Category Archives: การผลิตบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ

“ ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพอากาศกับความหลากหลายของชนิดไล เคนในเขตชานเมือง กรณีศึกษาอำเภอ บางกรวย จังหวัดนนทบุรี”

       ชื่อเรื่อง “ ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพอากาศกับความหลากหลายของชนิดไล เคนในเขตชานเมือง กรณีศึกษาอำเภอ บางกรวย จังหวัด            นนทบุรี”

        โดย ดร.อรพิมพ์  มงคลเคหา และคณะ 

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

ความเป็นเลิศด้านการผลิตบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

จุดเด่นของบทความวิจัยนี้คือ :-

  • เป็นบทความวิจัยที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพอากาศกับความหลากหลาย

ของชนิดไลเคน ซึ่งจะทำให้ทราบข้อมูลคุณภาพอากาศที่ดีมีผลต่อไลเคนอย่างไร

  • เป็นบทความวิจัยที่มีประโยชน์ทำให้สามารถนำข้อมูลจากบทความวิจัยนี้ไปใช้วาง แผนการจักการมลพิษทางอากาศได้เป็นอย่างดี
  • บทความวิจัยนี้จะทำให้ทราบถึงขั้นตอนการทำวิจัย เช่น การเตรียมการในพื้นที่ศึกษา การเก็บตัวอย่างคุณภาพอากาศ การศึกษาไลเคนและการวิเคราะห์หาปริมาณแก๊สในห้องปฏิบัติการ
  • สามารถนำผลจากบทความวิจัยนี้ลงสู่ชุมชนในแต่ละท้องถิ่นเพื่อให้ทราบข้อมูลจะได้ดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ
  • บทความวิจัยนี้สามารถนำไปทำการวิจัยต่อได้ เช่น ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพอากาศกับชนิดของพืชต่างๆในท้องถิ่นของตน
View Fullscreen

 

 

“การศึกษาการใช้งานถุงมือปรับอุณหภูมิจากถั่วเขียวกับผู้ปฏิบัติงานสัมผัสความเย็นในโรงผลิตน้ำแข็ง”

       ชื่อเรื่อง “การศึกษาการใช้งานถุงมือปรับอุณหภูมิจากถั่วเขียวกับผู้ปฏิบัติงานสัมผัสความเย็นในโรงผลิตน้ำแข็ง”

        โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์เชิดศิริ  นิลผาย และคณะ                    

        สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

        ความเป็นเลิศด้านการผลิตบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ

        จุดเด่นของบทความวิจัยนี้คือ :-

  • เป็นบทความวิจัยเพื่อศึกษาระยะเวลาการอบถุงมือปรับอุณหภูมิจากถั่วเขียว เป็นการนำถั่วเขียวมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อีกทางหนึ่งเพราะประเทศไทยเราผลิตถั่วเขียวได้ปริมาณมาก นอกจากนี้ยังสามารถช่วยท้องถิ่นที่ปลูกถั่วเขียวได้เป็นอย่างดี
  • เป็นบทความวิจัยที่มีประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องสัมผัสกับความเย็น เช่น โรงงานผลิตน้ำแข็ง จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติงานอย่างยิ่ง
  • บทความวิจัยนี้จะทำให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนการใช้งานถุงมือปรับอุณหภูมิให้สำหรับผู้ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • สามารถนำผลจากบทความวิจัยนี้ลงสู่ชุมชนในแต่ละท้องถิ่นเพื่อให้ทราบข้อมูลถึงถั่วเขียวสามารถนำมาทำประโยชน์ได้หลายอย่าง จะได้วางแผนการปลูกพืชได้เป็นอย่างดี
  • บทความวิจัยนี้สามารถนำไปทำการวิจัยต่อได้เช่นการพัฒนาทำถุงมือโดยใช้ผ้าต่างชนิดที่ทำความสะอาดง่ายและประยุกต์ใช้ธัญพืชชนิดอื่นๆที่มีต้นทุนต่ำและกักเก็บความร้อนได้ยาวนาน
View Fullscreen

การศึกษาปัญหาคุณภาพอากาศภายในอาคารที่มีผลต่อโรคการเจ็บป่วยจากอาคารของผู้ปฏิบัติงานถ่ายเอกสาร

        ชื่อเรื่อง “การศึกษาปัญหาคุณภาพอากาศภายในอาคารที่มีผลต่อโรคการเจ็บป่วยจากอาการของผู้ปฏิบัติงานถ่ายเอกสาร”

