Category Archives: เทคนิคการสอน สื่อ นวัตกรรม และรูปแบบการสอนที่ทันสมัย

วิธีการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์

ชื่อผลงานทางวิชาการ : วิธีการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์

ประเภทผลงานทางวิชาการ : เอกสารประกอบการสอน วิชาวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2557

ข้อมูลเพิ่มเติม : สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : นายสุรศักดิ์ โตประสี ตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : การวิจัยเป็นเรื่องของการศึกษา การค้นคว้าหาคำตอบอย่างละเอียดรอบคอบต่อประเด็นคำถามที่กำหนดขึ้นไว้ก่อน โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อพิสูจน์ความถูกต้องหรือไม่ ลักษณะสำคัญ คือ การมุ่งหาคำตอบตั้งจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์มีระเบียบแบบแผนและมีการวิเคราะห์ข้อมูล ฯลฯ เป็นต้น แนวคิดพื้นฐานในการวิจัย หมายถึง ความเชื่อหรือความเชื่ออันเป็นพื้นฐานของการวิจัยมี 2 แนวทาง คือ ปรัชญาปฏิฐานนิยมและปรัชญาในกลุ่มคัดค้านปฏิฐานนิยม

       ลักษณะของความรู้ที่จริงมี 3 ระดับ คือ ข้อเท็จจริง ความจริง ความเป็นจริง ซึ่งต้องมีจรรยาบรรณของการวิจัย เช่น ต้องซื่อสัตย์ มีคุณธรรมในทางวิชาการและการจัดการ ต้องมีพันธกรณีหรือข้อตกลงทำไว้ก่อนและต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาที่ทำการวิจัย การจำแนกประเภทของการวิจัย ได้แก่ จำแนกตามจุดมุ่งหมายของการวิจัย จำแนกตามประโยชน์ของการใช้ จำแนกตามลักษณะวิชาและจำแนกตามวิธีการรวบรวมข้อมูล ฯลฯ เป็นต้น

       การจำแนกตามชนิดของข้อมูล ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณที่มุ่งศึกษาที่เป็นปริมาณ สามารถแจงนับได้อาศัยเทคนิคทางสถิติมาวิเคราะห์ เช่น ค่าเฉลี่ย ฯลฯ เป็นต้น ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการรวบรวมข้อมูลที่เป็นคุณลักษณะไม่สามารถแจงนับได้ เป็นการวิเคราะห์เชิงข้อมูลเชิงคุณลักษณะ เช่น การตีความ เป็นต้น

       กระบวนการวิจัยมี 8 ขั้นตอน เช่น กำหนดหัวข้อวิจัย ทบทวนวรรณกรรมและกำหนดตัวแปร กำหนดวัตถุประสงค์และตั้งสมมติฐาน ออกแบบงานวิจัย ฯลฯ เป็นต้น

จุดเด่น / ความน่าสนใจของเอกสารประกอบการสอนเล่มนี้ : ได้เขียนรายละเอียดในการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ ในการกำหนดหัวข้อวิจัยหรือการกำหนดปัญหาในการวิจัย ต้องพิจารณาให้ชัดเจน เพราะปัญหา/ข้อสงสัยจะนำไปสู่การหาคำตอบ เทคนิคการกำหนดปัญหามี 2 ประการ คือ นักวิจัยมักขาดความรู้ทางด้านทฤษฎีหรือวิชาการของเรื่องเรียกว่าขาด Theoretical Reference และขาดความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริงของเรื่องที่จะวิจัย เรียกว่าขาด Empirical Reference สำหรับการประเมินค่าของปัญหาการวิจัย ควรพิจารณาว่าปัญหาเร่งด่วน จำเป็นเพราะต้องการแก้ไขและหาคำตอบ มีความเป็นไปได้ว่าวิจัยแล้วสามารถบรรลุความสำเร็จในการหาคำตอบ และปัญหานั้นผู้วิจัยมีความถนัดสามารถวิจัยให้สำเร็จคุ้มค่าภายใต้ทรัพยากรที่มี ฯลฯ เป็นต้น สำหรับการกำหนดหัวข้อให้มีความเป็นกลาง กำหนดขอบเขตการวิจัยให้ชัดเจน เป็นต้น และควรเขียนวัตถุประสงค์เป็นประโยคบอกเล่าไม่ใช้คำถาม สำหรับการทบทวนวรรณกรรม คือ การค้นคว้าศึกษา รวบรวมประมวลและสังเคราะห์ผลงานทางวิชาการ เพื่อศึกษาความเกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะวิจัย โดยเฉพาะแนวคิด ฯลฯ เป็นต้น ประกอบด้วย หนังสือ หนังสืออ้างอิง วารสาร จุลสาร วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ฯลฯ เป็นต้น

