ชื่อผลงานทางวิชาการ : ศึกษาการนุ่ง พับ จับ จีบ ศิลปะอาภรณ์ละครไทย สู่การออกแบบโรงมหรสพละครในเคลื่อนที่ (FOLD AND WRAP: A STUDY IN THAI DRAMATIC COSTUMES FOR MOBILE THEATRE DESIGN)

ปีที่พิมพ์ : 2557

ข้อมูลเพิ่มเติม : เคยได้รับการเผยแพร่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ ปี 2557 ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (หน้า 13-27)

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ  : อาจารย์เพียรพิลาส พิริยาโภคานนท์ สาขาวิชาการการโฆษณาและธุรกิจบันเทิง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

บทความวิจัย เรื่อง  ศึกษาการนุ่ง พับ จับ จีบ ศิลปะอาภรณ์ละครไทย  สู่การออกแบบโรงมหรสพ

             ละครในเคลื่อนที่ FOLD AND WRAP: A STUDY IN THAI DRAMATIC COSTUMES FOR MOBILE THEATRE DESIGN  ผู้ศึกษา คือ อาจารย์เพียรพิลาศ พิริยาโภคานนท์ สาขาวิชาการโฆษณาและธุรกิจบันเทิง คณะวิทยาการจัดการ   มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาประวัติความเป็นมา รูปแบบ และวิธีการ ของศิลปะการนุ่ง พับ จับ จีบเครื่องแต่งกายละครไทย (2) ศึกษากลุ่มผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ  รวมไปถึงงานระบบที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรงมหรสพเคลื่อนที่ (3) ศึกษาวิเคราะห์และนำผลจากการศึกษามาออกแบบโรงมหรสพละครในเคลื่อนที่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญในด้านการนุ่งแบบนาฎศิลปประเพณีที่มีแบบแผน และกลุ่มวัยรุ่นตอนปลายอายุ 18-25 ปี ที่สนใจเกี่ยวกับมโหรสพไทย

จุดเด่นของงานวิจัยนี้   เน้นประเด็นเรื่อง ศิลปะนุ่งพับจับจีบ การแต่งกายยืนเครื่อง จากผู้เชี่ยวชาญในด้านการนุ่งแบบนาฎศิลปประเพณีที่มีแบบแผน และขนบธรรมเนียม รวมไปถึงกลุ่มนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยที่มีความสนใจในเรื่องของมหรสพไทย และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดโรงมหรสพในด้านต่างๆ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึกจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อสรุปมาเป็นแนวทางสู่การออกแบบ  เพื่อเป็นตัวกำหนดพื้นที่ใช้สอยภายในโครงการสู่การตอบสนองผู้ให้บริการอย่างมีประสิทธิผล

ผลการศึกษาประวัติความเป็นมาพบว่ารูปแบบวิธีการของการแต่งกายยืนเครื่องทำให้ทราบว่าได้รับอิทธิพลมาจากเครื่องต้นเครื่องทรงของกษัตริย์และพระบรมวงศ์จนกลายมาเป็นเครื่องแต่งกายยืนเครื่องตัวพระจากนั้นได้ดัดแปลงจากเครื่องทรงของกษัตริย์ผสมผสานกับพระภูษาจีบของเจ้านางฝ่ายในโดยรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีรูปแบบวิธีการที่มีความสวยงามประณีตทำให้เกิดเครื่องแต่งกายยืนเครื่องตัวนางและจากผ้าหนึ่งผืนสามารถรังสรรค์จนเกิดเครื่องแต่งกายที่มีความงดงามผสานกับการใช้งานให้เกิดท่วงท่าต่างๆ  ในการแสดงเพิ่มความวิจิตรตระการตาด้วยเครื่องศิราภรณ์และถนิมพิมพาภรณ์ก่อให้เกิดเครื่องแต่งกายยืนเครื่องที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติสืบมา

ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย

             เป็นความรู้แนวความคิดในการออกแบบโรงมรสพละครในเคลื่อนที่ นำมาแปรรูปเนื้อหาที่ตอบสนองพื้นที่ใช้สอยต่อโครงการและกลุ่มเป้าหมาย ในด้านพฤติกรรม ส่งผลต่อการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยเชิงรุกที่เน้นวัยรุ่นตอนปลาย เพื่อปลูกจิตสำนึกให้เห็นคุณค่าของศิลปะการแสดงอย่างมีประสิทธิภาพ