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์เชิดศิริ  นิลผาย และคณะ

สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ความเป็นเลิศด้านการผลิตบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ

    จุดเด่นของบทความวิจัยนี้คือ :-

  • เป็นบทความวิจัยที่มีประโยชน์ต่อประเทศชาติสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนปรับปรุงคุณภาพอากาศในอาคารของผู้ปฎิบัติงานที่มีการถ่ายเอกสาร
  • เป็นบทความวิจัยที่มีประโยชน์เพื่อศึกษาปัญหาคุณภาพอากาศภายในอาคารที่มีผลต่อโรคการเจ็บป่วยของผู้ปฏิบัติงานถ่ายเอกสาร
  • บทความวิจัยนี้จะทำให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในอาคารและปรับปรุงสภาพแวดล้อม ในการทำงานให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน
  • สามารถนำผลจากบทความวิจัยนี้ลงสู่ชุมชนในแต่ละท้องถิ่นเพื่อให้ทราบข้อมูลอันตรายจากการใช้เครื่องถ่ายเอกสารซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ใช้และจะได้ปฏิบัติงานอย่างระมัดระวัง
  • บทความวิจัยนี้สามารถนำไปทำการวิจัยต่อ เช่น หาสารอันตรายที่เกิด ขื้นจากการใช้เครื่องถ่ายเอกสาร เพื่อหาวิธีการป้องกันได้อย่างถูกต้อง
View Fullscreen

บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ต่อการจัดการมูลฝอยครัวเรือน

View Fullscreen

ปัจจัยทำนายความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจของผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจล้มเหลว ที่ใส่ท่อและเครื่องช่วยหายใจ

ปัจจัยทำนายความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วย
หายใจของผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจล้มเหลว
ที่ใส่ท่อและเครื่องช่วยหายใจ
—————————————————————-
ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, พย.ด.1
ฐิติพร ปฐมจารุวัฒน์,พย.ม.2
เดช เกตุฉ่ำ, ค.ด.3

             ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
บางกอกน้อย
 กรุงเทพฯ 10700, e-mail: [email protected]

             1 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

             2 หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

             3 สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล

             การวิจัยเรื่องนี้  เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย   วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อเพื่อศึกษาความสามารถในการทำนายของปัจจัยด้าน เพศ    อายุ  การรับรู้สมรรถนะตนเองในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ   การรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วย และความวิตกกังวลก่อนที่จะหย่าเครื่องช่วยหายใจต่อความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจโดยการหายใจเองใน 120 นาทีแรก ของผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจล้มเหลวที่ใส่ท่อและเครื่องช่วยหายใจ  โดยศึกษากับตัวอย่างทั้งหมดรวม 147 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่หย่าเครื่องช่วยหายใจสำเร็จ  และกลุ่มที่หย่าเครื่องช่วยหายใจไม่สำเร็จ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก

            ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 53.1 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 66.63 ปี ปัจจัยที่สามารถทำนายความสำเร็จในการหย่าเครื่องหายใจโดยการทดสอบการหายใจเอง ใน 120 นาทีแรก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < .05 ได้แก่ การรับรู้  สมรรถนะตนเองในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ  โดยจะช่วยเพิ่มโอกาสในการหย่าเครื่องช่วยหายใจสำเร็จคิดเป็น 1.08 เท่า และความวิตกกังวลจะลดโอกาสในการหย่าเครื่องหายใจได้คิดเป็น 0.98 เท่า  โดยปัจจัยทั้งหมดสามารถทำนายความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจได้ร้อยละ 66

            ศึกษารายละเอียดและข้อเสนอแนะสำหรับพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจล้มเหลวที่ใส่ท่อและเครื่องช่วยหายใจ ให้ผู้ป่วยสามารถหย่าเครื่องช่วยหายใจได้สำเร็จ  ในวารสาร Journal  of Nursing  Science

 

              Wattanakitkrileart, D.,Pathomjaruvat,T., and Kedcham, D.
              (2013). Factors Predicting Weaning Success in
              Patients with Respiratory Failure Receiving Invasive
              Mechanical Ventilator.  Journal  of Nursing  Science.
              31 (3)  57 66.

