Category Archives: การผลิตบัณฑิตครู

นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา

 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา

นายอดิเรก อัคฮาด

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ :  เนื้อหาสาระของตำราเล่มนี้มีบทนำที่น่าสนใจจำนวน ๗ บท ดังสรุปได้ดังนี้

บทที่ ๑. แนวคิด ทฤษฎี นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา กระบวนการการเกิดนวัตกรรม ขั้นตอนการตัดสินใจยอมรับนวัตกรรม คุณลักษณะของนวัตกรรมที่ส่งผลต่อการยอมรับจากนวัตกรรมสู่เทคโนโลยี ขอบเขตและองค์ประกอบของเทคโนโลยีการศึกษา แนวคิด หลักการ ทฤษฎีพื้นฐานที่สำคัญทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา พัฒนาการทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา พัฒนาการทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

บทที่ ๒. เทคโนโลยีสาสนเทศเพื่อการศึกษา องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศโทรคมนาคม ระบบสารสนเทศ องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ ประเภทของระบบสารสนเทศที่ใช้ในองค์การ แนวโน้มเทคโนโลยีสารสนเทศ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก มัลติมีเดีย อิเล็กทรอนิกส์บุ๊ก ระบบการเรียนการสอนทางไกล วีดีโอเทเลคอมเฟอเรนซ์ ระบบวีดีโอออนดีมานด์ อินเตอร์เน๊ต

บทที่ ๓. การสื่อสารกับการเรียนรู้ การสื่อสารกับการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ ลักษณะของการสื่อสาร วิธีของการสื่อสาร รูปแบบของการสื่อสาร ประเภทของการสื่อสาร องค์ประกอบของการสื่อสาร แบบจำลองของการสื่อสาร การสื่อสารกับการเรียนการสอน

บทที่ ๔. วิธีระบบกับการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ องค์ประกอบของระบบ ระบบใหญ่และระบบย่อย การจัดระบบ การวิเคราะห์ระบบ การสร้างแบบจำลองระบบการสอน การจัดระบบการสอน การนำวิธีระบบมาปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอน ประโยชน์และข้อจำกัดของการใช้ระบบการสอน

บทที่ ๕. การออกแบบและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน การจำแนกประเภทของสื่อการเรียนการสอน คุณค่าของสื่อการเรียนการสอน หลักการเลือกสื่อการเรียนการสอน การวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อยของสื่อการสอน การออกแบบสื่อการเรียนการสอน กระบวนการการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน ขั้นตอนการใช้สื่อการเรียนการสอน การวางแผนใช้สื่อการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ ขั้นตอนการใช้สื่อการเรียนการสอน การทดสอบหาประสิทธิภาพสื่อการเรียนการสอน

บทที่ ๖. แหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ ความสำคัญของแหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ ประเภทแหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายสำหรับนักศึกษา คุณลักษณะพิเศษของเครือข่ายการเรียนรู้ การนำเครือข่ายการเรียนรู้มาใช้ในกระบวนการศึกษา

บทที่ ๗. วิเคราะห์ปัญหาและผลกระทบจากการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้นวัตกรรมการศึกษาในประเทศไทย การเปลี่ยนบทบาทของครู การวิเคราะห์และสังเคราะห์ปัญหา ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศปัญหาและแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ICT

 

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางการศึกษา : นวัตกรรม  หมายถึง แนวคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือการดัดแปลงจากของเดิมให้ทันสมัยและใช้ได้ดียิ่งขึ้น เมื่อนำสิ่งใหม่เหล่านั้นมาใช้การทำงานแล้ว จะทำให้การทำงานนั้นมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล นวัตกรรมมี ๕ ลักษณะ คือ ความคิด หรือการกระทำนั้นใหม่ในบ้านเราทั้งๆ ที่เก่ามาจากที่อื่น ความคิดหรือการกระทำนั้นใหม่ขณะนี้ ความคิดหรือการกระทำนั้นใหม่เนื่องจากมีความคิด ฯลฯ เป็นต้น กระบวนการเกิดนวัตกรรมที่สำคัญ ๓ ขั้นตอน คือ

๑. มีการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมกับสภาพงาน

๒. มีการตรวจสอบหรือทดลองและปรับปรุงพัฒนา

๓. มีการนำมาใช้หรือปฏิบัติในสถานการณ์จริง ซึ่งแตกต่างจากการปฏิบัติที่เคยปฏิบัติมาจึงเป็นนวัตกรรมที่สมบูรณ์

แนวคิด การปฏิบัติหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นมานั้น กว่าที่บุคคลจะเกิดการยอมรับและตัดสินใจนำไปใช้จะต้องผ่านการตัดสินใจอย่างเป็นขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นความรู้ ขั้นจูงใจ ขั้นการตัดสินใจ ขั้นการนำไปใช้และขั้นการยืนยัน คุณลักษณะของนวัตกรรมที่ส่งผลต่อการยอมรับมีดังนี้

๑. การได้รับประโยชน์จากนวัตกรรม

๒. การเข้ากันได้กับสิ่งที่มีอยู่เดิม

๓. ความซับซ้อน

๔. ทดลองปฏิบัติได้

๕. สังเกตเห็นผลได้

เทคโนโลยีการศึกษาเป็นการผสมผสานองค์ประกอบทั้งหลายที่จะเกื้อหนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้

ขอบเขตและองค์ประกอบของเทคโนโลยีการศึกษา ความสำคัญของนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ดังนี้

๑. ช่วยนำมวลประสบการณ์เข้ามาจัดการศึกษา

๒. ช่วยขยายแหล่งวิทยากรมนุษย์ ซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด

๓. ช่วยจัดสภาวะการเรียนได้อย่างหลากหลาย

๔. ทำให้คุณภาพของสถานศึกษาเท่าเทียมกัน

๕. ทำให้เกิดผลการเรียนรู้หลายด้าน

๖. ช่วยอำนายความสะดวกให้กับนักเรียนได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง

๗. ช่วยให้เกิดเหตุการณ์สอนที่สำคัญที่ทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพ

๘. ช่วยทำให้เกิดภาวะเบื้องต้นที่จำเป็นสำหรับการเรียนการสอน

ระบบสารสนเทศ (Information System) ประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ บุคลากร ระเบียบปฏิบัติงานข้อมูลและการเชื่อมต่อ องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ คือ ส่วนต่างๆ ที่ทำให้ระบบสารสนเทศทำงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ได้แก่ บุคลากร ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ฮาร์ตแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูลและเครือข่าย ประเภทของระบบสารสนเทศที่ใช้ในองค์กร จำแนกได้ดังนี้

๑. ระบบประมวลผลรายการ (TPS)

๒. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (MIS)

๓. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS)

๔. ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (EIS)

๕. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)

สื่อ (Media) คือ ตัวกลางที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดเรื่องราว สาระ ความรู้สึกและ ฯลฯ แบ่งออกได้ดังนี้ คือ วิธีของการสื่อสารแบ่งออกเป็น ๒ วิธี คือ การสื่อสารโดยอาศัยคำเป็นสัญลักษณ์หรือเรียกว่า วจนภาษา (Verbal Communication) กับการสื่อสารโดยอาศัยสัญลักษณ์อย่างอื่นนอกจากคำหรือเรียกว่า อวัจนภาษา รูปแบบการสื่อสาร แบ่งออกเป็น ๒ รูปแบบ คือ การสื่อสารทางเดียว (One – Way Communication) กับการสื่อสารสองทาง (Two – Way Communication) ประเภทการสื่อสารแบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ การสื่อสารภายในตัวบุคคล (Interpersonal Communication) องค์ประกอบของการสื่อสาร คือ สิ่งที่ประกอบกันเข้าจนเป็นกระบวนการสื่อสารที่สมบูรณ์มีผู้ส่งสารหรือต้นแหล่งของสาร สาร สื่อหรือช่องทาง ผู้รับ ผล และข้อมูลป้อนกลับ

วิธีการนำระบบมาปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย ๔ ขั้นตอน ดังนี้

๑. การกำหนดจุดมุ่งหมายและขอบเขต

๒. การออกแบบ

๓. การพัฒนารูปแบบและการทดลองใช้

๔. การประเมินและการปรับปรุง

ประโยชน์ของการใช้ระบบการสอน สามารถนำไปได้ดังนี้ คือ ระบบการสอนเปรียบเสมือนพิมพ์เขียวที่จัดวางองค์ประกอบของการสอนไว้อย่างเป็นระเบียบ ส่งเสริมให้การจัดการสอนมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ครูทราบปัญหาและหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม ช่วยให้ครูได้นำผลการประเมินและข้อเสนอแนะต่างๆ ไปใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงการเรียนการสอนและการนำวิธีการเชิงระบบไปใช้ในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ทางการศึกษา

การจำแนกสื่อประเภทสื่อตามทรัพยากรการเรียนรู้มี ๕ แบบ คือ คน (People) วัสดุ (Material) อาคารสถานที่ (Setting) เครื่องมือและอุปกรณ์ (Tool and Equipment) และกิจกรรม (Activities)

แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นแหล่งปลูกฝังนิสัยรักการอ่านการค้นคว้าและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เป็นแหล่งสร้างเสริมประสบการณ์ภาคปฏิบัติและเป็นแหล่งสร้างเสริมความรู้ความคิด วิทยาการและประสบการณ์ ประเภทของแหล่งการเรียนรู้แบ่งได้ตามลักษณะการแบ่งของแต่ละบุคคล มี ๒ ประเภท ดังนี้

๑. จัดตามลักษณะของแหล่งการเรียนรู้ ได้แก่ แหล่งการเรียนรู้ตามธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ภูเขา ป่าไม้ กรวด หิน ทราย ชายทะเล เป็นต้น แหล่งการเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อสืบทอดศิลปวัฒนธรรม เช่น โบราณสถาน พิพิธภัณฑ์ ฯลฯ เป็นต้น และบุคคลถ่ายทอดความรู้ความสามารถ

๒. จัดตามแหล่งที่ตั้งของแหล่งการเรียนรู้ ได้แก่ แหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน เช่น ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

แหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้สำหรับการศึกษา ได้แก่ ห้องสมุดและฐานข้อมูล แหล่งทัศนศึกษา หนังสืออิเล็กทรอนิกส์และแหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ทางเทคโนโลยี

ตัวอย่างเครือข่ายการเรียนรู้ในประเทศไทย เช่น เครือข่ายไทยสารหรือเนคเทค(http://www.nectec .or.th/index.php) เครือข่ายยูนิเน็ต (UNINET) (http://www.uni.net.th/uniNeT/index.php) สคูลเน็ต (School Net) (http://www.nectec.or.th/schoolnet/index.php3.htm) เครือข่ายนนทรี (http://llocs. ku.ac.th/new/?lang=th) และโทรทัศน์ครู (http://www.thaiteachens.tvl)

 

จุดเด่นและความน่าสนใจของผลงานทางวิชาการ :  หนังสือนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษานี้มีจุดเด่นที่น่าสนใจสำหรับการศึกษาโดยเฉพาะ ได้แก่

จุดเด่นที่ ๑. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) เป็นการนำเอาเทคโนโลยีรวมกันกับการออกแบบโปรแกรมการสอนมาใช้ช่วยสอน เรียกทั่วไปเรียกว่า บทเรียน ปัจจุบันอยู่ในรูปของสื่อประสม (Multimedia) หมายถึงการนำเสนอได้ทั้งภาพ ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวเหมาะกับการศึกษาด้วยตนเองและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับบทเรียนได้ตลอด

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีหลายแบบ มีลักษณะการใช้ดังนี้

๑. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อการสอน (Tutoring)

๒. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อการฝึก (Drill and Practice)

๓. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อสร้างสถานการณ์จำลอง (Simulation)

๔. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อเป็นเกมในการเรียนการสอน

๕. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อการทดสอบ (Testing)

๖. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อการไต่ถามข้อมูล (Inquiry)

จุดเด่นที่ ๒. ระบบการเรียนการสอนทางไกล (Distance Learning) หมายถึง การเรียนการสอนที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ไกลกัน ใช้วิธีการถ่ายทอดเนื้อหาสาระและประสบการณ์ โดยอาศัยสื่อประสมในหลายรูปแบบ ได้แก่ สื่อที่เป็นหนังสือ สื่อทางไปรษณีย์ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ การประชุมทางไกลด้วยภาพและเสียง อินเตอร์เน็ต เป็นต้น ช่วยให้ผู้เรียนที่อยู่ต่างถิ่นที่กันสามารถศึกษาความรู้ได้

องค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนทางไกล ได้แก่

๑. เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางที่มีอิสระในการกำหนดเวลา สถานที่ และวิธีเรียน เช่น การสอนสดโดยผ่านสื่อสารทางไกลและผ่านระบบสารสนเทศทางอินเตอร์เน็ต เป็นต้น

๒. ผู้สอนเน้นการสอนโดยใช้สื่อสารทางไกลแบบ ๒ ทาง และอาศัยสื่อหลายชนิด ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนเรียนได้ด้วยตนเองได้

๓. ระบบบริหารและการจัดการ จัดโครงสร้างอื่นๆ เพื่อเสริมการสอน เช่น การจัดศูนย์วิทยุบริการ จัดระบบอาจารย์ที่ปรึกษา ระบบการผลิตสื่อและจัดส่งสื่อให้ผู้เรียนโดยตรง

๔. การควบคุมคุณภาพ จัดทำอย่างเป็นระบบและดำเนินการต่อเนื่องสม่ำเสมอ โดยเน้นการควบคุมคุณภาพในด้านองค์ประกอบของการสอน เช่น ขั้นตอนการวางแผนงานละเอียด ฯลฯ เป็นต้น

กระบวนการการเรียนการสอน มีขั้นตอนสำคัญๆ ๓ ขั้นตอน คือ การเรียน-การสอน การถาม-ตอบ และการประเมินผล