       การวิจัยตัวแปรจัดว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะเป็นประเด็นต้องศึกษาหาคำตอบ การศึกษารูปแบบตัวแปรของความสัมพันธ์พบว่าตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามมีทิศทางสัมพันธ์กันทั้งทางบวกและลบ เพราะตัวแปรคือ สิ่งต่างๆ หรือสัญญาลักษณ์ต่างๆ ที่แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ที่ปรากฏในประเด็นที่ต้องศึกษา การวัดและคุณสมบัติที่ดีของการวัด คือ การแปรสภาพความคิดหรือตัวแปรซึ่งลักษณะเป็นนามธรรม การวัดเป็นสิ่งสำคัญของการวิจัยมีประโยชน์ อาทิ เช่น มีความสามารถในการเปรียบเทียบการควบคุม การนำเอาวิธีทางสถิติมาใช้ และความมีวัตถุวิสัยของการวิจัย ซึ่งการวัดต้องมีคุณสมบัติที่ดี คือ ความถูกต้องในเชิงเนื้อหาและโครงสร้าง เป็นต้น เพราะการวัดเป็นกระบวนการแปรสภาพความคิดหรือตัวแปรที่มีลักษณะเป็นนามธรรม

       กรอบแนวคิดและสมมุติฐานในการวิจัยเป็นภาพรวมของการวิจัยที่ระบุขอบเขตและความสัมพันธ์ของตัวแปร สามารถสร้างกรอบแนวคิดได้หลายระดับ ซึ่งมี 3 ประเภท ได้แก่ แบบพรรณนาความ แบบสมการและแบบแผนภาพ สำหรับสมมติฐานการวิจัย คือ ข้อเสนอ เงื่อนไขหรือหลักการที่สมมติฐานขึ้นเพื่อระบุความสัมพันธ์กันเชิงเหตุผล เพื่อทดสอบข้อเท็จจริง เกณฑ์การตั้งสมมติฐาน ประกอบด้วย นิรนัย (Declucibility) ทดสอบได้ (Testability) มีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสามารถค้นพบ สรุปได้ เหมาะสมไม่กว้างหรือแคบเกินไป เป็นต้น

       ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง หมายถึง กลุ่มหรือหน่วยงานที่ศึกษาหรือหน่วยในการวิเคราะห์ ประชากรมี 2 ประเภท คือ ประชากรที่นับได้ กับประชากรที่มีจำนวนอนันต์ (มากจนไม่สามารถนับได้) สำหรับกลุ่มตัวอย่าง คือ ส่วนหนึ่งของประชากรที่เลือกมาศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ดีมีลักษณะใกล้เคียงประชากรมากที่สุด มีความเป็นตัวแทนของประชากรและใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างให้เหมาะสม โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยความน่าจะเป็น คือ สุ่มแบบง่าย กับการสุ่มแบบเป็นระบบ การสุ่มแบบแบ่งชั้นและการสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยความน่าจะเป็น มีวิธีการสุ่มแบบบังเอิญ แบบเจาะจง แบบโควตาและแบบบอกต่อหรือบอลหิมะ

       การเก็บรวบรวมข้อมูลและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นขั้นตอนที่สำคัญ มีข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) คือ การสำรวจข้อมูลภาคสนามด้วย การสัมภาษณ์ สนทนากลุ่มและสังเกตการณ์จริงในพื้นที่ กับการทดลองเพื่อควบคุมตัวแปร กับการใช้ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เป็นข้อมูลผ่านการวิเคราะห์ประมวลมาแล้ว เช่น รายงานการประชุม สถิติที่รวบรวมไว้ ประวัติบุคคล หนังสือพิมพ์ วารสารและผลงานทางวิชาการจัดเป็นบุคคลหรือหน่วยงาน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลในแนวทางเชิงปริมาณ 2 ประเภท คือ การใช้แบบสอบถามกับการใช้แบบทดสอบ สำหรับสถิติในการวิจัย คือ การให้ค่าต่างๆของลักษณะที่รวบรวมหรือคำนวณจากกลุ่มตัวอย่างแสดงเป็นสัญลักษณ์ คือ ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S) ค่าความแปรปรวน (X2) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) และค่าสัดส่วน (P)

       การเขียนรายงานการวิจัยต้องถูกต้องและเป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งข้อมูลต้องตรงกับวัตถุประสงค์การวิจัย ใช้ภาษาให้ถูกต้อง ฯลฯ เป็นต้น สำหรับรูปแบบการเขียนทำได้โดยการนำเสนอโดยบทความ เสนอรูปแบบตารางเสนอโดยกราฟหรือแผนภูมิ โครงสร้างการเขียนรายงานวิจัยประกอบด้วยสาระสำคัญ 3 องค์ประกอบ คือ ส่วนนำ ส่วนเนื้อเรื่องและส่วนอ้างอิง

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : เอกสารประกอบการสอนเล่มนี้มีประโยชน์มากสำหรับนักวิจัยทางสังคมศาสตร์ นิสิต นักศึกษาเพราะมีการนำเสนอตัวอย่างไว้ตั้งแต่ตัวอย่างการพิมพ์หน้าบทคัดย่อและหน้าปกใน ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ตัวอย่างการพิมพ์สารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์ เริ่มจากขนาดของกระดาษ การจัดหน้า การลำดับเลขหน้า

