Category Archives: การผลิตบัณฑิตครู

ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจเพื่อการพัฒนาชุมชน (Economic History Community for Development)

ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจเพื่อการพัฒนาชุมชน (Economic History Community for Development)

นายพงษ์พันธ์ นารีน้อย

View Fullscreen

รัฐประศาสนศาสตร์ในความหมายใหม่

รัฐประศาสนศาสตร์ในความหมายใหม่

นางสาวบูรณจิตร แก้วศรีมล

View Fullscreen

การพัฒนาเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี

การพัฒนาเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี

กุลสิริ  กฤตธนรัชต์

สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ปีการศึกษา 2557
ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วิธีการดำเนินการวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
บทที่ 5 สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะ

 

Convergence Theorem for Solving the Common Solution of System of Generalized Equilibrium and Variational Inequality and Fixed Point Problems with Application to Complementarity Problem

Convergence Theorem for Solving the Common Solution of System of
Generalized Equilibrium and Variational Inequality and Fixed Point
Problems with Application to Complementarity Problem

Assistant Professor Dr. Pongrus Phuangphoo, Ph.D.(Applied Mathematics)
Department of Mathematics, Faculty of Education, Bansomdejchaopraya Rajabhat University (BSRU)
Hiranruchi, Thonburi, Bangkok, Thailand, 10600.
([email protected] and [email protected])

Abstract
In this paper, we introduce an iterative procedure which is constructed by using the new hybrid projection method for solving the common solution for a variational inequality problem, a system of generalized equilibrium problems of inverse strongly monotone mappings and a system of bifunctions satisfying certain the conditions, and a fixed point problem for two countable families of weak relatively nonexpansive mapping. The strong convergence theorems are established on approximating a common solution of those problems in Banach space. Finally, we apply our the main results to complementarity problems and apply to a Hilbert space.

Keyword: convergence theorem, system of generalized equilibrium problem, fixed point problems, variational inequality problem, complementarity problems.

View Fullscreen

กลไกสมองสองซีกกับความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์

แบบฟอร์มสำหรับการนำเสนอบทสรุปผลงานทางวิชาการ

 

ชื่อผลงานทางวิชาการ :           กลไกสมองสองซีกกับความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์

ประเภทผลงานทางวิชาการ :     บทความทางวิชาการ

ปีที่พิมพ์ :                         พ.ศ. ๒๕๕๙

ข้อมูลเพิ่มเติม :                   สาขาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ลงวารสารสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ปีที่ ๑๕ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ :   นางสาวปัญจนาฎ วรวัฒนชัย ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ สาขาวิชาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : บทความเรื่องกลไกสมองสองซีกกับความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์นี้ มีเนื้อหาสาระที่น่าสนใจ ดังนี้

            การศึกษาสมองสองซีกของมนุษย์เริ่มในปี ค.ศ. ๑๙๖๐ โดยโรเจอร์ สเพอร์รี (Roger Sperry) ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา (Neurobiologist) จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย (California Institute of Technology) ได้ศึกษาระบบโครงสร้างการทำงานของสมองโดยทำการทดลองกับคนไข้ที่แกนเชื่อมสมองสองซีก คือ คอร์ปัส แคลโลซัม (Corpus Collosum) ได้รับบาดเจ็บภายหลังการผ่าตัดปรากฏว่าสมองทั้งสองซีกเรียนรู้และแยกจากกันทำให้เขาค้นพบความแตกต่างในการทำงานระหว่างสมองซีกซ้าย (Left Hemisphere) และสมองซีกขวา (Right Hemisphere) ซึ่งสมองทั้งสองซีกจะทำงานกลับข้างกัน (Bilaterally Symmetrical) กล่าวคือ สมองซีกซ้ายจะสั่งงานการเคลื่อนไหวของร่างกายทางด้านขวาและสองซีกขวาจะสั่งงานการเคลื่อนไหวของร่างกายทางด้านซ้ายและเขาได้รับรางวัลโนเบลในปี ค.ศ. ๑๙๘๑ (Theodore, ๑๙๙๗ : ๓๒๓-๓๒๔)

สมองซีกซ้ายและซีกขวา

ที่มา : Wikipedia, ๒๐๑๔ : ออนไลน์

            หน้าที่สมองซีกซ้ายและซีกขวา

            ในชีวิตประจำวันขณะที่มนุษย์กำลังคิดจะพบว่าสมองทั้งสองซีกทำงานร่วมกันแต่จะแสดงลักษณะเด่นออกมาแตกต่างกันไปตามความถนัดของแต่ละคน ตัวอย่างเช่น ถ้าเราไปถามเส้นทางของผู้ที่ถนัดสมองซีกซ้ายเขาจะอธิบายว่า “ จากจุดนี้ให้เดินตรงไปจนถึงสี่แยกแล้วเลี้ยวขวาจะถึงสถานีรถไฟฟ้า” แต่ถ้าเราไปถามผู้ที่ถนัดสมองซีกขวาเขาจะอธิบายว่า “จากจุดที่คุณยืนอยู่ให้เดินตรงไปจะผ่านปั๊มน้ำมันแล้วจึงถึงสี่แยกที่มีสัญญาณไฟจราจรให้เลี้ยวขวาก็จะถึงสถานีรถไฟฟ้า” นั่นคือ ตัวอย่างการทำหน้าที่ของสมองสองซีกที่แตกต่างกัน ซึ่งหน้าที่ของสมองทั้งสองซีกมีรายละเอียด ดังนี้ (Elkhononet al., ๑๙๙๔ : ๓๗๑ – ๓๗๔ ; สรวงมนฑ์ สิทธิสมาน, ๒๕๔๒ : ๓๙ – ๔๒; พัชรีวัลย์ เกตุแก่นจันทร์, ๒๕๔๔ : ๒๓ – ๒๗)

            หน้าที่สมองซึกซ้าย

            สมองซีกซ้าย (Left Hemisphere) หรือที่นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า “สมองแห่งเหตุผล” (Rational Brain) จะทำหน้าที่ควบคุมการคิดการหาเหตุผล การแสดงออกเชิงนามธรรมที่เน้นรายละเอียด เช่น การนับจำนวนเลข การบอกเวลา และความสามารถในการเรียบเรียงถ้อยคำที่เหมาะสม เป็นต้น เพื่อวิเคราะห์แปลความหมายข้อมูลจัดระบบแต่ละขั้นตอนอย่างมีเหตุผลและสร้างข้อสรุปจากข้อมูลที่เป็นสัญลักษณ์ทางภาษา คณิตศาสตร์ รวมถึงการเก็บความจำในรูปของภาษา ด้วยเหตุนี้ผู้ที่ถนัดสมองซีกซ้ายจะเป็นผู้ชอบใช้เหตุผล ชอบเรียนรู้จากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่ เป็นนักวางแผนงาน เป็นคนชอบวิเคราะห์ และมักทำอะไรที่ละอย่างเป็นขั้นตอนอย่างละเอียด สามารถที่จะแสดงความรู้สึกของตนเองได้อย่างชัดเจน แต่เกี่ยวกับความคิดและอารมณ์ความรู้สึกจะค่อนข้างมีความคิดด้านลบเพราะมีความระมัดระวังมากไปจึงสามารถเรียนรู้จากความผิดพลาดประกอบการงานจนประสบความสำเร็จได้

            ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าสมองซีกซ้ายจะมีหน้าที่ในการใช้ภาษา (Language) การคิดเชิงตรรกะ (Logic) การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) ตัวเลข (Numbers) และความมีเหตุผล (Reasoning)

            หน้าที่สมองซีกขวา

            สมองซีกขวา (Right Hemisphere) หรือที่นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า “สมองแห่งสหัชญาณ” (Intuitive Brain) จะทำหน้าที่เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ การจินตนาการ การสังเคราะห์ ความซาบซึ้งในดนตรีและศิลปะ ความสามารถในการหยั่งหามิติต่างๆ และการใช้ประโยชน์จากรูปแบบและรูปทรงเรขาคณิต ดังนั้นการที่คนเราสามารถคิดสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ได้นั้น เกิดจากการทำงานของสมองซีกขวานั้นเอง โดยการจัดทำข้อมูลจากประสาทสัมผัสหลายอย่างที่รับเข้ามาเพื่อจัดภาพรวมสิ่งของการควบคุมการมองเห็น การบันทึกความจำจากการฟัง และการเห็นและมองสิ่งต่างๆ ด้วยเหตุนี้ผู้ที่ถนัดสมองซีกขวาจะเป็นคนที่ใช้สหัชญาณเพื่อเป็นการหยั่งรู้ การเข้าใจ และการมองเห็นความสัมพันธ์อันเป็นความรู้ใหม่และสามารถใช้ความรู้เดิมมาให้เหตุผลสิ่งที่เป็นความรู้ใหม่ ด้วยเหตุนี้การประมวลผลของสมองซีกขวาจึงอยู่เหนือขอบเขตของความคิดและเหตุผล โดยจะแสดงผลมาในรูปของสัญชาตญาณ การหยั่งรู้หรือความรู้สึกสังหรณ์ซึ่งไม่มีเหตุผล แต่ถ้าตัดสินใจไปตามนั้นแล้วมักจะถูกต้องเพราะมองเห็นทุกอย่างเป็นภาพรวมจึงสามารถทำอะไรหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน เพราะผู้ที่ถนัดการใช้สมองซีกขวาจะมองแบบองค์รวมก่อนและจึงพิจารณาแยกย่อยทำให้งานประสบความสำเร็จ เนื่องจากเห็นความสัมพันธ์ที่คนอื่นมองไม่เห็น

            ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าสมองซีกขวาจะมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับจิตใจและความรู้สึกของมนุษย์ เช่น ความตระหนักรู้ในตนเอง (Self – Awareness) ความเห็นใจผู้อื่น (Empathy) ความน่าเชื่อถือ (Trust) อารมณ์ (Emotion) การสื่อสารไม่ใช้จิตสำนึก (Nonconscious Communication) ความน่าดึงดูด (Attachment) และการแสดงอารมณ์ออกทางสีหน้า (Recongnition of Emational Faces) เป็นต้น

 

 

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : เนื้อหาสาระสามารถสรุปเป็นประเด็นได้ต่อไปนี้

            ประเด็นที่ ๑ การเชื่อมโยงการทำงานของสมองสองซีก

            จากการศึกษาการทำงานของสมองสองซีก พบว่า สมองซีกขวาสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์จากหลายๆ ประสบการณ์มาวิเคราะห์ร่วมกันเป็นองค์ความรู้ใหม่ได้ และสร้างเครือข่ายใยประสาทเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลไปได้ทั่วสมอง โดยเซลล์ประสาทเพียงเซลล์ในสมองซีกขวาสามารถสร้างเส้นใยประสาทออกจากตัวเพื่อติดต่อเชื่อมไปยังเซลล์ประสาทอื่นๆ รอบข้างได้มากถึง ๒๐,๐๐๐ เซลล์ และเซลล์ประสาทที่ถูกเชื่อมใน ๒๐,๐๐๐ เซลล์นั้น แต่ละเซลล์ก็ยังสามารถส่งแขนงของตัวเองไปเชื่อมต่อเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกับเซลล์อื่นๆ ต่อเนื่องได้อีก ๒๐,๐๐๐ เซลล์เช่นกัน จึงทำให้ร่างแหใยประสาททั้งหมดจะยิ่งใหญ่มากและข้อมูลที่เข้ามาใช้ในการประมวลผลจึงมากมายมหาศาล ในขณะที่เซลล์ประสาทของสมองซีกซ้ายจะไม่ค่อยยอมเชื่อมโยงกับเซลล์อื่นที่มีหลักทางตรรกะต่างกัน โดยเซลล์ประสาทในสมองซีกซ้ายบางตัวเชื่อมโยงกับเซลล์สมองอื่นๆ เพียง ๑,๐๐๐ เซลล์ ดังนั้นการคิดของสมองซีกซ้ายจะอยู่ในขอบเขตของตรรกะเหตุผลไม่ค่อยคิดนอกกรอบและความคิดสร้างสรรค์มักจะไม่เกิดขึ้นในสมองส่วนนี้เพราะเซลล์สมองแต่ละเซลล์แลกเปลี่ยนข้อมูลกันและกันน้อยเกินไป (สม สุจีรา, ๒๕๕๒ : ๕-๖) ด้วยเหตุนี้การใช้สมองเพียงซีกเดียวจะส่งผลต่อความรู้ความสามารถที่ไม่เกิดประโยชน์ ดังเช่น บุคคลใดใช้สมองซีกซ้ายเพียงอย่างเดียวจะมีความบกพร่องในเรื่องของการเข้าสังคม การใช้ชีวิตในสังคมมักอยู่ร่วมกับผู้อื่นไม่ค่อยได้มีความเป็นตัวตนสูง แต่ถ้าบุคคลใดใช้สมองซีกขวาเพียงซีกเดียวจะเป็นบุคคลที่ใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผลขาดความรู้ความสามารถทางด้านการวิเคราะห์ ขาดความสามรถทางด้านการจดจำ และมีโอกาสในการตัดสินใจผิดพลาดมากกว่าบุคคลที่ใช้สมองซีกซ้าย หากบุคคลใดมีการใช้สมองทั้งสองซีกจะส่งผลดีต่อการดำเนินชีวิตทำให้การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไม่มีปัญหา ดังนั้นทุกกิจกรรมทางการคิดของมนุษย์เกิดจากสมองทั้งสองซีกจะคิดสลับกันไปมาระหว่างสมองซีกซ้ายกับสมองซีกขวา บางกิจกรรมจะเน้นที่ซีกใดซีกหนึ่งตามความถนัด (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, ๒๕๔๕: ๑๒ อ้างอิงจาก Hellige, ๑๙๙๐ : ๔๑) ในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์จึงจำเป็นต้องพัฒนาทั้งในด้านของการใช้เหตุผลและการสร้างสรรค์ไปพร้อมๆ กัน มาสามารถแยกพัฒนาทักษะแต่ละด้านได้ ดังภาพ การเชื่อมโยงการทำงานของสมองสองซีก

การเชื่อมโยงการทำงานของสมองสองซีก

ที่มา : ศศิตรา (นามปากกา), ๒๕๕๖ : ออนไลน์

            จากภาพ การเชื่อมโยงการทำงานของสมองสองซีก จะเห็นได้ว่าการทำงานของสมองทั้งสองซีกจะทำงานร่วมกันมีการเชื่อมต่อความสัมพันธ์กันเพียงแต่จะมีรูปแบบการประมวลผลต่างกัน นักวิจัยพบว่า บุคคลจะใช้สมองส่วนใดขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่บุคคลนั้นทำด้วย เพราะว่าบางครั้งนั้นมีทักษะและความสามารถที่บ่งบอกได้ว่าใช้สมองด้านหนึ่งมากกว่าอีกด้านหนึ่ง อย่างไรก็ตามทักษะกระบวนการคิดโดยส่วนใหญ่แล้วจำเป็นต้องใช้การทำงานของสมองทั้งสองซีกประสานกัน ยิ่งกว่านั้นความสำคัญที่ทำให้การคิดมีประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับความกลมกลืนของการประสานกันของสมองทั้งสองซีก (รุจิรัตน์ บัวลา, ๒๕๔๖ : ๒๗-๒๘) การที่บุคคลสามารถใช้สมองทั้ง ๒ ซีกทำงานได้อย่างทัดเทียมกันจะทำให้บุคคลนั้นสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ และแก้ปัญหาได้ดีกว่าบุคคลที่ถนัดใช้สมองซีกใดซีกหนึ่งในการทำงาน

