แบบฟอร์มสำหรับการนำเสนอบทสรุปผลงานทางวิชาการ

 

ชื่อผลงานทางวิชาการ :                ก้าวล้ำงานวิจัย ก้าวไปด้วย STEM ในศตวรรษที่ ๒๑ (Research Progressive with STEM for the  Century)

ประเภทผลงานทางวิชาการ :          งานวิจัยทางวิชาการ

ปีที่พิมพ์ :                                      พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๐

 ข้อมูลเพิ่มเติม :                             สาขาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ :       นายจิตต์วิสุทธิ์ วิมุตติปัญญา ตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์  สาขาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจของผลงานทางวิชาการ : การวิจัยเรื่องก้าวล้ำงานวิจัย ก้าวไปด้วย STEM ในศตวรรษที่ ๒๑ มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบการสร้างเมล็ดพันธุ์ของแผ่นดินด้วยรูปแบบ STEM ในศตวรรษที่ ๒๑ พลิกมุมมองการแก้ปัญหาด้วยศาสตร์แห่งธรรมชาติโน้มสู่การสร้างแรงบันดาลใจด้วยนฤมิตรกรรมอิทัปปัจจยตามบนฐานอุดมคติการเรียนรู้แห่งนิรันทร์ วิธีการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย ๒ ตอน คือ ตอนที่ ๑ เอกสารการจัดกิจกรรมด้วย STEM ในศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการวิเคราะห์เอกสารงานวิจัยและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องและหาค่าเที่ยง (IOC) โดยใช้ผู้ทรงคุณวุฒิ ๓ ท่าน ตรวจคุณภาพของเครื่องมือ มีค่าเท่ากับ ๑.๐๐ และตอนที่ ๒ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบที่สร้างขึ้น หาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย

            ๑. แบบทดสอบค่า IOC = ๑.๐๐ ค่าความเชื่อมั่น = .๘๗ ค่าความยาก-ง่าย เท่ากับ .๕๒ ค่าอำนาจจำแนก = .๗๒

๒. แบบวัดความพึงพอใจ มีค่า IOC = ๑.๐๐ ค่าอำนาจจำแนก = .๖๘

๓. แบบประเมินนวัตกรรม (STEM Education) มีค่า IOC = ๑.๐๐

            กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ ๒ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยการเลือกตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) ใช้วิธีการเลือกกลุ่มสี่ขั้น (Four – Stage Cluster Sampling) วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสัมประสิทธิ์ของการกระจาย (C.V.)

            การศึกษาด้านศาสตร์ทางฟิสิกส์ตามทฤษฎีของบิกแบง กล่าวเมื่อหมื่นกว่าล้านปี เกิดแรงระเบิดขนาดมหึมาที่เหวี่ยงดวงดาวสาดกระจายแผ่ออกจากกันอยู่บนแรงโน้มถ่วงของกฎแห่งเอกภาพ ซึ่งมีความซับซ้อนและทับกันของคลื่นตามหลักกลศาสตร์ควอนตัม เกิดสสาร ก๊าช ฝุ่นและวิวัฒนาการจนกระทั้งเกิดมาเป็นมนุษย์ เมื่อสี่ล้านปีบนดาวเคราะห์ดวงนี้ โลกสีน้ำเงิน ๔,๖๐๐ ล้านปี ก่อเกิดการสืบทอดบรรพบุรุษชั่วยุคสมัยแผ่ขยายอาณานิคมปกคลุมทั่วโลกใบนี้ มนุษย์ใช้มันสมองที่ประสานศาสตร์แห่งธรรมชาติเข้าสู่การประยุกต์และถอดรหัสเพื่อการดำรงอยู่อย่างเข้าใจโลก ซึ่งศาสตร์แห่งการปฏิวัติความคิดของมนุษย์คือ กฎที่ตายแล้ว คือ คณิตศาสตร์ฟิสิกส์และนวัตกรรมแห่งเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างขึ้น (STEM)

 

