Category Archives: การผลิตบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ขนุนสำปะลอ : ขนุนที่ไม่ใช่ขนุน

ขนุนสำปะลอ : ขนุนที่ไม่ใช่ขนุน

 

ความนำ

ขนุนสำปะลอ เป็นผลไม้ที่หาดูยากมาก ชั่วชีวิตของคนคนหนึ่งอาจจะไม่เคยเห็นเลยก็ได้ เนื่องจากขนุนสำปะลอเป็นผลไม้ที่ใช้ประโยชน์ได้น้อย บางคนอาจจะเคยเห็นต้นหรือผลของขนุนสำปะลอ แต่ผ่านเลยไปเพราะคิดว่าเป็น “สาเก” ทั้งนี้เพราะเชื่อว่า “ขนุนสำปะลอ ก็น่าจะเป็นขนุนชนิดหนึ่ง รูปร่างหน้าตาก็น่าจะเหมือนขนุน

บทสรุปก็คือขนุนสำปะลอเป็น“สาเกที่มีเมล็ด” นั่นเอง ปกติแล้วสาเกจะไม่มีเมล็ด เมื่อผ่าผลสาเกก็จะพบว่าเป็นเนื้อล้วนๆ  ชาวบ้านก็นำมาปอกเปลือกออกแล้วนำมาเชื่อมหรือแกงบวด ก็จะได้ขนมหวานเนื้อเหนียวนุ่มอร่อย สาเกชนิดข้าวเหนียวจะทำขนมได้อร่อยกว่าสาเกชนิดข้าวเจ้า ส่วนผลของขนุนสำปะลอนั้นจะโตกว่าผลของสาเกเกือบเท่าตัว เปลือกผลมีหนามเหมือนขนุน น่าจะเป็นที่มาของชื่อที่มีคำว่า “ขนุน”ติดมาด้วย  เมื่อผ่าผลของขนุนสำปะลอ ก็จะพบเมล็ดขนาดหัวแม่มืออัดแน่นเต็มผล แต่ละเมล็ดก็มีขนาดและรูปร่างแตกต่างกัน  ชาวบ้านจะนำเมล็ดของขนุนสำปะลอมาต้มกินหรือเผากินกับน้ำตาลทราย เป็นของกินเล่นในครอบครัว

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของขนุนสำปะลอ

ชื่อไทย ขนุนสำปะลอ

ชื่อสามัญ Breadfruit

ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus altilis  Fosberg

ชื่อวงศ์ MORACEAE

 

   ขนุนสำปะลอ เป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูงได้ถึง 8 เมตร ลำต้นสีน้ำตาลเข้มผิวเรียบ  ทรงพุ่มขนาดกลางถึงใหญ่ ไม่ผลัดใบ ทุกส่วนของลำต้นมียางสีขาว ใบใหญ่หนา สีเขียวเข้ม หน้าใบมันวาว ปลายใบแหลมคม ริมใบหยักลึกหลายหยัก แต่ละหยักไม่เท่ากัน  ลักษณะคล้ายใบสาเก มีใบจำนวนมาก ทำให้ทรงพุ่มแน่นทึบ ให้ร่มเงาได้เป็นอย่างดี ดอกสีเหลืองออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายยอด ช่อดอกเพศผู้เป็นแท่งยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ห้อยลง ส่วนช่อดอกเพศเมียรูปร่างกลม ออกดอกช่วงปลายฤดูฝน ผลกลมยาว สีเขียว ผิวผลมีหนามเหมือนขนุน เมื่อแก่เต็มที่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางผล 12-16 เซนติเมตร ผลยาว 16-22 เซนติเมตร เมื่อสุกจะร่วงลงมา มีเมล็ดจำนวนมาก ขนาด 2x3 เซนติเมตร

 

ประโยชน์

1.บริโภคส่วนเมล็ดโดยนำมาต้มหรือเผา รสชาติคล้ายเมล็ดขนุนหรือเก๋าลัดจีนรวมกัน

2.นิยมปลูกไว้เป็นไม่ร่มเงาในบ้านหรือสวนสาธารณะเพราะทรงพุ่มและใบมีความสวยงามนอกจากกินเมล็ดแล้ว ไม่มีการปลูกเพื่อเศรษฐกิจ

 

  

ภาพเปรียบเทียบผลสาเกกับ ขนุนสำปะลอ

 

ภาพ ขนุนสำปะลอ

กาหลง ชงโค โยทะกา : ไม้งามสามสหาย

กาหลง ชงโค โยทะกา : ไม้งามสามสหาย

ผศ.วิชัย ปทุมชาติพัฒน์


 

กาหลง ชงโค โยทะกา : ไม้งามสามสหาย

กาหลง ชงโค และโยทะกา พรรณไม้งาม3 ชนิดนี้เป็นไม้ดอกสวย ที่เป็นพรรณไม้ในวงศ์เดียวกัน คือวงศ์ ถั่ว ชื่อว่า CAESALPINIACEAE ผู้พบเห็นมักสับสนว่าต้นใดชื่อใดกันแน่ จึงขอนำรายละเอียดคุณลักษณะของแต่ละชนิดมาให้ทราบพร้อมภาพประกอบเปรียบเทียบให้ศึกษาอย่างชัดเจน ดังนี้

 

กาหลง

ชื่อไทย กาหลง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Bauhinia acuminata L.