            นอกจากนี้การศึกษาของไวท์แมนและคณะ (Whitman et al.} ๒๐๑๐ : ๑๐๙) ได้ศึกษาทดสอบการทำงานร่วมกันในสมองสองซีกจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน ๔๘ คน ด้วยแบบทดสอบของทอร์แรนซ์ (Torrance Test of Creative Thinking) ประกอบด้วยรูปแบบภาพและภาษา พบว่า กระบวนการความคิดสร้างสรรค์ของกลุ่มตัวอย่างเพิ่มสูงขึ้นเพราะมีความสามารถถ่ายโอนสัญลักษณ์และภาพจากสมองซีกขวาไปสู่สมองซีกซ้ายเรียบเรียงเป็นคำพูดได้ดีกว่าคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ในระดับต่ำ และการศึกษาผู้ป่วยพิการทางสองของ   สเตฟานีและคณะ (Stephanie et al., ๒๐๑๖ : online) พบว่า ภาษาถือเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานของสมองมนุษย์โดยสมองซีกซ้ายแต่บางครั้งสมองซีกขวาอาจทำหน้าที่ทางภาษาชดเชยแทนสมองซีกซ้ายที่เกิดความเสียหายหรือมีความเสื่อมเกิดขึ้น ซึ่งตรวจสอบจากความสามารถการเลือกคำศัพท์และคำพูดที่ดึงจากสมองซีกขวาที่เก็บสะสมมาใช้แทนได้เป็นอย่างดี

            จากที่กล่าวมาถึงการเชื่อมโยงการทำงานของสมองสองซีกจะเห็นได้ว่า สมองทั้งสองซีกส่งผลต่อการคิดของมนุษย์อย่างยิ่ง ช่วยให้สามารถคิดค้นแก้ปัญหาต่างๆ ค้นพบแนวทางวิทยาศาสตร์และสร้างสรรค์ทางศิลปะที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งเกิดจากการทำงานของสมองซีกขวาทำงานเชื่อมโยงกับสมองซีกซ้าย หากใช้สมองเพียงด้านเดียวจะทำให้ความคิดนั้นไม่สมบูรณ์ เช่น การทำหน้าที่ความคิดสร้างสรรค์ของสมองซีกขวาจะสามารถแสดงออกถ่ายทอดให้ผู้อื่นทราบได้ต้องเกิดจากการรวบรวม วิเคราะห์ และเรียบเรียงถ่อยคำของสมองซีกซ้ายเท่านั้น

            ประเด็นที่ ๒  สมองสองซีกกับความคิดสร้างสรรค์

            ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่นักจิตวิทยาและนักประสาทวิทยาต่างให้ความสนใจศึกษาค้นคว้ามาอย่างยาวนานเพื่อหาที่มาของความคิดสร้างสรรค์ว่าเกิดได้อย่างไร ซึ่งสิ่งที่ได้ศึกษาและรู้มานานแล้วว่าความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นที่สมองซีกขวาเท่านั้น แต่ขณะนี้ได้มีการศึกษาการทำงานของสมองพบว่า หากพยายามจะคิดสร้างสรรค์โดยใช้สมองซีกขวาแต่เพียงด้านเดียว ก็จะได้แต่ความคิดที่พูดได้แต่ทำไม่ได้ ด้วยเหตุนี้การเกิดความคิดสร้างสรรค์จึงเกิดจากการทำงานของสมองซีกซ้ายและซีกขวาดังภาพ (เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์. ๒๕๕๓ : ออนไลน์)

            ๑. การคิดแก้ปัญหาจะเริ่มจากการใส่ใจในข้อมูลเดิมที่มีอยู่และวิธีแก้ปัญหาที่เคยใช้มาก่อน ซึ่งเป็นการทำงานของสมองซีกซ้าย

            ๒. เมื่อใช้วิธีตามข้อ ๑ แล้ว ยังไม่พบคำตอบที่ต้องการสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวาจะเริ่มทำงานร่วมกัน คือ

                        ๒.๑ สมองซีกขวาจะใช้เครือข่ายระบบประสาทในสองซีกนี้พยายามคิดหาความคิดเก่าๆ ที่เราอาจลืมไปแล้ว แต่อาจจะเป็นประโยชน์กับการคิดแก้ปัญหาในครั้งนี้ ทำให้ข้อมูลเก่าๆ ที่ถูกเก็บอยู่ในสมองจนลืมไปแล้ว ซึ่งในตอนแรกเราไม่ได้คิดถึงเพราะดูไม่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่เรากำลังคิดแก้ไขแต่กลับผุดขึ้นมาอย่างมากมายที่สมองซีกซ้ายซึ่งกำลังพยายามคิดหารูปแบบใหม่ๆ อยู่เสมอ

                        ๒.๒ สมองซีกซ้ายเมื่อพบความเชื่อมโยงของข้อมูลเก่าๆ กับวิธีคิดใหม่ๆ ก็จะรีบคว้าจับความคิดที่เพิ่งผุดขึ้นมานั้นไว้มั่นก่อนที่จะลืมไปอีก

                        ๒.๓ ในทันทีนั้นเองสมองจะเปลี่ยนจากการไม่สนใจ มาเป็นการจดจ่อสนใจในข้อมูลนั้นอย่างรวดเร็วและในเวลาเพียงชั่วแวบสมองจะรวมความคิดเล็กๆ เหล่านั้นเข้าด้วยกันแล้วสังเคราะห์กลายเป็นความคิดใหม่ขึ้นจนรับรู้ว่านี่ก็คือช่วงเวลาที่สมองของเราตระหนักว่าได้ค้นพบความคิดใหม่แล้ว

            จากที่กล่าวมาความคิดสร้างสรรค์เกิดจากการทำงานร่วมกันของสมองซีกซ้ายและซีกขวา ดังนั้นการคิดอย่างสร้างสรรค์จะเกิดกับคนที่สามารถระดมการใช้สมองทั้งสองซีกได้อย่างเชี่ยวชาญ และยิ่งสมองทั้งสองซีกทำงานร่วมกันได้มาเท่าใดจะยิ่งมีความคิดสร้างสรรค์ได้มากเท่านั้น ดังทีเร็กและคณะ (Rex et al., ๒๐๑๓ : online) นักประสาทวิทยาจากมหาวิทยาลัยนิวเม็กซิโก (University of New Mexico) กล่าวว่า ใครที่ขยันทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์อยู่เสมอจะเรียนรู้วิธีระดมการใช้เครือข่ายการคิดสร้างสรรค์ของสมองได้เร็วยิ่งขึ้นและดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ เพราะสิ่งที่ทำอย่างสม่ำเสมอจนกลายเป็นนิสัยนั้น จะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงรูปแบบของระบบประสาทของสมองเพื่อให้ใช้ทั้งสองซีกได้ดียิ่งขึ้น

            นอกจากนี้ได้มีการศึกษาทดลองของยันติและซาบานา (Yanty and Sabana, ๒๐๑๖ : ๒) ได้ฝึกหัดให้เด็กอายุ ๕ – ๗ ปี วาดภาพด้วยมือซ้าย พบว่า ในขณะที่เด็กวาดภาพด้วยมือซ้ายเขาจะสามารถควบคุมการใช้อุปกรณ์วาดภาพได้อย่างถูกต้องและสามารถวาดภาพได้เท่ากับมือขวาแม้ว่าจะมีความยากลำบากอยู่บ้างที่จะหาวิธีที่ดีที่สุดในการควบคุมการวาดภาพ เด็กจึงต้องบูรณาการประสาทสัมผัสทุกส่วนส่งผลให้เด็กได้เปิดใช้สมองซีกขวาได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยการฝึกอบรมการวาดภาพโดยใช้มือซ้าย (มือที่ไม่ค่อยถนัด)

 

จุดเด่น / ความน่าสนใจของผลงานทางวิชาการ : จุดเด่นของเนื้อหาสาระที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับบทบาทหน้าที่ของอาชีพครูและอื่นๆ ได้ดี อาทิเช่น

            จุดเด่นที่ ๑ ความสัมพันธ์ของสมองสองซีกกับทฤษฎีพหุปัญญา

            ความสัมพันธ์ของสมองสองซีกกับทฤษฎีพหุปัญญา

            โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) เจ้าของแนวคิดทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences) พบว่า สมองทั้งสองซีกมีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้ซึ่งขึ้นอยู่ว่าใครจะค้นพบว่าตนเองมีความสามารถเด่นชัดในด้านใด แนวคิดนี้สะท้อนความสามารถในการแก้ปัญหาในสภาพแวดล้อมต่างๆ หรือการสร้างสรรค์ผลงานต่างๆ ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรมในแต่ละแห่ง ดังเช่น การศึกษาของเกศสุดา ใจคำ (๒๕๕๒ : ๖๓-๖๕) เกี่ยวกับการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานกับแนวคิดทฤษฎีความสามารถทางสติปัญญาของการ์ดเนอร์ว่า มีความสอดคล้องกับการทำงานของสมองทั้งสองซีก สรุปให้เห็นได้ชัดเจน

 

จะเห็นได้ว่าทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Interigences) ของ โฮเวอร์ด การ์เนอร์ (Howard Gardner) ได้แบ่งความสามารถทางสติปัญญาแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล เมื่อวิเคราะห์ความสามารถทางสติปัญญาทั้ง ๙ ด้าน มีความสอดคล้องกับการทำงานของสมองทั้งสองซีก ดังนั้นจึงควรพัฒนากิจกรรมในแต่ละด้าน เพื่อกระตุ้นการทำหน้าที่ของสมองทั้งสองซีกให้มีประสิทธิภาพ

            ตัวอย่างบุคคลที่ใช้สมองสองซีกอย่างสร้างสรรค์

            มีเกลันเจโล (Michelangelo) อัจฉริยะทางด้านศิลปะ ครั้งหนึ่งเคยมีคนถามว่าทำไมถึงแกะสลักรูปปั้นเดวิดได้งดงามมหัศจรรย์เช่นนั้น เขาตอบว่าตอนที่หินอ่อนก้อนใหญ่มาอยู่ตรงหน้า เข้าเห็นรูปเดวิดอยู่ในหินก้อนนี้แล้ว สิ่งที่ต้องทำคือสกัดส่วนที่ไม่ใช่เดวิดออกไป จะเห็นไว้ว่าเกลันเจโล (Michelangelo) ใช้สมองซีกขวาจินตนาการถึงองค์รวมก่อนแล้วจึงค่อยส่งสัญญาณไปที่สมองซีกซ้ายให้หาเครื่องมือและหาวิธีสกัดหินไปตามจินตนาการ (สม สุจีรา, ๒๕๕๒ : ๖)

            อัลเบิร์ท ไอสไตน์ (Albert Einstein) เป็นบุคคลที่มีความจำไม่ดีในวัยเด็กไม่ชอบเรียนคณิตศาสตร์และภาษาต่างประเทศเลย แต่แรงบันดาลใจสมองซีกขวาเกิดขึ้นจึงดึงดูดให้เขามาสนใจศึกษาฟิสิกส์ โดยเขาสามารถผสมผสานสมองสองซีกได้อย่างอัจฉริยะทั้งอาศัยคณิตศาสตร์ช่วยในการคำนวณผลลัพธ์และภาษาเป็นตัวช่วยในการค้นคว้าโดยเขาไม่เคยทิ้งการจินตนาการเลย (สม สุจีรา, ๒๕๕๒ : ๑๐๗)

            บิล เกตส์ (Bill Gates) ใช้เวลาเรียนหนังสือในชั้นเรียนนั่งฝันว่า ทำอย่างไรให้คอมพิวเตอร์อ่านข้อมูลง่ายขึ้นด้วยการสมองซีกขวาจินตนาการถึงภาพของรูปต่างๆ ที่ปรากฏขึ้นบนหน้าจอแบบระบบปฏิบัติการวินโดว์ส (Window) ก่อน แล้วจึงใช้สมองซีกซ้ายค่อยศึกษารายละเอียด ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่นักออกแบบคอมพิวเตอร์ทั่วไปในสมองมีแต่ตัวเลขคิดแบบใช้สมองซีกซ้ายเป็นใหญ่ แต่เมื่อบิล เกตส์ มาคิดโดยใช้สมองซีกขวาเป็นหลัก ทำให้เขากลายเป็นอัจฉริยะทางด้านนี้ทันที มาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) เป็นผู้หนึ่งที่ใช้สมองซีกขวาจินตนาการและใช้สมองซีกซ้ายในการพัฒนาเช่นกัน เขาประสบความสำเร็จอย่างมากมายจากการก่อตั้งและพัฒนาเครือข่ายออนไลน์ (Facebook.com) ขณะที่เขาอายุเพียง ๑๙ ปี และยังเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด (Harvard University) ในขณะนั้น แต่แล้วหลังจากที่เขาเห็นว่าเครือข่ายออนไลน์ (Facebook.com) จะได้รับความนิยมและเป็นที่สนใจจากวัยรุ่น เขาก็ได้หยุดเรียนกลางคัน เพื่อออกมาพัฒนาเว็บไซต์ร่วมกับเพื่อนหลังจากนั้น ๒ ปี เว็บไซต์เฟซบุ๊ก (Facebook) กลายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง และเป็นเครือข่ายออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่มีผู้ใช้บริการไปทั่วโลก จนนิตยสารไทม์ยกย่อง มาร์ค ซัตเกอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) เป็นบุคคลแห่งปี ๒๐๑๐

 

