แบบฟอร์มสำหรับการนำเสนอบทสรุปผลงานทางวิชาการ

ชื่อผลงานทางวิชาการ :           จิตวิทยาบุคลิกภาพและการปรับตัว

ประเภทผลงานทางวิชาการ :     หนังสือประกอบวิชาจิตวิทยาบุคลิกภาพและการปรับตัว

ปีที่พิมพ์ :                         พ.ศ. ๒๕๕๙

ข้อมูลเพิ่มเติม :                   สาขาวิชาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ :   นางสาวปัญจนาฎ วรวัฒนชัย ตำแหน่งทางวิชาการ รองศาสตราจารย์ สาขาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจของผลงานทางวิชาการ : หนังสือจิตวิทยาบุคลิกภาพและการปรับตัวเล่มนี้มีความน่าสนใจหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีเนื้อหาความน่าสนใจแตกต่างกัน ได้แก่

            ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบุคลิกภาพ ลักษณะและองค์ประกอบทั่วไป ปัจจัยที่มีอิทธิพลและประโยชน์ของการศึกษาบุคลิกภาพ ทฤษฎีบุคลิกภาพแนวคิดจิตวิเคราะห์ของซิกมันต์ ฟรอยด์ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของจุง ทฤษฎีบุคลิกภาพแนวคิดกลุ่มฟรอยด์ใหม่ของแอตเลอร์ ทฤษฎีสัมพันธ์ภาพระหว่างบุคคลของวัลลิแวน ทฤษฎีความต้องการของคาเรน ฮอร์นาย ทฤษฎีบุคลิกภาพแนวคิดมนุษย์นิยมของมาสโลว์และโรเจอร์ ทฤษฎีบุคลิกภาพแนวคิดพฤติกรรมนิยมของสกินเนอร์ ทฤษฎีบุคลิกภาพแนวคิดลักษณะนิสัยของกอร์ดอน          ออลพอร์ตและแคทเทลล์ และทฤษฎีบุคลิกภาพแนวคิดปัญญานิยมของแคลลี่ การวัดบุคลิกภาพ การพัฒนาบุคลิกภาพ การปรับตัว กลวิธานในการปรับตัว ลักษณะของการปรับตัว พฤติกรรมที่เป็นปัญหาและความสัมพันธ์ของบุคลิกภาพกับสังคมและวัฒนธรรม

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : หนังสือจิตวิทยาบุคลิกภาพและการปรับตัว ประกอบด้วยสาระสำคัญๆ หลายสาระ ซึ่งแต่ละสาระสามารถนำไปใช้ได้ทุกสถานการณ์ ได้แก่

            บุคลิกภาพ หมายถึง ลักษณะโดยส่วนรวมของบุคคล ซึ่งประกอบด้วย ลักษณะภายนอก ได้แก่ รูปร่าง หน้าตา กิริยา ท่าทางและลักษณะภายใน ได้แก่ นิสัย ใจคอความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม อารมณ์ ซึ่งเป็นตัวกำหนดรูปแบบของพฤติกรรมแสดงออกจนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีผลทำให้เป็นคุณลักษณะ เอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล ซึ่งแสดงต่อสิ่งแวดล้อมที่ตนกำลังเผชิญอยู่แตกต่างกัน

            บุคลิกภาพมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในสังคม ปัจจุบันมากจากประเด็นต่อไปนี้

            ๑. ด้านกายภาพ

            ๒. ด้านสมอง

            ๓. ด้านความสามารถ

            ๔. ด้านความประพฤติ

            ๕. ด้านสังคม

            ๖. ด้านอารมณ์

            ทฤษฎีบุคลิกภาพ แนวคิดจิตวิเคราะห์ดั้งเดิม ประกอบด้วยทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของซิกมันด์ ฟรอยด์ มีแนวคิดว่าพฤติกรรมส่วนใหญ่ของมนุษย์มีแรงจูงใจมาจากจิตไร้สำนึก จะผลักดันออกมาในรูปความฝัน การพูดพลั้งปากหรืออาการผิดปกติทางด้านจิตใจในด้านต่างๆ เช่น โรคจิต โรคประสาท เป็นต้น จะแสดงออกมาในรูปแบบสัญชาตญาณทาเพศ แต่ไม่ได้หมายความต้องการทางเพศ