ชื่อวงศ์  วงศ์ถั่ว หรือ Family CAESALPINIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล แตกกิ่งก้านไม่มาก กิ่งก้านชูขึ้น ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ใบเป็นรูปไต ปลายใบเว้าลึกเข้ามาเกือบครึ่งใบ ทำให้ปลายแฉกสองข้างแหลม แยกเป็น 2 พู โคนใบมนเว้าเป็นรูปหัวใจ กว้างประมาณ 7-9 เซนติเมตรและยาวประมาณ 8-11 เซนติเมตร แผ่นใบค่อนข้างหนา เป็นสีเขียวเข้ม ดอกเป็นช่อกระจะแบบสั้น ๆที่ปลายกิ่งประมาณช่อละ 4-6 ดอก กลีบดอก 5 กลีบเป็นสีขาวบริสุทธิ์  มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ดอกบานเต็มที่จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-8 เซนติเมตร ผลเป็นฝักแบนรูปขอบขนาน กว้าง 1.3-1.6 เซนติเมตร ยาว 8-10 เซนติเมตร ขอบฝักเป็นสันหนา โคนแหลม ปลายฝักป้านมีติ่งแหลม เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาล มีเมล็ด 7-10 เมล็ด เมล็ดแบนเพาะกล้าได้ง่าย

การใช้ประโยชน์   ปลูกเป็นไม้ประดับ ในทำเลที่มีแสงแดด 6-8 ชั่วโมงต่อวัน ดอกและยอดอ่อนรับประทานได้


 

ชงโค

ชื่อไทย ชงโค

ชื่อวิทยาศาสตร์ Bauhinia purpurea L.

ชื่อสามัญ Orchid tree

ชื่อวงศ์  วงศ์ถั่ว หรือ Family CAESALPINIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

   เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-8 เมตร ลำต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน กิ่งก้านมักห้อยย้อยลงมา กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม ใบเดี่ยวรูปไต ปลายของใบเว้าลึกมาก ปลายใบทั้งสองด้านกลมมนดูคล้ายใบแฝดติดกัน ดอกออกเป็นช่อกระจะตามปลายกิ่ง และลำต้น ช่อละ 5-10 ดอก กลิ่นหอมอ่อน ๆ กลีบดอก 5 กลีบสี มี1กลีบขนาดใหญ่ ลักษณะของดอกคล้ายกับดอกกล้วยไม้ กลีบดอกที่ใหญ่ที่สุดจะมีลายเส้นสีเข้มสะดุดตา เมื่อบานเต็มที่จะกว้าง 8-11 เซนติเมตร เกสรผู้เป็นเส้นยาว 5 เส้น ยื่นยาวออกมานอกดอก เกสรเมียอยู่ตรงกลาง 1 เส้น ยาวกว่าเกสรผู้  ชงโคชนิดฮอลแลนด์จะไม่ติดฝัก ส่วนชงโคพื้นเมืองที่มีดอกเล็ก กลีบดอกสีชมพูจะติดฝักมาก ยาว 20-25 เซนติเมตร

การขยายพันธุ์  ชงโคฮอลแลนด์ ไม่ติดฝัก ต้องขยายพันธุ์ด้วยกิ่งตอน ส่วนชงโคพื้นเมืองติดฝักยาว 15-20 เซนติเมตร ใช้เมล็ดเพาะกล้าได้ง่าย

การใช้ประโยชน์ 

1. เพราะมีดอกดกและสีสันสวยงามจึงนิยมปลูกประดับอาคารสถานที่ต่าง ๆ
2. เป็นไม้ดอกสัญลักษณ์ของฮ่องกง
3. เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โรงเรียนเทพลีลา โรงเรียนปิยะบุตร และอีกหลายสถาบัน
4. เป็นสมุนไพร มีสรรพคุณรักษาได้หลายโรค

ชงโคแท้

 

ชงโคป่า

 


 

โยทะกา

ชื่อไทย โยทะกา

ชื่อวิทยาศาสตร์ Bauhinia monandra kurz อยู่ใน

ชื่อวงศ์  วงศ์ถั่ว หรือ Family CAESALPINIACEAE

     ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 2-3 เมตร ลำต้นสีน้ำตาลอ่อน แตกกิ่งก้านขนาดเล็กจำนวนมาก จนทรงพุ่มอัดแน่น ใบเป็นรูปไต ปลายใบเว้าลึกเข้ามาเกือบครึ่งใบ ทำให้ปลายแฉกสองข้างแหลม แยกเป็น 2 พู โคนใบมนเว้าเป็นรูปหัวใจ กว้างประมาณ 5-7 เซนติเมตรและยาวประมาณ 6-8 เซนติเมตร แผ่นใบบาง เป็นสีเขียวอ่อน ดอกเป็นช่อกระจะแบบสั้น ๆที่ปลายกิ่งประมาณช่อละ 1-3 ดอก กลีบดอก 5 กลีบเป็นสีเหลืองอ่อน  ดอกที่บานเต็มที่แล้วยังห่อกลีบอยู่เหมือนยังไม่บาน หน้าดอกห้อยลง บานเต็มที่จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-6 เซนติเมตร ดอกที่เหี่ยวแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วง ผลเป็นฝักแบนรูปขอบขนาน โคนฝักเรียวแหลม ฝักกว้าง 1.0-1.5 เซนติเมตร ยาว 11-13 เซนติเมตร ปลายฝักมีติ่งแหลม เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาล มีเมล็ด 10-12 เมล็ด เมล็ดแบนเพาะกล้าได้ง่าย