             วารสารวิชาการ      Journal  of Nursing  Science
              Link ที่เข้าถึงได้     https://www.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/26039

ประสิทธิผลของการสื่อสารเพื่อการปรับเปลี่ยนทัศนคติและความตั้งใจเกี่ยวกับการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน

ประสิทธิผลของการสื่อสารเพื่อการปรับเปลี่ยนทัศนคติและความตั้งใจเกี่ยวกับการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน

Effectiveness of Communication for Attitude Modificationsand Intention about Having Sex in School Age

จันทร์วิภา ดิลกสัมพันธ์, พรธิภา ไกรเทพ, ณภัทร เตียววิไล,
จิราพร ทรงพระ, วิทวัส กมุทศรี, ฌาน ปัทมะ พลยง


 

3จิราพร2

ผักหวานป่า…น่าปลูกเป็นอาชีพ

ผศ.วิชัย ปทุมชาติพัฒน์


ความนำ ผักหวาน หรือผักหวานป่ามีรสชาติหวานมันอร่อย ไม่มีผักใดมาแทนที่ได้  ปรุงเป็นอาหารชนิดใดก็อร่อย แต่เดิมนั้นผักหวานเป็นผักพื้นบ้านที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเฉพาะในพื้นที่ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางบางส่วน ปัจจุบันได้รับความนิยมทั่วประเทศ เป็นเมนูอาหารในภัตตาคารใหญ่ รวมทั้งส่งออกไปหลายประเทศ แม้ราคาในประเทศจะสูงถึงกิโลกรัมละ 300-400 บาทแต่ก็เป็นที่นิยมบริโภคกันมาก การที่หารับประทานได้ค่อนข้างยากเพราะผักชนิดนี้เป็นผักในป่าจะให้ผลผลิตในปลายฤดูหนาวถึงกลางฤดูร้อนประมาณเดือนธันวาคมถึงเดือนเมษายนเท่านั้น และส่วนใหญ่จะถูกชาวบ้านที่อาศัยในหมู่บ้านตามชายป่าเก็บยอดอ่อนดอกอ่อนมาบริโภคและขายตามฤดูกาล การเก็บยอดอ่อนรวมทั้งดอกอ่อน ทำให้ประชากรของต้นผักหวานไม่มีโอกาสเพิ่มขึ้น เพราะไม่มีดอกใหญ่ให้บานก็จะไม่มีผลไม่มีเมล็ดเพื่อขยายพันธุ์ตามธรรมชาติ อีกทั้งมีพ่อค้าต้นไม้ขุดต้นตอเล็กออกเร่ขาย และขุดล้อมต้นใหญ่ออกไปขายในเมืองในราคาต้นละหลายพันบาท โอกาสจะหมดไปจากป่าก็ยิ่งมีมากขึ้น แม้ในปัจจุบันเกษตรกรหันมาปลูกผักหวานเพื่อการค้ากันมากขึ้น โดยแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญในประเทศไทยอยู่ที่จังหวัดสระบุรี และพื้นที่ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายจังหวัด แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด เพราะผักหวานเป็นพืชที่เจริญเติบโตช้ามาก การบำรุงรักษาก็ยุ่งยากกว่าการปลูกพืชอื่น การปลูกแบบพืชทั่วไปมีโอกาสตายมาก บทความนี้จะให้ความรู้เรื่องผักหวานและการปลูกพร้อมภาพประกอบซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการปลูกเป็นอาชีพที่ถูกวิธีมากขึ้น เพื่อการกระจายรายได้ และเป็นการอนุรักษ์ให้ผักหวานอยู่ในป่าเพื่อเป็นอาหารอันโอชะของชุมชนใกล้ป่าและสัตว์ป่าในระยะยาวต่อไป

 