จุดเด่นที่ ๓. อินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีรากฐานความเป็นมา โดยการสนับสนุนของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาที่มีความประสงค์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ       อินเตอร์เน็ตมีประโยชน์ต่อการศึกษามาก ทำให้มหาวิทยาลัยต่างๆ ตื่นตัวต่อการใช้ ทั้งนี้เพราะว่าในระบบเครือข่ายมีข้อมูล ข่าวสารที่ต้องการมากมาย จึงมีอัตราการขยายตัวของผู้ใช้สูง และครอบคลุมทุกแห่งทั่วโลก จึงทำให้อินเตอร์เน็ตมีบทบาทต่อการศึกษาดังนี้

๑. การใช้เป็นระบบสื่อสารส่วนบุคคล

๒. ระบบข่าวสารบนอินเตอร์เน็ตมีลักษณะเหมือนกระดานข่าวที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก

๓. การใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลข่าวสารต่างๆ บนอินเตอร์เน็ต มีแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงกันและติดต่อกับห้องสมุดทั่วโลก ทำให้การค้นหาข้อมูลโดยใช้เวลาอันสั้น

๔. ฐานข้อมูล เครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Web) เป็นฐานข้อมูลแบบเอกสารและมีรูปภาพจนมาปัจจุบัน ฐานข้อมูลเหล่านี้ได้พัฒนาขึ้นมาเป็นแบบมัลติมีเดีย มีทั้งข้อความ รูปภาพ วีดิทัศน์และเสียง

๕. การพูดคุยแบบโต้ตอบหรือคุยเป็นกลุ่ม บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสามารถเชื่อมต่อกันและพูดคุยกันได้ด้วยเวลาจริง ผู้พูดสามารถพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดบนเครือข่าย

๖. การส่งถ่ายข้อมูลระหว่างกันแบบ FTP (Files Transfer Protocol) สามารถโอนย้ายถ่ายเทข้อมูลระหว่างกันเป็นจำนวนมากๆ ได้ โดยส่งผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งทำให้สะดวกต่อการรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็ว

๗. การใช้ทรัพยากรที่ห่างไกล ผู้เรียนอาจจะเรียนอยู่ที่บ้านและเรียกใช้ข้อมูลเป็นทรัพยากรการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยได้และต่างมหาวิทยาลัยได้ด้วย

 

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : เนื้อหาสาระที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ยังมีเนื้อหาสาระอื่นๆ ที่สามารถนำไปใช้ประยุกต์ใช้ได้ อาทิเช่น

๑. การออกแบบสื่อการเรียนการสอน เป็นการวางแผนสร้างสรรค์สื่อการเรียนการสอนหรือการปรับปรุงสื่อการเรียนการอสนให้มีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เช่น หลักการ ทฤษฎีเทคโนโลยีการศึกษา ทฤษฎีจิตวิทยาการศึกษาและหลักการทางศิลปะ ฯลฯ เป็นต้น

ลักษณะการออกแบบที่ดีควรเหมาะสมกับจุดมุ่งหมายของการนำไปใช้ ง่ายต่อการทำความเข้าใจเหมาะสมกับสภาพการใช้งานของสื่อและควรมีความกลมกลื่นกับส่วนประกอบและสภาพแวดล้อม

๒. ปัจจัยพื้นฐานของการออกแบบสื่อการสอน หรือวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ๓ ด้าน คือ พุทธพิสัย จิตตพิสัยและทักษะพิสัย

การออกแบบและผลิตสื่อ จำเป็นที่ผู้ผลิตต้องมีความรู้เกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอน ผู้ออกแบบต้องศึกษาองค์ประกอบของการออกแบบหรือส่วนประกอบในการสร้างภาพ ได้แก่ จุด (Dots) เส้น (Line) รูปร่าง (Shape) รูปทรง (Form) แสงและเงา (Light and Shade) สี (Color) และลักษณะพื้นผิว (Texture)

๓. การใช้นวัตกรรมการศึกษาในประเทศไทย

๓.๑ ใช้วิธีระบบ (System Approach)

๓.๒ ศูนย์การเรียนรู้ (Learning Center)

สื่อช่วยสอนที่ทันสมัย

๑) การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม เช่น โรงเรียนวังไกลกังวล

๒) เคเบิลทีวีใช้สอนสำหรับการศึกษาทั้งในและนอกโรงเรียน เช่น การสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น

๓) วิดีโอดิสก์ (Video Disc) เป็นสื่อนิยมใช้ปัจจุบันมีขนาดเล็ก เก็บรักษาง่าย

๔) คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ช่วยครูในการเรียนการสอนจะบรรจุเนื้อหาที่จะสอนไว้ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์

๔. การวิเคราะห์และสังเคราะห์ปัญหา

๑. ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ เกิดจากปัญหาเด็กติดเกม ปัญหาการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างคนในสังคมลดลง ปัญหาภาพโป๊หรือคลิปวีดีโออนาจาร

๒. ปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

๑. มีผลกระทบต่อความคิดและพฤติกรรมมนุษย์

๒. เทคโนโลยีสารสนเทศและสังคมมีผลกระทบซึ่งกันและกัน

๓. เทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลกระทบต่อสังคม

๔. เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต

ปัญหาและแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ICT

๑. ปัญหาในใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ ปัญหาด้านบุคลากร ด้านวัสดุ อุปกรณ์และงบประมาณเกี่ยวกับนวัตกรรม

๒. ปัญหาด้านสภาพการเรียนการสอนและปัญหาอุปสรรคในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสถานศึกษา

๓. ปัญหาจากเทคโนโลยีสารสนเทศและทฤษฎีเรื่องจริยธรรมและการเมืองและความเป็นมนุษย์

ทฤษฎีการออกแบบ

ทฤษฎีการออกแบบ

นางสาวกุลนิษก์ สอนวิทย์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจของผลงานทางวิชาการ : หนังสือวิชาทฤษฎีการออกแบบเล่มนี้ มีเนื้อหาที่น่าสนใจสำหรับนักเรียนหรืออาชีพการออกแบบ อาทิเช่น

บทที่ ๑. กล่าวถึง ความหมายการออกแบบว่าเป็นการออกแบบซึ่งเป็นความพยายามของมนุษย์ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่หรือปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้มีความเหมาะสมมากขึ้น เพื่อแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการทั้งด้านความงามและประโยชน์ใช้สอย การออกแบบแฝงอยู่ในงานทุกประเภท ทั้งนี้เพราะการออกแบบเป็นกระบวนการในการแก้ปัญหาด้วยความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ การออกแบบมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องโดยลำดับ ดังนี้

๑. การออกแบบยุคประวัติศาสตร์

๒. การออกแบบยุคก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม

๓. การออกแบบยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม

๔. การออกแบบยุคหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม

๕. การออกแบบยุคสมัยใหม่

๖. การออกแบบยุคหลังสมัยใหม่

๗. การออกแบบยุคปัจจุบัน

บทที่ ๒. ประเภทของการออกแบบ การออกแบบสองมิติ ได้แก่ การออกแบบสร้างสรรค์ ได้แก่ งานออกแบบจิตรกรรม งานออกแบบภาพพิมพ์และการออกแบบภาพถ่าย

การออกแบบตัวอักษร ได้แก่ ประเภทตัวอักษรมี ๒ ประเภท คือ ตัวอักษรเพื่อการเรียงพิมพ์หรืออักษรเรียงพิมพ์ ตัวอักษรประดิษฐ์ รูปแบบและลักษณะเฉพาะของตัวอักษร ได้แก่ รูปแบบของตัวอักษร ลักษณะของตัวอักษร โครงสร้างของตัวอักษร ขนาดของตัวอักษร การเว้นระยะห่าง

การออกแบบสัญลักษณ์และเครื่องหมาย ได้แก่ สัญลักษณ์ เครื่องหมาย สัญลักษณ์และเครื่องหมายมีลักษณะที่หลากหลาย คือ เครื่องหมายสัญลักษณ์ เครื่องหมายภาพ เครื่องหมายอักษร เครื่องหมายภาษา เครื่องหมายผสมและเครื่องหมายการค้า

การออกแบบสามมิติเป็นการออกแบบที่แสดงปริมาตรของรูปทรง มีความกว้าง ความยาวและความหนา การออกแบบสามมิติ ได้แก่ การออกแบบผลิตภัณฑ์ หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ ต้องคำนึงถึงหน้าที่ใช้สอย ความสวยงามน่าใช้ ความสะดวกในการใช้งาน ความปลอดภัย ความแข็งแรง ราคา วัสดุ กรรมวิธีการผลิต การบำรุงรักษาและซ่อมแซมและการขนส่ง

บทที่ ๓. องค์ประกอบมูลฐานของการออกแบบ มีเส้นในทางเรขาคณิตเกิดจากจุดจำนวนมากที่เคลื่อนไหวไปในทิศทางต่างๆ ส่วนเส้นทาง ศิลปะเกิดจากการขีดเขียน ขูด ลาก ระบายด้วยเครื่องมือชนิดต่างๆ และเกิดจากความคิด ได้แก่ เส้นที่เกิดขึ้นจริง เส้นเชิงนัย เส้นที่เกิดจากขอบ เส้นสมมติ

คุณลักษณะของเส้น ได้แก่ เส้นตรง เส้นโค้ง เส้นคตและเส้นประ เส้นเป็นองค์ประกอบมูลฐานที่สำคัญของงานออกแบบ หลายรูปแบบ ได้แก่ เส้นแสดงโครงสร้างภายนอก เส้นแสดงสัญลักษณ์ เส้นแสดงทิศทาง เส้นแสดงขอบเขต เส้นแสดงน้ำหนักและเส้นแสดงลักษณะพื้นผิว

การเปลี่ยนแปลงของรูปร่างและรูปทรง มีแนวทางดังนี้ รูปร่างและรูปทรงเดิม รูปร่างรูปทรงต่อเติม รูปร่างและรูปทรงลดส่วน รูปร่างและรูปทรงกลวง ฯลฯ เป็นต้น

สิ่งที่เกิดจากลักษณะความเข้มของแสงที่ปรากฏแก่สายตาผ่านกระบวนการรับรู้แล้วส่งภาพไปยังสมอง สีแบ่งเป็น ๒ ประเภท ดังนี้ สีจากแสง สีจากเนื้อสี หลักการใช้สีให้เหมาะสมมีแนวทางดังนี้ สีคู่ประกอบ สีคู่ประกอบเยื้องกัน สีคู่ประกอบ ๓ สี สีเอกรงค์และสีข้างเคียง สีกับการออกแบบมีแนวทางดังนี้

๑. การใช้สีในงานทัศนศิลป์

๒. การใช้สีในการออกแบบตกแต่ง

๓. การใช้สีในงานออกแบบกราฟฟิก

ลักษณะพื้นผิวกับงานออกแบบสามมิติ ดังนี้ ลักษณะพื้นผิวในงานประติมากรรม ลักษณะพื้นผิวในงานสถาปัตยกรรม ลักษณะพื้นผิวในงานออกแบบตกแต่งและลักษณะพื้นผิวในงานออกแบบเสื้อผ้า

บทที่ ๔. ทฤษฎีการออกแบบ การสร้างดุลยภาพในงานศิลปะและงานออกแบบ เป็นหลักในการจัดองค์ประกอบในภาพให้เกิดเอกภาพ ดุลยภาพมี ๔ ลักษณะ ดังนี้

๑) ดุลยภาพแบบสมมาตร (Symmetrical Balance)

๒) ดุลยภาพแบบอสมมาตร (Asymmetrical Balance)

๓) ดุลยภาพแบบคล้ายคลึงกัน (Approximate Symmetry Balance)

๔) ดุลยภาพแบบรัศมี (Radial Balance)

องค์ประกอบมูลฐานของการออกแบบกับทฤษฎีดุลยภาพมีแนวทางดังนี้ คือ เส้นกันดุลยภาพ รูปร่างและรูปทรงกับดุลยภาพ สีกับดุลยภาพ ลักษณะพื้นผิวกับดุลยภาพ บริเวณว่างกับดุลยภาพและแสงและเงากับดุลยภาพ

ทฤษฎีสัดส่วน (Proportion) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับงานออกแบบทุกประเภท เพราะสัดส่วนมีความเกี่ยวข้องกับขนาด และระยะที่สัมพันธ์กันอย่างเหมาะสม เพื่อให้มีความใกล้เคียงกับความจริงหรือสภาพแวดล้อม มีความเหมาะสมในการใช้งานและเกิดความสวยงาม ดังนั้น ทฤษฎีสัดส่วน หมายถึง ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบมูลฐานของการออกแบบที่ปรากฏในผลงาน ซึ่งมีขนาด รูปร่าง รูปทรง ที่เหมาะสมกลมกลืนกันทั้งในตัววัตถุเองและสภาพแวดล้อม รวมทั้งมีความสัมพันธ์กับการใช้งานสัดส่วนมีลักษณะ ๓ ประการ คือ สัดส่วนที่เหมือนกันเท่ากันไม่แสดงความแตกต่างขององค์ประกอบในภาพหรือที่เรียกว่า การซ้ำกัน (Repetition) ให้ความรู้สึกสงบเงียบ สัดส่วนที่แตกต่างกันซึ่งอาจเป็นไปตามกฎของสัดส่วนหรือแตกต่างในลักษณะอื่น ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวนำสายตาไปยังจุดสนใจและสัดส่วนที่ตัดกัน โดยแสดงความแตกต่างกันขององค์ประกอบในภาพอย่างชัดเจน สร้างความน่าสนใจได้เป็นอย่างดี

ทฤษฎีความกลมกลืนและความขัดแย้ง ความกลมกลืน หมายถึง การนำองค์ประกอบมูลฐานของการออกแบบที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ไม่ว่าเป็นเส้น สี รูปร่าง ลักษณะพื้นผิว บริเวณว่าง แสงและเงา มาใช้ในการออกแบบได้อย่างเหมาะสมลงตัว เกิดความประสานสอดคล้องกันอย่างพอเหมาะพอดี

ทฤษฎีจังหวะ จังหวะ หมายถึง การซ้ำกันอย่างต่อเนื่องขององค์ประกอบมูลฐานของการออกแบบ ได้แก่ เส้น รูปร่างและรูปทรง สี ลักษณะพื้นผิว บริเวณว่าง แสงและเงาที่มีลักษณะเหมือนกันหรือการสลับไปมาขององค์ประกอบที่แตกต่างกันตั้งแต่ ๒ ชนิดขึ้นไป อย่างต่อเนื่องเป็นระเบียบ เกิดเป็นลวดลายให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวอย่างเป็นจังหวะ

