Category Archives: เทคนิคการสอน สื่อ นวัตกรรม และรูปแบบการสอนที่ทันสมัย

การพัฒนาสื่อแอนนิเมชั่น ๓ มิติ เรื่องโครงสร้างอะตอม สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป (The Development of ๓D Animation of Atomic Structure for Students of General Science)

แบบฟอร์มสำหรับการนำเสนอบทสรุปผลงานทางวิชาการ

ชื่อผลงานทางวิชาการ :           การพัฒนาสื่อแอนนิเมชั่น ๓ มิติ เรื่องโครงสร้างอะตอม สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป (The Development of ๓D Animation of Atomic Structure for Students of General Science)

ประเภทผลงานทางวิชาการ :     วิจัยเพื่อพัฒนา

ปีที่พิมพ์ :                         พ.ศ. ๒๕๕๙

ข้อมูลเพิ่มเติม :                   สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์การคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ :   นายจิตต์วิสุทธิ์ วิมุตติปัญญา และ นายธีรพัฒน์ จันษร ตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กลุ่มวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อแอนนิเมชั่น ๓ มิติ เรื่อง โครงสร้างอะตอม สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ ๓ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ จำนวน ๓๐ คน ด้วยวิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจ มีความยาก-ง่าย อยู่ระหว่าง ๐.๒๕ – ๐.๖๓ ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง ๐.๔๓ – ๐.๗๕ และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ ๐.๘๒ และแบบวัดความพึงพอใจ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ ๐.๘๗ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้การทดสอบค่าที่ (Dependent-Test)

            ผลการวิจัย พบว่า ผลการเรียนรู้ด้วยการพัฒนาสื่อแอนนิเมชั่น ๓ มิติ เรื่องโครงสร้างอะตอม สำหรับนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไปพบว่าความรู้ความเข้าใจของนักศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

            คำสำคัญ : อะตอม, แอนนิเมชั่น

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : สภาพการจัดการศึกษา มีผลมาจากปัจจัยที่บ่งชี้คุณภาพการจัดการศึกษา จำเป็นต้องมีการพัฒนาและการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การพัฒนากระบวนการการเรียนรู้และการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะด้านการจัดหาสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อนำมาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน การจัดให้มีศูนย์สื่อหรือศูนย์วิชาการของสถานการศึกษา โดยเฉพาะการใช้สื่อและนวัตกรรมการสอนหลายวิธีจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนจะมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ตามความสามารถของแต่ละบุคคล สามารถใช้เรียนได้ทั้งแบบกลุ่มและรายบุคคล

            แอนนิเมชั่น (Animation) ถือได้ว่าเป็นสื่อนวัตกรรมที่มีการพัฒนาด้วยเทคโนโลยีดิจิตอลที่ทันสมัยและอยู่ในความต้องการความสนใจของผู้ใช้มีเดีย ด้วยระบบการสร้างและเทคนิควิธีในรูปแบบภาพสามมิติสมจริงด้วย การทำให้ภาพนิ่งเกิดการเคลื่อนไหว ซึ่งทำให้มีความน่าสนใจมากขึ้นในเด็กและผู้ใหญ่และยังรวมถึงคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งมนุษย์เรามักเลือกที่จะมองรูปภาพหรืออะไรที่มีสีสันก่อนมองเนื้อหาเสมอ แอนนิเมชั่นนั้นได้เข้ามามีบทบาทกับงานหลายๆ ด้าน ซึ่งแต่ละองค์การ/หน่วยงานก็นำไปประยุกต์ใช้ในงานหลายๆ ประเภท และในการจัดทำสื่อการเรียนรู้การสอนก็ได้หันมาใช้งานแอนนิเมชั่นในการผลิตมากขึ้น งานด้านแอนนิเมชั่นจึงเป็นงานที่มีคุณค่าและต้องอาศัยความสามารถในการผลิตและไม่แปลกที่เราจะนำแอนนิเมชั่นมีมากมาย เช่น สามารถสื่อความหมายให้เข้าใจได้ง่าย ใช้แอนนิเมชั่นในการช่วยจดจำและดึงดูดความสนใจ แอนนิเมชั่นสามารถอธิบายเรื่องราวที่ซับซ้อน เข้าใจยากให้เราเข้าใจได้ง่ายขึ้นเพราะสื่อแอนนิเมชั่นมีความน่ารักสดใสในตัวของมันเองอยู่แล้ว มีทั้งภาพ เสียง เป็นองค์ประกอบหลัก โดยมีการใส่ตัวหนังสือเข้าไปเพื่อส่งเสริมทักษะ ทั้งด้านการฟัง การอ่านและการมองเห็นภาพไปพร้อมๆ กัน

            ดังนั้นการพัฒนาสื่อแอนนิเมชั่น ๓ มิติ เรื่อง โครงสร้างอะตอม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารให้เกิดภาพอุดมคติและความรู้ ความเข้าใจยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้เรียนสูงขึ้นตลอดทั้งสามารถอธิบายและประยุกต์ความรู้ไปใช้ประกอบการทดลองและประดิษฐ์ที่จะเกี่ยวข้องกับการเรียนเรื่องโครงสร้างอะตอม โดยบูรณาการและเชื่อมโยงกับเนื้อหาอื่นได้อย่างมีความหมาย วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อพัฒนาสื่อแอนนิเมชั่น ๓ มิติ เรื่องโครงสร้างอะตอมเป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น (Pre-Experimental Design) ใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียว สอบก่อนสอบหลัง (One Group Pretest-posttest Design) ประชากรได้แก่ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ จำนวน ๓๐ คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงและใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดี่ยวทดสอบ ก่อน-หลัง

            เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจ มีความยาก-ง่าย อยู่ระหว่าง ๐.๒๕ – ๐.๖๓ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง ๐.๔๓ – ๐.๗๕ และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ ๐.๘๒ และแบบวัดความพึงพอใจมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ ๐.๘๗ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้การทดสอบค่าที่ (Dependen T-Test) นำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการพัฒนาสื่อแอนนิเมชั่น ๓ มิติ เรื่องโครงสร้างอะตอมสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาจิตวิทยาศาสตร์ทั่วไป ไปทดลองใช้กับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ เริ่มต้นด้วยการออกแบบการจัดกิจกรรมตามรูปแบบ / จัดหา สื่อ วัสดุอุปกรณ์และแหล่งการเรียนรู้ หากประสิทธิภาพสร้างเครื่องมือวัดและประเมินพฤติกรรมในการเรียนรู้ดำเนินการจัดกิจกรรมตามขั้นตอนดังนี้

            ขั้นที่ ๑ สร้างความพร้อมทางจิตใจด้วยการปฏิบัติสมาธิ

            ขั้นที่ ๒ การแสดงความคิดเห็นร่วมกัน

            ขั้นที่ ๓ การอภิปราย

            ขั้นที่ ๔ การเสริมแรง

            ขั้นที่ ๕ วัดและประเมินผล

จุดเด่นของการวิจัยเรื่อง การพัฒนาสื่อแอนนิเมชั่น ๓ มิติ :  เรื่องโครงสร้างอะตอมสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป สำหรับผลการจัดการเรียนรู้ด้วยการพัฒนาสื่อแอนนิเมชั่น ๓ มิติ ฯลฯ นี้ พบว่า ความรู้ความเข้าใจของนักศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

            จากการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาสาขาฟิสิกส์ เปรียบเทียบปีการศึกษา ๒๕๕๖ และ ๒๕๕๗ คณะครุศาสตร์ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ๖๐ เปอร์เซ็นต์ ร้อยละ ๗๐ ของนักศึกษาที่เรียนวิชาแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเป็นปัญหาสำหรับนักศึกษาทุกปีที่มีการเรียนรู้ในเรื่องดังกล่าว ทำการวิเคราะห์สภาพปัจจัยที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่าสื่อมีผลสำคัญต่อการจัดการเรียนที่จะทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่เสมือนจริง ดังตาราง

            ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การพัฒนาสื่อแอนนิเมชั่น ๓ มิติ เรื่องโครงสร้างอะตอม

*p<.05

            ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อด้วยการพัฒนาสื่อแอนนิเมชั่น ๓ มิติ เรื่องโครงสร้างอะตอม พบว่าความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 

            การอภิปรายผล เป็นการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนได้เรียนรู้จากสื่อดิจิตอลที่สามารถเข้าใจและเกิดจินตนาการจากการเรียนรู้สิ่งที่มองไม่เห็นให้สามารถสื่ออกมาเป็นภาพและการเคลื่อนไหวได้

           

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : จากผลการวิจัย สามารถนำข้อเสนอแนะจากผู้ดำเนินการวิจัย จะได้นำไปใช้ประกอบการศึกษาเกี่ยวกับการวิจัยการจัดการเรียนการสอน อาทิเช่น

            ๑. เนื่องจากผลการวิจัย การจัดการเรียนรู้ด้วยการพัฒนาสื่อแอนนิเมชั่น ๓ มิติ เรื่องโครงสร้างอะตอม ทำให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจที่มากขึ้นและยังสามารถอธิบายปรากฏการณ์อะตอมในแต่ละระดับขั้นพลังงานได้อย่างถูกต้องและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น มีนัยสำคัญทางสถิติ

            ๒. ควรมีการศึกษาความรู้พื้นฐานของผู้เรียนแต่ละคน ก่อนที่จะเรียนรู้โครงสร้างอะตอมเพื่อสามารถเชื่อมโยงความรู้และบรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้

            ๓. ควรมีการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ด้วยการพัฒนาสื่อแอนนิเมชั่น ๓ มิติ เรื่องโครงสร้างอะตอม เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและเสริมสร้างการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

                                                                                                                                               

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู            บรรณากร

ก้าวล้ำงานวิจัย ก้าวไปด้วย STEM ในศตวรรษที่ ๒๑ (Research Progressive with STEM for the  Century)

แบบฟอร์มสำหรับการนำเสนอบทสรุปผลงานทางวิชาการ

 

ชื่อผลงานทางวิชาการ :                ก้าวล้ำงานวิจัย ก้าวไปด้วย STEM ในศตวรรษที่ ๒๑ (Research Progressive with STEM for the  Century)

ประเภทผลงานทางวิชาการ :          งานวิจัยทางวิชาการ

ปีที่พิมพ์ :                                      พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๐

 ข้อมูลเพิ่มเติม :                             สาขาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ :       นายจิตต์วิสุทธิ์ วิมุตติปัญญา ตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์  สาขาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจของผลงานทางวิชาการ : การวิจัยเรื่องก้าวล้ำงานวิจัย ก้าวไปด้วย STEM ในศตวรรษที่ ๒๑ มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบการสร้างเมล็ดพันธุ์ของแผ่นดินด้วยรูปแบบ STEM ในศตวรรษที่ ๒๑ พลิกมุมมองการแก้ปัญหาด้วยศาสตร์แห่งธรรมชาติโน้มสู่การสร้างแรงบันดาลใจด้วยนฤมิตรกรรมอิทัปปัจจยตามบนฐานอุดมคติการเรียนรู้แห่งนิรันทร์ วิธีการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย ๒ ตอน คือ ตอนที่ ๑ เอกสารการจัดกิจกรรมด้วย STEM ในศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการวิเคราะห์เอกสารงานวิจัยและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องและหาค่าเที่ยง (IOC) โดยใช้ผู้ทรงคุณวุฒิ ๓ ท่าน ตรวจคุณภาพของเครื่องมือ มีค่าเท่ากับ ๑.๐๐ และตอนที่ ๒ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบที่สร้างขึ้น หาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย

            ๑. แบบทดสอบค่า IOC = ๑.๐๐ ค่าความเชื่อมั่น = .๘๗ ค่าความยาก-ง่าย เท่ากับ .๕๒ ค่าอำนาจจำแนก = .๗๒

๒. แบบวัดความพึงพอใจ มีค่า IOC = ๑.๐๐ ค่าอำนาจจำแนก = .๖๘

๓. แบบประเมินนวัตกรรม (STEM Education) มีค่า IOC = ๑.๐๐

            กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ ๒ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยการเลือกตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) ใช้วิธีการเลือกกลุ่มสี่ขั้น (Four – Stage Cluster Sampling) วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสัมประสิทธิ์ของการกระจาย (C.V.)

            การศึกษาด้านศาสตร์ทางฟิสิกส์ตามทฤษฎีของบิกแบง กล่าวเมื่อหมื่นกว่าล้านปี เกิดแรงระเบิดขนาดมหึมาที่เหวี่ยงดวงดาวสาดกระจายแผ่ออกจากกันอยู่บนแรงโน้มถ่วงของกฎแห่งเอกภาพ ซึ่งมีความซับซ้อนและทับกันของคลื่นตามหลักกลศาสตร์ควอนตัม เกิดสสาร ก๊าช ฝุ่นและวิวัฒนาการจนกระทั้งเกิดมาเป็นมนุษย์ เมื่อสี่ล้านปีบนดาวเคราะห์ดวงนี้ โลกสีน้ำเงิน ๔,๖๐๐ ล้านปี ก่อเกิดการสืบทอดบรรพบุรุษชั่วยุคสมัยแผ่ขยายอาณานิคมปกคลุมทั่วโลกใบนี้ มนุษย์ใช้มันสมองที่ประสานศาสตร์แห่งธรรมชาติเข้าสู่การประยุกต์และถอดรหัสเพื่อการดำรงอยู่อย่างเข้าใจโลก ซึ่งศาสตร์แห่งการปฏิวัติความคิดของมนุษย์คือ กฎที่ตายแล้ว คือ คณิตศาสตร์ฟิสิกส์และนวัตกรรมแห่งเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างขึ้น (STEM)

 

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : STEM ศึกษาเป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่มีการบูรณาการ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมและคณิตศาสตร์ โดยที่การจัดการเรียนรู้แนวทาง STEM ศึกษาจะต้องมีการบูรณาการพฤติกรรมที่ต้องการหรือคาดหวังให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนเข้ากับการเรียนรู้เนื้อหาด้วย ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้รวมถึงการกระตุ้นให้เกิดความสนใจในการสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบ การคิดอย่างมีเหตุผลในเชิงตรรกะ รวมถึงทักษะของการเรียนรู้หรือการทำงานแบบร่วมมือ ดังนั้นจะพบว่า STEM ศึกษาไม่ใช่เรื่องใหม่ เพียงแต่เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและกระบวนการทางวิศวกรรมศาสตร์ ทั้งนี้เพื่อที่มุ่งเน้นให้สามารถนำความรู้ ทักษะและประสบการณ์จากการเรียนรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริงเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพในอนาคตและการจัดการเรียนรู้ที่ผู้สอนควรจะต้องมุ่งเน้นทักษะให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน คือ การถดถอยความรู้ที่เป็นกฎธรรมชาติเพื่อเข้าใจสาระถูกหรือผิดการสอน STEM ต้องเรียนรู้สาระวิชาที่ถูกต้องก่อนจึงจะประยุกต์แก้ปัญหาด้วยปัญหาได้ เมื่อผู้เรียนเข้าใจกฎธรรมชาติ เข้าใจการเกิดและการดับ เหตุและผล ย่อมเข้าใจปฎิจจสมุปปบาทและกฎแห่งอิทิปัจยตา เพื่อการนำพาทักษะ (๗c) ที่สำคัญเหล่านี้ไปใช้ในชีวิตจริงและเตรียมพร้อมสู่ยุคดิจิตอลภายใต้พลวัตที่แปรเปลี่ยนอย่างยวดยิ่ง

            แนวทางอุดมคติของหัวใจความเป็นครูว่า STEM ศึกษา คือ บทเรียนของชีวิตที่ต้องฝ่าฟันและเอาชนะปัญหาที่ถาโถมเข้ามาตั้งแต่เกิดจนเติบโตและเรียนรู้การลองผิดลองถูก จนเกิดเป็นองค์ความรู้ที่มีความหมายสำหรับชีวิต ซึ่งไม่ใช่แค่การผสมวิธีสองสามวิธีแต่เป็นการบูรณาการศาสตร์ทั้งแผ่นดินทั้งจิตวิญญาณเพื่อการสร้างความรู้ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และการประเมินค่า ด้วยวิวัฒนาการและการปรับเปลี่ยนทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นตลอดเวลา นั้นคือมนุษย์ต้องเอาตัวให้รอดไม่เฉพาะการสร้างโลกใบนี้ด้วยวัตถุนานา เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์และการแก้ปัญหาที่เป็นผลมาจากการสร้างดังกล่าว

            ดังนั้นจะต้องเตรียมแผนการที่จะรับมือกับมหันตภัยแห่งธรรมชาติ วิกฤติที่สร้างความทุกข์ น้ำตา ปัญหาและการทำลายล้างของภัยพิบัติของโลก ท้ายที่สุดการจะสร้างผู้เรียนให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์สู่ดวงดาวจะต้องสร้างพลังทางความคิด สร้างแรงบันดาลใจ สร้างจินตนาการ โดยใช้กฎของธรรมชาติผสานกับเทคโนโลยี การเรียนรู้จะฝึกทักษะสมองการแก้ปัญหาและถอดรหัสเพื่อความรู้อันแท้จริงสู่การดำรงชีวิตและสร้างโลกใบนี้ด้วย STEM ได้อย่างมีความสุข

 

จุดเด่นของการวิจัย : ปรากฏว่าวัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นจุดเด่น ได้แก่

๑. เพื่อสร้างเอกสารการจัดกิจกรรมด้วย STEM ในศตวรรษที่ ๒๑

๒. เพื่อส่งเสริมและสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียนด้วยพฤติกรรมสู่อิทัปปัจจัยตาบนอุดมคติการเรียนรู้แห่งนิรันทร์ (Pernnialism)

วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น ๒ ตอนดังนี้

            ตอนที่ ๑ เป็นการสร้างเอกสารการจัดกิจกรรมด้วย STEM ในศตวรรษที่ ๒๑ ดำเนินการวิเคราะห์เอกสารงานวิจัยและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศและหาความเสี่ยง (IOC) โดยใช้ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน ๑ ท่าน ตรวจคุณภาพของเครื่องมือมีค่าเท่ากับ ๑.๐๐

            ตอนที่ ๒ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น หาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบ แบบทดสอบ ค่า IOC = ๑.๐๐ ค่าความเชื่อมั่น = .๘๗ ค่าความยากง่าย = .๕๒ ค่าอำนาจจำแนก = .๗๒ แบบวัดความพึงพอใจมีค่า IOC = ๑.๐๐ ค่าอำนาจจำแนก = .๖๘ แบบประเมินนวัตกรรม (STEM Education) มีค่า IOC = ๑.๐๐ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๘ คณะครุศาสตร์ โดยเลือกตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) โดยเลือกกลุ่มสี่ขั้น (Four-Stage Cluster Sampling) ได้ ๕๕ คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสัมประสิทธิ์ของการกระจาย (C.V.) ผลของการวิจัยพบว่า

            ๑. เอกสารการจัดกิจกรรมด้วย STEM ในศตวรรษที่ ๒๑ ประกอบด้วย KM PBL RBL และ BBL มีความเที่ยง = ๑.๐๐

            ๒. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย STEM ในศตวรรษที่ ๒๑ พบว่า ความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = ๑๘.๙๔) (S.D = ๐.๖๕) ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = ๔.๘๒, S.D. = ๐.๔๖) และสัมประสิทธิ์ของการกระจาย ซึ่งแสดงถึงคุณภาพของนวัตกรรมที่นักศึกษานำเสนอ (STEM Education) อยู่ในระดับดี (C.V. = ๔.๐๐)

            สำหรับส่วนการอภิปรายผลของงานวิจัย พบว่าการจัดการเรียนรู้ด้วย STEM ในศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งประกอบด้วย RBL BLL PBLพบว่าผู้เรียนได้ใช้ทักษะความสัมพันธ์ทางศาสตร์แห่ง STEM เข้ามาใช้ในการแก้ปัญหาและแสวงหาข้อเท็จจริงจากกฎธรรมชาติที่เข้าใจโลก พลังงานเปลี่ยนรูป ความสัมพันธ์ของเหตุและผล ซึ่งเป็นกฎแห่งอิทัปปัจยตา ซึ่งสอดคล้องกับ STEM ศึกษาเป็นเครื่องมือหรือเส้นทาง (Means) ไม่ใช่เป้าหมาย (End) แต่เพื่อการบรรลุการเรียนรู้แบบรู้จริง (Mastery Leaning) สามารถปฏิบัติได้ หล่อหลอมกระบวนการทัศนเชิงระบบและพัฒนาทักษะการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ (Growth Mindset) ซึ่งเป็นความเกี่ยวกันของเหตุและผล และเมื่อมีเหตุย่อมมีผลและเมื่อเหตุดับผลก็ดับ เพราะความเกิดขึ้นสิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะความดับไป อิทัปปัจจยตา ถือเป็นหัวใจของปฏิจจสมัปบาท เป็นกฎเหนือกฎทั้งปวง

            ทักษะของคนในศตวรรษที่ ๒๑ ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ การเรียนรู้ ๗c  ได้แก่ Critcal Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา) Creativity and Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม) Cross Cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์) Collaboration Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ) Communications Information and Media Literacy (ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ) Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) และ Career and Learning Skills (ทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้)

 

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : งานวิจัยเรื่องนี้พบว่ามีส่วนประกอบอื่นๆ ที่สามารถนำมาเป็นความรู้ สำหรับการประยุกต์กับหลายๆ สาขาวิชา อาทิเช่น จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับหนทางการศึกษาได้ คือ

            เกิดจากความเชื่อของผู้วิจัยว่า การศึกษาคือการหลับตา (สูญญตา) แล้วมองโลกด้วยหัวใจ ยกความเมตตาให้อยู่เหนือยอดฟ้า สร้างโลกอวตาลให้อยู่ในจักรวาลของความคิดสร้างสรรค์ เหวี่ยงสมการให้ตกอยู่ในการปลูกผักบุ้ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นความคิดดิ่งสู่ความสุข ความรู้จะมีความหมายในชีวิตเมื่อลงมือทำ ซึ่งสอดคล้องกับความคิดของหลักพาฟลอฟ PBL CBL STEM รูปแบบที่มีเป้าหมายเดียวกัน คือ การพัฒนาความคิดของมนุษย์ตามศักยภาพสูงสุด โดยเฉพาะการเร่งการพัฒนาสมองของมนุษย์เกินกว่าปกติเป็นการพัฒนาที่ไม่สิ้นสุด เพราะความจริงคือสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง (อิทัปปัจจยตา) มีเกิดดับและเปลี่ยนรูปพลังงานอยู่ตลอดเวลาไม่เที่ยง การศึกษาทำให้เข้าใจชีวิตไม่ได้เข้าใจโลก ผู้วิจัยมุ่งมั่นที่จะสร้างรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้จิตใจอันบริสุทธิ์โน้มสู่ความรู้แห่งความจริง

 

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู            บรรณากร

การพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสานวิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

การพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสานวิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา      มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Development of Multimedia e-Learning with Blended  Learning: Courseware Design for Computer Education Bansomdejchaopraya University

 

รวยทรัพย์  เดชชัยศรี* ดร.ธนาวุฒิ  ประกอบผล** อังคาร  ปริญญาชัยศักดิ์***

 

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้บทเรียนระบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสาน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนระบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน แบบประเมินคุณภาพการเรียนและแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า

  1. บทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 93.79/94.91 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 85/85 ที่กำหนดไว้
  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสานวิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  3. ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสานวิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

คำสำคัญ : บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย, เครือข่ายอินเทอร์เน็ต, การเรียนรู้แบบผสมผสาน

 

Abstract

The purposes of this research were 1) to develop and investigate the efficiency of Multimedia e-Learning with Blended  learning:  Courseware Design for Computer Education Bansomdejchaopraya University 2) to compare between the students’ learning achievement of pre-study and that of post-study by using Multimedia e-Learning with Blended  learning and 3) to study the satisfaction of the students towards Multimedia e-Learning with Blended  learning. The sample included the forty of third year students                                      

* นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

** อาจารย์ คณะการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

*** อาจารย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

majoring in Computer Education at Bansomdejchaopraya Rajabhat University. The research instruments included pre-test and post-test, Multimedia e-Learning with Blended  learning quality assessment form, and questionnaire. Data were statistically analyzed in MEAN, standard deviation, and t-test.

The finding revealed as follows:

  1. The efficiency of Multimedia e-Learning with Blended learning: Courseware  Design for Computer Education Bansomdejchaopraya University measured 93.79/94.91, which was higher than the criteria of 85/85.
  2. After using Multimedia e-Learning with Blended learning, the learning achievement of the students was significantly higher than that before the experiment at significance level .05.
  3. The student’s satisfaction towards learning through Multimedia e-Learning with Blended learning was generally found at the highest level.