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : พบว่าบทความทางวิชาการนี้ ได้กล่าวถึงสมองกับการใช้สมองของมนุษย์ไว้อย่างละเอียด ทำให้เกิดประโยชน์ต่อวงการศึกษา โดยเฉพาะนิสิตนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่โดยตรง จำเป็นต้องเรียนรู้เรื่องสมองของตนเองเพราะสมองมนุษย์แบ่งออกเป็นสองซีกด้วยแกนเชื่อมสมอง คือ คอร์ปัส แคลโลซัม (Corpus Collosum) เป็นสมองซีกซ้ายและซีกขวา ซึ่งต่างมีบทบาทหน้าที่ต่างกันโดยสมองซีกซ้ายจะมีหน้าที่ในการใช้ภาษา (Language) การคิดเชิงตรรกะ (Logic) การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) ตัวเลข (Numbers) และความมีเหตุผล (Resasoning) ส่วนสมองซีกขวาจะเกี่ยวข้องกับความตระหนักรู้ในตนเอง (Self-Awareness) ความเห็นใจผู้อื่น (Empathy) ความน่าเชื่อถือ (Trust) อารมณ์ (Emotion) การสื่อสารไม่ใช้จิตสำนึก (Nonconscious Communication) ความน่าดึงดูด (Attachment) และการแสดงอารมณ์ออกทางสีหน้า (Recongnition of Emotional Faces) ในขณะที่มนุษย์กำลังคิดสมองสองซีกจะมีการเชื่อมโยงกันการทำงานร่วมกัน เพียงแต่จะมีรูปแบบการประมวลผลต่างกันโดยเซลล์ประสาทเพียงหนึ่งเซลล์ในสมองซีกขวาสามารถสร้างเส้นใยประสาทออกจากตัวเพื่อติดต่อเชื่อมไปยังเซลล์ประสาทอื่นๆ ได้อย่างมากมายมหาศาล ในขณะที่เซลล์ประสาทของสมองซีกซ้ายจะไม่ค่อยเชื่อมโยงกับเซลล์อื่นที่มีหลักทางตรรกะต่างกัน ดังนั้นการคิดจึงไม่ค่อยคิดนอกกรอบและความคิดสร้างสรรค์มักจะไม่เกิดขึ้นในสมองส่วนนี้ แต่จากการศึกษาการทำงานของสมองสองซีกกับความคิดสร้างสรรค์พบว่า ความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นได้จะต้องมีการประสานหน้าที่ร่วมกันของสมองสองซีกโดยเริ่มจากสมองซีกซ้ายคิดแก้ปัญหาด้วยข้อมูลเดิมๆ ที่มีอยู่ เมื่อไม่พบคำตอบที่ต้องการสมองซีกซ้ายและซีกขวาจะเริ่มทำงานร่วมกัน สมองซีกขวาจะคิดค้นหาข้อมูลเก่าๆ ที่ผุดขึ้นมาในสมองซีกซ้ายอย่างมากมาย ในทันทีนั้นเองสมองจะเปลี่ยนจากการไม่สนใจมาเป็นการจดจ่อสนใจในข้อมูลนั้นอย่างรวดเร็วและในเวลาเพียงชั่วแวบสมองจะรวมความคิดเล็กๆ เหล่านั้นเข้าด้วยกันแล้วสังเคราะห์กลายเป็นความคิดใหม่ได้อย่างสร้างสรรค์ ผู้ที่สามารถระดมการใช้สมองทั้งสองซีกทำงานร่วมกันได้มากเท่าใดจะยิ่งมีความคิดสร้างสรรค์ได้เกิดขึ้นมากเท่านั้น และการจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นการทำงานของสมองทั้งสองซีกจะเป็นไปตามทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์ (Gardner) ได้เน้นความสามารถทางปัญญา ๙ ด้านกับการฝึกทักษะสมองซีกซ้ายและซีกขวาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

            ตัวอย่าง กิจกรรมใช้สมองซีกซ้ายและซีกขวา (ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ, ๒๕๕๑ : ๑๑; สม สุจีรา, ๒๕๕๒ : ๖)

            ๑. นักคณิตศาสตร์ระดับสูงและเซียนหมากรุกจะใช้สมองซีกขวาขณะเล่นเกมแต่มือใหม่หัดเล่นจะใช้สมองซีกซ้าย

            ๒. ผู้ถนัดสมองซีกซ้ายชอบเพลงเนื้อร้อง ส่วนผู้ถนัดสมองซีกขวาชอบที่ทำนอง

            ๓. ผู้ถนัดสมองซีกซ้ายจะอ่านคู่มือเมื่อซ่อมหรือติดตั้งอุปกรณ์ ส่วนคนที่ใช้สมองซีกขวาจะลองซ่อมดูก่อน

            ๔. ผู้ที่ใช้สมองซีกซ้ายซื้อหนังสือจะดูสารบัญและเนื้อเรื่อง ส่วนผู้ที่ใช้สมองซีกขวาจะดูรูปเล่มและภาพประกอบ

            ๕. จิตกรชั้นนำได้บันทึกเรื่องแม่สีไว้ในสมองซีกซ้ายเท่ากับคนอื่นๆ แต่สมองซีกขวาสามารถนำมาสร้างสรรค์เป็นภาพวาดต่างๆ ที่งดงาม

            ๖. นักดนตรีมีตัวโน๊ตเพียง ๘ เสียง โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด บันทึกไว้ในสมองซีกซ้าย การร้อยเรียงเป็นทำนองที่ไพเราะเป็นหน้าที่สมองซีกขวา

            กล่าวโดยสรุปหน้าที่ของสมองทั้งสองซีกจะมีความแตกต่างกันโดยสมองซีกซ้ายทำหน้าที่การคิดด้านตรรกะ การวิเคราะห์ การจัดเรียงลำดับ การใช้ภาษาพูด การปฏิบัติงานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ การใช้เหตุผลและการใช้หลักความจริง ส่วนสมองซีกขวาทำหน้าที่การคิดสร้างสรรค์ ความสุนทรียภาพและการใช้สหัชญาณในการหยั่งรู้ สรุปได้ดังภาพ หน้าที่ของสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา

 

                                                                                                                                               

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู            บรรณากร

การพัฒนาหลักสูตรสารพัดข่าวสาร เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดบางขุนเทียนนอก

การพัฒนาหลักสูตรสารพัดข่าวสาร เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ โรงเรียนวัดบางขุนเทียนนอก

ชื่อผู้วิจัย ธิดา  อัคคะการวงศ์
สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน
ปีการศึกษา 2556

สาระโดยย่อ

          การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์การวิจัย  1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรสารพัดข่าวสารเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดบางขุนเทียนนอก     2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดบางขุนเทียนนอก ระหว่างก่อนและหลังการใช้หลักสูตรสารพัดข่าวสาร และ  3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนหลักสูตรสารพัดข่าวสาร

ผู้วิจัยดำเนินการพัฒนาหลักสูตรเป็น 4 ขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 1  การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน

  1. ศึกษาวิเคราะห์นโยบายการจัดการศึกษา  ได้แก่ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553   หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หลักสูตรสถานศึกษา  
  2. ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการจัดทำหลักสูตร เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรให้มีคุณภาพ
  3. ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  โดยนำหลักการ  แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการศึกษา  และจุดมุ่งหมายในการพัฒนาหลักสูตรมาใช้เป็นแนวทางการพัฒนาหลักสูตรที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น
  4. ศึกษาความสำคัญของการคิด  และข้อมูลเกี่ยวกับการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

ขั้นตอนที่ 2  การพัฒนาโครงร่างหลักสูตร

                   ส่วนที่ 1  การสร้างโครงร่างหลักสูตร การกำหนดหลักการ จุดมุ่งหมายของหลักสูตร  มาตรฐานกลุ่มสาระและสาระการเรียนรู้  โครงสร้างเนื้อหา และเวลา  แนวทางการจัดการเรียนรู้  การกำหนดสื่อและแหล่งการเรียนรู้  การวัดและประเมินผล  แผนการจัดการเรียนรู้

                    ส่วนที่ 2 การประเมินโครงร่างหลักสูตร
                    1. จุดประสงค์ในการประเมินโครงร่างหลักสูตรเพื่อประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องของโครงร่างหลักสูตร
                    2. ผู้ประเมิน ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน
                    3.  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสม และความสอดคล้องของโครงร่าง
หลักสูตร
                    4.  การวิเคราะห์ข้อมูล  โดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความสอดคล้อง

ขั้นตอนที่ 3  การทดลองใช้หลักสูตร

          กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนวัดบางขุนเทียนนอก  สำนักงานเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 32 คน  ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556   โดยการสุ่มแบบเจาะจง

          เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่
           1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผนการเรียนรู้  ใช้เวลา 20 ชั่วโมง   
2)
แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
           3)  แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนโดยใช้หลักสูตรสารพัดข่าวสาร

           สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ยร้อยละ และสถิติที ( t-test ) 2 กลุ่มสัมพันธ์กัน

ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตร

          หลังจากนำหลักสูตรไปทดลองใช้ ผู้วิจัยใช้เกณฑ์การพิจารณาประสิทธิผลของหลักสูตร ดังนี้

  1. ผลการทดสอบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนจากการใช้หลักสูตรสารพัดข่าวสาร เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  2. คะแนนเฉลี่ย ผลการทดสอบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 70
  3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนหลักสูตรสารพัดข่าวสาร โดยรวมอยู่ในระดับมาก

ผลการวิจัย

  1. หลักสูตรสารพัดข่าวสาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่พัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบครบถ้วน  ประกอบด้วยหลักการ จุดมุ่งหมายของหลักสูตร มาตรฐานกลุ่มสาระและสาระการเรียนรู้  โครงสร้างเนื้อหาและเวลา  แนวทางการจัดการเรียนรู้  การกำหนดสื่อและแหล่งการเรียนรู้  การวัดและประเมินผล แผนการจัดการเรียนรู้

      แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย 4 ขั้นดังนี้

          1)   ขั้นการกระตุ้นให้คิด
          2)  ขั้นการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร
          3)  ขั้นการฝึกทักษะกระบวนการคิด  ได้แก่ การระบุประเด็นปัญหา การรวบรวมข้อมูล  การใช้เหตุผลในการพิจารณาข้อมูล
การลงความเห็นได้อย่างสมเหตุสมผล
          4)  ขั้นสรุปความคิดเห็นเพื่อการนำไปใช้

  1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดบางขุนเทียนนอก  มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนจากหลักสูตรสารพัดข่าวสาร สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีคะแนนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เฉลี่ยร้อยละ 75.30
  2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดบางขุนเทียนนอก  มีความพึงพอใจต่อหลักสูตรสารพัดข่าวสาร  อยู่ในระดับมากที่สุด

คำสำคัญ :  การพัฒนาหลักสูตรสารพัดข่าวสาร , ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

การพัฒนาสื่อแอนนิเมชั่น ๓ มิติ เรื่องโครงสร้างอะตอม สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป (The Development of ๓D Animation of Atomic Structure for Students of General Science)

แบบฟอร์มสำหรับการนำเสนอบทสรุปผลงานทางวิชาการ

ชื่อผลงานทางวิชาการ :           การพัฒนาสื่อแอนนิเมชั่น ๓ มิติ เรื่องโครงสร้างอะตอม สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป (The Development of ๓D Animation of Atomic Structure for Students of General Science)

ประเภทผลงานทางวิชาการ :     วิจัยเพื่อพัฒนา

ปีที่พิมพ์ :                         พ.ศ. ๒๕๕๙

ข้อมูลเพิ่มเติม :                   สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์การคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ :   นายจิตต์วิสุทธิ์ วิมุตติปัญญา และ นายธีรพัฒน์ จันษร ตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กลุ่มวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อแอนนิเมชั่น ๓ มิติ เรื่อง โครงสร้างอะตอม สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ ๓ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ จำนวน ๓๐ คน ด้วยวิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจ มีความยาก-ง่าย อยู่ระหว่าง ๐.๒๕ – ๐.๖๓ ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง ๐.๔๓ – ๐.๗๕ และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ ๐.๘๒ และแบบวัดความพึงพอใจ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ ๐.๘๗ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้การทดสอบค่าที่ (Dependent-Test)

            ผลการวิจัย พบว่า ผลการเรียนรู้ด้วยการพัฒนาสื่อแอนนิเมชั่น ๓ มิติ เรื่องโครงสร้างอะตอม สำหรับนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไปพบว่าความรู้ความเข้าใจของนักศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

            คำสำคัญ : อะตอม, แอนนิเมชั่น

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : สภาพการจัดการศึกษา มีผลมาจากปัจจัยที่บ่งชี้คุณภาพการจัดการศึกษา จำเป็นต้องมีการพัฒนาและการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การพัฒนากระบวนการการเรียนรู้และการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะด้านการจัดหาสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อนำมาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน การจัดให้มีศูนย์สื่อหรือศูนย์วิชาการของสถานการศึกษา โดยเฉพาะการใช้สื่อและนวัตกรรมการสอนหลายวิธีจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนจะมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ตามความสามารถของแต่ละบุคคล สามารถใช้เรียนได้ทั้งแบบกลุ่มและรายบุคคล

            แอนนิเมชั่น (Animation) ถือได้ว่าเป็นสื่อนวัตกรรมที่มีการพัฒนาด้วยเทคโนโลยีดิจิตอลที่ทันสมัยและอยู่ในความต้องการความสนใจของผู้ใช้มีเดีย ด้วยระบบการสร้างและเทคนิควิธีในรูปแบบภาพสามมิติสมจริงด้วย การทำให้ภาพนิ่งเกิดการเคลื่อนไหว ซึ่งทำให้มีความน่าสนใจมากขึ้นในเด็กและผู้ใหญ่และยังรวมถึงคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งมนุษย์เรามักเลือกที่จะมองรูปภาพหรืออะไรที่มีสีสันก่อนมองเนื้อหาเสมอ แอนนิเมชั่นนั้นได้เข้ามามีบทบาทกับงานหลายๆ ด้าน ซึ่งแต่ละองค์การ/หน่วยงานก็นำไปประยุกต์ใช้ในงานหลายๆ ประเภท และในการจัดทำสื่อการเรียนรู้การสอนก็ได้หันมาใช้งานแอนนิเมชั่นในการผลิตมากขึ้น งานด้านแอนนิเมชั่นจึงเป็นงานที่มีคุณค่าและต้องอาศัยความสามารถในการผลิตและไม่แปลกที่เราจะนำแอนนิเมชั่นมีมากมาย เช่น สามารถสื่อความหมายให้เข้าใจได้ง่าย ใช้แอนนิเมชั่นในการช่วยจดจำและดึงดูดความสนใจ แอนนิเมชั่นสามารถอธิบายเรื่องราวที่ซับซ้อน เข้าใจยากให้เราเข้าใจได้ง่ายขึ้นเพราะสื่อแอนนิเมชั่นมีความน่ารักสดใสในตัวของมันเองอยู่แล้ว มีทั้งภาพ เสียง เป็นองค์ประกอบหลัก โดยมีการใส่ตัวหนังสือเข้าไปเพื่อส่งเสริมทักษะ ทั้งด้านการฟัง การอ่านและการมองเห็นภาพไปพร้อมๆ กัน

            ดังนั้นการพัฒนาสื่อแอนนิเมชั่น ๓ มิติ เรื่อง โครงสร้างอะตอม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารให้เกิดภาพอุดมคติและความรู้ ความเข้าใจยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้เรียนสูงขึ้นตลอดทั้งสามารถอธิบายและประยุกต์ความรู้ไปใช้ประกอบการทดลองและประดิษฐ์ที่จะเกี่ยวข้องกับการเรียนเรื่องโครงสร้างอะตอม โดยบูรณาการและเชื่อมโยงกับเนื้อหาอื่นได้อย่างมีความหมาย วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อพัฒนาสื่อแอนนิเมชั่น ๓ มิติ เรื่องโครงสร้างอะตอมเป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น (Pre-Experimental Design) ใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียว สอบก่อนสอบหลัง (One Group Pretest-posttest Design) ประชากรได้แก่ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ จำนวน ๓๐ คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงและใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดี่ยวทดสอบ ก่อน-หลัง

            เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจ มีความยาก-ง่าย อยู่ระหว่าง ๐.๒๕ – ๐.๖๓ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง ๐.๔๓ – ๐.๗๕ และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ ๐.๘๒ และแบบวัดความพึงพอใจมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ ๐.๘๗ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้การทดสอบค่าที่ (Dependen T-Test) นำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการพัฒนาสื่อแอนนิเมชั่น ๓ มิติ เรื่องโครงสร้างอะตอมสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาจิตวิทยาศาสตร์ทั่วไป ไปทดลองใช้กับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ เริ่มต้นด้วยการออกแบบการจัดกิจกรรมตามรูปแบบ / จัดหา สื่อ วัสดุอุปกรณ์และแหล่งการเรียนรู้ หากประสิทธิภาพสร้างเครื่องมือวัดและประเมินพฤติกรรมในการเรียนรู้ดำเนินการจัดกิจกรรมตามขั้นตอนดังนี้

            ขั้นที่ ๑ สร้างความพร้อมทางจิตใจด้วยการปฏิบัติสมาธิ

            ขั้นที่ ๒ การแสดงความคิดเห็นร่วมกัน

            ขั้นที่ ๓ การอภิปราย

            ขั้นที่ ๔ การเสริมแรง

            ขั้นที่ ๕ วัดและประเมินผล

จุดเด่นของการวิจัยเรื่อง การพัฒนาสื่อแอนนิเมชั่น ๓ มิติ :  เรื่องโครงสร้างอะตอมสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป สำหรับผลการจัดการเรียนรู้ด้วยการพัฒนาสื่อแอนนิเมชั่น ๓ มิติ ฯลฯ นี้ พบว่า ความรู้ความเข้าใจของนักศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

            จากการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาสาขาฟิสิกส์ เปรียบเทียบปีการศึกษา ๒๕๕๖ และ ๒๕๕๗ คณะครุศาสตร์ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ๖๐ เปอร์เซ็นต์ ร้อยละ ๗๐ ของนักศึกษาที่เรียนวิชาแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเป็นปัญหาสำหรับนักศึกษาทุกปีที่มีการเรียนรู้ในเรื่องดังกล่าว ทำการวิเคราะห์สภาพปัจจัยที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่าสื่อมีผลสำคัญต่อการจัดการเรียนที่จะทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่เสมือนจริง ดังตาราง

            ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การพัฒนาสื่อแอนนิเมชั่น ๓ มิติ เรื่องโครงสร้างอะตอม

*p<.05

            ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อด้วยการพัฒนาสื่อแอนนิเมชั่น ๓ มิติ เรื่องโครงสร้างอะตอม พบว่าความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 

            การอภิปรายผล เป็นการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนได้เรียนรู้จากสื่อดิจิตอลที่สามารถเข้าใจและเกิดจินตนาการจากการเรียนรู้สิ่งที่มองไม่เห็นให้สามารถสื่ออกมาเป็นภาพและการเคลื่อนไหวได้

           

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : จากผลการวิจัย สามารถนำข้อเสนอแนะจากผู้ดำเนินการวิจัย จะได้นำไปใช้ประกอบการศึกษาเกี่ยวกับการวิจัยการจัดการเรียนการสอน อาทิเช่น

            ๑. เนื่องจากผลการวิจัย การจัดการเรียนรู้ด้วยการพัฒนาสื่อแอนนิเมชั่น ๓ มิติ เรื่องโครงสร้างอะตอม ทำให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจที่มากขึ้นและยังสามารถอธิบายปรากฏการณ์อะตอมในแต่ละระดับขั้นพลังงานได้อย่างถูกต้องและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น มีนัยสำคัญทางสถิติ

            ๒. ควรมีการศึกษาความรู้พื้นฐานของผู้เรียนแต่ละคน ก่อนที่จะเรียนรู้โครงสร้างอะตอมเพื่อสามารถเชื่อมโยงความรู้และบรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้

            ๓. ควรมีการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ด้วยการพัฒนาสื่อแอนนิเมชั่น ๓ มิติ เรื่องโครงสร้างอะตอม เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและเสริมสร้างการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

                                                                                                                                               

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู            บรรณากร

จิตวิทยาบุคลิกภาพและการปรับตัว

แบบฟอร์มสำหรับการนำเสนอบทสรุปผลงานทางวิชาการ

ชื่อผลงานทางวิชาการ :           จิตวิทยาบุคลิกภาพและการปรับตัว

ประเภทผลงานทางวิชาการ :     หนังสือประกอบวิชาจิตวิทยาบุคลิกภาพและการปรับตัว

ปีที่พิมพ์ :                         พ.ศ. ๒๕๕๙

ข้อมูลเพิ่มเติม :                   สาขาวิชาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ :   นางสาวปัญจนาฎ วรวัฒนชัย ตำแหน่งทางวิชาการ รองศาสตราจารย์ สาขาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจของผลงานทางวิชาการ : หนังสือจิตวิทยาบุคลิกภาพและการปรับตัวเล่มนี้มีความน่าสนใจหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีเนื้อหาความน่าสนใจแตกต่างกัน ได้แก่

            ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบุคลิกภาพ ลักษณะและองค์ประกอบทั่วไป ปัจจัยที่มีอิทธิพลและประโยชน์ของการศึกษาบุคลิกภาพ ทฤษฎีบุคลิกภาพแนวคิดจิตวิเคราะห์ของซิกมันต์ ฟรอยด์ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของจุง ทฤษฎีบุคลิกภาพแนวคิดกลุ่มฟรอยด์ใหม่ของแอตเลอร์ ทฤษฎีสัมพันธ์ภาพระหว่างบุคคลของวัลลิแวน ทฤษฎีความต้องการของคาเรน ฮอร์นาย ทฤษฎีบุคลิกภาพแนวคิดมนุษย์นิยมของมาสโลว์และโรเจอร์ ทฤษฎีบุคลิกภาพแนวคิดพฤติกรรมนิยมของสกินเนอร์ ทฤษฎีบุคลิกภาพแนวคิดลักษณะนิสัยของกอร์ดอน          ออลพอร์ตและแคทเทลล์ และทฤษฎีบุคลิกภาพแนวคิดปัญญานิยมของแคลลี่ การวัดบุคลิกภาพ การพัฒนาบุคลิกภาพ การปรับตัว กลวิธานในการปรับตัว ลักษณะของการปรับตัว พฤติกรรมที่เป็นปัญหาและความสัมพันธ์ของบุคลิกภาพกับสังคมและวัฒนธรรม

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : หนังสือจิตวิทยาบุคลิกภาพและการปรับตัว ประกอบด้วยสาระสำคัญๆ หลายสาระ ซึ่งแต่ละสาระสามารถนำไปใช้ได้ทุกสถานการณ์ ได้แก่

            บุคลิกภาพ หมายถึง ลักษณะโดยส่วนรวมของบุคคล ซึ่งประกอบด้วย ลักษณะภายนอก ได้แก่ รูปร่าง หน้าตา กิริยา ท่าทางและลักษณะภายใน ได้แก่ นิสัย ใจคอความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม อารมณ์ ซึ่งเป็นตัวกำหนดรูปแบบของพฤติกรรมแสดงออกจนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีผลทำให้เป็นคุณลักษณะ เอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล ซึ่งแสดงต่อสิ่งแวดล้อมที่ตนกำลังเผชิญอยู่แตกต่างกัน

            บุคลิกภาพมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในสังคม ปัจจุบันมากจากประเด็นต่อไปนี้

            ๑. ด้านกายภาพ

            ๒. ด้านสมอง

            ๓. ด้านความสามารถ

            ๔. ด้านความประพฤติ

            ๕. ด้านสังคม

            ๖. ด้านอารมณ์

            ทฤษฎีบุคลิกภาพ แนวคิดจิตวิเคราะห์ดั้งเดิม ประกอบด้วยทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของซิกมันด์ ฟรอยด์ มีแนวคิดว่าพฤติกรรมส่วนใหญ่ของมนุษย์มีแรงจูงใจมาจากจิตไร้สำนึก จะผลักดันออกมาในรูปความฝัน การพูดพลั้งปากหรืออาการผิดปกติทางด้านจิตใจในด้านต่างๆ เช่น โรคจิต โรคประสาท เป็นต้น จะแสดงออกมาในรูปแบบสัญชาตญาณทาเพศ แต่ไม่ได้หมายความต้องการทางเพศ

            ในส่วนการทำงานของจิตได้แบ่งการทำงานของจิตมนุษย์เป็น ๓ ระดับ คือ จิตสำนึก จิตก่อนสำนึก จิตไร้สำนึก สำหรับโครงสร้างบุคลิกภาพ (Structure of Personality) ประกอบด้วย ๓ ส่วน คือ อิด (Id) อีโก้ (Ego) และซุปเปอร์อีโก้ (Superego) ทั้ง ๓ ส่วนจะทำงานกลมกลืนประสานกันทำให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีความสุข

            ทฤษฎีจิตวิทยาปัจเจกบุคคลของแอดเลอร์ มีแนวคิดว่ามนุษย์มีลักษณะที่แบ่งแยกไม่ได้ เรียกว่าสามารถเลือกแบบแผนของชีวิตและพบว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมความอ่อนแอ สภาพร่างกายไม่แข็งแรงเป็นสภาวะนำไปสู่ความรู้สึก (Filling)  ของปมด้อย ผลตามมาคือ การป้องกันตนเองและพึงพาผู้อื่นประสบการณ์ที่เด็กได้รับแบ่งเป็น ๓ ลักษณะ คือ

            ๑. เด็กที่เลี้ยงดูแบบตามใจ (Spoiled Child)

            ๒. เด็กถูกทอดทิ้ง (Neglected Child)

            ๓. เด็กที่ได้รับความรักความอบอุ่นอย่างสมบูรณ์ (Warm Child)

            ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของวัลลิแวน เกิดจากแนวคิดที่ว่าบุคลิกภาพของมนุษย์มีผลมาจากสัมพันธภาพระหว่างบุคคลและมนุษย์ภายใต้อิทธิพลของความสัมพันธ์กับผู้อื่น ตั้งแต่แรกเกิดจนวาระสุดท้ายของชีวิต สังคมมีส่วนสำคัญต่อการสร้างบุคลิกภาพ สัมพันธ์ภาพระหว่างบุคคลในสังคมเป็นแรงจูงใจบุคคลเกิดพฤติกรรมขึ้นเป็นความมั่นคงและสัมพันธ์ภาพระหว่างบุคคลที่ดี เพื่อสุขภาพจิตสังคมสมบูรณ์ การมีสัมพันธ์ภาพระหว่างบุคคลที่ไม่ดีจะก่อให้เกิดปัญหามากมาย อันเป็นผลมาจากการขาดความพึงพอใจ การเกิดมโนภาพของบุคลิกภาพเกิดจากกระบวนการจากภาพบุคคล (Personification) ภาพพจน์ (Stereo Type) กระสวนการอบรมสั่งสอน (Supervisory Pattern) ระบบตัวงาน (Self System) พัฒนาการบุคลิกภาพ (Development of Personality) มี ๗ ขั้นตอน คือ วัยทารก วัยเด็กตอนต้น วัยเด็กตอนกลาง วัยเริ่มย่างเข้าสู่วับรุ่น วัยรุ่นตอนต้น วัยรุ่นตอนปลายและวัยผู้ใหญ่  

            ทฤษฎีความต้องการของคาเรน ฮอร์นาย แนวคิดของทฤษฎีมนุษย์ต้องการใฝ่สัมพันธ์และการยอมรับยกย่องความต้องการที่ไม่แยกแยะการที่ทำให้ผู้อื่นพอใจและให้เขายอมรับตนเอง ความต้องการคู่และต้องการให้มีผู้ที่ดูแลคุ้มครองตน ต้องการความรัก ความพยายามแก้ปัญหาความสับสนในมนุษย์สัมพันธ์ทำให้เกิดความต้องการเหล่านี้มีลักษณะ “ประสาทไม่ปกติ” เพราะว่ามิได้เป็นการแก้ปัญหาถูกจุด มีความต้องการ ๑๐ ประการ คือ ความต้องการผูกรักและความต้องการยอมรับ ความต้องการคนคู่ชีพ ความต้องการเป็นคนสมถะมักน้อย ความต้องการอำนาจ ความต้องการทำลายผู้อื่น ความต้องการมีภูมิฐาน ฯลฯ

            ทฤษฎีบุคลิกภาพแนวคิดมนุษยนิยมของมาสโลว์ เกิดจากแนวคิดที่ว่ามนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้นและต้องการที่จะรู้จักตนเอง และพัฒนาตนเอง เป็นการเข้าถึงความต้องการพื้นฐานของมนุษย์และตอบสนองความต้องการพื้นฐาน ลำดับความต้องการของมนุษย์ ๕ ประการ ได้แก่

            ๑. ความต้องการพื้นฐานทางสรีระ

            ๒. ความต้องการความปลอดภัย

            ๓. ความต้องการความรักและเป็นเจ้าของ

            ๔. ความต้องการเกียรติยศชื่อเสียง

            ๕. ความต้องการความสมหวังในชีวิต

            ทฤษฎีมนุษยนิยมของคาร์โรเจอร์ แนวคิดของทฤษฎีผสมผสานกับปรัชญา ทฤษฎีและเทคนิคการทำจิตบำบัดแบบผู้รับ การบำบัดเป็นศูนย์กลาง มนุษย์มีธรรมชาติมีแรงจูงใจในด้านบวกเป็นผู้มีเหตุผล สามารถได้รับการขัดเกลา สามารถตัดสินใจเลือกวิถีชีวิตของตนเองได้ ถ้าอิสระเพียงพอและมีบรรยากาศเอื้ออำนวยให้นำไปสู่การพัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ (Full Potential) และพัฒนาไปสู่ทิศทางที่เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละบุคคลอันจะนำไปสู่การตระหนักรู้ในตนเองอย่างแท้จริง

            ทฤษฎีบุคลิกภาพแนวคิดพฤติกรรมนิยมเป็นทฤษฎีการเรียนรู้แบบลงมือกระทำของสกินเนอร์ เกิดจากแนวคิดที่ว่าการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้นจำกัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อยของมนุษย์ พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง สิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อน (Antecedent – พฤติกรรม Behavior) – ผลที่ได้รับ (Conseguence) เรียกย่อๆ ว่า A – B – C จะดำเนินต่อเนื่องไป ผลที่ได้รับจะกลายเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อนอันนำไปสู่การเกิดพฤติกรรมและนำไปสู่ผลที่ได้รับ

การทำให้ผู้ทำพฤติกรรมเกิดความพึงพอใจเมื่อทำพฤติกรรมใดพฤติกกรมหนึ่งแล้ว เพื่อให้ทำพฤติกรรมซ้ำๆ ต้องใช้การเสริมแรง ซึ่งมี ๒ ชนิด คือ ส่งเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcer) เช่น อาการ กับสิ่งเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcer) เช่น การที่นักเรียนกลัวว่าจะถูกครูดุ เนื่องจากทำการบ้านไม่เสร็จ จึงต้องทำให้เสร็จเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกดุ

            ทฤษฎีบุคลิกภาพแนวคิดลักษณะนิสัยของกอร์ดอน ออลพอร์ต แนวคิดเกิดจากความเชื่อว่าบุคลิกภาพของบุคคลเกิดจากกระบวนการทำงานของอุปนิสัยในตัวบุคคลสะท้อนออกมาในรูปของพฤติกรรมภายนอก ซึ่งเป็นอุปนิสัยของแต่ละคนที่มีระดับที่แตกต่างกัน จึงทำให้แต่ละคนมีบุคลิกภาพแตกต่างกันไป บุคลิกภาพจะทำหน้าที่เหมือนตัวประสานระหว่างร่างกายกับจิตใจในการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม เหมือนบุคลิกภาพจำทำหน้าที่สำคัญ คือ แสดงออกให้เห็นถึงความสามารถในการปรับตัวของบุคคลต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะโครงสร้างบุคลิกภาพถูกกำหนดจากอุปนิสัยหรือเป็นการทำงานของอุปนิสัยซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงบุคคลได้เท่าๆ ความคิดของบุคคล ทำให้เข้าใจถึงและกระบวนการทำงานของอุปนิสัยต่างๆ ชัดเจน ขั้นตอนในการพัฒนาบุคลิกภาพมี ๕ ขั้นตอน คือ

            ๑. วัยเริ่มแรกของทารก

๒. วัยเริ่มแรกของตัวตน

๓. ระยะ ๔ – ๖ ขวบ

๔. ระยะ ๖ – ๑๒ ปี

๕. ระยะวัยรุ่น

            สำหรับการพัฒนาการของบุคลิกภาพที่สมบูรณ์ ได้แก่ พัฒนาการทางบุคลิกภาพที่มีวุฒิภาวะ การพัฒนาความรู้สึกเป็นเจ้าของ การพัฒนาการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคลอื่น ยอมรับตนเอง รับรู้ตามความเป็นจริงและมองตนเองด้วยสายตาเป็นกลาง

            ทฤษฎีการวิเคราะห์องค์ประกอบแคทเทลลส์ เกิดจากแนวคิดความเชื่อว่าถ้ารู้ลักษณะ อุปนิสัยหลักๆ ของคนใดคนหนึ่งแล้วก็สามารถเข้าใจหรือทำนายลักษณะนิสัยใจคอของบุคคลนั้นได้อย่างค่อนข้างเม่นยำ ลักษณะอุปนิสัยของบุคคลมีทั้งส่วนที่เป็นลักษณะอุปนิสัยร่วมและโดเด่นเฉพาะตัวบุคคล ซึ่งสามารถจำแนกประเภทลักษณะอุปนิสัยออกเป็นหลายแนวทาง ได้แก่ ลักษณะอุปนิสัยดั้งเดิมและลักษณะนิสัยพื้นผิว ลักษณะอุปนิสัยที่เป็นผลมาจากพันธุกรรมและลักษณะนิสัยที่เป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อม ลักษณะอุปนิสัยด้านความสามารถ ด้านอารมณ์และด้านพลังพลวัตรและลักษณะอุปนิสัยร่วมและลักษณะอุปนิสัยเฉพาะตัวบุคคล

            ทฤษฎีบุคลิกภาพแนวคิดปัญญานิยมแบบบุคคลของเคลลี่ เกิดจากแนวคิดมนุษย์ทุกคนสามารถปรับเปลี่ยนแปลงการตีความเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ เพราะคนทุกคนเป็นนักวิทยาศาสตร์ เช่น เมื่อมีเหตุการณ์ทำให้เราเสียขวัญ เราก็พยายามประพฤติตัวที่จะป้องกันตนเอง ถ้าทำได้ก็จะนำวิธีนั้นมาใช้ต่อไป ในความเป็นจริงการวิเคราะห์ผลจากแบบทดสอบ Rep Test ค่อนข้างซับซ้อนเพราะต้องวิเคราะห์ความแตกต่างและประเภทของรูปแบบของแต่ละคน

แสดงรูปแบบที่สำคัญของบุคคล

จุดเด่น / ความน่าสนใจของผลงานทางวิชาการ : หนังสือวิชาการเล่มนี้มีจุดเด่นน่าสนใจหลายจุด แต่ละจุดสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ทุกวิชาชีพ อาทิเช่น

            จุดเด่นที่ ๑ ลักษณะทั่วไปของบุคลิกภาพ ซึ่งในความหมายของบุคลิกภาพ เป็นสิ่งที่ทำให้มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว เป็นวิถีแทนความคิดและการกระทำ สามารถสร้างความรู้สึกต่อผู้พบเห็นว่าชอบหรือไม่ชอบ หรือเกิดความรู้สึกต่อคนคนนั้น ทำให้คนเกิดความรู้สึกทางใจหรืออารมณ์ โดยเฉพาะบุคคลจะมีลักษณะทั่วไปของบุคลิกภาพ ดังนี้

                        ๑.๑ บุคลิกภาพทางร่างกาย (Psysical Personality)

                        ๑.๒ บุคลิกภาพทางจิตใจ (Psychological Personality)

                        ๑.๓ บุคลิกภาพทางความสามารถ (Capibility personality)

                        ๑.๔ บุคลิกภาพทางจริยธรรม (Ethical Personality)

                        ๑.๕ บุคลิกภาพทางสังคม (Social Personality)

                        ๑.๖ บุคลิกภาพทางใจและอารมณ์ (Mental and Emotional Personality)

                        ๑.๗ บุคลิกภาพทางกำลังใจ (Morale Personality)

            องค์ประกอบของบุคลิกภาพ แบ่งออกเป็น ๗ ลักษณะ คือ ทางด้านความสนใจ เจตคติ ความต้องการ ความถนัด อารมณ์ สรีรวิทยา ลักษณะภายนอกและแนวโน้มความผิดปกติทางจิต ทั้ง ๗ ประการนี้จะพิจารณาตามเกณฑ์และต้องทำงานประสานกัน

            ก. ลักษณะทางร่างกายและอารมณ์

            ข. เชาวน์ปัญญาและความสามารถอื่น

            ค. เจตคติทางสังคม

            ง. แรงจูงใจ

            จ. ลักษณะการแสดงออก

            ฉ. แนวโน้มของความผิดปกติทางจิต

            บุคลิกภาพจะดีขึ้นได้นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัย ดังนี้คือ ปัจจัยทางด้านพันธุกรรม เช่น ลักษณะกาย ความผิดปกติทางจิตและความผิดปกติของโครโมโซม เป็นต้น

            สิ่งแวดล้อม (Environment) มีบทบาทสำคัญต่อบุคลิกภาพอย่างยิ่งเป็นการกำหนดบุคลิกภาพของคนเราในอนาคตได้แก่ การศึกษา ประสบการณ์ สภาพแวดล้อมของดินฟ้าอากาศและสุขภาพอนามัย เป็นต้น

            บุคลิกภาพเป็นลักษณะโดยรวมของบุคลิกภาพมีความแตกต่างกัน คือ ความแตกต่างทางกาย ทางอารมณ์ ทางสังคม ทางสติปัญญาหรือสมอง ทางเพศและด้านความคิด ความถนัด

            จุดเด่นที่ ๒ ลักษณะบุคลิกภาพที่ดีมีดังนี้ คือ ท่าทางง่างาม สุขภาพดี ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมและสังคมได้ทุกกาลเทศะ มีเหตุผล สุขุม อดทน กล้าตัดสินใจ ฯลฯ เป็นต้น บุคลิกภาพที่ดี ใช้คำว่า สัปปุริสธรรม หมายถึง ธรรมะที่ทำให้เป็นสัตบุรุษหรือธรรมะของผู้ดี ซึ่งมีองค์ประกอบ ๗ ข้อ คือ

            ๑. อัตตัญญาตา               คือ รู้จักตน

            ๒. ธัมมัญญตา               คือ รู้จักเกณฑ์

            ๓. อัตถัญญตา                คือ รู้จักผล รู้ความหมาย

            ๔. มัตตัญญุตา                คือ รู้จักประมาณ

            ๕. กาลัญญุตา                คือ รู้จักเวลา

            ๖. ปริสัญญุตา                คือ รู้จักชุมชน รู้จักคิด

            ๗. ปุคคลปโรปรัญญุตา    คือ รู้จักบุคคล รู้จักธรรมชาติของมนุษย์

            จุดเด่นที่ ๓ พัฒนาการทางบุคลิกภาพ มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่นไปสู่วัยผู้ใหญ่ การเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมจะช่วยบุคคลพัฒนาทักษะต่างๆ แบ่งเป็น ๕ ขั้นใหญ่ๆ ได้แก่ ขั้นปาก (Oral Stage) ขั้นทวารหนัก (Anal Stage) ขั้นอวัยวะเพศขั้นต้น (Phallic Stage) ขั้นแฝงเร้น (Latency Stage) และขั้นความพอใจอยู่ที่เพศตรงข้าม (Genital Stage)

            กลวิธีในการป้องกันตนเอง เป็นลักษณะการตอบสนองที่ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันตนจากเหตุการณ์ที่เราไม่ต้องการที่จะเกี่ยวข้องด้วย โดยบุคคลจะสร้างกลวิธานในการป้องกันตนเองซึ่งเกิดจากสาเหตุสำคัญ ๒ ประการ คือ

            ๑. บุคคลมีความวิตกกังวลสูงมากในเรื่องใดเรื่องหนึ่งและอีโก้ (Ego) หาวิธีลดหรือแก้ไขไม่ได้ด้วยวิธีการที่มีเหตุผล

            ๒. อีโก้ (Ego) ไม่สามารถประนีประนอมแรงขับระหว่างความต้องการของอิส (Id) และแรงหักห้ามของซุปเปอร์อีโก้ (Superego) ได้อีโก้ (Ego) จึงตกอยู่ในภาวะตึงเครียด จึงจำเป็นต้องหาวิธีการลดความตึงเครียด จึงจำเป็นต้องหาวิธีการลดความตึงเครียด

            จุดเด่นที่ ๔ ขั้นตอนการพัฒนาบุคลิกภาพ (Stage of Personality Development) หลักการเบื้องต้นของการพัฒนาตน (Basic Concept of Development) ของมนุษย์มีลักษณะ ๓ ประการ ดังนี้

            ๑. เป้าหมายของการพัฒนาการทำให้พัฒนาไม่หยุดยั้ง

            ๒. อดีตกับอนาคต มาพิจารณาร่วมกัน

            ๓. พันธุกรรม เป็นพื้นฐานของสัญชาตญาณทางชีวภาพ ทำหน้าที่สืบเผ่าพันธุ์

            การพัฒนาการของบุคคล มี ๔ ขั้นตอน คือ

            ๑. ระยะแรกเกิด – ๕ ขวบ เป็นระยะแรกของชีวิตที่พลังเพศ (Libido) จะครอบคลุมหรือทำกิจกรรมต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการมีชีวิตอยู่

            ๒. วัยรุ่น เป็นวัยที่กำลังมีความสามารถ มีกำลังความคิดมีความกระตือรือร้นและความขยันขันแข็งในกิจกรรมต่างๆ มีแรงกระตุ้นมีพลังในการกระทำต่างๆ เต็มไปด้วยความมีชีวิตชีวา แต่เป็นระยะที่ยังพึงพาผู้อื่นอยู่เป็นช่วงที่กำลังเรียนรู้ในเรื่องอาชีพ การแต่งงานและการสร้างคนเพื่อให้มีชีวิตอยู่ในสังคม

            ๓. วัยผู้ใหญ่ตอนต้น เป็นระยะการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น มีความสนใจใหม่ๆ เกิดขึ้นและก็มักเป็นความสนใจในเรื่องของวัฒนธรรมต่างๆ

            ๔. วัยกลางคน เป็นระยะที่บุคคลที่ต้องการอิสระ ซึ่งอาจจะเก็บตัวมากขึ้น มีค่านิยมในเรื่องการทำประโยชน์ต่อสังคม สนใจศาสนา ปรัชญา ความเป็นพลเมืองดี มักจะเปลี่ยนแปลงเป็นผู้มีจิตใจต่อผู้อื่น มีคุณธรรมและมนุษยธรรม เป็นต้น

            จุดเด่นที่ ๕ คุณลักษณะของผู้ที่มีความเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง (Characteristics of Self Actualizing People) การเข้าใจตนเองมี ๑๕ ข้อ ดังนี้

            ๑. มีความสามารถที่จะรับรู้ในความเป็นจริงอย่างถูกต้อง

            ๒. ยอมรับในตนเอง ยอมรับผู้อื่นและยอมรับธรรมชาติ

            ๓. มีความคล่องตัว มีความเป็นธรรมชาติโดยไม่เสแสร้ง

            ๔. ใช้ปัญหาเป็นศูนย์กลาง

            ๕. มีความสันโดษ

            ๖. เป็นตัวของตัวเองมีอิสระจากวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม

            ๗. มีความรู้สึกชื่นชมยินดีอยู่เสมอ

            ๘. มีความรู้สึกล้ำลึกกับธรรมชาติ

            ๙. สนใจสังคม

            ๑๐. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

            ๑๑. มีความเป็นประชาธิปไตย

            ๑๒. มีความแตกต่างระหว่างวิธีการและเป้าประสงค์

            ๑๓. มีอารมณ์ขันอย่างมีสันติ

๑๔. มีความสามารถในการสร้างสรรค์

๑๕. การต่อต้านวัฒนธรรมภายนอกที่ขัดแย้งกับวัฒนธรรมภายในตน

           

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : ประโยชน์ของการศึกษาบุคลิกภาคการศึกษาบุคลิกภาพทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้มีความสนใจที่จะศึกษา เพื่อนำมาพิจารณาบุคลิกภาพของตนเองควรทำดังนี้

            ๑. ใช้การคัดเลือกบุคคลให้เหมาะสมกับงาน โดยใช้แบบทดสอบความถนัดทางอาชีพ ความสนใจในอาชีพ บุคลิกภาพ ค่านิยมและลักษณะพฤติกรรม

            ๒. การเสริมสร้างความเข้าใจในบุคลิกภาพลักษณะและบุคลิกลักษณะของกันและกัน โดยการฝึกอบรมสัมมนา การจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อเรียนรู้พฤติกรรมของบุคคล การเปลี่ยนแปลงทัศนคติต่อเพื่อร่วมงาน เพื่อให้เกิดการยอมรับในคุณค่าของคนในองค์การ

            ๓. การพัฒนาพฤติกรรมที่น่าปรารถนา เช่น บุคลากรจะต้องมุ่งมั่นในความสำเร็จ มีความรับผิดชอบเปิดใจกว้าง กล้าคัดค้านในสิ่งผิด มีความซื่อสัตย์ กล้าแสดงออก มีความคิดสร้างสรรค์ ให้ความร่วมมือทำงานเป็นทีม เป็นต้น

            การศึกษาบุคลิกภาพ ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวันของบุคคลทั่วไป ให้มีความสามารถในการรับรู้และเข้าใจ ในสภาพความเป็นจริงได้อย่างถูกต้อง