ผักหวานป่า

ชื่อวิทยาศาสตร์  Melientha suavis Pierre

ชื่อวงศ์  OPILIACEAE 

ชื่ออื่น ผักหวาน 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้นขนาดเล็ก ผลัดใบ สูง 4-11 เมตร เปลือกต้นหนา สีเทาอมสีน้ำตาลอ่อน เรียบ  กิ่งอ่อนเป็นสีเขียวเข้ม เนื้อไม้มีความแข็ง สะสมอาหารที่รากและลำต้นสำหรับให้ชีวิตรอดในฤดูแล้ง ใบเดี่ยว หนา เนื้อใบกรอบ ขอบใบเรียบ ลักษณะของใบอ่อนเป็นรูปไข่หรือรูปรียาว สีเขียวอ่อน เมื่อใบแก่จะกว้างขึ้น รูปร่างไม่แน่นอน ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบสอบเรียว สีเขียวเข้ม กว้างประมาณ 3-5 ซม. ยาว 4-8 ซม. ดอกออกเป็นช่อยาว 15-20 ซม. ช่อดอกออกจากกิ่งหรือลำต้นหรือตามซอกใบ ดอกเป็นแบบแยกเพศแต่อยู่บนก้านดอกเดียวกัน โดยดอกเพศผู้จะมีกลีบสีเขียวอ่อน เกสรสีเหลือง ส่วนดอกเพศเมียจะมีกลีบดอกเป็นสีเขียวเข้ม และก้านดอกจะสั้นกว่าดอกเพศผู้  ผลเดี่ยวติดเป็นพวงบนช่อเดิม ผลรูปไข่ มีขนาดกว้าง 1.5-1.7 ซม. ยาว 2.3-3 ซม. ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่สีเหลืองส้ม มีเมล็ดเดียว

การขยายพันธุ์ เพาะกล้าจากเมล็ด งอกภายใน 1 เดือน ต้นกล้ามีรากสะสมอาหาร

ประโยชน์ 1. ยอดอ่อน ดอกอ่อน และผลอ่อน รับประทานเป็นผัก โดยอาจนำมาลวกให้สุกแล้วใช้เป็นผักจิ้มกับน้ำพริก ลาบ ใช้เป็นเครื่องเคียง หรืออาจนำไปผัดไฟแดง

2. ใช้ประกอบอาหารชนิดต่าง ๆ เช่น แกงเลียง แกงส้ม แกงอ่อม แกงปลา แกงกะทิสด แกงกับไข่มดแดงหรือปลาแห้ง แกงคั่ว แกงจืด

3. ผลสุกของผักหวานนำมารับประทานเป็นผลไม้ได้ นำเมล็ดไปต้มรับประทานได้เช่นเดียวกับเมล็ดขนุน โดยจะมีรสหวานมัน

4. ผลสุกยังเป็นอาหารของนกและสัตว์ต่าง ๆ

5. ผักหวานเป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรตีน พลังงาน และวิตามินซี อีกทั้งยังมีปริมาณของเส้นใบอาหารอยู่พอสมควร จึงช่วยในการขับถ่ายได้ดี

6. ผักหวานเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ เช่น เบตาแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินซี และสารประกอบฟีนอลิก การรับประทานผักหวานป่าจึงไม่เพียงแต่จะได้คุณค่าทางโภชนาการเท่านั้น หากแต่ยังได้รับสารอาหารที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย จึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้เป็นอย่างดี

หมายเหตุ 1. ผักหวานเป็นพืชที่อยู่ในวงศ์OPILIACEAE ซึ่งจัดว่าเป็นวงศ์พิเศษที่ยังไม่มีพืชชนิดใดอยู่ในวงศ์นี้เลย เป็นพืชทนแล้ง แต่ไม่ทนแดด

2. ผักหวานสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ยอดเหลืองและพันธุ์ยอดเขียว โดยพันธุ์ยอดเขียวจะเจริญเติบโตได้ดีกว่าและเร็วกว่าพันธุ์ยอดเหลือง แต่ลักษณะของทั้งสองสายพันธุ์ก็จะไม่มีความแตกต่างกันมากนัก ไม่ว่าจะเป็นทรงพุ่ม กิ่ง และแขนงใบ หากไม่สังเกตให้ดี ก็จะไม่เห็นความแตกต่าง 3. ผักหวานป่ากับผักหวานบ้านนั้นไม่ใช่พืชชนิดชนิดเดียวกัน ไม่ได้มีความสัมพันธ์หรือเป็นพืชในตระกูลเดียวกันแต่อย่างใด เพียงแต่มีชื่อเรียกที่พ้องกันเท่านั้น จึงมีการเรียกชื่อผักหวานว่าผักหวานป่า เพื่อให้เกิดความแตกต่าง จากชื่อผักหวานบ้าน

4. ต้นผักหวานป่า มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย จึงพบต้นผักหวานป่าได้ตามป่าเบญจพรรณในที่ราบหรือเชิงเขาที่มีความสูงไม่เกิน 600 เมตรจากระดับน้ำทะเล และโดยปกติจะชอบขึ้นอยู่บนดินร่วนปนทราย