การขยายพันธุ์  ขยายพันธุ์ด้วยกิ่งตอน และใช้เมล็ดเพาะกล้า

การใช้ประโยชน์  ดอกมีสีสันสวยงาม เมื่อดอกบานใหม่เป็นสีเหลือง และเปลี่ยนเป็นสีม่วงในวันถัดไป จึงนิยมปลูกประดับอาคารสถานที่ต่าง ๆ

 

 

 

ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี (Biodiversity and Local Intellectuality in the Area of Amphoe U-thong, Suphanburi Province)

รหัสโครงการ 2557A13862009

จรัญ ประจันบาล

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

สนับสนุนโดย สำนักบริหารโครงการส่งเสริมการวิจัย

ในระดับอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยแห่งชาติ

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

บทคัดย่อ

       การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจ รวบรวมข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี การดำเนินการวิจัยใน 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) สำรวจ รวบรวมข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) พัฒนาฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ และ 3) พัฒนาเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบริเวณอำเภอ    อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ผลการสำรวจพบว่าพื้นที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี มีสภาพเป็น ป่าเบญจพรรณพบชนิดพันธุ์พืชทั้งหมด 206 ชนิด 157 สกุล 75 วงศ์ โดยวงศ์พันธุ์ไม้ที่พบมากที่สุดคือวงศ์ PAPILIONACEAE และวงศ์ RUBIACEAE พบชนิดพันธุ์พืชทั้งสิ้นวงศ์ละ 13 ชนิด รองลงมาคือวงศ์ CAESALPINIACEAE พบ 11 ชนิด วงศ์ EUPHORBIACEAE พบ 10 ชนิด วงศ์ CAPPARIDACEAE และวงศ์ COMBRETACEAE พบวงศ์ละ 8 ชนิด และพบชนิดพันธุ์พืชที่ถูกจัดเป็นพืชหายากหรือเป็นพืชถิ่นเดียวของประเทศไทยทั้งหมด 13 ชนิด ประกอบด้วย กะเพราหินปูน เทียนกาญจน์ ผีอีค่อย พุดผา ม่วงไตรบุญ มหาพรหม มะกัก มะลิสยาม หุน อรพิม คำมอกหลวง ธนนไชย แสลงพันกระดูก และพบสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหมด 129 ชนิด ประกอบด้วยกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำนวน 9 ชนิด กลุ่มสัตว์เลื้อยคลานจำนวน 10 ชนิด กลุ่มสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำนวน 6 ชนิด กลุ่มสัตว์ปีกจำนวน 67 ชนิด และกลุ่มปลาพบจำนวน 37 ชนิด สำหรับผลการสำรวจ ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพพบภูมิปัญญาด้านงานจักสานและงานทอผ้าพื้นเมืองมีจำนวนมากที่สุด โดยข้อมูลทั้งหมดถูกจัดเก็บในฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพที่สามารถสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นสระยายโสม

คำสำคัญ : ความหลากหลายทางชีวภาพ, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, อำเภออู่ทอง

Abstract

       The aims of this study are to survey and collect the data of the biodiversity and the local wisdom at Amphoe U-thong, Supanburi province. The research processes were divided into three procedures; 1) survey and collect the data of biodiversity and the local wisdom, 2) develop and setup the database obtained from surveying, and                3) establish the local museum for learning the biodiversity and local wisdom at Amphoe U-thong, Supanburi province. In this study, we found 206 species of plant, which were the mixed deciduous forest, that further classified into 157 genus and 75 families.               The majorities of plant were PAPILIONACEAE, 13 species, and RUBIACEAE,                         13 species while the minorities of plant were CAESALPINIACEAE, 11 species, EUPHORBIACEAE, 10 species, CAPPARIDACEAE, 8 species, and COMBRETACEAE, 8 species. Remarkably, we also found 13 species of the rare plants or endemic plants, including Plectranthus albicalyx S.Suddee, Impatiens kanburiensis T. Shimizu, Boea sp., Gardenia saxatilis Geddes, Tribounia venosa (Barnett) D.J. Middleton, Mitrephora winitii Craib, Spondias bipinnata Airy Shaw & Forman, Jasminum siamense Craib, Cissus craibii Gagnep., Bauhinia winitii Craib, Gardenia sootepensis Hutch., Buchanania siamensis Miq., Bauhinia similis Craib. The vertebrate animals that discovered in this area consist of  129 species, including 9 species of mammal, 10 species of reptile,               6 species of amphibian, 67 species of poultry, and 37 species of fish. In term of the study of the local wisdom that consistent with the utilization from biodiversity resources, the wisdom of basketry and weaving have found mostly. All data from this study were collected in the biodiversity database, which could be ascertained via the internet network of the Sayaisom local museum.

