ชื่อผลงานทางวิชาการ : ผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ขั้นความรู้เบื้องตัน

ประเภทผลงานทางวิชาการ : หนังสือประกอบการเรียนวิชาผู้กำกับลูกเสือ สามัญรุ่นใหญ่ ขั้นความรู้เบื้องต้น

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2558

ข้อมูลเพิ่มเติม : โรงพิมพ์ บริษัทสหธรรมิก จำกัด กทม. จัดพิมพ์โดย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของและผลงานทางวิชาการ / ตำแหน่งทางวิชาการ : อาจารย์ ดร.สุรศักดิ์ เครือหงษ์และคณะ สาขาวิชาพลศึกษาและนันทนาการ คณะครุศาสตร์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : ลอร์ด เบเดน เพาเวลล์ (Robert Stephenson Smeyth Bandenpowell) เป็นผู้ให้กำเนิดลูกเสือโลก หลักการสำคัญและการปฏิบัติของลูกเสืออยู่ที่คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ ซึ่งมีหลักการสำคัญ ดังนี้

1. ลูกเสือเป็นผู้มีศาสนา 2. มีความจงรักภัคดีต่อชาติบ้านเมือง 3. มีความเชื่อมั่นในมิตรภาพและภราดรแห่งโลก 4. เป็นผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น 5. เป็นผู้ยึดมั่นและปฏิบัติตามคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ 6. ลูกเสือเป็นอาสาสมัคร 7. ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง และ 8. เป็นโครงการฝึกอบรมเด็กชายหนุ่ม เพื่อให้เป็นพลเมืองดีมีความรับผิดชอบ โดยใช้วิธีระบบหมู่และระบบกลุ่มตามระดับของหลักสูตรและวิชาพิเศษของลูกเสือและเป็นกิจกรรมกลางแจ้ง

คำปฏิญาณที่ผู้ให้กำเนิดลูกเสือกำหนดไว้ คือ ด้วยเกียรติของข้า ข้าของสัญญาว่า ข้อ 1. ข้าจะจงรักภัคดีต่อชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ ข้อ 2. ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ ข้อ 3. ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ  กฎทั้ง 3 ข้อนี้ สมาชิกทั้งหมดของกระบวนการลูกเสือยอมรับ

สรุปสาระสำคัญของวิชาการ : หนังสือผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ขั้นความรู้เบื้องต้นนั้น มีสาระสำคัญ ดังนี้

ประวัติลูกเสือไทย ครั้งสมัยรัชกาลที่ 6 เสด็จทรงศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ได้นำกระบวนการรักษาเมืองในประเทศอังกฤษ ที่ตั้งกองทหารเด็กออกสอดแนมช่วยรบและตั้งเป็นกองลูกเสือ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2454 พระองค์จึงฝึกหัดให้ข้าราชการและพลเรือนเรียนรู้วิชาทหารเกี่ยวกับระเบียบ วินัย ความสามัคคี ความจงรักภัคดีต่อชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ และพระราชทานกำเนิดลูกเสือไทย เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม     2๔54 ต่อจากนั้นได้ตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (โรงเรียนวชิราวุธ ในปัจจุบัน) จัดตั้งกองลูกเสือตามโรงเรียน และพระราชทานคำขวัญลูกเสือว่า “เสียชีพอย่าเสียสัตย์” ลูกเสือไทยคนแรก คือ นายชัพพ์ บุนนาค ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “นายลิขิตสารสนอง”

รัชสมัยรัชกาลที่ 7 ได้รับตำแหน่งนายกสภากรรมการกลางและคัดเลือก นายปุ่น มีไผ่แก้ว กับนายประเวศ จันทนยิ่งยง เข้าร่วมประชุม ณ ประเทศอังกฤษ

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองมีลูกเสือเกิดขึ้นอีกโดยมีการจัดอบรมเด็กที่มีภูมิลำเนาเดิมในท้องถิ่น และตั้งกองลูกเสือในจังหวัดชายทะเลหรือท้องถิ่นที่มีการคมนาคมทางน้ำ เรียกว่า “กองลูกเสือน้ำรักษาพระองค์” ภายสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการจัดตั้งยุวชนทหารมาสอนกิจการลูกเสือ เพื่อเตรียมการรับสถานการณ์ที่คับขัน

สมัยรัชกาลที่ 9 กิจการลูกเสือเริ่มฟื้นฟูกลับมา มีการออกพระราชบัญญัติลูกเสือ พุทธศักราช 2490 มีสาระสำคัญ คือ กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งบรมราชูปถัมภ์คณะลูกเสือแห่งชาติและมีการโอนทรัพย์สินของลูกเสือกลับคืนมาด้วย และกิจกรรมลูกเสือมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากและแพร่หลายขยายอย่างรวดเร็วทั้งในโรงเรียนและประชาชน พ.ศ. 2507 รัฐบาลออกพระราชบัญญัติลูกเสือเพิ่มอีก 1 ฉบับ มีการจัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติหลายครั้ง