5. ผักหวานป่าเป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูงได้กว่า 10 เมดร แต่ที่พบโดยทั่วจะมีขนาดเล็ก คล้ายไม้พุ่ม เนื่องจากมีการหักกิ่งเพื่อเด็ดยอดไปบริโภค จึงเป็นการกระตุ้นให้เกิดกิ่งและยอดอ่อนออกด้านข้าง ไม่มีโอกาสสูงตามธรรมชาติ

6. มีพรรณไม้ที่มีลักษณะคล้ายกับผักหวานป่า เช่น ต้นเสน ต้นขี้หนอน หากรับประทานเข้าไปจะทำให้เกิดอาการผิดสำแดงได้ คือ มีอาการคลื่นเหียนอาเจียน คอแห้ง อ่อนเพลีย มึนงง และหมดสติ หากร่างกายอ่อนแอก็อาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้

การปลูกผักหวาน ผักหวานเป็นพืชที่เจริญเติบโตช้ามาก ผู้ปลูกต้องรอประมาณ 2-3 ปี จึงจะมียอดอ่อนให้เก็บได้ และต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการปลูกต่อไปนี้

1. ผักหวานชอบพื้นที่ที่มีแสงรำไร เป็นพื้นที่ที่มีแสงส่องไม่ตลอดทั้งวัน ชอบอยู่ใต้ร่มไม้อื่นที่ใหญ่กว่า ดังนั้นการปลูกผักหวาน ต้องเลียนแบบธรรมชาติจึงจะได้ผลดี โดยการปลูกแซมกับไม้ชนิดอื่นที่สามารถให้ร่มเงาได้ เช่น แค ทองหลาง กระถิน ซึ่งเป็นพืชวงศ์ถั่วที่ระบบรากสามารถให้ธาตุไนโตรเจนในดิน

2. ต้นพันธุ์ผักหวานที่เหมาะสมคือต้นกล้าที่ได้จากการเพาะเมล็ด ส่วนการตอนกิ่งจะออกรากได้ยาก ถึงแม้จะใช้ฮอร์โมนเร่งราก  การปลูกจากต้นกล้าจะทำให้ได้ต้นที่แตกกิ่งมากกว่าวิธีอื่น

3. การเพาะกล้า ทำได้โดยนำผลที่สุกจัดที่ร่วงจากต้นมาแกะเปลือกผลออกนำเมล็ดออกมา

วางเรียงลงแปลงเพาะที่เตรียมไว้ แล้วเกลี่ยดินให้คลุมเมล็ด หรือเพาะในภาชนะขนาดเล็ก ซึ่งวัสดุปลูกเป็นดินเก่าผสมแกลบดำ และขุยมะพร้าว เมื่องอกแล้วและมีใบ 3-4 ใบก็ย้ายลงปลูกในถุงเพาะขนาด 4×4 นิ้ว ดูแลรดน้ำใส่ปุ๋ยเม็ด เมื่อต้นกล้าสูง 20-30 ซม. ก็นำไปปลูก หรือนำไปจำหน่ายได้

4. วิธีปลูก  เลือกปลูกในที่ดอน น้ำท่วมไม่ถึง ขุดหลุมกว้างและยาว 1 ฟุต ลึก 1 ฟุต ผสมดินปลูกที่มีมูลสัตว์เป็นส่วนผสมครึ่งหนึ่งลงไปให้เต็มหลุม แล้วนำต้นกล้าออกจากภาชนะเดิมลงปลูก โดยปักไม้หลักพยุงไว้กันล้ม โรยปุ๋ยเม็ดเล็กน้อย แล้วรดน้ำตามทันที

5. การปลูกพืชพี่เลี้ยงเป็นร่มเงาให้แก่ต้นผักหวาน ต้นแคเหมาะสมที่สุด เป็นพืชโตเร็วจะช่วยพลางแสงให้ผักหวานขณะยังเล็กไปจนโต และแคยังให้ยอดให้ดอกเป็นอาหารได้ ควรเตรียมต้นกล้าแคสูง 2- 3 ฟุตไว้ล่วงหน้า เมื่อปลูกผักหวานเสร็จแล้วก็ปลูกต้นแคประกบทั้งด้านซ้ายและขวาทันที ให้ห่างจากต้นผักหวานราว 50 ซม.