ทฤษฎีการเน้น การเน้น หมายถึง การทำให้ส่วนหนึ่งส่วนใดของผลงานมีความโดดเด่นกว่าส่วนประกอบอื่นๆ ซึ่งสามารถรับรู้ได้จากการมอง เพื่อสร้างจุดสนใจให้เกิดขึ้นในผลงาน จุดเด่นที่เน้นควรมีเพียงจุดเดียว โดยพิจารณาจากเนื้อหาเรื่องราวหรือความหมายที่ต้องการสื่อสารไปยังผู้ดูและการจัดวางในตำแหน่งที่เหมาะสม รูปแบบของการเน้น คือ การเน้นด้วยความแตกต่าง ด้วยความโดดเด่นและด้วยการจัดวาง

ทฤษฎีเอกภาพ เอกภาพ หมายถึง การนำองค์ประกอบมูลฐานของการออกแบบไม่ว่าจะเป็นเส้น รูปร่าง รูปทรง สี ลักษณะพื้นผิว บริเวณว่าง แสงและเงา มาจัดวางลงบนพื้นภาพอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดความประสานกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งสอดคล้องกับการรับรู้ของมนุษย์ในการมองภาพ แล้วเชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆ ให้สัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ

ทฤษฎีแกสตัลท์ เป็นทฤษฎีทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ โดยมีแนวคิดหลักว่า ส่วนรวมสำคัญกว่าส่วนย่อยเพราะมนุษย์จะรับรู้สิ่งต่างๆ ที่มองเห็น ในลักษณะรูปทรงโดยรวมก่อน ซึ่งช่วยให้สามารถเข้าใจความหมายได้ง่ายขึ้น จากนั้นจึงแยกแยะ ส่วนย่อยต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นรูปทรงโดยรวมทั้งนี้ต้องอาศัยประสบการณ์เดิมและการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลที่อาจแตกต่างกันด้วย ดังนั้นมนุษย์จะรับรู้สิ่งต่างๆ ได้ดี เมื่อมีโอกาสเห็นภาพรวมทั้งหมดของสิ่งนั้นก่อน เมื่อเกิดภาพรวมทั้งหมดแล้ว การรับรู้รายละเอียดต่างๆ จะเกิดขึ้น

บทที่ ๕. กระบวนวิธีการออกแบบ การออกแบบจะเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ เกิดจากความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ได้แก่ ความเชื่อในแนวคิดที่แตกต่างกัน ความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ การคิดค้นวัสดุและเทคนิคใหม่ๆ ทำให้เกิดแนวคิด วิธีการ รูปแบบและประโยชน์ใช้สอยที่แตกต่างกันไปจากเดิม รวมทั้งการขยายตัวของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งขนาดและคุณภาพ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการออกแบบเพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าว แนวทางการออกแบบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสรุปได้ดังนี้

๑. การออกแบบที่เกิดจากการปรับปรุงและพัฒนา

๒. การออกแบบที่เป็นการสร้างสรรค์ใหม่

กระบวนการการออกแบบขั้นพื้นฐาน มีทั้งแบบสองและสามมิติ ย่อมมีขั้นตอนการทำงานที่เป็นระบบ เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จของผลงาน โดยที่กระบวนการออกแบบ (Design Process) ของงานศิลปะหรืองานออกแบบแต่ละประเภท อาจแตกต่างกันไปตามคุณลักษณะของผลงาน ได้แก่ กระบวนการออกแบบของคอเบิร์กและเบกนอล แบ่งการออกแบบ ๗ ขั้นตอน คือ การรับรู้สถานการณ์ การวิเคราะห์ การกำหนดขอบเขต การจินตนาการ การคัดเลือก การทำให้สมบูรณ์และการประเมินสำหรับกระบวนการออกแบบของดารัก มี ๔ ขั้นตอน คือ การสรุปแผนงานก่อนปฏิบัติ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และการประเมินผล ฯลฯ เป็นต้น

จะเห็นได้ว่ากระบวนการออกแบบตามแนวคิดของนักวิชาการแต่ละคน มีขั้นตอนที่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่มีความสอดคล้องกัน ดังการเปรียบเทียบ

 

แสดงการเปรียบเทียบกระบวนการออกแบบ

ขั้นตอนที่ คอเบิร์ก , เบกนอล ดารัก ครอส นวลน้อย น้อยวงษ์
๑. การับรู้สถานการณ์ การสรุปแผนงานก่อนปฏิบัติการ การสำรวจ การกำหนดขอบเขตของปัญหา
๒. การวิเคราะห์ การวิเคราะห์ การผลิต การค้นคว้าหาข้อมูล
๓. การกำหนดขอบเขต การสังเคราะห์ การประเมินผล การวิเคราะห์
๔. การจินตนาการ การประเมิน การสื่อความคิด การสร้างแนวความคิดหลัก
๕. การคัดเลือก     การออกแบบร่าง
๖. การทำให้สมบูรณ์     การคัดเลือก
๗. การประเมินผล     การออกแบบรายละเอียด
๘.       การประเมินผล

 

การออกแบบแต่ละประเภทมีขั้นตอนที่สำคัญ ๕ ขั้นตอน คือ การศึกษาค้นคว้า (Information) การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis) การสังเคราะห์ (Synthesis) การนำเสนอผลงาน (Presentation) และการประเมินผลงาน (Evaluation)

บทที่ ๖. แนวคิดในการออกแบบ เกิดจากความต้องการของมนุษย์ทางด้านจิตใจ หลักเกณฑ์การพิจารณางานออกแบบ ได้แก่ ประโยชน์ใช้สอย ความงาม การเลือกใช้วัสดุและคุณภาพการผลิต ความเหมาะสมทางการตลาด ความถูกต้องตามกฎระเบียบ ระบบและการคำนึงถึงสภาพแวดล้อม ความก้าวหน้าทางการปฏิบัติคิดค้น และการเปรียบเทียบคุณสมบัติ

 

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : ผลงานเล่มนี้มีสาระสำคัญที่เน้นเกี่ยวกับการออกแบบทางศิลปะมาก อาทิเช่น

ประเด็นที่ ๑. ความสำคัญของการออกแบบ เป็นกิจกรรมที่อยู่คู่กับชีวิตมนุษย์มาโดยตลอด เริ่มจากการที่มนุษย์ต้องการเอาชนะธรรมชาติเพื่อความอยู่รอด จึงพยายามคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการดำรงชีวิต โดยการดัดแปลงสิ่งที่มีอยู่หรือสร้างขึ้นใหม่ การออกแบบจึงมีความสำคัญต่อมนุษย์ ดังนั้นคุณค่าของการออกแบบจึงสามารถสรุปได้ดังนี้

๑.๑ คุณค่าของการออกแบบต่อการดำรงชีวิต ได้แก่ คุณค่าทางกาย ทางอารมณ์ความรู้สึก และคุณค่าทางทัศนคติ

๑.๒ คุณค่าของการออกแบบต่อสังคม ได้แก่ งานออกแบบเพื่อประโยชน์ใช้สอย เพื่อการติดต่อสื่อสารและเพื่อการออกแบบเป็นคุณค่าของความงาม

ประเด็นที่ ๒. การออกแบบสิ่งพิมพ์ (Publication Design) เป็นการเตรียมรูปแบบของสิ่งพิมพ์ก่อนเข้าสู่กระบวนกรผลิต เพื่อเพิ่มความสวยงามน่าสนใจ สร้างความประทับใจและความทรงจำแก่ผู้อ่าน และช่วยให้อ่านทำความเข้าใจได้ง่ายสิ่งพิมพ์มีหลายประเภท ได้แก่

๒.๑ หนังสือ (Book)

๒.๒ หนังสือพิมพ์ (Newspaper)

๒.๓ นิตยสาร (Magazine)

๒.๔ สิ่งพิมพ์เฉพาะกิจหรือสิ่งพิมพ์เบ็ตเตล็ด (Miscellaneous Publication)

นอกจากนี้ยังมีสิ่งพิมพ์อื่นๆ อีกหลายชนิด เช่น ธนบัตร เช็ค บัตรอวยพร แสตมป์ ปฏิทิน สมุดบันทึก ซองและกระดาษเขียนจดหมาย นามบัตร แผนที่ ปกซีดีเพลง ปกดีวีดี ภาพยนตร์ ฉลากสินค้า ซอง ถุง กล่อง เป็นสิ่งพิมพ์มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

การออกแบบสิ่งพิมพ์ มีปัจจัยสำคัญที่ควรนำมาพิจารณา เพื่อให้การออกแบบสิ่งพิมพ์มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน คือ ประเภทและลักษณะเนื้อหาของสิ่งพิมพ์ วัตถุประสงค์ในการจัดทำ กลุ่มเป้าหมาย ขนาดและรูปแบบมาตรฐานของสิ่งพิมพ์ ฯลฯ เป็นต้น

ประเด็นที่ ๓. รูปแบบของผลิตภัณฑ์ มีมากมายขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน รวมทั้งความนิยมของผู้บริโภคในช่วงเวลานั้น รูปแบบที่นำมาใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์มีแนวทางดังนี้

๓.๑ รูปแบบมาก่อนประโยชน์ใช้สอย

๓.๒ ประโยชน์ใช้สอยมาก่อนรูปแบบ

๓.๓ การตลาดมาก่อนออกแบบ

๓.๔ อารมณ์ความรู้สึกมาก่อนรูปแบบ

๓.๕ รูปแบบนิยมความน้อย

๓.๖ รูปแบบอนาคตกาล

สำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design) เป็นการกำหนดรูปทรง ขนาด ปริมาตร น้ำหนัก ประเภทของวัสดุรวมทั้งลักษณะภายนอก ภาพ สีสัน ข้อความ ให้สามารถคุ้มครองผลิตภัณฑ์ การเก็บรักษา ความสะดวกในการขนส่ง การวางจำหน่าย การสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย การแสดงเอกลักษณ์เฉพาะงานเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภค จึงจำเป็นต้องศึกษารายละเอียด ดังนี้ คือ ประเภทของบรรจุภัณฑ์ เช่น รูปทรงแข็งตัว รูปทรงกึ่งแข็งตัวและรูปทรงยืดหยุ่น

แนวคิดในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ สามารถทำได้ดังนี้

๑. การแสดงนวัตกรรม

๒. ความชัดเจน

๓. ความพึงพอใจ

๔. ความดึงดูดใจ

ประเด็นที่ ๔. บริเวณว่าง คือ การกำหนดระยะห่างหรือว่างภายในหรือภายนอกรอบๆ วัตถุหรือภาพ ทำให้เกิดเป็นบริเวณว่าง (Space) ที่สามารถรับรู้ได้ และยังเกิดความงาม ความน่าสนใจ บริเวณว่างจึงเป็นองค์ประกอบมูลฐานทางการออกแบบที่จะปรากฏขึ้นเมื่อมีองค์ประกอบอื่นมาแสดงตัวหรือแทนที่ ทั้งในลักษณะสองและสามมิติ การนำบริเวณว่างมาใช้ในการออกแบบควรศึกษาเกี่ยวกับปริมาตรหรือวัตถุหรือรูปทรงกินเนื้อที่อยู่ อากาศที่โอบรอมรูปทรงอยู่ ระยะระหว่างรูปทรง ปริมาตรของความว่างที่ถูกล้อมรอบด้วยขอบเขต ฯลฯ เป็นต้น

ลักษณะของบริเวณว่างที่ถูกกำหนดให้มีขอบเขตและความหมายตามวัตถุประสงค์ที่ศิลปินและนักออกแบบต้องการบริเวณว่างจึงมีหลายลักษณะ คือ

๔.๑ บริเวณว่างจริงและบริเวณว่างลวงตา

๔.๒ บริเวณว่างสองมิติและสามมิติ

๔.๓ บริเวณว่างบวก , ลบและว่างสองนัย

๔.๔ บริเวณว่างปิดละบริเวณว่างเปิด

ประเด็นที่ ๕. องค์ประกอบมูลฐานของการออกแบบกับทฤษฎีจังหวะ เพื่อให้ผลงานการออกแบบมีผลต่อการรับรู้ของมนุษย์ มีแนวทาง ดังนี้

๕.๑ เส้นกับจังหวะ

๕.๒ รูปร่างและรูปทรงกับจังหวะ

๕.๓ สีกับจังหวะ

๕.๔ ลักษณะพื้นผิวกับจังหวะ

๕.๕ บริเวณว่างกับจังหวะ

๕.๖ แสงและเงากับจังหวะ

ประเด็นที่ ๖. การศึกษาค้นคว้าและการวิเคราะห์ข้อมูล การออกแบบทุกประเภท ย่อมมีกระบวนการของการทำงานอย่างเป็นระบบเพื่อเป็นแนวทางให้การทำงานบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้จำเป็นต้อง

๖.๑ การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับบทบาทของข้อมูลในการออกแบบมี ๓ ระยะ คือ ก่อนการออกแบบ ระหว่างการออกแบบและหลังการออกแบบ

๖.๒ การส่งข้อมูลทั้งข้อมูลทุติยภูมิและปฐมภูมิ

๖.๓ การจำแนกประเภทข้อมูล จากเนื้อหาของข้อมูล คือ ข้อมูลทั่วไปกับข้อมูลเฉพาะและการจำแนกคุณภาพของข้อมูล

๖.๔ ปัจจัยที่มีผลต่อข้อมูลการออกแบบ คือ ด้านวัฒนธรรม สังคมและจิตวิทยา

การวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาความสัมพันธ์ของข้อมูล แล้วนำมาแยกแยะเป็นระบบ การวิเคราะห์ข้อมูลมี ๒ ลักษณะ ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการออกแบบที่เน้นการคิดค้นสิ่งใหม่ คำนึงถึงหน้าที่ใช้สอย หน้าที่หลักโดยรวม การเปลี่ยนแปลง ฯลฯ เป็นต้น