โครงสร้างการบริหารลูกเสือแห่งชาติ มีปรากฏในพระราชบัญญัติลูกเสือ ปี พ.ศ. 2507 – 2530 สรุปได้ดังนี้ 1. คณะลูกเสือแห่งชาติ ประกอบด้วยบรรดาลูกเสือทั้งปวง ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ผู้ตรวจการลูกเสือ กรรมการลูกเสือและเจ้าหน้าที่ลูกเสือ (มาตรา 5) 2. คณะลูกเสือแห่งชาติเป็นนิติบุคคล (มาตรา 6) 3. พระมหากษัตริย์เป็นพระประชุมของคณะลูกเสือแห่งชาติ 4. สภาลูกเสือแห่งชาติประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีเป็นนายกสภา รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ฯลฯ และให้อธิการบดีกรมพลศึกษา กรรมการและเลขานุการ

การปฏิบัติตามกฎของลูกเสือมี 10 ข้อ ดังนี้

1. ลูกเสือมีเกียรติเชื่อถือได้ 2. ลูกเสือมีความจงรักภัคดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และซื่อตรงต่อผู้มีพระคุณ 3. ลูกเสือมีหน้าที่กระทำตนให้เป็นประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่น 4. ลูกเสือเป็นมิตรของทุกคนและเป็นพี่น้องกับลูกเสืออื่นทั่วโลก 5. ลูกเสือเป็นผู้สุภาพเรียบร้อย 6. ลูกเสือมีความเมตตากรุณาต่อสัตว์ 7. ลูกเสือเชื่อฟังคำสั่งของบิดามารดาและผู้บังคับบัญชาด้วยความเคารพ 8. ลูกเสือมีใจร่าเริงและไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก 9. ลูกเสือเป็นผู้มัธยัสถ์ และ 10. ลูกเสือประพฤติชอบด้วยกายวาจาใจ

จุดเด่น / ความน่าสนใจ / การนำไปใช้ประโยชน์ : วิชาผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ขั้นความรู้เบื้องต้นนั้น มีจุดเด่นเรื่องการฝึกวินัยในตนเอง โดยเฉพาะการเคารพกติกาของสังคม นอกจากนั้นหนังสือเล่มนี้ยังรวมเนื้อหาของการฝึกทักษะเบื้องต้น คือ การใช้เข็มทิศหาทิศทาง (ตั้งมุม) การใช้เข็มทิศวัดทิศทาง (วัดมุม) ทั้ง 2 อย่างนี้จัดว่าเป็นทักษะสำคัญของมนุษย์เกี่ยวกับการเดินทาง โดยเน้น 4 ประเภท คือ When What Where How  ซึ่งการเดินทางไกลจำเป็นต้องรู้จักทิศทางเป็นอย่างดี พร้อมกับต้องเข้าใจสภาพภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศท้องถิ่นนั้นๆ เป็นอย่างดี ความรู้ดังกล่าวนี้บรรจุอยู่ในหนังสือผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ขั้นความรู้เบื้องต้น

การนำไปใช้ประโยชน์ : มหาวิทยาลัยโดยฝ่ายสำนักกิจการนิสิต ฝ่ายบริหาร งานบุคคล คณะวิชาทั้ง 5 สามารถนำไปประยุกต์ให้เป็นรูปธรรมสัมผัสได้ โดยวิธีการจัดทำโครงการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในค่าย ประมาณ 5 วัน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทำกิจกรรมร่วมกันใช้กฎเกณฑ์ของลูกเสือทั้งหมด เช่น การฝึกวินัยในตนเอง คือการตรงต่อเวลา การเคารพความคิดของทีมงาน การยอมรับระเบียบปฏิบัติร่วมกัน ฯลฯ และเชิญวิทยากรลูกเสือมาเป็นผู้ให้ความรู้ โดยเป็นความรู้คู่คุณธรรมนำสังคม

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : หนังสือเล่มนี้มีสาระที่เป็นเรื่องการ “ทำเกม” แต่เป็นเกมที่เล่นไม่มีกฎกติกาสลับซับซ้อน แต่เล่นเพื่อส่งเสริมให้เกิดทักษะการพัฒนาการเคลื่อนไหวขั้นมูลฐานและทักษะเบื้องต้นไปสู่การกีฬา แต่มีระเบียบข้อบังคับ

มหาวิทยาลัยสามารถนำมาใช้กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ทุกคณะวิชา ที่ผู้สอนต้องนำประยุกต์ใช้ จะช่วยทำให้ผู้เรียนสนุกกับการเรียนหรือมีลักษณะเป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนก็ได้