            ในส่วนการทำงานของจิตได้แบ่งการทำงานของจิตมนุษย์เป็น ๓ ระดับ คือ จิตสำนึก จิตก่อนสำนึก จิตไร้สำนึก สำหรับโครงสร้างบุคลิกภาพ (Structure of Personality) ประกอบด้วย ๓ ส่วน คือ อิด (Id) อีโก้ (Ego) และซุปเปอร์อีโก้ (Superego) ทั้ง ๓ ส่วนจะทำงานกลมกลืนประสานกันทำให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีความสุข

            ทฤษฎีจิตวิทยาปัจเจกบุคคลของแอดเลอร์ มีแนวคิดว่ามนุษย์มีลักษณะที่แบ่งแยกไม่ได้ เรียกว่าสามารถเลือกแบบแผนของชีวิตและพบว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมความอ่อนแอ สภาพร่างกายไม่แข็งแรงเป็นสภาวะนำไปสู่ความรู้สึก (Filling)  ของปมด้อย ผลตามมาคือ การป้องกันตนเองและพึงพาผู้อื่นประสบการณ์ที่เด็กได้รับแบ่งเป็น ๓ ลักษณะ คือ

            ๑. เด็กที่เลี้ยงดูแบบตามใจ (Spoiled Child)

            ๒. เด็กถูกทอดทิ้ง (Neglected Child)

            ๓. เด็กที่ได้รับความรักความอบอุ่นอย่างสมบูรณ์ (Warm Child)

            ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของวัลลิแวน เกิดจากแนวคิดที่ว่าบุคลิกภาพของมนุษย์มีผลมาจากสัมพันธภาพระหว่างบุคคลและมนุษย์ภายใต้อิทธิพลของความสัมพันธ์กับผู้อื่น ตั้งแต่แรกเกิดจนวาระสุดท้ายของชีวิต สังคมมีส่วนสำคัญต่อการสร้างบุคลิกภาพ สัมพันธ์ภาพระหว่างบุคคลในสังคมเป็นแรงจูงใจบุคคลเกิดพฤติกรรมขึ้นเป็นความมั่นคงและสัมพันธ์ภาพระหว่างบุคคลที่ดี เพื่อสุขภาพจิตสังคมสมบูรณ์ การมีสัมพันธ์ภาพระหว่างบุคคลที่ไม่ดีจะก่อให้เกิดปัญหามากมาย อันเป็นผลมาจากการขาดความพึงพอใจ การเกิดมโนภาพของบุคลิกภาพเกิดจากกระบวนการจากภาพบุคคล (Personification) ภาพพจน์ (Stereo Type) กระสวนการอบรมสั่งสอน (Supervisory Pattern) ระบบตัวงาน (Self System) พัฒนาการบุคลิกภาพ (Development of Personality) มี ๗ ขั้นตอน คือ วัยทารก วัยเด็กตอนต้น วัยเด็กตอนกลาง วัยเริ่มย่างเข้าสู่วับรุ่น วัยรุ่นตอนต้น วัยรุ่นตอนปลายและวัยผู้ใหญ่  

            ทฤษฎีความต้องการของคาเรน ฮอร์นาย แนวคิดของทฤษฎีมนุษย์ต้องการใฝ่สัมพันธ์และการยอมรับยกย่องความต้องการที่ไม่แยกแยะการที่ทำให้ผู้อื่นพอใจและให้เขายอมรับตนเอง ความต้องการคู่และต้องการให้มีผู้ที่ดูแลคุ้มครองตน ต้องการความรัก ความพยายามแก้ปัญหาความสับสนในมนุษย์สัมพันธ์ทำให้เกิดความต้องการเหล่านี้มีลักษณะ “ประสาทไม่ปกติ” เพราะว่ามิได้เป็นการแก้ปัญหาถูกจุด มีความต้องการ ๑๐ ประการ คือ ความต้องการผูกรักและความต้องการยอมรับ ความต้องการคนคู่ชีพ ความต้องการเป็นคนสมถะมักน้อย ความต้องการอำนาจ ความต้องการทำลายผู้อื่น ความต้องการมีภูมิฐาน ฯลฯ