            Keywords: Multimedia e-Learning, Internet, Blended  Learning

 

บทนำ

การที่ประเทศจะพัฒนาได้นั้นส่วนสำคัญ ที่ขาดไม่ได้คือการให้การศึกษาแก่ประชาชนในชาติอย่างทั่วถึง ไม่ว่าคนเหล่านั้นจะอยู่ในเมืองหลวง ต่างจังหวัด หรือถิ่นทุรกันดาร การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอนจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก การจัดการศึกษาที่ทั่วถึงจะนำมาซึ่งความก้าวหน้า ความคิดสร้างสรรค์ การรู้จักการแก้ปัญหาต่างๆ อีกทั้งสามารถบูรณาการไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง ดังที่ นิพนธ์  ศุขปรีดี (2548, น.11) ได้กล่าวไว้ว่า ในปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในระบบการเรียนการสอนมากขึ้น ทำให้รูปแบบและวิธีการสอนเปลี่ยนแปลงไป จากอดีตที่ผู้สอนมีหน้าที่หลักคือการบรรยายให้ความรู้โดยตรงแก่ผู้เรียนและผู้เรียนมีหน้าที่ในการรับฟังและปฏิบัติตามที่ผู้สอนชี้นำ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือการเรียนแบบยึดผู้สอนเป็นศูนย์กลาง ทำให้การเรียนรู้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร แต่ในปัจจุบันรูปแบบการเรียนการสอนได้เปลี่ยนเป็นการเรียนแบบยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยเน้นให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองโดยใช้สิ่งต่างๆเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับสติปัญญา ความถนัด ความสามารถ และความสะดวกของแต่ละบุคคล

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2545 หมวด 4 มาตรา 22  (2545, น.11-12) ใจความว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และให้ถือ  ว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ ซึ่งบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถพัฒนาขึ้นให้เป็นบทเรียนที่เหมาะสมกับผู้เรียนในลักษณะเสริมการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดีและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดปัญหาที่เป็นข้อคิดแก่ผู้ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนทั้งหลายในอดีต (Bork, 1983) ก็คือคุณภาพของโปรแกรมบทเรียน สำหรับใช้ในห้องเรียนซึ่งปัจจุบันพบว่า โปรแกรมบทเรียนที่ใช้ในการเรียนการสอนโดยตรงนั้น ยังไม่มีคุณภาพสูงเท่าที่ควรจะเป็น คือ มีโปรแกรมบทเรียนจำนวนไม่น้อยในปัจจุบัน ควรปรับปรุงในเรื่องวิธีสอนหรือวิธีเขียน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ การออกแบบการสอนยังควรที่จะต้องได้รับการปรับปรุง ซึ่งในปัจจุบันนักการศึกษาหลายท่านต่างให้ทรรศนะไว้ ดังที่ สวลี มูลวณิชย์ (น.21-22) กล่าวว่า เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอร์ฟแวร์ได้พัฒนามากขึ้น ประกอบกับระบบการสื่อสารก็ได้พัฒนาไปมากเช่นกัน โปรแกรมบทเรียนหรือคอร์สแวร์ ได้พัฒนาเข้าสู่ระบบการเรียนการสอนแบบมัลติมีเดีย และเป็นระบบการเรียนการสอนอย่างแท้จริงมากขึ้น สามารถจัดระบบการเรียนการสอนได้ทั้งแบบออนไลน์หรือออฟไลน์ ดังนั้นปัญหาต่างๆที่ยังเป็นข้อข้องใจ และเป็นข้อข้องใจของนักการศึกษาในการพัฒนาและการใช้โปรแกรมบทเรียน จึงเป็นข้อคิดเพื่อให้พึงระวัง สรุปได้ ดังนี้

  1. โปรแกรมบทเรียนที่พัฒนาขึ้น ควรมีคุณลักษณะครบตามหลักการจัดการเรียนการสอน ไม่ว่าจะเป็นสื่อเสริม และสื่อหลักเพื่อการเรียนการสอน
  2. โปรแกรมบทเรียนควรได้รับการออกแบบและพัฒนาโดยนักเทคโนโลยีการศึกษาหรือครูผู้สอน ทั้งนี้เพื่อให้โปรแกรมบทเรียนที่เป็นระบบการเรียนการสอนอย่างแท้จริง
  3. การใช้คอมพิวเตอร์ในห้องเรียน ควรใช้เป็นเครื่องมือในการทำแบบฝึกหัดและฝึกปฏิบัติ ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์จะเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยด้านนี้ได้ดี แต่ครูควรได้เรียนรู้และสามารถพัฒนาบทเรียนเองได้
  • โปรแกรมบทเรียนที่มีจำหน่ายอยู่ตามท้องตลาดทั่วไปในปัจจุบัน มีไม่มากนักที่ใช้เพื่อการเรียนการสอนตามหลักสูตรโดยตรงได้ ควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาให้แพร่หลายมากขึ้น
  • นักทฤษฎีทางการศึกษาทั้งในและต่างประเทศยังไม่ได้พัฒนาข้อสรุปของปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของคอมพิวเตอร์ในห้องเรียน ครูนำคอมพิวเตอร์มาใช้ เพียงเพราะได้รับความสะดวก และคิดว่าคอมพิวเตอร์เป็นเพียงสื่อการสอนอย่างหนึ่ง ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วคอมพิวเตอร์เป็นได้ทั้งเครื่องมือช่วยจัดการศึกษาและการเรียนการสอน และโปรแกรมบทเรียนก็เป็นได้ทั้งระบบการเรียนการสอนและอื่นๆอีกหลายรูปแบบ ตามที่ผู้ใช้หรือผู้ผลิตจะพัฒนาขึ้นมาใช้ในระบบการเรียนการสอนที่ออกแบบวางแผนไว้
  1. แรงผลักดันจากภายนอก ทำให้ต้องยอมรับเทคโนโลยีต่างๆโดยไม่มีโอกาสได้คิดไตร่ตรองอย่างถ่องแท้ ดูเหมือนว่านวัตกรรมการศึกษาต่างๆ มีแนวโน้มที่จะลดทักษะของครู การฝึกอบรมระยะสั้นเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ อาจไม่เพียงพอที่จะทำให้ครูมีความเข้าใจ และสามารถตัดสินใจใช้เทคโนโลยีใหม่ๆได้อย่างมั่นใจ

ข้อคิดเกี่ยวกับโปรแกรมบทเรียน หรือ คอร์สแวร์ ดังกล่าวนี้ เป็นข้อคิดสำหรับนักออกแบบและนักพัฒนาโปรแกรมไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมบทเรียนแบบออฟไลน์หรือออนไลน์ก็ตาม รวมทั้งผู้ใช้ทั้งหลายในการที่จะพินิจพิจารณาไตร่ตรองและร่วมมือกัน เพื่อให้การพัฒนาโปรแกรมบทเรียน ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลบนพื้นฐานของหลักการและทฤษฎีการเรียนรู้และการเรียนการสอนอย่างเหมาะสมมากยิ่งขึ้นต่อไป

ผู้วิจัย พบว่า ในการเรียนการสอนนั้นเนื้อหาที่เรียนเป็นลักษณะทฤษฎีร่วมกับการปฏิบัติ โดยเมื่อถึงคาบการสอนที่เป็นทฤษฎี บ่อยครั้งที่ผู้เรียนเกิดการเบื่อหน่ายจากการบรรยายที่ลักษณะของเนื้อหาค่อนข้างเข้าใจยากและอาจทำให้เกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อรายวิชา  เพื่อเป็นการสร้างทัศนคติที่ดีในการเรียนการสอน ผู้วิจัยจึงเห็นว่าควรต้องสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความอยากเรียนรู้ จึงได้จัดทำบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อตอบสนองต่อการเรียนการสอนและยังประโยชน์ต่อนิสิตทั้งรุ่นปัจจุบันและอนาคต

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

  1. เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียน โดยใช้บทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา              คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียน ที่มีต่อบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

 

 

 

 

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

          ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 180 คน

            กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีจับสลาก 1 ห้องเรียน จำนวน 40 คน เป็นกลุ่มตัวอย่างเรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสานที่สร้างขึ้น

 

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

  1. บทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสานวิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 ซึ่งเป็นบทเรียนผ่านการนำเสนอด้วยข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และการปฏิสัมพันธ์
  2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งประกอบด้วย แบบทดสอบก่อนเรียน แบบฝึกหัดระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน โดยประเมินผลการเรียนของผู้เรียนตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ตอบถูกได้ 1 คะแนน ตอบผิดได้ 0 คะแนนซึ่งผ่านการหาคุณภาพ แล้วจึงนำไปใช้ในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
  3. แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน ในการเรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสานวิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

 

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

ตอนที่ 1   ผลการพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ตารางที่ 1  สรุปผลการประเมินคุณภาพของบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

อันดับที่ รายการประเมินของ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับ

คุณภาพ

(x̄) (S.D.)
1 ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา                  (3 คน) 4.69 0.19 ดีมาก
2 ผู้เชี่ยวชาญด้านมัลติมีเดีย              (3 คน) 4.40 0.21 ดี

จากตารางที่ 1  ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหามีความเห็นว่า คุณภาพของบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีค่าเท่ากับ 4.69 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.19 ระดับคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ ดีมาก ผู้เชี่ยวชาญด้านมัลติมีเดีย มีความเห็นว่า คุณภาพของบทเรียนด้านมัลติมีเดีย มีค่าเท่ากับ 4.40 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.21 ระดับคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ ดี

ตอนที่ 2  ผลการหาประสิทธิภาพของบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ตารางที่  2  แสดงผลการหาประสิทธิภาพของบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ระหว่างกระบวนการของแต่ละหน่วยการเรียน

บทที่ คะแนนระหว่างกระบวนการเรียน ประสิทธิภาพของบทเรียนระบบมัลติมีเดียระหว่างเรียน (Eli)
1 743 92.88
2 753 94.13
3 755 94.38
                                                                             E1 = 93.79

 

เมื่อกลุ่มตัวอย่างได้เรียนครบทุกหน่วยการเรียนแล้ว ให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบหลังเรียน เพื่อนำคะแนนที่ได้ไปเป็นข้อมูลในการหาประสิทธิภาพของบทเรียนหลังเรียน มีผลคะแนนสอบรวมและคะแนนเฉลี่ย ดังแสดงในตารางที่ 3

ตารางที่ 3  แสดงผลการหาประสิทธิภาพของบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา หลังกระบวนการเรียน

รายการ จำนวนผู้เรียน คะแนนเต็ม คะแนนรวม ประสิทธิภาพ
ประสิทธิภาพของบทเรียนระบบมัลติมีเดียหลังเรียน (E2) 40 60 2,278 94.91

จากตารางที่ 2 และ 3  ผลที่ได้จากบทที่ 1 มีประสิทธิภาพระหว่างกระบวนการเรียน เท่ากับ  92.88 บทที่ 2 มีประสิทธิภาพระหว่างกระบวนการเรียน เท่ากับ 94.13  บทที่ 3 มีประสิทธิภาพระหว่างกระบวนการเรียน เท่ากับ 94.38 และเมื่อพิจารณาค่าประสิทธิภาพระหว่างกระบวนการเรียน (E1) มีค่าเท่ากับ 93.79 และค่าค่าประสิทธิภาพหลังกระบวนการเรียน (E2) มีค่าเท่ากับ 94.91 ดังนั้น พบว่าประสิทธิภาพของบทเรียน เท่ากับ 93.79/94.91 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 85/85

ตอนที่ 3  ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ตารางที่ 4  แสดงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา หลังกระบวนการเรียน

 

ผลการสอบที่ได้จาก จำนวนผู้เรียน (n) ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t

 

(x̄) (S.D.)
แบบทดสอบก่อนเรียน (Epre)

(60 คะแนน)

40 13.53 3.55
แบบทดสอบหลังเรียน (Epost)

(60 คะแนน)

40 56.95 2.12 -76.416 *

หมายเหตุ * มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  df. 39

จากตารางที่ 4  พบว่า ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คะแนนผลการเรียนรู้ของนักเรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนระบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน สูงกว่าก่อนเรียนด้วยบทเรียนระบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ยจะเห็นว่า คะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนจากการทำแบบทดสอบหลังเรียนมีค่าเท่ากับ  56.95 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียนซึ่งมีค่าเท่ากับ  13.53 ค่า t-test  มีค่าเท่ากับ -76.416 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า บทเรียนระบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา หลังกระบวนการเรียน ทำให้ผู้เรียนมีผลการเรียนรู้สูงขึ้นซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานการศึกษาข้อที่ 2 ที่กำหนดไว้

ตอนที่ 4  ผลการวิเคราะห์หาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ตารางที่ 5 สรุปผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

รายการประเมิน ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับ

ความพึงพอใจ

(x̄) (S.D.)
1. ส่วนประกอบโดยทั่วไปของโปรแกรม 4.67 0.56 ดีมาก
2. การนำเข้าสู่บทเรียน 4.67 0.56 ดีมาก
3. การนำเสนอเนื้อหา 4.65 0.57 ดีมาก
4. การสรุปบทเรียนและแบบฝึกหัด 4.67 0.55 ดีมาก
เฉลี่ย 4.66 0.56 ดีมาก

จากตารางที่ 5  ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน พบว่า โดยภาพรวม ผู้เรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก (x̄= 4.66, S.D. = 0.56) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ผู้เรียนมีความพึงพอใจในระดับดีมากทุกข้อ โดยเรียงลำดับได้ดังนี้ แบบฝึกหัดมีความยากง่ายเหมาะสมเพียงใด     (x̄= 4.78,S.D. = 0.42) บทเรียนคอมพิวเตอร์สามารถเก็บบันทึกข้อมูลการเรียนได้ดีเพียงใด และ เทคนิคในการนำเสนอเนื้อหา ช่วยให้สามารถทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อ และน่าสนใจมากเพียงใด เท่ากัน ( x̄= 4.75 , S.D. = 0.44 ) หลังจากเรียนเสร็จแล้วทำให้มีความรู้เพิ่มขึ้นเพียงใด และการนำเข้าสู่บทเรียนมีการใช้ภาพเคลื่อนไหวเร้าความสนใจได้ดีเพียงใด มีค่าเท่ากัน (x̄= 4.73, S.D. = 0.51 ) การนำเข้าสู่บทเรียนสามารถทำให้ผู้เรียนทราบถึงหัวเรื่องของเนื้อหาที่จะเรียนได้ดีเพียงใด               (x̄= 4.73 , S.D. = 0.55) การนำเข้าสู่บทเรียนมีการใช้เสียงประกอบเร้าความสนใจได้ดีเพียงใด, บทเรียนมีความสนุกสนานเพียงใด และ การนำเข้าสู่บทเรียนมีการใช้ตัวหนังสือเร้าความสนใจได้ดีเพียงใด (x̄= 4.70,    S.D. = 0.52 และ 0.56) ปริมาณของเนื้อหามีความเหมาะสมเพียงใด และเสียงบรรยายมีความชัดเจน และสามารถกระตุ้นให้เกิดความสนใจได้มากเพียงใด (x̄= 4.68, S.D. = 0.57 และ 0.62) ระยะเวลาที่ใช้ในการเรียนมีความเหมาะสมเพียงใด, แบบฝึกหัดให้ผลย้อนกลับในทันที ทำให้สามารถวัดความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนได้มากเพียงใด (x̄= 4.65, S.D. = 0.58 และ 0.62) มีการยกตัวอย่างภาพประกอบการสอนอย่างชัดเจนเพียงใด และบทเรียนคอมพิวเตอร์สามารถใช้งานได้ง่ายเพียงใด (x̄= 4.63, S.D. = 0.59 และ 0.63) การออกแบบหน้าจอมีความเหมาะสมเพียงใด (x̄= 4.60, S.D. = 0.67) บทเรียนสามารถทบทวน และสรุปเนื้อหาที่เรียนได้มากเพียงใด (x̄= 4.58 , S.D. = 0.64) เทคนิคในการนำเสนอเนื้อหา ช่วยให้สามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้นเพียงใด          (x̄= 4.55, S.D. = 0.64) และการนำเข้าสู่บทเรียนมีการใช้ภาพเร้าความสนใจได้ดีเพียงใด (x̄= 4.53, S.D. = 0.68)       ส่วนข้อเสนอแนะ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แล้วนำเสนอแบบพรรณนาความ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ผู้เรียนส่วนใหญ่มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า บทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสานนั้นทำให้ผู้เรียนสนใจเรียน ไม่เบื่อ และสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

 

สรุปผลการวิจัย

  1. การพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ดังนี้ บทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ผ่านการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ ด้านเนื้อหา และด้านมัลติมีเดีย โดยค่าเฉลี่ยด้านเนื้อหา เท่ากับ 4.69 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.19 คุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในเกณฑ์ ดีมาก และค่าเฉลี่ยด้านมัลติมีเดีย เท่ากับ 4.40 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.21 คุณภาพด้านมัลติมีเดียอยู่ในเกณฑ์ ดี
  2. ประสิทธิภาพของบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ดังนี้ บทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยามีประสิทธิภาพ 93.79/94.91 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ คือ 85/85 หมายถึง ผลการทดลองนี้พบว่าผู้เรียนสามารถทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทที่ 1 ได้คะแนนเฉลี่ย 18.58 บทที่ 2 ได้คะแนนเฉลี่ย 18.83 บทที่ 3 ได้คะแนนเฉลี่ย 18.88 และสามารถทำแบบทดสอบหลังเรียนได้คะแนนเฉลี่ย 56.95 แสดงว่า บทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยามีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอนได้
  3. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้บทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ดังนี้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยการเรียนด้วยบทเรียน มัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ยจะเห็นว่า คะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนจากการทำแบบทดสอบหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 56.95 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียน ซึ่งมีค่าเท่ากับ 13.53 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานคะแนนสอบก่อนเรียนมีค่าเท่ากับ 3.55 มีการกระจายมากกว่า ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานคะแนนสอบหลังเรียนมีค่าเท่ากับ 2.12 ค่า t-test ตารางมีค่าเท่ากับ -76.416 แสดงให้เห็นว่า การเรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
  4. ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ดังนี้ ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.66, S.D. = 0.56) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดทุกข้อ โดยเรียงลำดับได้ดังนี้ แบบฝึกหัดมีความยากง่ายเหมาะสมเพียงใด (x̄= 4.78,S.D. = 0.42) บทเรียนคอมพิวเตอร์สามารถเก็บบันทึกข้อมูลการเรียนได้ดีเพียงใด และ เทคนิคในการนำเสนอเนื้อหา ช่วยให้สามารถทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อ และน่าสนใจมากเพียงใด เท่ากัน (x̄= 4.75 , S.D. = 0.44 ) หลังจากเรียนเสร็จแล้วทำให้มีความรู้เพิ่มขึ้นเพียงใด และการนำเข้าสู่บทเรียนมีการใช้ภาพเคลื่อนไหวเร้าความสนใจได้ดีเพียงใด มีค่าเท่ากัน (x̄= 4.73, S.D. = 0.51 ) การนำเข้าสู่บทเรียนสามารถทำให้ผู้เรียนทราบถึงหัวเรื่องของเนื้อหาที่จะเรียนได้ดีเพียงใด (x̄= 4.73, S.D. = 0.55) การนำเข้าสู่บทเรียนมีการใช้เสียงประกอบเร้าความสนใจได้ดีเพียงใด , บทเรียนมีความสนุกสนานเพียงใด และ การนำเข้าสู่บทเรียนมีการใช้ตัวหนังสือเร้าความสนใจได้ดีเพียงใด(x̄= 4.70, S.D.= 0.52 และ 0.56) ปริมาณของเนื้อหามีความเหมาะสมเพียงใด และเสียงบรรยายมีความชัดเจน และสามารถกระตุ้นให้เกิดความสนใจได้มากเพียงใด (x̄= 4.68, S.D. = 0.57 และ 0.62) ระยะเวลาที่ใช้ในการเรียนมีความเหมาะสมเพียงใด, แบบฝึกหัดให้ผลย้อนกลับในทันที ทำให้สามารถวัดความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนได้มากเพียงใด (x̄= 4.65, S.D. = 0.58 และ 0.62) มีการยกตัวอย่างภาพประกอบการสอนอย่างชัดเจนเพียงใด และบทเรียนคอมพิวเตอร์สามารถใช้งานได้ง่ายเพียงใด (x̄= 4.63, S.D. = 0.59 และ 0.63) การออกแบบหน้าจอมีความเหมาะสมเพียงใด (x̄= 4.60, S.D. = 0.67) บทเรียนสามารถทบทวน และสรุปเนื้อหาที่เรียนได้มากเพียงใด (x̄= 4.58 ,  S.D. = 0.64) เทคนิคในการนำเสนอเนื้อหา ช่วยให้สามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้นเพียงใด (x̄= 4.55, S.D. = 0.64) และการนำเข้าสู่บทเรียนมีการใช้ภาพเร้าความสนใจได้ดีเพียงใด(x̄= 4.53, S.D. = 0.68)

สรุปได้ว่าบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ที่สร้างขึ้นในการวิจัยครั้งนี้มีประสิทธิภาพที่สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้ตรงตามสมมติฐานการวิจัย

 

ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะเพื่อการนำผลการวิจัยไปใช้

  1. ความพร้อมของอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสานวิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในเรื่องของระบบอินเทอร์เน็ต กรณีที่ผู้เรียนต้องเรียนพร้อมกันเป็นจำนวนมาก
  2. ก่อนการเรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสานวิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ควรอธิบายเกี่ยวกับการใช้บทเรียนให้กับผู้เรียน เพื่อง่ายต่อการนำไปใช้ในการเรียนการสอน

ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

ผู้วิจัย ควรมีการศึกษารูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อนำมาเป็นรูปแบบการเรียนรู้ในลักษณะอื่นๆ เช่น เกมการเรียนรู้  การเรียนรู้แบบความจริงเสมือน การเรียนรู้แบบร่วมมือกัน หรือการทดลองที่มากกว่า 1 กลุ่ม โดยใช้ประโยชน์จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้มากที่สุด และจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลายมากขึ้น

 

เอกสารอ้างอิง  

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

กิดานันท์  มลิทอง.(2548). เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา.  กรุงเทพฯ:

อรุณการพิมพ์.

จาดูร  จันโทริ. (2551). การสร้างบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่ายเรื่องการตัดเย็บเสื้อเชิ้ตสตรีสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ .วิทยานิพนธ์

ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จรูญพร  ปรปักษ์ประลัย. (2551). สะดุดโลกแอนิเมชั่น. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเด็ก.

ใจทิพย์  ณ สงขลา. (2542). การสอนผ่านเครือข่ายเวิลด์ ไวด์ เว็บ. วารสารครุศาสตร์, 27(3), 18-28.

ชูชีพ  อ่อนโคกสูง. (2548). เอกสารประกอบการสอนวิชาจิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ:

วรวุฒิการพิมพ์.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2547) การบริหารสื่อและเทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์

ไทยพัฒนาพานิช จำกัด

 

ณัฐกร  สงคราม. (2553). การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์

แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญใจ  ศรีสถิตย์นรากูร. (2555). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย: คุณสมบัติการวัด

            เชิงจิตวิทยา. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม  ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาสน์.

มนต์ชัย  เทียนทอง.  (2545).  เทคโนโลยีการศึกษาทางไกล.  กรุงเทพฯ.  ศูนย์ผลิตตำราเรียน

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สวลี  มูลวณิชย์. (2555). ผลการพัฒนาบทเรียนบนเว็บ เรื่อง การออกแบบระบบเครือข่ายและเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ด้วยการเรียนแบบผสมผสานของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง.

สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุรชัย  สิกขาบัณฑิต. (2541). กิจกรรมปฏิสัมพันธ์การสอนทางไกล. กรุงเทพฯ: สํานักสื่อ และเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

สุรางค์ โค้วตระกูล (2548) จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อรอนงค์  กลางณรงค์. (2550). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานประดิษฐ์สำหรับนักเรียน ช่วงชั้นที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Driscoll, M. (1997).Defining Internet-Based and Web-BasedTraining.Performance Improvement. 36(4), April 1997: 5-9.

Egger, M. R. (2000) “Web-based Course in Higher Education : Creating Active learning Environment.” Dissert Abstracts International. (60): 4301.

Good, Carter. (1973). Dictionary of Education. 3rd ed. New York : McGraw – Hill Book Inc.

Khan, B.H, (Ed.).(1997).Web- based instruction. Englewood Cliffs, NJ: Educational TechnologiesPublications.

Likert, R. A. (1932, May). “Technique for the Measure- ment of Attitudes”,

 Arch Psychological. 25(140): 1–55.

Malone, T W (1981). Towards a theory of intrinsically motivating instruction. Congnitive

Science.

Martina Holenko. (2008) “Using Online Discussions in a Blended Learning Course.”

International Journal of Emerging Technologied in Learning.

Meyer, J. P. & Allen, N. J. (1984). Testing the “side bet theory” of organizational

commitment: Some methodological considerations. Journal of Applied Psychology,

69, 372-378.

Michael B. Horn. & Heather Staker. ( 2011 ) The Rise of K-12 Blended Learning. Unpublished Paper,

Innosight Institute.

Oliver, M. and Trigwell, K. (2005). Can ‘blended learning’ be redeemed? E-learning, 2(1), 17–26.

 

 

การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนจันทรวิทยา โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

AbstractAcknowledgmentContentChapter 1Chapter 2Chapter 3Chapter 4Chapter 5AppendixBibliography

หัวข้อบัณฑิตนิพนธ์ : การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนจันทรวิทยา โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

ชื่อ-สกุล : นางสาวนฤมล  คงกำเหนิด

หลักสูตร : ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู

อาจารย์นิเทศก์ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปราณีต  ม่วงนวล

                               ดร. ศุนิสา  ทดลา

                                อาจารย์ฑิตยา  สิทธิโสภาสกุล

ปีการศึกษา 2560

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนจันทรวิทยา ปีการศึกษา 2559 รวม 1 ห้องเรียน จำนวน 35 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ คือ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  แบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี และผลการประเมินคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าเฉลี่ย (Mean)  ค่าร้อยละ (Percentage)  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และ t-test (dependent Samples)

ผลการวิจัย พบว่า

ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (E1/E2) เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีมีค่าเท่ากับ 82/81 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 วิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จากผลการศึกษาวิจัยนี้ ทำให้เกิดสื่อที่มีคุณค่าในการพัฒนาการเรียนการสอนการเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพและสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนการงานอาชีพและเทคโนโลยีตลอดจนเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น8

คำสำคัญ : ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน/บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

กิตติกรรมประกาศ

          นิพนธ์ฉบับนี้สำเร็จลุล่วงอย่างสมบูรณ์ได้ด้วยความกรุณาอย่างสูงจาก    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปราณีต ม่วงนวล ประธานหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู และที่ปรึกษาบัณฑิตนิพนธ์ ดร.ศุนิสา ทดลา และอาจารย์ทิตยา สิทธิโสภาสกุล ที่กรุณาให้คำปรึกษามาโดยตลอดระยะเวลาในการศึกษาค้นคว้าและปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของบัณฑิตนิพนธ์ฉบับนี้ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น อีกทั้งกราบขอบพระคุณและเทิดทูนพระคุณคณาจารย์หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูทุกท่าน ที่ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ ให้เกิดสติปัญญาในการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการทำงาน การดำรงชีวิต สังคม และประเทศชาติ

ขอขอบพระคุณที่ผู้อำนวยการและผู้ช่วยฝ่ายวิชาการโรงเรียนจันทรวิทยา ที่กรุณาให้คำแนะนำและตรวจสอบข้อผิดพลาดให้ถูกต้องของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และเนื้อหาที่เหมาะสมกับกลุ่มตัวอย่างที่จะทดลอง รวมถึงให้ความอนุเคราะห์ต่างๆ ตลอดระยะเวลาในการศึกษาค้นคว้าให้เกิดความสมบูรณ์ของบัณฑิตนิพนธ์ฉบับนี้

คุณงามความดีและประโยชน์ทั้งปวงอันเกิดจากบัณฑิตนิพนธ์ฉบับนี้ ผู้วิจัยขอมอบให้แด่ บิดา มารดา คนในครอบครัวและเพื่อนๆ หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูทุกคน ที่ได้ให้     ความช่วยเหลือสนับสนุนด้านการศึกษาและเป็นที่ปรึกษาที่ดีมาโดยตลอดทุกๆ อย่าง จนสำเร็จได้ถึงทุกวันนี้

นฤมล  คงกำเหนิด

ธันวาคม 2560

สารบัญ

 

                                                                                               หน้า

บทคัดย่อ…………………………………………………………………………………………………………………..