Key word: Biodiversity, Local Wisdom, Amphoe U-thong

งานประกวดกล้วยไม้สกุลช้าง

ผศ.วิชัย ปทุมชาติพัฒน์

       งานประกวดกล้วยไม้ระดับชาติที่จัดขึ้นในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด มีขึ้นปีละหลายครั้ง โดยมีรางวัลใหญ่เป็นถ้วยรางวัลพระราชทานจากพระราชวงศ์ เป็นโอกาสที่ผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นต่างก็ส่งกล้วยไม้ที่มีอยู่เข้าประกวดจำนวนมาก มีทุกสกุลที่เจ้าภาพกำหนดขึ้น หลายสกุลที่ออกดอกตลอดปีก็จะมีเข้าประกวดทุกงาน แต่เฉพาะกล้วยไม้ที่ออกดอกตามฤดูก็จะมีข้อจำกัด อย่างเช่นกล้วยไม้สกุลช้าง ซึ่งจะออกดอกในช่วงฤดูหนาว จึงจะได้เห็น”ช้าง”ทุกชนิดที่สวยงามหลากหลายรูปแบบสีสันเข้าประกวด ที่นำมาให้ชมในครั้งนี้เป็นการประกวดกล้วยไม้ที่งานเกษตรแฟร์ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และงานพฤกษาตะวันออกที่จังหวัดชลบุรี ในช่วงฤดูหนาวปี2560ที่ผ่านมา ทุกภาพที่เห็นมีรางวัลรับรองความงามมาแล้วทั้งสิ้น

กล้วยไม้สกุลช้าง  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhynchostylis gigantea เป็นกล้วยไม้รากอากาศ ลำต้นสั้น ใบใหญ่ หนา แผ่ออกสองด้าน ดอกเป็นช่อยาว โค้งลงข้างล่าง มีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกมีหลายสีตามชนิด มีกลิ่นหอมมาก ออกดอกปีละครั้งในช่วงกลางถึงปลายฤดูหนาวตามชนิดพันธุ์ สามารถติดฝักเองตามธรรมชาติได้ง่าย จึงเป็นความสะดวกสำหรับนักปรับปรุงพันธุ์ ทำให้เกิดช้างพันธุ์ใหม่ออกมาจำนวนมาก มีหลากหลายสีสัน แต่ถูกแบ่งออกเป็นชนิดตามสีที่ปรากฏ เช่น  กล้วยไม้ช้างกระ กล้วยไม้ช้างชมพู กล้วยไม้ช้างชมพูม่วง กล้วยไม้ช้างแดง กล้วยไม้ช้างเผือก กล้วยไม้ช้างพลาย  กล้วยไม้ช้างมูล กล้วยไม้ช้างส้ม เป็นต้น

จุดเด่นของกล้วยไม้สกุลช้าง กล้วยไม้สกุลช้างมีรูปทรงของต้นใบและดอกได้สัดส่วนสวยงาม ดอกย่อยขนาดเล็กพอเหมาะเรียงตัวอย่างมีระเบียบสวยงามบนช่อดอกที่มีขนาดใกล้เคียงกันทุกช่อ ที่สำคัญคือมีกลิ่นหอมตลบอบอวล ส่งกลิ่นไปทั่วสวน เมื่อกล้วยไม้สกุลช้างออกดอกจึงไม่มีการตัดช่อดอกไปจากต้น ปล่อยให้สวยและส่งกลิ่มหอมบนต้นไปจนกว่าจะโรยราไป

การปลูกกล้วยไม้สกุลช้าง   กล้วยไม้สกุลช้างเป็นกล้วยไม้ที่ดูเหมือนจะปลูกง่ายเพราะเป็นรากอากาศ ไม่ต้องใช้วัสดุปลูกใดเลย แต่ตามความเป็นจริงแล้วพบว่า มีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้กล้วยไม้สกุลช้างไม่เจริญเติบโต มีโรครบกวนมาก เมื่อถึงฤดูก็ไม่ยอมออกดอก ในที่สุดก็เลิกปลูก หากรักการปลูกจริงก็ต้องสังเกตพฤติกรรมของกล้วยไม้ ศึกษาหาความรู้จากผู้รู้ที่ปลูกเป็นอาชีพ และปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้น วิธีปลูกกล้วยไม้สกุลช้างมี 2 วิธี คือ

  1. 1. ปลูกโดยการผูกต้นพันธุ์ติดไว้กับต้นไม้ใหญ่ในช่วงฤดูฝน ด้วยลวดหรือเชือกให้

มั่นคงในระดับ2เมตรขึ้นไป เพื่อให้ได้รับแสงแดดในสภาพเหมือนในป่า แล้วรดด้วยน้ำสะอาดอย่างสม่ำเสมอ วันละ 1-2 ครั้ง กล้วยไม้ก็จะเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนใบและราก  รากจะเกาะติดต้นไม้เป็นแนวยาว ฉีดพ่นปุ๋ยละลายน้ำทุก 10 วัน ในที่สุดก็จะเห็น “ช้างออกดอกให้ชื่นชม ซึ่งแต่ละสายพันธุ์จะออกดอกไม่พร้อมกัน