การสังเคราะห์ เป็นการทำงานที่ได้จากการวิเคราะห์มาใช้เป็นแนวทางการแก้ปัญหาด้วยเทคนิค วิธีการต่างๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของการใช้งาน ซึ่งเป็นการสร้างสรรค์งานออกแบบให้มีลักษณะเฉพาะตัว โดยการสร้างแนวความคิดหลัก การออกแบบร่าง การออกแบบรายละเอียด

ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ แบ่งได้เป็น ๔ ระดับ ได้แก่ ระดับที่ ๑ ความคิดสร้างสรรค์ประเภทการลอกเลียน ระดับที่ ๒ ความคิดสร้างสรรค์ประเภทต่อเนื่อง ระดับที่ ๓ ความคิดสร้างสรรค์ประเภทการสังเคราะห์ และระดับที่ ๔ ความคิดสร้างสรรค์ประเภทสร้างนวัตกรรม องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ คือ ต้องเป็นสิ่งใหม่ ต้องใช้การได้และต้องมีความเหมาะสม

 

จุดเด่นและความน่าสนใจของผลงานทางวิชาการ :  เอกสารประกอบการสอนฉบับนี้มีจุดเด่นและความน่าสนใจหลายประเด็น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่ออาชีพครูสอนศิลปะและวิชาชีพการออกแบบทางศิลปะ ได้แก่

จุดเด่นที่ ๑. แนวคิดในการเลือกใช้สื่อโฆษณา ณ จุดซื้อ เพื่อกระตุ้นความสนใจและช่วยในการตัดสินใจของผู้บริโภค ดังนี้

๑.๑ การใช้ข้อมูล (Information)

๑.๒ การเตือนความจำ (Reminding)

๑.๓ การสร้างความจูงใจ (Persuading)

๑.๔ การทำหน้าที่ในการขาย (Merchandising)

แนวทางการออกแบบสื่อโฆษณา ณ จุดซื้อ จะต้องมีลักษณะดังนี้ คือ ขนาดและรูปแบบที่ถูกต้องเหมาะสมกับสินค้า เนื้อที่ของชั้นโชว์สินค้าและบริเวณพื้นที่จัดแสดงทั้งหมด ง่ายและสะดวกในการตกแต่ง สวยงาม สะดุดตาของผู้บริโภคที่ตาเห็น มีความเป็นกันเอง สะดวกแก่การหยิบชมและทดลองสินค้า เหมาะสมกับฤดูกาลหรือความจำเป็นในการใช้สินค้าและมีรูปแบบที่น่าสนใจ

จุดเด่นที่ ๒. เทคนิคการให้แสงและเงาในงานสองมิติ ในการเขียนภาพและสามมิติบนระนาบสองมิติต้องให้แสงและเงาอย่างถูกต้อง ซึ่งมีเทคนิคการเขียนภาพ ๒ ลักษณะ คือ

๒.๑ การวาดเส้น (Drawing) การทำให้เกิดแสงและเงา โดยการวาดเส้น เรียกว่าการแรเงา มี ๒ วิธี คือ การแรเงาแบบเส้น โดยการกำหนดค่าน้ำหนักบนวัตถุในภาพ ด้วยการใช้เส้นตรงหรือเส้นโค้งขีดทับกันในลักษณะคล้ายตาข่ายให้มีน้ำหนัก อ่อน-เข้ม โดยเพิ่มจำนวนเส้นที่ทับกันให้ได้ค่าน้ำหนักตามที่ต้องการและการแรเงาแบบเกลี่ยเรียบ โดยการแรเงาค่าน้ำหนักที่ต่างกันแล้วเฉลี่ยให้เรียบกลมกลืนกันตามลำดับ โดยไม่เห็นร่องรอยของเส้นดินสอ

๒.๒ การเขียนภาพระบายสี (Painting) เป็นการเขียนภาพเพื่อแสดงให้เห็นค่าน้ำหนักของแสงและเงาด้วย สีชนิดต่างๆ โดยมีน้ำหนักว่าถ้าแสงสว่างมากเงาก็จะมีความชัดเจนมากและสีของเงานั้นจะเป็นสีที่ต้องผสมด้วยสีตรงข้ามของสีวัตถุนั้นมากขึ้น แต่ถ้าแสงน้อยเงาของวัตถุก็จะมีน้ำหนักสีใกล้เคียงกับน้ำหนักสีของวัตถุนั้น

 

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : หนังสือทฤษฎีการออกแบบเล่มนี้ยังปรากฏว่าเนื้อหาสาระที่สามารถนำไปเป็นประโยชน์กับอาชีพอื่นๆ นอกจากศิลปะแล้ว เช่น อาชีพการทำธุรกิจ หรืออาชีพครูสอนหนังสือด้วย ได้แก่

เทคนิคการสร้างสรรค์ งานศิลปะและงานออกแบบมีขั้นตอนการทำงานของความคิด โดยใช้เทคนิคต่างๆ ในการแสวงหาแนวคิดใหม่ๆ เพื่อนำไปสู่การค้นพบทางออกของปัญหา ซึ่งมีข้อเสนอแนะ สรุปได้ดังนี้

๑. การหาความคิดใหม่ที่หลากหลาย การระดมสมอง (Brainstorming) เป็นการหาความคิดใหม่ด้วยการระดมสมองจากกลุ่มบุคคล เกิดเป็นความคิดหลากหลาย ความคิดสร้างสรรค์ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปแก้ไขข้อบกพร่องปรับปรุง เปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาให้ดีขึ้น โดยเลือกกลุ่มบุคคลที่มีความคิดหลากหลายเพื่อได้มุมมองต่างกัน แล้วเลือกความคิดที่เหมาะสมหรือนำมาผสมผสานกัน เลือกให้ตรงกับวัตถุประสงค์ได้มากที่สุด

๒. ทำของเก่าให้เป็นของใหม่ ด้วยแผ่นตรวจสอบของออสปอรัน (Osborn) นักคิดสร้างสรรค์ มีลักษณะเป็นแผ่นที่บรรจุแนวทางกระตุ้นความคิดในแง่มุมต่างๆ เพื่อหาความเป็นไปได้หรือช่วยให้เกิดความคิดในมุมมองใหม่ๆ มี ๙ แนวทาง อาทิเช่น เอาไปใช้อย่างอื่นได้หรือไม่? (Put to other user ?) ปรับเปลี่ยนได้หรือไม่ ? (Modify) ฯลฯ เป็นต้น

๓. ขยายขอบเขตปัญหาจากรูปธรรมสู่นามธรรมแล้วค่อยคิด พยายามถอดกรอบโครงสร้างความคิดที่จำกัดไปสู่จินตนาการนอกขอบเขตอย่างอิสระ กระตุ้นให้เกิดการออกแบบใหม่ๆ ใช้ร่วมกับการระดมสมอง เป็นกระบวนการความคิดเชิงปฏิบัติการ

๔. ปรับสภาพแวดล้อมและเวลาให้เหมาะสมกับการคิดจะส่งผลให้เกิดความรู้สึกใหม่ เกิดอารมณ์ใหม่และเกิดความคิดนอกกรอบเดิมได้ อาจต้องอาศัยเวลาด้วย เช่น การกำจัดเวลาในการคิด เป็นต้น

๕. กลับสิ่งที่คิดแล้วลองคิดในมุมกลับ เป็นการช่วยให้หลุดพ้นจากกรอบความคิดเดิมและสามารถคิดในมุมมองใหม่ได้ คือ การคิดในมุมกลับ

๖. จับคู่ตรงข้าม เพื่อหักมุมสู่สิ่งใหม่คล้ายกับเทคนิคการคิดในมุมกลับ แต่เปลี่ยนเป็นหาสิ่งที่อยู่ตรงข้ามในลักษณะขัดแย้ง (Conflict) เพื่อให้เกิดการหักมุมความคิดที่คาดว่าจะเป็น อาจช่วยให้เราเห็นอีกมุมหนึ่งกับส่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อน และสามารถพัฒนาความคิดต่อกลายเป็นความคิดสร้างสรรค์ใหม่ที่ใช้การได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

๗. คิดแหวกวงความน่าจะเป็น ย้อนกลับมาหาความเป็นไปได้ การกลัวที่จะแหวกม่านประเพณีทางความคิด ความเชื่อ การปฏิบัติตามความเคยชิน ด้วยการคิดแหวกวงความน่าจะเป็นแล้วค่อยย้อนกลับมาหาความเป็นไปได้ โดยการดัดแปลงความคิดนั้นให้สามารถปฏิบัติได้จริง

๘. หาสิ่งไม่เชื่อมโยงเป็นตัวเขี่ยความคิดสร้างสรรค์เป็นการพิจารณารายละเอียดของสิ่งของต่างๆ ที่ไมเกี่ยวข้องกัน ไม่คล้ายคลึงกัน แล้วพยายามเชื่อมโยงกัน เพื่อเป็นตัวเขี่ยความคิดให้เกิดการค้นพบสิ่งใหม่ที่เป็นทางออกของปัญหาที่สร้างสรรค์และปฏิบัติได้จริง ใช้แก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม

๙. ใช้เทคนิคการสังเคราะห์ส่วนประกอบ ลักษณะหรือแง่มุมหนึ่งของสิ่งที่ต้องการตอบแล้วเขียนไว้แกนหนึ่ง จากนั้นเขียนรายการของแนวคิดที่เกี่ยวกับอีกลักษณะหนึ่งขอสิ่งที่ต้องการตอบ จะช่วยให้สามารถสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ๆ ได้อีกมากมาย

๑๐. ใช้การเปรียบเทียบเพื่อกระตุ้นมุมมองใหม่ เป็นแนวทางการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ เรียกว่า ซินเนคติกส์ (Synectics) หรือการใช้อุปมาเป็นตัวกระตุ้นให้เห็นมุมมองใหม่ที่แตกต่างกันไปจากเดิม โดยเป็นการรวมกันของตัวประกอบที่แตกต่างกันและไม่เกี่ยวข้องกัน ลักษณะเทียบเคียงหรือ อุปมาอุปมัย แนวคิดว่า ปัญหาที่ไม่คุ้นเคยจะถูกทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น เมื่อเทียบกับสิ่งที่คุ้นเคย จะทำให้เห็นภาพชัดเจน

การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการคูณทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดสน โดยใช้แบบฝึกทักษะ

การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการคูณทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดสน โดยใช้แบบฝึกทักษะ

View Fullscreen

ผลการจัดการเรียนการสอนโดยวัฏจักรการเรียนรู้ ๕E ที่มีผลต่อการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่อง การวัดพื้นที่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที ๒

ชื่อผลงานทางวิชาการ : ผลการจัดการเรียนการสอนโดยวัฏจักรการเรียนรู้ ๕E ที่มีผลต่อการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่อง การวัดพื้นที่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที ๒

ประเภทผลงานทางวิชาการ : งานวิจัย
ปีที่ทำการวิจัย : ๒๕๕๘
ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : จิตติมา    แก้วสว่าง   ครุศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์    มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ผลการวิจัยพบว่า

๑. ผลการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดพื้นที่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ โดยวัฏจักรการเรียนรู้ ๕Eหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

๒. ผลการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์  เรื่องการวัดพื้นที่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ โดยวัฏจักรการเรียนรู้  ๕Eหลังเรียนมีค่าเท่ากับร้อยละ ๗๗.๒๗   ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ ๗๐

ท่านที่ต้องการรายละเอียดสามารถค้นคว้าได้จาก Web-online ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

รศ.ดร.อำนวย     เดชชัยศรี  บรรณากร (โครงการพัฒนาความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัย)


 

บทคัดย่อสารบัญบทที่ 1บทที่ 2บทที่ 3บทที่ 4บทที่ 5บรรณานุกรมภาคผนวก

การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้แบบฝึกทักษะ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนแจงร้อนวิทยา

การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้แบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนแจงร้อนวิทยา

 

View Fullscreen

การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวิมุตยารามพิทยากร โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E

หน้าแรกบทที่ 1 บทนำบทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องบทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัยบทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลบทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวิมุตยารามพิทยากรโดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E

ชนกานต์  แกล้วน้อย

         การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E ก่อนเรียนและหลังเรียน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียน ที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนวิมุตยารามพิทยากร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบ 5E วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 8 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งเป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E จำนวน10 ข้อ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที (t-test)

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

ในปัจจุบันการจัดกระบวนการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนได้เรียนรู้ คณิตศาสตร์อย่างพอเพียงและสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น

โดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2550, น.7) ได้กำหนดสาระการเรียนรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนทุกคน โดยสาระดังกล่าวประกอบด้วยเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์และ ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และในการจัดการเรียนรู้ผู้สอนควรยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ กล่าวคือ ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดและแก้ปัญหาเอง โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ต้องใช้การคิด อย่างเป็นระบบ คิดอย่างมีเหตุผล เพื่อพัฒนาเหตุผลมาช่วยในการแกปัญหาและการให้เหตุผลเป็นต้น  กระบวนการที่ส่งเสริมให้นักเรียนสามารถวิเคราะห์ปัญหา และสถานการณ์ได้อย่างละเอียด รอบคอบ สามารถวางแผนตัดสินใจในการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม การคิดอย่างมี เหตุผลจึงถือเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญที่นักเรียนสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาตนเองในการ เรียนรู้และดำรงชีวิตและเป็นหัวใจสำคัญของการสอนคณิตศาสตร์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2550, น.38) ได้กล่าวไว้ว่า การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์เป็น กระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ที่ต้องอาศัยการคิดวิเคราะห์ หรือคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และรวบรวมข้อเท็จจริงเพื่อสรุปเป็นความรู้ใหม่ การให้เหตุผลสามารถจำแนกเป็น    2 ลักษณะได้แก่ การให้เหตุผลแบบอุปนัย คือการสรุปผลจากการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ เกิดขึ้นซ้ำๆ กันหลายๆครั้งเพื่อหารูปแบบที่จะนำไปสู่ข้อสรุปที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดซึ่งข้อข้อสรุป อาจจะเป็นจริงหรือเท็จก็ได้ และการให้เหตุผลแบบนิรนัย คือการให้เหตุผลโดยการยอมรับสิ่งที่เกิด ขึ้นมาก่อนว่าเป็นจริงเพื่อนำมาใช้ในการอ้างอิงข้อสรุปที่เกิดขึ้นใหม่ภายหลัง ซึ่งการให้เหตุผลแบบนิรนัยจะมีความเป็นทางการมากกว่าการให้เหตุผลแบบอุปนัย

