การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวิมุตยารามพิทยากรโดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E
ชนกานต์ แกล้วน้อย
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E ก่อนเรียนและหลังเรียน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียน ที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนวิมุตยารามพิทยากร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบ 5E วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 8 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งเป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E จำนวน10 ข้อ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที (t-test)
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ในปัจจุบันการจัดกระบวนการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนได้เรียนรู้ คณิตศาสตร์อย่างพอเพียงและสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น
โดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2550, น.7) ได้กำหนดสาระการเรียนรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนทุกคน โดยสาระดังกล่าวประกอบด้วยเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์และ ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และในการจัดการเรียนรู้ผู้สอนควรยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ กล่าวคือ ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดและแก้ปัญหาเอง โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ต้องใช้การคิด อย่างเป็นระบบ คิดอย่างมีเหตุผล เพื่อพัฒนาเหตุผลมาช่วยในการแกปัญหาและการให้เหตุผลเป็นต้น กระบวนการที่ส่งเสริมให้นักเรียนสามารถวิเคราะห์ปัญหา และสถานการณ์ได้อย่างละเอียด รอบคอบ สามารถวางแผนตัดสินใจในการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม การคิดอย่างมี เหตุผลจึงถือเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญที่นักเรียนสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาตนเองในการ เรียนรู้และดำรงชีวิตและเป็นหัวใจสำคัญของการสอนคณิตศาสตร์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2550, น.38) ได้กล่าวไว้ว่า การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์เป็น กระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ที่ต้องอาศัยการคิดวิเคราะห์ หรือคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และรวบรวมข้อเท็จจริงเพื่อสรุปเป็นความรู้ใหม่ การให้เหตุผลสามารถจำแนกเป็น 2 ลักษณะได้แก่ การให้เหตุผลแบบอุปนัย คือการสรุปผลจากการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ เกิดขึ้นซ้ำๆ กันหลายๆครั้งเพื่อหารูปแบบที่จะนำไปสู่ข้อสรุปที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดซึ่งข้อข้อสรุป อาจจะเป็นจริงหรือเท็จก็ได้ และการให้เหตุผลแบบนิรนัย คือการให้เหตุผลโดยการยอมรับสิ่งที่เกิด ขึ้นมาก่อนว่าเป็นจริงเพื่อนำมาใช้ในการอ้างอิงข้อสรุปที่เกิดขึ้นใหม่ภายหลัง ซึ่งการให้เหตุผลแบบนิรนัยจะมีความเป็นทางการมากกว่าการให้เหตุผลแบบอุปนัย
ซึ่งจากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ของประเทศไทยมุ่งเน้นที่ผู้เรียนจะต้องมีการพัฒนาให้เกิดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ควบคู่กับการพัฒนาด้านเนื้อหา ความรู้ บทบาท หน้าที่หลักที่สำคัญของครูก็คือการสอน โดยสร้างสรรค์กิจกรรมการจัดการเรียนการ สอนที่น่าสนใจ มีความหมายและมีประสิทธิภาพทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้บรรลุตามจุดมุ่งหมาย ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่ต้องสามารถพัฒนานักเรียนให้ บรรลุเป้าหมายของหลักสูตรได้ ไม่มุ่งเน้นให้ความสำคัญเพียงเฉพาะเนื้อหาแต่ต้องให้ความสำคัญ ต่อทักษะกระบวนการอีกด้วย เพราะทักษะกระบวนการทาง คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้คณิตศาสตร์อย่างมีความหมายและมีคุณค่า เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของ ทักษะชีวิต ที่นักเรียนต้องใช้ทุกวัน (อัมพร ม้าคะนอง, 2549, น.34)
จากปัญหาข้างต้นนักเรียนส่วนใหญ่จึงไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งมีหลายสาเหตุ นักเรียนบางคนไม่ชอบเพราะไม่ถนัดเนื้อหาของวิชาคณิตศาสตร์ยากเกินไป นักเรียนกลุ่มนี้ไม่ค่อยจะประสบผลสำเร็จในการทำแบบฝึกหัด มักทำแบบฝึกหัดไม่ได้หรือทำผิดบ่อยๆ นักเรียนบางคนไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์เพราะครูสอนไม่เข้าใจ การปลูกฝังในเรื่องของความคิดเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการที่เป็นเหตุเป็นผล โดยการฝึกนักเรียนให้เป็นคนช่างสังเกต และนำเอาหลักการทางคณิตศาสตร์มาอธิบายการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆในด้านของการแก้ปัญหา ควรฝึกให้นักเรียนรู้จักการแก้ปัญหาง่ายๆตรงไปตรงมาและค่อยๆซับซ้อนตามลำดับ โดยการแก้ปัญหานั้นไม่จำเป็นต้องเน้นเฉพาะปัญหาทางคณิตศาสตร์อย่างเดียว อาจเป็นปัญหาทั่วไป หรือปัญหาในการให้เหตุผล ปัญหาทางด้านตรรกศาสตร์ เหตุผลในการแก้ปัญหาของนักเรียนแต่ละคนอาจจะตัดสินใจไม่ได้ว่าใครถูกหรือผิด แต่ควรจะพิจารณาถึง เหตุผลที่ใช้ในการสนับสนุน นอกจากนี้แล้วควรฝึกให้นักเรียนมองปัญหาในเชิงที่เป็นระบบมากขึ้น รู้ว่าเมื่อเกิดปัญหาต่างๆขึ้นแล้วควรจะดำเนินการอย่างไร ควรปลูกฝังให้นักเรียนมีความคิดในเชิงตรรกศาสตร์เพื่อให้นักเรียนมีเหตุผลในเชิงของการแก้ปัญหาทางด้านการเรียนรู้ คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับนามธรรมค่อนข้างมาก ผู้สอนควรหารูปแบบที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น (ภัทรกุล จริยวิทยานนท์ และอินทิรา ศรีวัฒนะธรรมา, 2552, น.64)
ดังนั้นจากที่ผู้วิจัยได้สอนนักเรียนผลปรากฏว่ายังมีนักเรียนบางคนที่ไม่ค่อยเข้าใจในวิชาคณิตศาสตร์ ยังไม่ชอบในวิชานี้เนื่องจากนักเรียนไม่เข้าใจในเนื้อหา แก้โจทย์ปัญหาไม่ค่อยได้ รวมทั้งนักเรียนยังคงมีอคติกับวิชาคณิตศาสตร์ และทั้งหมดนี้จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้วิจัยเลือกการจัดกิจกรรมการเรียนสอนแบบ 5E มาใช้ในการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน เพื่อต้องการให้นักเรียนมีส่วนได้คิดและลงมือปฏิบัติในการเรียนร่วมกัน และการสอนแบบนี้จะทำให้นักเรียนมีส่วนในการคิดด้วยตนเองและฝึกแลกเปลี่ยนความรู้กันภายในกลุ่ม
คำถามงานวิจัย
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E จะช่วยให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ดีขึ้นหรือไม่
วัตถุประสงค์การวิจัย
- เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวิมุตยารามพิทยากร โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E ก่อนเรียนและหลังเรียน
- เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวิมุตยารามพิทยากรที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E
ขอบเขตของการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในงานวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียน ที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนวิมุตยารามพิทยากรสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 จำนวน 4 ห้อง รวมนักเรียนทั้งหมด 160 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชันมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เนื่องจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ค่อนข้างต่ำกว่าในระดับสายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ตัวแปรที่ใช้ในงานวิจัย
ตัวแปรอิสระ
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E
ตัวแปรตาม
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน
- ความพึงพอใจของนักเรียน ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E
สมมติฐานงานวิจัย
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 หลังการเรียนรู้ โดยจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E สูงกว่าก่อนเรียน
- ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E อยู่ในระดับมาก
ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย
- นักเรียนได้มีการคิดค้นคำตอบด้วยตนเอง ฝึกการคิด การทำงานกันเป็นกลุ่ม
- เป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
นิยามศัพท์เฉพาะ
- นักเรียน หมายถึง นักเรียนชันมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 โรงเรียนวิมุตยารามพิทยากร
- การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E หมายถึง การสืบเสาะหาความรู้ เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย คือ การถามคำถาม ออกแบบการสำรวจข้อมูลการสำรวจข้อมูล การวิเคราะห์ การสรุปผล การคิดค้นประดิษฐ์ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสื่อสารคำอธิบาย (Wu & Hsieh, 2006) โดยมีด้วยกัน 5 ขั้นตอน ดังนี้
2.1 ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจ
2.2 ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) เมื่อทำความเข้าใจในประเด็นหรือคำถามที่สนใจจะศึกษาอย่างถ่องแท้แล้ว ก็มีการวางแผนกำหนดแนวทาง
2.3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) เมื่อได้ข้อมูลอย่างเพียงพอจากการสำรวจตรวจสอบแล้ว จึงนำข้อมูล ข้อสนเทศที่ได้มาวิเคราะห์ แปลผล สรุปผล และนำเสนอผลที่ได้ในรูปต่างๆ เช่น บรรยายสรุป สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์
2.4 ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิม
2.5 ขั้นประเมิน (Evaluation) เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่างๆ ว่านักเรียนมีความรู้อะไรบ้าง อย่างไรและมากน้อยเพียงใด จากขั้นนี้จะนำไปสู่การนำความรู้ ไปประยุกต์ใช้ในเรื่อง - ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ หมายถึง ผลที่เกิดจากกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E ที่จะทำให้นักเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และสามารถวัดได้โดยให้นักเรียนสอบข้อสอบปรนัย เป็นจำนวน 20 ข้อ
- ความพึงพอใจในการเรียนคณิตศาสตร์ หมายถึง นักเรียนเข้าใจและชอบในการการ
ในการวิจัย เรื่องการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E ในครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- เอกสารที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
- สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
- คุณภาพผู้เรียนด้านคณิตศาสตร์
- เอกสารที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E
- ความหมายของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E
- ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E
- บทบาทของครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E
- เอกสารที่เกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์
- ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์
- การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
- เอกสารที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ
- ความหมายของความพึงพอใจ
- การวัดความพึงพอใจ
- เกณฑ์การวัดความพึงพอใจ
- งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
- สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์
กระทรวงศึกษาธิการ (2551, น.13) ได้กล่าวถึง สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ไว้ดังนี้
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
มาตรฐาน ค 1.2 เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่างๆ และใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค 1.3 ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค 1.3 เข้าใจระบบจำนวน และนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้สาระที่ 2 การวัด
มาตรฐาน ค 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัดสาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
มาตรฐาน ค 6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสารการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
- คุณภาพผู้เรียนด้านคณิตศาสตร์
กระทรวงศึกษาธิการ (2551, น.60-61) ได้กล่าวถึง คุณภาพของผู้เรียนด้านการเรียนคณิตศาสตร์ ไว้ดังนี้
มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับจำนวนจริง มีความเข้าใจเกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วน ร้อยละ เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็ม รากที่สองและรากที่สามของจำนวนจริง สามารถดำเนินการเกี่ยวกับจำนวนเต็ม เศษส่วน ทศนิยม เลขยกกำลัง รากที่สองและรากที่สามของจำนวนจริง ใช้การประมาณค่าในการดำเนินการและแก้ปัญหา และนำความรู้เกี่ยวกับจำนวนไปใช้ในชีวิตจริงได้
ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา ใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย และการนำเสนอ ได้อย่างถูกต้อง และชัดเจน เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์ และนำความรู้ หลักการ กระบวนการทางคณิตศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E
- ความหมายของการจัดกิจกรรมการเรียนสอนแบบ 5E