            ทฤษฎีบุคลิกภาพแนวคิดมนุษยนิยมของมาสโลว์ เกิดจากแนวคิดที่ว่ามนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้นและต้องการที่จะรู้จักตนเอง และพัฒนาตนเอง เป็นการเข้าถึงความต้องการพื้นฐานของมนุษย์และตอบสนองความต้องการพื้นฐาน ลำดับความต้องการของมนุษย์ ๕ ประการ ได้แก่

            ๑. ความต้องการพื้นฐานทางสรีระ

            ๒. ความต้องการความปลอดภัย

            ๓. ความต้องการความรักและเป็นเจ้าของ

            ๔. ความต้องการเกียรติยศชื่อเสียง

            ๕. ความต้องการความสมหวังในชีวิต

            ทฤษฎีมนุษยนิยมของคาร์โรเจอร์ แนวคิดของทฤษฎีผสมผสานกับปรัชญา ทฤษฎีและเทคนิคการทำจิตบำบัดแบบผู้รับ การบำบัดเป็นศูนย์กลาง มนุษย์มีธรรมชาติมีแรงจูงใจในด้านบวกเป็นผู้มีเหตุผล สามารถได้รับการขัดเกลา สามารถตัดสินใจเลือกวิถีชีวิตของตนเองได้ ถ้าอิสระเพียงพอและมีบรรยากาศเอื้ออำนวยให้นำไปสู่การพัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ (Full Potential) และพัฒนาไปสู่ทิศทางที่เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละบุคคลอันจะนำไปสู่การตระหนักรู้ในตนเองอย่างแท้จริง

            ทฤษฎีบุคลิกภาพแนวคิดพฤติกรรมนิยมเป็นทฤษฎีการเรียนรู้แบบลงมือกระทำของสกินเนอร์ เกิดจากแนวคิดที่ว่าการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้นจำกัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อยของมนุษย์ พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง สิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อน (Antecedent – พฤติกรรม Behavior) – ผลที่ได้รับ (Conseguence) เรียกย่อๆ ว่า A – B – C จะดำเนินต่อเนื่องไป ผลที่ได้รับจะกลายเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อนอันนำไปสู่การเกิดพฤติกรรมและนำไปสู่ผลที่ได้รับ

การทำให้ผู้ทำพฤติกรรมเกิดความพึงพอใจเมื่อทำพฤติกรรมใดพฤติกกรมหนึ่งแล้ว เพื่อให้ทำพฤติกรรมซ้ำๆ ต้องใช้การเสริมแรง ซึ่งมี ๒ ชนิด คือ ส่งเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcer) เช่น อาการ กับสิ่งเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcer) เช่น การที่นักเรียนกลัวว่าจะถูกครูดุ เนื่องจากทำการบ้านไม่เสร็จ จึงต้องทำให้เสร็จเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกดุ

            ทฤษฎีบุคลิกภาพแนวคิดลักษณะนิสัยของกอร์ดอน ออลพอร์ต แนวคิดเกิดจากความเชื่อว่าบุคลิกภาพของบุคคลเกิดจากกระบวนการทำงานของอุปนิสัยในตัวบุคคลสะท้อนออกมาในรูปของพฤติกรรมภายนอก ซึ่งเป็นอุปนิสัยของแต่ละคนที่มีระดับที่แตกต่างกัน จึงทำให้แต่ละคนมีบุคลิกภาพแตกต่างกันไป บุคลิกภาพจะทำหน้าที่เหมือนตัวประสานระหว่างร่างกายกับจิตใจในการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม เหมือนบุคลิกภาพจำทำหน้าที่สำคัญ คือ แสดงออกให้เห็นถึงความสามารถในการปรับตัวของบุคคลต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะโครงสร้างบุคลิกภาพถูกกำหนดจากอุปนิสัยหรือเป็นการทำงานของอุปนิสัยซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงบุคคลได้เท่าๆ ความคิดของบุคคล ทำให้เข้าใจถึงและกระบวนการทำงานของอุปนิสัยต่างๆ ชัดเจน ขั้นตอนในการพัฒนาบุคลิกภาพมี ๕ ขั้นตอน คือ

            ๑. วัยเริ่มแรกของทารก

๒. วัยเริ่มแรกของตัวตน

๓. ระยะ ๔ – ๖ ขวบ

๔. ระยะ ๖ – ๑๒ ปี

๕. ระยะวัยรุ่น

            สำหรับการพัฒนาการของบุคลิกภาพที่สมบูรณ์ ได้แก่ พัฒนาการทางบุคลิกภาพที่มีวุฒิภาวะ การพัฒนาความรู้สึกเป็นเจ้าของ การพัฒนาการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคลอื่น ยอมรับตนเอง รับรู้ตามความเป็นจริงและมองตนเองด้วยสายตาเป็นกลาง

            ทฤษฎีการวิเคราะห์องค์ประกอบแคทเทลลส์ เกิดจากแนวคิดความเชื่อว่าถ้ารู้ลักษณะ อุปนิสัยหลักๆ ของคนใดคนหนึ่งแล้วก็สามารถเข้าใจหรือทำนายลักษณะนิสัยใจคอของบุคคลนั้นได้อย่างค่อนข้างเม่นยำ ลักษณะอุปนิสัยของบุคคลมีทั้งส่วนที่เป็นลักษณะอุปนิสัยร่วมและโดเด่นเฉพาะตัวบุคคล ซึ่งสามารถจำแนกประเภทลักษณะอุปนิสัยออกเป็นหลายแนวทาง ได้แก่ ลักษณะอุปนิสัยดั้งเดิมและลักษณะนิสัยพื้นผิว ลักษณะอุปนิสัยที่เป็นผลมาจากพันธุกรรมและลักษณะนิสัยที่เป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อม ลักษณะอุปนิสัยด้านความสามารถ ด้านอารมณ์และด้านพลังพลวัตรและลักษณะอุปนิสัยร่วมและลักษณะอุปนิสัยเฉพาะตัวบุคคล

            ทฤษฎีบุคลิกภาพแนวคิดปัญญานิยมแบบบุคคลของเคลลี่ เกิดจากแนวคิดมนุษย์ทุกคนสามารถปรับเปลี่ยนแปลงการตีความเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ เพราะคนทุกคนเป็นนักวิทยาศาสตร์ เช่น เมื่อมีเหตุการณ์ทำให้เราเสียขวัญ เราก็พยายามประพฤติตัวที่จะป้องกันตนเอง ถ้าทำได้ก็จะนำวิธีนั้นมาใช้ต่อไป ในความเป็นจริงการวิเคราะห์ผลจากแบบทดสอบ Rep Test ค่อนข้างซับซ้อนเพราะต้องวิเคราะห์ความแตกต่างและประเภทของรูปแบบของแต่ละคน

แสดงรูปแบบที่สำคัญของบุคคล

จุดเด่น / ความน่าสนใจของผลงานทางวิชาการ : หนังสือวิชาการเล่มนี้มีจุดเด่นน่าสนใจหลายจุด แต่ละจุดสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ทุกวิชาชีพ อาทิเช่น

            จุดเด่นที่ ๑ ลักษณะทั่วไปของบุคลิกภาพ ซึ่งในความหมายของบุคลิกภาพ เป็นสิ่งที่ทำให้มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว เป็นวิถีแทนความคิดและการกระทำ สามารถสร้างความรู้สึกต่อผู้พบเห็นว่าชอบหรือไม่ชอบ หรือเกิดความรู้สึกต่อคนคนนั้น ทำให้คนเกิดความรู้สึกทางใจหรืออารมณ์ โดยเฉพาะบุคคลจะมีลักษณะทั่วไปของบุคลิกภาพ ดังนี้

                        ๑.๑ บุคลิกภาพทางร่างกาย (Psysical Personality)

                        ๑.๒ บุคลิกภาพทางจิตใจ (Psychological Personality)

                        ๑.๓ บุคลิกภาพทางความสามารถ (Capibility personality)

                        ๑.๔ บุคลิกภาพทางจริยธรรม (Ethical Personality)

                        ๑.๕ บุคลิกภาพทางสังคม (Social Personality)

                        ๑.๖ บุคลิกภาพทางใจและอารมณ์ (Mental and Emotional Personality)

                        ๑.๗ บุคลิกภาพทางกำลังใจ (Morale Personality)

            องค์ประกอบของบุคลิกภาพ แบ่งออกเป็น ๗ ลักษณะ คือ ทางด้านความสนใจ เจตคติ ความต้องการ ความถนัด อารมณ์ สรีรวิทยา ลักษณะภายนอกและแนวโน้มความผิดปกติทางจิต ทั้ง ๗ ประการนี้จะพิจารณาตามเกณฑ์และต้องทำงานประสานกัน

            ก. ลักษณะทางร่างกายและอารมณ์

            ข. เชาวน์ปัญญาและความสามารถอื่น

            ค. เจตคติทางสังคม

            ง. แรงจูงใจ

            จ. ลักษณะการแสดงออก

            ฉ. แนวโน้มของความผิดปกติทางจิต

            บุคลิกภาพจะดีขึ้นได้นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัย ดังนี้คือ ปัจจัยทางด้านพันธุกรรม เช่น ลักษณะกาย ความผิดปกติทางจิตและความผิดปกติของโครโมโซม เป็นต้น

            สิ่งแวดล้อม (Environment) มีบทบาทสำคัญต่อบุคลิกภาพอย่างยิ่งเป็นการกำหนดบุคลิกภาพของคนเราในอนาคตได้แก่ การศึกษา ประสบการณ์ สภาพแวดล้อมของดินฟ้าอากาศและสุขภาพอนามัย เป็นต้น

            บุคลิกภาพเป็นลักษณะโดยรวมของบุคลิกภาพมีความแตกต่างกัน คือ ความแตกต่างทางกาย ทางอารมณ์ ทางสังคม ทางสติปัญญาหรือสมอง ทางเพศและด้านความคิด ความถนัด

            จุดเด่นที่ ๒ ลักษณะบุคลิกภาพที่ดีมีดังนี้ คือ ท่าทางง่างาม สุขภาพดี ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมและสังคมได้ทุกกาลเทศะ มีเหตุผล สุขุม อดทน กล้าตัดสินใจ ฯลฯ เป็นต้น บุคลิกภาพที่ดี ใช้คำว่า สัปปุริสธรรม หมายถึง ธรรมะที่ทำให้เป็นสัตบุรุษหรือธรรมะของผู้ดี ซึ่งมีองค์ประกอบ ๗ ข้อ คือ

            ๑. อัตตัญญาตา               คือ รู้จักตน

            ๒. ธัมมัญญตา               คือ รู้จักเกณฑ์

            ๓. อัตถัญญตา                คือ รู้จักผล รู้ความหมาย

            ๔. มัตตัญญุตา                คือ รู้จักประมาณ

            ๕. กาลัญญุตา                คือ รู้จักเวลา

            ๖. ปริสัญญุตา                คือ รู้จักชุมชน รู้จักคิด

            ๗. ปุคคลปโรปรัญญุตา    คือ รู้จักบุคคล รู้จักธรรมชาติของมนุษย์

            จุดเด่นที่ ๓ พัฒนาการทางบุคลิกภาพ มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่นไปสู่วัยผู้ใหญ่ การเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมจะช่วยบุคคลพัฒนาทักษะต่างๆ แบ่งเป็น ๕ ขั้นใหญ่ๆ ได้แก่ ขั้นปาก (Oral Stage) ขั้นทวารหนัก (Anal Stage) ขั้นอวัยวะเพศขั้นต้น (Phallic Stage) ขั้นแฝงเร้น (Latency Stage) และขั้นความพอใจอยู่ที่เพศตรงข้าม (Genital Stage)

            กลวิธีในการป้องกันตนเอง เป็นลักษณะการตอบสนองที่ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันตนจากเหตุการณ์ที่เราไม่ต้องการที่จะเกี่ยวข้องด้วย โดยบุคคลจะสร้างกลวิธานในการป้องกันตนเองซึ่งเกิดจากสาเหตุสำคัญ ๒ ประการ คือ

            ๑. บุคคลมีความวิตกกังวลสูงมากในเรื่องใดเรื่องหนึ่งและอีโก้ (Ego) หาวิธีลดหรือแก้ไขไม่ได้ด้วยวิธีการที่มีเหตุผล

            ๒. อีโก้ (Ego) ไม่สามารถประนีประนอมแรงขับระหว่างความต้องการของอิส (Id) และแรงหักห้ามของซุปเปอร์อีโก้ (Superego) ได้อีโก้ (Ego) จึงตกอยู่ในภาวะตึงเครียด จึงจำเป็นต้องหาวิธีการลดความตึงเครียด จึงจำเป็นต้องหาวิธีการลดความตึงเครียด

