Category Archives: การผลิตบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ชะมวง เป็นทั้งผักและสมุนไพรหลายสรรพคุณ

ชะมวง  เป็นทั้งผักและสมุนไพรหลายสรรพคุณ

ผศ.วิชัย ปทุมชาติพัฒน์

ความนำ คนทั่วไปส่วนใหญ่รู้จัก“ชะมวง”เฉพาะชื่อเท่านั้น แต่ไม่เคยเห็นต้นชะมวง เพราะใบชะมวงเป็นส่วนผสมของอาหารที่มีชื่อเสียงโด่งดังชื่อ“แกงหมูชะมวง”ของจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดใกล้เคียงนั่นเอง อาหารชนิดนี้ได้รับความนิยมด้วยรสชาติที่กลมกล่อม มีทั้งรสเปรี้ยวรสหวานมันเค็มในชามเดียวกัน ทำให้แพร่หลายไปทั่วประเทศ “ชะมวง”ก็ได้รับการกล่าวขานถึงมากขึ้นด้วย เนื่องจากชะมวงเป็นพันธุ์ไม้ที่ชอบอากาศร้อนชื้น มีปริมาณน้ำฝนตลอดปีสูง จึงเจริญเติบโตได้ดีในจังหวัดทางภาคตะวันออกและจังหวัดทางภาคใต้ เช่นเดียวกันกับมังคุดซึ่งเป็นพืชในวงศ์เดียวกัน โอกาสที่ประชาชนทั่วไปจะเห็นต้นชะมวงจึงมีน้อย และด้วยลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของชะมวงเป็นพืชที่มีดอกแยกเพศผู้และเพศเมียอยู่คนละต้น ทำให้โอกาสที่จะติดผลเพื่อแพร่พันธุ์ยากขึ้น    เกษตรกรผู้ปลูกจึงต้องปลูกชะมวงจำนวนหลายต้นเพื่อให้มีโอกาสได้ต้นที่มีเพศเมียและต้นที่มีเพศผู้ในพื้นที่เดียวกัน เพื่อให้ติดผลสำหรับขยายพันธุ์ บทความนี้จะแนะนำให้รู้จักต้นชะมวงและส่วนประกอบต่างๆของต้นชะมวง พร้อมภาพประกอบที่ไปถ่ายมาจากแหล่งปลูกที่จังหวัดจันทบุรี นอกจากนี้ยังบอกประโยชน์และสรรพคุณทางสมุนไพรโดยสรุปให้เข้าใจได้ง่าย

ชะมวง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Garcinia cowa Roxb. ex Choisy
ชื่อวงศ์ GUTTTIFERACEAE หรือ CLUSIACEAE
ชื่อสามัญ Cowa
ชื่ออื่น หมากโมง (อุดรธานี), กะมวง (ใต้), ส้มมวง (นครศรีธรรมราช) ส้มโมง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

          ไม้ต้นไม่พลัดใบ ลำต้นสูง 15-20 เมตร เปลือกเรียบ สีน้ำตาลอมเทา เมื่ออายุมากเปลือกจะแตกเป็นสะเก็ด มียางสีเหลือง ต้นแตกกิ่งในระดับต่ำ ใต้เปลือกเป็นสีแดงหรือออกชมพูเข้มมีน้ำยางสีเหลือง ใบเดี่ยว แตกใบมากบริเวณปลายกิ่ง ใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน เป็นมุมฉาก ใบรูปรี ค่อนข้างหนา แต่กรอบ กว้าง 2.5-5 ซม. ยาว 8-13 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมน แผ่นใบเรียบ เป็นมัน ขอบใบเรียบ มองเห็นเส้นใบไม่ชัดเจน ก้านใบยาว 0.5-1 ซม. ใบอ่อนหรือยอดอ่อนมีสีม่วงแดง ใบแก่มีสีเขียวอ่อน และสีเขียวเข้มตามอายุใบ ใบมีรสเปรี้ยว ดอกเดี่ยว ขนาดเล็ก ออกเป็นกระจุกตามซอกใบ และกิ่ง ดอกมีสีเหลืองนวล ด้านในดอกมีสีชมพูหรือม่วงแดง กลีบดอกมี 4 กลีบ ค่อนข้างแข็ง ขนาดกลีบเท่ากับกลีบเลี้ยง ดอกบานมีกลิ่นหอม ดอกเพศผู้ และตัวเพศเมียแยกต้นกัน ดอกเพศผู้มักออกตามซอกใบและกิ่งกลุ่มละ 3-8 ดอก ส่วนดอกเพศเมียออกบริเวณปลายยอดกลุ่มละ 2-5 ดอก ติดดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ผลสด มีลักษณะกลม เบี้ยวเล็กน้อย ผิวผลเรียบเป็นมัน ด้านบนผลบุ๋มลง และมีกลีบเลี้ยง 4-8 แฉกติดอยู่ที่ขั้วผล ผลมีร่องเป็นพูตื้นๆจากขั้วผลลงไปที่ก้นผล 5-8 ร่อง ขนาดผล 2.5-5.0 ซม. ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่เมื่อสุกมีสีเหลือง เมื่อสุกจัดมีสีเหลืองออกส้ม เปลือกผลมียางสีเหลือง เนื้อหุ้มเมล็ดสีเหลือง ฉ่ำน้ำ เนื้อผลดิบมีรสฝาดอมเปรี้ยว เมื่อสุกออกเปรี้ยวมากกว่า เมล็ดแบนรี 4-6 เมล็ดต่อผล