            แรงจูงใจระดับสูงเสมือนสัญชาติญาณหรือเป็นสิ่งที่ติดตัวมาแต่กำเนิด เช่นเดียวกับแรงจูงใจเบื้องต้น ถ้าได้รับการตอบสนองจนเกิดความพึงพอใจก็จะรักษาสภาพและพัฒนาให้เกิดสุขภาพจิตที่ดี หรืออาจกล่าวได้ว่าบุคคลอาจเกิดความเจ็บป่วยบ่อยทางจิต (Psachologically Sick) เป็นความเจ็บป่วยที่เป็นผลมาจากความล้มเหลวในการบรรลุถึงความสมบูรณ์หรือความเจริญก้าวหน้าความเจ็บป่วย “Metapathologies” ซึ่งเป็นสภาพของจิตใจที่มีอาการเฉยเมย (Apathy) มีความผิดปกติทางจิต (Alienation) เศร้าซึม (Depress) เป็นต้น ความคับข้องใจของแรงจูงใจระดับสูงและความเจ็บป่วยทางจิตได้แสดงไว้ในตารางต่อไปนี้

สาเหตุพฤติกรรมที่มีปัญหา มักเป็นจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่วัยทารกและวัยเด็ก พฤติกรรมนั้นก็จะสืบเนื่องต่อไปจนกระทั่งถึงวัยผู้ใหญ่ พฤติกรรมที่เป็นปัญหา มี

๑. เกิดจากปัญหาทางด้านร่างกาย  

๒. เกิดปัญหาทางสติปัญญา

๓. เกิดจากปัญหาทางอารมณ์

๔. เกิดจากปัญหาทางครอบครัว

๕. เกิดจากปัญหาทางสังคม

๖. เกิดจากปัญหาสื่อมวลชน

๗. เกิดจากตนเอง

การสังเกตพฤติกรรมที่เป็นปัญหา มีหลายด้านทั้งที่เกิดจากสภาพร่างกายของบุคคลและสิ่งแวดล้อมรอบข้างเป็นตัวชักนำ ซึ่งจะเป็นปัญหาที่สำคัญต่อบุคคลในการแก้ไขให้สามารถปรับตัวอยู่ในกลุ่มสังคมได้อย่างปกติสุข

ประเภทของพฤติกรรมที่เป็นปัญหามีหลายลักษณะด้วยกัน เช่น พฤติกรรมการติดยาเสพติดของวัยรุ่น ในเรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติที่ทุกฝ่ายต้องมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขเนื่องจากมีผลกระทบต่อทุกคนในสังคม อาทิเช่น ลักษณะของผู้เสพยาเสพติด อายุระหว่าง ๑๙-๒๐ ปี ระยะเวลาการเสพ ๑-๕ ปี ระดับการศึกษากำลังศึกษาอยู่ระดับ ปวส. และลักษณะการเลี้ยงดูตามใจมีอิสระหรือบริบทครอบครัวเป็นครอบครัวแตกแยก อยากรู้อยากลอง ฯลฯ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีพฤติกรรมการติดเกมของเด็ก พฤติกรรมทางเพศไม่เหมาะสมของวัยรุ่น ฯลฯ เป็นต้น

                                                                                                                                               

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู            บรรณากร

ทฤษฎีการเกิดความคิดสร้างสรรค์เชิงจิตวิเคราะห์

แบบฟอร์มสำหรับการนำเสนอบทสรุปผลงานทางวิชาการ

 

ชื่อผลงานทางวิชาการ :           ทฤษฎีการเกิดความคิดสร้างสรรค์เชิงจิตวิเคราะห์

ประเภทผลงานทางวิชาการ :     บทความทางวิชาการ

ปีที่พิมพ์ :                         พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๐

ข้อมูลเพิ่มเติม :                   สาขาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ลงวารสารครุศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑ ISNN : ๑๙๐๖-๑๑๗x

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ :   นางสาวปัญจนาฎ วรวัฒนชัย ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ สาขาวิชาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจของผลงานทางวิชาการ : นักจิตวิทยาได้มีการนำแนวคิดทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanlysis Theory) ของซิกมันต์ ฟรอยด์มาอธิบายการเกิดความคิดสร้างสรรค์เชิงจิตวิเคราะห์ด้วยกระบวนการทางจิตเกี่ยวกับการทำงานของจิตไร้สำนึก (Unconscious Mind) ซึ่งอยู่ภายใต้สัญชาตญาณแห่งการมีชีวิต (Life Instincts) และสัญชาตญาณแห่งความตาย (Death Instincts) จะปลดปล่อยพลังออกมาโดยเฉพาะพลังลิปิโด (Libido) ที่เกิดจากแรงขับทางเพศ (Sex Drive) จากสัญชาตญาณแห่งการมีชีวิตซึ่งไม่เป็นที่ปรารถนาของสังคม จึงต้องปรับตัวด้วยการทดเทิด (Sullimation) เพื่อชดเชยความรู้สึกที่เก็บกดในจิตไร้สำนึกให้สังคมยอมรับได้ จึงเกิดเป็นความคิดสร้างสรรค์

            แนวความคิดทั่วไปของทฤษฎีจิตวิเคราะห์

            บุคคลสำคัญผู้นำแนวคิดนี้ คือ ซิกมัน ฟรอยด์ (Sigmund Freud) เป็นผู้ก่อกำเนิดทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis Theory) ได้กล่าวเอาไว้ว่า พฤติกรรมส่วนใหญ่ของมนุษย์มีแรงจูงใจมาจากจิตไร้สำนึก (Unconscious Motivation) เป็นสาเหตุสำคัญของพฤติกรรมและอิทธิพลต่อบุคลิกภาพของมนุษย์และมีสัญชาตญาณติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด ซึ่งจะผลักดันออกมาในรูปความฝัน การพูดพลั้งปาก หรืออาการผิดปกติทางด้านจิตใจในด้านต่างๆ เช่น โรคจิต และโรคประสาท เป็นต้น นอกจากนั้นยังได้ศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ว่า มนุษย์เกิดมาพร้อมกับแรงขับทางสัญชาตญาณ (Instinctual Drive) และเป็นพลังงานที่สามารถเปลี่ยนแปลงเคลื่อนที่ได้ ด้วยเหตุนี้จิตไร้สำนึกจึงเป็นพลังงานรูปหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงและไม่หยุดนิ่งแต่จะแสดงออกมาในรูปแบบของสัญชาตญาณทางเพศ (Sexual Instinct) ซึ่งไม่ได้หมายถึงความต้องการทางเพศ (วิจิตพาณี เจริญขวัญ ,๒๕๕๒ : ๖๒-๖๓) ด้วยเหตุนี้การทำงานของจิตไร้สำนึกจะทำให้เกิดการกระตุ้นบุคคลออกไปตามความพึงพอใจของตน จิตไร้สำนึกจึงเป็นบ่อเกิดที่ยิ่งใหญ่ของพลังงานที่กำเนิดและกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์

            การทำงานของจิตไร้สำนึกใช้กระบวนการปฐมภูมิ (Primary Process) เป็นกระบวนการคิดที่ไม่มีความเป็นเหตุเป็นผลจึงเป็นการคิดแบบเด็กทารกไม่คำนึงถึงเวลา สถานที่ และความเป็นจริง แสดงออกเพื่อให้เกิดความพึงพอใจสูงสุดตามหลักการแสวงหาความสุข (Pleasure Principle) ตัวอย่างกระบวนการคิดแบบนี้ เช่น ความฝัน การนอนละเมอ และการเผลอพลั้งปาก เป็นต้น การแสดงออกเช่นนี้ย่อมทำให้พฤติกรรมของมนุษย์ไม่เป็นที่ยอมรับได้ จึงต้องอาศัยกระบวนการทุติยภูมิ (Secondary Process) เป็นกระบวนการคิดในระดับจิตสำนึก (Conscious) และระดับจิตก่อนสำนึก (Preconscious) เป็นกระบวนการคิดที่เราใช้ในชีวิตประจำวันอยู่ภายใต้หลักความเป็นจริง (Reality Principle) ยึดความถูกต้องเป็นเหตุเป็นผล (ณรงค์ฤทธิ์ สุริยะ, ๒๕๔๙ : ๑๔-๑๕)

            นอกจากนี้ฟรอยด์ (Freud) ยังได้วิเคราะห์โครสร้างของบุคลิกภาพภายใต้การทำงานของจิตมนุษย์ ๓ ส่วน ที่เรียกว่า อิด (Id)  อีโก้ (Ego) ซุปเปอร์อีโก้ (Superego) ซึ่งมีลักษณะดังนี้ (William,๒๐๑๔ : ๑-๓)

            ๑. อิด (Id)  เป็นส่วนพื้นฐานที่ติดตัวมากำเนิดและอยู่ภายใต้จิตไร้สำนึก (Unconscious) และไม่ได้มีการติดต่อกับโลกความจริง จึงเป็นส่วนที่ไม่มีเหตุผล (Irrational) ทำงานตอบสนองสัญชาตญาณตามหลักความพอใจ (Pleasure Principle) เท่านั้น

            ๒. อีโก้ (Ego) เป็นส่วนที่พัฒนามาจากอิดเนื่องจากตั้งแต่วัยทารกมนุษย์เริ่มตระหนักว่าไม่สามารถทำอะไรได้ตามความพอใจได้ทุกอย่างในโลกแห่งความจริง อีโก้ต้องทำหน้าที่รับรู้และตอบสนองตามความจริงที่ได้รับจากโลกภายนอก โดยมีการตอบสนองหรือแสดงออกที่เหมาะสมตามสภาพความเป็นจริงที่เราเป็นอยู่ ด้วยเหตุนี้ระบบการทำงานของอีโก้จึงอยู่ในกระบวนการขั้นทุติย

            ๓. ซุปเปอร์อีโก้ (Superego) เป็นตัวแทนภายในของมโนธรรม คุณธรรมและความคิดของสังคม ซุปเปอร์อีโก้ แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนของมโนธรรม (Conscience) เป็นผลมาจากค่านิยมที่พ่อแม่ถ่ายทอดให้ลูกว่าสิ่งใดดีควรประพฤติปฏิบัติอย่างไร และส่วนของอุดมคติของอีโก้ (Ego-Ideal) พัฒนามาจากการเอาแบบอย่าง (Identification) จากบุคคลที่เคารพรัก เช่น พ่อแม่และบุคคลใกล้ชิด ทำให้เด็กรับรู้ว่าสิ่งใดควรประพฤติปฏิบัติ

            จะเห็นได้ว่าแนวคิดทฤษฎีจิตวิเคราะห์เน้นความสำคัญในเรื่องจิตไร้สำนึก ซึ่งเชื่อว่าเป็นเหตุจูงใจให้มนุษย์มีพฤติกรรมแทบทุกอย่างจะเห็นได้ว่าการทำงานของจิตทั้ง ๓ ระดับ และฟรอยด์ เป็นคนแรกที่ได้ให้ความคิดเกี่ยวกับแรงผลักดันจิตไร้สำนึก (Unconscious Drive) หรือแรงจูงใจไร้สำนึก (Unconscious Motivation) ว่าเป็นสาเหตุสำคัญของพฤติกรรมและมีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพของมนุษย์และมีสัญชาตญาณติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด

 

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ :

การเกิดความคิดสร้างสรรค์ตามแนวเชิงจิตวิเคราะห์

            ฟรอยด์ กล่าวว่า มนุษย์มีสัญชาตญาณพื้นฐานที่สำคัญ คือ สัญชาตญาณแห่งการมีชีวิต (Life Instincts) เป็นแรงขับทางเพศ (Sexual Drive) หรือความรัก (Eros) เป็นพลังชีวิตซึ่งมีคำที่เรียกพลังการแสดงออกนี้ว่า ลิบิโด (Libido) และสัญชาตญาณแห่งความตาย (Death Instincts) เป็นแรงขับทางก้าวร้าว (Aggression) ความพินาศหรือความตาย (Thanatos) สำหรับแรงขับของความก้าวร้าวไม่มีคำเฉพาะเรียกในส่วนของลิบิโด (Libido) ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และมีภาวะของการเพิ่มขึ้นของความตึงเครียดและในส่วนแรงขับความก้าวร้าว (Thanatos) มีการเคลื่อนไหวสู่สภาวะสมดุล มีการกำจัดของความตึงเครียดทั้งหมด ด้วยเหตุนี้มนุษย์ทุกคนจะถูกกระตุ้นให้ขับเคลื่อนเพื่อเกิดความสมดุลของพลังทั้งสองแรง ขับพื้นฐานทั้งสองมีจุดเริ่มต้นจากโครงสร้างบุคลิกภาพส่วนที่เรียกว่า อิด ซึ่งอยู่ในจิตไร้สำนึก แต่ถูกควบคุมด้วย อีโก้ (Ego) ทำงานภายใต้จิตสำนึก (Conscious) ด้วยการใช้กลวิธานป้องกันตนเองที่เรียกว่า การทดเทิด (Sublimation) เพื่อแสดงออกให้สังคมยอมรับได้ ผู้เขียนสรุปไว้ ดังภาพ ระดับจิตมนุษย์ของฟรอยด์

 

            จากภาพระดับจิตมนุษย์ของฟรอยด์ จะเห็นได้ว่า กาทดเทิด (Sublimation) จะเป็นกลไกป้องกันตนเอง เพื่อชดเชยความรู้สึกที่เก็บกดในจิตไร้สำนึกที่แสดงออกมาไม่ได้ ศิลปินจึงใช้งานศิลปะเป็นกลไกป้องกันตนเอง การสร้างงานศิลปะเป็นการทำตามที่ใจตนเองปรารถนาแต่อยู่ภายใต้หลักการความเป็นจริงหรือข้อห้ามตามกฎของศีลธรรมอันดี ศิลปะจึงเป็นการแสดงออกเพื่อจัดการกับแรงกดดันภายในจิตต่างๆ เพื่อทำงานตามจินตนาการด้วยการทดเทิดซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งที่สังคมยอมรับ จากความฝันปละการจินตนาการสามารถนำสู่สาธารณะให้ได้ชื่นชมกัน

            การทดเทิดกับความคิดสร้างสรรค์

            จากการศึกษาของฟรอยด์ (Freud) เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ได้ให้ข้อคิดว่า ความคิดสร้างสรรค์เกิดจากการใช้กลวิธานในการป้องกันตนเอง (Defense Mechanism) ในส่วนของโครงสร้างบุคลิกภาพอีโก้ (Ego) ที่คอยควบคุมและปรับให้แรงขับทางเพศ คือ ลิบิโด (Libido) แสดงออกด้วยการปรับตัวแบบทดเทิด ซึ่งการปรับตัวในลักษณะนี้เป็นการใช้กระบวนการทุติยภูมิในระดับจิตสำนึก (Conscious) ยึดความถูกต้อง (Reality) ของบุคคลเพื่อทดเทิดแรงขับทางเพศ (Sexual Drive) และความปรารถนาที่จะมีความสุข (Pleasure) ในระดับจิตไร้สำนึกทำงานในขั้นปฐมภูมิ (Primary Process) จะอยู่เบื้องหลังความฝันและการจินตนาการของมนุษย์เช่นเดียวกับซัลวาโน (Slvano, ๒๐๐๗ : ออนไลน์) มีความเห็นสอดคล้องกับฟรอยด์ (Freud) ว่า กระบวนการความคิดสร้างสรรค์จะเกี่ยวข้องกับการรวมตัวกันระหว่างกระบวนการปฐมและกระบวนการทุติยภูมิ เพื่อสังเคราะห์สิ่งมหัศจรรย์และเขาเสริมว่ากระบวนการสหัชญาณ (Intuitive Processes) เป็นการหยั่งรู้โดยสัญชาตญาณเปรียบได้กับกระบวนการปฐมภูมิและกระบวนการทางปัญญา (Intellectual Process) เปรียบได้กับกระบวนการทุติยภูมิ