กิตติกรรมประกาศ..……………………………………………………………………………………………………

สารบัญ……………………………………………………………………………………………………………………..
สารบัญตาราง……………………………………………………………………………………………………………

สารบัญภาพ………………………………………………………..……………………………………………………..

บทที่ 1 บทนำ………………………………………………………….…………………………………………………  1
    ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา…………………………………………………………….  1
    วัตถุประสงค์ของการวิจัย…………………………………………………………………………………  4
    สมมติฐานของการวิจัย…………………………………………………………………………………….  4
    ขอบเขตของการวิจัย…………………………..…………………………………………………………..  4
    กรอบแนวคิดในการวิจัย…………….…………………………………………………………………….  5
    นิยามศัพท์เฉพาะ……………………………………….……………………………………………………  5
    ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ……………………………………………………………………………….  6

 

บทที่เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง……………………..………………………………………….…….  7
    เอกสารที่เกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา…………….………………………………  8
    หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี………………………………….. 12
    การเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์…………………………………………………………………… 16
    คอมพิวเตอร์กับการเรียนการสอน……………………………………………………………………. 16
    ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ของผู้สอนคอมพิวเตอร์……………………………………………. 17
    การใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการเรียนการสอน………………………………………………….. 17
    ทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน………………………….. 19
    ความหมายของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน…………………………………………………… 19
    คุณลักษณะสำคัญของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน…………………………………………. 21
    ความสำคัญของบทเรียนคอมพิวเตอร์………………………………………………………………. 23
    ประโยชน์ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน……………………………………………………… 23
    การหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน…………………………………………….. 25
    การกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพ……………………………………………………………………….. 25
    ขั้นตอนการหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน…………………………………. 26
    การวัดผลการเรียนรู้………………………………………………………………………………………. 27
    บริบทสังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน……………………. 35

สารบัญ (ต่อ)

    ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 36
    กรอบแนวคิดในการวิจัย 40

 

บทที่ 3  วิธีดำเนินการวิจัย 41
    ประชากรและตัวอย่าง 41
    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 41
    การเก็บรวบรวมข้อมูล 48
    การวิเคราะห์ข้อมูล 49
    สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 50
บทที่ 4  ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 52
    ผลการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 52
    ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 54
บทที่ 5  สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 55
    สรุปผลการวิจัย 55
    อภิปรายผล 55
    ข้อเสนอแนะ 56
บรรณานุกรม 57
 
ภาคผนวก 64
        ภาคผนวก ก  รายนามผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือวิจัย

ภาคผนวก ข  แบบประเมินความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมกับ

ข้อสอบแต่ละข้อของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ภาคผนวก ค  แบบประเมินคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

ภาคผนวก ง  โครงสร้างบทเรียน  และตัวอย่างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

ภาคผนวก จ  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ภาคผนวก ฉ  ผลการพิจารณาความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมกับ

ข้อสอบแต่ละข้อของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (IOC)

ภาคผนวก ช  ค่าความยากง่าย และค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียน


สารบัญ (ต่อ)

65

 

67

73

77

84

 

89

 

91

        ภาคผนวก ซ  ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ภาคผนวก ฌ  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน

ภาคผนวก ญ  คู่มือการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

ภาคผนวก ฎ  การหาค่า Pretest – Posttest ของแบบทดสอบบทเรียนคอมพิวเตอร์

ช่วยสอน

 

93

96

99

 

108

 

ประวัติผู้วิจัย 110

 

 

สารบัญตาราง

ตารางที่                                                                                     หน้า

 

1 ผลการทดลองบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ครั้งที่ 2 53
2 ผลการทดลองบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ครั้งที่ 3 54
3

4

5

 

 

ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียน

แบบแผนการทดลอง

แบบประเมินความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมกับข้อสอบ แต่ละข้อของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

54

47

69

6

7

 

 

8

 

9

10

แบบประเมินคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

ผลการพิจารณาความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมกับข้อสอบแต่ละข้อของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ค่าความยากง่าย (P) และค่าอำนาจจำแนก (r) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนจากแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน

75

 

90

92

94

97

 

 

สารบัญภาพ

ภาพที่                                                                                       หน้า
 
1 กรอบแนวคิดในการวิจัย  5
2 ตราสังกัดสำนักบริหารงาน คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 35
3

4

5

6

7

8

กรอบแนวคิดในการวิจัย

ขั้นตอนการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

ขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

โครงสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

การหาค่า Pretest – Posttest ของแบบทดสอบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

การหาค่าแบบประเมินคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

40

44

46

78

109

109

บทที่ 1

บทนำ

 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

    การศึกษาในปัจจุบันนี้ ได้มีการนำเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในการจัดการศึกษามากมาย เพื่อปรับวิธีการศึกษาให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ทางด้านการเมืองนั้นมีอิทธิพลต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก เช่น การกำหนดนโยบายและแผนในการพัฒนาประเทศจะดำเนินการตามกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งเป็นกฎหมายที่เป็นปฐมบทแห่งกฎหมายที่ใช้ในการกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งส่งผลถึงการจัดการศึกษาของประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมจะต้องมุ่งพัฒนาคน ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด การพัฒนาคนจะต้องสร้างคนให้มีความรู้ ความสามารถ โดยการพัฒนาคุณธรรมควบคู่กันไป ดังจะเห็นได้จากแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) กล่าวถึงการส่งเสริมให้คนไทยได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ทั้งที่เป็นวิทยาการสมัยใหม่ วัฒนธรรมและภูมิปัญญา ที่มุ่งสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่งเสริมให้จัดการเรียนรู้ในหลากหลายรูปแบบ และปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยกับการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ โดยส่งเสริมเด็กและเยาวชนในการเรียนรู้และปรับตัวรองรับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสร้างโอกาสการเข้าถึงแหล่งข้อมูลและความรู้อย่างกว้างขวาง (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2540, หน้า 56)

กระทรวงศึกษาธิการได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นของการปฏิรูปการศึกษา จึงได้กำหนดทิศทางและมาตรการในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา โดยเน้นย้ำเรื่องคุณภาพ และความสอดคล้องกับความต้องการของชาติเป็นประเด็นนำในการวางยุทธศาสตร์และมาตรการการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในการศึกษาทุกระดับ ทั้งนี้เพื่อความมั่นคงผาสุกของสังคม และความสามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจเป็นเป้าหมายคู่ขนานที่มีความสำคัญทัดเทียมกัน ในการนี้ระบบหลักสูตร กลไกการบริหารจัดการการพัฒนาครู การลงทุนในเทคโนโลยี และปัจจัยพื้นฐานทางการศึกษาจะต้องประสานสัมพันธ์กันในการเสริมสร้างเด็กและเยาวชนไทยให้เติบโตเป็นคนดี มีความสุข และมีขีดความสามารถเทียบเท่ามาตรฐานสากลไม่ว่าในการศึกษาระดับใด สามารถเป็นกำลังสำรองรับการเจริญเติบโตของภาคเศรษฐกิจต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นประชาชาติรุ่นใหม่ที่มีจิตวิญญาณของความเป็นไทยมีสำนึกต่อรากเหง้าทางวัฒนธรรมและต่อบทบาทหน้าที่ของตนในฐานสมาชิกของครอบครัว ชุมชนและสังคม (สำนักงานปลัด กระทรวงศึกษาธิการ 2548, หน้า 1-2)

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือไอซีที มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในสังคมโลกปัจจุบัน เป็นกลไกลสำคัญในการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและการทำงานแล้วยังทำให้สถานศึกษาไม่สามารถหลีกเลี่ยงการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนและยังตระหนักว่าจะนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างไรจึงจะส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนและผู้เรียนให้ใช้ชีวิตได้อย่างมีประสิทธิผลในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอินเทอร์เน็ตหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือสำคัญที่เป็นสื่อกลางของไอซีทีทุกรูปแบบ โดยเฉพาะเว็บซึ่งเป็นบริการสำคัญบนอินเทอร์เน็ต การประยุกต์ไอซีทีให้เกิดประสิทธิผล จึงต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงบทบาทของอินเทอร์เน็ตที่มีต่อการเรียนการสอน ทำให้บทบาทของครูเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องจากการเป็นครูผู้สอนที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดมาเป็นผู้สร้าง ผู้อำนวยความสะดวก ผู้ให้คำแนะนำ และผู้สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ ส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง ส่งเสริมความสามารถในการใช้สารสนเทศ และปลูกฝังการทำงานและการปฏิบัติงานร่วมกันของนักเรียน (บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์ 2552, หน้า 31-57) ใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการเสนอเนื้อหาเรื่องราว เพื่อการสอนหรือทบทวน การทำแบบฝึกหัด เกมการศึกษา สถานการณ์จำลอง การสาธิต และการทดสอบวัดผล เป็นต้น ซึ่งการเรียนนั้นมีการโต้ตอบกันตลอดเวลา ระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นการสื่อสารแบบ 2 ทาง สามารถที่จะแสดงผลลัพธ์บางประการให้ผู้เรียนดูได้ ผู้เรียนจะรู้สึกว่าตื่นเต้นเร้าใจ อยากรู้ ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างสนุกสนานได้ (ยืน ภู่วรวรรณ 2531, หน้า 7) หรือกล่าวได้ว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นบทเรียนที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวนำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอน (ฉลอง ทับศรี 2535, หน้า 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นสื่อการเรียนการสอนที่ครอบคลุมเนื้อหาและกิจกรรมหรือวิธีเรียนที่จัดเตรียมไว้ล่วงหน้า มีทั้งระบบภาพ เสียง ตัวอักษรที่เป็นสื่อประสม สามารถมีปฏิสัมพันธ์หรือโต้ตอบกับผู้เรียนได้ทันที สะดวกในการแก้ไขข้อผิดพลาดของการเรียนแต่ละครั้งและแต่ละปัญหา นอกจากนี้ยังสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้เรียนด้วยคอมพิวเตอร์ โดยผ่านทางระบบเครือข่าย ผลการเรียนสามารถบันทึกเก็บไว้และเปรียบเทียบผลกับเกณฑ์มาตรฐานได้อีก บทเรียนคอมพิวเตอร์ อาจหมายถึง สื่อการสอนที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูงทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์กันด้วยระหว่างผู้เรียนกับบทเรียนที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีความสามารถในการตอบสนองต่อข้อมูลที่ผู้เรียนป้อนเข้าไปได้ทันที เป็นการช่วยเสริมแรงแก่ผู้เรียน ซึ่งบทเรียนจะมีตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว รวมทั้งเสียงประกอบ ทำให้ผู้เรียนสนุกไปกับการเรียนด้วย (ไชยยศ  เรืองสุวรรณ 2546, หน้า 4) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนยังสามารถนำเสนอกิจกรรมการเรียนการสอนในลักษณะของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับบทเรียน โดยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถโต้ตอบหรือให้ผลย้อนกลับได้ทันที จากการที่ระบบคอมพิวเตอร์มีความสามารถในการประมวลผลข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นผู้ออกแบบบทเรียนสามารถที่จะกำหนดข้อมูลสำหรับการโต้ตอบ หรือให้ผลย้อนกลับ (Feedback) ต่อผู้เรียนได้ทันที ซึ่งอาจจะเป็นในลักษณะของการชมเชย เมื่อผู้เรียนเรียนได้ถูกต้อง การให้กำลังใจเมื่อผู้เรียนตอบคำถามผิด หรืออาจจะอธิบายคำเฉลยเหล่านี้ เป็นต้น นอกจากนี้ผู้เรียนสามารถเรียนไปตามความสามารถของตนเอง สามารถที่จะทบทวนการเรียนด้วยตนเอง และสามารถตรวจสอบได้ อันเป็นผลทำให้ผู้เรียนมีความสนใจในบทเรียนไม่เบื่อหน่าย (ฉลอง  ทับศรี 2535, หน้า 1) ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์จึงมีบทบาทอย่างมากในการสร้างสรรค์สื่อการเรียนการสอนให้มีความน่าสนใจยิ่งขึ้น ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่นำมาสร้างสรรค์สื่อการสอนได้โดยการใช้ สื่อมัลติมีเดีย  ซึ่งจะช่วยให้การออกแบบบทเรียนสนองตอบแนวคิดและทฤษฏีการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น ซึ่งการนำสื่อมัลติมีเดียมาใช้นี้เราเรียกว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในการจัดการเรียนการสอนมีผลงานวิจัยที่สนับสนุนหลายเรื่องด้วยกัน อาทิ นายโรจนฤทธิ์  จันนุ่ม (2551:84) ศึกษาวิจัยเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง ฮาร์ดแวร์และเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่ามีประสิทธิภาพ 80.67/81.33 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 ทั้งนี้เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้นมีการออกแบบที่ใช้งานง่าย ใช้ภาษาการสื่อสารที่ชัดเจน มีรูปภาพประกอบ นักเรียนจึงมีความสนใจและนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง ฮาร์ดแวร์และเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้เป็นเพราะ การสอนโดยใช้ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทำให้นักเรียนมีความสนใจในบทเรียนมากขึ้น มีความตั้งใจในการ เรียนรู้ มีความสนุกสนานในการเรียน ผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย สอนได้ตลอดเวลา ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ สิทธิพร ประทุม (2552:102) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีประสิทธิภาพ 83.60/81.75 สรุปได้ว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ 80/80 ประสิทธิ์ คลังบุญครอง (2550:บทคัดย่อ) ที่ทำการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผลการวิจัยพบว่ามีประสิทธิภาพ 80.32/81.28 ซึ่งแสดงว่ามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ วันดี ภิญญมิตร์ (2552:91)การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจใน การเรียนวิชาภาษาไทย เรื่องประโยคเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่ม พบว่า E1/E2 = 80.29/82.05 ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่องประโยคเพื่อการสื่อสาร กลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

ในการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผู้วิจัยได้ใช้สื่อการเรียนรู้ประกอบการจัดกิจกรรมหลายประเภท เช่น ใบความรู้ เอกสาร คู่มือการเรียนรู้ พบว่าสื่อเดิมยังไม่ตอบสนองต่อผู้เรียน ทำให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไม่บรรลุผลตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งแนวทางในการแก้ปัญหาที่ค้นหาวิธีการแก้ปัญหาหลายวิธี ซึ่งผู้วิจัยสนใจมากที่สุดคือ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในระบบการศึกษา โดยคำนึงถึงเทคนิคและวิธีการที่เหมาะสมสอดคล้องกับผู้เรียน และสามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ดี เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีที่ประกอบไปด้วยเนื้อหา ข้อมูลและประโยชน์ของข้อมูล และการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศที่มีความถูกต้องตามหลักวิชาการและมีทั้งภาพ เสียง ตัวอักษรน่าสนใจ สามารถที่จะแสดงผลลัพธ์ให้นักเรียนดูได้ มีปฏิสัมพันธ์และให้ผลย้อนกลับต่อนักเรียนได้ทันที เป็นการช่วยเสริมแรง นักเรียนจะรู้สึกว่าตื่นเต้นเร้าใจ อยากรู้ ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน และช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น

ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี และเป็นแนวทางในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีต่อไป

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย ไว้ดังนี้

  1. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
  2. 2. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนจันทรวิทยา โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
  3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

 

สมมุติฐานของการวิจัย

  1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80
  2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหลังเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสูงกว่าก่อนเรียน

 

ขอบเขตของการวิจัย

  1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัย

ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนโรงเรียนจันทรวิทยา ที่เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559  1 ห้องเรียน จำนวน 35 คน

  1. ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย

                   ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย

2.1  ตัวแปรต้น ได้แก่ การสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

2.2  ตัวแปรตาม ได้แก่

2.2.1 ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

2.2.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

  1. เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย

เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เนื้อหาในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่ใช้ในการสอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เนื้อหาประกอบทั้งสิ้น 2 กิจกรรม คือ

กิจกรรมที่ 1 ข้อมูลและประโยชน์ของข้อมูล

กิจกรรมที่ 2 การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ

  1. 4. ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย

ดำเนินการวิจัยในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ตั้งแต่เดือนมกราคม  ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2560 จำนวน 4 ชั่วโมง

 

กรอบแนวคิดในการวิจัย

ผู้วิจัยได้ค้นคว้าและปรับปรุงแนวคิดในการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนจันทรวิทยาดังนี้

 

ตัวแปรอิสระ                          ตัวแปรตาม   

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ

และเทคโนโลยี

ประกอบด้วย

กิจกรรมที่ 1 ข้อมูลและประโยชน์ของ

ข้อมูล

กิจกรรมที่ 2 การประมวลผลข้อมูลให้เป็น

สารสนเทศ

 

1. ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

                            ภาพประกอบที่ 1  กรอบแนวคิดในการวิจัย

นิยามศัพท์เฉพาะ

ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้นิยามศัพท์เฉพาะไว้ดังนี้

  1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่นำเสนอเนื้อหาสาระในเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเนื้อหาในหน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีเนื้อหาประกอบทั้งสิ้น 2 กิจกรรม คือกิจกรรมที่ 1 ข้อมูลและประโยชน์ของข้อมูล และกิจกรรมที่ 2 การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ เป็นบทเรียนที่ประกอบไปด้วยเนื้อหาวิชา แบบฝึกหัด คำแนะนำในการใช้งาน จุดประสงค์การเรียนรู้และแบบทดสอบก่อนและหลังการเรียนรู้ของแต่ละกิจกรรมที่มีทั้งตัวอักษร สี ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงประกอบ และสามารถแสดงผลการเรียนได้ทันที
  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนที่นักเรียนทำได้จากแบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นแบบทดสอบที่มีลักษณะของข้อคำถามที่เป็นชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก โดยตอบถูกได้ 1 คะแนน ตอบผิดได้ 0 คะแนน โดยสร้างครอบคลุมเนื้อหา เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีที่ใช้สอน
  3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง เครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและได้หาคุณภาพแล้ว เพื่อใช้วัดความรู้ความสามารถของผู้เรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
  4. นักเรียน หมายถึง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนจันทรวิทยา

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผลการวิจัยครั้งนี้ ทำให้ทราบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
  2. ผลการวิจัยสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ในเนื้อหาอื่นๆ และกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ ต่อไป

บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

 

การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนจันทรวิทยา โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผู้วิจัยได้ศึกษาและรวบรวมเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และได้นำเสนอตามหัวข้อดังต่อไปนี้

  1. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
  2. หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
  3. การเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์

3.1  คอมพิวเตอร์กับการเรียนการสอน

3.2  ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ของผู้สอนคอมพิวเตอร์

3.3  การใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการเรียนการสอน

  1. ทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

4.1  ความหมายของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

4.2  คุณลักษณะสำคัญของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

4.3  ความสำคัญของบทเรียนคอมพิวเตอร์

4.4  ประโยชน์ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

  1. การหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

5.1  การกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพ

5.2  ขั้นตอนการหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

5.3  การวัดผลการเรียนรู้

  1. บริบทสังกัดสำนักบริหารงาน คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  2. 7. ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

7.1  งานวิจัยภายในประเทศ

7.2  งานวิจัยต่างประเทศ

  1. กรอบแนวคิดในการวิจัย

 

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

  1. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยกระทรวงศึกษาธิการ (2551, หน้า 6 – 15) ได้ประกาศใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยมีหลักการดังนี้

  1. หลักการ

    เพื่อให้การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นไปตามแนวนโยบายการจัดการศึกษาของประเทศ จึงกำหนดหลักการของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไว้ดังนี้

1.1  เป็นการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มุ่งเน้นความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล

1.2  เป็นการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนจะได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน โดยสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

1.3  ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยถือว่า ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด สามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ

1.4  เป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระ เวลา และการจัดการเรียนรู้

1.5  เป็นหลักสูตรที่จัดการศึกษาได้ทุกรูปแบบ ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์

  1. จุดหมาย

    หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข และมีความเป็นไทย มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ จึงกำหนดจุดหมายซึ่งถือเป็นมาตรฐานการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ดังต่อไปนี้

2.1  เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยในตนเอง ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์

2.2  มีความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน รักการอ่าน รักการเขียน และรักการค้นคว้า

2.3  มีความรู้อันเป็นสากล  รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง และความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ มีทักษะ และศักยภาพในการจัดการ การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี ปรับวิธีการคิด วิธีการทำงาน ได้เหมาะสมกับสถานการณ์

2.4  มีทักษะและกระบวนการ โดยเฉพาะทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ทักษะการคิด การสร้างปัญญา และทักษะในการดำเนินชีวิต

2.5  รักการออกกำลังกาย ดูแลตนเองให้มีสุขภาพและบุคลิกภาพที่ดี

2.6  มีประสิทธิภาพในการผลิตและการบริโภค มีค่านิยมเป็นผู้ผลิตมากกว่าผู้บริโภค

2.7  เข้าใจในประวัติศาสตร์ของชาติไทย ภูมิใจในความเป็นไทย เป็นพลเมืองดี ยึดมั่นในวิถีชีวิต และการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

2.8  มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภาษาไทย ศิลปะ  วัฒนธรรม ประเพณี กีฬา ภูมิปัญญาไทย ทรัพยากรธรรมชาติและพัฒนาสิ่งแวดล้อม

2.9  รักประเทศชาติและท้องถิ่น มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามให้สังคม

3.  โครงสร้างหลักสูตร

เพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นไปตามหลักการ จุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้ ที่กำหนดไว้ให้สถานศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องมีแนวปฏิบัติในการจัดหลักสูตรสถานศึกษา จึงได้กำหนดโครงสร้างของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้

3.1  ระดับช่วงชั้น กำหนดหลักสูตรเป็น 4 ช่วงชั้น ตามระดับพัฒนาการของผู้เรียน ดังนี้

ช่วงชั้นที่ 1       ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3

ช่วงชั้นที่ 2       ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6

ช่วงชั้นที่ 3       ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3

ช่วงชั้นที่ 4       ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6

3.2  สาระการเรียนรู้  กำหนดสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตร ซึ่งประกอบด้วย องค์ความรู้ ทักษะหรือกระบวนการการเรียนรู้ และคุณลักษณะหรือค่านิยม คุณธรรม จริยธรรมของผู้เรียนเป็น 8 กลุ่ม ดังนี้

3.2.1  ภาษาไทย

3.2.2  คณิตศาสตร์

3.2.3  วิทยาศาสตร์

3.2.4  สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

3.2.5  สุขศึกษาและพลศึกษา

3.2.6  ศิลปะ

3.2.7  การงานอาชีพและเทคโนโลยี

3.2.8  ภาษาต่างประเทศ

สาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มนี้ เป็นพื้นฐานสำคัญที่ผู้เรียนรู้ทุกคนต้องเรียนรู้ โดยอาจจัดเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก ประกอบด้วย ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เป็นสาระการเรียนรู้ที่สถานศึกษาต้องใช้เป็นหลักในการจัดการเรียนการสอน เพื่อสร้างพื้นฐานการคิดและเป็นกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาและวิกฤตของชาติ กลุ่มที่สอง ประกอบด้วย สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ เป็นสาระการเรียนรู้ที่เสริมสร้างพื้นฐานความเป็นมนุษย์ และสร้างศักยภาพในการคิดและการทำงานอย่างสร้างสรรค์

เรื่องสิ่งแวดล้อมศึกษา หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ไว้ในสาระการเรียนรู้กลุ่มต่าง ๆ โดยเฉพาะ กลุ่มวิทยาศาสตร์ กลุ่มสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มสุขศึกษาและพลศึกษา

กลุ่มภาษาต่างประเทศ กำหนดให้เรียนภาษาอังกฤษทุกช่วงชั้น ส่วนภาษาต่างประเทศอื่นๆ สามารถเลือกจัดการเรียนรู้ได้ตามความเหมาะสม

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดสาระการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มไว้เฉพาะส่วนที่จำเป็นในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนทุกคนเท่านั้น สำหรับส่วนที่ตอบสนองความสามารถ ความถนัดและความสนใจของผู้เรียนแต่ละคนนั้น สถานศึกษาสามารถกำหนดเพิ่มขึ้นได้ ให้สอดคล้องและสนองตอบศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคน

  1. การจัดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

    หลักสูตรที่กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ พัฒนาผู้เรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สำหรับผู้เรียนทุกคน ทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถปรับใช้ได้กับการจัดการศึกษาทุกรูปแบบ ทั้งในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่ง กรมวิชาการ (2545, หน้า 9-10) ได้กล่าวไว้ดังนี้

4.1  หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดโครงสร้างที่เป็นสาระการเรียนรู้ จำนวนเวลาอย่างกว้างๆ มาตรฐานการเรียนรู้ที่แสดงคุณภาพผู้เรียนเมื่อเรียนจบ 12 ปี และเมื่อจบการเรียนรู้แต่ละช่วงชั้น ของสาระการเรียนรู้แต่ละกลุ่ม สถานศึกษาต้องนำโครงสร้างดังกล่าวนี้ไปจัดทำเป็นหลักสูตรสถานศึกษา โดยคำนึงถึงสภาพปัญหา ความพร้อม เอกลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ทั้งนี้ สถานศึกษาต้องจัดทำรายวิชาในแต่ละกลุ่มให้ครบถ้วนตามมาตรฐานที่กำหนด สถานศึกษาสามารถจัดทำสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมเป็นหน่วยการเรียนรู้ รายวิชาใหม่ๆ รายวิชาที่มีความเข้มขึ้นอย่างหลากหลาย ให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนตามความถนัด ความสนใจ ความต้องการ และความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเลือกสาระการเรียนรู้จาก 8 กลุ่ม ในช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 และช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 และจัดทำมาตรฐานการเรียนรู้ของสาระการเรียนรู้ หรือรายวิชานั้นด้วย สำหรับช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3 นั้น ยังไม่ควรให้เลือกเรียนรายวิชาที่เข้มขึ้น ควรเรียนเฉพาะรายวิชาพื้นฐานก่อน

4.2  สถานศึกษาต้องจัดสาระการเรียนรู้ให้ครบทั้ง 8 กลุ่มในทุกช่วงชั้น ให้เหมาะสมกับธรรมชาติการเรียนรู้ และระดับพัฒนาการของผู้เรียน โดยในช่วงการศึกษาภาคบังคับ คือ ประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 จัดหลักสูตรเป็นรายปีและชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จัดเป็นหน่วยกิต ได้ดังนี้