            จุดเด่นที่ ๔ ขั้นตอนการพัฒนาบุคลิกภาพ (Stage of Personality Development) หลักการเบื้องต้นของการพัฒนาตน (Basic Concept of Development) ของมนุษย์มีลักษณะ ๓ ประการ ดังนี้

            ๑. เป้าหมายของการพัฒนาการทำให้พัฒนาไม่หยุดยั้ง

            ๒. อดีตกับอนาคต มาพิจารณาร่วมกัน

            ๓. พันธุกรรม เป็นพื้นฐานของสัญชาตญาณทางชีวภาพ ทำหน้าที่สืบเผ่าพันธุ์

            การพัฒนาการของบุคคล มี ๔ ขั้นตอน คือ

            ๑. ระยะแรกเกิด – ๕ ขวบ เป็นระยะแรกของชีวิตที่พลังเพศ (Libido) จะครอบคลุมหรือทำกิจกรรมต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการมีชีวิตอยู่

            ๒. วัยรุ่น เป็นวัยที่กำลังมีความสามารถ มีกำลังความคิดมีความกระตือรือร้นและความขยันขันแข็งในกิจกรรมต่างๆ มีแรงกระตุ้นมีพลังในการกระทำต่างๆ เต็มไปด้วยความมีชีวิตชีวา แต่เป็นระยะที่ยังพึงพาผู้อื่นอยู่เป็นช่วงที่กำลังเรียนรู้ในเรื่องอาชีพ การแต่งงานและการสร้างคนเพื่อให้มีชีวิตอยู่ในสังคม

            ๓. วัยผู้ใหญ่ตอนต้น เป็นระยะการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น มีความสนใจใหม่ๆ เกิดขึ้นและก็มักเป็นความสนใจในเรื่องของวัฒนธรรมต่างๆ

            ๔. วัยกลางคน เป็นระยะที่บุคคลที่ต้องการอิสระ ซึ่งอาจจะเก็บตัวมากขึ้น มีค่านิยมในเรื่องการทำประโยชน์ต่อสังคม สนใจศาสนา ปรัชญา ความเป็นพลเมืองดี มักจะเปลี่ยนแปลงเป็นผู้มีจิตใจต่อผู้อื่น มีคุณธรรมและมนุษยธรรม เป็นต้น

            จุดเด่นที่ ๕ คุณลักษณะของผู้ที่มีความเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง (Characteristics of Self Actualizing People) การเข้าใจตนเองมี ๑๕ ข้อ ดังนี้

            ๑. มีความสามารถที่จะรับรู้ในความเป็นจริงอย่างถูกต้อง

            ๒. ยอมรับในตนเอง ยอมรับผู้อื่นและยอมรับธรรมชาติ

            ๓. มีความคล่องตัว มีความเป็นธรรมชาติโดยไม่เสแสร้ง

            ๔. ใช้ปัญหาเป็นศูนย์กลาง

            ๕. มีความสันโดษ

            ๖. เป็นตัวของตัวเองมีอิสระจากวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม

            ๗. มีความรู้สึกชื่นชมยินดีอยู่เสมอ

            ๘. มีความรู้สึกล้ำลึกกับธรรมชาติ

            ๙. สนใจสังคม

            ๑๐. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

            ๑๑. มีความเป็นประชาธิปไตย

            ๑๒. มีความแตกต่างระหว่างวิธีการและเป้าประสงค์

            ๑๓. มีอารมณ์ขันอย่างมีสันติ

๑๔. มีความสามารถในการสร้างสรรค์

๑๕. การต่อต้านวัฒนธรรมภายนอกที่ขัดแย้งกับวัฒนธรรมภายในตน

           

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : ประโยชน์ของการศึกษาบุคลิกภาคการศึกษาบุคลิกภาพทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้มีความสนใจที่จะศึกษา เพื่อนำมาพิจารณาบุคลิกภาพของตนเองควรทำดังนี้

            ๑. ใช้การคัดเลือกบุคคลให้เหมาะสมกับงาน โดยใช้แบบทดสอบความถนัดทางอาชีพ ความสนใจในอาชีพ บุคลิกภาพ ค่านิยมและลักษณะพฤติกรรม