            นอกจากนี้แรงจูงใจของมนุษย์ทุกคนมีเป้าหมายอยู่ที่มีการเพิ่มความพึงพอใจของความต้องการตามสัญชาตญาณโดยเฉพาะอย่างยวดยิ่งความต้องการทางเพศและความก้าวร้าว แต่การปรับตัวด้วยการทดเทิด จะเป็นการเปลี่ยนแปลงของแรงขับที่ไม่พึงประสงค์หรือไม่เหมาะสมไปสู่กิจกรรมที่มีประโยชน์ในรูปแบบของกลวิธานการป้องกันตนเองเพื่อเบี่ยงเบนพลังงานจากการแสวงหาความสุขที่ไม่สามารถบรรลุได้หรือถูกห้ามเพราะความไม่ถูกต้องตามหลักศีลธรรมให้ได้รับการยอมรับจากสังคม ด้วยเหตุนี้คุณสมบัติของการทดเทิด จากจิตสำนึกจึงเป็นกลไกการเกิดของความคิดสร้างสรรค์ ผู้เขียนสรุปไว้ดังภาพ การทดเทิดกับการคิดสร้างสรรค์

 

 

กลวิธานป้องกันตนเอง (Defense Mechanism) การทดเทิด

(Sublimation) เกิดความคิดสร้างสรรค์

ภาพ การทดเทิดกับความคิดสร้างสรรค์

 

            จากภาพ การทดเทิดกับความคิดสร้างสรรค์จะเห็นได้ว่าแรงขับทางเพศของพลังลิบิโด (Libido) ทำงานภายใต้หลักความสุข (Pleasure Principle) ผ่านกระบวนการปฐมภูมิ (Primary Process) นับเป็นบ่อเกิดของความคิดสร้างสรรค์เพราะพฤติกรรมที่ผ่านกระบวนการนี้ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมจึงต้องอาศัยกระบวนการทุติยภูมิ เพื่อเปลี่ยนพลังลิบิโดให้สอดคล้องตามวัฒนธรรมที่ดีงามของสังคมด้วยรูปแบบการทดเทิดทำให้บุคคลสามารถแสดงความรู้สึกของความต้องการทางเพศออกมาในรูปผลงานทางศิลปะ วรรณกรรม และกิจกรรมอื่นๆ ดังเช่น ศิลปินจะใช้การทดเทิดเป็นกลไกป้องกันตนเองเพื่อชดเชยความรู้สึกที่เก็บกดในจิตไร้สำนึกที่แสดงออกมาไม่ได้ การสร้างงานศิลปะจึงเป็นการทำตามที่ใจตนเองปรารถนาแต่อยู่ภายใต้หลักการความเป็นจริงหรือข้อห้ามตามกฎของศีลธรรมอันดี งานศิลปะจึงเป็นการแสดงออกเพื่อจัดการกับแรงกดดันภายในจิตต่างๆ ได้ทำงานตามจินตนาการด้วยการทดเทิดซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งที่สังคมยอมรับ เพื่อนำความฝันและจินตนาการการออกสู่สาธารณะให้ได้ชื่นชมกัน

            รูปแบบลิบิโดกับความคิดสร้างสรรค์

            ฟรอยด์ ยอมรับว่า จากประสบการณ์รักษาคนไข้ทางคลินิกของเขาทำให้เห็นความสำคัญของเรื่องเพศเพิ่มมากขึ้น เพราะอิทธิพลต่อพฤติกรรมการแสดงออกทางบุคลิกภาพของมนุษย์ ลิบิโด มีอยู่ ๓ ชนิด มีแหล่งกำเนิดต่างกันและมีชื่อเรียกต่างกัน ดังนี้ (James and Rudolph, ๑๙๖๒ : ๕๙๓ ; วนิช สุธารัตน์ , ๒๕๔๗ : ๑๘๖-๑๘๘)

            ๑. ลิบิโดแห่งความรัก (Erotic Type)

            ลิบิโดชนิดนี้แหล่งกำเนิดมาจากอิด ซึ่งเป็นส่วนที่ค่อนข้างใหญ่ที่สุดของลิบิโด (Libido) จะแสดงออกทางความรักเป็นสิ่งสำคัญ เป็นพลังผลักดันทำให้บุคคลสนใจแต่เฉพาะเรื่องความรัก และอยากให้ผู้อื่นรักตนเองกลัวการสูญเสียความรัก ดังนั้นการแสดงออกในเรื่องของความรักและความต้องการทางเพศจึงมักจะค่อนข้างรุนแรง ปราศจากความยับยั้งชั่งใจ จนบางครั้งเป็นความก้าวร้าว (Aggressive)

            ๒. ลิบิโดแห่งความหลงใหล (Obsessional Type)

            ลิบิโดชนิดนี้มีกำเนิดมาจาดซุปเปอร์อีโก้ ที่แยกออกจากอีโก้เพราะถูกกดดัน ลักษณะของผู้มีลิบิโดชนิดนี้เด่นจะมีจิตสำนึกหวาดกลัวที่จะสูญเสียความรักจึงกล้าแสดงออกด้วยการพึ่งพาสิ่งภายนอก ทำให้มีความศรัทธา เลื่อมใสหลงใหลในสิ่งต่างๆ แต่มีความเชื่อมั่นในตนเองค่อนข้างมาก ซึ่งอาจจะกลายเป็นความยึดมั่นถือมั่นและหลงใหลในเรื่องบางเรื่องอย่างรุนแรงบุคคลพวกนี้จะรู้สึกหวั่นไหวต่อเรื่องคุณธรรมจริยธรรมมากกว่าการกลัวว่าใครจะรักหรือไม่รัก อย่างไรก็ตามลิบิโดชนิดนี้มีพลังผลักดันทางเพศอยู่เบื้องหลัง

            ๓. ลิบิโดแห่งความหลงรักตนเอง (Narcissistic Type)

            ลิบิโดชนิดนี้แหล่งกำเนิดส่วนใหญ่มาจากอีโก้ (Ego) เป็นประสบการณ์ทางอารมณ์ของบุคคลเพื่อเอาชนะอุปสรรคที่มากระทบ ด้วยความมุ่งมั่นปกป้องรักษาตนเองเพื่อรักษาจิตไร้สำนึกให้คงเดิม ทำให้บุคคลเห็นแก่ตนเอง มีความกระตือรือร้น ก้าวร้าว และลักษณะเป็นผู้นำ ดังนั้นการแสดงออกทั้งหลายตามที่กล่าวมาจึงจัดอยู่ในระดับที่สังคมสามารถยอมรับได้

            รูปแบบของลิบิโดที่กล่าวมาทั้ง ๓ ชนิด อาจผสมผสานกันได้ ถ้าลิบิโดสองชนิดสามารถรวมกันเรียกว่าลิบิโดชนิดผสม (Mixed Type) ได้แก่ (๑) การผสมผสานของลิบิโดแห่งความรักกับลิบิโดแห่งความหลงใหล (Eeotic Obsessional) (๒) การผสมผสานลิบิโดแห่งความหลงรักตนเองกับลิบิโดแห่งความหลงใหล (Narcissistic Obsessionsl) และ (๓) การผสมผสานลิบิโดแห่งความรักกับลิบิโดแห่งความหลงรักตนเอง (Erotic Narcissistic)

            การผสมผสานของลิบิโดที่มีความสำคัญ คือ ลิบิโดแห่งความรักกับลิบิโดแห่งความหลงรักตนเอง (Erotic-Narcissistic) เป็นรูปแบบที่มีคุณค่ามากที่สุดเพราะเชื่อมโยงระหว่างคุณธรรมจริยธรรมกับสังคมอย่างสร้างสรรค์ก่อให้เกิดผลงานทั้งศิลปะ วิทยาศาสตร์ และสิ่งประดิษฐ์ที่มีคุณค่าต่อมวลมนุษยชาติ ดังนั้นลิบิโดแห่งความหลงรักตนเอง (Narcissistic Type) ซึ่งมีตำแหน่งอยู่ในส่วนจิตสำนึก (Conscious) จึงเป็นศูนย์กลางของการเกิดความคิดสร้างสรรค์เพราะลิบิโดชนิดนี้สามารถที่จะรวมกับลิบิโดที่อยู่ในจิตใจส่วนของจิตสำนึก (Conscious) ด้วยกัน คือ ลิบิโดแห่งความหลงใหล (Obsessional Type) ขณะเดียวกันก็สามารถจะเปลี่ยนรูปมาจากลิบิโดที่มาจากจิตไร้สำนึก คือ ลิบิโดแห่งความรัก (Erotic Type) ก็ได้ แต่ไม่ว่าจะเกิดการรวมกันหรือเกิดการเปลี่ยนรูปก็ตามเป็นการใช้กลวิธานป้องกันตนเอง คือ การทดเทิด เท่านั้น ผลที่เกิดขึ้น คือ ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งแสดงออกมาในรูปที่มีประโยชน์ มีคุณค่าสร้างสังคม (วนิช สุธารัตน์, ๒๕๔๗ : ๑๘๘-๑๘๙) ผู้เขียนได้สร้างกรอบของการผสมผสานลิบิโด ดังภาพ การผสมผสานลิบิโด

 

            จากภาพ การผสมผสานลิบิโด (Libido) จะเห็นได้ว่าต้นกำเนิดของความคิดสร้างสรรค์ตามแนวคิดการเกิดความคิดสร้างสรรค์เชิงจิตวิเคราะห์ คือ เกิดจากการผสมผสานของลิบิโดแห่งความศรัทธาหลงใหล (Obsessional Type) กับลิบิโดแห่งความหลงรักตนเอง (Narcissistic Type) และความคิดสร้างสรรค์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงรูปของลิบิโดแห่งความรัก (Erotic Type) ที่เกิดจากความต้องการทางเพศไปเป็นลิบิโดแห่งความหลงรักตนเอง (Narcissistic Type)

 

จุดเด่น / ความน่าสนใจของเนื้อหาในบทความ :  กรณีตัวอย่างบุคคลสำคัญที่เกิดความคิดสร้างสรรค์ตามแนวคิดเชิงจิตวิเคราะห์

            ฟรอยด์ (Freud) ได้กล่าวว่าผลงานของศิลปินที่ยิ่งใหญ่ทุกคนล้วนเกิดจากกลไกทางจิตในระดับจิตไร้สำนึกที่นำเสนอออกมาเป็นผลงานสร้างสรรค์ที่งดงาม เขาได้เสนอกรณีศึกษาศิลปินชื่อดังเจ้าของผลงานภาพวาด “โมนาลิซ่า” คือ ลีโอนาโด ดา วินชี่ (Leonardo Da Vinci) ซึ่งเป็นศิลปินวาดภาพ นักประดิษฐ์และนักวิทยาศาสตร์ที่มีชีวิตอยู่ในยุคเรอแนสซองส์ (Renaissance) ช่วง ค.ศ. ๑๔๕๒ – ๑๕๑๙

            ฟรอยด์ ได้เขียนเรื่องน่าประทับใจเกี่ยวกับดาวินชี่ ในปี ค.ศ. ๑๙๑๐ ในชื่อว่า “ลีโอนาโด ดาวินชี่ : ความทรงจำในวัยเด็ก” (Leonardo da Vinci and A Memory of His Childhood) งานเขียนของฟรอยด์เป็นที่น่าทึ่งเพราะเป็นการวิเคราะห์ศิลปินในยุคเรอแนสซองซ์ของท่านนี้ด้วยทฤษฎีทางจิตวิทยาเป็นคนแรกด้วยการเชื่อมโยงระหว่างจิตใจภายในของดาวินชี่กับบทบาทความเป็นศิลปินของเขาจากภาพวาดมาริซ่า (Monna Lisa) และภาพวาดเซนแอน และมาดอนนากับเด็ก (Sant’Anna and the Madonna with the Child) เพื่อเป็นการวิเคราะห์ชีวิตในวัยเด็กของดาวินชี่และจากการศึกษาชีวิตในวัยเด็กของดาวินชี่ เขาเป็นลูกนอกสมรสที่มีความทรงจำในวัยเด็กที่มีแต่ความวิตกกังวลและซึ่งฟรอยด์ พบว่า ดาวินชี่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ (Homosexual) ทำให้ต้องเก็บกดและอดกลั้นมาตลอดชีวิต การเก็บกดทางเพศตั้งแต่ในวัยเด็กของเขาเกิดจากปมอีดีปุส (Oedipus Cpmplex) ในช่วงวัย ๓ – ๕ ขวบ ที่ไม่สามารถพัฒนาเทียบบทบาทความเป็นชายจากบิดาได้จึงทำให้ดาวินชี่ไม่สามารถก้าวข้ามปมนี้ได้เกิดการตราตรึงในใจเพราะประสบการณ์อบรมเลี้ยงดูของมารดาด้วยความรักและความโอนโยนทำให้เขาซึมซับลักษณะนิสัยความเป็นหญิงจากมารดาเป็นเหตุให้เขาต้องปรับตัวแบบทดเทิดเพื่อสนองพลังผลักดันทางเพศที่เรียกว่า ลิบิโด (Libido) ซึ่งเขารู้ว่าพลังด้านนี้จะไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมจึงเป็นความกดดันที่กลายเป็นแรงขับให้แสดงออกมาในงานศิลปะตอบสนองความสุขในจิตไร้สำนึก บุคคลที่มีชื่อเสียงทางศิลปะและวิทยาศาสตร์มีความคิดสร้างสรรค์ด้วยพลังผลักดันทางเพศที่เรียกว่า ลิบิโด อยู่ในตัวเกือบทุกคน (Ruwan, ๒๐๑๕ : online cited from Freund, ๑๙๑๐)

            ฟรอยด์ได้พิจารณาการเก็บกด (Repression) และการทดเทิด (Sublimation) ร่วมกันพบว่า การทดเทิดเป็นทางออกของการเก็บกดเพื่อแสดงออกในสิ่งที่ปรารถนาแต่ต้องให้สังคมยอมรับได้ และด้วยผลงานทางด้านศิลปะเองสามารถถือเป็นกลวิธานป้องกันของศิลปินเพราะเป็นการเติมเต็มความปรารถนาหรือพึงพอใจในการจินตนาการของเขาโดยปฏิเสธความจริงหรือสิ่งที่ต้องห้ามผิดหลักศีลธรรม (Ken,๒๐๐๙ : ๔๒)

            สรุป ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์เชิงจิตวิเคราะห์นั้นเห็นว่า ความคิดสร้างสรรค์เกิดจากความขัดแย้งระหว่างแรงขับทางเพศ ซึ่งถูกผลักดันออกมาโดยจิตไร้สำนึก (Unconscious) กับความรู้สึกผิดชอบชั่วดีในสังคม ดังนั้นเพื่อให้แรงขับทางเพศ (Sex Drive) ได้เสนอออกมาในรูปแบบพฤติกรรมที่สังคมยอมรับได้จึงเปลี่ยนเป็นความคิดสร้างสรรค์ ฟรอยด์ (Freud) ยังให้ทรรศนะเพิ่มเติมว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นลักษณะของความร่าเริง แจ่มใส ผ่อนคลาย อิสระหรือลักษณะของความเป็นเด็ก ซึ่งบริสุทธิ์เป็นธรรมชาติเป็นไปตามสภาพที่แท้จริงไม่เสแสร้งหรือปรุงแต่งและมีความคิดแจ่มใส บริสุทธิ์ สนุกสนาน ไม่มียึดติดต่อสิ่งใดและไม่เคร่งเครียด