  1. 2. ปลูกในวัสดุที่เป็นท่อนไม้แห้ง หรือในกระถางดินเผาทรงเตี้ยที่เจาะรูรอบกระถาง

แต่ที่นิยมมากคือปลูกในกระเช้าไม้สักรูปสี่เหลี่ยมที่มีขายทั่วไป โดยใช้เชือกหรือลวดมัดติดภาชนะปลูกให้แน่น

       แขวนไว้ในโรงเรือนที่ได้รับแสงแดดรำไร ประมาณ 50 – 60 %  จำนวน 5 ชั่วโมงต่อวัน รดน้ำสะอาด วันละ 1-2 ครั้ง ให้ปุ๋ยสมบูรณ์สูตรเสมอทุก 10 วัน  กล้วยไม้ก็จะเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนใบ และรากก็จะเกาะติดภาชนะปลูก ในที่สุดก็จะช้างออกดอกให้ชื่นชม ซึ่งแต่ละสายพันธุ์จะออกดอกไม่พร้อมกัน


กล้วยไม้ช้างกระ


กล้วยไม้ช้างชมพู


กล้วยไม้ช้างชมพูม่วง


กล้วยไม้ช้างแดง


กล้วยไม้ช้างเผือก


กล้วยไม้ช้างพลาย


กล้วยไม้ช้างมูล


กล้วยไม้ช้างส้ม

กล้วยไม้ดินซิมบิเดียมในไต้หวัน

ผศ.วิชัย  ปทุมชาติพัฒน์

       ซิมบิเดียม (Cymbidium) เป็นกล้วยไม้ที่มีทั้งชนิดเกาะอาศัยอยู่บนต้นไม้ซึ่งช่อดอกจะห้อยลงมา เช่น กะเรกะร่อน ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cymbidium finlaysonianum และซิมบิเดียมชนิดที่ปลูกในดิน ซึ่งได้แก่ซิมบิเดียมที่ดอกใหญ่ช่อดอกตั้งตรง ดังที่มามาให้ชมในที่นี้

       กล้วยไม้ดินซิมบิเดียมชนิดช่อดอกตั้งตรง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cymbidium lowianum  เป็นกล้วยไม้ดินที่ช่อดอกแข็งแรง ดอกมีความสวยงามมาก และ กลีบดอกหนา มันวาวคล้ายกับเคลือบพลาสติก มีหลายสีให้เลือกใช้ ได้แก่  เขียว เหลือง และ ชมพู ซึ่งแต่ละสีก็มีหลายระดับและหลายแบบ  ซิมบิเดียมจึงเป็นชนิดของกล้วยไม้ที่นิยมมากที่สุดในไต้หวัน และซิมบิเดียมก็ติดอันดับ1ใน10 ดอกไม้ยอดนิยมของโลก  ผู้ใช้ประโยชน์ซิมบิเดียมชนิดนี้สามารถนำไปประดับได้ทั้งการตัดดอกไป หรือนำไปประดับพร้อมกระถางดังภาพประกอบ แหล่งผลิตที่สำคัญของโลกคือ  ในอเมริก ออสเตรเลีย และไต้หวัน

       การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ซิมบิเดียมสามารถทำได้ไม่ยาก ที่สำคัญคือชอบอากาศเย็น จึงมักจะพบในโครงการหลวงทางภาคเหนือ หรือจังหวัดที่มีที่สูงที่อากาศเย็นปีละหลายเดือน เช่น เขาค้อ ภูเรือ เป็นต้น ซิมบิเดียมเป็นกล้วยไม้กึ่งดินกึ่งรากอากาศ ต้องใช้วัสดุปลูกที่เป็นอินทรียวัตถุมากต้องระบายอากาศได้ดี  เกษตรกรจึงนิยมใช้กาบมะพร้าวสับหยาบๆผสมกับถ่านไม้สับเป็นชิ้นเล็กๆ ในอัตราส่วน 1:1 ปลูกในกระถางดินเผา ซึ่งจะช่วยเก็บความชื้นไว้ในตัวกระถาง ทำให้รากสัมผัสความชื้นและเย็นตลอดเวลา แล้ววางภาชนะปลูกในเรือนระแนงที่ได้รับแสงแดดประมาณ 50%  รดน้ำสะอาดวันละ 1-2 ครั้ง ใส่ปุ๋ยละลายช้า เช่น ออสโมโคทเดือนละครั้ง และเปลี่ยนวัสดุปลูกใหม่ปีละครั้ง หากจำนวนต้นแน่นกระถางก็แบ่งออกปลูกขยายพันธุ์เพื่อจำหน่ายจ่ายแจกต่อไป

นี่เป็นหลักการปลูกซึ่งดูเหมือนไม่ได้ยากเย็นอะไร เมื่อทำไปแล้วก็พยายามปรับเปลี่ยนไปสักวันคงได้รับความสำเร็จ


สีเขียว

สีชมพู

 

สีเหลือง

Selection and Spread of Artemisinin-Resistant Alleles in Thailand Prior to the Global Artemisinin Resistance Containment Campaign