นอกจากนี้ยังเสนอแนะนักวิจัยตั้งแต่เริ่มการเขียนโครงการวิจัยเกี่ยวกับสภาพจริง เรียกว่า “คำถามเชิงวิจัย” ส่วนประกอบเค้าโครงสารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์ เริ่มจาก ชื่อเรื่อง ชื่อผู้ทำวิจัย บทที่ 1 (บทนำ) ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ สมมุติฐาน(ถ้ามี) ขอบเขตการวิจัย ฯลฯ เป็นต้น บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (แนวคิดและทฤษฎี) บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัยและบรรณานุกรม

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร

จิตวิทยาการติดต่อสื่อสาร

ชื่อผลงานทางวิชาการ : จิตวิทยาการติดต่อสื่อสาร

ประเภทผลงานทางวิชาการ : หนังสือประกอบการเรียนการสอน วิชา จิตวิทยาการติดต่อสื่อสารและการโน้มน้าวใจ

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2558

ข้อมูลเพิ่มเติม : พิมพ์ที่ โรงพิมพ์พลัฎฐกรการพิมพ์ จัดจำหน่ายโดย ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : นางสาวปัญจนาถร วรวัฒนชัย ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัดสาขาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจของผลงาน : ความสัมพันธ์ระหว่างจิตวิทยากับการสื่อสาร รูปแบบพฤติกรรมการสื่อสาร กฎเกณฑ์เกี่ยวกับพฤติกรรม ปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรม พฤติกรรมมนุษย์กับการสื่อสาร แนวคิดเรื่องการสื่อสารของมนุษย์ องค์ประกอบที่สำคัญในกระบวนการสื่อสารของมนุษย์ ภาษากับการสื่อสารของมนุษย์ การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ องค์ประกอบพื้นฐานของการโน้มน้าวใจ ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการโน้มน้าวใจและกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : จิตวิทยามุ่งศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ทุกด้าน เพราะการสื่อสารเกิดมาพร้อมๆ กับการดำรงชีวิตของมนุษย์ มนุษย์อยู่ร่วมกันในสังคมเป้าหมายการศึกษาที่สำคัญมี 4 ประการ คือ เพื่อวัดและพรรณนาลักษณะพฤติกรรม เพื่อพยากรณ์พฤติกรรม เพื่อควบคุมหรือปรับพฤติกรรมและเพื่ออธิบายพฤติกรรม รูปแบบของพฤติกรรมสื่อสารของมนุษย์ประกอบด้วย พฤติกรรมการสื่อสารภายในตัวบุคคล สื่อสารระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคล สื่อสารในองค์กร สื่อสารมวลชนและสื่อสารไซเบอร์

       ลักษณะของการสื่อสาร ได้แก่ การสื่อสารเป็นพฤติกรรมของมนุษย์ เป็นกระบวนการถ่ายทอดที่มีความเคลื่อนไหวตลอดเวลา เป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้รับสารแต่ละบุคคล เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามลำดับ เป็นเรื่องเกิดขึ้นภายใต้สภาพแวดล้อมและเป็นสิ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรมของมนุษย์มี 4 ปัจจัย คือ ปัจจัยทางชีวภาพ ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยทางด้านสังคมและจิตวิทยา และปัจจัยทางด้านวัฒนธรรม

       การรับรู้กับการสื่อสารมีความเกี่ยวข้องกันและมนุษย์จะต้องมีการเลือกรับรู้ ซึ่งจะมีลักษณะบางอย่างสามารถกระตุ้นให้ผู้รับสารเกิดความสนใจที่จะเลือกรับรู้มี 5 ประการ คือ ความเข้มข้น ขนาด การเคลื่อนไหว ความถี่และความแปลกใหม่ในชีวิตประจำวัน การกระทำทุกอย่างเกี่ยวข้องกับความรู้สึกและอารมณ์เสมอ ด้านอารมณ์ของมนุษย์ในระยะแรกจะสื่อสารเพื่อการอยู่รอด เช่น การแสดงออกทางด้านเสียง อากับกิริยา และแสดงออกทางใบหน้า การเกิดอารมณ์ของมนุษย์สามารถศึกษาจากทฤษฎี อาทิเช่น ทฤษฎีของเจมส์-แลง (Jams-Lange) ทฤษฎีของแคนนอน-บอร์ด (Cannon-Bard) ทฤษฎีการรู้คิดของลาซาร์ลและแชอเตอร์ (Lazarus-Schackter)

       มนุษย์จะได้รับการจูงใจไม่เท่าเทียมกัน การจูงใจจะช่วยทำให้เกิดการแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตรงตามที่ผู้ส่งสารต้องการ ได้แก่ ทฤษฎีแรงขับทางชีวภาพ ทฤษฎีความต้องการตามลำดับขั้นของมาสโลว์ ทฤษฎีการจูงใจของเฮอร์สเบอร์ก ทฤษฎีความต้องการของแมคคลีแลนด์และทฤษฎีความคาดหวังของรูม ฯลฯ เป็นต้น สำหรับด้านเจตคติของมนุษย์นั้นเป็นสิ่งไม่คงที่ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาขึ้นอยู่กับความสนใจ ความเข้าใจ ดังนั้นกระบวนการการที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเจตคติ คือ การสื่อสารซึ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนาข่าวสารจะมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงมาก จึงควรมีลักษณะดังนี้ คือ ลักษณะของแหล่งข่าว ลักษณะการดึงดูดใจและลักษณะโครงสร้างของข่าวสาร รูปแบบการเปลี่ยนแปลงเจตคติมี 3 ลักษณะ คือ รูปแบบการสื่อสารข้อความแบบทางเดียว รูปแบบการสื่อสารข้อความสองขั้นตอน และรูปแบบการสื่อสารข้อความชนิดการสื่อสารระหว่างกัน ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงเจตคติมีรายละเอียด 3 ทฤษฎี ได้แก่ ทฤษฎีความต้องการ ทฤษฎีสมดุลและทฤษฎีความขัดแย้งทางความคิด