พจนา มะกรูดอินทร์ (2553, น.2) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E หมายถึง การสืบเสาะหาความรู้ เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย คือ การถามคำถามออกแบบการสำรวจข้อมูลการสำรวจข้อมูล การวิเคราะห์ การสรุปผล การคิดค้นประดิษฐ์ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสื่อสารคำอธิบาย - ชั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (สสวท.), 2546 และสาขาชีววิทยา สสวท. , 2550 อ้างถึงใน พจนา มะกรูดอินทร์ (2553, น.2) ได้กล่าวถึง ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E ไว้ 5 ขั้นตอน ดังนี้ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) เป็นขั้นการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจ อาจจะเกิดขึ้นเองหรือเกิดจากความสงสัย เรื่อง ที่สนใจอาจมาจากเหตุการณ์ปัจจุบันหรือเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เพิ่งเรียนรู้มาแล้ว เป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนสร้างคำถามขึ้นมากำหนดประเด็นที่จะศึกษาขั้นที่ 2 ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) เมื่อประเด็นที่จะศึกษามีความชัดเจนแล้ว จะมีการวางแผนเพื่อกำหนดแนวทางการสำรวจตรวจสอบ ตั้งสมมติฐาน กำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้ ปฏิบัติการเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล หรือข้อมูลสารสนเทศ หรือข้อมูลปรากฏการณ์ต่างๆด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การทดลอง ทำกิจกรรมภาคสนามใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างสถานการณ์จำลอง (Simulation) ศึกษาจากเอกสารอ้างอิง หรือแหล่งข้อมูลต่างๆ รวบรวมข้อมูลให้มากเพียงพอที่จะใช้ในขั้นต่อไปขั้นที่ 3 ขั้นอธิบายและลงข้อมูลสรุป (Explain) เมื่อมีข้อมูลอย่างเพียงพอแล้ว นำข้อมูล ข้อมูลสารสนเทศ มาวิเคราะห์ แปรผล สรุปผล พร้อมทั้งจัดทำข้อมูล สรุปผลและอภิปรายผลการทดลอง โดยอ้างอิงหลักฐานที่ชัดเจนและนำเสนอผลงาน ซึ่งแสดงถึงการสร้างองค์ความรู้ใหม่ของนักเรียนขั้นที่ 4 ขั้นขยายความรู้ (Elaborate) เป็นขั้นของการจัดกิจกรรมหรือสถานการณ์ให้นักเรียนมีความรู้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ขยายกรอบความคิดให้กาว้างยิ่งขึ้น มีการเชื่อมโยงความรู้เดิม สู่ความรู้ใหม่ เพื่อให้เกิดการนำไปสู่การค้นคว้าทดลองเพิ่มขึ้น ส่งเสริมให้นักเรียนตั้งประเด็น เพื่อให้เกิดการอภิปราย แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมเพื่อความกระจ่างชัดยิ่งขึ้นซักถามนักเรียนให้เกิดความชัดเจนในความรู้ อาจมีการให้ค้นคว้าเพิ่มเติมในประเด็นที่นักเรียนสนใจขั้นที่ 5 ขั้นประเมินผล (Evaluate) เป็นการประเมินผลการเรียนรู้จากการทำกิจกรรมในขั้นที่ 1-4 เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และเป็นการประเมินผล โดยการใช้แบบทดสอบ ชุดฝึก การทำกิจกรรม การทดลอง การจัดป้ายนิเทศ เป็นการประเมินผลรายบุคคล รายกลุ่ม โดยใช้กระบวนการต่างๆ เพื่อประเมินว่าผู้เรียนมีความรู้อะไรอย่างไร มากน้อยเพียงใด - บทบาทของครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E
ในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้5 ขั้นตอน จะประสบความสำเร็จ นอกจากประเด็นดังที่กล่าวข้างบนแล้ว ในแต่ละขั้นตอนครูต้องแสดงบทบาทของตนเองดัง ตาราง 1 (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2550, ออนไลน์)
ตารางที่ 1 บทบาทครูในกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบ 5E
ตารางที่ 1 (ต่อ)
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์
- ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นความสามารถของนักเรียนในด้านต่างๆ ซึ่งเกิดจากนักเรียนได้รับประสบการณ์จากกระบวนการเรียนการสอนของครู โดยครูต้องศึกษาแนวทางในการวัดและประเมินผล การสร้างเครื่องมือวัดให้มีคุณภาพนั้น ได้มีผู้ให้ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ดังนี้พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และ พเยาว์ ยินดีสุข (2548, น.125) กล่าวว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหมายถึงขนาดของความสำเร็จที่ได้จากกระบวนการเรียนการสอนปราณี กองจินดา (2549, น.42) กล่าว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหมายถึง ความสามารถหรือผลสำเร็จที่ได้รับจากกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและประสบการณ์เรียนรู้ทางด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย และยังได้จำแนกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ตามลักษณะของวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่แตกต่างกันดังนั้นจึงสรุปได้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความสำเร็จที่เกิดขึ้นที่เกิดจากผู้สอนได้นำทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งมาใช้ แล้วประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยสังเกตได้จากผลที่เกิดขึ้นหลังเรียน หรือที่เรียกกันว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
มีนักการศึกษาได้ให้ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดังนี้Wilson, 1971, pp.643-658 อ้างถึงใน พิริยพงศ์ เตขะศิริยืนยง (2553, น.41-43) กล่าวว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ หมายถึง ความสามารถทางด้านสติปัญญาในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งจำแนกพฤติกรรมที่พึงประสงค์ทางด้านพุทธพิสัย ตามกรอบแนวคิดของบลูมไว้ 4 ระดับ ดังนี้
- การคิดคำนวณด้านความรู้ความจำพฤติกรรมในระดับนี้ถือว่า เป็นพฤติกรรมที่อยู่ในระดับต่ำสุด แบ่งออกเป็น 3 ขั้น ดังนี้
- ความรู้ความจำเกี่ยวกับข้อเท็จจริง เป็นความสามารถที่ระลึกถึงข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่นักเรียนเคยได้รับจากการเรียนการสอนมาแล้ว คำถามที่วัดความสามารถในระดับนี้จะเกี่ยวกับข้อเท็จจริงตลอดจนความรู้พื้นฐานซึ่งนักเรียนได้ สั่งสมมาเป็นระยะเวลานานแล้ว
- ความรู้ความจำเกี่ยวกับศัพท์และนิยาม เป็นความสามารถในการระลึกหรือจำศัพท์และนิยามต่าง ๆ ได้ ซึ่งคำถามที่วัดความสามารถในด้านนี้ จะถามโดยตรงหรือโดยอ้อมก็ได้ แต่ไม่ต้องอาศัยการคิดคำนวณ
- ความสามารถในการใช้กระบวนการคำนวณเป็นความสามารถในการใช้ข้อเท็จจริงหรือนิยาม และกระบวนการที่ได้เรียนมาแล้วมาคิดคำนวณ ตามลำดับขั้นตอนที่เคยเรียนรู้มา ซึ่งคำถามที่วัดความสามารถในด้านนี้จะต้องเป็นโจทย์ง่าย ๆ คล้ายคลึงกับตัวอย่างนักเรียนไม่ต้องพบกับความยุ่งยากในการตัดสินใจเลือกใช้กระบวนการ
- ความเข้าใจเป็นพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับพฤติกรรมระดับความรู้ ความจำ เกี่ยวกับความคิดคำนวณแต่ซับซ้อนกว่า แบ่งออกเป็น 6 ขั้น ดังนี้
- ความเข้าใจเกี่ยวกับมโนมติเป็นความสามารถ ที่ซับซ้อนกว่าความรู้ความจำเกี่ยวกับข้อเท็จจริง เพราะมโนมติเป็นนามธรรมที่ประมวลจาก ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ต้องอาศัยการตัดสินใจในการตีความหรือยกตัวอย่างของมโนมตินั้นโดยใช้คำพูด ของตนหรือเลือกความหมายที่กำหนดให้ ซึ่งเขียนในรูปใหม่หรือยกตัวอย่างใหม่ที่แตกต่าง ๆ ไป จากที่เคยเรียน
- ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ กฎทางคณิตศาสตร์ และการสรุปอ้างอิงเป็นกรณี ทั่วไปเป็นความสามารถในการ นำเอาหลักการ กฎ และความเข้าใจเกี่ยวกับมโนมติไปสัมพันธ์กับโจทย์ปัญหาจนได้ แนวทางใน การแก้ปัญหาถ้าคำถามนั้นเป็นคำถามเกี่ยวกับหลักการและกฎที่นักเรียนเพิ่งเคยพบเป็นครั้งแรก อาจจัดเป็นพฤติกรรมในระดับการวิเคราะห์ก็ได้