4.2.1  ช่วงชั้นที่ 1 และ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 และปีที่ 4-6 การศึกษาระดับนี้เป็นช่วงแรกของการศึกษาภาคบังคับ หลักสูตรที่จัดขึ้น มุ่งเน้นให้ผู้เรียนพัฒนาคุณภาพชีวิต กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม ทักษะพื้นฐานด้านการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ การคิดวิเคราะห์ การติดต่อสื่อสาร และพื้นฐานความเป็นมนุษย์ เน้นการบูรณาการอย่างสมดุลทั้งในด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคมและวัฒนธรรม

4.2.2  ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 เป็นช่วงสุดท้ายของการศึกษาภาคบังคับ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสำรวจความสามารถ ความถนัด ความสนใจของตนเอง และพัฒนา บุคลิกภาพส่วนตน พัฒนาความสามารถ ทักษะพื้นฐานด้านการเรียนรู้ และทักษะใน การดำเนินชีวิต ให้มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงาม และความรับผิดชอบต่อสังคม สามารถเสริมสร้างสุขภาพส่วนตนและชุมชน มีความภูมิใจในความเป็นไทย ตลอดจนใช้เป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อ

4.2.3  ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการศึกษาเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะเฉพาะด้าน มุ่งปลูกฝังความรู้ ความสามารถ และทักษะในวิทยาการและเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาต่อ และการประกอบอาชีพ มุ่งมั่นพัฒนาตนและประเทศตามบทบาทของตน สามารถเป็นผู้นำ และผู้ให้บริการชุมชนในด้านต่างๆ

ลักษณะหลักสูตรในช่วงชั้นนี้จัดเป็นหน่วยกิตเพื่อให้มีความยืดหยุ่นในการจัดแผนการเรียนรู้ ที่ตอบสนองความสามารถความถนัด ความสนใจ ของผู้เรียนแต่ละคนทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ

  1. การจัดเวลาเรียน

    สถานศึกษาจัดเวลาเรียนให้ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมในแต่ละชั้นปี ทั้งการจัดเวลาเรียน ในสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่ม และรายวิชาที่สถานศึกษา จัดทำเพิ่มเติม รวมทั้งต้องจัดให้มีเวลาสำหรับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนทุกภาคเรียนตามความเหมาะสม กระทรวงศึกษาธิการ(2545, หน้า 10-11) ได้กล่าวไว้ดังนี้

5.1  ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3 ให้สถานศึกษาจัดเวลาเรียนเป็น รายปี โดยมีเวลาเรียนวันละประมาณ 4-6 ชั่วโมง ช่วงชั้นนี้เป็นช่วงชั้นแรกของการศึกษาขั้นพื้นฐาน เด็กจำเป็นต้องพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้สามารถเรียนสาระการเรียนรู้กลุ่มอื่นๆได้รวดเร็วขึ้น ทักษะเหล่านี้ ได้แก่ ภาษาไทยด้านการอ่านและการเขียน และทักษะคณิตศาสตร์ ดังนั้น การฝึกทักษะด้านการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ จึงควรใช้เวลาประมาณร้อยละ 50 ของเวลาเรียนทั้งหมดในแต่ละสัปดาห์ ส่วนเวลาที่เหลือก็ใช้สอนให้ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ซึ่งรวมทั้งกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้วย

5.2  ช่วง ชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 การจัดเวลาเรียนในกลุ่มภาษาไทย และคณิตศาสตร์อาจใช้เวลาลดลง เหลือประมาณร้อยละ 40 ของเวลาเรียนในแต่ละสัปดาห์ โดยให้เวลากับกลุ่มวิทยาศาสตร์มากขึ้น สำหรับการเรียนภาษาไทยและคณิตศาสตร์ แม้เวลาเรียนจะลดลง ยังคงต้องฝึกฝน ทบทวนอยู่เป็นประจำ เพื่อพัฒนาทักษะขั้นพื้นฐานในระดับที่สูงขึ้น ดังนั้นสถานศึกษาจะมีเวลาอย่างเพียงพอให้เด็กมีโอกาสเล่น ทำกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและปฏิบัติงานต่างๆ โดยต้องจัดเวลาเรียนในแต่ละกลุ่มสาระและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนประมาณร้อยละ 20 ส่วนเวลาที่เหลือ สถานศึกษาสามารถจัดกิจกรรมอื่นๆ ได้ตามความเหมาะสม

5.3  ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 ให้จัดเวลาเรียนเป็นรายปี มีเวลาเรียนประมาณวันละ 5-6 ชั่วโมง การกำหนดเวลาเรียน สำหรับ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ทั้ง 8 กลุ่ม ควรให้สัดส่วนใกล้เคียงกัน แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มภาษาไทย คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ยังคงมีความสำคัญ ควรจัดเวลาเรียนให้มากกว่ากลุ่มอื่น ๆ สำหรับผู้เรียน ที่มีความประสงค์จะศึกษาต่อ และจัดรายวิชาอาชีพหรือโครงงานอาชีพสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถที่จะออกไปสู่โลกอาชีพ

5.4  ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 ให้จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค โดยให้คิดน้ำหนักของรายวิชาที่เรียนเป็นหน่วยกิต ใช้เกณฑ์ 40 ชั่วโมงต่อภาคเรียน มีค่าน้ำหนักวิชา 1 หน่วยกิต และมีเวลาเรียนประมาณวันละไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง การจัดเวลาและสาระการเรียนรู้ในช่วงชั้นนี้เป็นการเริ่มเข้าสู่การเรียน เฉพาะสาขา จึงให้มีการเลือกเรียนในบางรายวิชาของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ และจัดทำ“รายวิชาเพิ่มเติมใหม่” บางรายวิชาที่น่าสนใจ หรือที่มีความยากในระดับสูงขึ้นไป เช่น แคลคูลัส ในคณิตศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ขั้นสูง สำหรับผู้ที่เรียนกลุ่มสาระนี้ได้ดีเป็นพิเศษ นอกจากนี้สถานศึกษาสามารถปรับรูปแบบการจัดหลักสูตรให้เหมาะสมยิ่งขึ้นได้ใน บางกลุ่มสาระ เช่น ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ซึ่งยังจำเป็นต้องเรียนอยู่อาจจัดเป็นรายวิชาสั้นๆ หรือรายวิชาเดี่ยว หรือรวมกันในลักษณะบูรณาการ เมื่อสถานศึกษาจัดการเรียนรู้ได้ตามมาตรฐานการเรียนช่วงชั้นที่ระบุไว้แล้ว ก็อาจพัฒนาเป็นวิชาเลือกเฉพาะทางในระดับสูงขึ้นไปได้

จากเอกสารที่กล่าวมาสามารถสรุปได้ว่า หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีพุทธศักราช 2551 มีจุดหมายเพื่อมุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข และมีความเป็นไทย มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ มีศักยภาพพร้อมที่จะแข่งขันและร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ในเวทีโลก และเป็นกลไกสำคัญในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ โดยจัดแบ่งสาระการเรียนออกเป็น 8 กลุ่มสาระ และกำหนดช่วงชั้นของนักเรียนออกเป็น 4 ช่วงชั้น ตามระดับพัฒนาการของผู้เรียน

 

  1. หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

การพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาให้เป็นคนที่สมบูรณ์และสมดุลทั้งด้านจิตใจร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม โดยมุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ ทั้งด้านวิชาการ วิชางาน และวิชาชีวิต เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข พึ่งตนเองได้ อยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ พัฒนาสังคม และสิ่งแวดล้อม

สาระการเรียนรู้กลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี เป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในการทำงาน ทำงานเป็น รักการทำงาน ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีความสามารถในการจัดการ การวางแผนออกแบบการทำงาน สามารถนำเอาความรู้เทคโนโลยีและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ และประยุกต์ใช้ในการทำงาน สร้างพัฒนางาน ผลิตภัณฑ์ ตลอดจนวิธีการใหม่ เพื่อพัฒนาคุณภาพของงานและการทำงาน มีรายละเอียดที่สำคัญดังนี้

  1. ความสำคัญ ธรรมชาติและลักษณะเฉพาะ

               กลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี เป็นสาระการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานอาชีพ และเทคโนโลยี มีทักษะการทำงาน ทักษะการจัดการ สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ในการทำงานอย่างถูกต้องเหมาะสม คุ้มค่า และมีคุณธรรม สร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือวิธีการใหม่ สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ มีนิสัยรักการทำงาน เห็นคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่องาน ตลอดจนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่เป็นพื้นฐาน ได้แก่ ความขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด และอดทน อันจะนำไปสู่การให้ผู้เรียนสามารถช่วยเหลือตนเองและพึ่งตนเองได้ตามพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ร่วมมือและแข่งขันในระดับสากลในบริบทของสังคมไทย

  1. วิสัยทัศน์การเรียนรู้

วิสัยทัศน์ของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เป็นสาระที่เน้นกระบวนการทำงานและการจัดการอย่างเป็นระบบ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะการออกแบบงาน และการทำงานอย่างมีกลยุทธ์ โดยใช้กระบวนการเทคโนโลยีและเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนนำเทคโนโลยีมาใช้และประยุกต์ใช้ในการทำงาน รวมทั้งการสร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือวิธีการใหม่ เน้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและพลังงานอย่างประหยัดและคุ้มค่า เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ดังกล่าว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีจึงกำหนดวิสัยทัศน์ การเรียนรู้ที่ยึดงานและการแก้ปัญหาเป็นสำคัญบนพื้นฐานของการใช้หลักการและทฤษฎีเป็นหลัก ในการทำงานและการแก้ปัญหา งานที่นำมาฝึกฝนเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ของกลุ่มนั้น เป็นงานเพื่อการดำรงชีวิตในครอบครัวและสังคม และงานเพื่อการประกอบอาชีพ ซึ่งงานทั้งสองประเภทนี้ เมื่อผู้เรียนได้รับการฝึกฝนตามกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยีแล้ว ผู้เรียนจะได้รับการปลูกฝังและพัฒนาให้มีคุณภาพและคุณธรรมการเรียนรู้จากการทำงานและการแก้ปัญหาของกลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี จึงเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการบูรณาการ ความรู้ ทักษะ และความดีที่หลอมรวมกันจนก่อเกิดเป็นคุณลักษณะของผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนด

  1. คุณภาพของผู้เรียน

               กลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี มุ่งพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวมเพื่อให้เป็นคนดี มีความรู้ความสามารถ โดยมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ดังนี้

3.1  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำรงชีวิตและครอบครัว การอาชีพเทคโนโลยี เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีเพื่อการทำงานและอาชีพ

3.2  มีทักษะการทำงาน การประกอบอาชีพ การจัดการ การแสดงหาความรู้ เลือกใช้เทคโนโลยีและเทคโนโลยีสารสนเทศในการทำงาน สามารถทำงานอย่างมีกลยุทธ์ สร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือวิธีการใหม่ๆ

3.3  มีความรับผิดชอบ ขยัน ซื่อสัตย์ อดทน รักการทำงาน ประหยัด อดออม ตรงต่อเวลา เอื้อเฟื้อเสียสละ และมีวินัยในการทำงาน เห็นคุณค่าความสำคัญของงานและอาชีพสุจริต ตระหนักถึงความสำคัญของสารสนเทศ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและพลังงาน

เมื่อจบแต่ละช่วงชั้น ผู้เรียนต้องมีความสามารถดังต่อไปนี้

ช่วงชั้นที่ 1  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3

  1. นักเรียนทุกคนสามารช่วยเหลือตนเองเกี่ยวกับงานในกิจวัตรประจำวัน และช่วยเหลืองานในครอบครัว
  2. นักเรียนทุกคนสามารถใช้เทคโนโลยีและเทคโนโลยีสารสนเทศขั้นพื้นฐานได้
  3. นักเรียนทุกคนสามารถคิด และสร้างสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันอย่างง่ายๆ
  4. นักเรียนทุกคนสามารถทำงานตามที่ได้รับมอบหมายด้วยความรับผิดชอบ ขยัน ซื่อสัตย์ และประหยัดอดออม
  5. นักเรียนทุกคนสามารถใช้พลังงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างประหยัด

ช่วงชั้นที่ 2   ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6

  1. นักเรียนทุกคนสามารถช่วยเหลือตนเอง ครอบครัว และชุมชน ทำงานอย่างมีขั้นตอน
  2. นักเรียนทุกคนมีทักษะการจัดการ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำงาน เลือกใช้เทคโนโลยีและเทคโนโลยีสารสนเทศได้เหมาะสมกับงาน
  3. นักเรียนทุกคนสามารถคิดออกแบบ สร้าง ดัดแปลงสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันง่ายๆ
  4. นักเรียนทุกคนทำงานด้วยความรับผิดชอบ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด อดออม และอดทน
  5. นักเรียนทุกคนใช้พลังงานทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างคุ้มค่า และถูกวิธี

ช่วงชั้นที่  3  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3

  1. นักเรียนทุกคนมีทักษะการทำงานอาชีพสุจริต มีทักษะการจัดการ ทำงานอย่างเป็นระบบ และมีกลยุทธ์ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
  2. นักเรียนทุกคนเห็นคุณค่าของงานอาชีพสุจริต เห็นแนวทางในการประกอบอาชีพ
  3. นักเรียนทุกคนสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีและเทคโนโลยีสารสนเทศได้เหมาะสมกับงานอย่างถูกต้อง และมีคุณธรรม
  4. นักเรียนทุกคนสามารถคิด ออกแบบ สร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือวิธีการใหม่ในการทำงาน
  5. นักเรียนทุกคนสามารถทำงานด้วยความรับผิดชอบ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัดอดออม มุ่งมั่น และอดทน
  6. นักเรียนทุกคนสามารถใช้พลังงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างคุ้มค่าและถูกวิธี

ช่วงชั้นที่  4  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ซึ่งหมายถึงการเรียนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน

  1. นักเรียนทุกคนมีทักษะการทำงานอาชีพสุจริต มีทักษะการจัดการ ทำงานอย่างเป็นระบบและมีกลยุทธ์
  2. นักเรียนทุกคนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ เห็นคุณค่าของงานอาชีพสุจริต เห็นแนวทางในการประกอบอาชีพ
  3. นักเรียนทุกคนสามารถเลือกและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและเทคโนโลยีสารสนเทศได้เหมาะสมถูกต้อง และมีคุณภาพ
  4. นักเรียนทุกคนสามารถคิด ออกแบบ สร้าง และพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือวิธีการใหม่ๆในการทำงาน
  5. นักเรียนทุกคนสามารถทำงานด้วยความรับผิดชอบตรงต่อเวลา ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด อดออม มุ่งมั่น อดทน เอื้อเฟื้อ และเสียสละ
  6. นักเรียนทุกคนสามารถใช้พลังงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างคุ้มค่าและถูกวิธี
  7. สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

สาระที่เป็นแก่นความรู้ของกลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี ประกอบด้วย

สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว

สาระที่ 2 การอาชีพ

สาระที่ 3 การออกแบบและเทคโนโลยี

สาระที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ

สาระที่ 5 เทคโนโลยีเพื่อการทำงานและอาชีพ

สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว เป็นสาระที่เกี่ยวกับการทำงานในชีวิตประจำวันทั้งในระดับครอบครัว ชุมชน และสังคม ที่ว่าด้วยงานบ้าน งานเกษตร งานประดิษฐ์ และงานธุรกิจ

งานบ้าน เป็นงานที่เกี่ยวกับการทำงานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในครอบครัว ซึ่งประกอบด้วยบ้าน ชีวิต ความเป็นอยู่ในบ้าน ผู้และเครื่องแต่งกาย อาหารและโภชนาการ โดยเน้นการปลูกฝังลักษณะนิสัยการทำงาน ทักษะกระบวนการทำงาน การแก้ปัญหาในการทำงาน มีความรับผิดชอบ สะอาด มีระเบียบ ประหยัด อดออม อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพลังงาน

งานเกษตร เป็นงานที่เกี่ยวกับการทำงานในชีวิตประจำวัน ซึ่งประกอบด้วยการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ตามกระบวนการผลิตและการจัดการผลิต มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิต ปลูกฝังความรับผิดชอบ ขยัน อดทน การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

งานช่าง เป็นงานที่เกี่ยวกับงานตามกระบวนการของงานช่าง  ซึ่งประกอบด้วยการบำรุงรักษา การติดตั้ง/ประกอบ การซ่อม การผลิตเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน

งานประดิษฐ์ เป็นที่งานที่เกี่ยวกับการทำงานด้วยการประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ที่เน้นความคิดสร้างสรรค์ โดยเน้นความประณีต สวยงาม ตามกระบวนการทำงานประดิษฐ์เทคโนโลยี และเน้นการอนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นและสากล

งานธุรกิจ เป็นงานที่เกี่ยวกับการจัดการด้านเศรษฐกิจครอบครัว การเป็นผู้บริโภคที่ฉลาด

สาระที่ 2 การอาชีพ เป็นสาระที่เกี่ยวข้องกับหลักการ คุณค่า ประโยชน์ของการประกอบอาชีพสุจริต ตลอดจนการเห็นแนวทางในการประกอบอาชีพ

สาระที่ 3 การออกแบบและเทคโนโลยี เป็นสาระที่เกี่ยวกับการพัฒนาความสามารถของมนุษย์ ในการแก้ปัญหา และสนองความต้องการของมนุษย์อย่างสร้างสรรค์ โดยนำความรู้มาใช้กับกระบวนการเทคโนโลยี สร้างและใช้สิ่งของเครื่องใช้ วิธีการ และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำรงชีวิต

สาระที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นสาระที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ การติดต่อสื่อสาร การค้าหาความรู้ การสืบค้น การใช้ข้อมูลและสารสนเทศ การแก้ปัญหาหรือสร้างงาน คุณค่าและผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

สาระที่ 5 เทคโนโลยีเพื่อการทำงานและอาชีพ เป็นสาระที่เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้การมรทำงานเกี่ยวกับการดำรงชีวิตและครอบครัวและการอาชีพ

  1. 5. มาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี

               มาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนจันทรวิทยา(2553, หน้า 10)

สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว

มาตรฐาน 1.1 เข้าใจ มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะ มีคุณธรรม มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในการทำงานเพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว ที่เกี่ยวกับงานบ้าน งานช่าง งานประดิษฐ์ และงานธุรกิจ

มาตรฐาน 1.2 มีทักษะ กระบวนการทำงาน และการจัดการ การทำงานเป็นกลุ่ม การแสวหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาในการทำงาน รักการทำงานและมีเจตคติที่ดีต่องาน

สาระที่ 2 อาชีพ

มาตรฐาน 2.1 เข้าใจทักษะ มีประสบการณ์ในการงานอาชีพสุจริต มีคุณธรรม มีเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ และเห็นทางในการประกอบอาชีพสุจริต

สาระที่ 3 การออกแบบและเทคโนโลยี

มาตรฐาน 3.1 เข้าใจธรรมชาติและกระบวนการเทคโนโลยี ใช้ความรู้ ภูมิปัญญา จินตนาการและความคิดอย่างมีระบบในการออกแบบสร้างสรรค์ของเครื่องใช้วิธีการเชิงกลยุทธ์ ตามกระบวนการเทคโนโลยี สามารถตัดสินใจ เลือกใช้เทคโนโลยีในทางสร้างสรรค์ต่อชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อม โลกของงานและอาชีพ

สาระที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ

มาตรฐาน 4.1 เข้าใจ เห็นคุณค่าและใช้กระบวนการเทคโนโลยีสานสนเทศในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้ การสื่อสาร การแก้ปัญหา การทำงานและอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีคุณธรรม

สาระที่ 5 เทคโนโลยีเพื่อการทำงานและอาชีพ

มาตรฐาน 5.1 ใช้เทคโนโลยีในการทำงาน การผลิต การออกแบบ การแก้ปัญหา การสร้างงาน การสร้างอาชีพอย่างมีความเข้าใจ มีการวางแผนเชิงกลยุทธ์ และมีความคิดสร้างสรรค์

               จากเอกสารหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สรุปได้ว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เป็นสาระที่เน้นการทำงาน กระบวนการทำงานและการจัดการอย่างเป็นระบบ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะการออกแบบงานและการทำงานอย่างมีกลยุทธ์ โดยใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนนำเทคโนโลยีมาใช้และประยุกต์ใช้ในการทำงาน รวมทั้งการสร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือวิธีการใหม่ เน้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและพลังงานอย่างประหยัด และคุ้มค่า โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดำรงชีวิตและครอบครัว การอาชีพ เทคโนโลยี เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีเพื่อการทำงานและอาชีพ มีทักษะการทำงาน การประกอบอาชีพ การจัดการ แสวงหาความรู้ เลือกใช้เทคโนโลยีและเทคโนโลยีสารสนเทศในการทำงาน สามารถทำงานอย่างมีกลยุทธ์ สร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือวิธีการใหม่ๆ มีความรับผิดชอบ ขยัน ซื่อสัตย์ อดทน รักการทำงาน ประหยัด อดออม ตรงต่อเวลา เอื้อเฟื้อ เสียสละ และมีวินัยในการทำงาน เห็นคุณค่าความสำคัญของงานและอาชีพสุจริต ตระหนักถึงความสำคัญของสารสนเทศ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และพลังงาน

 

  1. การเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์
  2. คอมพิวเตอร์กับการเรียนการสอน

               ฐาปนีย์  ธรรมเมธา (2553, หน้า 1) กล่าวถึง ความหมายของการเรียน – การสอนไว้ ดังนี้

การสอน (Instruction) หมายถึง การจัดประสบการณ์ หรือสถานการณ์ต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือการปฏิบัติตามจุดมุ่งหมาย

การเรียน หมายถึง กิจกรรมหรือกระบวนการที่เกิดขึ้นร่วมกันระหว่างผู้เรียนและผู้สอน โดยผู้สอนมีหน้าที่จัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายนั่นเอง

ฐาปนีย์  ธรรมเมธา (2553, หน้า 1) กล่าวถึง กิจกรรมการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ ว่าเป็นกระบวนการที่ทั้งผู้สอนจัดประสบการณ์ ด้วยเรื่องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เพื่อให้ผู้เรียนเปลี่ยนพฤติกรรมไป ตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ สำหรับประเทศไทยมีกรสอนคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล โดยลักษณะการสอนโดยส่วนใหญ่เป็นการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) แต่สำหรับหลักสูตรคอมพิวเตอร์ที่จัดการสอนนั้นจะเริ่มตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาต่อไป ซึ่งการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่แล้วมักมีเนื้อหา 3 แนวทาง คือ

1)  การสอนความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

2)  การสอนเขียนโปรแกรมโดยใช้ภาษาคอมพิวเตอร์

3)  การสอนทักษะการใช้โปรแกรมประยุกต์

  1. ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ของผู้สอนคอมพิวเตอร์

               ไพรอท, ไทเลอร์ และโพเวล (Poirot, Taylor and Powell. 1992 , P. 97 ; อ้างถึงในครรชิต  มาลัยวงศ์. 2530, หน้า 51) กล่าวถึง ลักษณะของผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ควรมีลักษณะ 7 ประการ ดังนี้

1)  ความสามารถในการเขียน อ่าน และการใช้งานโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ง่ายๆ ได้

2)  ความสามารถในการใช้โปรแกรมประยุกต์ด้านการศึกษา

3)  ความสามารถในการพูดถึงคำศัพท์ต่างๆ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะทางด้านฮาร์ดแวร์ได้อย่างถูกต้องคล่องแคล่ว แต่ไม่ถึงกับต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญจริงๆ

4)  ความสามารถในการรับรู้ตัวอย่างปัญหาการศึกษาต่างๆ ว่าปัญหาใดใช้คอมพิวเตอร์แก้ได้ และปัญหาใดแก้ไม่ได้

5)  ความสามารถในการหาและใช้แหล่งข้อมูลที่ทันสมัยต่างๆ เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา

6)  ความสามารถในการพูดอภิปรายในระดับคนธรรมดาที่เฉลียวฉลาดเกี่ยวกับประวัติคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป ส่วนเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ในการศึกษาต้องสามารถอภิปรายได้มากพิเศษ

  1. การใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการเรียนการสอน

               วิชาคอมพิวเตอร์ เป็นวิชาที่มีความหลากหลายทางด้านเนื้อหาประกอบด้วยสาขาวิชาต่างๆ จำนวนมาก ข้อมูลจึงต้องทันสมัยอยู่เสมอ การใช้คอมพิวเตอร์ในวิชานี้จึงมิได้มุ่งใช้เพื่อสอนอย่างเดียว แต่การสืบค้นข้อมูลที่ถูกต้องรวดเร็ว และมีความน่าเชื่อถือ จึงมีความจำเป็น และเป็นหัวใจที่สำคัญในการศึกษาในวิชานี้เช่นกัน เพื่อที่ผู้เรียนจะได้รับข้อมูลที่ทันสมัย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ยุคข่าวสาร คอมพิวเตอร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับครูและนักเรียนในการค้นคว้าหาข้อมลที่ทันสมัย

ชูเกียรติ  โพธิ์มั่น (2551, หน้า 81-86) กล่าวถึง การใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการเรียนการสอนไว้ 3 ประการ คือ

1)  ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์ในฐานะที่เป็นสื่อการสอน เมื่อเปรียบเทียบคอมพิวเตอร์กับสื่อการสอนอื่นๆ จะพบว่าคอมพิวเตอร์มีลักษณะเด่นกว่าสื่ออื่นๆ หลายด้าน ดังนี้

(1)  คอมพิวเตอร์เป็นสื่อที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน คือ  การเสนอข้อมูลของคอมพิวเตอร์จะใช้หลักการของสื่อกราฟิก สื่อสัญลักษณ์ สื่อโสตทัศน์ ในลักษณะของแผนที่ แผนภูมิ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และผ่านขั้นตอนกระบวนการเป็นลำดับ จึงทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเรียนยิ่งขึ้น

(2)  คอมพิวเตอร์สามารถจัดโปรแกรมการสอนให้เหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียน โดยคอมพิวเตอร์จะทำการวิเคราะห์ผู้เรียนทั้งด้านความรู้และทักษะ แล้วจัดโปรแกรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคน จึงทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสามารถของตนเอง

(3)  คอมพิวเตอร์บรรจุข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนจำนวนมากและสามารถนำมาเสนอตามความต้องการของผู้เรียนได้อย่างรวดเร็ว ข้อมูลในคอมพิวเตอร์เหล่านี้เป็นข้อมูลที่บุคคลอื่นเคยไปค้นคว้าจากห้องสมุด หน่วยงาน และแหล่งข้อมูลต่างๆ จึงทำให้เป็นการประหยัดเวลาของผู้เรียน

