learning which concerning to natural travel destinations, cultural custom, way of life, and history. Nowadays every community needs more cooperation within their community including the participation among communes, municipality and local administrative organization, public and private concerned organizations. All such organizations are able to create and enhance public’s knowledge and understanding about Sustainable Community Based Tourism with community’s potential development by understanding the roles in planning, making decision, operating, and lesson learned summary. Leading to community based tourism management by next generation continually would occur and usefulness for locality on income and careers’ contribution, stronger and self-reliance, including the tourism destination’s quality and more tourists.

Keywords: tourism, community based tourism, tourism management, community

 

การท่องเที่ยวโดยชุมชนฯ