6. เมื่อต้นผักหวานโตจนสามารถเก็บยอดขายได้ก็ต้องตัดแต่งกิ่งก้านของต้นแค ไม่ให้เบียดกับทรงพุ่มของผักหวานจนไม่ได้รับแสงแดด

อ้างอิง

1. http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=1559

2. https://medthai.com

3. http://puechkaset.com

4. https://th.wikipedia.org/wiki

 

จิกนา ไม้ต้นปลูกง่ายหลายประโยชน์

ผศ.วิชัย  ปทุมชาติพัฒน์

 

                    ความนำ จิกนา หรือ จิกน้ำ เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก ออกดอกเป็นช่อยาวห้อยลง ดอกสีแดงสด บานตอนกลางคืน เวลามีดอกจะทิ้งใบเหลือเพียงใบอ่อนเป็นสีแดง สวยงามน่าชมมาก และยังมีกลิ่นหอมอ่อนๆ จิกนาได้รับความนิยมนำมาปลูกประดับสวนในบ้าน ในรีสอร์ท ในสวนสาธารณะ และสถานที่ต่างๆ ผู้พบเห็นต่างก็ชื่นชมอยากปลูกบ้าง เพราะจิกนาโตเร็ว  บำรุงรักษาง่าย ไม่มีศัตรูรบกวน แต่มีปัญหาที่หาซื้อต้นพันธุ์ได้ยากและราคาสูง ในตลาดต้นไม้มีขายจำนวนน้อย ขนาดต้นสูง 2 เมตร ในราคาต้นละกว่า2,000 บาท จึงขอแนะนำให้เพาะกล้าเอง ซึ่งงอกง่ายมาก

 

จิกนา

 

ชื่อวิทยาศาสตร์  Barringtonia acutangula (L.) Gaertn.

ชื่อวงศ์              LECYTHIDACEAE

ชื่ออื่น               จิกน้ำ จิกอินเดีย กระโดนทุ่ง กระโดนน้ำ กระโดนสร้อย

ชื่อสามัญ                      Indian Oak , Freshwater Mangrove

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

                    ไม้ต้นผลัดใบ สูง 5-10 เมตร เปลือกลำต้นสีน้ำตาลถึงดำ ลำต้นเป็นปุ่มปม ปลายกิ่งลู่ลง ทรงพุ่มแน่นทึบ ใบเดี่ยว ใบอ่อนเป็นสีน้ำตาลถึงแดงเข้ม ออกเวียนสลับถี่บริเวณปลายยอด ใบรูปหอก หรือรูปไข่กลับ ปลายและโคนใบแหลม ขอบใบเป็นจักถี่แบบฟันเลื่อย กว้าง 6-8 ซม. ยาว 10-15 ซม. ดอกออกเป็นช่อยาวที่ปลายยอด ห้อยลงเป็นระย้า ยาว 30-40 ซม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบซึ่งติดทนอยู่จนเป็นผล กลีบดอกสั้น ปลายแยกเป็น 4 กลีบ หลุดร่วงง่าย เป็นสีแดง หรือ ชมพูเข้ม เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 ซม. เกสรเพศผู้เป็นเส้นเล็กสีแดง จำนวนมาก ดอกบานพร้อมกันตอนกลางคืน โดยจะผลัดใบก่อนมีดอก จะทิ้งใบหมดหรือเกือบหมดทั้งต้น และแตกยอดอ่อนเป็นสีแดงจัดขึ้นมาทดแทน ผลเป็นรูปขอบขนาน สีเขียว ขนาดนิ้วก้อย กว้าง 1.5- 2.0 ซม. ยาว 3-5 ซม. มีสันเป็นเหลี่ยม 4 สัน ตามความยาวของผล เมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลมี 1 เมล็ดต่อผล

ฤดูออกดอก      ออกดอกช่วงฤดูหนาวถึงฤดูร้อน บางแห่งก็สามารถออกดอกได้ตลอดปี

การขยายพันธุ์   เพาะกล้าจากเมล็ด โดยนำผลแก่ที่ร่วงอยู่ใต้ต้นมาผึ่งลมให้แห้งสัก 5 วัน แล้วนำไปเพาะในภาชนะรวม รดน้ำทุกวัน เพียง 3-4 สัปดาห์ก็จะงอก เมื่อต้นกล้าสูง 12-15 ซม.จึงย้ายไปปลูกเป็นต้นเดียวในภาชนะที่ใหญ่ขึ้น เมื่อต้นกล้าสูง 50 ซม. จึงนำไปปลูกในสถานที่ที่ต้องการ