2)  การใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอน

การใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอนอาจจำแนกเป็น 4 แนวทางใหญ่ๆ คือ

(1)  การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยจัดการเรียนการสอน (Computer – managed instruction) ใช้วิเคราะห์ระดับความรู้และทักษะของผู้เรียน ในชั้นเรียนที่ผู้เรียนมีความแตกต่างกันมาก เช่น ชั้นเรียนของการศึกษานอกโรงเรียน คอมพิวเตอร์จะช่วยวิเคราะห์ได้อย่างชัดเจน

(2)  การใช้คอมพิวเตอร์ในการสะสมข้อมูล (Computer – assisted instruction) เป็นการนำข้อมูลการนำเสนอผู้เรียนในรูปแบบของผลการเรียน ปัจจุบันในสหรัฐอเมริกามีการผลิตโปรแกรมในด้านนี้ออกจำหน่ายจำนวนหลายร้อยโปรแกรม บทเรียนเหล่านี้จะถูกออกแบบมีการนำเสนอที่ง่ายและน่าสนใจสะดวกต่อการศึกษา โดยอาจเป็นบทเรียนหรือเสนอเป็นสถานการณ์จำลอง

(3)  การใช้คอมพิวเตอร์ในการศึกษาด้วยตนเอง (Computer – based instruction) โดยมีการจัดทำแบบทดสอนก่อนเรียน – หลังเรียน ผู้เรียนสามารถศึกษาเนื้อหาสาระอย่างช้าๆ หรือย้อนไปมาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตามความต้องการตามความสามารถของตน

(4)  การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นแหล่งข้อมูล (Computer as a support resource) เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียกข้อมูลมาใช้งานได้โดยเพียงแต่ใช้โทรศัพท์ติดต่อเท่านั้น

3)  วิธีการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์

ในการจัดการเรียนการสอนในวิชาคอมพิวเตอร์ ผู้สอนสามารถใช้คอมพิวเตอร์เพื่อดำเนินการเรียนการสอนได้ 4 วิธี คือ

(1)  การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการสำรวจ เช่น ผู้สอนกำหนดให้ผู้เรียนหาความหมายของศัพท์เฉพาะทาง จากการใช้ข้อมูลในคอมพิวเตอร์

(2)  การใช้คอมพิวเตอร์เพื่ออธิบาย เช่น ผู้สอนกำหนดให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาสาระของเรื่องที่กำหนดจากข้อมูลในคอมพิวเตอร์จนผู้เรียนเกิดความเข้าใจ

(3)  การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการตรวจสอบ เช่น ผู้สอนกำหนดปัญหาแล้วให้ผู้เรียนหาคำตอบจากข้อมูลในคอมพิวเตอร์ หรือให้นักเรียนค้นหาข้อมูลที่สนับสนุน หรือคัดค้านประเด็นในการอภิปราย

(4)  การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการแก้ปัญหา เช่น ผู้สอนมอบหมายงานให้ผู้เรียนแสวงหาทางเลือกสำหรับการแก้ปัญหาที่กำหนดให้ ผู้เรียนจะต้องศึกษาผลกระทบจากทางเลือกที่ตนกำหนดขึ้นแต่ละทางแล้วจึงตัดสินใจเลือกทางเลือกในการแก้ปัญหา นักการศึกษาบางคนจึงเรียกวิธีการนี้ว่า การแก้ปัญหา (Problem analysis)

จากที่กล่าวมาข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า คอมพิวเตอร์มีบทบาทเป็นอย่างมากในการจัดการเรียนการสอนของวิชาคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน กล่าวคือ เนื้อหาสาระของกลุ่มสาระการเรียนรู้นี้เป็นเนื้อหาทางด้านทฤษฎี และมีความใหม่ของเนื้อหาอยู่เสมอ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เรียนจะต้องรู้จักแสวงหาความรู้ใหม่ๆ เพื่อให้ทันตามยุคสังคมโลกในปัจจุบัน

 

  1. ทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
  2. ความหมายของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

               นักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไว้ดังนี้ คือ

ทักษิณา  สวนานนท์ (2530, หน้า 206-207) กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอน การทบทวน การทำแบบฝึกหัดหรือการวัดผลนักศึกษา แต่ละคนจะนั่งอยู่หน้าไมโครคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง หรือเทอร์มินัลที่ต่อกับเครื่องเมนเฟรมเรียกโปรแกรมสำเร็จรูปที่จัดเตรียมไว้เป็นพิเศษสำหรับการสอนวิชานั้นๆ ขึ้นมาบนจอภาพ โดยปกติจอภาพจะแสดงเรื่องราวเป็นคำอธิบายเป็นบทเรียน หรือเป็นการแสดงรูปภาพ ซึ่งนักศึกษาจะต้องอ่านดู แต่ละคนจะใช้เวลาทำความเข้าใจไม่เท่ากัน รอจนคิดว่าพร้อมแล้วก็จะสั่งคอมพิวเตอร์ว่าต้องการทำต่อคอมพิวเตอร์อาจจะให้ทำต่อ หรืออาจทดสอบความรู้ด้วยการป้อนคำถาม ซึ่งอาจเป็นทั้งแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบเลย ส่วนมากจะเป็นแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบประเภทให้เลือกหรือปรนัยเมื่อทำแล้ว คอมพิวเตอร์จะตรวจให้เลย ชมเชย และให้กำลังใจด้วยถ้าทำถูก ตำหนิ หรือต่อว่าบ้างที่ทำผิด หรืออาจสั่งให้กลับไปอ่านใหม่ เป็นต้น หลังจากนั้นจะแจ้ง ผลให้ทราบว่าทำถูก กี่ข้อทำผิดกี่ข้อ จำเป็นหรือไม่จำเป็นที่จะต้องกลับไปศึกษาบทเรียนนั้นใหม่

ยืน ภู่วรวรรณ (2531, หน้า 121) ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนว่า หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้นำเนื้อหาวิชา และลำดับวิธีการสอนมาบันทึก และเก็บไว้ คอมพิวเตอร์จะช่วยนำบทเรียนที่เตรียมไว้อย่างเป็นระบบมาเสนอในรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับนักเรียนแต่ละคน ปัจจุบันมีการใช้คำย่อของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในภาษาอังกฤษ หลายคำ เช่น

CAE   :   Computer Administed Education

CAI    :   Computer Aided Instruction

CAI    :   Computer Assisted Instruction

CAT   :   Computer Assisted Teaching

CAE   :   Computer Assisted Education

CAL   :   Computer Assisted Learning

CBI    :   Computer Based Instruction

IAC    :   Instruction Application of Computer

แต่มีคำที่นิยมใช้อยู่ 2 คำ คือ CAI : Computer Assisted Instruction เป็นคำที่นิยมใช้แพร่หลายในสหรัฐอเมริกา และ CAL : Computer Assisted Learning เป็นคำที่นิยมในกลุ่มประเทศทางยุโรป แต่คำเหล่านี้มีความหมายเหมือนกัน

ฉลอง  ทับศรี (2535, หน้า 1) ได้ให้ความหมายว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นบทเรียนที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวนำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียน ส่วนใหญ่มุ่งที่จะให้ผู้เรียนเรียนด้วยตนเองเป็นหลัก

สุกรี  รอดโพธิ์ทอง (2538, หน้า 75) กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีความหมายอยู่ในตัวอยู่แล้ว คือ การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยสอน ซึ่งมิได้หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์สอนแทนครูทั้งหมดอาจจะมีเนื้อหาบางส่วนที่ครูผู้สอนบางส่วนให้เรียนจากคอมพิวเตอร์ หรือครูสอนเนื้อหา ทั้งหมดส่วนการทบทวนและการทดสอบใช้คอมพิวเตอร์หรือครูสอนเนื้อหา และหากนักศึกษาที่ตามไม่ทันก็ให้เรียนจากคอมพิวเตอร์ในลักษณะการสอนเสริมกิจกรรม และวิธีการเหล่านี้อยู่ภายใต้ขอบข่ายคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

ถนอมพร  เลาหจรัสแสง (2541, หน้า 7) กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอนในชื่อของ CAI ซึ่งย่อมาจาก Computer – Assisted หรือ – Aided Instruction คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) จึงหมายถึงสื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสมอันได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิก แผนภูมิ กราฟ ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียนหรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุด

บุญเกื้อ  ควรหาเวช (2542, หน้า 65) ได้ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไว้ว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน มาจากคำว่า CAI = Computer Assisted Instruction หมายถึง วิถีทางของการสอนรายบุคคล โดยอาศัยความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะจัดหาประสบการณ์ที่มีความสัมพันธ์กันมีการแสดงเนื้อหาตามลำดับที่ต่างกันด้วย

อำนวย  เดชชัยศรี (2542, หน้า 112) ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไว้ โดยสรุปว่า เมื่อเริ่มมีโปรแกรมสำเร็จมาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ นักการศึกษาจึงคิดค้นวิธีสร้างบทเรียนในเนื้อหาวิชาต่างๆ มาใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ และมาช่วยสอนเราจึงรู้จักในนามคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer- Assisted Instruction : CAI) เนื้อหาและรูปแบบที่บรรจุใน Software เราเรียกว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

วุฒิชัย  ประสานสอย (2543, หน้า 10) ได้กล่าวไว้ว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยทั่วไปมักจะเรียกว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ บทเรียน CAI (Computer-Assisted Instruction : CAI) มีความหมายว่า เป็นการจัดโปรแกรมเพื่อการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อช่วยถ่ายโยงเนื้อหาความรู้ไปสู่ผู้เรียน

กิดานันท์  มลิทอง (2548, หน้า 220) กล่าวถึงความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไว้ว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นบทเรียนที่เรียกอย่างย่อว่า “บทเรียนซีเอไอ” เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นสื่อในการสอน เพื่อให้มีการโต้ตอบกันได้ในระหว่างผู้เรียนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมถึงการตอบสนองต่อข้อมูลที่ผู้เรียนป้อนเข้าไปได้ในทันที ซึ่งเป็นการช่วยเสริมแรงให้แก่ผู้เรียนเช่นเดียวกับการเรียนการสอนระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนที่อยู่ในห้องเรียนปกติ บทเรียนซีเอไอจะมีรูปแบบต่างๆ ในแต่ละบทเรียน จะมีตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ประกอบด้วยในลักษณะของสื่อประสม ทำให้ผู้เรียนสนุกไปกับการเรียน ไม่รู้สึกเบื่อหน่าย

ไชยยศ  เรืองสุวรรณ (2548, หน้า 4-6) ได้กล่าวถึงความหมายบทเรียนคอมพิวเตอร์ไว้ว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “Computer Courseware” ซึ่งพัฒนามาจากคำว่า “คอมพิวเตอร์ช่วยสอน” (Computer Assisted Instruction : CAI) ซึ่งหมายถึง การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องช่วย นอกจากนี้ยังมีคำอื่นๆ ที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน เช่น Computer Based Teaching หรือ Computer Based Training : CBT เป็นต้น ถ้าแปลตรงตัวก็จะหมายถึง การสอนหรือการฝึกอบรมโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องช่วยในการเรียนการสอนหรือการฝึกอบรม ส่วนคำว่า CMI (Computer Managed Instruction) หมายถึง การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดการ ส่วนใหญ่นิยมใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนในยุโรปมักใช้คำว่า CBE (Computer Based Education) หมายถึง การศึกษาโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานช่วยการจัดการศึกษา นอกจากนี้ยังมีอีก 2 คำที่ใช้แพร่หลาย คือ CAL (Computer Accessed Learning) และ CML (Computer Managed Learning) เปลี่ยนจากการสอน (Instruction) เป็นการเรียน (Learning) กล่าวโดยสรุปได้ว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ (Computer Courseware) หมายถึง ซอฟต์แวร์ หรือโปรแกรมบทเรียนที่พัฒนาขึ้นโดยพื้นฐานของระบบการเรียนการสอนและศักยภาพของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารที่มีทั้งวิธีการเรียนเนื้อหาวิชา และสื่ออื่นๆ ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความมุ่งหมายของรายวิชาหรือเรื่องที่เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากความหมายดังกล่าวข้างต้นทำให้สามารถสรุปความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้ กล่าวคือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง สื่อการเรียนการสอนประเภทหนึ่งที่สามารถนำเสนอได้ทั้งข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง โดยอาศัยเทคโนโลยีระดับสูงของคอมพิวเตอร์เป็นตัวถ่ายโยงข้อมูลความรู้ไปสู่ผู้เรียนโดยนำเนื้อหาวิชา แบบฝึกหัด แบบทดสอบ และลำดับการสอนมาบันทึกและเก็บไว้ โดยสามารถตอบโต้กับผู้เรียนได้ ผู้เรียนจะเรียนและทบทวนบทเรียนจากคอมพิวเตอร์ เปรียบเสมือนหนึ่งกับการเรียนระหว่างครูกับนักเรียนนั่นเอง

  1. คุณลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

               คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ได้ประยุกต์และพัฒนามาจากหลักการพื้นฐานทางจิตวิทยาของกลุ่มพฤติกรรมนิยม กับกลุ่มพุทธิปัญญา

กาเย่ (Gagn’e, 1984) ได้กล่าวไว้ว่าองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญที่ทำให้การสอนประสบผลสำเร็จ เมื่อนำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการเรียนการสอนได้แก่

 

  1.   วัตถุประสงค์การสอนที่ชัดเจน
  2.   การสอนเป็นขั้นย่อยๆ ที่นำไปสู่ความสำเร็จในหน่วยใหญ่
  3.   การสอนให้ผู้เรียนได้เรียนด้วยอัตราเร็วของผู้เรียน
  4.   การจัดลำดับการสอนที่ดี

จากหลักการดังกล่าว เมื่อนำมาประยุกต์ใช้กับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนย่อมทำให้ผู้เรียนได้รับความสำเร็จในการเรียน เนื่องจากการแจ้งวัตถุประสงค์ในการเรียนที่ชัดเจนทำให้ผู้เรียนทราบล่วงหน้าได้ว่า เขาจะเรียนรู้อะไรบ้าง การสอนขั้นย่อยๆ จะช่วยให้ผู้เรียนบรรลุความสำเร็จในการเรียนหน่วยนั้นๆ ได้ เพราะเป็นการสอนขั้นย่อยๆ จะทำให้เกิดการวิเคราะห์ภารกิจ ซึ่งขั้นย่อยๆ แต่ละขั้นจะเป็นพื้นฐานความรู้ของขั้นย่อยในขั้นถัดไป และต่อเนื่องกันไป องค์ประกอบที่สามคือ อัตราเร็วของผู้เรียนแต่ละคนจะทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และประสบความสำเร็จในการเรียนหน่วยนั้นได้ตามศักยภาพของผู้เรียน ประการสุดท้าย การจัดเรียงลำดับบทเรียนที่ดีนั้นนับว่าสำคัญ สำหรับการสอนแบบโปรแกรมที่ทำให้หน่วยย่อยใหม่เป็นพื้นฐานของหน่วยย่อยที่จะเรียนต่อไป

ถนอมพร  เลาหจรัสแสง. (2541, หน้า 8-10) ได้กล่าวถึงคุณลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สมบูรณ์จะต้องมีคุณลักษณะที่สำคัญ 4 ประการ ได้แก่

  1.   สารสนเทศ (Information) สารสนเทศในที่นี้ หมายถึง เนื้อหาสาระที่ได้รับการเรียบเรียงแล้วเป็นอย่างดี ซึ่งทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ หรือได้รับทักษะอย่างหนึ่งอย่างใด ตามที่ผู้สร้างได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ โดยการนำเสนอเนื้อหานี้อาจจะเป็นการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ ซึ่งอาจเป็นในลักษณะทางตรงหรือทางอ้อมก็ได้ ตัวอย่างการนำเสนอเนื้อหาในลักษณะทางตรงก็ได้แก่ การนำเสนอเนื้อหาในคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทติวเตอร์ ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้รับเนื้อหาสาระ อย่างตรงไปตรงมา จากการอ่าน จำ ทำความเข้าใจและฝึกฝน ตัวอย่างการนำเสนอเนื้อหาในลักษณะทางอ้อมก็ได้แก่ การนำเสนอเนื้อหาในคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทเกม และการจำลอง ซึ่งเนื้อหาสาระที่ผู้เรียนได้รับจะถูกแฝงเอาไว้ในรูปแบบของเกมต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิด และเพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่สนุกสนาน เพลิดเพลินและจูงใจให้ผู้ใช้ต้องการที่จะเรียนมากขึ้น
  2.   ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individualization) การตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล หรือลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบุคคลแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันทางด้านการเรียนรู้ซึ่งเกิดจากบุคลิกภาพ สติปัญญา ความสนใจ พื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกันออกไป คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจึงเป็นสื่อการสอนรายบุคคลประเภทหนึ่งที่ต้องได้รับการออกแบบให้มีลักษณะที่ตอบสนองต่อความแตกต่างส่วนบุคคลให้มากที่สุด กล่าวคือ ต้องการความยืดหยุ่นมากพอที่ผู้เรียนจะมีอิสระในการควบคุมการเรียนของตนเอง รวมทั้งการเลือกรูปแบบการเรียนที่เหมาะสมกันตนได้ ซึ่งการควบคุมการเรียนมีหลายลักษณะด้วยกันคือ

2.1  การควบคุมเนื้อหา การเลือกที่จะเรียนส่วนใด ข้ามส่วนใด ออกจากบทเรียนเมื่อใด หรือย้อนกลับมาเรียนในส่วนที่ยังไม่ได้ศึกษา

2.2  การควบคุมลำดับของการเรียน การเลือกที่จะเรียนส่วนใดก่อนหลัง หรือการสร้างลำดับการเรียนด้วยตนเอง เช่นลักษณะการเรียนเนื้อหาแบบโยงใยหรือสื่อหลายมิติ ซึ่งผู้เรียนสามารถที่จะกดเลือกข้อมูลที่ต้องการเรียนตามความสนใจความถนัดหรือตามพื้นฐานความรู้ของตนได้

2.3  การควบคุมการฝึกปฏิบัติหรือการทดสอบ ความต้องการที่จะฝึกปฏิบัติหรือทำแบบทดสอบหรือไม่ หากทำจะทำมากน้อยเพียงใด เช่น การมีปุ่มควบคุมต่างๆที่จัดไว้ทุกหน้าที่จำเป็น เช่น ปุ่มเลิกทำ ปุ่มกลับไปหน้าเดิม เป็นต้น

  1.   การโต้ตอบ (Interaction) การโต้ตอบ คือการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การเรียนการสอนรูปแบบที่ดีที่สุด ก็คือการเรียนการสอน ในลักษณะที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้สอนได้มากที่สุด
  2.  การให้ผลป้อนกลับโดยทันที (Immediate Feedback) ลักษณะที่ขาดไม่ได้อีกประการหนึ่งของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็คือ การให้ผลป้อนกลับโดยทันทีตามแนวคิดของสกินเนอร์ ผลป้อนกลับหรือการให้คำตอบนี้ ถือเป็นการเสริมแรงอย่างหนึ่ง การให้ผลป้อนกลับแก่ผู้เรียนในทันทีหมายรวมไปถึงการที่คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สมบูรณ์จะต้องมีการทดสอบหรือประเมินความเข้าใจของผู้เรียนในเนื้อหาทักษะต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ด้วย ความสามารถในการให้ผลป้อนกลับโดยทันทีของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้เองที่ถือได้ว่า เป็นจุดเด่นหรือข้อได้เปรียบของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

สรุปได้ว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่สมบูรณ์นั้นจะต้องมีกระบวนการการเรียนการสอนที่ชัดเจน มีการเรียบเรียงเนื้อหา มีการเรียนรู้เป็นขั้นตอน ตอบสนองความแตกแต่งระหว่างบุคคล ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับการเรียนได้ มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนให้ผลป้อนกลับในทันที ซึ่งเป็นจุดเด่นหรือข้อได้เปรียบของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

  1. ความสำคัญของบทเรียนคอมพิวเตอร์

               ได้มีนักการศึกษาให้ความสำคัญของบทเรียนคอมพิวเตอร์ไว้ ดังนี้

คอมพิวเตอร์เป็นสื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ช่วยให้การเรียนการสอนมีคุณภาพและประสิทธิภาพได้มีผู้กล่าวถึงความสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไว้หลายท่านด้วยกัน ดังนี้

                       กิดานันท์  มลิทอง (2531, หน้า 168) กล่าวถึงความสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนว่าคอมพิวเตอร์เป็นสื่อการเรียนการสอนที่เป็นเทคโนโลยีระดับสูง เมื่อมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นจะทำให้การเรียนการสอนมีการโต้ตอบกันได้ในระหว่างผู้เรียนที่อยู่ในห้องเรียนตามปกติ นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในการตอบสนองต่อข้อมูลที่ผู้เรียนป้อนไปได้ในทันที ซึ่งเป็นการช่วยเสริมแรงให้แก่ผู้เรียน ดังนั้น ในขณะนี้จึงมีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนกันอย่างกว้างขวางและแพร่หลาย เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้จากโปรแกรมบทเรียนเพื่อการสอนในรูปแบบต่าง

ถนอมพร  เลาหจรัสแสง (2541, หน้า 8-10) กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีความสำคัญคือช่วยสอน 4 ประการ ได้แก่ สารสนเทศ (Information) ความแตกต่างระหว่างบุคคล(Individualization) การโต้ตอบ (Interaction) การให้ผลป้อนกลับโดยทันที (Immediate Feedback)

                   จากที่นักการศึกษาหลายท่านได้กล่าวไว้ พอสรุปได้ว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีความสำคัญมาก เพราะสามารถทำให้เกิดการเรียนรู้เหมือนมีการเรียนการสอนในห้องเรียนได้สามารถโต้ตอบกับผู้เรียนได้ทันที มีการเสริมแรง ยังช่วยเสริมในกรณีที่เรียนไม่ทันหรือเพื่อให้เกิดการเข้าใจมากยิ่งขึ้น มีการจัดเก็บข้อมูลที่น่าสนใจ มีทั้งภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหวในลักษณะของสื่อประสม สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความสนใจมากขึ้นหรือเกิดการเสริมแรงในการเรียนได้ จึงมีการนำมาช่วยในการเรียนการสอนมากขึ้น

  1. 4. ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

               กิดานันท์  มะลิทอง (2540, หน้า 240) กล่าวถึงประโยชน์ของการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาสรุปได้ว่า

  1. คอมพิวเตอร์ช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน
  2. บทเรียนมีการใช้สี ภาพลายเส้นที่ดูคล้ายเคลื่อนไหว เสียงดนตรีเป็นการเพิ่มความเหมือนจริง และเร้าใจให้นักเรียนเกิดความอยากรู้อยากเรียน
  3. ความสามารถของหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ ช่วยบันทึกคะแนน และพฤติกรรมต่างๆ ของนักเรียนไว้เพื่อใช้ในการวางแผนบทเรียนขั้นต่อไป
  4. ความสามารถในการเก็บรวบรวมข้อมูลของคอมพิวเตอร์ ทำให้นำมาใช้ในลักษณะของการศึกษารายบุคคลได้เป็นอย่างดี โดยการกำหนดบทเรียนให้ผู้เรียนแต่ละคน และแสดงผลความก้าวหน้าให้เห็นได้ทันที
  5. ลักษณะของโปรแกรมที่ทำให้ความเป็นส่วนตัวแก่นักเรียน เป็นการช่วยให้ผู้ที่เรียนช้าสามารถเรียนได้โดยสะดวก
  6. เป็นการขยายขีดความสามารถของครูในการควบคุมชั้นเรียนได้อย่างใกล้ชิด

               ถนอมพร  เลาหจรัสแสง (2541, หน้า 12)กล่าวถึงประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ดังรายละเอียดต่อไปนี้

  1.   คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเกิดจากความพยายามในการที่จะช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนอ่อน สามารถใช้เวลานอกเวลาเรียนในการฝึกฝนทักษะ และเพิ่มเติมความรู้เพื่อที่จะปรับปรุงการเรียนของตนให้ทันผู้เรียนอื่นได้ ดังนั้น ผู้สอนจึงสามารถนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้ช่วยสอนเสริมหรือสอนทบทวนการสอนปกติในชั้นเรียนได้ โดยที่ผู้สอนไม่จำเป็นต้องเสียเวลาในการสอนซ้ำกับผู้เรียนที่ตามไม่ทันหรือจัดการสอนเพิ่มเติม
  2.   ผู้เรียนก็สามารถนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้ในการเรียนด้วยตนเองในเวลาและสถานที่ซึ่งผู้เรียนสะดวก เช่น แทนที่จะต้องเดินทางมายังชั้นเรียนตามปกติ ผู้เรียนก็สามารถเรียนด้วยตนเองจากที่บ้านได้ นอกจากนี้ยังสามารถเรียนในเวลาใดก็ได้ที่ต้องการ เป็นต้น
  3.   ข้อได้เปรียบที่สำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็คือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ได้รับการออกแบบมาอย่างดีถูกต้องตามหลักการออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นสามารถที่จะจูงใจผู้เรียนให้เกิดความกระตือรือร้น (Motivated) ที่จะเรียนและสนุกสนานไปกับการเรียนตามแนวคิดของการเรียนในปัจจุบันที่ว่า “Learning is Fun” ซึ่งหมายถึง การเรียนรู้เป็นเรื่องสนุก

สรุปได้ว่า สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นมีประโยชน์ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่ง เพราะผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้ สามารถศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้จากสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและเชื่อมั่นว่าสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นมีประสิทธิภาพ เนื่องจากผู้ผลิตย่อมต้องออกแบบมาเป็นอย่างดี ถูกต้องตามหลักการออกแบบสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

จากที่กล่าวมาสรุปได้ดังนี้ การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการสร้างบทเรียน ตามที่ผู้สอนต้องการโดยมีการวางแผน และออกแบบบทเรียนไว้เป็นอย่างดี บทเรียนคอมพิวเตอร์ ที่สร้างขึ้นต้องคำนึงถึงเป้าหมายของผู้เรียน โดยมีการออกแบบเนื้อหาบทเรียน และโครงสร้างบทเรียนไว้เป็นอย่างดี บทเรียนนั้นต้องคำนึงถึงความสามารถในการเรียน และยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ เพราะบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นบทเรียนที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

 

  1. 5. การหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

           การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้น ถ้าต้องการที่จะให้ได้มาตรฐานที่เชื่อถือได้ก็ต้องผ่านกระบวนการทดลองใช้ เพื่อหาประสิทธิภาพและปรับปรุงบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นให้ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ประโยชน์ที่จะได้รับจากการหาประสิทธิภาพก็คือ จะทำให้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ได้นั้นมีคุณภาพและทำให้ไม่สูญเสียทรัพยากร ทางด้านแรงงานและเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์