 

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : บทความทางวิชาการ เรื่องทฤษฎีการเกิดความคิดสร้างสรรค์ เชิงจิตวิเคราะห์ มีเนื้อหาและแนวคิดทางด้านจิตวิทยาที่สามารถนำไปใช้กับกลุ่มงานอื่นๆ ได้ทุกสายงาน อาทิเช่น

คำสำคัญ : การเกิดความคิดสร้างสรรค์ การทดเทิดกับความคิดสร้างสรรค์

            แนวคิดทฤษฎีการเกิดความคิดสร้างสรรค์มาจากนักจิตวิทยาหลายคนได้พยายามศึกษาค้นหาคำตอบว่า ความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นได้อย่างไร อะไรเป็นสาเหตุมีกลไกและส่วนประกอบอะไรบ้างและแต่ละส่วนนั้นทำหน้าที่อย่างไร ดังเช่น ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์เชิงจิตวิเคราะห์ ซึ่งทฤษฎีนี้มีแนวคิดที่พยายามอธิบายการเกิดความคิดสร้างสรรค์ตามแนวทางของตนเองที่มีความแตกต่างกันไป การทำความเข้าใจการเกิดความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละแนวคิดจะได้รับความรู้และมีมุมมองกว้างมากขึ้นสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์แก่ผู้เรียนได้

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู            บรรณากร

ก้าวล้ำงานวิจัย ก้าวไปด้วย STEM ในศตวรรษที่ ๒๑ (Research Progressive with STEM for the  Century)

แบบฟอร์มสำหรับการนำเสนอบทสรุปผลงานทางวิชาการ

 

ชื่อผลงานทางวิชาการ :                ก้าวล้ำงานวิจัย ก้าวไปด้วย STEM ในศตวรรษที่ ๒๑ (Research Progressive with STEM for the  Century)

ประเภทผลงานทางวิชาการ :          งานวิจัยทางวิชาการ

ปีที่พิมพ์ :                                      พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๐

 ข้อมูลเพิ่มเติม :                             สาขาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ :       นายจิตต์วิสุทธิ์ วิมุตติปัญญา ตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์  สาขาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจของผลงานทางวิชาการ : การวิจัยเรื่องก้าวล้ำงานวิจัย ก้าวไปด้วย STEM ในศตวรรษที่ ๒๑ มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบการสร้างเมล็ดพันธุ์ของแผ่นดินด้วยรูปแบบ STEM ในศตวรรษที่ ๒๑ พลิกมุมมองการแก้ปัญหาด้วยศาสตร์แห่งธรรมชาติโน้มสู่การสร้างแรงบันดาลใจด้วยนฤมิตรกรรมอิทัปปัจจยตามบนฐานอุดมคติการเรียนรู้แห่งนิรันทร์ วิธีการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย ๒ ตอน คือ ตอนที่ ๑ เอกสารการจัดกิจกรรมด้วย STEM ในศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการวิเคราะห์เอกสารงานวิจัยและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องและหาค่าเที่ยง (IOC) โดยใช้ผู้ทรงคุณวุฒิ ๓ ท่าน ตรวจคุณภาพของเครื่องมือ มีค่าเท่ากับ ๑.๐๐ และตอนที่ ๒ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบที่สร้างขึ้น หาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย

            ๑. แบบทดสอบค่า IOC = ๑.๐๐ ค่าความเชื่อมั่น = .๘๗ ค่าความยาก-ง่าย เท่ากับ .๕๒ ค่าอำนาจจำแนก = .๗๒

๒. แบบวัดความพึงพอใจ มีค่า IOC = ๑.๐๐ ค่าอำนาจจำแนก = .๖๘

๓. แบบประเมินนวัตกรรม (STEM Education) มีค่า IOC = ๑.๐๐

            กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ ๒ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยการเลือกตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) ใช้วิธีการเลือกกลุ่มสี่ขั้น (Four – Stage Cluster Sampling) วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสัมประสิทธิ์ของการกระจาย (C.V.)

            การศึกษาด้านศาสตร์ทางฟิสิกส์ตามทฤษฎีของบิกแบง กล่าวเมื่อหมื่นกว่าล้านปี เกิดแรงระเบิดขนาดมหึมาที่เหวี่ยงดวงดาวสาดกระจายแผ่ออกจากกันอยู่บนแรงโน้มถ่วงของกฎแห่งเอกภาพ ซึ่งมีความซับซ้อนและทับกันของคลื่นตามหลักกลศาสตร์ควอนตัม เกิดสสาร ก๊าช ฝุ่นและวิวัฒนาการจนกระทั้งเกิดมาเป็นมนุษย์ เมื่อสี่ล้านปีบนดาวเคราะห์ดวงนี้ โลกสีน้ำเงิน ๔,๖๐๐ ล้านปี ก่อเกิดการสืบทอดบรรพบุรุษชั่วยุคสมัยแผ่ขยายอาณานิคมปกคลุมทั่วโลกใบนี้ มนุษย์ใช้มันสมองที่ประสานศาสตร์แห่งธรรมชาติเข้าสู่การประยุกต์และถอดรหัสเพื่อการดำรงอยู่อย่างเข้าใจโลก ซึ่งศาสตร์แห่งการปฏิวัติความคิดของมนุษย์คือ กฎที่ตายแล้ว คือ คณิตศาสตร์ฟิสิกส์และนวัตกรรมแห่งเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างขึ้น (STEM)

 

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : STEM ศึกษาเป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่มีการบูรณาการ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมและคณิตศาสตร์ โดยที่การจัดการเรียนรู้แนวทาง STEM ศึกษาจะต้องมีการบูรณาการพฤติกรรมที่ต้องการหรือคาดหวังให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนเข้ากับการเรียนรู้เนื้อหาด้วย ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้รวมถึงการกระตุ้นให้เกิดความสนใจในการสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบ การคิดอย่างมีเหตุผลในเชิงตรรกะ รวมถึงทักษะของการเรียนรู้หรือการทำงานแบบร่วมมือ ดังนั้นจะพบว่า STEM ศึกษาไม่ใช่เรื่องใหม่ เพียงแต่เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและกระบวนการทางวิศวกรรมศาสตร์ ทั้งนี้เพื่อที่มุ่งเน้นให้สามารถนำความรู้ ทักษะและประสบการณ์จากการเรียนรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริงเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพในอนาคตและการจัดการเรียนรู้ที่ผู้สอนควรจะต้องมุ่งเน้นทักษะให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน คือ การถดถอยความรู้ที่เป็นกฎธรรมชาติเพื่อเข้าใจสาระถูกหรือผิดการสอน STEM ต้องเรียนรู้สาระวิชาที่ถูกต้องก่อนจึงจะประยุกต์แก้ปัญหาด้วยปัญหาได้ เมื่อผู้เรียนเข้าใจกฎธรรมชาติ เข้าใจการเกิดและการดับ เหตุและผล ย่อมเข้าใจปฎิจจสมุปปบาทและกฎแห่งอิทิปัจยตา เพื่อการนำพาทักษะ (๗c) ที่สำคัญเหล่านี้ไปใช้ในชีวิตจริงและเตรียมพร้อมสู่ยุคดิจิตอลภายใต้พลวัตที่แปรเปลี่ยนอย่างยวดยิ่ง

            แนวทางอุดมคติของหัวใจความเป็นครูว่า STEM ศึกษา คือ บทเรียนของชีวิตที่ต้องฝ่าฟันและเอาชนะปัญหาที่ถาโถมเข้ามาตั้งแต่เกิดจนเติบโตและเรียนรู้การลองผิดลองถูก จนเกิดเป็นองค์ความรู้ที่มีความหมายสำหรับชีวิต ซึ่งไม่ใช่แค่การผสมวิธีสองสามวิธีแต่เป็นการบูรณาการศาสตร์ทั้งแผ่นดินทั้งจิตวิญญาณเพื่อการสร้างความรู้ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และการประเมินค่า ด้วยวิวัฒนาการและการปรับเปลี่ยนทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นตลอดเวลา นั้นคือมนุษย์ต้องเอาตัวให้รอดไม่เฉพาะการสร้างโลกใบนี้ด้วยวัตถุนานา เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์และการแก้ปัญหาที่เป็นผลมาจากการสร้างดังกล่าว

            ดังนั้นจะต้องเตรียมแผนการที่จะรับมือกับมหันตภัยแห่งธรรมชาติ วิกฤติที่สร้างความทุกข์ น้ำตา ปัญหาและการทำลายล้างของภัยพิบัติของโลก ท้ายที่สุดการจะสร้างผู้เรียนให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์สู่ดวงดาวจะต้องสร้างพลังทางความคิด สร้างแรงบันดาลใจ สร้างจินตนาการ โดยใช้กฎของธรรมชาติผสานกับเทคโนโลยี การเรียนรู้จะฝึกทักษะสมองการแก้ปัญหาและถอดรหัสเพื่อความรู้อันแท้จริงสู่การดำรงชีวิตและสร้างโลกใบนี้ด้วย STEM ได้อย่างมีความสุข

 

จุดเด่นของการวิจัย : ปรากฏว่าวัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นจุดเด่น ได้แก่

๑. เพื่อสร้างเอกสารการจัดกิจกรรมด้วย STEM ในศตวรรษที่ ๒๑

๒. เพื่อส่งเสริมและสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียนด้วยพฤติกรรมสู่อิทัปปัจจัยตาบนอุดมคติการเรียนรู้แห่งนิรันทร์ (Pernnialism)

วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น ๒ ตอนดังนี้

            ตอนที่ ๑ เป็นการสร้างเอกสารการจัดกิจกรรมด้วย STEM ในศตวรรษที่ ๒๑ ดำเนินการวิเคราะห์เอกสารงานวิจัยและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศและหาความเสี่ยง (IOC) โดยใช้ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน ๑ ท่าน ตรวจคุณภาพของเครื่องมือมีค่าเท่ากับ ๑.๐๐

            ตอนที่ ๒ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น หาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบ แบบทดสอบ ค่า IOC = ๑.๐๐ ค่าความเชื่อมั่น = .๘๗ ค่าความยากง่าย = .๕๒ ค่าอำนาจจำแนก = .๗๒ แบบวัดความพึงพอใจมีค่า IOC = ๑.๐๐ ค่าอำนาจจำแนก = .๖๘ แบบประเมินนวัตกรรม (STEM Education) มีค่า IOC = ๑.๐๐ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๘ คณะครุศาสตร์ โดยเลือกตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) โดยเลือกกลุ่มสี่ขั้น (Four-Stage Cluster Sampling) ได้ ๕๕ คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสัมประสิทธิ์ของการกระจาย (C.V.) ผลของการวิจัยพบว่า

            ๑. เอกสารการจัดกิจกรรมด้วย STEM ในศตวรรษที่ ๒๑ ประกอบด้วย KM PBL RBL และ BBL มีความเที่ยง = ๑.๐๐

            ๒. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย STEM ในศตวรรษที่ ๒๑ พบว่า ความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = ๑๘.๙๔) (S.D = ๐.๖๕) ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = ๔.๘๒, S.D. = ๐.๔๖) และสัมประสิทธิ์ของการกระจาย ซึ่งแสดงถึงคุณภาพของนวัตกรรมที่นักศึกษานำเสนอ (STEM Education) อยู่ในระดับดี (C.V. = ๔.๐๐)

            สำหรับส่วนการอภิปรายผลของงานวิจัย พบว่าการจัดการเรียนรู้ด้วย STEM ในศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งประกอบด้วย RBL BLL PBLพบว่าผู้เรียนได้ใช้ทักษะความสัมพันธ์ทางศาสตร์แห่ง STEM เข้ามาใช้ในการแก้ปัญหาและแสวงหาข้อเท็จจริงจากกฎธรรมชาติที่เข้าใจโลก พลังงานเปลี่ยนรูป ความสัมพันธ์ของเหตุและผล ซึ่งเป็นกฎแห่งอิทัปปัจยตา ซึ่งสอดคล้องกับ STEM ศึกษาเป็นเครื่องมือหรือเส้นทาง (Means) ไม่ใช่เป้าหมาย (End) แต่เพื่อการบรรลุการเรียนรู้แบบรู้จริง (Mastery Leaning) สามารถปฏิบัติได้ หล่อหลอมกระบวนการทัศนเชิงระบบและพัฒนาทักษะการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ (Growth Mindset) ซึ่งเป็นความเกี่ยวกันของเหตุและผล และเมื่อมีเหตุย่อมมีผลและเมื่อเหตุดับผลก็ดับ เพราะความเกิดขึ้นสิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะความดับไป อิทัปปัจจยตา ถือเป็นหัวใจของปฏิจจสมัปบาท เป็นกฎเหนือกฎทั้งปวง

            ทักษะของคนในศตวรรษที่ ๒๑ ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ การเรียนรู้ ๗c  ได้แก่ Critcal Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา) Creativity and Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม) Cross Cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์) Collaboration Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ) Communications Information and Media Literacy (ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ) Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) และ Career and Learning Skills (ทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้)

 

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : งานวิจัยเรื่องนี้พบว่ามีส่วนประกอบอื่นๆ ที่สามารถนำมาเป็นความรู้ สำหรับการประยุกต์กับหลายๆ สาขาวิชา อาทิเช่น จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับหนทางการศึกษาได้ คือ

            เกิดจากความเชื่อของผู้วิจัยว่า การศึกษาคือการหลับตา (สูญญตา) แล้วมองโลกด้วยหัวใจ ยกความเมตตาให้อยู่เหนือยอดฟ้า สร้างโลกอวตาลให้อยู่ในจักรวาลของความคิดสร้างสรรค์ เหวี่ยงสมการให้ตกอยู่ในการปลูกผักบุ้ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นความคิดดิ่งสู่ความสุข ความรู้จะมีความหมายในชีวิตเมื่อลงมือทำ ซึ่งสอดคล้องกับความคิดของหลักพาฟลอฟ PBL CBL STEM รูปแบบที่มีเป้าหมายเดียวกัน คือ การพัฒนาความคิดของมนุษย์ตามศักยภาพสูงสุด โดยเฉพาะการเร่งการพัฒนาสมองของมนุษย์เกินกว่าปกติเป็นการพัฒนาที่ไม่สิ้นสุด เพราะความจริงคือสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง (อิทัปปัจจยตา) มีเกิดดับและเปลี่ยนรูปพลังงานอยู่ตลอดเวลาไม่เที่ยง การศึกษาทำให้เข้าใจชีวิตไม่ได้เข้าใจโลก ผู้วิจัยมุ่งมั่นที่จะสร้างรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้จิตใจอันบริสุทธิ์โน้มสู่ความรู้แห่งความจริง

 

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู            บรรณากร