 


 

บทคัดย่อ

             บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาประวัติความเป็นมารูปแบบและวิธีการของศิลปะการนุ่งพับจับจีบเครื่องแต่งกายละครไทย (2) ศึกษากลุ่มผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการรวมไปถึงงานระบบที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรงมหรสพเคลื่อนที่ (3) ศึกษาวิเคราะห์และนำผลจากการศึกษามาออกแบบโรงมหรสพละครในเคลื่อนที่

วิธีการวิจัยผู้วิจัยได้แบ่งออกเป็น 2ประเภทคือ (1)แนวทางเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึก ที่เน้นประเด็นเรื่อง ศิลปะนุ่งพับจับจีบ การแต่งกายยืนเครื่อง จากผู้เชี่ยวชาญในด้านการนุ่งแบบนาฎศิลปประเพณีที่มีแบบแผน และขนบธรรมเนียม รวมไปถึงกลุ่มนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยที่มีความสนใจในเรื่องของมหรสพไทย และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดโรงมหรสพในด้านต่างๆ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึกจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อนำข้อสรุปมาเป็นแนวทางสู่การออกแบบ (2) แนวทางเชิงปริมาณ ผู้วิจัยใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถาม จากวัยรุ่นตอนปลายอายุระหว่าง 18-25 ปี ที่มีความสนใจเกี่ยวกับมหรสพไทย ซึ่งข้อมูลที่ได้จะนำไปวิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนาและสถิติอ้างอิง เพื่อเป็นตัวกำหนดพื้นที่ใช้สอยภายในโครงการสู่การตอบสนองผู้ให้บริการอย่างมีประสิทธิผล

การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจากการศึกษา ศิลปะอาภรณ์ละครไทย นำมาสรุปสาระสำคัญ อันเป็นความรู้สู่แนวความคิดในการออกแบบโรงมหรสพละครในเคลื่อนที่ นำมาแปรรูปเนื้อหาที่ตอบสนองพื้นที่ใช้สอยต่อโครงการได้เป็นอย่างดี เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้ให้บริการฝ่ายต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรงมหรสพละครในเคลื่อนที่ รวมไปถึงกลุ่มผู้ใช้บริการด้านพฤติกรรม และคุณสมบัติ ซึ่งส่งผลต่อการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมที่เน้นวัยรุ่นตอนปลาย เพื่อตอบจุดประสงค์ของการเผยแพร่โดยพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายที่สามารถปลูกฝังจิตสำนึกให้เห็นถึงคุณค่าของศิลปะการแสดงละครในได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คำสำคัญ : นุ่งพับจับจีบ, พัสตรา, เนรมิตแห่งนาฏกรรม

 

Abstract 

             This present dissertation aims to 1) research the history, formats and practices in the wrapping and folding of Thai dramatic costumes art, including accessories, 2) study those using and those offering theatre services, as well as the system relevant to mobile theatre work, and 3) examine, analyze, and apply the knowledge acquired from the study to the design of mobile theatre.

researcher has employed two approaches, that is 1) Qualitative Approach, in which in-depth interviews with experts who specialize in formats and customs of traditional costume wearing, were conducted – focusing on the art and practices of wearing Thai standard costumes. The interview was also conducted with university students who are interested in Thai traditional performances, including people from various aspects who are related to theatre business. The data obtained from the study were analyzed and concluded as ideas that can be further applied to the design; 2) Quantitative Approach, in which researcher has employed questionnaires and interviewing by questionnaire with late teenagers and university students aged 18-25 years old who are interested in Thai traditional performances. The data obtained were analyzed by descriptive and inferential statistics, so as to determine the space required in the project and efficiently satisfy the needs of those offering services.

The analysis of data acquired by researching Thai dramatic costumes art in which history, formats, and practices are incorporated, has concluded to certain ideas and knowledge, which can be well applied to the use of space in mobile theatre design. This helps to satisfy the needs, behavioral and qualification-wise, of several service sectors involved in Thai theatre business – mobile and not – in general, including potential theatre users and audiences, particularly late teenagers who are the target of this cultural diffusion. The study allows the target group to gain more access and thus exposure to traditional dramatic arts, which in turn efficiently helps to promote values of Thai performing arts.

Keywords : The Magic of Thai Performance: Fold and Wrap Costume

 

ศึกษาการนุ่ง จับ จีบ ศิลปะอาภรณ์ไทย