Eldin Talundzic1,2*, Sheila Akinyi Okoth2, Kanungnit Congpuong3,4, Mateusz M. Plucinski1, Lindsay Morton1, Ira F. Goldman1,
Patrick S. Kachur1, Chansuda Wongsrichanalai5, Wichai Satimai3, John W. Barnwell1, Venkatachalam Udhayakumar1

1 Malaria Branch, Division of Parasitic Diseases and Malaria, Center for Global Health, Centers for Disease Control and Prevention, Atlanta, Georgia, United States of America, 2 Atlanta Research and Education Foundation, Atlanta VA Medical Center, Atlanta, Georgia, United States of America, 3 Bureau of Vector Borne Diseases, Ministry of Public Health, Nonthaburi, Thailand, 4 Bansomdej-chaopraya Rajabhat University, Bangkok, Thailand, 5 Independent Scholar, Bangkok, Thailand * [email protected]

Abstract

The recent emergence of artemisinin resistance in the Greater Mekong Subregion poses a major threat to the global effort to control malaria. Tracking the spread and evolution of artemisinin-resistant parasites is critical in aiding efforts to contain the spread of resistance. A total of 417 patient samples from the year 2007, collected during malaria surveillance studies across ten provinces in Thailand, were genotyped for the candidate Plasmodium falciparum molecular marker of artemisinin resistance K13. Parasite genotypes were examined for K13 propeller mutations associated with artemisinin resistance, signatures of positive selection, and for evidence of whether artemisinin-resistant alleles arose independently across Thailand. A total of seven K13 mutant alleles were found (N458Y, R539T, E556D, P574L, R575K, C580Y, S621F). Notably, the R575K and S621F mutations have previously not been reported in Thailand. The most prevalent artemisinin resistance-associated K13 mutation, C580Y, carried two distinct haplotype profiles that were separated based on geography, along the Thai-Cambodia and Thai-Myanmar borders. It appears these two haplotypes may have independent evolutionary origins. In summary, parasites with K13 propeller mutations associated with artemisinin resistance were widely present along the Thai-Cambodia and Thai-Myanmar borders prior to the implementation of the artemisinin resistance containment project in the region.

Prevalence of porcine reproductive and respiratory syndrome virus detection in aborted fetuses, mummified fetuses and stillborn piglets using quantitative polymerase chain reaction

Em-on OLANRATMANEE1), Piya WONGYANIN2), Roongroje THANAWONGNUWECH3) and Padet TUMMARUK4)*

1) Faculty of Veterinary Medicine, Rajamangala University of Technology Tawan-ok, Chonburi 20110, Thailand

2) Department of Medical Technology, Faculty of Science and Technology, Bansomdejchaopraya Rajabhat University, Bangkok 10600, Thailand

3) Department of Pathology, Faculty of Veterinary Science, Chulalongkorn University, Bangkok 10330, Thailand

4) Department of Obstetrics, Gynaecology and Reproduction, Faculty of Veterinary Science, Chulalongkorn University, Bangkok 10330, Thailand

ABSTRACT

       The objective of the present study was to investigate the prevalence of porcine reproductive and respiratory syndrome (PRRS) virus detection in aborted fetuses (n=32), mummified fetuses (n=30) and stillborn piglets (n=27) from 10 swine herds in Thailand using quantitative polymerase chain reaction (qPCR). Pooled organs and umbilical cord from each fetus/piglet were homogenized and subjected to RNA extraction and cDNA synthesis. The qPCR was carried out on the ORF7 of the PRRS viral genome using fluorogenic probes for amplified product detection. The results revealed that 67.4% (60/89) of the specimens contained PRRS virus. The virus was found in 65.6% (21/32) of aborted fetuses, 63.3% (19/30) of mummified fetuses and 74.1% (20/27) of stillborn piglets (P=0.664). Genotype 1, genotype 2 and mixed genotypes of PRRS virus were detected in 19.1% (17/89), 25.8% (23/89) and 22.5% (20/89) of the specimens, respectively (P=0.316). PRRS virus antigen was retrieved from both non-PRRS-vaccinated herds (68.2%, 45/66) and PRRS-vaccinated herds (65.2%, 15/23) (P=0.794). These findings indicated that these specimens are important sources of the PRRS viral load and the viral shedding within the herd. Thus, intensive care on the routine management of dead fetuses and stillborn piglets in PRRS virus-positive herds should be emphasized.

KEY WORDS: mummy, PRRS, qPCR, reproduction, swine

J. Vet. Med. Sci. 77(9): 1071–1077, 2015

ความชุกและพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร

นันทวดี เนียมนุ้ย, มณฑิชา เจนพานิชทรัพย์.

