โครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เก็บข้อมูลในวันที่ 6 – 9 กุมภาพันธ์ 2560 จำนวน 1,305 กลุ่มตัวอย่าง


“บ้านสมเด็จโพลล์” เผย! ชาวกรุงไม่เข้าใจนโยบายไทยแลนด์ 4.0

       คน กทม เกินครึ่งไม่เข้าใจนโยบายไทยแลนด์ 4.0และคิดว่าในอนาคต แรงงานคน จะได้รับผลกระทบจากปัญญาประดิษฐ์แทนคน ร้อยละ 47.1

วันที่ 18 ก.พ.60 ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่ อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,305 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 6 – 9 กุมภาพันธ์ 2560 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane กำหนดว่าประชากรเกิน 100,000 คนต้องการความเชื่อมั่น 95% และความผิดพลาดไม่เกิน 3% ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,111 กลุ่มตัวอย่าง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่า ผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย บนวิสัยทัศน์ที่ ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ในการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ ไทยแลนด์ 4.0  ถือเป็นการพัฒนาเพื่อขับเคลื่อนประเทศที่มีอยู่ 2 ด้าน คือ ความหลากหลายเชิงชีวภาพ และ ความหลากหลายเชิงวัฒนธรรม เน้น ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา 5 กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมาย ประกอบด้วย

       1. กลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ (Food, Agriculture & Bio-Tech)

       2. กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Health, Wellness & Bio-Med)

       3. กลุ่มเครื่องมือ อุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และระบบเครื่องกลที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม (Smart Devices, Robotics & Mechatronics) 

       4. กลุ่มดิจิตอล เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่อและบังคับอุปกรณ์ต่างๆ ปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว (Digital, IOT, Artificial intelligence & Embedded Technology)

       5. กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง (Creative, Culture & High Value Services) ผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อนโยบายไทยแลนด์ 4.0 มีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

 

โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ไม่เข้าใจนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ร้อยละ 53.0 อันดับที่สองคือ เข้าใจ ร้อยละ 27.7 และ อันดับที่สามคือ ไม่แน่ใจ ร้อยละ 19.3 และไม่ทราบว่ามี 5 กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมายของนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ร้อยละ 47.2 อันดับที่สองคือ ทราบ ร้อยละ 31.1 และ อันดับที่สามคือ ไม่แน่ใจ ร้อยละ 21.7

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คิดว่าการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมของนโยบายไทยแลนด์ 4.0 จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยดีขึ้น อันดับที่ 1 คือ ใช่ ร้อยละ 37.5 อันดับที่สองคือ ไม่ใช่ ร้อยละ 31.8 และ อันดับที่สามคือ ไม่แน่ใจ ร้อยละ 30.7

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คิดว่ามีความเป็นไปได้กับการใช้เทคโนโลยีอัตโนมัติหรือปัญญาประดิษฐ์สามารถทำงานแทนการจ้างแรงงานคน ร้อยละ 44.9 อันดับที่สองคือ มีความเป็นไปไม่ได้ ร้อยละ 31.9และ อันดับที่สามคือ ไม่แน่ใจ ร้อยละ 23.2 และคิดว่าในอนาคต แรงงานคน จะได้รับผลกระทบกับบริษัทหรือโรงงานที่ใช้เทคโนโลยีอัตโนมัติหรือปัญญาประดิษฐ์แทนคน ร้อยละ 47.1 อันดับที่สองคือ ไม่ได้รับผลกระทบ ร้อยละ 38.4 และ อันดับที่สามคือ ไม่แน่ใจ ร้อยละ 14.5

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ต้องการเห็นการเห็นตำแหน่งงานที่ใช้เทคโนโลยีอัตโนมัติหรือปัญญาประดิษฐ์  อันดับที่ 1 คือ พนักงานขาย ร้อยละ 25.6 อันดับที่สองคือ พนักงานต้อนรับ ร้อยละ 25.4 อันดับที่สามคือ คนขับรถ ร้อยละ 18.4 อันดับที่สี่ คือ Call Center ร้อยละ 15.5 อันดับที่ห้า คือ ตำรวจจราจร ร้อยละ 8.4 และอันดับที่สุดท้าย คือ เจ้าหน้าที่บัญชี ร้อยละ 6.7

 

โดยได้รับการเผยแพร่จากสื่อมวลชนดังต่อไปนี้

สถานีโทรทัศน์VOICETV http://news.voicetv.co.th/business/462948.html

สถานีโทรทัศน์SPRINGNEWS http://www.springnews.co.th/th/2017/02/25482/

หนังสือพิมพ์แนวหน้า http://www.naewna.com/local/257049

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ http://www.thansettakij.com/content/131096

สำนักข่าวอิศรา https://www.isranews.org/isra-news/item/54122-springnews-54122.html

หนังสือพิมพ์ข่าวสด วันที่ 13 มีนาคม 2560