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : STEM ศึกษาเป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่มีการบูรณาการ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมและคณิตศาสตร์ โดยที่การจัดการเรียนรู้แนวทาง STEM ศึกษาจะต้องมีการบูรณาการพฤติกรรมที่ต้องการหรือคาดหวังให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนเข้ากับการเรียนรู้เนื้อหาด้วย ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้รวมถึงการกระตุ้นให้เกิดความสนใจในการสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบ การคิดอย่างมีเหตุผลในเชิงตรรกะ รวมถึงทักษะของการเรียนรู้หรือการทำงานแบบร่วมมือ ดังนั้นจะพบว่า STEM ศึกษาไม่ใช่เรื่องใหม่ เพียงแต่เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและกระบวนการทางวิศวกรรมศาสตร์ ทั้งนี้เพื่อที่มุ่งเน้นให้สามารถนำความรู้ ทักษะและประสบการณ์จากการเรียนรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริงเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพในอนาคตและการจัดการเรียนรู้ที่ผู้สอนควรจะต้องมุ่งเน้นทักษะให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน คือ การถดถอยความรู้ที่เป็นกฎธรรมชาติเพื่อเข้าใจสาระถูกหรือผิดการสอน STEM ต้องเรียนรู้สาระวิชาที่ถูกต้องก่อนจึงจะประยุกต์แก้ปัญหาด้วยปัญหาได้ เมื่อผู้เรียนเข้าใจกฎธรรมชาติ เข้าใจการเกิดและการดับ เหตุและผล ย่อมเข้าใจปฎิจจสมุปปบาทและกฎแห่งอิทิปัจยตา เพื่อการนำพาทักษะ (๗c) ที่สำคัญเหล่านี้ไปใช้ในชีวิตจริงและเตรียมพร้อมสู่ยุคดิจิตอลภายใต้พลวัตที่แปรเปลี่ยนอย่างยวดยิ่ง

            แนวทางอุดมคติของหัวใจความเป็นครูว่า STEM ศึกษา คือ บทเรียนของชีวิตที่ต้องฝ่าฟันและเอาชนะปัญหาที่ถาโถมเข้ามาตั้งแต่เกิดจนเติบโตและเรียนรู้การลองผิดลองถูก จนเกิดเป็นองค์ความรู้ที่มีความหมายสำหรับชีวิต ซึ่งไม่ใช่แค่การผสมวิธีสองสามวิธีแต่เป็นการบูรณาการศาสตร์ทั้งแผ่นดินทั้งจิตวิญญาณเพื่อการสร้างความรู้ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และการประเมินค่า ด้วยวิวัฒนาการและการปรับเปลี่ยนทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นตลอดเวลา นั้นคือมนุษย์ต้องเอาตัวให้รอดไม่เฉพาะการสร้างโลกใบนี้ด้วยวัตถุนานา เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์และการแก้ปัญหาที่เป็นผลมาจากการสร้างดังกล่าว

            ดังนั้นจะต้องเตรียมแผนการที่จะรับมือกับมหันตภัยแห่งธรรมชาติ วิกฤติที่สร้างความทุกข์ น้ำตา ปัญหาและการทำลายล้างของภัยพิบัติของโลก ท้ายที่สุดการจะสร้างผู้เรียนให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์สู่ดวงดาวจะต้องสร้างพลังทางความคิด สร้างแรงบันดาลใจ สร้างจินตนาการ โดยใช้กฎของธรรมชาติผสานกับเทคโนโลยี การเรียนรู้จะฝึกทักษะสมองการแก้ปัญหาและถอดรหัสเพื่อความรู้อันแท้จริงสู่การดำรงชีวิตและสร้างโลกใบนี้ด้วย STEM ได้อย่างมีความสุข

 

จุดเด่นของการวิจัย : ปรากฏว่าวัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นจุดเด่น ได้แก่

๑. เพื่อสร้างเอกสารการจัดกิจกรรมด้วย STEM ในศตวรรษที่ ๒๑

๒. เพื่อส่งเสริมและสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียนด้วยพฤติกรรมสู่อิทัปปัจจัยตาบนอุดมคติการเรียนรู้แห่งนิรันทร์ (Pernnialism)

วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น ๒ ตอนดังนี้

            ตอนที่ ๑ เป็นการสร้างเอกสารการจัดกิจกรรมด้วย STEM ในศตวรรษที่ ๒๑ ดำเนินการวิเคราะห์เอกสารงานวิจัยและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศและหาความเสี่ยง (IOC) โดยใช้ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน ๑ ท่าน ตรวจคุณภาพของเครื่องมือมีค่าเท่ากับ ๑.๐๐

            ตอนที่ ๒ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น หาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบ แบบทดสอบ ค่า IOC = ๑.๐๐ ค่าความเชื่อมั่น = .๘๗ ค่าความยากง่าย = .๕๒ ค่าอำนาจจำแนก = .๗๒ แบบวัดความพึงพอใจมีค่า IOC = ๑.๐๐ ค่าอำนาจจำแนก = .๖๘ แบบประเมินนวัตกรรม (STEM Education) มีค่า IOC = ๑.๐๐ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๘ คณะครุศาสตร์ โดยเลือกตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) โดยเลือกกลุ่มสี่ขั้น (Four-Stage Cluster Sampling) ได้ ๕๕ คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสัมประสิทธิ์ของการกระจาย (C.V.) ผลของการวิจัยพบว่า