ซึ่งจากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ของประเทศไทยมุ่งเน้นที่ผู้เรียนจะต้องมีการพัฒนาให้เกิดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ควบคู่กับการพัฒนาด้านเนื้อหา ความรู้ บทบาท หน้าที่หลักที่สำคัญของครูก็คือการสอน โดยสร้างสรรค์กิจกรรมการจัดการเรียนการ สอนที่น่าสนใจ มีความหมายและมีประสิทธิภาพทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้บรรลุตามจุดมุ่งหมาย ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่ต้องสามารถพัฒนานักเรียนให้ บรรลุเป้าหมายของหลักสูตรได้ ไม่มุ่งเน้นให้ความสำคัญเพียงเฉพาะเนื้อหาแต่ต้องให้ความสำคัญ ต่อทักษะกระบวนการอีกด้วย เพราะทักษะกระบวนการทาง คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้คณิตศาสตร์อย่างมีความหมายและมีคุณค่า เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของ ทักษะชีวิต ที่นักเรียนต้องใช้ทุกวัน (อัมพร ม้าคะนอง, 2549, น.34)

จากปัญหาข้างต้นนักเรียนส่วนใหญ่จึงไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งมีหลายสาเหตุ นักเรียนบางคนไม่ชอบเพราะไม่ถนัดเนื้อหาของวิชาคณิตศาสตร์ยากเกินไป นักเรียนกลุ่มนี้ไม่ค่อยจะประสบผลสำเร็จในการทำแบบฝึกหัด มักทำแบบฝึกหัดไม่ได้หรือทำผิดบ่อยๆ นักเรียนบางคนไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์เพราะครูสอนไม่เข้าใจ การปลูกฝังในเรื่องของความคิดเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการที่เป็นเหตุเป็นผล โดยการฝึกนักเรียนให้เป็นคนช่างสังเกต และนำเอาหลักการทางคณิตศาสตร์มาอธิบายการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆในด้านของการแก้ปัญหา ควรฝึกให้นักเรียนรู้จักการแก้ปัญหาง่ายๆตรงไปตรงมาและค่อยๆซับซ้อนตามลำดับ โดยการแก้ปัญหานั้นไม่จำเป็นต้องเน้นเฉพาะปัญหาทางคณิตศาสตร์อย่างเดียว อาจเป็นปัญหาทั่วไป หรือปัญหาในการให้เหตุผล ปัญหาทางด้านตรรกศาสตร์ เหตุผลในการแก้ปัญหาของนักเรียนแต่ละคนอาจจะตัดสินใจไม่ได้ว่าใครถูกหรือผิด แต่ควรจะพิจารณาถึง เหตุผลที่ใช้ในการสนับสนุน นอกจากนี้แล้วควรฝึกให้นักเรียนมองปัญหาในเชิงที่เป็นระบบมากขึ้น รู้ว่าเมื่อเกิดปัญหาต่างๆขึ้นแล้วควรจะดำเนินการอย่างไร ควรปลูกฝังให้นักเรียนมีความคิดในเชิงตรรกศาสตร์เพื่อให้นักเรียนมีเหตุผลในเชิงของการแก้ปัญหาทางด้านการเรียนรู้ คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับนามธรรมค่อนข้างมาก ผู้สอนควรหารูปแบบที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น (ภัทรกุล จริยวิทยานนท์ และอินทิรา ศรีวัฒนะธรรมา, 2552, น.64)

ดังนั้นจากที่ผู้วิจัยได้สอนนักเรียนผลปรากฏว่ายังมีนักเรียนบางคนที่ไม่ค่อยเข้าใจในวิชาคณิตศาสตร์ ยังไม่ชอบในวิชานี้เนื่องจากนักเรียนไม่เข้าใจในเนื้อหา แก้โจทย์ปัญหาไม่ค่อยได้ รวมทั้งนักเรียนยังคงมีอคติกับวิชาคณิตศาสตร์ และทั้งหมดนี้จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้วิจัยเลือกการจัดกิจกรรมการเรียนสอนแบบ 5E มาใช้ในการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน เพื่อต้องการให้นักเรียนมีส่วนได้คิดและลงมือปฏิบัติในการเรียนร่วมกัน และการสอนแบบนี้จะทำให้นักเรียนมีส่วนในการคิดด้วยตนเองและฝึกแลกเปลี่ยนความรู้กันภายในกลุ่ม

คำถามงานวิจัย

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E จะช่วยให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ดีขึ้นหรือไม่

วัตถุประสงค์การวิจัย

  1. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวิมุตยารามพิทยากร โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E ก่อนเรียนและหลังเรียน
  2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวิมุตยารามพิทยากรที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E

ขอบเขตของการวิจัย

ประชากรที่ใช้ในงานวิจัย

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียน             ที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนวิมุตยารามพิทยากรสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 จำนวน 4 ห้อง รวมนักเรียนทั้งหมด 160 คน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ได้แก่  นักเรียนชันมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เนื่องจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ค่อนข้างต่ำกว่าในระดับสายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ตัวแปรที่ใช้ในงานวิจัย

ตัวแปรอิสระ
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E

ตัวแปรตาม

  1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน
  2. ความพึงพอใจของนักเรียน ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E

สมมติฐานงานวิจัย

  1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 หลังการเรียนรู้ โดยจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E สูงกว่าก่อนเรียน
  2. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E อยู่ในระดับมาก

ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย

  1. นักเรียนได้มีการคิดค้นคำตอบด้วยตนเอง ฝึกการคิด การทำงานกันเป็นกลุ่ม
  2. เป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

นิยามศัพท์เฉพาะ      

  1. นักเรียน หมายถึง นักเรียนชันมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 โรงเรียนวิมุตยารามพิทยากร
  2. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E หมายถึง การสืบเสาะหาความรู้ เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย คือ การถามคำถาม ออกแบบการสำรวจข้อมูลการสำรวจข้อมูล  การวิเคราะห์ การสรุปผล การคิดค้นประดิษฐ์ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสื่อสารคำอธิบาย (Wu & Hsieh, 2006) โดยมีด้วยกัน 5 ขั้นตอน ดังนี้
    2.1 ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจ
    2.2 ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) เมื่อทำความเข้าใจในประเด็นหรือคำถามที่สนใจจะศึกษาอย่างถ่องแท้แล้ว ก็มีการวางแผนกำหนดแนวทาง
    2.3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) เมื่อได้ข้อมูลอย่างเพียงพอจากการสำรวจตรวจสอบแล้ว จึงนำข้อมูล ข้อสนเทศที่ได้มาวิเคราะห์ แปลผล สรุปผล และนำเสนอผลที่ได้ในรูปต่างๆ เช่น บรรยายสรุป สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์
    2.4 ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิม
    2.5 ขั้นประเมิน (Evaluation) เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่างๆ ว่านักเรียนมีความรู้อะไรบ้าง อย่างไรและมากน้อยเพียงใด จากขั้นนี้จะนำไปสู่การนำความรู้ ไปประยุกต์ใช้ในเรื่อง
  3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ หมายถึง ผลที่เกิดจากกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E ที่จะทำให้นักเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  และสามารถวัดได้โดยให้นักเรียนสอบข้อสอบปรนัย  เป็นจำนวน 20 ข้อ
  4. ความพึงพอใจในการเรียนคณิตศาสตร์ หมายถึง นักเรียนเข้าใจและชอบในการการ

ในการวิจัย เรื่องการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E ในครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

  1. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
  1. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E
  • ความหมายของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E
  • ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E
  • บทบาทของครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E
  1. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์
  • ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
  • ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์
  • การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
  1. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ
  • ความหมายของความพึงพอใจ
  • การวัดความพึงพอใจ
  • เกณฑ์การวัดความพึงพอใจ
  1. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

 

เอกสารที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551

  1. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์
    กระทรวงศึกษาธิการ (2551, น.13) ได้กล่าวถึง สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ไว้ดังนี้
    สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
    มาตรฐาน ค 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
    มาตรฐาน ค 1.2 เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่างๆ และใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา
    มาตรฐาน ค 1.3 ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหา
    มาตรฐาน ค 1.3 เข้าใจระบบจำนวน และนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้สาระที่ 2 การวัด
    มาตรฐาน ค 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัดสาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
    มาตรฐาน ค 6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสารการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
  1. คุณภาพผู้เรียนด้านคณิตศาสตร์
    กระทรวงศึกษาธิการ (2551, น.60-61) ได้กล่าวถึง คุณภาพของผู้เรียนด้านการเรียนคณิตศาสตร์ ไว้ดังนี้
    มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับจำนวนจริง มีความเข้าใจเกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วน ร้อยละ เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็ม รากที่สองและรากที่สามของจำนวนจริง สามารถดำเนินการเกี่ยวกับจำนวนเต็ม เศษส่วน ทศนิยม เลขยกกำลัง รากที่สองและรากที่สามของจำนวนจริง ใช้การประมาณค่าในการดำเนินการและแก้ปัญหา และนำความรู้เกี่ยวกับจำนวนไปใช้ในชีวิตจริงได้
    ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา ใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม  ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร  การสื่อความหมาย  และการนำเสนอ ได้อย่างถูกต้อง และชัดเจน  เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์  และนำความรู้  หลักการ  กระบวนการทางคณิตศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่น ๆ   และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

เอกสารที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E

  1. ความหมายของการจัดกิจกรรมการเรียนสอนแบบ 5E
    พจนา มะกรูดอินทร์ (2553, น.2) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E หมายถึง การสืบเสาะหาความรู้ เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย คือ การถามคำถามออกแบบการสำรวจข้อมูลการสำรวจข้อมูล การวิเคราะห์ การสรุปผล การคิดค้นประดิษฐ์ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสื่อสารคำอธิบาย
  2. ชั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E
    สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (สสวท.), 2546 และสาขาชีววิทยา สสวท. , 2550 อ้างถึงใน พจนา มะกรูดอินทร์ (2553, น.2) ได้กล่าวถึง ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E ไว้ 5 ขั้นตอน ดังนี้ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) เป็นขั้นการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจ อาจจะเกิดขึ้นเองหรือเกิดจากความสงสัย เรื่อง ที่สนใจอาจมาจากเหตุการณ์ปัจจุบันหรือเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เพิ่งเรียนรู้มาแล้ว เป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนสร้างคำถามขึ้นมากำหนดประเด็นที่จะศึกษาขั้นที่ 2 ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) เมื่อประเด็นที่จะศึกษามีความชัดเจนแล้ว จะมีการวางแผนเพื่อกำหนดแนวทางการสำรวจตรวจสอบ ตั้งสมมติฐาน กำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้ ปฏิบัติการเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล หรือข้อมูลสารสนเทศ หรือข้อมูลปรากฏการณ์ต่างๆด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การทดลอง ทำกิจกรรมภาคสนามใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างสถานการณ์จำลอง (Simulation) ศึกษาจากเอกสารอ้างอิง หรือแหล่งข้อมูลต่างๆ รวบรวมข้อมูลให้มากเพียงพอที่จะใช้ในขั้นต่อไปขั้นที่ 3 ขั้นอธิบายและลงข้อมูลสรุป (Explain) เมื่อมีข้อมูลอย่างเพียงพอแล้ว นำข้อมูล ข้อมูลสารสนเทศ มาวิเคราะห์ แปรผล สรุปผล พร้อมทั้งจัดทำข้อมูล สรุปผลและอภิปรายผลการทดลอง โดยอ้างอิงหลักฐานที่ชัดเจนและนำเสนอผลงาน ซึ่งแสดงถึงการสร้างองค์ความรู้ใหม่ของนักเรียนขั้นที่ 4 ขั้นขยายความรู้ (Elaborate) เป็นขั้นของการจัดกิจกรรมหรือสถานการณ์ให้นักเรียนมีความรู้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ขยายกรอบความคิดให้กาว้างยิ่งขึ้น มีการเชื่อมโยงความรู้เดิม สู่ความรู้ใหม่ เพื่อให้เกิดการนำไปสู่การค้นคว้าทดลองเพิ่มขึ้น ส่งเสริมให้นักเรียนตั้งประเด็น เพื่อให้เกิดการอภิปราย แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมเพื่อความกระจ่างชัดยิ่งขึ้นซักถามนักเรียนให้เกิดความชัดเจนในความรู้ อาจมีการให้ค้นคว้าเพิ่มเติมในประเด็นที่นักเรียนสนใจขั้นที่ 5 ขั้นประเมินผล (Evaluate) เป็นการประเมินผลการเรียนรู้จากการทำกิจกรรมในขั้นที่ 1-4 เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และเป็นการประเมินผล โดยการใช้แบบทดสอบ ชุดฝึก การทำกิจกรรม การทดลอง การจัดป้ายนิเทศ เป็นการประเมินผลรายบุคคล รายกลุ่ม โดยใช้กระบวนการต่างๆ เพื่อประเมินว่าผู้เรียนมีความรู้อะไรอย่างไร มากน้อยเพียงใด
  3. บทบาทของครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E
    ในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้5 ขั้นตอน จะประสบความสำเร็จ นอกจากประเด็นดังที่กล่าวข้างบนแล้ว ในแต่ละขั้นตอนครูต้องแสดงบทบาทของตนเองดัง ตาราง 1 (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2550, ออนไลน์)

ตารางที่ 1 บทบาทครูในกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบ 5E

ตารางที่ 1 (ต่อ)