       หลักสำคัญของการสื่อสารมี 5 ประการ ได้แก่ เช่น ความสำคัญต่อความเป็นสังคม สำคัญต่อชีวิตประจำวัน สำคัญต่ออุตสาหกรรมและธุรกิจ สำคัญต่อการปกครองและสำคัญต่อการเมืองระหว่างประเทศ การสื่อสารมีหลายรูปแบบเพราะมีเกณฑ์พิจารณาแตกต่างกัน ซึ่งแบ่งเป็น 5 เกณฑ์ คือ เกณฑ์จำนวนผู้ที่ทำการสื่อสาร เรื่องภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร การเห็นหน้าค่าตากันระหว่างผู้สื่อสาร ความแตกต่างระหว่างผู้สื่อสารและตามหลักเนื้อหารายวิชาที่มีการนำการสื่อสารเข้าไปใช้ สำหรับองค์ประกอบที่สำคัญในกระบวนการสื่อสารของมนุษย์มีหลักสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ ผู้ส่งสาร สาร สื่อ/ช่องทางการสื่อสารและผู้รับสาร กระบวนการสื่อสารมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา ดังนั้นการศึกษาพฤติกรรมการสื่อสารของมนุษย์จำเป็นต้องอาศัยแบบจำลองของการสื่อสารแบบต่างๆ คือ แบบการสื่อสารทางเดียว (One Way Conmunication ) แบบสื่อสารของแซรมม์ (Schramm) การสื่อสารของลาสเวลส์ (Laswell) การสื่อสารแบบเดวิด เบอร์โล (David Berlo) ฯลฯ เป็นต้น การใช้ภาษาเพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการสื่อสาร คือ ความสมบูรณ์ครบถ้วนความกระทัดรัดและการพิจารณาไตร่ตรอง การตีความวัจนภาษาก็จะผันแปรตามความหมายโดยตรง/ตามพจนานุกรม/อ้างอิง ตามหลักของภาษา/ในไวยากรณ์ นัยประหวัด/ความหมายแฝง ความหมายกำกวม ตามบริบทในประโยคตามเจตนาของผู้พูด ตามที่ผู้ฟังตีความ ภาษาแสลงความหมายเฉพาะกลุ่ม

       การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ คือ การส่งสารเพื่อเปลี่ยนแปลงเจตคติ ความเชื่อและพฤติกรรมของคนหรือกลุ่มเป็นการสื่อสารให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการรับรู้ อารมณ์ความรู้สึก โดยผู้สื่อสารต้องพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ในการโน้มน้าวใจ กระบวนการโน้มน้าวใจ และข้อจำกัด โดยต้องมีองค์ประกอบ คือ ความน่าเชื่อถือของผู้ส่งสาร การเป็นเหตุและผล การใช้อารมณ์และความรู้สึก

จุดเด่น / ความน่าสนใจของผลงานทางวิชาการ :  ในหนังสือเล่มนี้มีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการโน้มน้าวใจ 5 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีความต้องการตามลำดับขั้นของมาสโลว์ (Maslow’s – hierarehy of human Needs) ทฤษฎีสิ่งเร้าและการตอบสนอง (S-R Theory) ฯลฯ เป็นต้น นั้นจึงทำให้ผู้อ่านหรือนำไปใช้สามารถประยุกต์ใช้ทฤษฎีเป็นกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ ได้แก่ การเสนอข่าวซ้ำๆ การเชื่อมโยงการแต่งรูปโฉมการสื่อสาร วิธีการละเว้นไม่พูดถึง การหันเหความสนใจและการสร้างความสับสน

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : เนื้อหาสาระของผลงานทางวิชาการเล่มนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายรูปแบบ โดยเฉพาะการอยู่รวมกันในสังคมเพราะภาษา คือ เครื่องมือสำคัญที่มนุษย์ใช้สื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน และแสดงถึงอารยธรรมอันสูงส่ง ภาษาจึงมีลักษณะสากล ความสำเร็จในการสื่อสารจำเป็นต้องอาศัยเทคนิคเหมาะสมสอดคล้องกับการสื่อสารทุกรูปแบบที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นการใช้เทคนิคของการเอาใจเขามาใส่ใจเรา มุ่งความสนใจไปยังตัวผู้รับโดยตรง เพราะมนุษย์ใช้ถ้อยคำเพื่อสะท้อนภาพความเป็นตัวตนให้บุคคลอื่นรับรู้ถือเป็นลักษณะพื้นฐานของมนุษย์และการอยู่ร่วมกันในสังคม

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร

การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมชุดความคิดเกี่ยวกับการสอนของครูประถมศึกษา

การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมชุดความคิดเกี่ยวกับการสอนของครูประถมศึกษา

THE DEVELOPMENT OF PROFESSIONAL LEARNING COMMUNITY MODEL TO IMPROVE ELEMENTARY SCHOOL TEACHERS’ INSTRUCTIONAL MINDSET


รองศาสตราจารย์ ดร.บังอร  เสรีรัตน์ 

อาจารย์สาขาวิชาจิตวิทยา  คณะครุศาสตร์   มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

E-mail : [email protected]

             การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมชุดความคิดเกี่ยวกับการสอนของครูประถมศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน คือการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ฯ ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 หลักการ องค์ประกอบที่ 2 จุดมุ่งหมาย องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการหลักและบทบาทสำคัญ และองค์ประกอบที่ 4 ปัจจัยสนับสนุนการใช้รูปแบบฯ การศึกษางานวิจัยเรื่องนี้จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กระบวนการหลักและบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดชุดความคิดเกี่ยวกับการสอนในกลุ่มประชากรเป้าหมาย  สุดท้ายมีข้อเสนอแนะสำหรับผู้ที่สนใจจะทำวิจัย เพื่อขยายหรือต่อยอดงานวิจัยนี้ออกไปอีก

บังอร  เสรีรัตน์.  (2560)  การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมชุดความคิดเกี่ยวกับการสอนของครูประถมศึกษา  วารสารศรีประทุมปริทัศน์. 17 (1). 

วารสารวิชาการ : วารสารศรีประทุมปริทัศน์

ลิงค์ที่เข้าถึงได้ : 

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการถ่ายโยงการเรียนรู้

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการถ่ายโยงการเรียนรู้

The Development of Instructional Model to Encourage Transfer of Learning.


รองศาสตราจารย์ ดร.บังอร เสรีรัตน์

อาจารย์สาขาวิชาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

E-mail : [email protected]

             การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนใหม่ๆ คือรูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการถ่ายโยงการเรียนรู้ รูปแบบการเรียนการสอนฯที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 5 องค์ประกอบได้แก่ 1) แนวคิด 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดกิจกรรม 4) บทบาทผู้สอนและผู้เรียน และ 5) ผลที่ผู้เรียนได้รับ ครูผู้สอนสามารถนำรูปแบบการเรียนการสอนฯนี้ไปปรับประยุกต์ใช้กับผู้เรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นต้นไป เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมการถ่ายโยงการเรียนรู้ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียน เรียนรู้เนื้อหาต่างๆอย่างเข้าใจ และนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ได้ทั้งในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆและการทำงาน สุดท้ายมีข้อเสนอแนะสำหรับผู้ที่สนใจจะทำวิจัย เพื่อขยายหรือต่อยอดงานวิจัยนี้ออกไปอีก

บังอร เสรีรัตน์. (2557) “ การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการถ่ายโยงการเรียนรู้.”  วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 9 (2).

ลิงค์ที่เข้าถึงได้ : 

รูปแบบการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย

ชื่อผลงานทางวิชาการ : รูปแบบการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (Model of Organizing University Sport Tournament of Thailand)

ประเภทผลงานทางวิชาการ : งานวิจัยทางการศึกษา

ความสำคัญ : รูปแบบการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย รูปแบบการแข่งขันที่มีประสิทธิผล , ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2558

ข้อมูลเพิ่มเติม : วารสารครุศาสตร์สาร ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ISSN : 1906-117x

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : อาจารย์ ดร. สุรศักดิ์ เครือหงษ์ อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชา พลศึกษาและนันทนาการ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : รูปแบบในการวิจัยเป็นแบบผสม (Mixed Method Research Design) เป็นการศึกษาเชิงลึก เก็บข้อมูลเชิงสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 337 คน ประกอบด้วย ผู้จัดการทีม โค้ช ผู้ตัดสินและผู้แทนสมาคมกีฬา นักกีฬาและผู้เข้าชม พร้อมทั้งตัวแทนผู้ให้การสนับสนุน สุ่มตัวอย่างโดยการใช้การสุ่มแบบโดยบังเอิญ (Accidental Sampling) จากจำนวนประชากร 4,089 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) กับส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และจากการสัมมนากลุ่มย่อยกับวิธีเทคนิคฟาย

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : จากผลการศึกษาวิจัยพบว่า

1) สภาพการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยควรมีการปรับรูปแบบวิธีการจัดการแข่งขันให้ดีขึ้นกว่าเดิม

2) รูปแบบการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ โดยควรมีการกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกให้ชัดเจนกับชนิดกีฬาและเหมาะสมกับจำนวนผู้แข่งขัน จัดแข่งขันแบบลึกเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมมากขึ้น การแข่งขันแบบสะสมคะแนนเพื่อจัดอันดับในบางชนิดกีฬาและให้มีการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง แข่งขันในช่วงวันหยุด ในส่วนการจัดการแข่งขันรอบคัดเลือกในมหาวิทยาลัยที่ใกล้เคียงเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกัน

3) ส่งเสริมให้เกิดการกระจายอำนาจเพิ่มขึ้น เพื่อได้ส่งผลให้การแข่งขันรอบมหกรรมได้รับความสนใจ

4) ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย คือ ควรทำรูปแบบการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยไปใช้จริง

จุดเด่น / การนำไปใช้ประโยชน์ : จากผลการวิจัยรูปแบบการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย มีจุดเด่น คือ การกีฬาเป็นกิจกรรมที่ได้รับความสนใจและนิยมมากในหมู่นิสิต นักศึกษา จึงเห็นสมควรให้มหาวิทยาลัยได้จัดกิจกรรมหรือโครงการการเล่นกีฬาเพื่อออกกำลังกาย พร้อมทั้งจัดการแข่งขันกีฬาทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยให้ต่อเนื่อง อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง หรือ 2 ครั้ง

นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังต้องสร้างกิจกรรมด้านกีฬาให้กับชุมชน สังคมรอบๆ มหาวิทยาลัย เพราะจัดว่าเป็นภารกิจด้านหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษา เช่น โครงการแข่งขันกีฬาระหว่างชาวชุมชนกับนิสิตนักศึกษา และบุคลากรของมหาวิทยาลัยเพื่อสร้างความสามัคคี เป็นอันหนึ่งเดียวกัน

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : จากผลการวิจัยยังสามารถส่งเสริมกระบวนการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยได้ เพราะกีฬาเป็นกระบวนการศึกษาที่มีจุดมุ่งหมายทางเดียวกัน คือ เมื่อผู้มีส่วนร่วม ร่วมลงมือทำและปฏิบัติด้วยตนเองแล้ว นิสิตนักศึกษาและนักเรียนสาธิตจะเกิดการพัฒนาการทุกด้าน เช่น ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคมและด้านสติปัญญา เป็นต้น

ดังนั้นการแข่งขันกีฬาเป็นกิจกรรมช่วยพัฒนาศักยภาพและทักษะของคนในด้านต่างๆ ทำให้มีสุขภาพดี มีจิตใจมั่นคง เข็มแข็ง รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย รู้รักสามัคคีและทำงานร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข และช่วยเสริมสร้างความมีวินัยให้แก่คนในสังคมด้วย เพราะการเล่นกีฬาต้องรู้จักเคารพในกฎเกณฑ์ กติกาและมารยาท

ผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ขั้นความรู้เบื้องต้น

ชื่อผลงานทางวิชาการ : ผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ขั้นความรู้เบื้องตัน

ประเภทผลงานทางวิชาการ : หนังสือประกอบการเรียนวิชาผู้กำกับลูกเสือ สามัญรุ่นใหญ่ ขั้นความรู้เบื้องต้น

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2558

ข้อมูลเพิ่มเติม : โรงพิมพ์ บริษัทสหธรรมิก จำกัด กทม. จัดพิมพ์โดย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของและผลงานทางวิชาการ / ตำแหน่งทางวิชาการ : อาจารย์ ดร.สุรศักดิ์ เครือหงษ์และคณะ สาขาวิชาพลศึกษาและนันทนาการ คณะครุศาสตร์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : ลอร์ด เบเดน เพาเวลล์ (Robert Stephenson Smeyth Bandenpowell) เป็นผู้ให้กำเนิดลูกเสือโลก หลักการสำคัญและการปฏิบัติของลูกเสืออยู่ที่คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ ซึ่งมีหลักการสำคัญ ดังนี้

1. ลูกเสือเป็นผู้มีศาสนา 2. มีความจงรักภัคดีต่อชาติบ้านเมือง 3. มีความเชื่อมั่นในมิตรภาพและภราดรแห่งโลก 4. เป็นผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น 5. เป็นผู้ยึดมั่นและปฏิบัติตามคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ 6. ลูกเสือเป็นอาสาสมัคร 7. ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง และ 8. เป็นโครงการฝึกอบรมเด็กชายหนุ่ม เพื่อให้เป็นพลเมืองดีมีความรับผิดชอบ โดยใช้วิธีระบบหมู่และระบบกลุ่มตามระดับของหลักสูตรและวิชาพิเศษของลูกเสือและเป็นกิจกรรมกลางแจ้ง

คำปฏิญาณที่ผู้ให้กำเนิดลูกเสือกำหนดไว้ คือ ด้วยเกียรติของข้า ข้าของสัญญาว่า ข้อ 1. ข้าจะจงรักภัคดีต่อชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ ข้อ 2. ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ ข้อ 3. ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ  กฎทั้ง 3 ข้อนี้ สมาชิกทั้งหมดของกระบวนการลูกเสือยอมรับ

สรุปสาระสำคัญของวิชาการ : หนังสือผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ขั้นความรู้เบื้องต้นนั้น มีสาระสำคัญ ดังนี้