            ๒. การเสริมสร้างความเข้าใจในบุคลิกภาพลักษณะและบุคลิกลักษณะของกันและกัน โดยการฝึกอบรมสัมมนา การจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อเรียนรู้พฤติกรรมของบุคคล การเปลี่ยนแปลงทัศนคติต่อเพื่อร่วมงาน เพื่อให้เกิดการยอมรับในคุณค่าของคนในองค์การ

            ๓. การพัฒนาพฤติกรรมที่น่าปรารถนา เช่น บุคลากรจะต้องมุ่งมั่นในความสำเร็จ มีความรับผิดชอบเปิดใจกว้าง กล้าคัดค้านในสิ่งผิด มีความซื่อสัตย์ กล้าแสดงออก มีความคิดสร้างสรรค์ ให้ความร่วมมือทำงานเป็นทีม เป็นต้น

            การศึกษาบุคลิกภาพ ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวันของบุคคลทั่วไป ให้มีความสามารถในการรับรู้และเข้าใจ ในสภาพความเป็นจริงได้อย่างถูกต้อง

            แรงจูงใจระดับสูงเสมือนสัญชาติญาณหรือเป็นสิ่งที่ติดตัวมาแต่กำเนิด เช่นเดียวกับแรงจูงใจเบื้องต้น ถ้าได้รับการตอบสนองจนเกิดความพึงพอใจก็จะรักษาสภาพและพัฒนาให้เกิดสุขภาพจิตที่ดี หรืออาจกล่าวได้ว่าบุคคลอาจเกิดความเจ็บป่วยบ่อยทางจิต (Psachologically Sick) เป็นความเจ็บป่วยที่เป็นผลมาจากความล้มเหลวในการบรรลุถึงความสมบูรณ์หรือความเจริญก้าวหน้าความเจ็บป่วย “Metapathologies” ซึ่งเป็นสภาพของจิตใจที่มีอาการเฉยเมย (Apathy) มีความผิดปกติทางจิต (Alienation) เศร้าซึม (Depress) เป็นต้น ความคับข้องใจของแรงจูงใจระดับสูงและความเจ็บป่วยทางจิตได้แสดงไว้ในตารางต่อไปนี้

สาเหตุพฤติกรรมที่มีปัญหา มักเป็นจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่วัยทารกและวัยเด็ก พฤติกรรมนั้นก็จะสืบเนื่องต่อไปจนกระทั่งถึงวัยผู้ใหญ่ พฤติกรรมที่เป็นปัญหา มี

๑. เกิดจากปัญหาทางด้านร่างกาย  

๒. เกิดปัญหาทางสติปัญญา

๓. เกิดจากปัญหาทางอารมณ์

๔. เกิดจากปัญหาทางครอบครัว

๕. เกิดจากปัญหาทางสังคม

๖. เกิดจากปัญหาสื่อมวลชน

๗. เกิดจากตนเอง

การสังเกตพฤติกรรมที่เป็นปัญหา มีหลายด้านทั้งที่เกิดจากสภาพร่างกายของบุคคลและสิ่งแวดล้อมรอบข้างเป็นตัวชักนำ ซึ่งจะเป็นปัญหาที่สำคัญต่อบุคคลในการแก้ไขให้สามารถปรับตัวอยู่ในกลุ่มสังคมได้อย่างปกติสุข

ประเภทของพฤติกรรมที่เป็นปัญหามีหลายลักษณะด้วยกัน เช่น พฤติกรรมการติดยาเสพติดของวัยรุ่น ในเรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติที่ทุกฝ่ายต้องมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขเนื่องจากมีผลกระทบต่อทุกคนในสังคม อาทิเช่น ลักษณะของผู้เสพยาเสพติด อายุระหว่าง ๑๙-๒๐ ปี ระยะเวลาการเสพ ๑-๕ ปี ระดับการศึกษากำลังศึกษาอยู่ระดับ ปวส. และลักษณะการเลี้ยงดูตามใจมีอิสระหรือบริบทครอบครัวเป็นครอบครัวแตกแยก อยากรู้อยากลอง ฯลฯ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีพฤติกรรมการติดเกมของเด็ก พฤติกรรมทางเพศไม่เหมาะสมของวัยรุ่น ฯลฯ เป็นต้น

                                                                                                                                               

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู            บรรณากร