เอกสารที่เกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์

  1. ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
    ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นความสามารถของนักเรียนในด้านต่างๆ ซึ่งเกิดจากนักเรียนได้รับประสบการณ์จากกระบวนการเรียนการสอนของครู โดยครูต้องศึกษาแนวทางในการวัดและประเมินผล การสร้างเครื่องมือวัดให้มีคุณภาพนั้น ได้มีผู้ให้ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ดังนี้พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และ พเยาว์ ยินดีสุข (2548, น.125) กล่าวว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหมายถึงขนาดของความสำเร็จที่ได้จากกระบวนการเรียนการสอนปราณี กองจินดา (2549, น.42) กล่าว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหมายถึง ความสามารถหรือผลสำเร็จที่ได้รับจากกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและประสบการณ์เรียนรู้ทางด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย และยังได้จำแนกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ตามลักษณะของวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่แตกต่างกันดังนั้นจึงสรุปได้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความสำเร็จที่เกิดขึ้นที่เกิดจากผู้สอนได้นำทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งมาใช้ แล้วประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยสังเกตได้จากผลที่เกิดขึ้นหลังเรียน หรือที่เรียกกันว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
  1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
    มีนักการศึกษาได้ให้ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดังนี้Wilson, 1971, pp.643-658 อ้างถึงใน พิริยพงศ์ เตขะศิริยืนยง (2553, น.41-43) กล่าวว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ หมายถึง ความสามารถทางด้านสติปัญญาในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งจำแนกพฤติกรรมที่พึงประสงค์ทางด้านพุทธพิสัย ตามกรอบแนวคิดของบลูมไว้ 4 ระดับ ดังนี้
  1. การคิดคำนวณด้านความรู้ความจำพฤติกรรมในระดับนี้ถือว่า เป็นพฤติกรรมที่อยู่ในระดับต่ำสุด แบ่งออกเป็น 3 ขั้น ดังนี้
  • ความรู้ความจำเกี่ยวกับข้อเท็จจริง เป็นความสามารถที่ระลึกถึงข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่นักเรียนเคยได้รับจากการเรียนการสอนมาแล้ว คำถามที่วัดความสามารถในระดับนี้จะเกี่ยวกับข้อเท็จจริงตลอดจนความรู้พื้นฐานซึ่งนักเรียนได้ สั่งสมมาเป็นระยะเวลานานแล้ว
  • ความรู้ความจำเกี่ยวกับศัพท์และนิยาม เป็นความสามารถในการระลึกหรือจำศัพท์และนิยามต่าง ๆ ได้ ซึ่งคำถามที่วัดความสามารถในด้านนี้ จะถามโดยตรงหรือโดยอ้อมก็ได้ แต่ไม่ต้องอาศัยการคิดคำนวณ
  • ความสามารถในการใช้กระบวนการคำนวณเป็นความสามารถในการใช้ข้อเท็จจริงหรือนิยาม และกระบวนการที่ได้เรียนมาแล้วมาคิดคำนวณ ตามลำดับขั้นตอนที่เคยเรียนรู้มา ซึ่งคำถามที่วัดความสามารถในด้านนี้จะต้องเป็นโจทย์ง่าย ๆ คล้ายคลึงกับตัวอย่างนักเรียนไม่ต้องพบกับความยุ่งยากในการตัดสินใจเลือกใช้กระบวนการ
  1. ความเข้าใจเป็นพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับพฤติกรรมระดับความรู้ ความจำ เกี่ยวกับความคิดคำนวณแต่ซับซ้อนกว่า แบ่งออกเป็น 6 ขั้น ดังนี้
  • ความเข้าใจเกี่ยวกับมโนมติเป็นความสามารถ ที่ซับซ้อนกว่าความรู้ความจำเกี่ยวกับข้อเท็จจริง เพราะมโนมติเป็นนามธรรมที่ประมวลจาก ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ต้องอาศัยการตัดสินใจในการตีความหรือยกตัวอย่างของมโนมตินั้นโดยใช้คำพูด ของตนหรือเลือกความหมายที่กำหนดให้ ซึ่งเขียนในรูปใหม่หรือยกตัวอย่างใหม่ที่แตกต่าง ๆ ไป จากที่เคยเรียน
  • ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ กฎทางคณิตศาสตร์ และการสรุปอ้างอิงเป็นกรณี ทั่วไปเป็นความสามารถในการ นำเอาหลักการ กฎ และความเข้าใจเกี่ยวกับมโนมติไปสัมพันธ์กับโจทย์ปัญหาจนได้ แนวทางใน การแก้ปัญหาถ้าคำถามนั้นเป็นคำถามเกี่ยวกับหลักการและกฎที่นักเรียนเพิ่งเคยพบเป็นครั้งแรก อาจจัดเป็นพฤติกรรมในระดับการวิเคราะห์ก็ได้
  • ความเข้าใจในโครงสร้างทางคณิตศาสตร์เป็นคำถามที่วัดเกี่ยวกับสมบัติของระบบจำนวนและโครงสร้างทางพีชคณิต
  • ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบปัญหาจากแบบหนึ่งไปเป็นอีกแบบหนึ่งเป็นความสามารถในการแปลข้อความที่กำหนดให้เป็นข้อความใหม่หรือภาษาใหม่ เช่น แปลจาก ภาษาพูดให้เป็นสมการซึ่งมีความหมายคงเดิม โดยไม่คำนึงถึงกระบวนการแก้ปัญหา
  • ความสามารถในการคิดตามแนวของเหตุผล เป็นความสามารถในการอ่านและเข้าใจข้อความทางคณิตศาสตร์ ซึ่งแตกต่างไปจาก ความสามารถในการอ่านทั่ว ๆ ไป
  • ความสามารถในการอ่านและตีความโจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ข้อสอบที่วัดความสามารถในขั้นนี้ อาจดัดแปลงมาจาก ข้อสอบที่วัดความสามารถในขั้นอื่น ๆ โดยให้นักเรียนอ่านและตีความโจทย์ปัญหาซึ่งอาจจะอยู่ใน รูปของข้อความ ตัวเลข ข้อมูลทางสถิติ หรือกราฟ
  1. การนำไปใช้เป็นความสามารถในการตัดสินใจแก้ปัญหาที่นักเรียน คุ้นเคยเพราะคล้ายกับปัญหาที่นักเรียนประสบอยู่ในระหว่างเรียน หรือแบบฝึกหัดที่นักเรียนต้อง เลือกกระบวนการแก้ปัญหา และดำเนินการแก้ปัญหาได้โดยไม่ยาก พฤติกรรมในระดับนี้แบ่ง ออกเป็น 4 ขั้น คือ
  • ความสามารถในการแก้ปัญหาที่คล้ายกับปัญหาที่ประสบอยู่ในระหว่างเรียน นักเรียนต้องอาศัยความสามารถในระดับความเข้าใจและ เลือกกระบวนการแก้ปัญหาจนได้คำตอบออกมา
  • ความสามารถในการเปรียบเทียบ เป็นความสามารถในการค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล 2 ชุด เพื่อสรุปการตัดสินใจ ซึ่งในการแก้ปัญหาขั้นนี้ อาจต้องใช้วิธีการคำนวณ และจำเป็นต้องอาศัยความรู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผล
  • ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นความสามารถในการตัดสินใจอย่างต่อเนื่องในการหาคำตอบจากข้อมูลที่กำหนดให้ ซึ่งอาจต้อง อาศัยการแยกข้อมูลที่เกี่ยวข้องออกจากข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้อง พิจารณาว่าอะไรคือข้อมูลที่ต้องการเพิ่มเติมมีปัญหาอื่นใดบ้างที่อาจเป็นตัวอย่างในการหาคำตอบของปัญหาที่กำลังประสบอยู่หรือ ต้องแยกโจทย์ปัญหาออกพิจารณาเป็นส่วน ๆ มีการตัดสินใจหลายครั้งอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นจนได้คำตอบหรือผลลัพธ์ที่ต้องการ
  • ความสามารถในการมองเห็นแบบลักษณะโครงสร้างที่เหมือนกันและสมมาตร เป็นความสามารถที่ต้อง อาศัยพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การระลึกถึงข้อมูลที่กำหนดให้ การเปลี่ยนรูปปัญหา การจัด กระทำกับข้อมูล และการระลึกถึงความสัมพันธ์ นักเรียนต้องสำรวจหาสิ่งที่คุ้นเคยกันจากข้อมูล หรือสิ่งที่กำหนดจากโจทย์ปัญหาให้พบ
  1. การวิเคราะห์ เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาที่นักเรียนไม่เคยเห็น หรือไม่เคยทำ แบบฝึกหัดมาก่อน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโจทย์พลิกแพลง แต่ก็อยู่ในขอบเขตเนื้อหาที่เรียน การแก้โจทย์ปัญหาดังกล่าวต้องอาศัยความรู้ที่ได้เรียนมารวมกับความคิดสร้างสรรค์ ผสมผสานกันเพื่อแก้ปัญหา พฤติกรรมในระดับนี้ถือว่าเป็นพฤติกรรมขั้นสูงสุดของการเรียน การสอนคณิตศาสตร์ซึ่งต้องใช้สมรรถภาพสมองระดับสูง แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้
  • ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาที่ไม่เคยประสบมาก่อน คำถามในขั้นนี้เป็นคำถามที่ซับซ้อนไม่มีในแบบฝึกหัดหรือตัวอย่าง นักเรียนต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ผสมผสานกับความเข้าใจมโนมติ นิยาม ตลอดจนทฤษฎี ต่าง ๆ ที่เรียนมาแล้วเป็นอย่างดี
  • ความสามารถในการค้นหาความสัมพันธ์ เป็นความสามารถในการจัดส่วน ต่าง ๆ ที่โจทย์กำหนดให้ใหม่ แล้วสร้างความสัมพันธ์ขึ้นมาใหม่ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาแทน การจำความสัมพันธ์เดิมที่เคยพบมาแล้วมาใช้กับข้อมูลใหม่เท่านั้น
  • ความสามารถในการสร้างข้อพิสูจน์ เป็นความสามารถในการสร้างภาษา เพื่อยืนยันข้อความทางคณิตศาสตร์อย่างสมเหตุสมผล โดย อาศัยนิยาม สัจพจน์ และทฤษฎีต่าง ๆ ที่เรียนมาแล้วพิสูจน์โจทย์ปัญหาที่ไม่เคยพบมาก่อน
  • ความสามารถในการวิพากษ์วิจารณ์ข้อพิสูจน์เป็นความสามารถที่ควบคู่กับความสามารถในการสร้างข้อพิสูจน์ อาจเป็นพฤติกรรมที่มีความ ซับซ้อนน้อยกว่าพฤติกรรมในการสร้างข้อพิสูจน์ พฤติกรรมในขั้นนี้ต้องการให้นักเรียนสามารถ ตรวจสอบข้อพิสูจน์ว่าถูกต้องหรือไม่
  • ความสามารถในการสร้างสูตรและทดสอบความถูกต้อง ให้มีผลใช้ได้เป็นกรณี ทั่วไป เป็นความสามารถในการค้นพบ สูตรหรือกระบวนการแก้ปัญหา และพิสูจน์ว่าใช้เป็นกรณีทั่วไปได้

เอกสารที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ

  1. ความหมายของความพึงพอใจ
    ความพึงพอใจ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Satisfaction ซึ่งมีนักวิชาการหลายท่านได้ศึกษาและให้ความหมายไว้ต่างๆ กันดังนี้
    โคร์แมน (Kroman, 1997: pp.140-143) อ้างถึงใน สุวดี ประสงค์ดี (2554, น.41) ได้จำแนกทฤษฎีความพึงพอใจในงานว่ามี 2 กลุ่ม คือ
  1. ทฤษฎีการสนองความต้องการ กลุ่มนี้ถือว่าความพึงพอใจในงานเกิดจากความต้องการส่วนบุคคล ที่มีความสัมพันธ์ต่อผลที่ได้รับจากงานการประสบความสำเร็จตามบรรลุเป้าหมายส่วนบุคคล
  2. ทฤษฎีการอ้างอิงกลุ่ม ความพึงพอใจในงานมีความสัมพันธ์ในทางบวก กับคุณลักษณะของงาน ตามความปรารถนาของกลุ่ม ซึ่งสมาชิกให้กลุ่มเป็นแนวทางในการประเมินผลการทำงานดังนั้นสรุปได้ว่าความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในด้านบวก และการปฏิบัติงานได้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ หรืออาจเกี่ยวข้องกับการทำงาน ซึ่งอาจจะเกิดจากการตอบสนองของผู้บังคับบัญชา มีที่มีการตอบแทนการทำงาน ที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจ
  1. การวัดความพึงพอใจ
    สุวดี ประสงค์ดี (2554, น.42) กล่าวว่า วิธีการวัดความพึงพอใจกระทำได้หลายวิธี ได้แก่ การใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกตจาก กิริยาท่าทาง สีหน้า การพูด และความถี่ของการมาขอรับบริการ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับ ความสะดวก ความเหมาะสม ตลอดจนจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายของการวัด เครื่องมือที่ใช้วัด จึงได้แก่ แบบสอบถามมาตรประมาณค่า อาจจะเป็นการวัดแบบวิเคร์ท มาตรวัดแบบเทอร์สโตน มาตรวัดแบบออสกูด แบบบันทึกสังเกต และการสัมภาษณ์เป็นต้น
  1. เกณฑ์การวัดความพึงพอใจ
    สุวดี ประสงค์ดี (2554, น.40) ได้ให้เกณฑ์การวัด แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับโดยให้คะแนนตามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ดังนี้
    5 หมายถึง ระดับความพึงพอใจมากที่สุด
    4 หมายถึง ระดับความพึงพอใจมาก
    3 หมายถึง ระดับความพึงพอใจปานกลาง
    2 หมายถึง ระดับความพึงพอใจน้อย
    1 หมายถึง ระดับความพึงพอใจน้อยที่สุดเกณฑ์การประเมินความพึงพอใจแบบมาตราส่วนประมาณค่า เพื่อหาความเหมาะสมของความพึงพอใจ มีเกณฑ์ดังนี้
    คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 4.50  – 5.00      ความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
    คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 3.50 – 4.49       ความพึงพอใจในระดับมาก
    คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 2.50 – 3.49       ความพึงพอใจในระดับปานกลาง
    คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 1.50 – 2.49       ความพึงพอใจในระดับน้อย
    คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 1.00 – 1.49        ความพึงพอใจในระดับน้อยที่สุด

 

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ผู้วิจัยได้ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สรุปงานงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังนี้