แหล่งกระจายพันธุ์   ในป่าดิบชื้นตามที่ลุ่มต่ำทางภาคใต้ ภาคตะวันออก และทางภาคตะวันออกเฉียงใต้

การขยายพันธุ์ เพาะกล้าจากเมล็ด เก็บผลสุกที่ร่วงลงมาจากต้น นำมาแกะเปลือก แยกเอาเมล็ดมาตากแห้ง 5-7 วัน แล้วนั้นจึงนำไปเพาะในถุงเพาะชำ โดยใช้เนื้อดินผสมกับแกลบดำและขุยมะพร้าว ในอัตราส่วน 1:1:1

ประโยชน์

  1. ใบชะมวงอ่อน และยอดอ่อนมีรสเปรี้ยว ใช้นำมาปรุงอาหารประเภทต้มยำ แกงส้ม หมูชะมวง ต้มเนื้อเปื่อย แกงอ่อม และแกงที่ต้องการรสเปรี้ยว เมื่อถูกความร้อนใบจะกรอบนุ่ม
  2. ใบชะมวงอ่อน และยอดอ่อน ใช้รับประทานสดกับลาบ แหนมเนือง หรือเป็นผักจิ้มน้ำพริก
  3. ผลแก่มีรสเปรี้ยว ใช้รับประทานเป็นผลไม้
  4. เนื้อไม้นำมาแปรรูปเป็นไม้ก่อสร้าง สร้างบ้านเรือน และทำเป็นเฟอร์นิเจอร์
  5. เนื้อไม้ และกิ่ง ใช้เป็นฝืนหุงหาอาหาร
  6. ปลูกเป็นไม้ประดับเพื่อให้ร่มเงา
  7. เปลือกต้นและยางให้สีเหลืองที่เหมาะสำหรับการนำมาใช้สกัดทำสีย้อมผ้า
  8. น้ำยางสีเหลืองจากต้นชะมวง นำมาใช้ผสมในน้ำมันชักเงาได้

สรรพคุณของชะมวง

  1. ผลอ่อนช่วยฟอกโลหิต ช่วยแก้เสมหะ กัดเสมหะ กัดฟอกเสมหะ
  2. ผล ใบ ดอก ช่วยรักษาธาตุพิการ ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ ช่วยแก้อาการไอ
  3. ราก ใบ และผลอ่อนมีรสเปรี้ยว เป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้ตัวร้อน
  4. รากช่วยถอนพิษไข้ ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ
  5. ผลอ่อน ใบ ดอกใช้เป็นยาระบายท้อง
  6. ดอกช่วยในการย่อยอาหาร
  7. ใบช่วยขับโลหิตระดูของสตรี ช่วยแก้ดีพิการ
  8. แก่นใช้ฝนหรือแช่กับน้ำดื่ม ช่วยแก้อาการเหน็บชา
  9. สาร“ชะมวงโอน”(Chamuangone)มีฤทธิ์ในการต้านมะเร็งได้ดี ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคทางเดินอาหาร  ช่วยยับยั้งเชื้อโพรโทซัว

อ้างอิง

https://medthai.com
http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=219
http://puechkaset.com/%E0%
https://th.wikipedia.org/wiki
https://www.samunpri.com/%

 

 