- ความเข้าใจในโครงสร้างทางคณิตศาสตร์เป็นคำถามที่วัดเกี่ยวกับสมบัติของระบบจำนวนและโครงสร้างทางพีชคณิต
- ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบปัญหาจากแบบหนึ่งไปเป็นอีกแบบหนึ่งเป็นความสามารถในการแปลข้อความที่กำหนดให้เป็นข้อความใหม่หรือภาษาใหม่ เช่น แปลจาก ภาษาพูดให้เป็นสมการซึ่งมีความหมายคงเดิม โดยไม่คำนึงถึงกระบวนการแก้ปัญหา
- ความสามารถในการคิดตามแนวของเหตุผล เป็นความสามารถในการอ่านและเข้าใจข้อความทางคณิตศาสตร์ ซึ่งแตกต่างไปจาก ความสามารถในการอ่านทั่ว ๆ ไป
- ความสามารถในการอ่านและตีความโจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ข้อสอบที่วัดความสามารถในขั้นนี้ อาจดัดแปลงมาจาก ข้อสอบที่วัดความสามารถในขั้นอื่น ๆ โดยให้นักเรียนอ่านและตีความโจทย์ปัญหาซึ่งอาจจะอยู่ใน รูปของข้อความ ตัวเลข ข้อมูลทางสถิติ หรือกราฟ
- การนำไปใช้เป็นความสามารถในการตัดสินใจแก้ปัญหาที่นักเรียน คุ้นเคยเพราะคล้ายกับปัญหาที่นักเรียนประสบอยู่ในระหว่างเรียน หรือแบบฝึกหัดที่นักเรียนต้อง เลือกกระบวนการแก้ปัญหา และดำเนินการแก้ปัญหาได้โดยไม่ยาก พฤติกรรมในระดับนี้แบ่ง ออกเป็น 4 ขั้น คือ
- ความสามารถในการแก้ปัญหาที่คล้ายกับปัญหาที่ประสบอยู่ในระหว่างเรียน นักเรียนต้องอาศัยความสามารถในระดับความเข้าใจและ เลือกกระบวนการแก้ปัญหาจนได้คำตอบออกมา
- ความสามารถในการเปรียบเทียบ เป็นความสามารถในการค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล 2 ชุด เพื่อสรุปการตัดสินใจ ซึ่งในการแก้ปัญหาขั้นนี้ อาจต้องใช้วิธีการคำนวณ และจำเป็นต้องอาศัยความรู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผล
- ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นความสามารถในการตัดสินใจอย่างต่อเนื่องในการหาคำตอบจากข้อมูลที่กำหนดให้ ซึ่งอาจต้อง อาศัยการแยกข้อมูลที่เกี่ยวข้องออกจากข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้อง พิจารณาว่าอะไรคือข้อมูลที่ต้องการเพิ่มเติมมีปัญหาอื่นใดบ้างที่อาจเป็นตัวอย่างในการหาคำตอบของปัญหาที่กำลังประสบอยู่หรือ ต้องแยกโจทย์ปัญหาออกพิจารณาเป็นส่วน ๆ มีการตัดสินใจหลายครั้งอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นจนได้คำตอบหรือผลลัพธ์ที่ต้องการ
- ความสามารถในการมองเห็นแบบลักษณะโครงสร้างที่เหมือนกันและสมมาตร เป็นความสามารถที่ต้อง อาศัยพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การระลึกถึงข้อมูลที่กำหนดให้ การเปลี่ยนรูปปัญหา การจัด กระทำกับข้อมูล และการระลึกถึงความสัมพันธ์ นักเรียนต้องสำรวจหาสิ่งที่คุ้นเคยกันจากข้อมูล หรือสิ่งที่กำหนดจากโจทย์ปัญหาให้พบ
- การวิเคราะห์ เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาที่นักเรียนไม่เคยเห็น หรือไม่เคยทำ แบบฝึกหัดมาก่อน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโจทย์พลิกแพลง แต่ก็อยู่ในขอบเขตเนื้อหาที่เรียน การแก้โจทย์ปัญหาดังกล่าวต้องอาศัยความรู้ที่ได้เรียนมารวมกับความคิดสร้างสรรค์ ผสมผสานกันเพื่อแก้ปัญหา พฤติกรรมในระดับนี้ถือว่าเป็นพฤติกรรมขั้นสูงสุดของการเรียน การสอนคณิตศาสตร์ซึ่งต้องใช้สมรรถภาพสมองระดับสูง แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้
- ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาที่ไม่เคยประสบมาก่อน คำถามในขั้นนี้เป็นคำถามที่ซับซ้อนไม่มีในแบบฝึกหัดหรือตัวอย่าง นักเรียนต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ผสมผสานกับความเข้าใจมโนมติ นิยาม ตลอดจนทฤษฎี ต่าง ๆ ที่เรียนมาแล้วเป็นอย่างดี
- ความสามารถในการค้นหาความสัมพันธ์ เป็นความสามารถในการจัดส่วน ต่าง ๆ ที่โจทย์กำหนดให้ใหม่ แล้วสร้างความสัมพันธ์ขึ้นมาใหม่ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาแทน การจำความสัมพันธ์เดิมที่เคยพบมาแล้วมาใช้กับข้อมูลใหม่เท่านั้น
- ความสามารถในการสร้างข้อพิสูจน์ เป็นความสามารถในการสร้างภาษา เพื่อยืนยันข้อความทางคณิตศาสตร์อย่างสมเหตุสมผล โดย อาศัยนิยาม สัจพจน์ และทฤษฎีต่าง ๆ ที่เรียนมาแล้วพิสูจน์โจทย์ปัญหาที่ไม่เคยพบมาก่อน
- ความสามารถในการวิพากษ์วิจารณ์ข้อพิสูจน์เป็นความสามารถที่ควบคู่กับความสามารถในการสร้างข้อพิสูจน์ อาจเป็นพฤติกรรมที่มีความ ซับซ้อนน้อยกว่าพฤติกรรมในการสร้างข้อพิสูจน์ พฤติกรรมในขั้นนี้ต้องการให้นักเรียนสามารถ ตรวจสอบข้อพิสูจน์ว่าถูกต้องหรือไม่
- ความสามารถในการสร้างสูตรและทดสอบความถูกต้อง ให้มีผลใช้ได้เป็นกรณี ทั่วไป เป็นความสามารถในการค้นพบ สูตรหรือกระบวนการแก้ปัญหา และพิสูจน์ว่าใช้เป็นกรณีทั่วไปได้
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ
- ความหมายของความพึงพอใจ
ความพึงพอใจ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Satisfaction ซึ่งมีนักวิชาการหลายท่านได้ศึกษาและให้ความหมายไว้ต่างๆ กันดังนี้
โคร์แมน (Kroman, 1997: pp.140-143) อ้างถึงใน สุวดี ประสงค์ดี (2554, น.41) ได้จำแนกทฤษฎีความพึงพอใจในงานว่ามี 2 กลุ่ม คือ
- ทฤษฎีการสนองความต้องการ กลุ่มนี้ถือว่าความพึงพอใจในงานเกิดจากความต้องการส่วนบุคคล ที่มีความสัมพันธ์ต่อผลที่ได้รับจากงานการประสบความสำเร็จตามบรรลุเป้าหมายส่วนบุคคล
- ทฤษฎีการอ้างอิงกลุ่ม ความพึงพอใจในงานมีความสัมพันธ์ในทางบวก กับคุณลักษณะของงาน ตามความปรารถนาของกลุ่ม ซึ่งสมาชิกให้กลุ่มเป็นแนวทางในการประเมินผลการทำงานดังนั้นสรุปได้ว่าความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในด้านบวก และการปฏิบัติงานได้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ หรืออาจเกี่ยวข้องกับการทำงาน ซึ่งอาจจะเกิดจากการตอบสนองของผู้บังคับบัญชา มีที่มีการตอบแทนการทำงาน ที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจ
- การวัดความพึงพอใจ
สุวดี ประสงค์ดี (2554, น.42) กล่าวว่า วิธีการวัดความพึงพอใจกระทำได้หลายวิธี ได้แก่ การใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกตจาก กิริยาท่าทาง สีหน้า การพูด และความถี่ของการมาขอรับบริการ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับ ความสะดวก ความเหมาะสม ตลอดจนจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายของการวัด เครื่องมือที่ใช้วัด จึงได้แก่ แบบสอบถามมาตรประมาณค่า อาจจะเป็นการวัดแบบวิเคร์ท มาตรวัดแบบเทอร์สโตน มาตรวัดแบบออสกูด แบบบันทึกสังเกต และการสัมภาษณ์เป็นต้น
- เกณฑ์การวัดความพึงพอใจ
สุวดี ประสงค์ดี (2554, น.40) ได้ให้เกณฑ์การวัด แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับโดยให้คะแนนตามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ดังนี้
5 หมายถึง ระดับความพึงพอใจมากที่สุด
4 หมายถึง ระดับความพึงพอใจมาก
3 หมายถึง ระดับความพึงพอใจปานกลาง
2 หมายถึง ระดับความพึงพอใจน้อย
1 หมายถึง ระดับความพึงพอใจน้อยที่สุดเกณฑ์การประเมินความพึงพอใจแบบมาตราส่วนประมาณค่า เพื่อหาความเหมาะสมของความพึงพอใจ มีเกณฑ์ดังนี้
คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 4.50 – 5.00 ความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 3.50 – 4.49 ความพึงพอใจในระดับมาก
คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 2.50 – 3.49 ความพึงพอใจในระดับปานกลาง
คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 1.50 – 2.49 ความพึงพอใจในระดับน้อย
คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 1.00 – 1.49 ความพึงพอใจในระดับน้อยที่สุด
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ผู้วิจัยได้ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สรุปงานงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังนี้
พงค์พันธ์ ปิจดี (2553, บทคัดย่อ) การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5อี สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลการวิจัยสรุปได้ว่า นักเรียนที่ได้รับการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5อี สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความสามารถในการแก้ปัญหาอยู่ในระดับดี นักเรียนแก้ปัญหาได้ถูกต้อง ใช้ยุทธวิธีการแก้ปัญหาอย่างหลากหลาย และใช้ยุทธวิธีเหล่านั้นเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของคำตอบ
อารียา กาซา (2554, บทคัดย่อ) การพัฒนาชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เรื่องความน่าจะเป็น โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เรื่องความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าประสิทธิภาพ 77.34 /76.40 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 75/75 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เรื่องความน่าจะเป็น โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เรื่องความน่าจะเป็น โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E อยู่ในระดับมาก ( X =4.22, S = 0.80)
พีชาณิกา เพชรสังข์ (2555, บทคัดย่อ) ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน 5E ร่วมกับคาถามปลายเปิดที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผลการวิจัยสรุปได้ว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน 5E ร่วมกับคำถามปลายเปิดมีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน 5E ร่วมกับคำถามปลายเปิดมีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนกลุ่มทดลองมีพัฒนาการดีขึ้น
สะรียา สะและหมัด (2555, บทคัดย่อ) ผลการใช้ชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์ โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผลการวิจัยสรุปได้ว่าชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ที่ระดับ 80.90/80 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ด้วยกิจกรรม โดยการจัดกิจกรรมรู้แบบ 5E เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
ธนปัตย์ ปัทมโกมล (2556, บทคัดย่อ) ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติโดยการใช้วิธีสอนแบบ 5E ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผลการวิจัยพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนจากวิธีสอนแบบ 5E สูงกว่าของนักเรียนที่เรียนจากวิธีสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนจากวิธีสอนแบบ 5E สูงกว่าของนักเรียนที่เรียนจากวิธีสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
ฟารีดา กุลโรจนสิริ (2557, บทคัดย่อ) การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเซต โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผลการวิจัยพบว่า แบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเซต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ได้ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2 ) เท่ากับ 83.23/81.90 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเซต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเซต โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
การวิจัยเรื่องการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการเปรียบเทียบ- จำนวนเต็มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวิมุตยารามพิทยากร โดยการจัดกิจกรรมเรียนการเรียนการสอนแบบ 5E การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
- ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
- เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
- ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือและหาคุณภาพ
- การดำเนินการทดลองและเก็บข้อมูล
- ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล
- สถิติที่ใช้ในการศึกษา
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนวิมุตยารามพิทยากร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 จำนวน 4 ห้อง รวมนักเรียนทั้งหมด 160 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชันมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เนื่องจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ค่อนข้างต่ำกว่าในระดับสายชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มีดังนี้
- แผนการจัดการจัดการเรียนรู้แบบ 5E วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน จำนวน 8 แผน ใช้เวลา 8 คาบ คาบละ 50 นาที
- แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 20 ข้อ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก
- แบบสอบถามพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5Eจำนวน 10 ข้อ
ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือและหาคุณภาพ
ผู้วิจัยได้มีการใช้เครื่องมือและหาคุณภาพ ตามขั้นตอนดังนี้
-
- ขั้นตอนสร้างแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E
1.1 ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวิมุตยารามพิทยากร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และคู่มือการสอนคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกระทรวงศึกษาธิการและหนังสือที่เกี่ยวข้อง
1.2 ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการ-สอนแบบ 5E
1.3 วิเคราะห์สาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน เพื่อกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้และสาระการเรียนรู้
1.4 แผนการจัดการเรียนรู้แบบ 5E วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ โดยมีแผนการจัดการจัดการเรียนรู้ 8 แผน คือแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ทบทวนเรื่องเศษส่วน 1 คาบ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่องการเปรียบเทียบเศษส่วน 1 คาบ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่องการบวกเศษส่วน 1 คาบ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 เรื่องการลบเศษส่วน 1 คาบ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 เรื่องการคูณเศษส่วน 1 คาบ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 เรื่องการหารเศษส่วน 1 คาบ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 เรื่องโจทย์ปัญหาเศษส่วน 1 คาบ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8 ทดสอบหลังเรียน 1 คาบ รวม คาบสอน 8 คาบ 1.5 นำแผนการจัดการเรียนรู้แบบ 5E ที่ผู้วิจัยสร้าง เสนอต่ออาจารย์นิเทศก์ และครูพี่เลี้ยง เพื่อการตรวจสอบความเหมาะสม และความถูกต้องของจุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้ และระยะเวลาที่ใช้สอนตลอดจนการใช้ภาษาที่ถูกต้อง
1.6 นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของอาจารย์นิเทศก์ที่แก้ไขแล้ว ไปเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญในการตรวจเครื่องมือจำนวน 3 ท่าน เพื่อการตรวจสอบ ตามความเหมาะสม โดยให้คะแนนตามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีเกณฑ์ตัดสินดังนี้
แบบมาตราส่วนประมาณค่า ของลิเคิอร์ท (Rating Scale) ตาม สุวดี ประสงค์ดี (2554, น.40) ดังนี้
5 หมายถึง ระดับความเหมาะสมมากที่สุด
4 หมายถึง ระดับความเหมาะสมมาก
3 หมายถึง ระดับความเหมาะสมปานกลาง
2 หมายถึง ระดับความเหมาะสมน้อย
1 หมายถึง ระดับความเหมาะสมน้อยที่สุด1.7 นำผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญมาวิเคราะห์เกณฑ์หาความเหมาะสม แล้วเทียบกับเกณฑ์การประเมินในครั้งนี้ ได้ตั้งเกณฑ์ตาม สุวดี ประสงค์ดี (2554, น.40) ดังนี้
คะแนนเฉลี่ยสูงกว่า 4.50 – 5.00 ระดับความเหมาะสมมากที่สุด
คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 3.50 – 4.49 ระดับความเหมาะสมมาก
คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 2.50 – 3.49 ระดับความเหมาะสมปานกลาง
คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 1.50 – 2.49 ระดับความเหมาะสมน้อย
คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 1.00 – 1.50 ระดับความเหมาะสมน้อยที่สุด1.8 นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านการประเมินแล้ว นำไปใช้กับกลุ่มนักเรี
- ยนที่ต้องการวิจัย
- ขั้นตอนสร้างแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E
ขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบวัดสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเศษส่วน
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเศษส่วน แบบเลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ โดยมีขั้นตอนในการสร้าง ดังนี้
-
-
- 2.1 ศึกษาหลักสูตร คู่มือครู แบบเรียน และวิธีการสร้างแบบทดสอบวัดผลการเรียน
- 2.2 สร้างตารางวิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
- 2.3 สร้างแบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ เรื่องเศษส่วน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ โดยให้สอดคล้องกับตารางวิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้ แล้วนำไปให้อาจารย์นิเทศก์ และครูพี่เลี้ยงตรวจสอบความถูกต้อง เหมาะสม
- 2.4 นำแบบทดสอบที่อาจารย์นิเทศตรวจ แล้วนำไปแก้ไข
- 2.5 นำแบบทดสอบที่แก้ไขเรียบร้อยแล้วต่อเสนอผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ตรวจสอบความสอดคล้องของข้อสอบ กับจุดประสงค์การเรียนรู้ มาคำนวณค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์การเรียนรู้ (IOC :_Index of Item Objective Congruence) ตามประสาท เนืองเฉลิม (2556, น.190) โดยมีเกณฑ์ไว้ดังนี้
-
+1 เมื่อแน่ใจว่าสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
-1 เมื่อแน่ใจว่าไม่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
0 เมื่อไม่แน่ใจว่าสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
-
-
- 2.6 คัดเลือกข้อสอบที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์การเรียนรู้ (IOC :_Index of Item Objective Congruence) ที่มีดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป แล้วจะคัดเลือกข้อสอบเพียง 20 ข้อ เพื่อนำไปใช้ในการวิจัยกับนักเรียยน
-
3. ขั้นตอนการสร้างแบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E
3.1 ศึกษาเอกสาร แนวคิดทฤษฎี และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบ/วิธีการจัดการเรียนรู้ที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ องค์ความรู้เกี่ยวกับความพึงพอใจในการเรียนรู้ และกระบวนการสร้างแบบวัด
3.2 สร้างต้นฉบับแบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E โดยจัดทำเป็นแบบการประเมินที่มีค่า 5 ระดับโดยให้คะแนนตามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีเกณฑ์ตัดสิน สุวดี ประสงค์ดี (2554, น.40) ดังนี้
แบบมาตราส่วนประมาณค่า
5 หมายถึง ระดับความพึงพอใจมากที่สุด
4 หมายถึง ระดับความพึงพอใจมาก
3 หมายถึง ระดับความพึงพอใจปานกลาง
2 หมายถึง ระดับความพึงพอใจน้อย
1 หมายถึง ระดับความพึงพอใจน้อยที่สุด
แล้วเสนอต่ออาจารย์นิเทศก์ และครูพี่เลี้ยง ตรวจสอบด้านคุณภาพโดยพิจารณาความถูกต้องชัดเจน ความเหมาะสม และความสอดคล้องของข้อคำถามแต่ละข้อ แล้วนำผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนมาวิเคราะห์เกณฑ์ แล้วเทียบกับเกณฑ์การประเมินในครั้งนี้ ได้ตั้งเกณฑ์ไว้ตาม สุวดี ประสงค์ดี (2554, น.40) ดังนี้
คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 4.50 – 5.00 ความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 3.50 – 4.49 ความพึงพอใจในระดับมาก
คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 2.50 – 3.49 ความพึงพอใจในระดับปานกลาง
คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 1.50 – 2.49 ความพึงพอใจในระดับน้อย
คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 1.00 – 1.49 ความพึงพอใจในระดับน้อยที่สุด
3.3 นำแบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E มาปรับปรุงแก้ไข เตรียมหาความเชื่อมั่น และความพึงพอใจ
3.4 หาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E โดยหาได้จากกลุ่มนักเรียนที่ใช้ในการวิจัย โดยผ่านการเรียนมาแล้ว 2 คาบ
สูตรการหาความเชื่อมั่นของครอนบัค ตามของ ประสาท เนืองเฉลิม (2554, น.198)
เกณฑ์การแปลผล ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมืออยู่ระหว่าง 0.00 – 1.00 ยิ่งใกล้ 1.00 ยิ่งมีความเชื่อมั่นสูง
เกณฑ์การแปลผลความเชื่อมั่น ตามของ ประสาท เนืองเฉลิม (2554, น.198) มีดังนี้
0.00 – 0.20 ความเชื่อมั่นต่ำมาก / ไม่มีเลย
0.21 – 0.40 ความเชื่อมั่นต่ำ
0.41 – 0.70 ความเชื่อมั่นปานกลาง
0.71 – 1.00 ความเชื่อมั่นสูง
จากการคำนวณหาความเชื่อมั่นได้ค่าความเชื่อมั่น .88 นั่นคือ ความเชื่อมั่นสูง
การดำเนินการทดลองและเก็บข้อมูล
การวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้ ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
- ขอความร่วมมือกับโรงเรียนวิมุตยารามพิทยากร จ.กรุงเทพมหานคร ที่ทำการทดลองสอนซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยจะดำเนินการทดลองสอนด้วยตนเอง ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
- ชี้แจงให้กลุ่มตัวอย่างทราบถึงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติตนได้ถูกต้อง
- ทดสอบกลุ่มตัวอย่างก่อนการเรียน (Pre – test) โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน จำนวนข้อสอบ 20 ข้อ ใช้เวลา 30 นาที
- ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E โดยใช้เวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน รวมทั้งหมด 8 คาบ คาบละ 50 นาที
- ดำเนินการหาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E โดยหาได้จากกลุ่มนักเรียนที่ใช้ในการวิจัย โดยผ่านการเรียนมาแล้ว 2 คาบ
- หลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E แล้วจะทำการทดสอบหลังเรียนด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ด้วยแบบทดสอบชุดเดียวกับก่อนเรียน โดยใช้เวลาในการทำแบบทดสอบ 50 นาที และบันทึกผลการทดสอบเป็นคะแนนหลังเรียน
- หลังจากที่นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนแล้ว ให้นักเรียนทำแบบสอบถามความพึงพอใจที่ได้รับหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E โดยใช้แบบสอบถามชุดเดิมกับการหาค่าความเชื่อมั่น
- บันทึกผลความพึงพอใจ
- เก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติเพื่อตรวจสอบสมมติฐานต่อไป
ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล
- หาคุณภาพของเครื่องมือโดยใช้สูตร ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S), ค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อสอบ (IOC), ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความพึงพอใจ
- หาค่าสถิติพื้นฐานของคะแนนการทดสอบก่อนเรียน
- เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้สูตร สถิติทดสอบสมมติฐาน (t-test for dependent sample)
- วิเคราะห์ความพึงพอใจของแบบสอบถามความพึงพอใจที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E โดยใช้สูตร ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สถิติที่ใช้ในการวิจัย
สถิติที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีดังต่อไปนี้
1. สถิติพื้นฐาน
ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) (บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์, 2553, น.129)
2. สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
การหาความเที่ยงตรงของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์โดยใช้ค่าดัชนีสอดคล้อง (ประสาท เนืองเฉลิม, 2556, น.190)
3. สถิติที่ใช้ในการหาความเชื่อมั่น
สูตรการหาความเชื่อมั่นของครอนบัค (ประสาท เนืองเฉลิม, 2556, น.198)
การรายงานผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวิมุตยารามพิทยากร โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้เสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับ ดังนี้
- สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
- การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล
- ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยได้กำหนดใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ ในการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้
การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ผู้วิจัยได้แบ่งการนำเสนอผลการวิเคราะห์ดังนี้
ตอนที่ 1 การวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ตอนที่ 2 ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ตอนที่ 1 การวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งผลการวิเคราะห์ปรากฏในตารางที่ 3 ดังนี้
ตารางที่ 2 แสดงผลการเปรียบเทียบคะแนนสอบก่อน และหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1
กลุ่มตัวอย่าง | N | df | คะแนนเต็ม | ก่อนเรียน | หลังเรียน | t |
นักเรียน | 30 | 29 | 20 | 7.20 | 15.24 | 18.56 * |
* ค่า t มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t.05,29 = 1.6991)
จากตารางที่ 2 พบว่าการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.20 คะแนน และ 15.23 คะแนนตามลำดับ และ ค่า t คำนวณ มีค่าเท่ากับ 18.56 และ ค่า t ตาราง มีค่าเท่ากับ 1.6991 ซึ่งพบว่า ค่า t คำนวณ มีค่ามากกว่าค่า t ตาราง จึงสามารถสรุปได้ว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ตอนที่ 2 ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E
ตารางที่ 3 แสดงผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S) ระดับ และอันดับความพึงพอใจของนักเรียน
กิจกรรมการเรียนการสอน | N = 30 | ระดับ | อันดับ | |
1. ตั้งคำถามกระตุ้นให้นักเรียนคิด | 4.73 | 0.45 | มากที่สุด | 1 |
2. สร้างความสนใจ | 4.56 | 0.72 | มากที่สุด | 2 |
3. สังเกตและฟังการโต้ตอบกันระหว่าง นักเรียนกับ นักเรียน |
4.16 | 0.79 | มาก | 7 |
4. ให้เวลานักเรียนในการคิดข้อสงสัย ตลอดจนปัญหา ต่าง ๆ |
4.13 | 0.69 | มาก | 10 |
ตารางที่ 3 (ต่อ)
กิจกรรมการเรียนการสอน | N = 30 | ระดับ | อันดับ | |
5. ส่งเสริมให้นักเรียนอธิบายแนวคิด หรือให้คำจำกัด ความด้วยคำพูดของนักเรียนเอง |
4.30 | 0.53 | มาก | 5 |
6. ให้นักเรียนแสดงหลักฐาน ให้เหตุผลและอธิบายให้ กระจ่าง |
4.16 | 0.74 | มาก | 9 |
7. ส่งเสริมให้นักเรียนนำสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้ไป ประยุกต์ใช้หรือขยายความรู้และทักษะใน สถานการณ์ใหม่ |
4.23 | 0.77 | มาก | 6 |
8. ให้นักเรียนอธิบายอย่างมีความหมาย | 4.16 | 0.79 | มาก | 8 |
9.ให้นักเรียนประเมินการเรียนรู้และทักษะ กระบวนการกลุ่ม |
4.36 | 0.66 | มาก | 3 |
10. ถามคำถามปลายเปิด | 4.33 | 0.54 | มาก | 4 |
เฉลี่ย | 4.31 | 0.70 | มาก | – |
จากตารางที่ 3 พบว่าความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อแล้วเรียงอันดับจากมากไปน้อยได้ 3 อันดับแรก ได้แก่ ตั้งคำถามกระตุ้นให้นักเรียนคิด สร้างความสนใจ และให้นักเรียนประเมินการเรียนรู้ และทักษะกระบวนการกลุ่มตามลำดับ
การสรุปผลการวิจัยเรื่องการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวิมุตยารามพิทยากร โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E ประกอบด้วยสาระสำคัญดังนี้
- วัตถุประสงค์ของการวิจัย
- ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
- เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล
- การดำเนินการทดลองและเก็บข้อมูล
- สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล
- อภิปรายผล
- ข้อเสนอแนะ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ดังนี้
- เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวิมุตยารามพิทยากร โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E ก่อนเรียนและหลังเรียน
- เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวิมุตยารามพิทยากร ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในงานวิจัย
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนวิมุตยารามพิทยากร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 จำนวน 4 ห้อง รวมนักเรียนทั้งหมด 160 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย
นักเรียนชันมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เนื่องจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ค่อนข้างต่ำกว่าในระดับสายชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
- แผนการจัดการจัดการเรียนรู้แบบ 5E วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน จำนวน 8 แผน ใช้เวลา 8 คาบ คาบละ 50 นาที
- แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 20 ข้อ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก
- แบบสอบถามพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5Eจำนวน 10 ข้อ
การดำเนินการทดลองและเก็บข้อมูล
การวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้ ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
- ขอความร่วมมือกับโรงเรียนวิมุตยารามพิทยากร จ.กรุงเทพมหานคร ที่ทำการทดลองสอนซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยจะดำเนินการทดลองสอนด้วยตนเอง ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
- ชี้แจงให้กลุ่มตัวอย่างทราบถึงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติตนได้ถูกต้อง
- ทดสอบกลุ่มตัวอย่างก่อนการเรียน (Pre – test) โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน จำนวนข้อสอบ 20 ข้อ ใช้เวลา 30 นาที
- ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E โดยใช้เวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน รวมทั้งหมด 8 คาบ คาบละ 50 นาที
- ดำเนินการหาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E โดยหาได้จากกลุ่มนักเรียนที่ใช้ในการวิจัย โดยผ่านการเรียนมาแล้ว 2 คาบ
- หลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E แล้วจะทำการทดสอบหลังเรียนด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ด้วยแบบทดสอบชุดเดียวกับก่อนเรียน โดยใช้เวลาในการทำแบบทดสอบ 50 นาที และบันทึกผลการทดสอบเป็นคะแนนหลังเรียน
- หลังจากที่นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนแล้ว ให้นักเรียนทำแบบสอบถามความพึงพอใจที่ได้รับหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E โดยใช้แบบสอบถามชุดเดิมกับการหาค่าความเชื่อมั่น
- บันทึกผลความพึงพอใจ
- เก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติเพื่อตรวจสอบสมมติฐานต่อไป
สรุปผลการวิจัย
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 หลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- ความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E โดยรวมอยู่ในระดับมาก
อภิปรายผล
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษา พบประเด็นที่จะอภิปรายได้ดังนี้
- ผลการศึกษาของคะแนนการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าคะแนนการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยคะแนนของการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเป็น 20 และคะแนนของการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเป็น 15.23 ทั้งนี้เนื่องจาก การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E ที่จัดขึ้นนั้น ได้จัดตามขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ ขั้นสร้างความสนใจ ขั้นสำรวจและค้นหา ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป ขั้นขยายความรู้ และขั้นประเมินผล ทำให้ผู้เรียนได้มีการพัฒนาตนเอง และมีส่วนร่วมในการออกความคิดเห็น และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E มีประโยชน์ต่อครูผู้สอน ในการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ที่มีการเปลี่ยนวิธีการสอน ส่งผลให้นักเรียนมีความกระตือรือร้น และทำให้นักเรียนสามารถแก้ปัญหาโดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E ได้เป็นอย่างดี จึงส่งผลให้นักเรียนมีคะแนนการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าคะแนนการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน ดังที่ พงค์พันธ์ ปิจดี (2553, บทคัดย่อ) ได้กล่าวว่า การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E มีความสามารถแก้ปัญหาอยู่ในระดับดี และถูกต้อง รวมถึงใช้ยุทธวิธีแก้ปัญหาอย่างหลากหลาย
- สอดคล้องกับงานวิจัยของ อารียา กาซา (2554, บทคัดย่อ) การพัฒนาชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ 5E พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสอดคล้องกับงานวิจัยของ สะรียา สะและหมัด (2555, บทคัดย่อ) ผลการใช้ชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์ โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
- ความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E โดยรวมอยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้เนื่องจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E ยังช่วยให้นักเรียนได้ทบทวนบทเรียนที่ได้เรียนไปแล้ว และเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ออกความคิดเห็น มีส่วนร่วมกันทำงานภายในกลุ่ม ทำให้นักเรียนมีความเข้าใจด้วยตนเองเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับแผนการจัดการเรียนการสอนได้ระบุจุดประสงค์ไว้อย่างชัดเจน ส่งผลให้ความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ดังที่ พีชาณิกา เพชรสังข์ (2555, บทคัดย่อ) ได้กล่าวไว้ว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ 5E สามารถให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ และมีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยนักเรียนจะมีการคิดเป็นลำดับขั้นตอน สอดคล้องกับงานวิจัยของ ฟารีดา กุลโรจนสิริ (2557, บทคัดย่อ) ได้ทำการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเซต โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการรู้ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเซต โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
ข้อเสนอแนะ
- ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย
1.1 ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5E วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ครูผู้สอนควรที่จะศึกษาความหมาย และขั้นตอนของการจัดกิจกรรมทั้ง 5 ขั้น อย่างละเอียด เพื่อง่ายต่อการสอน
1.2ในการทำใบงานของนักเรียนแต่ละคาบเรียน ครูผู้สอนควรที่จะเฉลย ใบงานก่อนที่จะหมดคาบเรียน
- ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรจัดการเรียนการสอนแบบ 5E ควบคู่ไปกับนวัตกรรมการสอนแบบอื่น เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
2.2 ควรสร้างใบงานให้นักเรียนเพิ่มขึ้นในส่วนของการเชื่อมโยงความคิด หรือการบูรณาการกับวิชาอื่น