พงค์พันธ์ ปิจดี (2553, บทคัดย่อ) การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5อี สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลการวิจัยสรุปได้ว่า  นักเรียนที่ได้รับการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5อี สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความสามารถในการแก้ปัญหาอยู่ในระดับดี นักเรียนแก้ปัญหาได้ถูกต้อง ใช้ยุทธวิธีการแก้ปัญหาอย่างหลากหลาย และใช้ยุทธวิธีเหล่านั้นเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของคำตอบ

อารียา กาซา (2554, บทคัดย่อ) การพัฒนาชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เรื่องความน่าจะเป็น โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ผลการวิจัยสรุปได้ว่า  ชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เรื่องความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าประสิทธิภาพ 77.34 /76.40 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 75/75  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เรื่องความน่าจะเป็น โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เรื่องความน่าจะเป็น โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E อยู่ในระดับมาก ( X =4.22, S = 0.80)

พีชาณิกา เพชรสังข์ (2555, บทคัดย่อ) ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน 5E ร่วมกับคาถามปลายเปิดที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2  ผลการวิจัยสรุปได้ว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน 5E ร่วมกับคำถามปลายเปิดมีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน 5E ร่วมกับคำถามปลายเปิดมีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนกลุ่มทดลองมีพัฒนาการดีขึ้น

สะรียา  สะและหมัด (2555, บทคัดย่อ) ผลการใช้ชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์ โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E เรื่องเศษส่วน  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผลการวิจัยสรุปได้ว่าชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E เรื่องเศษส่วน  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  ที่ระดับ 80.90/80  และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์  ด้วยกิจกรรม  โดยการจัดกิจกรรมรู้แบบ 5E เรื่องเศษส่วน  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

ธนปัตย์ ปัทมโกมล (2556, บทคัดย่อ) ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์   เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติโดยการใช้วิธีสอนแบบ 5E ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผลการวิจัยพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนจากวิธีสอนแบบ 5E สูงกว่าของนักเรียนที่เรียนจากวิธีสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนจากวิธีสอนแบบ 5E สูงกว่าของนักเรียนที่เรียนจากวิธีสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05

ฟารีดา กุลโรจนสิริ (2557, บทคัดย่อ) การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเซต โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผลการวิจัยพบว่า แบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเซต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ได้ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2 ) เท่ากับ 83.23/81.90 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเซต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4        ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเซต โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด

การวิจัยเรื่องการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์  เรื่องการเปรียบเทียบ-            จำนวนเต็มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวิมุตยารามพิทยากร โดยการจัดกิจกรรมเรียนการเรียนการสอนแบบ 5E การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

  1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
  2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
  3. ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือและหาคุณภาพ
  4. การดำเนินการทดลองและเก็บข้อมูล
  5. ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล
  6. สถิติที่ใช้ในการศึกษา

 

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนวิมุตยารามพิทยากร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร  เขต 1 จำนวน 4 ห้อง  รวมนักเรียนทั้งหมด 160 คน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ได้แก่  นักเรียนชันมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เนื่องจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ค่อนข้างต่ำกว่าในระดับสายชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1

 

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มีดังนี้

  1. แผนการจัดการจัดการเรียนรู้แบบ 5E วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน จำนวน 8 แผน ใช้เวลา 8 คาบ คาบละ 50 นาที
  2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 20 ข้อ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก
  3. แบบสอบถามพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5Eจำนวน 10 ข้อ

 

ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือและหาคุณภาพ

ผู้วิจัยได้มีการใช้เครื่องมือและหาคุณภาพ  ตามขั้นตอนดังนี้

    1. ขั้นตอนสร้างแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E
      1.1 ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวิมุตยารามพิทยากร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และคู่มือการสอนคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกระทรวงศึกษาธิการและหนังสือที่เกี่ยวข้อง
      1.2 ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการ-สอนแบบ 5E
      1.3 วิเคราะห์สาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน เพื่อกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้และสาระการเรียนรู้
      1.4 แผนการจัดการเรียนรู้แบบ 5E วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ โดยมีแผนการจัดการจัดการเรียนรู้ 8 แผน คือ

      แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ทบทวนเรื่องเศษส่วน 1 คาบ
      แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่องการเปรียบเทียบเศษส่วน 1 คาบ
      แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่องการบวกเศษส่วน 1 คาบ
      แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 เรื่องการลบเศษส่วน 1 คาบ
      แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 เรื่องการคูณเศษส่วน 1 คาบ
      แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 เรื่องการหารเศษส่วน 1 คาบ
      แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 เรื่องโจทย์ปัญหาเศษส่วน 1 คาบ
      แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8 ทดสอบหลังเรียน 1 คาบ
      รวม  คาบสอน 8 คาบ

      1.5 นำแผนการจัดการเรียนรู้แบบ 5E ที่ผู้วิจัยสร้าง เสนอต่ออาจารย์นิเทศก์ และครูพี่เลี้ยง เพื่อการตรวจสอบความเหมาะสม และความถูกต้องของจุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้ และระยะเวลาที่ใช้สอนตลอดจนการใช้ภาษาที่ถูกต้อง
      1.6 นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของอาจารย์นิเทศก์ที่แก้ไขแล้ว ไปเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญในการตรวจเครื่องมือจำนวน 3 ท่าน เพื่อการตรวจสอบ ตามความเหมาะสม โดยให้คะแนนตามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีเกณฑ์ตัดสินดังนี้
      แบบมาตราส่วนประมาณค่า ของลิเคิอร์ท (Rating Scale) ตาม สุวดี ประสงค์ดี (2554, น.40) ดังนี้
      5  หมายถึง  ระดับความเหมาะสมมากที่สุด
      4  หมายถึง  ระดับความเหมาะสมมาก
      3  หมายถึง  ระดับความเหมาะสมปานกลาง
      2  หมายถึง  ระดับความเหมาะสมน้อย
      1  หมายถึง  ระดับความเหมาะสมน้อยที่สุด

      1.7 นำผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญมาวิเคราะห์เกณฑ์หาความเหมาะสม แล้วเทียบกับเกณฑ์การประเมินในครั้งนี้ ได้ตั้งเกณฑ์ตาม สุวดี  ประสงค์ดี (2554, น.40) ดังนี้

      คะแนนเฉลี่ยสูงกว่า 4.50 – 5.00             ระดับความเหมาะสมมากที่สุด
      คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 3.50 – 4.49            ระดับความเหมาะสมมาก
      คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 2.50 – 3.49            ระดับความเหมาะสมปานกลาง
      คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 1.50 – 2.49             ระดับความเหมาะสมน้อย
      คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 1.00 – 1.50              ระดับความเหมาะสมน้อยที่สุด

      1.8 นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านการประเมินแล้ว นำไปใช้กับกลุ่มนักเรี

    2. ยนที่ต้องการวิจัย

ขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบวัดสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเศษส่วน
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเศษส่วน แบบเลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ โดยมีขั้นตอนในการสร้าง ดังนี้

      • 2.1 ศึกษาหลักสูตร คู่มือครู แบบเรียน และวิธีการสร้างแบบทดสอบวัดผลการเรียน
      • 2.2 สร้างตารางวิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
      • 2.3 สร้างแบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ เรื่องเศษส่วน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ โดยให้สอดคล้องกับตารางวิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้ แล้วนำไปให้อาจารย์นิเทศก์ และครูพี่เลี้ยงตรวจสอบความถูกต้อง เหมาะสม
      • 2.4 นำแบบทดสอบที่อาจารย์นิเทศตรวจ แล้วนำไปแก้ไข
      • 2.5 นำแบบทดสอบที่แก้ไขเรียบร้อยแล้วต่อเสนอผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ตรวจสอบความสอดคล้องของข้อสอบ กับจุดประสงค์การเรียนรู้ มาคำนวณค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์การเรียนรู้ (IOC :_Index of Item Objective Congruence) ตามประสาท เนืองเฉลิม (2556, น.190) โดยมีเกณฑ์ไว้ดังนี้

+1        เมื่อแน่ใจว่าสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
-1        เมื่อแน่ใจว่าไม่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
0        เมื่อไม่แน่ใจว่าสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้

      • 2.6 คัดเลือกข้อสอบที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์การเรียนรู้ (IOC :_Index of Item Objective Congruence) ที่มีดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป แล้วจะคัดเลือกข้อสอบเพียง 20 ข้อ เพื่อนำไปใช้ในการวิจัยกับนักเรียยน

3. ขั้นตอนการสร้างแบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E

3.1 ศึกษาเอกสาร แนวคิดทฤษฎี และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบ/วิธีการจัดการเรียนรู้ที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ องค์ความรู้เกี่ยวกับความพึงพอใจในการเรียนรู้ และกระบวนการสร้างแบบวัด
3.2 สร้างต้นฉบับแบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E โดยจัดทำเป็นแบบการประเมินที่มีค่า 5 ระดับโดยให้คะแนนตามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีเกณฑ์ตัดสิน สุวดี ประสงค์ดี (2554, น.40) ดังนี้

แบบมาตราส่วนประมาณค่า
5  หมายถึง  ระดับความพึงพอใจมากที่สุด
4  หมายถึง  ระดับความพึงพอใจมาก
3  หมายถึง  ระดับความพึงพอใจปานกลาง
2  หมายถึง  ระดับความพึงพอใจน้อย
1  หมายถึง  ระดับความพึงพอใจน้อยที่สุด

แล้วเสนอต่ออาจารย์นิเทศก์ และครูพี่เลี้ยง ตรวจสอบด้านคุณภาพโดยพิจารณาความถูกต้องชัดเจน ความเหมาะสม และความสอดคล้องของข้อคำถามแต่ละข้อ แล้วนำผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนมาวิเคราะห์เกณฑ์ แล้วเทียบกับเกณฑ์การประเมินในครั้งนี้ ได้ตั้งเกณฑ์ไว้ตาม สุวดี ประสงค์ดี (2554, น.40) ดังนี้

คะแนนเฉลี่ยระหว่าง  4.50 – 5.00      ความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
คะแนนเฉลี่ยระหว่าง  3.50 – 4.49      ความพึงพอใจในระดับมาก
คะแนนเฉลี่ยระหว่าง  2.50 – 3.49      ความพึงพอใจในระดับปานกลาง
คะแนนเฉลี่ยระหว่าง  1.50 – 2.49       ความพึงพอใจในระดับน้อย
คะแนนเฉลี่ยระหว่าง  1.00 – 1.49       ความพึงพอใจในระดับน้อยที่สุด

3.3 นำแบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E มาปรับปรุงแก้ไข เตรียมหาความเชื่อมั่น และความพึงพอใจ
3.4 หาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E โดยหาได้จากกลุ่มนักเรียนที่ใช้ในการวิจัย โดยผ่านการเรียนมาแล้ว 2 คาบ

สูตรการหาความเชื่อมั่นของครอนบัค ตามของ ประสาท เนืองเฉลิม (2554, น.198)

เกณฑ์การแปลผล ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมืออยู่ระหว่าง 0.00 – 1.00 ยิ่งใกล้ 1.00 ยิ่งมีความเชื่อมั่นสูง
เกณฑ์การแปลผลความเชื่อมั่น ตามของ ประสาท เนืองเฉลิม (2554, น.198) มีดังนี้
0.00 – 0.20 ความเชื่อมั่นต่ำมาก / ไม่มีเลย
0.21 – 0.40 ความเชื่อมั่นต่ำ
0.41 – 0.70 ความเชื่อมั่นปานกลาง
0.71 – 1.00 ความเชื่อมั่นสูง

จากการคำนวณหาความเชื่อมั่นได้ค่าความเชื่อมั่น .88 นั่นคือ ความเชื่อมั่นสูง

การดำเนินการทดลองและเก็บข้อมูล 

การวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้ ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

  1. ขอความร่วมมือกับโรงเรียนวิมุตยารามพิทยากร จ.กรุงเทพมหานคร ที่ทำการทดลองสอนซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยจะดำเนินการทดลองสอนด้วยตนเอง ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
  2. ชี้แจงให้กลุ่มตัวอย่างทราบถึงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติตนได้ถูกต้อง
  3. ทดสอบกลุ่มตัวอย่างก่อนการเรียน (Pre – test) โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน จำนวนข้อสอบ 20 ข้อ ใช้เวลา 30 นาที
  4. ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E โดยใช้เวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน รวมทั้งหมด 8 คาบ คาบละ 50 นาที
  5. ดำเนินการหาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E โดยหาได้จากกลุ่มนักเรียนที่ใช้ในการวิจัย โดยผ่านการเรียนมาแล้ว 2 คาบ
  6. หลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E แล้วจะทำการทดสอบหลังเรียนด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ด้วยแบบทดสอบชุดเดียวกับก่อนเรียน โดยใช้เวลาในการทำแบบทดสอบ 50 นาที และบันทึกผลการทดสอบเป็นคะแนนหลังเรียน
  7. หลังจากที่นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนแล้ว ให้นักเรียนทำแบบสอบถามความพึงพอใจที่ได้รับหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E โดยใช้แบบสอบถามชุดเดิมกับการหาค่าความเชื่อมั่น
  8. บันทึกผลความพึงพอใจ
  9. เก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติเพื่อตรวจสอบสมมติฐานต่อไป

ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล

  1. หาคุณภาพของเครื่องมือโดยใช้สูตร ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S), ค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อสอบ (IOC), ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความพึงพอใจ
  2. หาค่าสถิติพื้นฐานของคะแนนการทดสอบก่อนเรียน
  3. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้สูตร สถิติทดสอบสมมติฐาน (t-test for dependent sample)
  4. วิเคราะห์ความพึงพอใจของแบบสอบถามความพึงพอใจที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E โดยใช้สูตร ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

สถิติที่ใช้ในการวิจัย

สถิติที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีดังต่อไปนี้

1. สถิติพื้นฐาน
ค่าเฉลี่ยเลขคณิต  (Mean)  (บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์, 2553, น.129)

2. สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
การหาความเที่ยงตรงของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์โดยใช้ค่าดัชนีสอดคล้อง  (ประสาท เนืองเฉลิม, 2556, น.190)