ส้มแขก สมุนไพรภาคใต้ของไทยเรา

ส้มแขก  สมุนไพรภาคใต้ของไทยเรา

ผศ.วิชัย  ปทุมชาติพัฒน์

ความนำ ส้มแขก เป็นพืชในวงศ์เดียวกันกับมังคุด ชะมวง มะดัน เป็นต้น มีคุณสมบัติเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณหลายด้าน แต่ประชาชนทั่วไปรู้จักส้มแขกในสรรพคุณที่ช่วยลดความอ้วนเท่านั้น ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง มีผลงานวิจัยของนักวิชาการรองรับ จนได้รับการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ลดความอ้วนออกมาจำหน่ายอย่างแพร่หลาย นอกจากสรรพคุณในด้านลดความอ้วนแล้ว ส้มแขกยังมีประโยชน์ที่ควรรู้อีกมากมาย รวมทั้งมีเงื่อนไขในการบริโภคที่ควรระมัดระวัง ในส่วนของรูปร่างลักษณะของส้มแขกนั้นน้อยคนจะรู้จัก เนื่องจากส้มแขกเจริญเติบโตได้ดีในทางภาคใต้ของประเทศไทย  จึงจะสามารถพบส้มแขกทั้งที่เป็นผลสดและผลิตภัณฑ์แปรรูปวางขายในตลาดสดหรือตลาดนัดในจังหวัดทางใต้ และอาจพบในงานแสดงสินค้าภาคอื่นบ้างเป็นครั้งคราว เนื่องจากส้มแขกเป็นพืชที่ติดผลตามฤดูกาล จึงจะพบได้ในช่วงปลายฤดูร้อน ต่อต้นฤดูฝนเท่านั้น บทความนี้นอกจากจะให้ความรู้เรื่องประโยชน์และสรรพคุณของส้มแขกแล้ว ผู้เขียนยังได้ติดตามเสาะแสวงหาหาแหล่งของส้มแขกและได้ถ่ายภาพมาจากหลายแหล่งมาประกอบเนื้อหา เพื่อให้ผู้ติดตามอ่านได้เห็นลักษณะทางพฤกษศาสตร์ที่ชัดเจน เป็นประโยชน์ทางการศึกษาต่อไป

ส้มแขก

ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia atroviridis Griff. ex T.Anderson
วงศ์ CLUSIACEAE หรือ GUTTIFERAE
ชื่อสามัญ  Garcinia , Malabar tamarind, Gambooge, Brindle berry, Assam fruit
ชื่ออื่น ชะมวงช้าง ส้มควาย (ตรัง) อาแซกะลูโก (ยะลา) ส้มพะงุน (ปัตตานี) ส้มมะอ้น ส้มมะวน มะขามแขก (ภาคใต้) เป็นต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 5 -12 เมตร  ทรงพุ่มกว้าง แน่น ไม้เนื้อแข็ง เปลือกต้นเรียบ ต้นอ่อนสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาลอมดำ เมื่อลำต้นและกิ่งก้านเป็นแผลจะมียางสีเหลืองไหลออกมา ใบเดี่ยวออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ใบใหญ่ผิวเรียบเป็นมัน ใบอ่อนมีสีน้ำตาลอมแดง ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม กว้าง 6-8 ซม. ยาว 12-20 ซม. ดอกเดี่ยวดอกแยกเพศ ออกตามปลายยอด ดอกเพศผู้มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ด้านในสีแดง ด้านนอกมีสีเขียว มีเกสรเพศผู้เรียงอยู่บนฐานรองดอก ดอกเพศเมีย มีขนาดเล็กกว่าดอกเพศผู้ รังไข่มีรูปทรงกระบอก ผลสด ทรงกลมแป้น ผิวเรียบสีเขียว เมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเข้ม ขนาด 7-9 ซม.   เปลือกผลเป็นร่องตามแนวขั้วไปยังปลายผล ประมาณ 8-10 ร่อง ที่ขั้วผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ 2 ชั้น ชั้นละ 4 กลีบ มีเมล็ดแข็ง 2-3 เมล็ดต่อผล

การขยายพันธุ์

  1. เพาะกล้าจากเมล็ด จะเจริญเติบโตช้า และให้ผลผลิตช้า
  2. เสียบยอด ให้ผลผลิตเร็วขึ้น

ถิ่นกำเนิด ในอินเดียและศรีลังกา ซึ่งมีปลูกมากในทางภาคใต้ของประเทศไทย

ประโยชน์

  1. ผลส้มแขกมีรสเปรี้ยว นิยมนำมาปรุงอาหารที่ต้องการรสเปรี้ยว เช่น แกงส้ม แกงเลียง ต้มเนื้อ ต้มปลา หรือใช้เป็นส่วนผสมของการทำน้ำยาขนมจีน
  2. ใบอ่อนส้มแขกใช้รองก้นภาชนะนึ่งปลา จะช่วยดับคาวเนื้อปลา
  3. ผลดิบเมื่อโตเต็มที่นำมาตากแห้ง แล้วนำไปต้มเคี่ยวในน้ำเชื่อม รับประทานเป็นของหวาน
  4. ผลแห้งเป็นตัวช่วยให้สีย้อมติดวัสดุที่ย้อมได้แน่นทนทาน
  5. นำใบแก่ของส้มแขกมาผสมกับยางพาราที่กรีดได้ เพื่อทำปฏิกิริยาให้น้ำยางพาราแข็งตัวเร็วขึ้น โดยใช้ใบแก่จำนวน 2 กิโลกรัมหมักกับน้ำ 10 ลิตรทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ แล้วนำมาผสมกับยางพารา
  6. เนื้อไม้ของต้นส้มแขกที่อายุเกิน 30 ปีขึ้นไป นำมาใช้ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ หรือทำเป็นไม้แปรรูปใช้ในการก่อสร้างได้

