โครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับวันมาฆบูชาและวันวาเลนไทน์ เก็บข้อมูลในวันที่ 6 – 9 กุมภาพันธ์ 2560 จำนวน 1,305 กลุ่มตัวอย่าง


คนกทม.เกินครึ่งให้ความสำคัญกับวันมาฆบูชามากกว่าวันวาเลนไทน์ ไม่ทราบว่าวันมาฆบูชา ให้เป็น “วันกตัญญูแห่งชาติ”ร้อยละ 48.5 และคิดว่า สังคมไทยรับได้กับเรื่องของการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน ร้อยละ 51.7

10 ก.พ.60 ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ เผยผลสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับวันมาฆบูชาและวันวาเลนไทน์ โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่ อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,305 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 6 – 9 กุมภาพันธ์ 2560

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิงห์ ระบุว่า ในปี พ.ศ.2549 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้วันมาฆบูชาเป็นวันกตัญญูแห่งชาติ เพื่อส่งเสริมค่านิยมที่เหมาะสมแก่วัยรุ่นไทย เนื่องจากวันมาฆบูชา ตามปฏิทินจันทรคติในวันเพ็ญเดือนสามจะใกล้กับวันวาเลนไทน์ของทุกๆ ปี ซึ่งวัยรุ่นไทยบางกลุ่มมีค่านิยมวันแห่งความรักในวันวาเลนไทน์ในแบบผิด ๆ ส่ง ผลกระทบต่อค่านิยมทางจริยธรรมและศีลธรรมของวัยรุ่นไทย จากการสำรวจของศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ในปี 2554 ประชาชนในกรุงเทพมหานครไม่ทราบว่า วันมาฆบูชาเป็นวันกตัญญูแห่งชาติ สูงถึงร้อยละ 55.4 ในปี 2560 จะมีความเปลี่ยนแปลงในการรับรู้เรื่องวันมาฆบูชาเป็นวันกตัญญูแห่งชาติหรือไม่ และในส่วนของค่านิยมในแบบผิด ๆของวันวาเลนไทน์อย่างประเด็นเรื่องของการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงานก็เป็นประเด็นที่น่าสนใจกับความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งผลการสำรวจในครั้งนี้วันมาฆบูชาและวันวาเลนไทน์ มีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับวันมาฆบูชามากกว่ากัน ร้อยละ 55.1 รองลงมาคือให้ความสำคัญกับวันวาเลนไทน์มากกว่า ร้อยละ 25.7 และให้ความสำคัญกับทั้งวันมาฆบูชาและวันวาเลนไทน์เท่าๆกัน ร้อยละ 19.2

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดว่าจะไปเข้าวัดในวันมาฆบูชา ร้อยละ 46.2 รองลงมาคือไม่ไป ร้อยละ 31.6 และยังไม่ตัดสินใจ ร้อยละ 22.2

และไม่คิดว่าเรื่องของวัดธรรมกาย ทำให้คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับศาสนาพุทธน้อยลง ร้อยละ 50.7 รองลงมาคือใช่ ร้อยละ 34.8 และไม่แน่ใจ ร้อยละ 14.5

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 48.5 ไม่ทราบว่ารัฐบาลไทยได้ประกาศให้วันมาฆบูชา ให้เป็น “วันกตัญญูแห่งชาติ” รองลงมาคือทราบ ร้อยละ 37.9 และไม่แน่ใจ ร้อยละ 13.6

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่คิดว่าวันวาเลนไทน์เป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลในสังคมไทย ร้อยละ 45.1 รองลงมาคือ ใช่ ร้อยละ 31.5 และ ไม่แน่ใจ ร้อยละ 23.4

และคิดว่าสังคมไทยในปัจจุบันสามารถรับได้กับเรื่องของการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน ร้อยละ 51.7 รองลงมาคือ รับไม่ได้ ร้อยละ 36.9 และ ไม่แน่ใจ ร้อยละ 11.4

 

โดยได้รับการเผยแพร่จากสื่อมวลชนดังต่อไปนี้

สถานีโทรทัศน์VOICETV http://news.voicetv.co.th/thailand/460869.html

หนังสือพิมพ์แนวหน้า http://www.naewna.com/local/256071

หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์ http://www.manager.co.th/UpToDate/ViewNews.aspx?NewsID=9600000014641

หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 13 กุมภาพันธ์  2560