  1. การกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพ

                   เกณฑ์ประสิทธิภาพ หมายถึง ระดับประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เป็นระดับที่ผู้สร้างพึงพอใจว่า หากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีประสิทธิภาพถึงระดับนั้นแล้ว ก็มีคุณค่าที่จะนำไปสอนนักเรียนและคุ้มค่าแก่การลงทุนเพื่อผลิตออกมา

บุปผชาติ  ทัฬหิกรณ์ และคณะ (2544, หน้า 162-163) กล่าวว่าการหาประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดีย เป็นการหาประสิทธิภาพและการนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ ในที่นี้การหาประสิทธิภาพตัวสื่อมัลติมีเดียจะเป็นการหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้สื่อมีความมั่นใจว่าจะเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนจริงเมื่อใช้สื่อนั้นแล้ว การหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (E) หาจากอัตราส่วนของประสิทธิภาพของกิจกรรมหรืองานที่ได้รับมอบหมาย (E1) ต่อประสิทธิภาพของผลลัพธ์โดยพิจารณาจากผลการสอบ (E2) หรือ  E = E1 – E2

E1     หมายถึง     การประเมินพฤติกรรมต่อเนื่องของการทำกิจกรรมหรือ

ความรู้ที่เกิดขึ้นระหว่างการเรียนที่ได้รับมอบหมาย

E2     หมายถึง     การประเมินพฤติกรรมขั้นสุดท้ายโดยพิจารณาจากคะแนน

สอบหลังการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

E1     หาจาก      ร้อยละของ (X/N)/A

X      หมายถึง     คะแนนรวมของแบบฝึกหัดของผู้เรียนแต่ละคนในกิจกรรมที่

ผู้เรียนได้รับมอบหมาย

A      หมายถึง     ผลรวมของคะแนนเต็มของแบบฝึกหัดทุกชิ้น

N      หมายถึง     จำนวนผู้เรียน

E2     หาจาก      ร้อยละของ (X/N)/B

F     หมายถึง     คะแนนรวมของผลลัพธ์หลังเรียน

B      หมายถึง     คะแนนเต็มของการสอบหลังเรียน

N      หมายถึง     จำนวนผู้เรียน

ระดับประสิทธิภาพจะช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้จากการใช้สื่อมัลติมีเดียที่มีประสิทธิภาพถึงระดับที่ผู้สร้างตั้งใจ หรือเรียกว่า มีเกณฑ์ประสิทธิภาพ การกำหนด  E1 : E2  ให้มีค่าเท่าใดนั้นผู้สร้างเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสม โดยปกติวิชาประเภทเนื้อหามักจะกำหนดเป็น 80 : 80 ถึง 90 : 90 ส่วนวิชาประเภททักษะ จะกำหนดเป็น 75 : 75 แต่ไม่ควรตั้งเกณฑ์ไว้ต่ำ เพราะตั้งไว้เท่าใดมักจะได้ผลเท่านั้น (กรมวิชาการ. 2544, หน้า 162)

  1. ขั้นตอนการหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

               เมื่อผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนขึ้นเป็นต้นแบบแล้ว ต้องนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปหาประสิทธิภาพตามขั้นตอนต่อไปนี้

2.1  แบบเดี่ยว (1 : 1) คือ ทดลองกับผู้เรียน 1 คน โดยใช้เด็กอ่อน ปานกลาง และเก่ง คำนวณหาค่าประสิทธิภาพ เสร็จแล้วปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยปกติคะแนนที่ได้จากการทดลองแบบเดี่ยวนี้จะได้คะแนนต่ำกว่าเกณฑ์มาก แต่ไม่ต้องวิตกเมื่อปรับปรุงแล้วจะสูงขึ้นมาก ก่อนนำไปทดลองแบบกลุ่ม ในขั้นนี้ E1 / E2 ที่ได้จะมีค่าประมาณ 60/60

2.2  แบบกลุ่ม (1 : 10) คือ ทดลองกับผู้เรียน 6-10 คน (คละผู้เรียนที่เก่งกับอ่อน) คำนวณหาค่าประสิทธิภาพ เสร็จแล้วปรับปรุง ในคราวนี้คะแนนของผู้เรียนจะเพิ่มขึ้นอีกเกือบเท่ากับเกณฑ์ โดยเฉลี่ยจะห่างจากเกณฑ์ประมาณ 10% นั้นคือ E1 / E2 ที่ได้จะมีค่าประมาณ 70/70

2.3  ภาคสนาม (1 : 100) ทดลองกับผู้เรียนทั้งชั้น 40-100 คน คำนวณหาค่าประสิทธิภาพแล้วทำการปรับปรุง ผลลัพธ์ที่ได้ควรใกล้เคียงกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ หากต่ำกว่าเกณฑ์ไม่เกิน 25% ก็ให้ยอมรับ หากแตกต่างกันมากผู้สอนต้องกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนใหม่ โดยยึดสภาพความเป็นจริงเป็นเกณฑ์ สมมติว่า เมื่อทดสอบหาประสิทธิภาพแล้วได้ 83.5 / 85.4 ก็แสดงว่าสื่อการสอนนั้นประสิทธิภาพใกล้เคียงกับเกณฑ์ 85/85 ที่ตั้งไว้ แต่ถ้าตั้งเกณฑ์ไว้ 75/75 เมื่อผลการทดลองเป็น 83.5 / 85.4 ก็อาจเลื่อนเกณฑ์ขึ้นมาเป็น 85/85 ได้

การเลือกนักเรียนมาทดลองกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ควรเป็นตัวแทนที่เราจะนำสื่อการสอนนั้นไปใช้ โดยมีข้อควรพิจารณาดังนี้

  1. สำหรับการทดลองแบบเดี่ยว (1 : 1) เป็นการทดลองที่ใช้ครู 1 คน ต่อเด็ก 1 คน ให้ทดลองกับเด็กอ่อนเสียก่อน ทำการปรับปรุงแล้วนำไปทดลองกับเด็กปานกลางและนำไปทดลองกับเด็กเก่ง อย่างไรก็ตามหากเวลาไม่อำนวยและสภาพการณ์ไม่เหมาะสมก็ให้ทดลองกับเด็กอ่อนหรือเด็กปานกลาง
  2. สำหรับการทดลองแบบกลุ่ม (1 : 10) เป็นการทดลองที่ใช้ครู 1 คน ต่อเด็ก 6-12 คน โดยคละทั้งเด็กเก่ง ปานกลาง และเด็กอ่อน ห้ามทดลองกับเด็กอ่อนล้วน หรือเด็กเก่งล้วน เวลาทดลองจะต้องจับเวลาด้วยว่ากิจกรรมในแต่ละกลุ่มใช้เวลาเท่าไร ทั้งนี้เพื่อให้ทุกกลุ่มกิจกรรมสำหรับห้องเรียนแบบศูนย์การเรียนใช้เวลาเท่ากัน คือ ประมาณ 10-15 นาที สำหรับประถมศึกษา และ 15-20 นาที สำหรับมัธยมศึกษา
  3. สำหรับการทดลองภาคสนามหรือกลุ่มใหญ่ (1 : 100) เป็นการทดลองที่ใช้ครู 1 คน กับนักเรียนทั้งชั้น 30-40 คน (หรือ 100 คน สำหรับชุดการสอนรายบุคคล) ชั้นที่เลือกมาทดลองจะต้องมีนักเรียนคละกันทั้งเด็กเก่ง และอ่อน ไม่ควรเลือกห้องที่มีเด็กเก่งหรือเด็กอ่อนล้วน

สถานที่และเวลาสำหรับการทดลองแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม ควรใช้เวลานอกชั้นเรียนหรือแยกนักเรียนมาเรียนต่างหากจากห้องเรียน อาจเป็นห้องประชุมของโรงเรียน โรงอาหาร หรือสนามใต้ร่มไม้ก็ย่อมได้

การยอมรับหรือไม่ยอมรับประสิทธิภาพ เมื่อทดลองบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาคสนามแล้ว ให้เทียบค่า E1 / E2 ที่หาได้จากสื่อการสอนกับเกณฑ์ E1 / Eที่กำหนด เพื่อดูว่าเราจะยอมรับประสิทธิภาพหรือไม่ การยอมรับให้ถือค่าแปรปรวน ร้อยละ 2.5-5 นั่นคือ ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไม่ควรต่ำกว่าเกณฑ์เกินร้อยละ 5 แต่โดยปกติเราจะกำหนดไว้ ร้อยละ 2.5 เช่น เราตั้งเกณฑ์ประสิทธิภาพไว้ 90/90 เมื่อทดลอง 1:100 แล้ว บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นมีประสิทธิภาพ 87.5-87.5 เราก็สามารถยอมรับได้ว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นมีประสิทธิภาพ

การยอมรับประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมี 3 ระดับคือ

  1. สูงกว่าเกณฑ์ เมื่อประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้เกินกว่า 2.5%
  2. เท่ากับเกณฑ์ เมื่อประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเท่ากับหรือสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้เกินกว่า 2.5%
  3. ต่ำกว่าเกณฑ์ เมื่อประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนต่ำกว่าเกณฑ์แต่ไม่ต่ำกว่า 2.5%
  4. การวัดผลการเรียนรู้

               ในการหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในส่วนของการประเมินพฤติกรรมต่อเนื่องและพฤติกรรมขั้นสุดท้ายนั้น ต้องทำการสร้างแบบทดสอบขึ้น เพื่อประเมินความรู้ ความเข้าใจของผู้เรียน โดยได้มีการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบทดสอบดังนี้

3.1  การวัดผล (Measurement)

การวัด (Measurement) หรือการวัดผล ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความของการวัดว่า เป็นการตรวจสอบขนาดหรือปริมาณของสิ่งต่างๆ เช่น ส่วนยาว ส่วนกว้าง ส่วนสูง หรือความรู้ เป็นต้น วัดผลการศึกษา หมายถึง ประเมินผลการเรียนการสอน เพื่อค้นหาและพัฒนาสมรรถภาพให้เด็กเรียนดีขึ้น ครูสอนเก่งขึ้น และให้การตัดสินเที่ยวตรงแน่นอน และยุติธรรมมากขึ้น ดังนั้นการวัดผลสามารถให้นิยามได้ว่า การวัดผลหมายถึง การกำหนดตัวเลขให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาจเป็นวัตถุ สิ่งของหรือบุคคลก็ได้ เพื่อจุดประสงค์ที่จะชี้ให้เห็นความแตกต่างของลักษณะที่วัด

3.2  การประเมินผล (Evaluation)

คำนี้มักใช้คู่กับการวัดผลอยู่เสมอ แต่จริงๆ แล้วมีความหมายแตกต่างกันโดยเฉพาะในการเรียนการสอน หรือการทำกิจกรรมต่างๆ ใช้คำว่าประเมินผลการเรียนกันอยู่เป็นประจำ หลังจากการเรียนการสอนเสร็จสิ้นแล้ว เพื่อจะได้รู้ว่าผลการเรียนของนักเรียนก้าวหน้าเป็นอย่างไร การประเมินผลจึงนิยามว่าเป็นกระบวนการพิจารณาตัดสินที่เป็นระบบครอบคลุมถึงจุดหมายที่ตั้งไว้ นั่นคือ ประเมินดูว่ากิจกรรมที่ทำทั้งหลายเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพียงใด บางกรณีจึงต้องใช้ปริมาณจากการวัดมาพิจารณาตัดสินด้วยคุณธรรมแล้วลงสรุป บางกรณีไม่ต้องใช้ตัวเลขจากการวัด เป็นแต่เพียงการหาข้อมูลจากด้านอื่นมาประกอบการพิจารณา เช่น ประวัติ ระเบียนสะสม เป็นต้น (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. 2539, หน้า 11-12) ดังนั้นการประเมินผลทางการศึกษา หมายถึง กระบวนการที่เอาผลที่วัดได้ไปเทียบกับเกณฑ์และพิจารณาตัดสินใจอย่างมีคุณธรรม ว่าสิ่งนั้นดีหรือไม่ดี เหมาะสมหรือไม่เหมาะสม ผ่านหรือไม่ผ่าน ได้เกรด A B หรือ C

3.2.1  ประเภทของการประเมินผล

การประเมินผลสามารถจำแนกเป็นประเภทได้ดังนี้

3.2.1.1  จำแนกตามวัตถุประสงค์ของการประเมิน แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1)  การประเมินผลก่อนเรียน (Per-Evaluation) มีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบความรู้พื้นฐานและทักษะของผู้เรียนว่า มีความรู้เพียงพอที่จะเรียนต่อในรายวิชาหรือไม่ ถ้าพบว่าไม่มีความรู้พื้นฐานเพียงพอครูจะทำการสอนปรับพื้นฐานให้ก่อนที่จะขึ้นเนื้อหาใหม่ต่อไป

2)  การประเมินผลระหว่างเรียนหรือประเมินความก้าวหน้า (Formative Evaluation) มีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบว่านักเรียนบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนที่กำหนดไว้หรือไม่เพียงใด หากพบว่ามีข้อบกพร่องในจุดประสงค์ข้อใด ก็หาแนวทางปรับปรุงแก้ไขต่อไป หรือจัดสอนซ่อมเสริมให้แก่ผู้เรียน

3)  การประเมินผลรวมสรุป (Summative Evaluation) เป็นการประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียน มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาว่าผู้เรียนมีความรู้ทั้งสิ้นเท่าไร ควรตัดสินได้-ตก ผ่าน-ไม่ผ่าน เป็นต้น

3.2.1.2  จำแนกตามระบบการวัดผล แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1)  การประเมินผลแบบอิงกลุ่ม (Norm-Referenced Evaluation) เป็นการตัดสินคุณค่าของคุณลักษณะหรือพฤติกรรม โดยเปรียบเทียบกับผู้เรียนที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ที่ทำข้อสอบฉบับเดียวกัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อจำแนกหรือจัดลำดับบุคคลในกลุ่มนั้นๆ

2)  การประเมินผลแบบอิงเกณฑ์ (Criterion-Referenced Evaluation) เป็นการตัดสินคุณค่าของคุณลักษณะหรือพฤติกรรม โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ ซึ่งเกณฑ์มาตรฐาน (Standard Criteria) ที่มีอยู่แล้ว หรือเกณฑ์ที่ผู้ประเมินกำหนดขึ้น (Arbitrary Criteria) ในทางปฏิบัติการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เกณฑ์จะหมายถึงกลุ่มพฤติกรรมตามจุดมุ่งหมายในแต่ละบทหรือหน่วยการเรียนโดยทั่วไป นิยมใช้จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Objective) หรือกลุ่มของพฤติกรรม (Domain of Behavior) (พิชิต ฤทธิ์จรูญ. 2544 : 15)

3.3  พฤติกรรมทางการศึกษา

พฤติกรรมทางการศึกษาที่นิยมใช้ในปัจจุบันเป็นของบลูมและคณะ ซึ่งใช้หลักการจัดจำแนกอันดับ (Taxonomy) จำแนกพฤติกรรมการศึกษาเป็น 3 ประเภทคือ พฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) พฤติกรรมด้านจิตพิสัย (Affective Domain) และพฤติกรรมด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

3.3.1  พฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย

พฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย เป็นสมรรถภาพด้านสมองหรือสติปัญญาของบุคคลในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ แบ่งเป็น 6 ระดับ เรียงตามลำดับขั้นตอนการเกิดพฤติกรรมจากขั้นต่ำสุดถึงขั้นสูงสุด คือ ความรู้-ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และประเมินค่า (พิชิต ฤทธิ์จรูญ. 2544 : 31-35) ดังนี้

1)  ความรู้-ความจำ (Knowledge) หมายถึง ความสามารถทางสมองในการทรงไว้หรือรักษาไว้ซึ่งเรื่องราวต่างๆ ที่บุคคลได้รับรู้ไว้ในสมองได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

2)  ความเข้าใจ (Comprehension) หมายถึง ความสามารถในการจับใจความสำคัญของเรื่อง สามารถถ่ายทอดเรื่องราวเดิมออกมาเป็นภาษาของตนเองได้โดยที่ยังมีความหมายเหมือนเดิม

3)  การนำไปใช้ (Application) เป็นความสามารถในการนำหลักวิชาไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ ซึ่งอาจใกล้เคียงหรือคล้ายคลึงกับสถานการณ์ที่เคยพบเห็นมาก่อน เช่น การนำสูตรพื้นที่สามเหลี่ยมไปใช้หาพื้นที่สามเหลี่ยมรูปใหม่ได้ การแก้ประโยคที่เขียนไวยากรณ์ผิดได้

4)  การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นความสามารถในการแยกแยะเรื่องราวต่างๆ ออกเป็นส่วนย่อยๆ ได้ว่าเรื่องราวหรือสิ่งนั้นๆ ประกอบด้วยอะไรบ้าง มีความสำคัญอย่างไร อะไรเป็นสาเหตุ อะไรเป็นผล และที่เป็นไปอย่างนั้นอาศัยหลักการอะไร

5)  การสังเคราะห์ (Synthesis) เป็นความสามารถในการผสมผสานส่วนย่อยต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นสิ่งใหม่อีกรูปแบบหนึ่ง

6)  การประเมินค่า (Evaluation) เป็นความสามารถในการพิจารณาตัดสินหรือลงสรุปเกี่ยวกับคุณค่าของเนื้อหา และวิธีการต่างๆ โดยอาศัยเกณฑ์และมาตรฐานที่วางไว้

3.3.2  พฤติกรรมด้านจิตพิสัย

พฤติกรรมด้านจิตพิสัย เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิดทางจิตใจ อารมณ์ และคุณธรรมของบุคคลซึ่งต้องอาศัยการสร้างหรือปลูกฝังคุณลักษณะนิสัยต่างๆ ให้เกิดขึ้นโดยเริ่มจากพฤติกรรมขั้นแรกที่ง่ายไปหาขั้นตอนสุดท้ายที่ยาก ซึ่งมี 5 ระดับ (พิชิต ฤทธิ์จรูญ. 2544, หน้า 37-39) คือ

1)  การรับรู้ (Receiving or Attending) เป็นขั้นตอนที่บุคคลรู้สึกว่ามีสิ่งเร้ามากระตุ้นให้แสดงพฤติกรรม และจะเริ่มทำความรู้จักในสิ่งนั้น นั่นคือเริ่มสนใจและเต็มใจในสิ่งเร้านั้น

2)  การตอบสนอง (Responding) เป็นขั้นที่บุคคลแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบสิ่งเร้านั้นด้วยความยินยอม เต็มใจ

3)  การเกิดค่านิยม (Valuing) เป็นขั้นตอนที่บุคคลมองเห็นความสำคัญและยอมรับว่าพฤติกรรมที่แสดงออกไปนั้นเป็นสิ่งที่ดี มีคุณค่า เช่น การไม่สูบบุหรี่ในสถานที่ราชการ เพราะเห็นว่าไม่เหมาะสม การไม่ทิ้งเศษกระดาษบนถนนเพราะเห็นว่าควรทิ้งในถังขยะ เป็นต้น

4)  การจัดระบบคุณค่า (Organization) เป็นขั้นตอนที่บุคคลนำค่านิยมที่ตนเองสร้างไว้แล้วมาจัดระบบหรือหมวดหมู่ โดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมเหล่านั้น และปรับสิ่งที่ขัดแย้งกัน เพื่อนำมาสร้างเป็นค่านิยมเพื่อถือปฏิบัติต่อไป

5)  การสร้างลักษณะนิสัย (Characterization by a Value Complex) เป็นขั้นการนำค่านิยมที่จัดระบบคุณค่าที่มีในตัว เข้าเป็นระบบที่ถาวร และทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมของบุคคลไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดๆ ก็จะแสดงพฤติกรรมตามค่านิยมที่ยึดถือตลอดไปสม่ำเสมอจนเกิดเป็นลักษณะนิสัยประจำตัวของแต่ละบุคคล

3.3.3  พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย

พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวกับความสามารถเชิงปฏิบัติการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบการใช้งานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายที่ต้องอาศัยการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อกับการทำงานของระบบประสาทต่างๆ ซึ่งเป็นหน่วยสั่งการ เช่น การเคลื่อนไหวอวัยวะต่างๆ ในการทำกิจวัตรประจำวัน เล่นกีฬา เล่นดนตรี หรือกิจกรรมอื่นๆ หากนักเรียนได้ฝึกฝนการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาทให้มีการประสานสัมพันธ์กันย่อมก่อให้เกิดความชำนาญ หรือทักษะในการปฏิบัติงาน การจำแนกพฤติกรรมด้านทักษะพิสัยนี้มีหลายกลุ่มความคิด ในที่นี้จะนำเสนอ 2 แนวทาง (พิชิต ฤทธิ์จรูญ. 2544, หน้า: 40-42) ดังนี้

1)  แนวทางที่ 1  แบ่งลักษณะของพฤติกรรมตามพัฒนาการด้านทักษะพิสัยออกเป็น 5 ระดับคือ ขั้นเลียนแบบ การทำโดยยึดแบบการทำด้วยความชำนาญ การทำในสถานการณ์ต่างๆ ได้ การแก้ปัญหาได้โดยฉับพลัน

2)  แนวทางที่ 2  แบ่งลักษณะของพฤติกรรมในเรื่องทักษะการเคลื่อนไหว แบ่งเป็น 4 ด้าน คือ ทักษะการเคลื่อนไหวทั้งร่างกาย ทักษะเคลื่อนไหวที่ต้องใช้ประสาทรวมๆ กัน ทักษะการสื่อสารโดยใช้ท่าทาง ทักษะพฤติกรรมทางด้านภาษา

3.4  แบบทดสอบ

แบบทดสอบ คือ ชุดของคำถาม (Items) หรืองานชุดใดๆ ที่สร้างขึ้นเพื่อนำไปเร้าหรือชักนำที่กลุ่มตัวอย่างตอบสนองออกมา การตอบสนองอาจอยู่ในรูปแบบของการเขียนตอบ การพูด การปฏิบัติที่สามารถสังเกตได้ วัดให้เป็นปริมาณได้

3.4.1  ประเภทของแบบทดสอบ

แบบทดสอบสามารถแบ่งออกได้หลายแบบ แล้วแต่ทัศนะและเกณฑ์ที่ใช้แบ่ง ในที่นี้จะกล่าวถึงการแบ่งตามสมรรถภาพที่จะวัด ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ (บุญชม ศรีสะอาด. 2543, หน้า 50-51)

3.4.1.1  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ (Achievement Test) หมายถึง แบบทดสอบที่ใช้วัดความรู้ความสามารถของบุคคลในด้านวิชาการ ซึ่งเป็นผลจากการเรียนรู้ในเนื้อหาสาระและตามจุดประสงค์ของวิชาหรือเนื้อหาที่สอบนั้น โดยทั่วไปจะวัดผลสัมฤทธิ์ในวิชาต่างๆ ที่เรียนในโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษาต่างๆ อาจจำแนกได้เป็น 2 ประเภทคือ

1)  แบบทดสอบอิงเกณฑ์ (Criterion Reference Test) หมายถึง แบบทดสอบที่สร้างขึ้นตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม มีคะแนนจุดตัดหรือคะแนนเกณฑ์สำหรับใช้ตัดสินว่าผู้สอบมีความรู้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือไม่ การวัดผลตรงตามจุดประสงค์เป็นหัวใจสำคัญของข้อสอบในแบบทดสอบประเภทนี้

2)  แบบทดสอบอิงกลุ่ม (Norm referenced Test) หมายถึง แบบทดสอบที่มุ่งสร้างเพื่อวัดให้ครอบคลุมหลักสูตร จึงสร้างตามตารางวิเคราะห์หลักสูตร ความสามารถในการจำแนกผู้สอบตามความเก่งอ่อนได้ดี เป็นหัวใจสำคัญของข้อสอบในแบบทดสอบประเภทนี้ การรายงานผลการสอนอาศัยคะแนนมาตรฐานซึ่งเป็นคะแนนที่สามารถให้ความหมายแสดงถึงสมรรถภาพของบุคคลนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับบุคคลอื่นๆ ที่ใช้เป็นกลุ่มเปรียบเทียบ

 

3.4.1.2  แบบทดสอบวัดเชาว์ปัญญาและความถนัด

แบบทดสอบวัดเชาว์ปัญญาและความถนัด (Intelligence and Aptitude Test) หมายถึง แบบทดสอบที่ใช้วัดสมรรถภาพในการเรียนรู้ของบุคคล และความพร้อมที่จะพัฒนาไปอย่างดีในด้านใดด้านหนึ่ง อาจแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ

1)  แบบทดสอบความถนัดทั่วไปรายบุคคล (Individually Administered Tests of General Aptitude) เป็นแบบทดสอบที่ใช้ทำนายผลสำเร็จทางการเรียน และใช้ในทางคลีนิกของนักจิตวิทยา ได้แก่ แบบทดสอบวัดเชาว์ปัญญาเด็กของเวคสเลอร์ (Wechsler Intelligence for Children) แบบทดสอบสแตนฟอร์ด (Stanford-Binet Scale) เป็นต้น

2)  แบบทดสอบความถนัดทั่วไปกลุ่ม (Group Tests of General Aptitude) เป็นแบบทดสอบที่ใช้ทำนายผลสำเร็จทางการเรียน โรงเรียนและสถาบันการศึกษาในสหรัฐอเมริกาใช้แบบทดสอบประเภทนี้กว้างขวางกว่าแบบทดสอบทั่วไปรายบุคคล ตัวอย่างได้แก่ แบบทดสอบอาร์มี แอลฟา (Army Alpha) แบบทดสอบโอทิส-เลนนอน (Otis-Lennon Mental Test) ฯลฯ

3)  แบบทดสอบความถนัดพหุคูณ (Multiple Aptitude Battery) เป็นแบบทดสอบที่มุ่งวัดสมรรถภาพทางสมองหลายชนิด แต่ละชนิดมีคะแนนแยกเฉพาะของตน สามารถจัดทำเกณฑ์ปกติของแต่ละฉบับและหาความเที่ยงตรงของแต่ละฉบับกับผลการเรียนแต่ละด้าน และกับอาชีพต่างๆ ตัวอย่างได้แก่ แบบทดสอบ พี เอ็ม เอ (Primary Mental Ability : PMA) แบบทดสอบ ดี เอ ที (Differential Aptitude Test : DAT) แบบทดสอบ เอฟ เอ ซี ที (Flanagan Aptitude Classification Test : FACT) เป็นต้น