สรรพคุณ

  1. เนื้อผลของส้มแขกทำเป็นเครื่องดื่มลดความอ้วน ในผลิตภัณฑ์หลายรูปแบบ เช่น แบบผง แบบเม็ด ชาส้มแขก ส้มแขกแคปซูล เมื่อรับประทานในระยะแรกอาจจะทำให้รู้สึกหิวบ่อยมากขึ้น เนื่องจากไปเร่งระบบการเผาผลาญอาหาร โดยร่างกายจะค่อย ๆ ปรับตัวไปเอง ซึ่งอาจจะใช้ระยะเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ ช่วงนี้ก็ให้ดื่มน้ำมากขึ้น เมื่อรับประทานต่อเนื่องไปก็จะช่วยลดความอยากอาหาร ทำให้รู้สึกไม่หิว และเมื่อหยุดรับประทานผลิตภัณฑ์ส้มแขก ร่างกายจึงไม่กลับมาอ้วนอีก ที่สำคัญคือการลดความอ้วนด้วยส้มแขกจะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างแน่นอน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาวิทยา จากมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ประเมินผลและพบว่า ไม่มีการเปลี่ยนหน้าที่ของตับและไต รวมไปถึงระดับน้ำตาลในเลือดและความดันเลือดก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน
  2. ช่วยแก้อาการไอ ใช้เป็นยาขับเสมหะ
  3. ผลแก่หรือดอกนำมาใช้ทำเป็นชาลดความดันได้
  4. ผลทำเป็นยาบรรเทาอาการปวดท้องในสตรีมีครรภ์
  5. ผลเป็นยาระบายอ่อน ๆ
  6. ใบสดน้ำมารับประทานช่วยแก้อาการท้องผูก เป็นยาขับปัสสาวะ
  7. รากใช้ทำเป็นยารักษานิ่ว
  8. สารสกัดจากส้มแขกช่วยทำให้ลำไส้เกิดการเคลื่อนไหวตัวได้เร็วขึ้นและขับไขมันออกมา
  9. ดอกตัวผู้แห้งต้มกับน้ำ ช่วยรักษาโรคเบาหวาน

 

ข้อควรระวังการใช้ส้มแขก

ส้มแขก มีสารสำคัญที่เป็นกรดมีชื่อว่า ไฮดรอกซี่ซิตริกแอสิด(Hydroxycitric Acid หรือ “HCA”) ซึ่งเป็นสารที่มีคุณสมบัติช่วยยับยั้งเอนไซม์ในกระบวนการสร้างไขมันจากการบริโภคอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตสูง นอกจากนี้ยังมีกรดอินทรีย์อื่น ๆ อีก เช่น กรดซิตริก (Citric Acid) กรดโดคีคาโนอิค (Dodecanoic Acid) กรดออกตาดีคาโนอิค (Octadecanoic acid) และกรดเพนตาดีคาโนอิค (Pentadecanoic acid)

ผลิตภัณฑ์สารสกัดส้มแขกที่มีปริมาณ HCA สูง ไม่ควรใช้กับสตรีตั้งครรภ์ หรือสตรีให้นมบุตร เพราะสารชนิดนี้จะไปรบกวนการสร้าง Fatty Acid, Acetyl coenzyme A รวมไปถึง Cholesterol ซึ่งอาจส่งผลต่อการสร้าง Steroid Hormone ได้นั่นเอง และสำหรับบุคคลทั่วไปการรับประทานในปริมาณมากเกินไปอาจมีอาการข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหารได้

ในปัจจุบันส้มแขกได้มีการนำไปสกัดทำเป็นผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก ลดความอ้วน หลายรูปแบบ เช่น แบบผง แบบเม็ด ชาส้มแขก ส้มแขกแคปซูล โดยจะมีขนาดตั้งแต่ 300-600 มิลลิกรัม และจะมีเนื้อส้มแขกประมาณ 250-500 มิลลิกรัม และมีปริมาณ HCA ประมาณ 60-70% โดยจะแตกต่างกับส้มแขกบดแห้งบรรจุแคปซูลธรรมดาที่ไม่ได้ผ่านการสกัด ซึ่งจะมีปริมาณของ HCA เพียง 30% เท่านั้น โดยวิธีการรับประทาน สารสกัดส้มแขก ให้รับประทานก่อนอาหารประมาณ 1 ชั่วโมงครั้งละ 1 แคปซูล