ประโยชน์

  1. ยอดอ่อน และ ดอกอ่อน ใช้รับประทานเป็นผักสดและผักจิ้มกับ น้ำพริก ลาบน้ำตก แจ่ว ขนมจีน  และอาหารรสเผ็ดอื่นๆ มีรสชาติมันปนฝาด [2]
  2. เปลือกและต้นมีสรรพคุณใช้เบื่อปลา
  3. เนื้อไม้ใช้ทำไม้อัดทำเครื่องมือเกษตรและทำเครื่องเรือนได้
  4. เป็นสมุนไพรแก้ระดูขาวใบแก่ใช้ต้มน้ำดื่มแก้ท้องร่วง เมล็ดใช้ทำเป็นยาลมแก้อาการจุกเสียดและแก้ไอในเด็ก
  5. เนื่องจากจิกนาเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก จึงนิยมปลูกเป็นไม้ประดับที่ริมน้ำริมตลิ่ง หรือบริเวณอาคารบ้านเรือน รีสอร์ท สวนสาธารณะ และสถานที่ต่างๆ เพื่อให้ร่มเงา และดูช่อดอกที่สวยงามแปลกตา จิกนามีความแข็งแรง ทนน้ำท่วมขังได้เป็นอย่างดี

 

อ้างอิง

https://th.wikipedia.org/wiki

https://medthai.com

http://www.tungsong.com

 

มะกอกฝรั่ง…ปลูกง่ายขายได้ทั้งปี

มะกอกฝรั่ง…ปลูกง่ายขายได้ทั้งปี

ผศ.วิชัย ปทุมชาติพัฒน์


 

                    ความนำ มะกอกฝรั่ง เป็นมะกอกอีกชนิดหนึ่ง เป็นชนิดที่ผลโตที่สุดในบรรดามะกอกด้วยกัน นิยมกินเป็นผลไม้สด คือปอกเปลือกแล้วล้างเมือกออกให้หมด สับออกเป็นชิ้นแล้วจิ้มพริกเกลือกินเป็นของว่าง ติดผลตลอดปี จึงเห็นมีขายในรถเข็นขายผลไม้ทั่วไปตลอดทุกฤดู ผู้บริโภคทั่วไปมักเรียกชื่อผิดว่ามะกอกน้ำ ซึ่งเป็นมะกอกผลเล็กขนาดปลายนิ้วมือ จึงเขียนบทความนี้ขึ้นมา เพื่อให้เกิดความกระจ่างด้วยภาพประกอบที่เห็นรายละเอียดอย่างชัดเจน  

มะกอกฝรั่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์  Spondias dulcis Parkinson

วงศ์มะม่วง ANACARDIACEAE

ชื่อสามัญ  Jew’s plum, Otatheite apple, Golden apple, Jew plum

ชื่ออื่น ๆ มะกอกหวาน  มะกอกดง  มะกอกเทศ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้นเขตร้อน  สูง 7-12 เมตร เปลือกต้นเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลแดง ผิวเรียบ ทรงพุ่มแผ่ออกกระจายแบบไม่มีรูปร่างแน่นอน ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ใบย่อยออกตรงข้าม 6 – 8 คู่ ก้านใบยาว ใบหนา เรียบลื่น สีเขียว ใบย่อยเป็นรูปไข่ค่อนข้างเรียวแหลม ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย ดอกออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงตามปลายยอด  เป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศคล้ายช่อดอกมะม่วง ดอกย่อยขนาดเล็กมาก สีขาวอมเขียว กลีบดอก 5 กลีบ ฐานรองดอกเป็นสีเหลือง ผลสดเป็นรูปไข่หรือรูปกระสวย ออกเป็นพวง มียางเป็นจุดๆบนผิว ผลอ่อนเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนผลแก่เป็นสีเขียวอมเหลือง สุกแล้วเป็นสีส้ม ขนาดกว้าง 4 – 5.5 ซม. ยาว 5.5 – 7.5 ซม.  มีเมือกหุ้มผลที่ปอกเปลือกแล้ว เนื้อในเป็นสีขาวอมเขียว  มีเส้นใยหยาบๆคล้ายหนามแทรกอยู่  รสเปรี้ยวอมหวานมันและกรอบอร่อย ภายในผลมีกะลาที่มีเส้นใยหยาบๆคล้ายหนามโดยรอบหุ้มอยู่ ภายในกะลามีเมล็ดระหว่าง 3-5 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปทรงกลมรี

ถิ่นกำเนิด ในทวีปเอเชีย

การขยายพันธุ์ เพาะกล้าจากเมล็ด และการตอนกิ่ง

ประโชน์ของมะกอกฝรั่ง

1. ผลใช้รับประทานเป็นผลไม้ ใช้ปรุงอาหาร หรือคั้นน้ำจากผลมาทำเครื่องดื่มสมุนไพร ผลมีรสเปรี้ยวปนหวานมันและกรอบอร่อยมาก นิยมนำมาจิ้มกับพริกเกลือ โดยหาซื้อได้ง่ายในรถเข็นขายผลไม้ริมถนน หรือสับราดน้ำจิ้มรสเผ็ด อีกทั้งยังสามารถนำไปแปรรูปทำน้ำผลได้ เพราะมีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยอุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินซี แคลเซียม ฟอสฟอรัส ฯลฯ

2. เนื้อผลมีรสเปรี้ยวฝาด หวานชุ่มคอ เป็นยาช่วยบำบัดโรคธาตุพิการเพราะน้ำดีไม่ปกติ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด เป็นยาแก้ร้อนในอย่างแรง น้ำคั้นจากใบใช้เป็นยาหยอดหู แก้อาการปวดหูได้ดี

3. หลายชาตินำใบอ่อนมารับประทาน ประเทศฟิจิใช้ใบอ่อนมาทำแยม ในซามัวและตองกาใช้ทำอาหารพื้นเมือง ส่วนในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย นำมาจิ้มกับกะปิ สับยำใส่เครื่องปรุงพื้นเมือง หรือใช้เป็นส่วนผสมในอาหารที่มีลักษณะคล้ายกับยำผลไม้หรือส้มตำผลไม้

หมายเหตุ  1. มะกอกฝรั่ง อยู่ในวงศ์เดียวกันกับมะม่วง คือวงศ์ ANACARDIACEAE

2. มะกอกฝรั่งมี 2 ชนิด คือ มะกอกฝรั่ง และมะกอกฝรั่งแคระ  ในบทความนี้เราจะมะกอกฝรั่งเท่านั้น ส่วนมะกอกแคระ ก็มีลักษณะโดยรวมเหมือนมะกอกฝรั่ง เพียงแต่มีลำต้นแคระ  สูงได้เพียง1.00 – 1.50 เมตร ผลดก ขนาดของผลเล็กกว่ามะกอกฝรั่งเล็กน้อย นิยมปลูกไว้ในสวนในบริเวณบ้านไว้บริโภค

3. เมล็ดมะกอกฝรั่งจะมีกะลาที่มีเส้นใยหยาบๆคล้ายหนามโดยรอบหุ้มอยู่ ภายในมีเมล็ดระหว่าง 3-5 เมล็ด เมื่อนำไปเพาะกล้าจึงได้ต้นกล้ามากกว่า 1 ต้น ซึ่งอาจงอกไม่พร้อมกัน

4. ผลมะกอกฝรั่งที่สุกแล้ว เนื้อจะเหลว เมื่อนำมาบีบเนื้อออกให้หมด ล้างน้ำหลายครั้งให้สะอาด ผึ่งลมไว้ 1-2 วันแล้วจึงนำไปเพาะกล้า จะงอกได้ง่ายและได้ต้นกล้าที่สมบูรณ์

5. มะกอกฝรั่งเป็นพืชที่ปลูกง่ายโตเร็ว ชอบที่ริมน้ำ ออกดอกติดผลตลอดทั้งปี ปลูกเป็นอาชีพได้ หากมีโรคใบหงิกที่ยอดอ่อน ให้หักยอดส่วนนั้นออกไปเผาทำลาย หากระบาด ต้องตัดแต่งออกมาก รอให้แตกยอดใหม่

อ้างอิง 1. https://medthai.com

2. https://www.thai-thaifood.com

 

เทคนิคการสำรวจพรรณพืช (สื่อ Powerpoint) ใช้ประกอบการบรรยายให้นักเรียนโรงเรียนด่านช้างวิทยา อ.ด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี

วิชัย ปทุมชาติพัฒน์

 

**เนื่องจากไฟล์สื่อมีขนาดใหญ่อาจใช้เวลาโหลดนานกว่าปกติ**

 

View Fullscreen