ประวัติลูกเสือไทย ครั้งสมัยรัชกาลที่ 6 เสด็จทรงศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ได้นำกระบวนการรักษาเมืองในประเทศอังกฤษ ที่ตั้งกองทหารเด็กออกสอดแนมช่วยรบและตั้งเป็นกองลูกเสือ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2454 พระองค์จึงฝึกหัดให้ข้าราชการและพลเรือนเรียนรู้วิชาทหารเกี่ยวกับระเบียบ วินัย ความสามัคคี ความจงรักภัคดีต่อชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ และพระราชทานกำเนิดลูกเสือไทย เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม     2๔54 ต่อจากนั้นได้ตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (โรงเรียนวชิราวุธ ในปัจจุบัน) จัดตั้งกองลูกเสือตามโรงเรียน และพระราชทานคำขวัญลูกเสือว่า “เสียชีพอย่าเสียสัตย์” ลูกเสือไทยคนแรก คือ นายชัพพ์ บุนนาค ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “นายลิขิตสารสนอง”

รัชสมัยรัชกาลที่ 7 ได้รับตำแหน่งนายกสภากรรมการกลางและคัดเลือก นายปุ่น มีไผ่แก้ว กับนายประเวศ จันทนยิ่งยง เข้าร่วมประชุม ณ ประเทศอังกฤษ

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองมีลูกเสือเกิดขึ้นอีกโดยมีการจัดอบรมเด็กที่มีภูมิลำเนาเดิมในท้องถิ่น และตั้งกองลูกเสือในจังหวัดชายทะเลหรือท้องถิ่นที่มีการคมนาคมทางน้ำ เรียกว่า “กองลูกเสือน้ำรักษาพระองค์” ภายสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการจัดตั้งยุวชนทหารมาสอนกิจการลูกเสือ เพื่อเตรียมการรับสถานการณ์ที่คับขัน

สมัยรัชกาลที่ 9 กิจการลูกเสือเริ่มฟื้นฟูกลับมา มีการออกพระราชบัญญัติลูกเสือ พุทธศักราช 2490 มีสาระสำคัญ คือ กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งบรมราชูปถัมภ์คณะลูกเสือแห่งชาติและมีการโอนทรัพย์สินของลูกเสือกลับคืนมาด้วย และกิจกรรมลูกเสือมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากและแพร่หลายขยายอย่างรวดเร็วทั้งในโรงเรียนและประชาชน พ.ศ. 2507 รัฐบาลออกพระราชบัญญัติลูกเสือเพิ่มอีก 1 ฉบับ มีการจัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติหลายครั้ง

โครงสร้างการบริหารลูกเสือแห่งชาติ มีปรากฏในพระราชบัญญัติลูกเสือ ปี พ.ศ. 2507 – 2530 สรุปได้ดังนี้ 1. คณะลูกเสือแห่งชาติ ประกอบด้วยบรรดาลูกเสือทั้งปวง ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ผู้ตรวจการลูกเสือ กรรมการลูกเสือและเจ้าหน้าที่ลูกเสือ (มาตรา 5) 2. คณะลูกเสือแห่งชาติเป็นนิติบุคคล (มาตรา 6) 3. พระมหากษัตริย์เป็นพระประชุมของคณะลูกเสือแห่งชาติ 4. สภาลูกเสือแห่งชาติประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีเป็นนายกสภา รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ฯลฯ และให้อธิการบดีกรมพลศึกษา กรรมการและเลขานุการ

การปฏิบัติตามกฎของลูกเสือมี 10 ข้อ ดังนี้

1. ลูกเสือมีเกียรติเชื่อถือได้ 2. ลูกเสือมีความจงรักภัคดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และซื่อตรงต่อผู้มีพระคุณ 3. ลูกเสือมีหน้าที่กระทำตนให้เป็นประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่น 4. ลูกเสือเป็นมิตรของทุกคนและเป็นพี่น้องกับลูกเสืออื่นทั่วโลก 5. ลูกเสือเป็นผู้สุภาพเรียบร้อย 6. ลูกเสือมีความเมตตากรุณาต่อสัตว์ 7. ลูกเสือเชื่อฟังคำสั่งของบิดามารดาและผู้บังคับบัญชาด้วยความเคารพ 8. ลูกเสือมีใจร่าเริงและไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก 9. ลูกเสือเป็นผู้มัธยัสถ์ และ 10. ลูกเสือประพฤติชอบด้วยกายวาจาใจ

จุดเด่น / ความน่าสนใจ / การนำไปใช้ประโยชน์ : วิชาผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ขั้นความรู้เบื้องต้นนั้น มีจุดเด่นเรื่องการฝึกวินัยในตนเอง โดยเฉพาะการเคารพกติกาของสังคม นอกจากนั้นหนังสือเล่มนี้ยังรวมเนื้อหาของการฝึกทักษะเบื้องต้น คือ การใช้เข็มทิศหาทิศทาง (ตั้งมุม) การใช้เข็มทิศวัดทิศทาง (วัดมุม) ทั้ง 2 อย่างนี้จัดว่าเป็นทักษะสำคัญของมนุษย์เกี่ยวกับการเดินทาง โดยเน้น 4 ประเภท คือ When What Where How  ซึ่งการเดินทางไกลจำเป็นต้องรู้จักทิศทางเป็นอย่างดี พร้อมกับต้องเข้าใจสภาพภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศท้องถิ่นนั้นๆ เป็นอย่างดี ความรู้ดังกล่าวนี้บรรจุอยู่ในหนังสือผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ขั้นความรู้เบื้องต้น