บทคัดย่อ

       เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จัดเป็นสารเสพติดประเภทหนึ่งที่ไม่ผิดกฎหมายและไม่ถูกต่อต้านจากสังคม ทั้งที่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคมากมาย นักศึกษาในมหาวิทยาลัยเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีรายงานการดื่มแอลกอฮอล์และมีแนวโน้มสูงขึ้น วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาความชุก ปัจจัยแวดล้อม และระดับความรุนแรงในการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง โดยใช้แบบสอบถามในการรวบรวมเก็บข้อมูลในกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาจากทุกคณะและทุกชั้นปี จำนวน 450 คน พบความชุกของการบริโภคร้อยละ 62.9 โดยเพศชายพบความชุกร้อยละ 74.4 สูงกว่าเพศหญิงซึ่งพบความชุกร้อยละ 56.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value < 0.05) ปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พบว่ากลุ่มตัวอย่างเพศชายมีค่ามัธยฐานของปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เท่ากับ 42.8 กรัมต่อวัน เพศหญิงเท่ากับ 19.3 กรัมต่อวัน นักศึกษาชายที่มีปริมาณการดื่มจัดอยู่ในระดับที่เสี่ยงรุนแรงมากพบร้อยละ 36.0 ส่วนนักศึกษาหญิงพบร้อยละ 36.1 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการรับรู้ข้อมูลแหล่งจำหน่ายที่อยู่รอบสถานศึกษาและที่พักอาศัย และมีความเห็นว่าจะมีการบริโภคมากขึ้นในเทศกาลต่างๆ อาทิ ปีใหม่ สงกรานต์ การฉลองวันเกิด กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 67.1 ถูกเพื่อนให้บริโภคในครั้งแรก และมีเหตุผลหลักในการบริโภคคือเพื่อความสนุกสนานและการเข้าสังคม ผลจากการศึกษานี้จะเป็นข้อมูลสำคัญในการหาวิธีการรณรงค์ป้องกันเพื่อลดจำนวนการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงตามกลุ่มเป้าหมายต่อไป

Abstract

       Alcoholic drink has been categorized as an additive substance. In Thailand, consumption of alcohol is legal and generally socially accepted even though it has many adverse effect to consumers. The consumption in undergraduate student has been reported and tended to increase. The objectives of this study were to examine the prevalence of alcohol consumption, environmental factors and drinking behavior of students in a Rajabhat University, Bangkok. A cross-sectional survey was conducted and self-reported questionnaire was used to collect data. Four hundred and fifty samples were participated. The result indicated that the prevalence of drinking was 62.9%. The prevalence in male (74.4%) was more significant than in female (56.0%) (p value < 0.05). The median values of consumption were 42.8 and 19.3 grams per day in males and females, respectively. The proportion of male classified in a very high risk consumption level was 36.0 percent and the proportion of female was 36.1 percent. Most participants had known that there were many alcohol shops available around the university and their places. The common reasons of drinking were to have fun and to socialize with friends. 67.1 percent of consumers had first drinking experienced because of peer pressure. The number of consumption was increased during celebrating parties such as New Year and birthday. The results from this study would be very useful information to seek the appropriate anti-alcoholic program suited to undergraduate students.

นันทวดี เนียมนุ้ย, มณฑิชา เจนพานิชทรัพย์.ความชุกและพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์.2557; 14(1), 178-189.

การตรวจหาเอนไซม์บีตา – แลคทาเมสชนิดฤทธิ์ขยาย และแอมพ์ซี บีตา – แลคทาเมสในเชื้อกลุ่มเอนเทอโรแบคเทอริซีอี

พจมาน ผู้มีสัตย์, ปิยะรัตน์ จิตรภิรมย์, เกรียงศักดิ์ มีพันธ์

บทคัดย่อ

กลไกสำคัญที่เชื้อกลุ่มเอนเทอโรแบคเทอริซีอีดื้อต่อสารต้านจุลชีพ ได้แก่ การสร้างเอนไซม์บีตา – แลคทาเมส ชนิดฤทธิ์ขยายและแอมพ์ซี บีตา – แลคทาเมส การศึกษานี้มี วัตถุประสงค์เพื่อตรวจหาเชื้อกลุ่มเอนเทอโรแบคเทอริซีอีที่สร้างเอนไซม์บีตา-แลคทาเมสชนิดฤทธิ์ขยายและแอมพ์ซี บีตา-แลคทาเมส ในเชื้อที่แยกได้จากผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลวชิรพยาบาล กรุงเทพมหานคร วิธีการศึกษา: เชื้อที่ศึกษาแยกได้จากสิ่งส่งตรวจ จำนวน 400 ไอโซเลท นำมาตรวจหาการสร้างเอนไซม์บีตา-แลคทาเมสชนิดฤทธิ์ขยาย โดยวิธี double disc synergy test และตรวจหาเอนไซม์แอมพ์ซี บีตา-แลคทาเมส โดยวิธี AmpC disc test ผลการศึกษา: พบเชื้อที่สร้างเอนไซม์บีตา-แลคทาเมส ชนิดฤทธิ์ขยาย จำนวน 170 ไอโซเลท คิดเป็นร้อยละ 42.5 เชื้อที่สร้างเอนไซม์แอมพ์ซี บีตา-แลคทาเมส จำนวน 21 ไอโซเลท คิดเป็นร้อยละ 5.3  พบเชื้อที่สร้างทั้งเอนไซม์บีตา-แลคทาเมสชนิดฤทธิ์ขยายและ แอมพ์ซี บีตา-แลคทาเมส จำนวน 7 ไอโซเลท คิดเป็นร้อยละ 1.8

Detection of Extended-Spectrum beta-Lactamase and AmpC beta-Lactamase in Enterobacteriaceae

Abstract

The crucial antibiotic resistant mechanism of Enterobacteriaceae is the production of  Extended-spectrum beta-lactamase (ESBL) and AmpC beta-lactamase. The aimed of this study was to investigate ESBL and AmpC beta-lactamase production in Enterobacteriaceae isolated from patients in Vajira Hospital, Bangkok. Method:  A total of 400 clinical isolates of Enterobacteriaceae were examined for ESBL production by double disc synergy test and AmpC-producing strains were detected by AmpC disc test. Results: ESBL and AmpC – producing Enterobacteriaceae were 170 isolates (42.5%) and 21 isolates (5.3%), respectively. This study also found 7 isolates (1.8%) produced both ESBL and AmpC beta-lactamase.

