ชื่อผลงานทางวิชาการ : รูปแบบการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (Model of Organizing University Sport Tournament of Thailand)

ประเภทผลงานทางวิชาการ : งานวิจัยทางการศึกษา

ความสำคัญ : รูปแบบการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย รูปแบบการแข่งขันที่มีประสิทธิผล , ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2558

ข้อมูลเพิ่มเติม : วารสารครุศาสตร์สาร ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ISSN : 1906-117x

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : อาจารย์ ดร. สุรศักดิ์ เครือหงษ์ อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชา พลศึกษาและนันทนาการ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : รูปแบบในการวิจัยเป็นแบบผสม (Mixed Method Research Design) เป็นการศึกษาเชิงลึก เก็บข้อมูลเชิงสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 337 คน ประกอบด้วย ผู้จัดการทีม โค้ช ผู้ตัดสินและผู้แทนสมาคมกีฬา นักกีฬาและผู้เข้าชม พร้อมทั้งตัวแทนผู้ให้การสนับสนุน สุ่มตัวอย่างโดยการใช้การสุ่มแบบโดยบังเอิญ (Accidental Sampling) จากจำนวนประชากร 4,089 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) กับส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และจากการสัมมนากลุ่มย่อยกับวิธีเทคนิคฟาย

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : จากผลการศึกษาวิจัยพบว่า

1) สภาพการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยควรมีการปรับรูปแบบวิธีการจัดการแข่งขันให้ดีขึ้นกว่าเดิม

2) รูปแบบการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ โดยควรมีการกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกให้ชัดเจนกับชนิดกีฬาและเหมาะสมกับจำนวนผู้แข่งขัน จัดแข่งขันแบบลึกเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมมากขึ้น การแข่งขันแบบสะสมคะแนนเพื่อจัดอันดับในบางชนิดกีฬาและให้มีการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง แข่งขันในช่วงวันหยุด ในส่วนการจัดการแข่งขันรอบคัดเลือกในมหาวิทยาลัยที่ใกล้เคียงเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกัน

3) ส่งเสริมให้เกิดการกระจายอำนาจเพิ่มขึ้น เพื่อได้ส่งผลให้การแข่งขันรอบมหกรรมได้รับความสนใจ

4) ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย คือ ควรทำรูปแบบการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยไปใช้จริง

จุดเด่น / การนำไปใช้ประโยชน์ : จากผลการวิจัยรูปแบบการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย มีจุดเด่น คือ การกีฬาเป็นกิจกรรมที่ได้รับความสนใจและนิยมมากในหมู่นิสิต นักศึกษา จึงเห็นสมควรให้มหาวิทยาลัยได้จัดกิจกรรมหรือโครงการการเล่นกีฬาเพื่อออกกำลังกาย พร้อมทั้งจัดการแข่งขันกีฬาทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยให้ต่อเนื่อง อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง หรือ 2 ครั้ง

นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังต้องสร้างกิจกรรมด้านกีฬาให้กับชุมชน สังคมรอบๆ มหาวิทยาลัย เพราะจัดว่าเป็นภารกิจด้านหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษา เช่น โครงการแข่งขันกีฬาระหว่างชาวชุมชนกับนิสิตนักศึกษา และบุคลากรของมหาวิทยาลัยเพื่อสร้างความสามัคคี เป็นอันหนึ่งเดียวกัน

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : จากผลการวิจัยยังสามารถส่งเสริมกระบวนการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยได้ เพราะกีฬาเป็นกระบวนการศึกษาที่มีจุดมุ่งหมายทางเดียวกัน คือ เมื่อผู้มีส่วนร่วม ร่วมลงมือทำและปฏิบัติด้วยตนเองแล้ว นิสิตนักศึกษาและนักเรียนสาธิตจะเกิดการพัฒนาการทุกด้าน เช่น ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคมและด้านสติปัญญา เป็นต้น

ดังนั้นการแข่งขันกีฬาเป็นกิจกรรมช่วยพัฒนาศักยภาพและทักษะของคนในด้านต่างๆ ทำให้มีสุขภาพดี มีจิตใจมั่นคง เข็มแข็ง รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย รู้รักสามัคคีและทำงานร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข และช่วยเสริมสร้างความมีวินัยให้แก่คนในสังคมด้วย เพราะการเล่นกีฬาต้องรู้จักเคารพในกฎเกณฑ์ กติกาและมารยาท