การนำไปใช้ประโยชน์ : มหาวิทยาลัยโดยฝ่ายสำนักกิจการนิสิต ฝ่ายบริหาร งานบุคคล คณะวิชาทั้ง 5 สามารถนำไปประยุกต์ให้เป็นรูปธรรมสัมผัสได้ โดยวิธีการจัดทำโครงการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในค่าย ประมาณ 5 วัน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทำกิจกรรมร่วมกันใช้กฎเกณฑ์ของลูกเสือทั้งหมด เช่น การฝึกวินัยในตนเอง คือการตรงต่อเวลา การเคารพความคิดของทีมงาน การยอมรับระเบียบปฏิบัติร่วมกัน ฯลฯ และเชิญวิทยากรลูกเสือมาเป็นผู้ให้ความรู้ โดยเป็นความรู้คู่คุณธรรมนำสังคม

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : หนังสือเล่มนี้มีสาระที่เป็นเรื่องการ “ทำเกม” แต่เป็นเกมที่เล่นไม่มีกฎกติกาสลับซับซ้อน แต่เล่นเพื่อส่งเสริมให้เกิดทักษะการพัฒนาการเคลื่อนไหวขั้นมูลฐานและทักษะเบื้องต้นไปสู่การกีฬา แต่มีระเบียบข้อบังคับ

มหาวิทยาลัยสามารถนำมาใช้กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ทุกคณะวิชา ที่ผู้สอนต้องนำประยุกต์ใช้ จะช่วยทำให้ผู้เรียนสนุกกับการเรียนหรือมีลักษณะเป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนก็ได้

การเตรียมความพร้อมของโรงเรียนเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน : กรณีศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กรุงเทพมหานคร

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การเตรียมความพร้อมของโรงเรียนเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน : กรณีศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กรุงเทพมหานคร

ประเภทผลงานทางวิชาการ : วิจัย (สารนิพนธ์ ระดับบัณฑิตศึกษา)

ปีที่พิมพ์ : 2556

ข้อมูลเพิ่มเติม : สถานที่พิมพ์ คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ / ตำแหน่งทางวิชาการ  : นายศราวุฒิ สมัญญา อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์

จุดประสงค์การวิจัย : ศึกษาปัจจัยการสนับสนุนการเตรียมความพร้อมและเปรียบเทียบการเตรียมความพร้อมของโรงเรียนเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน กลุ่มตัวอย่าง 374 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ และใช้ค่าร้อยละ , S.D. , X และ ANOVA

สาระสำคัญ / ผลการวิจัย 1. ปัจจัยสนับสนุนต่อการเตรียมความพร้อมด้านการจัดการเรียนการสอน ระดับค่อนข้างมาก แสดงว่าผู้บริหารโรงเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง การจัดการศึกษาด้านประชาคมอาเซียน ในด้านหลักสูตรในการจัดการเรียนการสอน ด้านบุคลากร ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการเตรียมความพร้อมศูนย์การเรียนรู้ได้อย่างดี

2. การเปรียบเทียบการเตรียมความพร้อมแตกต่างกันเพราะ ขนาดของโรงเรียนไม่เท่ากัน

3. ปัจจัยที่ส่งผลประกอบด้วย ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายนอก สมรรถนะภายในและประสบการณ์ในการดำเนินงานในภารกิจด้านการศึกษา

จุดเด่น / ความน่าสนใจที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ : ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา คือ

1. ด้านการจัดการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ต้องมีการพัฒนาหลักสูตร 2544 รองรับการเป็นประชาคมอาเซียน มีการเทียบโอนรายวิชารองรับนักศึกษาในกลุ่มประชาคมอาเซียน

2. ด้านสิ่งแวดล้อม อาคารสถานที่ ต้องมีการปรับปรุงภูมิทัศน์อาคารสถานที่ แหล่งเรียนรู้ห้องเรียน

3. ด้านหลักสูตรในการจัดการเรียนการสอนต้องมีการปรับปรุงรายวิชาการศึกษาทั่วไปให้นิสิต / นักศึกษาเลือกเรียน และจัดทำหลักสูตรนานาชาติในอาเซียนเป็นภาษาอังกฤษ

4. ด้านบุคลากร ต้องมีการจัดอบรมทั้งภายในและภายนอก รวมทั้งศึกษาดูงานทั้งในและนอก โดยเฉพาะผู้บริหารทุกหน่วยงานในกลุ่มอาชีพ

5. ด้านศูนย์การเรียนรู้ ควรขยายเครือข่ายการให้บริการไปในชุมชน / สถานศึกษาใกล้เคียง ด้านภาษา โดยการจัดตั้งเป็นศูนย์ฝึกประสบการณ์ทางภาษา

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : การผลิตบัณฑิตสายครูควรเน้นที่ผู้สอนของคณะครุศาสตร์ที่ต้องให้ความสำคัญกับรายวิชาที่สอดคล้องกับกลุ่มอาเซียนที่โรงเรียนระดับประถม – มัธยม เปิดสอน โดยเฉพาะวิชาเลือกเสรีของแต่ละสาขาทางคณะครุศาสตร์ ต้องสอดกับหลักสูตรสถานศึกษาด้วย

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร