โครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมของคนกรุงเทพมหานครต่อเทศกาลปีใหม่ 2560 


คน กทม ส่งมอบความสุขปีใหม่ผ่าน Facebook 25.3% และคิดว่าประเทศไทยได้รับประโยชน์จาก (AEC) ใน 1 ปีที่ผ่านมา 54.7 %

กรุงเทพฯ–29 ธ.ค.–บ้านสมเด็จโพลล์
ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมของคนกรุงเทพมหานครต่อเทศกาลปีใหม่ 2560 โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,232 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 23 – 27 ธันวาคม 2559 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane กำหนดว่าประชากรเกิน 100,000 คนต้องการความเชื่อมั่น 95% และความผิดพลาดไม่เกิน 3% ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,111 กลุ่มตัวอย่าง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่า ผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อพฤติกรรมของคนกรุงเทพมหานครต่อเทศกาลปีใหม่ 2560 มีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ จะไปฉลองเทศกาลปีใหม่ 2560 ร้อยละ 30.3 อันดับที่สองคือไม่ออกไปไหน / ฉลองปีใหม่อยู่ที่บ้าน ร้อยละ 27.8 อันดับที่สามคือ วัด / สวดมนต์ข้ามปี ร้อยละ 23.0 และอันดับที่สี่คือ เดินทางไปต่างจังหวัด/ต่างประเทศ ร้อยละ 18.9และจะส่งมอบความสุขปีใหม่ผ่านช่องทางการสื่อสารอันดับแรกคือส่งข้อความผ่าน Facebook ร้อยละ 25.3 อันดับที่สองคือไปพบด้วยตนเอง ร้อยละ 25.2 อันดับที่สามคือ ส่งข้อความผ่าน Line ร้อยละ 19.5

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ทราบว่า การเปิดประชาคมด้านเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) อย่างเป็นทางการจะครบ 1 ปีในวันที่ 31 ธันวาคม 2559 ร้อยละ 48.8 อันดับที่สองคือ ไม่ทราบ ร้อยละ 28.5 และ อันดับที่สามคือ ไม่แน่ใจ ร้อยละ 22.7และคิดว่าประเทศไทยมีความพร้อมในการเปิดประชาคมด้านเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ใน 1 ปีที่ผ่านมา ร้อยละ 42.5 อันดับที่สองคือ ไม่ใช่ ร้อยละ 31.0 และ อันดับที่สามคือ ไม่แน่ใจ ร้อยละ 26.5

ในส่วนประเทศไทยได้รับประโยชน์จากการเปิดประชาคมด้านเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ใน 1 ปีที่ผ่านมา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดว่าใช่ ร้อยละ 54.7 อันดับที่สองคือ ไม่ใช่ ร้อยละ 21.6 และ อันดับที่สามคือ ไม่แน่ใจ ร้อยละ 23.7

อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/prg/2577747


เก็บข้อมูลในวันที่ 23 – 27 ธันวาคม 2559  จำนวน 1,232 กลุ่มตัวอย่าง

โดยได้รับการเผยแพร่จากสื่อมวลชนดังต่อไปนี้

หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 30 ธันวาคม 2559