จึงมีคำเตือนให้ระวังในการบริโภคดังนี้

  1. สารสกัดจากส้มแขกมีความเป็นกรด หากรับประทานมาก หรือไม่รับประทานอาหารตามสลากยา จะทำให้เกิดการระคายเคือง ในกระเพาะอาหาร ทำให้ปวดท้องได้
  2. HCA อาจมีผล กระทบต่อการสร้าง acetylcholine ในสมอง และในคนซึมเศร้า ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ โรคความจำเสื่อมไม่ควรรับประทาน
  3. เนื่องจากสาร HCA มีผลรบกวนการสร้าง acetyl CaA, fatty acid รวมทั้ง cholesterol จึงอาจมีผลรบกวนต่อการสร้าง steroid hormone ได้ จึงไม่แนะนำให้ใช้ HCA หรือผลิตภัณฑ์ส้มแขกที่มี HCA ในปริมาณสูงในเด็ก และสตรีมีครรภ์ หรือสตรีที่ให้นมบุตร

อ้างอิง

http://www.bookmuey.com/?page=Garcenia.html
https://medthai.com
http://www.natres.psu.ac.th/FNR/vfsouthern/index.php/
https://www.pstip.com
https://th.wikipedia.org/wiki/

“มะกรูดหวาน” ผลไม้ที่ต้องอนุรักษ์

“มะกรูดหวาน” ผลไม้ที่ต้องอนุรักษ์

ผศ.วิชัย  ปทุมชาติพัฒน์

ความนำ มะกรูดหวาน เป็นมะกรูดสายพันธุ์หนึ่ง มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับต้นมะกรูดทั่วไปเกือบทุกอย่าง ยกเว้น ใบนิ่ม ผิวใบเรียบ ผลใหญ่กว่ามะกรูดเปรี้ยว เนื้อในกลีบเป็นสีเหลืองเข้ม มีรสหวานหอม คล้ายส้มตราหรือส้มเช้ง ใช้รับประทานเป็นผลไม้ ไม่นิยมใช้ปรุงอาหาร

          สมัยยังเป็นเด็กผู้เขียนได้กินมะกรูดหวานอยู่เสมอ ที่บ้านเกิดอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม  ตอนเช้าจะมีชาวบ้านหิ้วใส่ตะกร้าเล็กๆมาเร่ขายตามบ้าน แม่จะซื้อให้ไว้ในครัวเป็นประจำเพราะเป็นผลไม้ท้องถิ่นที่แม่ก็ชอบกิน  ด้วยติดใจในรสชาติที่หวานหอม เมื่อโตขึ้นมาก็ไม่เห็นมะกรูดหวานอีกเลย ล่าสุดเมื่อปลายปี 2560 ไปพบในตลาดสดที่บ้านเกิด ที่ชาวบ้านนำมาขาย มีมาเพียง 10 ผล รีบซื้อมาทั้งหมด เพื่อขยายพันธุ์แจกจ่ายต้นกล้า  ก็ได้ลิ้มรสดั้งเดิมไม่เปลี่ยนแปลง และขอตามไปที่บ้านแม่ค้าที่อยู่ห่างเมืองออกไปราว 10 กิโลเมตร พบว่าเป็นต้นเก่าแก่อยู่ปนอยู่กับต้นกล้วย น้อยหน่า มะม่วง และอื่นๆ เป็นการปลูกแบบสวนครัว ขาดการบำรุงรักษา  คุณภาพและปริมาณของผลผลิตจึงไม่แน่นอน .ในหมู่บ้านนั้นก็มีอีก2 ครอบครัวที่ปลูกทิ้งไว้กินในครอบครัว

          มะกรูดหวาน   จึงเป็นพืชหายากอีกชนิดหนึ่งที่ต้องจะอนุรักษ์ไว้ ควรปลูกไว้เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังได้เรียนรู้กัน หากสามารถปลูกจำนวนมาก ก็สามารถนำไปขายทำรายได้ให้แก่เจ้าของได้ไม่น้อย คนโบราณชอบปลูกไว้ระหว่างต้นไม้อื่นในสวน ธรรมชาติของมะกรูดหวานจะออกผลดก หากได้รับการปลูกเป็นอาชีพ ได้รับการบำรุงรักษาที่ถูกหลักวิชาการ จะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ อาจเป็นสินค้าชุมชนในเบื้องต้น และพัฒนาเป็นผลไม้เศรษฐกิจได้ในอนาคตเหมือนส้มชนิดอื่นๆได้

มะกรูดหวาน

ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus hystrix DC.
ชื่อวงศ์ RUTACEAE
ชื่อสามัญ Sweet kaffir lime
ชื่ออื่น บักหูดหวาน(มหาสารคาม)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้น สูง 2-4 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมีหนามยาว แหลม รูปทรงกระบอก ยาว 4 – 5 นิ้ว ใบ เปลือกลำต้นต้นเรียบ  สีน้ำตาลอ่อน ลำต้นมีกิ่งก้านจำนวนมากตั้งแต่ระดับล่างของลำต้นทำให้มีลักษณะเป็นพุ่ม ใบประกอบ มี 1 ใบย่อย เรียงสลับ รูปรี กว้างประมาณ 6.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ใบหนา ผิวเป็นมัน สีเขียวเข้ม มีต่อมน้ำมันกระจายทั่วแผ่นใบ ก้านใบแผ่เป็นแผ่น มีลักษณะคล้ายปีกนก ดอกออกเป็นช่อ มีดอกย่อยประมาณ 5 – 10 ดอก มีสีขาว ดอกย่อยกว้างประมาณ 1 ซม. ยาวประมาณ 1.5 ซม. ดอกสมบูรณ์เพศ ผลมีเนื้อ ผลแบบส้ม ติดผลดกเป็นพวง 5-7 ผล มีขนาดใหญ่กว่าผลของมะกรูดบ้าน ทรงกลมถึงรูปไข่ อาจมีจุกสั้นหรือไม่มี ผิว ขรุขระน้อย มีต่อมน้ำมันที่ผิว ผลกว้าง 5-7 ซม. ยาว 6-8 ซม. เปลือกหนาประมาณ 0.3 ซม. เมื่อสุกหรือแก่จัดเป็นสีเหลืองหรือเหลืองปนเขียวเล็กน้อย เนื้อข้างในมีลักษณะเป็นกลีบหลายกลีบ ประกอบด้วยถุงเล็ก ๆ จำนวนมาก มีน้ำสีเหลืองเข้มอยู่ข้างใน มีเมล็ดเกาะอยู่ในกลีบ เมล็ดกลมรี กว้าง 0.7 ซม. ยาว 0.9 ซม. จำนวน 15-20 เมล็ดต่อผล

การขยายพันธุ์

  1. เพาะกล้าจากเมล็ด
  2. ตอนกิ่ง  และเสียบยอด

หมายเหตุ

  1. สันนิษฐานว่ามะกรูดหวานเป็นเป็นมะกรูดกลายพันธุ์จากมะกรูดที่ใช้ปรุงอาหาร ได้รับความนิยมปลูกมาแต่โบราณจนกระทั่งปัจจุบัน
  2. มะกรูดหวานมีดอกและติดผลดกตลอดทั้งปี แต่จะมีมากในช่วงปลายฤดูฝน

ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างของมะกรูดหวานกับมะกรูดธรรมดา

ส่วนประกอบ มะกรูดหวาน มะกรูดธรรมดา
ลำต้น -หนามแหลม ยาว ลำต้นตรง ทรงพุ่มแคบ -หนามสั้นกว่า จำนวนมาก กิ่งแผ่ออกด้านข้าง ทรงพุ่มกว้าง
ใบ -ปลายใบเรียวเล็ก ท่อนล่างที่เกิดจากก้านใบมีขนาดเล็ก คล้ายใบส้มเขียวหวาน -ปลายใบโค้งมน ท่อนล่างที่เกิดจากก้านใบขยายใหญ่
-มีกลิ่นเช่นเดียวกับส้มเขียวหวาน -มีกลิ่นหอมรุนแรง
-ไม่สามารถนำไปปรุงอาหารได้ -นำไปประกอบอาหารได้
ผล -มีผิวค่อนข้างเรียบ ขรุขระแต่ร่องไม่ลึก -ผิวขรุขระ มีร่องผิวลึก
-มีทรงกลม กลิ่นไม่ฉุนรุนแรง -มีทรงรี มีกลิ่นรุนแรงเหมือนใบ
-ไม่มีจุก หรือมีจุกแต่เตี้ย -มีจุกที่ขั้วผล สูงบ้าง เตี้ยบ้าง
-นำไปรับประทานเป็นผลไม้ -นำผิวไปเป็นส่วนผสมของเครื่องแกง
-คั้นน้ำ ใส่น้ำแข็ง เป็นน้ำผลไม้ -นำไปสระผม
  – นำไปเป็นน้ำมันหอมระเหย
เมล็ด – มีเมล็ดน้อย – มีเมล็ดมากกว่า
รสชาติของเนื้อผล – หวาน (เหมือนส้มตราหรือส้มเช้ง) – เปรี้ยวจัด
 -มีกลิ่นหอม -มีกลิ่นเฉพาะตัว
การขยายพันธุ์ -เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง เสียบยอด -เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง เสียบยอด

อ้างอิง

http://oknation.nationtv.tv/blog/chabatani/2010/12/11/entry-1
https://th.wikipedia.org/wiki/
http://www.doa.go.th/pvp/images
https://www.thairath.co.th/content/1088319

Nutrient Accumulation by Litterfall in Mangrove Forest at Klong Khone , Thailand

ชื่อเรื่อง “ Nutrient Accumulation by Litterfall in Mangrove Forest at  Klong  Khone , Thailand ”

โดย ดร.ชยารัตน์ ศรีสุนนท์และคณะ

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม

ความเป็นเลิศด้านการผลิตบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

จุดเด่นของบทความวิจัยนี้คือ :-

บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาธาตุอาหารโดยการตกตะกอนในป่าชายเลน คลองโคลนประเทศไทย ผลจากการวิจัยนี้จะช่วยในการชี้แจงเส้นทางเดินของธาตุอาหารจากต้นไม้ในป่าชายเลนที่มีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูระบบนิเวศของชายฝั่งทะเลและน้ำเค็ม

View Fullscreen

Estimating the carrying capacity of green mussel cultivation by using net nutrient removal model

ชื่อเรื่อง  “Estimating the carrying capacity of green mussel cultivation by using net nutrient  removal model”

โดย ดร.ชยารัตน์ ศรีสุนนท์และคณะ

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม

ความเป็นเลิศด้านการผลิตบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาขาวิชาที่กี่ยวข้อง

จุดเด่นของบทความวิจัยนี้คือ :-

บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาการประมาณความสามารถของหอยแมลงภู่โดยใช้แบบจำลองการกำจัดสารอาหารสุทธิ  ดังนั้นการศึกษานี้จึงสามารถช่วยในการประมาณค่าความสามารถในการฟื้นฟูและการฟื้นฟูสารอาหารของหอยแมลงภู่ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทั้งเกษตรกรและระบบนิเวศทางทะเลที่ยั่งยืน

6. งานวิจัยเรื่องที่ 3

Uptake , release , and absorption of nutrients into the marine environment by the green mussel (Perna viridis)

ชื่อเรื่อง  “Uptake , release , and absorption of nutrients into the marine environment  by the green mussel (Perna viridis)”

โดย ดร. ชยารัตน์ ศรีสุนนท์ และคณะ

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม

ความเป็นเลิศด้านการผลิตบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

          จุดเด่นของบทความวิจัยนี้คือ :-

                        บทความวิจัยนี้ได้ศึกษา การดูดซึม การปล่อยและการดูดซึมสารอาหารเข้าสู่ สิ่งแวดล้อมทางทะเลโดยหอยแมลงภู่ ในที่สุดผลที่ได้ สามารถช่วยในการประมาณ    ความสามารถในการเลี้ยงหอยแมลงภู่  โดยไม่ทำให้คุณภาพน้ำเสื่อมโทรมลงในระบบ     นิเวศทางทะเล

View Fullscreen

Nitrogen , phosphorus and silicon uptake kinetic by marine diatom Chaetoceros calcitrans under high nutrient concentrations

ชื่อเรื่อง  “Nitrogen , phosphorus and silicon uptake kinetic by marine diatom Chaetoceros  calcitrans under high nutrient concentrations”

โดย ดร.ชยารัตน์ ศรีสุนนท์ และคณะ

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม

ความเป็นเลิศด้านการผลิตบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

      จุดเด่นของบทความวิจัยนี้คือ :-

บทความวิจัยนี้พบว่าผลการทดลองโดยใช้แบบจำลองจลศาสตร์สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการประเมินการดูดซึมสารอาหารจากแพลงตอนพืช ในสภาพแวดล้อมของปากแม่น้ำและชายฝั่งและผลการวิจัยนี้ยังอาจนำมาใช้เพื่อช่วยในการปรับปรุงคุณภาพน้ำทะเลในพื้นที่ชายฝั่งทะเลและเพื่อส่งเสริมการเพาะเลี้ยงแพลงก์ตอนพืชเชิงพาณิชย์

View Fullscreen

Effect of rain-fed and surface drip irrigation on efficiency fertilizers and rice husk ash using Cassava Ver HB 80 in late and early rainy seasons

ชื่อเรื่อง  “Effect of rain-fed and surface drip irrigation on  efficiency fertilizers  and  rice husk      ash using Cassava Ver HB 80 in late and early rainy seasons”

โดย อาจารย์ คร.มาลี  ลิขิตชัยกูลและคณะ       

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม

ความเป็นเลิศด้านการผลิตบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

จุดเด่นของบทความวิจัยนี้คือ :-

  1. บทความวิจัยนี้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างมากเพราะเป็นตามนโยบายของรัฐบาลและเป็นไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ซึ่งเน้นด้านการเกษตร
  2. ข้อมูลจากบทความวิจัยนี้สามารถลงสู่ท้องถิ่นได้ ทำให้เกษตรกรนำไปใช้วางแผนในการประกอบอาชีพได้เป็นอย่างดี
  3. เกษตรกรจะได้นำความรู้เกี่ยวกับประสิทธิ์ภาพของปุ๋ยที่เกิดจากการเผาฟางข้าวและพืชอื่นๆไปใช้พัฒนาในท้องถิ่นของตน
  4. บทความวิจัยนี้จะช่วยกระตุ้นให้มีการพัฒนาการผลิตปุ๋ยชนิดอื่นๆที่มีราคาถูกและใช้วัตถุดิบภายในท้องถิ่นหรือภายในประเทศ
  5. บทความวิจัยนี้จะทำให้ทราบถึงกระบวนการผลิตปุ๋ยจากวัสดุธรรมชาติโดยไม่ใช้สารเคมี และสามารถนำไปประยุกย์ใช้ในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ในสถาบันการศึกษาต่างๆได้เป็นอย่างดี
  6. บทความวิจัยนี้สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดต่อไปได้ เพื่อทำให้เกิดธุรกิจจากงานวิจัยได้อย่างมหาศาล
View Fullscreen

“ Preparation of TiO2 films on commercial activated carbon for application on decolorization of basic dyes”

ชื่อเรื่อง “ Preparation of TiO2 films on commercial    activated carbon for application on decolorization  of basic dyes”

        โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ขนิษฐา  หทัยสมิทธ์ และคณะ       

        สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

ความเป็นเลิศด้านการผลิตบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

จุดเด่นของบทความวิจัยนี้คือ :-

  • เป็นบทความวิจัยที่เตรียมแผ่นฟิล์ม TiO2ซึ่งสามารถทำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆได้มากมายและจะทำรายได้ให้ประเทศชาติอย่างมาก
  • เป็นการพัฒนาการเตรียมแผ่นฟิล์ม TiO2ซึ่งจะเป็นพื้นฐานให้มีการพัฒนาโดยวิธีอื่นๆต่อไป
  • บทความวิจัยนี้จะช่วยกระตุ้นให้มีการพัฒนาแผ่นฟิล์มชนิดอื่นๆที่มีราถูกและใช้วัตถุดิบภายในประเทศ
  • บทความวิจัยนี้จะทำให้ทราบถึงกระบวนการผลิตแผ่นฟิล์ม ซึ่งสามารถนำไปประยุกย์ใช้ในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ในสถาบันการศึกษาต่างๆได้เป็นอย่างดี
  • บทความวิจัยนี้สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดต่อไปได้ เพื่อทำให้เกิดธุรกิจจากงานวิจัยได้อย่างมหาศาล
View Fullscreen

 

“รูปแบบการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของชุมชนกรณีศึกษา:ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่นเครือค่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ ”

        ชื่อเรื่อง “รูปแบบการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของชุมชนกรณีศึกษา:ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่นเครือค่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ ”

                โดย ดร.สรายุทธ  คาน และคณะ 

                สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

ความเป็นเลิศด้านการผลิตบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

                จุดเด่นของบทความวิจัยนี้คือ :-

  • เป็นบทความวิจัยที่มีประโยชน์ต่อประเทศชาติสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในแต่ละท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี
  • เป็นบทความวิจัยที่ศึกษาและพัฒนารูปแบบการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่มีความ เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของชุมชน จะมีผลต่อการดำรงชีวิตของแต่ละชุมชนได้เป็นอย่างดี
  • บทความวิจัยนี้เป็นการนำชุดโครงการวิจัยและการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ลงสู่ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมท้องถิ่นให้รู้จักการทำวิจัยจะได้พัฒนาท้องถิ่นของตนให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
  • สามารถนำผลจากบทความวิจัยนี้ลงสู่ชุมชนในแต่ละท้องถิ่น เพื่อให้ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการดำเนินชีวิต
  • บทความวิจัยนี้สามารถนำไปทำการวิจัยต่อได้ เช่น การพัฒนาคู่มือการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของชุมชนให้เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของชุมชนต่างๆ
View Fullscreen