**************************************************************************************************

พจมาน ผู้มีสัตย์, ปิยะรัตน์ จิตรภิรมย์ และ เกรียงศักดิ์ มีพันธ์. (2558). การตรวจหาเอนไซม์บีตาแลคทาเมสชนิดฤทธิ์ขยาย และแอมพ์ซี บีตาแลคทาเมสในเชื้อกลุ่มเอนเทอโรแบคเทอริซีอี. เวชสารแพทย์ทหารบก, 68(4), 165 – 171.

การจำแนกสายพันธุ์ของเชื้อ Vibrio parahaemolyticus โดยวิธีการศึกษา ทางฟีโนไทป์และจีโนไทป์

พรทิพย์ พึ่งม่วง  พจมาน ผู้มีสัตย์ สุทัศน์ บุญยงค์

วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 มกราคม – มิถุนายน 2557

บทคัดย่อ

       Vibrio parahaemolyticus เป็นสาเหตุสำคัญของโรคอาหารทะเลเป็นพิษ การจำแนกสายพันธุ์ ของเชื้อจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อประโยชน์ทางด้านการศึกษาระบาดวิทยา รวมถึงการควบคุมและป้องกันการ แพร่กระจายของเชื้อ การวิจัยครั้งนี้ศึกษาการจำแนกสายพันธุ์ของเชื้อโดยวิธีการศึกษาแบบแผนการดื้อยา (antibiotyping), arbitrarily-primed polymerase chain reaction (AP-PCR) และ enterobacterial repetitive intergenic consensus sequence-polymerase chain reaction (ERIC-PCR) พบว่าเชื้อที่แยก ได้จากผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 70 ไอโซเลท จำแนกโดยวิธี antibiotyping, AP-PCR และ ERIC-PCR ได้เป็น 1, 16 และ 24 สายพันธุ์ ตามลำดับ จากการประเมินความสามารถในการจำแนกสายพันธุ์ของเชื้อพบว่า antibiotyping มีความสามารถในการจำแนกต่ำที่สุด (discriminatory index เท่ากับ 0) ซึ่งไม่สามารถ จำแนกความแตกต่างระหว่างสายพันธุ์ของเชื้อได้ ขณะที่ ERIC-PCR เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูง เมื่อเปรียบเทียบกับ AP-PCR โดยมีค่า discriminatory index เท่ากับ 0.932 และ 0.901 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามวิธี AP-PCR มีข้อดีคือ PCR product ที่ได้มีจำนวนแถบน้อยกว่า ในทางปฏิบัติทำให้ง่ายต่อ การแปลผล และหากจำแนกสายพันธุ์ของเชื้อโดยการแปลผลร่วมกันระหว่าง AP-PCR และ ERIC-PCR พบว่าประสิทธิภาพการจำแนกสายพันธุ์ของเชื้อสูงขึ้น (discriminatory index เท่ากับ 0.986) โดยสามารถจำแนกเชื้อได้ทั้งสิ้น 48 สายพันธุ์ การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการจำแนกสายพันธุ์โดยใช้ เทคนิค PCR พื้นฐาน เช่น AP-PCR, ERIC-PCR และการใช้ AP-PCR ร่วมกับ ERIC-PCR เป็นวิธีที่ มีศักยภาพสูง เหมาะสำหรับนำมาใช้ประโยชน์ในงานทางด้านระบาดวิทยาได้ดี

Abstract

       Vibrio parahaemolyticus is most commonly associated with seafood-borne gastroenteritis. Several typing methods have been developed for epidemiologic investigations or controlling the spread of this pathogen. In this study, a total of 70 clinical isolates of V. parahaemolyticus were typed by antibiotyping and the PCR-based typing methods: an arbitrarily-primed polymerase chain reaction (AP-PCR) and the enterobacterial repetitive intergenic consensus sequence-polymerase chain reaction (ERIC-PCR). The seventy isolates were classified into 1, 16 and 24 types, with discriminatory indexes of 0.000, 0.901 and 0.932, by antibiotyping, AP-PCR and ERIC-PCR, respectively. The discriminatory power of antibiotyping was lowest and all clinical isolates tested were indistinguishable by this method. ERIC-PCR was preferable to AP-PCR because of the higher discriminatory power. However, AP-PCR might be a practical method because it generated fewer amplification bands and patterns than ERIC-PCR. The combination of AP-PCR and ERIC-PCR analysis allowed us to classify the isolates into 48 types with the highest discriminatory index of 0.986. These data demonstrate that AP-PCR and ERIC-PCR are useful for strain typing of V. parahaemolyticus and the combination of these two techniques is recommended for epidemiologic investigations.