3. สถิติที่ใช้ในการหาความเชื่อมั่น
สูตรการหาความเชื่อมั่นของครอนบัค  (ประสาท เนืองเฉลิม, 2556, น.198)

การรายงานผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวิมุตยารามพิทยากร โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้เสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับ ดังนี้

  1. สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
  2. การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล
  3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้วิจัยได้กำหนดใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ ในการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้

การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล

การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ผู้วิจัยได้แบ่งการนำเสนอผลการวิเคราะห์ดังนี้

ตอนที่ 1 การวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ตอนที่ 2 ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E

 

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

ตอนที่ 1 การวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งผลการวิเคราะห์ปรากฏในตารางที่ 3 ดังนี้

ตารางที่ แสดงผลการเปรียบเทียบคะแนนสอบก่อน และหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1

กลุ่มตัวอย่าง N df คะแนนเต็ม ก่อนเรียน หลังเรียน t
นักเรียน 30 29 20 7.20 15.24 18.56 *

* ค่า t มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t.05,29 = 1.6991)

จากตารางที่ 2 พบว่าการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.20 คะแนน และ 15.23 คะแนนตามลำดับ และ ค่า t คำนวณ มีค่าเท่ากับ 18.56 และ ค่า t ตาราง มีค่าเท่ากับ 1.6991 ซึ่งพบว่า ค่า t คำนวณ มีค่ามากกว่าค่า t ตาราง จึงสามารถสรุปได้ว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

ตอนที่ 2 ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E

ตารางที่ 3 แสดงผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S) ระดับ และอันดับความพึงพอใจของนักเรียน

กิจกรรมการเรียนการสอน N = 30 ระดับ อันดับ
1. ตั้งคำถามกระตุ้นให้นักเรียนคิด 4.73 0.45 มากที่สุด 1
2. สร้างความสนใจ 4.56 0.72 มากที่สุด 2
3. สังเกตและฟังการโต้ตอบกันระหว่าง นักเรียนกับ
นักเรียน
4.16 0.79 มาก 7
4. ให้เวลานักเรียนในการคิดข้อสงสัย ตลอดจนปัญหา
ต่าง ๆ
4.13 0.69 มาก 10

 

ตารางที่ 3 (ต่อ)

กิจกรรมการเรียนการสอน N = 30 ระดับ อันดับ
5. ส่งเสริมให้นักเรียนอธิบายแนวคิด หรือให้คำจำกัด
ความด้วยคำพูดของนักเรียนเอง
4.30 0.53 มาก 5
6. ให้นักเรียนแสดงหลักฐาน ให้เหตุผลและอธิบายให้
กระจ่าง
4.16 0.74 มาก 9
7. ส่งเสริมให้นักเรียนนำสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้ไป
ประยุกต์ใช้หรือขยายความรู้และทักษะใน
สถานการณ์ใหม่
4.23 0.77 มาก 6
8. ให้นักเรียนอธิบายอย่างมีความหมาย 4.16 0.79 มาก 8
9.ให้นักเรียนประเมินการเรียนรู้และทักษะ
กระบวนการกลุ่ม
4.36 0.66 มาก 3
10. ถามคำถามปลายเปิด 4.33 0.54 มาก 4
เฉลี่ย 4.31 0.70 มาก

 

จากตารางที่ 3 พบว่าความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อแล้วเรียงอันดับจากมากไปน้อยได้ 3 อันดับแรก ได้แก่ ตั้งคำถามกระตุ้นให้นักเรียนคิด สร้างความสนใจ และให้นักเรียนประเมินการเรียนรู้ และทักษะกระบวนการกลุ่มตามลำดับ

การสรุปผลการวิจัยเรื่องการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวิมุตยารามพิทยากร โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E ประกอบด้วยสาระสำคัญดังนี้

  1. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
  2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
  3. เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล
  4. การดำเนินการทดลองและเก็บข้อมูล
  5. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล
  6. อภิปรายผล
  7. ข้อเสนอแนะ

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ดังนี้

  1. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวิมุตยารามพิทยากร โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E ก่อนเรียนและหลังเรียน
  2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวิมุตยารามพิทยากร ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E

 

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากรที่ใช้ในงานวิจัย

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนวิมุตยารามพิทยากร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา  กรุงเทพมหานคร  เขต 1 จำนวน 4 ห้อง  รวมนักเรียนทั้งหมด 160 คน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย

นักเรียนชันมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เนื่องจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ค่อนข้างต่ำกว่าในระดับสายชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1

 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

  1. แผนการจัดการจัดการเรียนรู้แบบ 5E วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน จำนวน 8 แผน ใช้เวลา 8 คาบ คาบละ 50 นาที
  2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 20 ข้อ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก
  3. แบบสอบถามพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5Eจำนวน 10 ข้อ

การดำเนินการทดลองและเก็บข้อมูล

การวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้ ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

  1. ขอความร่วมมือกับโรงเรียนวิมุตยารามพิทยากร จ.กรุงเทพมหานคร ที่ทำการทดลองสอนซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยจะดำเนินการทดลองสอนด้วยตนเอง ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
  2. ชี้แจงให้กลุ่มตัวอย่างทราบถึงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติตนได้ถูกต้อง
  3. ทดสอบกลุ่มตัวอย่างก่อนการเรียน (Pre – test) โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน จำนวนข้อสอบ 20 ข้อ ใช้เวลา 30 นาที
  4. ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E โดยใช้เวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน รวมทั้งหมด 8 คาบ คาบละ 50 นาที
  5. ดำเนินการหาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E โดยหาได้จากกลุ่มนักเรียนที่ใช้ในการวิจัย โดยผ่านการเรียนมาแล้ว 2 คาบ
  6. หลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E แล้วจะทำการทดสอบหลังเรียนด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ด้วยแบบทดสอบชุดเดียวกับก่อนเรียน โดยใช้เวลาในการทำแบบทดสอบ 50 นาที และบันทึกผลการทดสอบเป็นคะแนนหลังเรียน
  7. หลังจากที่นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนแล้ว ให้นักเรียนทำแบบสอบถามความพึงพอใจที่ได้รับหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E โดยใช้แบบสอบถามชุดเดิมกับการหาค่าความเชื่อมั่น
  8. บันทึกผลความพึงพอใจ
  9. เก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติเพื่อตรวจสอบสมมติฐานต่อไป

 สรุปผลการวิจัย

  1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 หลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  2. ความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E โดยรวมอยู่ในระดับมาก

 อภิปรายผล

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษา พบประเด็นที่จะอภิปรายได้ดังนี้

  1. ผลการศึกษาของคะแนนการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าคะแนนการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยคะแนนของการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเป็น 20 และคะแนนของการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเป็น 15.23 ทั้งนี้เนื่องจาก การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E ที่จัดขึ้นนั้น ได้จัดตามขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ ขั้นสร้างความสนใจ ขั้นสำรวจและค้นหา ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป ขั้นขยายความรู้ และขั้นประเมินผล ทำให้ผู้เรียนได้มีการพัฒนาตนเอง และมีส่วนร่วมในการออกความคิดเห็น และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E มีประโยชน์ต่อครูผู้สอน ในการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ที่มีการเปลี่ยนวิธีการสอน ส่งผลให้นักเรียนมีความกระตือรือร้น และทำให้นักเรียนสามารถแก้ปัญหาโดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E ได้เป็นอย่างดี จึงส่งผลให้นักเรียนมีคะแนนการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าคะแนนการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน ดังที่ พงค์พันธ์ ปิจดี (2553, บทคัดย่อ) ได้กล่าวว่า การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E มีความสามารถแก้ปัญหาอยู่ในระดับดี และถูกต้อง รวมถึงใช้ยุทธวิธีแก้ปัญหาอย่างหลากหลาย
  2. สอดคล้องกับงานวิจัยของ อารียา กาซา (2554, บทคัดย่อ) การพัฒนาชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ 5E พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสอดคล้องกับงานวิจัยของ สะรียา สะและหมัด (2555, บทคัดย่อ) ผลการใช้ชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์ โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
  3. ความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E โดยรวมอยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้เนื่องจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E ยังช่วยให้นักเรียนได้ทบทวนบทเรียนที่ได้เรียนไปแล้ว และเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ออกความคิดเห็น มีส่วนร่วมกันทำงานภายในกลุ่ม ทำให้นักเรียนมีความเข้าใจด้วยตนเองเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับแผนการจัดการเรียนการสอนได้ระบุจุดประสงค์ไว้อย่างชัดเจน ส่งผลให้ความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ดังที่ พีชาณิกา เพชรสังข์ (2555, บทคัดย่อ) ได้กล่าวไว้ว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ 5E สามารถให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ และมีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยนักเรียนจะมีการคิดเป็นลำดับขั้นตอน สอดคล้องกับงานวิจัยของ ฟารีดา กุลโรจนสิริ (2557, บทคัดย่อ) ได้ทำการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเซต โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการรู้ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเซต โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด

 ข้อเสนอแนะ

  1. ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย
    1.1 ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ครูผู้สอนควรที่จะศึกษาความหมาย และขั้นตอนของการจัดกิจกรรมทั้ง 5 ขั้น อย่างละเอียด เพื่อง่ายต่อการสอน
    1.2ในการทำใบงานของนักเรียนแต่ละคาบเรียน ครูผู้สอนควรที่จะเฉลย ใบงานก่อนที่จะหมดคาบเรียน
  1. ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป
    2.1 ควรจัดการเรียนการสอนแบบ 5E ควบคู่ไปกับนวัตกรรมการสอนแบบอื่น เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
    2.2 ควรสร้างใบงานให้นักเรียนเพิ่มขึ้นในส่วนของการเชื่อมโยงความคิด             หรือการบูรณาการกับวิชาอื่น

การทดสอบการผลิตพลังงานไฟฟ้าของเทอร์โมอิเล็กทริกโมดูล

ชื่อเรื่อง “ การทดสอบการผลิตพลังงานไฟฟ้าของเทอร์โมอิเล็กทริกโมดูล ”
โดย อาจารย์พีรวัจน์ มีสุขและคณะ
สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต

ความเป็นเลิศด้านการผลิตบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
จุดเด่นของบทความวิจัยนี้คือ :-
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการทดสอบการผลิตพลังงานไฟฟ้าของเทอร์โมอิเล็กทริกโมดูล เพื่อทดสอบหาการผลิตแรงดันไฟฟ้าสูงสุดจากผลต่างระหว่างอุณหภูมิด้านความร้อนและอุณหภูมิด้านความเย็นของเทอร์โมอิเล็กทริกโมดูล ผลการทดลองพบว่าการผลิตพลังงานไฟฟ้าของเทอร์โมอิเล็กทริกโมดูลนั้นขึ้นอยู่กับจำนวนเทอร์โมอิเล็กทริกโมดูลมีผลทำให้แรงดันไฟฟ้าเพิ่ม
ขึ้นประโยชน์ของบทความวิจัยนี้คือนำไปใช้ในงานด้านอุตสาหกรรมและด้านการแพทย์ตลอดจนด้านอื่นๆที่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิต ลดค่าใช้จ่ายจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างมหาศาล

View Fullscreen

อิทธิพลของการสั่นสะเทือนเชิงกลต่อการเกิดฟลูอิดไดเซชันของ อนุภาคในฟลูอิดไดซ์เบดแบบสั่น

ชื่อเรื่อง “ อิทธิพลของการสั่นสะเทือนเชิงกลต่อการเกิดฟลูอิดไดเซชันของอนุภาคในฟลูอิดไดซ์เบดแบบสั่น ”
โดย อาจารย์วันวิสาข์ กาญจนาภรณ์
สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต

ความเป็นเลิศด้านการผลิตบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
จุดเด่นของบทความวิจัยนี้คือ :-

บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาอิทธิพลของการสั่นสะเทือนเชิงกลต่อการเกิดฟลูอิดไดเซชันของอนุภาคในฟลูอิดไดซ์เบดแบบสั่น วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปรากฏการณ์ฟลูอิดไดเซชันภายใต้สภาวะการสั่นสะเทือนของฟลูอิดไดซ์เบคคอลัมน์ สามารถสรุปได้ว่า เมื่อความเข้มของการสั่นสะเทือนมีค่าเพิ่มขึ้นค่าความเร็วต่ำสุดของการเกิดฟลูอิดไดเซชันและค่าความดันลดคร่อมเบคมีค่าลดลง งานวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในระบบอบแห้งผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและเงื่อนไขที่ต้องการได้เช่นการประยุกต์ใช้ในระบบอบแห้งผลิตภัณฑ์ต่างๆที่มีการเกาะกันแน่น ความชื้นสูง การประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม เช่น การนำฟลูอิดไดซ์เบดไปใช้ในกระบวนการแช่แข็งอาหารหรือนำไปใช้ในการถ่ายเทความร้อนและการถ่ายเทมวลหรือการขนถ่ายอนุภาคที่มีขนาดเล็กมากๆให้เกิดกระบวนการที่มีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงานได้ นับเป็นประโยชน์ต่อประเทศอย่างยิ่ง

View Fullscreen

การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสามารถในการเผชิญและฝ่าพันอุปสรรค (AQ) ของนิสิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ชั้นปีที่ ๑ (The Development of Causal Relationship Model of Advensity Quotient of the First-Year Udergraduate Students of Bansomdejchaopraya Rajabhat University)

การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสามารถในการเผชิญและฝ่าพันอุปสรรค (AQ) ของนิสิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ชั้นปีที่ ๑ (The Development of Causal Relationship Model of Advensity Quotient of the First-Year Udergraduate Students of Bansomdejchaopraya Rajabhat University)

นางสาวปัญจนาฎ วรวัฒนชัย

View Fullscreen

ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการคิดเชิงบวกของนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏในกรุงเทพมหานคร (A Causal Relationship on Positive Thinking of Pre-service Teachers of Rajabhat University in Bangkok)

ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการคิดเชิงบวกของนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏในกรุงเทพมหานคร (A Causal Relationship on Positive Thinking of Pre-service Teachers of Rajabhat University in Bangkok)

นางสาวปัญจนาฎ วรวัฒนชัย

View Fullscreen