            ๑. เอกสารการจัดกิจกรรมด้วย STEM ในศตวรรษที่ ๒๑ ประกอบด้วย KM PBL RBL และ BBL มีความเที่ยง = ๑.๐๐

            ๒. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย STEM ในศตวรรษที่ ๒๑ พบว่า ความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = ๑๘.๙๔) (S.D = ๐.๖๕) ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = ๔.๘๒, S.D. = ๐.๔๖) และสัมประสิทธิ์ของการกระจาย ซึ่งแสดงถึงคุณภาพของนวัตกรรมที่นักศึกษานำเสนอ (STEM Education) อยู่ในระดับดี (C.V. = ๔.๐๐)

            สำหรับส่วนการอภิปรายผลของงานวิจัย พบว่าการจัดการเรียนรู้ด้วย STEM ในศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งประกอบด้วย RBL BLL PBLพบว่าผู้เรียนได้ใช้ทักษะความสัมพันธ์ทางศาสตร์แห่ง STEM เข้ามาใช้ในการแก้ปัญหาและแสวงหาข้อเท็จจริงจากกฎธรรมชาติที่เข้าใจโลก พลังงานเปลี่ยนรูป ความสัมพันธ์ของเหตุและผล ซึ่งเป็นกฎแห่งอิทัปปัจยตา ซึ่งสอดคล้องกับ STEM ศึกษาเป็นเครื่องมือหรือเส้นทาง (Means) ไม่ใช่เป้าหมาย (End) แต่เพื่อการบรรลุการเรียนรู้แบบรู้จริง (Mastery Leaning) สามารถปฏิบัติได้ หล่อหลอมกระบวนการทัศนเชิงระบบและพัฒนาทักษะการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ (Growth Mindset) ซึ่งเป็นความเกี่ยวกันของเหตุและผล และเมื่อมีเหตุย่อมมีผลและเมื่อเหตุดับผลก็ดับ เพราะความเกิดขึ้นสิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะความดับไป อิทัปปัจจยตา ถือเป็นหัวใจของปฏิจจสมัปบาท เป็นกฎเหนือกฎทั้งปวง

            ทักษะของคนในศตวรรษที่ ๒๑ ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ การเรียนรู้ ๗c  ได้แก่ Critcal Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา) Creativity and Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม) Cross Cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์) Collaboration Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ) Communications Information and Media Literacy (ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ) Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) และ Career and Learning Skills (ทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้)

 

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : งานวิจัยเรื่องนี้พบว่ามีส่วนประกอบอื่นๆ ที่สามารถนำมาเป็นความรู้ สำหรับการประยุกต์กับหลายๆ สาขาวิชา อาทิเช่น จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับหนทางการศึกษาได้ คือ

            เกิดจากความเชื่อของผู้วิจัยว่า การศึกษาคือการหลับตา (สูญญตา) แล้วมองโลกด้วยหัวใจ ยกความเมตตาให้อยู่เหนือยอดฟ้า สร้างโลกอวตาลให้อยู่ในจักรวาลของความคิดสร้างสรรค์ เหวี่ยงสมการให้ตกอยู่ในการปลูกผักบุ้ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นความคิดดิ่งสู่ความสุข ความรู้จะมีความหมายในชีวิตเมื่อลงมือทำ ซึ่งสอดคล้องกับความคิดของหลักพาฟลอฟ PBL CBL STEM รูปแบบที่มีเป้าหมายเดียวกัน คือ การพัฒนาความคิดของมนุษย์ตามศักยภาพสูงสุด โดยเฉพาะการเร่งการพัฒนาสมองของมนุษย์เกินกว่าปกติเป็นการพัฒนาที่ไม่สิ้นสุด เพราะความจริงคือสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง (อิทัปปัจจยตา) มีเกิดดับและเปลี่ยนรูปพลังงานอยู่ตลอดเวลาไม่เที่ยง การศึกษาทำให้เข้าใจชีวิตไม่ได้เข้าใจโลก ผู้วิจัยมุ่งมั่นที่จะสร้างรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้จิตใจอันบริสุทธิ์โน้มสู่ความรู้แห่งความจริง

 

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู            บรรณากร