4)  แบบทดสอบความถนัดพิเศษ (Special Aptitude Test) เป็นแบบทดสอบที่ใช้พิจารณาตัดสินใจเกี่ยวกับการคัดเลือกทางอาชีพและทางการศึกษา ได้แก่ แบบทดสอบความถนัดทางจักรกล (Mechanical Aptitude Test) แบบทดสอบความถนัดทางดนตรีของ ซี ชอร์ (Seashore Measure of Musical Talents) แบบทดสอบความถนัดทางศิลปะของไมเออร์ (Meier Art Judgment) แบบทดสอบความถนัดทางเสมียน (Clerical Test)

3.4.1.3  แบบทดสอบวัดบุคลิกภาพและสังคม

แบบทดสอบวัดบุคลิกภาพและสังคม (Personal-Social Test) หมายถึง แบบทดสอบที่ใช้วัดคุณลักษณะโครงสร้างหรือพฤติกรรมหรือจุดประสงค์ใดมีแนวความคิดหรือทฤษฏีที่เกี่ยวข้องสามารถนำมาใช้ได้หลายทฤษฏี ในที่นี้จะแยกกล่าวบางทฤษฏี โดยแยกกล่าวตามประเภทของแบบทดสอบ

3.4.2  ขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์

การสร้างแบบทดสอบมีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้ (พิชิต ฤทธิ์จรูญ. 2544, หน้า 99-100)

3.4.2.1  วิเคราะห์หลักสูตรและสร้างตารางวิเคราะห์หลักสูตรการสร้างแบบทดสอบ ควรเริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์หลักสูตรและสร้างตารางวิเคราะห์หลักสูตรเพื่อวิเคราะห์เนื้อหาสาระ และพฤติกรรมที่ต้องการจะวัด ใช้เป็นกรอบในการออกข้อสอบซึ่งระบุจำนวนข้อสอบในแต่ละเรื่องและพฤติกรรมที่ต้องการจะวัดไว้

3.4.2.2  กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้เป็นพฤติกรรมที่เป็นผลการเรียนรู้ที่ผู้สอนหวังจะให้เกิดขึ้น ซึ่งผู้สอนจะต้องกำหนดไว้ล่วงหน้า สำหรับเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน และการสร้างข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์

3.4.2.3  กำหนดชนิดของข้อสอบและศึกษาวิธีสร้าง โดยการศึกษาตารางวิเคราะห์หลักสูตร และจุดประสงค์การเรียนรู้ ผู้ออกข้อสอบต้องพิจารณาและตัดสินใจเลือกใช้ชนิดของข้อสอบที่จะใช้วัดว่า จะเป็นแบบใด โดยต้องเลือกให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของการเรียนรู้และเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน แล้วศึกษาวิธีเขียนข้อสอบชนิดนั้นให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและวิธีการเขียนข้อสอบ

3.4.2.4  เขียนข้อสอบ ผู้ออกข้อสอบลงมือเขียนข้อสอบตามรายละเอียดที่กำหนดไว้ในตารางวิเคราะห์หลักสูตร และให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ โดยอาศัยหลักการและวิธีการเขียนข้อสอบที่ได้ศึกษามาแล้วในขั้นที่ 3

3.4.2.5  ตรวจทานข้อสอบ เพื่อให้ข้อสอบที่เขียนไว้ในขั้นที่ 4 มีความถูกต้องตามหลักวิชา มีความสมบูรณ์ครบถ้วนตามรายละเอียดที่กำหนดไว้ในตารางวิเคราะห์หลักสูตร ผู้ออกข้อสอบต้องพิจารณาทบทวนตรวจทานข้อสอบอีกครั้งก่อนที่จะจัดพิมพ์และนำไปใช้ต่อไป

3.4.2.6  จัดพิมพ์ข้อสอบฉบับทดลอง เมื่อตรวจทานข้อสอบเสร็จแล้ว ให้พิมพ์ข้อสอบทั้งหมด จัดทำเป็นแบบทดสอบฉบับทดลอง โดยมีคำชี้แจงหรือคำอธิบายวิธีตอบแบบทดสอบ (Direction) และจัดวางรูปแบบการพิมพ์ให้เหมาะสม

3.4.2.7  การทดลองสอบและวิเคราะห์ข้อสอบ การทดลองสอบและวิเคราะห์ข้อสอบเป็นวิธีการตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบก่อนนำไปใช้จริง โดยนำแบบทดสอบไปทดลองสอบกับกลุ่มที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันกับกลุ่มที่ต้องการสอบจริง แล้วนำผลการสอบมาวิเคราะห์และปรับปรุงข้อสอบให้มีคุณภาพ โดยสภาพการปฏิบัติจริงของการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในโรงเรียนมักไม่ค่อยมีการทดลองและวิเคราะห์ข้อสอบส่วนใหญ่นำแบบทดสอบไปใช้ทดสอบแล้วจึงวิเคราะห์ข้อสอบเพื่อปรับปรุงข้อสอบและนำไปใช้ครั้งต่อๆ ไป

3.4.2.8  จัดทำแบบทดสอบฉบับจริง จากผลการวิเคราะห์ข้อสอบหากพบว่าข้อสอบใดไม่มีคุณภาพ หรือมีคุณภาพไม่ดีพอ อาจจะต้องตัดทิ้งหรือปรับปรุงแก้ไขข้อสอบให้มีคุณภาพดีขึ้น แล้วจึงจัดทำเป็นแบบทดสอบฉบับจริงที่จะนำไปทดสอบกับกลุ่มเป้าหมายต่อไป

3.4.3  การวิเคราะห์ข้อสอบ

การวิเคราะห์ข้อสอบชนิดเลือกตอบหลายตัวเลือก ใช้วิธีวิเคราะห์ทางสถิติ มี 3 ประเภท คือ (ระวีวรรณ ชินะตระกูล. 2535, หน้า 234-236)

3.4.3.1  ระดับความยากข้อสอบ

ระดับความยากข้อสอบ หมายถึง ร้อยละของจำนวนคนทั้งหมดที่ตอบข้อสอบนั้นถูกต้อง เช่น ข้อสอบวิชาสถิติและวิจัยการศึกษาข้อหนึ่ง มีคนตอบทั้งหมด 100 คน ปรากฏว่ามีคนตอบถูกเพียง 50 คน ดังนั้นข้อสอบข้อนี้จึงมีระดับความยากเท่ากับ 50 ใน 100 ซึ่งเท่ากับ .50 หรือร้อยละ 50 ถ้าข้อสอบข้อใดมีคนเป็นจำนวนมากหรือทั้งหมดตอบถูก ก็อาจถือว่าข้อสอบนั้นง่ายมาก ในตรงข้าม ถ้าหากมีคนเพียงจำนวนเล็กน้อยตอบถูกหรือไม่มีใครตอบถูกเลย ข้อสอบข้อนั้นก็ยากมาก ระดับความยากของข้อสอบมีค่าตั้งแต่ 0.00 ถึง 1.00 ตัวเลขที่มีค่าต่ำๆ หมายความว่าความยากมาก ส่วนตัวเลขที่มีค่าสูงๆ หมายความว่ามีความง่ายมาก โดยทั่งไปข้อสอบที่มีระดับความยากตั้งแต่ .20 ถึง .80 เป็นข้อสอบที่มีความยากง่ายพอเหมาะ คือไม่ยากจนเกินไป และไม่ง่ายจนเกินไป และข้อสอบทั้งฉบับควรมีระดับความยากเฉลี่ยปานกลางคือ ประมาณ .50

3.4.3.2  อำนาจจำแนกของข้อสอบ

อำนาจจำแนกของข้อสอบ หมายถึง ความสามารถของข้อสอบที่จำแนก หรือแยกให้เห็นความแตกต่างของคนสอบทั้งกลุ่ม เช่น สามารถจำแนกระหว่างคนเก่งวิชา Computer กับคนไม่เก่งวิชา Computer ได้ หรือสามารถจำแนกระหว่างคนที่มีความสามารถพิเศษในการวาดรูป กับคนที่ไม่มีความสามารถวาดรูปได้ อำนาจจำแนกของข้อสอบมีค่าตั้งแต่ -1.00 ถึง +1.00 ข้อสอบที่มีค่าอำนาจจำแนกเข้าใกล้ -1.00 หรือ + 1.00 แสดงว่ามีค่าอำนาจจำแนกสูงมาก ค่าติดลบแสดงว่าจำแนกผิดทางไม่ตรงตามความประสงค์ของผู้สร้างข้อสอบ ค่าบวกแสดงว่าจำแนกได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้สร้างข้อสอบต้องการ ข้อสอบที่มีค่าอำนาจจำแนกเข้าใกล้ 0.00 แสดงว่ามีอำนาจจำแนกต่ำ จำแนกไม่ค่อยได้ หรือจำแนกไม่ได้เลย โดยทั่วไป ข้อสอบที่มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .20 ขึ้นไปถือว่าเป็นข้อสอบที่มีอำนาจจำแนกอยู่ในเกณฑ์ใช้ได้ และถ้ามีค่าตั้งแต่ .40 ขึ้นไป ถือว่าข้อสอบนั้นมีค่าอำนาจจำแนกดีมาก

3.4.3.3  ประสิทธิภาพของตัวลวง

ประสิทธิภาพของตัวลวง หมายถึง ความสามารถของตัวลวงให้คนกลุ่มไม่เก่งมาเลือกตอบมากกว่าคนกลุ่มเก่ง ตัวลวงก็คือตัวเลือกที่ไม่มีคำตอบถูก ตัวลวงที่มีประสิทธิภาพหรือตัวลวงที่ดี คือ ตัวลวงที่มีคนกลุ่มไม่เก่งมาเลือกตอบเป็นจำนวนมาก แต่คนกลุ่มเก่งไม่เลือกหรือมีเพียงบางคนเท่านั้นที่จะเลือกตอบ แต่ถ้าปรากฏว่าคนกลุ่มเก่งเลือกตอบตัวลวงตัวนั้นมากกว่าคนกลุ่มไม่เก่ง เพราะคิดว่าตัวลวงนั้นเป็นคำตอบถูก ตัวลวงนั้นก็ใช้ไม่ได้ ผู้สร้างข้อสอบจะต้องทำการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น วิธีการหาประสิทธิภาพของตัวลวงก็ทำคล้ายกับการหาค่าอำนาจจำแนก คือหาผลต่างระหว่างสัดส่วนสองจำนวน แต่ตัวตั้งและตัวลบให้สลับที่กัน กล่าวคือ เอาค่าสัดส่วนจำนวนผู้เลือกตอบของกลุ่มไม่เก่งเป็นตัวตั้ง แล้วลบด้วยค่าสัดส่วนผู้เลือกตอบของกลุ่มเก่ง เช่น กลุ่มไม่เก่งมีคน 20 คน ได้เลือกตัวลวงนั้น 6 คน ดังนั้นสัดส่วนจำนวนคนเลือกจึงเท่ากับ 6/20 ซึ่งเท่ากับ .30 ส่วนกลุ่มเก่งก็มี 20 คน เช่นกันแต่มาเลือกตัวลวงเพียง 2 คน ดังนั้นสัดส่วนจึงเท่ากับ 2/20 เท่ากับ .10 ฉะนั้น ประสิทธิภาพของตัวลวงตัวนี้จึงเท่ากับ .30-.10 ซึ่งเท่ากับ .20

3.4.4  วิธีวิเคราะห์ข้อสอบ

วิธีวิเคราะห์ข้อสอบ มีขั้นตอนดังนี้ คือ (รวีวรรณ ชินะตระกูล. 2535, หน้า 236-238)

ขั้นที่ 1  ตรวจและให้คะแนนในกระดาษคำตอบเรียบร้อยแล้วนำกระดาษ คำตอบมาเรียงลำดับตามคะแนนรวมสูงสุดไปจนถึงคะแนนรวมต่ำสุด ทั้งนี้เพื่อที่จะทำการแบ่งกลุ่มกระดาษคำตอบออกเป็นกลุ่มที่เก่งและกลุ่มที่ไม่เก่ง กลุ่มที่เก่งคือ กลุ่มที่จะได้คะแนนสูงซึ่งเรียกว่ากลุ่มสูง ส่วนกลุ่มที่ไม่เก่งคือ กลุ่มที่ได้คะแนนต่ำ เรียกว่า กลุ่มต่ำ ซึ่งจำนวนนักเรียนในกลุ่มตัวอย่างควรสูงกว่า 60 คน ถ้ามีจำนวนไม่ถึงร้อยละ 60 หรือน้อยกว่านี้ก็วิเคราะห์ได้ แต่อาจจะใช้เกณฑ์แบ่งแตกต่างกันออกไป ถ้าจำนวนนักเรียนในกลุ่มตัวอย่างยิ่งมากเท่าไร ยิ่งทำให้ผลการวิเคราะห์ข้อสอบนั้นมีความเที่ยงตรงมากขึ้น

ขั้นที่ 2  แบ่งกลุ่มสูงกลุ่มต่ำ โดยมีหลักเกณฑ์ในการแบ่งดังนี้ ถ้ามีกระดาษ คำตอบของผู้เข้าสอบเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป ก็ใช้เทคนิค ร้อยละ 27 คือนับเอากระดาษคำตอบที่ได้คะแนนสูงสุดมากให้ได้ครบร้อยละ 27 ของทั้งหมดเป็นกลุ่มสูงแล้วนับเอาจากคะแนนต่ำสุดขึ้นไปให้ได้ร้อยละ 27 ของทั้งหมดเป็นกลุ่มต่ำ กลุ่มที่เหลือตรงกลางมีร้อยละ 46 ของทั้งหมดอาจจะเอามาใช้หรือไม่ใช้ก็ได้ แต่ถ้าหากผู้เข้าสอบมีจำนวนไม่มากนัก เช่น มีเพียง 60 คน หรือ 40 คน การแบ่งกลุ่มสูง กลุ่มต่ำ อาจจะต้องใช้ประมาณร้อยละ 33 หรือร้อยละ 50 ถ้าผู้วิจัยใช้แบ่งกลุ่มด้วยเทคนิคร้อยละ 27 ค่าสถิติที่คำนวณได้อาจจะมีความคลาดเคลื่อนมากเกินไป หลังจากมีการแบ่งคะแนนออกเป็นกลุ่มที่มีคะแนนสูงกับกลุ่มที่มีคะแนนต่ำเรียบร้อยแล้ว ก็ทำการบันทึกความถี่ของการเลือกตอบทุกตัวเลือกเป็นรายข้อทุกข้อสอบของแต่ละกลุ่ม แล้วคำนวณหาระดับความยาก (P) และค่าอำนาจจำแนก (r) ต่อไป

สูตรที่ใช้คำนวณหาระดับความยากและอำนาจจำแนกของข้อสอบมีดังนี้คือ (บุญชม ศรีสะอาด. 2543, หน้า 81-83)

ก.  การคำนวณหาค่าระดับความยาก

การศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้ ทำให้ทราบถึงการกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพ วิธีการคำนวณหาประสิทธิภาพของสื่อการสอน ขั้นตอนการหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน รวมไปถึงการสร้างแบบทดสอบและการวิเคราะห์คุณภาพของแบบทดสอบเพื่อนำผลของการศึกษาเอกสารนี้มาใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั่นเอง

 

  1. บริบทสังกัดสำนักบริหารงาน คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

1.ประวัติความเป็นมา
      สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (อังกฤษ: Office of the Private Education Commission) เดิมเป็นหน่วยงานระดับกรม ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ใช้ชื่อว่า “สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน” (สช.) ในปี พ.ศ. 2545 ได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุงโครงสร้างกระทวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ทำให้ สช. ถูกยุบรวมเป็นส่วนหนึ่งของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มีภารกิจหลัก คือ การส่งเสริมและประสานงานการจัดการศึกษาเอกชน

  1. ตราสัญลักษณ์ประจำสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

ภาพประกอบที่ 2  ตราสังกัดสำนักบริหารงาน คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

 

  1. ที่อยู่

319 วังจันทร์เกษม ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300

โทร. 0-2628-7000  โทรสาร 0-2282-6942  website : www.opec.go.th

  1. อำนาจหน้าที่

สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง  กระทรวงศึกษาธิการ  มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 ดังต่อไปนี้

  1. เสนอแนะนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนพัฒนาการศึกษาเอกชนต่อคณะกรรมการ
  2. ส่งเสริม สนับสนุนด้านวิชาการ การประกันคุณภาพ การวิจัยและพัฒนาเพื่อประกันคุณภาพการศึกษา
  3. รับผิดชอบการดำเนินงานเกี่ยวกับกองทุน
  4. ดำเนินการจัดสรรเงินอุดหนุนการศึกษาเอกชนตามมาตรการที่คณะกรรมการกำหนดมาตรา 13(4)
  5. เป็นศูนย์ส่งเสริมสนับสนุนข้อมูล และทะเบียนกลางทางการศึกษาเอกชนตลอดจนติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาเอกชน
  6. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
  7. วิสัยทัศน์

สช. จะเป็นองค์กรที่มีศักยภาพสูงในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเอกชน

  1. พันธกิจ
  2. ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเอกชนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
  3. พัฒนาระบบบริหารจัดการและบุคลากรของสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนโดยใช้หลักธรรมาภิบาล
  4. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคคลหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ในการพัฒนาการศึกษาเอกชน
  5. สนับสนุนการจัดการศึกษาเอกชนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้

 

  1. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
  2. งานวิจัยภายในประเทศ

    ผู้วิจัยได้ศึกษางานวิจัยภายในประเทศที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบมัลติมีเดียในด้านต่างๆ ดังนี้

ชาตรี  จำปาศรี (2540, หน้า 54-55) ได้ทำการศึกษาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และเปรียบเทียบคะแนน วิชาทฤษฎีอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น เรื่องการใช้มัลติมีเตอร์ ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ กรมอาชีวศึกษา ที่ได้จากการสอบก่อน การทดลองและหลังการทดลอง มีผลสรุปการวิจัยดังนี้ คือ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีประสิทธิภาพ 85.25/84.32 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้ และเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย ส่วนคะแนนที่ได้จากการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

ปัญญา  จันทร์อิ่ม (2544, หน้า 49) ได้ทำการศึกษาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบมัลติมีเดีย วิชา ช 0325 เขียนแบบเรื่อง ทฤษฎีการสร้างรูปทรงเรขาคณิต ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) มีประสิทธิภาพดังนี้ หน่วยการเรียนที่ 1 เรื่องการสร้างภาพสามมิติรูปไอโซเมตริกมีประสิทธิภาพเท่ากับ 90.00/92.33 หน่วยการเรียนที่ 2 เรื่องการสร้างภาพสามมิติรูปออบลิก มีประสิทธิภาพเท่ากับ 92.67/92.33 หน่วยการเรียนที่ 3 เรื่องการสร้างภาพสามมิติรูปไดเมตริก มีประสิทธิภาพเท่ากับ 92.67/92.33 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้โดยมีประสิทธิภาพของกระบวนการวัดผลจากคะแนนแบบฝึกหัดระหว่างเรียนเฉลี่ยได้เท่ากับ 90.67 และมีประสิทธิภาพของการทดสอบหลังเรียน เมื่อเรียนจบบทเรียนได้เท่ากับ 92.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 ที่กำหนดไว้

ถวิล  เลิกชัยภูมิ (2545, หน้า 58) ได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องศิลปวัฒนธรรม ในกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตอนศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี พบว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีประสิทธิภาพโดยพิจารณาจากผลสัมฤทธิ์หลังเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.92 โดยได้คะแนนหลังเรียนร้อยละ 80.28

ฝากจิต  ชูชมกลิ่น (2545, หน้า 68) ได้ทำการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบมัลติมีเดีย ประกอบชุดฝึกวิชาระบบปฏิบัติการ เรื่องส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) มีผลสรุปดังนี้ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.56/86.60 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 และมีค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเท่ากับร้อยละ 61

อเนก  ประดิษฐ์พงษ์ (2545, บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษาวิจัยการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่ายอินเทอรเน็ต เรื่องชีวิตและวิวัฒนาการสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้คือ ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 82.92/82.33 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (P=.000) และเมื่อพิจารณาผลสัมฤทธิ์ที่วัดในแต่ละด้านทั้งด้านความรู้ ความจำ ด้านความเข้าใจและด้านการนำไปใช้ คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงขึ้นในทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นอกจากนี้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (P=.000) และเมื่อพิจารณาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่วัดในแต่ละด้าน ทั้งด้านการสังเกต การลงความคิดเห็นจากข้อมูล การพยากรณ์และด้านการตั้งสมมติฐาน คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงขึ้นในทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ธิดา  รัตนสมบัติ (2546, หน้า 72) ได้ทำการวิจัยเพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาอิสระได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 2/1 ในที่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2545 ผลการศึกษาอิสระปรากฏว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 72.33 ซึ่งหมายความว่า ผู้เรียนทำคะแนนทดสอบหลังเรียนได้ ร้อยละ 72.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (ร้อยละ 60) และใช้เวลาในการเรียนเฉลี่ย 42.00 นาที นักเรียนมีความคิดเห็นสอดคล้อง กันในระดับมากที่สุดว่า เนื้อหาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ จัดลำดับเนื้อหาในบทเรียน ได้เหมาะสมและเสียงบรรยายฟังเข้าใจง่าย

ประสาร  สาระวิถี (2547, หน้า 76) ได้ศึกษาการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์สาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ค้นคว้า คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2546 เครื่องมือประกอบด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ จำนวน 4 หน่วยการเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบอิงเกณฑ์ จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.87 และความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.88 แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียน จำนวน 15 ข้อ ค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 4.53 ถึง 8.47 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 ผลการศึกษาปรากฏว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 84.07/83.23 ดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7282 และความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ อยู่ในระดับมากที่สุด

พงษ์วิภา  ปัญญารมย์ (2549, หน้า 130) ได้ทำการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบมัลติมีเดีย สาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เรื่องคำนาม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลสาสนศิษย์อำนวย จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย สาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เรื่องคำนาม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดเจตคติต่อการเรียนรู้ ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.69/83.75 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว คือ 80/80 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และนักเรียนมีเจตคติต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01

ประสิทธิ์ คลังบุญครอง (2550:บทคัดย่อ) ที่ทำการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผลการวิจัยพบว่ามีประสิทธิภาพ 80.32/81.28 ซึ่งแสดงว่ามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

นายโรจนฤทธิ์  จันนุ่ม (2551:84) ศึกษาวิจัยเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง ฮาร์ดแวร์และเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่ามีประสิทธิภาพ 80.67/81.33 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 ทั้งนี้เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้นมีการออกแบบที่ใช้งานง่าย ใช้ภาษาการสื่อสารที่ชัดเจน มีรูปภาพประกอบ นักเรียนจึงมีความสนใจและนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง ฮาร์ดแวร์และเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้เป็นเพราะ การสอนโดยใช้ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทำให้นักเรียนมีความสนใจในบทเรียนมากขึ้น มีความตั้งใจในการ เรียนรู้ มีความสนุกสนานในการเรียน ผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย สอนได้ตลอดเวลา

สิทธิพร ประทุม (2552:102) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีประสิทธิภาพ 83.60/81.75 สรุปได้ว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ 80/80

วันดี ภิญญมิตร์ (2552:91)การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจใน การเรียนวิชาภาษาไทย เรื่องประโยคเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่ม พบว่า E1/E2 = 80.29/82.05 ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่องประโยคเพื่อการสื่อสาร กลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

จากที่ได้ศึกษาเอกสารงานวิจัยในประเทศ สามารถสรุปได้ว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ช่วยลดเวลาในการเรียนการสอน และช่วยให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อบทเรียนและวิชานั้นๆ ผู้เรียนได้รับความสนุกสนาน เพลิดเพลินในขณะเรียน ไม่เกิดความเบื่อหน่าย อีกทั้งยังช่วยให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาความรู้ได้ด้วยตัวเองอย่างต่อเนื่อง เป็นผลทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. งานวิจัยต่างประเทศ

    ผู้วิจัยได้ศึกษางานวิจัยต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบมัลติมีเดียในด้านต่างๆ ดังนี้

รัทเธอร์ฟอร์ด (Rutherford. 2000, P. 1482-A) ได้ศึกษาการประเมินผลวิธีการจัดการเรียนการสอน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ในการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ผลการประเมินประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ในการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ นั้นยังไม่มีความชัดเจนนัก ดังนั้นในการวิจัยครั้งนี้ จึงเป็นการสำรวจเพิ่มเติมในเรื่องผลกระทบของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ที่มีต่อนักเรียนประเภทที่แตกต่างกัน ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนในกลุ่มที่ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีการจำแนกตามเพศเชื้อชาติ และระดับการเรียนการพัฒนาผลคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับนักเรียนในกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีการบรรยาย ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงสามารถกล่าวได้ว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) สามารถทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการจัดเรียนการสอนแบบปรับปรุงที่สามารถสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การสอนที่เลือกไว้สำหรับการสอนเนื้อหาสาระเฉพาะและเหมาะสมกับนักเรียนที่มีประเภทต่างกัน และมีการประเมินสื่อการสอนควบคู่ไปกับการประเมินวิธีการสอนด้วย

สเตอร์ลิง (Sterling. 2002, P. 2044-A) ได้ศึกษาเพื่อหาทางสร้างเค้าโครงกระบวนการออกแบบและการใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์ของนักศึกษา คือการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วย ซึ่งนำนักศึกษาไปสู่ความเข้าใจรูปแบบของดนตรีได้ดีขึ้น วิธีการศึกษาใช้การสังเกตรูปแบบและชั้นเรียนที่ทำการวิเคราะห์เป็นเวลา 2 ปี ณ มหาวิทยาลัยแห่งเมรีแลนด์ ควบคู่ไปกับการตรวจสอบรูปแบบและตำราวิเคราะห์ที่ช่วยสนับสนุนการออกแบบการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วย การศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นผลของการสังเกตนักศึกษาเหล่านี้ ตลอดจนการเก็บสะสมคำนิยามที่ใช้ภายในโปรแกรมการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วย ผลการศึกษาพบว่าโปรแกรมนี้สามารถช่วยให้นักศึกษาเป็นจำนวนมากเข้าใจรูปแบบของดนตรีได้

จากที่ได้ศึกษาเอกสารงานวิจัยต่างประเทศ จะเห็นได้ว่ามีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยสอนอย่างแพร่ในต่างประเทศ จึงกล่าวได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นสื่อการสอนที่ทรงคุณค่าชนิดหนึ่งสมควรที่จะมีการส่งเสริมให้มีการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

จากงานวิจัยทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ จะเห็นได้ว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพต่อการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีและดีกว่าการสอนปกติ จะเห็นได้จากผลที่เกิดจากการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอน ซึ่งพบว่าการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์จะทำให้ผู้เรียนได้รับผลการเรียนรู้สูงกว่าตามปกติ และยังทำผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียน หรือต่อวิชาที่เรียนมีความคงทนในการจำตลอดสร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนได้เป็นอย่างดีและยังพบว่าการบทเรียนคอมพิวเตอร์ใช้เวลาในการเรียนอย่างน้อยกว่าการสอนโดยครู ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าได้นำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์และสื่ออื่นๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่นักเรียนและผู้สนใจต่อไป

 

  1. กรอบแนวคิดในการวิจัย

ผู้วิจัยได้ค้นคว้าและปรับปรุงแนวคิดในการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนจันทรวิทยาดังนี้

                 ภาพประกอบที่ 3  กรอบแนวคิดในการวิจัย

บทที่ 3

วิธีดำเนินการวิจัย

ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนจันทรวิทยา โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้

  1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
  2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
  3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
  4. การวิเคราะห์ข้อมูล
  5. สถิติที่ใช้ในการวิจัย

ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย

ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนโรงเรียนจันทรวิทยา ที่เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2559  1 ห้องเรียน จำนวน 35 คน เนื่องจากในการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผู้วิจัยได้ใช้สื่อการเรียนรู้ประกอบการจัดกิจกรรมหลายประเภท เช่น ใบความรู้ เอกสาร คู่มือการเรียนรู้ พบว่าสื่อเดิมยังไม่ตอบสนองต่อผู้เรียน ทำให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไม่บรรลุผลตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งผู้วิจัยจึงนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาประยุกต์ใช้ในระบบการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น

 

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ประกอบด้วย 2 ประเภทคือ

  1. เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

  1. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยีสำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งจะเป็นแบบทดสอบวัดความรู้ ความจำ ความเข้าใจ และการนำไปใช้แก้ปัญหา ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบเลือกตอบ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ

 

ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง

การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผู้วิจัยดำเนินการสร้างตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. ศึกษาเอกสารงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เพื่อนำมาใช้ในการออกแบบและสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
  2. ศึกษาเนื้อหาสาระการเรียนรู้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2551) ในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
  3. ศึกษาผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
  4. กำหนดจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมของบทเรียน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  5. กำหนดเนื้อหาของบทเรียน โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นเรื่องตามลำดับ เพื่อนำมาสร้างเป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งอยู่ในหน่วยการเรียนรู้ที่ 5  เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มี 2 กิจกรรม ดังนี้

กิจกรรมที่ 1  ข้อมูลและประโยชน์ของข้อมูล

กิจกรรมที่ 2  การประมวลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ

  1. ออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ให้ครอบคลุมเนื้อหาและถูกต้องตามหลักการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน รูปแบบของบทเรียนเป็นกรอบอธิบายข้อมูลเนื้อหาด้านอักษร ภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว มาจัดเรียงและเชื่อมโยงบทเรียนให้สามารถทำงานได้ต่อเนื่อง นักเรียนโต้ตอบกับบทเรียน และมีการสรุปรายงานผลคะแนนให้นักเรียนทราบ
  2. เสนอบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างเสร็จ ไปให้อาจารย์ประจำหลักสูตร ป.บัณฑิตวิชาชีพครูดูเพื่อขอคำแนะนำและนำมาปรับปรุงแก้ไข
  3. นำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่แก้ไขปรับปรุงแล้วไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา 3 ท่านตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหา ภาษา และกิจกรรม และให้ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีการศึกษา 3 ท่าน ตรวจสอบเกี่ยวกับเทคนิคการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยให้ตอบแบบประเมินซึ่งเป็นคำถามแบบมาตราส่วนประมาณค่าชนิด 5 ระดับ (Rating Scale) มีค่าน้ำหนักคะแนน ตั้งแต่ 1-5 ผู้วิจัยกำหนดค่าเฉลี่ย ระดับความคิดเห็นเป็น 5 ระดับคือ

ระดับ 5                หมายถึง          เหมาะสมมากที่สุด

ระดับ 4                 หมายถึง          เหมาะสมมาก

ระดับ 3                หมายถึง                    เหมาะสมปานกลาง

ระดับ 2                หมายถึง          เหมาะสมน้อย

ระดับ 1                หมายถึง          เหมาะสมน้อยที่สุด

เกณฑ์ในการแปลความหมายคะแนนเฉลี่ย มีดังนี้ (ชูศรี วงศ์รัตนะ 2537 : 85)

ค่าเฉลี่ย                 4.51 – 5.00      หมายถึง คุณภาพดีมาก

ค่าเฉลี่ย                 3.51 – 4.50     หมายถึง          คุณภาพดี

ค่าเฉลี่ย                 2.51 – 3.50     หมายถึง          คุณภาพพอใช้

ค่าเฉลี่ย                 1.51 – 2.50     หมายถึง          คุณภาพต้องปรับปรุง

ค่าเฉลี่ย                 1.00 – 1.50     หมายถึง          คุณภาพใช้ไม่ได้

โดยค่าเฉลี่ยที่ได้นั้นต้องมีค่าตั้งแต่ 3.51 ขึ้นไป

  1. ปรับปรุงบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ตามที่ผู้เชี่ยวชาญเสนอแนะ
  2. นำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่ได้รับการปรับปรุงแล้วไปทดลอง (Try out) กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนจันทรวิทยา ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง และไม่เคยเรียนเรื่องนี้มาก่อน โดยดำเนินการดังนี้

10.1  การทดลองครั้งที่ 1  เป็นการทดลองกลุ่มรายบุคคล กับนักเรียน 3 คน ประกอบด้วยนักเรียนเก่ง ปานกลาง อ่อน เป็นการหาข้อบกพร่องของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในด้านต่างๆ เช่น ความชัดเจนของการนำเสนอเนื้อหา ความชัดเจนของภาษา ความคมชัดของตัวอักษรและรูปภาพ และการโต้ตอบกับเครื่องคอมพิวเตอร์

10.2  การทดลองครั้งที่ 2  เป็นการทดลองกลุ่มย่อย กับนักเรียน 15 คน ประกอบด้วยนักเรียนเก่ง 5 คน  ปานกลาง 5 คน  อ่อน 5 คน  โดยนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ผ่านการปรับปรุงจากการทดลองครั้งที่ 1 แล้ว ไปให้นักเรียนเรียนเพื่อหาแนวโน้มประสิทธิภาพของบทเรียนและเป็นการตรวจสอบหาข้อบกพร่องต่างๆ เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข

10.3  การทดลองครั้งที่ 3 เป็นการทดสอบกลุ่มใหญ่ นักเรียน 30 คน มีผลการเรียนคละกัน เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนให้ได้ตามเกณฑ์ 80/80

จากขั้นตอนการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ข้างต้นสามารถสรุปได้ดังแผนภูมิที่ 5

ภาพประกอบที่ 4 ขั้นตอนการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เพื่อใช้วัดด้านเนื้อหาในแต่ละตอนภายหลังเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ดำเนินการดังนี้

  1. ศึกษาเนื้อหาและวิธีการสร้างแบบทดสอบ การเขียนข้อสอบ การวิเคราะห์ข้อสอบ
  2. วิเคราะห์เนื้อหาสาระการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
  3. สร้างตารางวิเคราะห์เนื้อหา เป็นพฤติกรรมที่จะวัดเป็น 3 ด้าน ตามทฤษฎีของบลูม (Benjamin S. Bloom) คือ ด้านความรู้ความจำ ความเข้าใจ และการนำไปใช้แก้ปัญหา
  4. สร้างแบบทดสอบแต่ละกิจกรรมให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหา เป็นแบบ 4 ตัวเลือก รวม 20 ข้อ กิจกรรมละ 10 ข้อ
  5. นำแบบทดสอบที่สร้างขึ้น จำนวน 20 ข้อ ไปปรึกษาอาจารย์ประจำหลักสูตร ป.บัณฑิตวิชาชีพครู เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา และความเหมาะสมของข้อคำถาม แล้วนำไปปรับปรุงแก้ไข
  6. นำแบบทดสอบที่ปรับปรุงแล้วเสนอผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา 3 ท่าน เพื่อหาความสอดคล้อง IOC ของแบบทดสอบ เกณฑ์ดัชนีความสอดคล้องที่กำหนดไว้ต้องมีค่าตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป จึงถือว่าเป็นแบบทดสอบที่มีความสอดคล้องที่จะนำไปใช้ได้
  7. ปรับปรุงแก้ไขตามที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ แล้วนำไปทดสอบกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนจันทรวิทยา ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ที่เรียนเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาแล้ว
  8. นำผลแบบทดสอบมาตรวจให้คะแนน ตอบถูกให้ 1 คะแนน และตอบผิดหรือไม่ตอบ หรือตอบมากกว่า 1 ตัวเลือกให้ 0 คะแนน
  9. นำคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าความยากง่าย(P) และค่าอำนาจจำแนก(r) ของแบบทดสอบเป็นรายข้อ โดยใช้เทคนิค 50% ของจุง เตห์ฟาน (Chung Tehfan)
  10. เลือกข้อสอบที่มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.20-0.80 และมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไป เป็นข้อสอบที่ใช้ในการทดสอบจริง จำนวน 20 ข้อ กิจกรรมละ 10 ข้อ
  11. หาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบโดยใช้สูตร KR-20 ของ คูเดอร์ – ริชาร์ดสัน(Kuder and Richardson) (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ 2538 : 197) ซึ่งค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ คือ 0.91

 

ภาพประกอบที่ 5 ขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

การเก็บรวบรวมข้อมูล

แบบแผนการทดลอง

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) โดยใช้แผนการทดลอง แบบ One Group Pretest-Posttest Designโดยจัดให้มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดยมีแผนภูมิดังนี้(ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ 2538, หน้า 249)

 

ตารางที่ 4 แบบแผนการทดลอง

 

สอบก่อน ทดลอง สอบหลัง
T 1 X T 2

 

เมื่อ      T 1      แทน    การทดสอบก่อนเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

X        แทน    การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

T 2      แทน    การทดสอบหลังเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

 

วิธีดำเนินการวิจัย

ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง มีขั้นตอนการเก็บรวมรวมข้อมูลดังนี้

  1. 1. นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ไปทดสอบก่อนเรียน (Pretest) นักเรียนจะใช้เวลาในการทำแบบทดสอบ 30 นาที
  2. แนะนำการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแก่นักเรียน ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหา 2 กิจกรรม ในกิจกรรมประกอบด้วยเนื้อหาบทเรียน แบบฝึกหัด นักเรียนจะต้องเรียนเนื้อหาบทเรียนให้เข้าใจ แล้วจึงทำแบบฝึกหัด และทำแบบทดสอบเป็นลำดับสุดท้าย เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ โดยกำหนดให้นักเรียนเรียนเนื้อหาในกิจกรรมที่ 1 จากนั้นทำแบบฝึกหัดของกิจกรรมที่ 1 เสร็จแล้วจึงเรียนเนื้อหาในกิจกรรมถัดไปแล้วทำแบบฝึกหัดประจำกิจกรรม ทำเช่นนี้ต่อไปตามลำดับจนครบทั้ง 2 กิจกรรม
  3. ให้นักเรียนเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
  4. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน โดยทันทีที่เรียนเนื้อหาจบ ซึ่งเป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฉบับเดียวกันกับการสอบก่อนเรียน
  5. นำคะแนนก่อนเรียน (Pretest) มาเปรียบเทียบกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (Posttest) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปโดยใช้สูตร t-test เพื่อทำการทดสอบสมมุติฐาน

 

การวิเคราะห์ข้อมูล

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้

  1. วิเคราะห์การประเมินคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้ค่าเฉลี่ย (x̄) แล้วนำค่าเฉลี่ยไปเทียบกับเกณฑ์การประเมินสื่อของไชยยศ เรืองสุวรรณ (ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2548, หน้า 138) ในการวิเคราะห์ครั้งนี้ถือค่าเฉลี่ยตั้งแต่ระดับดีขึ้นไปจึงจะถือว่าผ่านเกณฑ์ต้องมีการแก้ไขปรับปรุง โดยมีเกณฑ์ดังนี้

ค่าเฉลี่ย                   ระดับความคิดเห็น

           4.51 – 5.00                     ดีมาก

3.51 – 4.50                     ดี

2.51 – 3.50                     พอใช้

1.51 – 2.50                     ต้องปรับปรุง

1.00 – 1.50                     ใช้ไม่ได้

 

  1. วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยวิธีการหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและร้อยละของค่าเฉลี่ยของคะแนนที่ได้จากการทำแบบฝึกหัด และร้อยละของค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
  2. การหาคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดังนี้ (ยุทธ  ไกยวรรณ์. 2545, หน้า 158 – 173)

3.1  หาดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับพฤติกรรมที่ต้องการวัด โดยหาค่าเฉลี่ยการประเมินของผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด โดยใช้สูตร IOC

3.2  หาค่าความยาก (P) และอำนาจจำแนก (r) ของแบบทดสอบแต่ละข้อ โดยการตรวจให้คะแนน โดยข้อที่ตอบถูกให้ 1 คะแนน ข้อที่ตอบผิดหรือไม่ตอบให้ 0 คะแนน ซึ่งมีค่าความยากตั้งแต่ 0.20 – 0.80 และค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 – 1.00

3.3  หาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ โดยใช้สูตร KR-20 ของคูเดอร์- ริชาร์ดสัน (Kuder Richardson) พบว่าได้ค่าความเที่ยงของแบบทดสอบเท่ากับ 0.92

  1. หาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยการเปรียบเทียบคะแนนจากการทำแบบทดสอบระหว่างเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (E1/E2)
  2. 5. วิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจากคะแนนการทำแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและคะแนนการทำแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์หลังเรียน โดยใช้ t-test ชนิด (Dependent Samples)

 

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

  1. สถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

   

 

 

  1. สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพของแบบทดสอบ

    หาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Validity) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้สูตรค่าเฉลี่ยดัชนีความสอดคล้อง IOC ดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด 2535, หน้า 60)

 

เมื่อ  IOC  แทน    ดัชนีความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์กับเนื้อหาหรือ

ระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์

∑R   แทน    ผลรวมคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด

N    แทน    จำนวนผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด

 

 

  1. สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานของคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียน ใช้สูตร t-test (Dependent Samples) มีสูตรดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด 2545, หน้า 112)

 

เมื่อ   t แทน    ค่าสถิติที่จะใช้เปรียบเทียบกับค่าวิกฤต

D แทน    ค่าผลต่างระหว่างคู่คะแนน

n แทน    จำนวนกลุ่มตัวอย่างหรือจำนวนคู่คะแนน

 

  1. การหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ตามเกณฑ์ 80/80 โดยใช้สูตร E1/E2 ใช้สถิติดังนี้ (มนต์ชัย  เทียนทอง. 2543, หน้า 225)

 

เมื่อ    E1     แทน       ประสิทธิภาพของแบบทดสอบระหว่างเรียน

E2          แทน    ประสิทธิภาพของแบบทดสอบท้ายบทเรียน

∑X         แทน    คะแนนรวมของผู้เรียนระหว่างบทเรียน

∑Y         แทน    คะแนนรวมของผู้เรียนท้ายบทเรียน

A แทน    คะแนนเต็มรวมระหว่างบทเรียน

B แทน    คะแนนเต็มรวมท้ายบทเรียน

N แทน    จำนวนนักเรียนทั้งหมด

บทที่ 5

สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนจันทรวิทยา โดยมีลำดับการวิจัย สรุปได้ดังนี้

  1. สรุปผลวิจัย
  2. การอภิปรายผล
  3. ข้อเสนอแนะ

 

สรุปผลการวิจัย

ผลจากการดำเนินการวิจัยเรื่องการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนจันทรวิทยา สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้

  1. วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งผลการทดลองครั้งนี้พบว่า ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีค่าเท่ากับ 82/81 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
  2. วิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

อภิปรายผล

ผลจากการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สามารถอภิปรายผลได้ดังนี้

  1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้โดยมีค่าประสิทธิภาพเฉลี่ยเป็น 82/81 ซึ่งมีค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์สูงกว่าค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ ทั้งนี้เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้นมีการออกแบบที่ใช้งานง่าย ใช้ภาษาการสื่อสารที่ชัดเจน มีการเรียงลำดับเนื้อหาจากง่ายไปหายาก มีการเรียงลำดับขั้นตอนในการนำเสนอมีรูปภาพประกอบ ภาพเคลื่อนไหว เสียงและมีแบบทดสอบประจำกิจกรรมที่น่าสนใจ รวมทั้งเนื้อหาทั้ง 2 กิจกรรมที่นำมาเป็นเนื้อหาที่นักเรียนยังไม่เคยศึกษามาก่อนนักเรียนจึงเกิดแรงกระตุ้นอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จึงทำให้นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้จากแต่ละกิจกรรมการเรียนนำมาเชื่อมโยงความรู้ได้อย่างต่อเนื่อง
  2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้เป็นเพราะ การสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทำให้นักเรียนมีความสนใจในบทเรียนมากขึ้น มีความตั้งใจในการเรียนรู้ มีความสนุกสนานในการเรียน ผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้ตลอดเวลา ซึ่งในแต่ละครั้งจะมีผลตอบกลับในทันที อีกทั้งยังมีภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวและการเคลื่อนไหวของหน้าจอนำเสนออย่างต่อเนื่องสัมพันธ์กับเสียงช่วยเพิ่มความเร้าใจในการเรียน จึงส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

 

ข้อเสนอแนะ

  1. ข้อเสนอแนะในการนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้

1) ก่อนที่จะนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้ ควรมีการแนะนำให้นักเรียนเข้าใจวิธีการเรียนก่อน เพื่อนักเรียนจะได้ไม่เกิดความสับสนหรือไม่เข้าวิธีเรียนอาจส่งผลให้นักเรียนไม่ประสบผลสำเร็จในการเรียนได้

2) เครื่องคอมพิวเตอร์ที่นำเสนอบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ควรเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถรองรับการทำงานของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนขึ้นได้ เพื่อที่การนำเสนอบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นไปด้วยความราบรื่น และไม่ทำให้ผู้เรียนหมดความสนใจ

3) ก่อนที่จะนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้ ควรเตรียมแผ่นโปรแกรมให้พร้อมเพื่อง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน

4) เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการนำเสนอบทเรียนควรมีการต่อลำโพง หรือหูฟังให้กับนักเรียนด้วย เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนชุดนี้มีเสียงบรรยายประกอบบทเรียนและมีเสียงป้อนกลับเมื่อผู้เรียนทำกิจกรรมการเรียน

  1. ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป

1) ควรพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในเรื่องอื่นในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี และกลุ่มสาระอื่นๆ เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพ

2) ควรมีการวิจัยติดตามผลประเมินการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อไป

3) ควรมีการนำเสนอบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผ่านทางเว็บไซต์ เพื่อจะช่วยเผยแพร่บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนให้แพร่หลายมากขึ้น

บรรณานุกรม

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่  10 (พ.ศ.

2550 – 2554). กรุงเทพฯ, 2540.

ฉลอง  ทับศรี. เอกสารประกอบการฝึกอบรมการพัฒนา CAI ด้วยมัลติมีเดีย. กรุงเทพฯ : ภาควิชา

เทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2535.

ไชยยศ  เรืองสุวรรณ. การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์และบทเรียนเครือข่าย. มหาสารคาม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสารคาม, 2546.

ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงาน. การปฏิรูปการศึกษา. เอกสารประกอบการบรรยายในการ

ประชุมชี้แจงทิศทางและมาตรการในการขัดเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา สำนักงาน

ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ; 4 สิงหาคม 2548; กรุงเทพฯ.  กรุงเทพฯ : สำนักงาน

ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2548

ยืน  ภู่วรวรรณ. “การใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ช่วยในการเรียนการสอน,” ไมโครคอมพิวเตอร์. 36 :

120-129 ; กุมภาพันธ์, 2531.

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. พิมพ์ครั้งที่

  1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2545.

ก่อเกียรติ  ขวัญสกุล. “สื่อการศึกษาในประเทศไทยกับการวิจัยและพัฒนา”. สุทธิปริทัศน์, 12(38),

2541.

กิดานันท์  มลิทอง. เทคโนโลยีทางการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย, 2540.

_______. เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,

2543.

_______. เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2548.

เกรียงศักดิ์  หงส์ชุมแพ. มาตรฐานอินเทอร์เน็ตและโปโตรคอล. กรุงเทพฯ : สามย่าน, 2544.

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540–

2544). กรุงเทพฯ, 2540.

_______. สำนักงาน. แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่  10 (พ.ศ.2550 – 2554). กรุงเทพฯ,

2540.

ครรชิต  มาลัยวงศ์. ไมโครคอมพิวเตอร์กับการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์กรมการศาสนา,

2530.

_______. ฉลาดสร้าง ฉลาดซื้อ ฉลาดใช้ CAI เพื่อเด็กไทย. เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการ

เรื่อง เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ในทศวรรษหน้า; 23-25 กันยายน 2542; สงขลา.

สงขลา : ม.ป.พ., 2542.

_______. รายงานสำรวจสถานภาพความพร้อมในการใช้งานคอมพิวเตอร์และระบบอินเทอร์เน็ต

ของโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศ. กรุงเทฯ : สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติ,

2544.

ฉลอง  ทับศรี. “ซี เอ ไอ เป็นไปได้ไหมกับเมืองไทย” วารสารรามคำแหง. 15, 3 (สิงหาคม 2535) :

1-2.

_______. เอกสารประกอบการฝึกอบรมการพัฒนา CAI ด้วยมัลติมีเดีย. กรุงเทพฯ : ภาควิชา

เทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2535.

ชัยณรงค์  เพ็ชรเอี่ยม. ศึกษาการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการเรียนการสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา

สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรม มหาบัณฑิต

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2541.

ชัยยงค์  พรหมวงศ์.  เอกสารการสอนชุดวิชา 20301 เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. กรุงเทพฯ :

สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช, 2523.

ชาตรี  จำปาศรี. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาทฤษฎีอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น เรื่องการใช้

มัลติมิเตอร์ ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ กรมอาชีวศึกษา. ปริญญานิพนธ์ ค.ม.

กรุงเทพฯ : ภาควิชาโสตทัศนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540.

ชูเกียรติ  โพธิ์มั่น. “คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา”. ครุสารเทพสตรี 2(1) : กรุงเทพฯ, 2551.

เชวง  สมทรัพย์. ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์

ของวิทยาลัยการอาชีพในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนใต้. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรม

มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2543.

ไชยยศ  เรืองสุวรรณ. เทคโนโลยีการศึกษา : ทฤษฎีและการวิจัย. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์,

2533.

_______. เทคโนโลยีการศึกษา ทฤษฎีและการวิจัย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2537.

_______. เอกสารประกอบการบรรยาย รายวิชา การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย

สอน. มหาสารคาม : ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยสารคาม, 2545.

_______. การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์และบทเรียนเครือข่าย. มหาสารคาม : คณะ

ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสารคาม, 2546.

_______. เอกสารประกอบการบรรยาย วิชา 0503860 การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน.

มหาสารคาม : ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย

สารคาม, 2546.

_______. คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา : เอกสารประกอบการศึกษา (คู่มือเรียน) รายวิชา 0503760.

พิมพ์ครั้งที่ 7. มหาสารคาม : ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยสารคาม, 2547.

_______. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์. พิมพ์ครั้งที่ 9. มหาสารคาม : ภาควิชาเทคโนโลยีและ

สื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสารคาม, 2548 ก.

ฐาปนีย์  ธรรมเมธา. แนวคิดการจัดการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์. (ออนไลน์). แหล่งที่มา :

http://www.kroobannok.com/142, 2560.

 

 

ถนอมพร  เลาหจรัสแสง. หลักการออกแบบและการสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยโปรแกรม

Multimedia Toolbook. กรุงเทพฯ : ภาควิชาโสตทัศนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย, 2541.

_______. “แนวโน้มและบทบาทของเทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต,” วารสารศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยนเรศวร. 2,3 (มกราคม-เมษายน 2541) : 11-13.

ถวิล  เลิกชัยภูมิ. การผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องศิลปวัฒนธรรมในกลุ่มสร้างเสริม

ประสบการณ์ชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตอนศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี.

วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2545.

ทักษิณา  สวนานนท์. คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2530.

ธวัช  วันชูชาติ. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการจำแนกคำในภาษาไทย สำหรับ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. นครสวรรค์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 2546.

ธิดา รัตนสมบัติ. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบ

เครือข่ายคอมพิวเตอร์. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย

มหาสารคาม, 2546.

นิศานต์  บุณยาภรณ์. การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชางานเชื่อมโลหะแผ่น เรื่องทฤษฎี

งานเชื่อมแก๊ส ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2535 กรมอาชีวศึกษา.

ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒ, 2542.

บุญชม  ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น, 2535.

_______. วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น, 2543.

_______. วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น, 2545.

_______. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น, 2543.

_______. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น, 2545.

บุญสืบ พันธุดี. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน วิชาชีววิทยา ระดับชั้น มัธยมศึกษาตอน

ปลาย. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด.(เทคโนโลยีการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2537.

บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2.

กรุงเทพฯ : สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน, 2552.

ประสาร  สาระวิถี. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์สาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง

คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2547.

ประสิทธิ์  คลังบุญครอง. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์แบบมัลติมีเดีย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงาน

อาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2550.

 

ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงาน. การปฏิรูปการศึกษา. เอกสารประกอบการบรรยายในการ

ประชุมชี้แจงทิศทางและมาตรการในการขัดเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา สำนักงาน

ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ; 4 สิงหาคม 2548; กรุงเทพฯ.  กรุงเทพฯ : สำนักงาน

ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2548

ปัญญา  จันทร์อิ่ม. การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบมัลติมีเดีย วิชา ช 0325 เขียนแบบ

เรื่องทฤษฎีการสร้างรูปทรงเรขาคณิต ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521

(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533). ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ, 2544.

เปรื่อง  กุมุท และทิพย์เกสร  บุญอำไพ. “แนวคิดการวิจัยเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา”.

ประมวลผลสาระชุดวิชาการวิจัยเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาหน่วยที่ 8-10. กรุงเทพฯ :

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2536.

ฝากจิต  ชูชมกลิ่น. การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบมัลติมีเดีย ประกอบชุดฝึกวิชา

ระบบปฏิบัติการ เรื่อง ส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ สำหรับนักศึกษาระดับ

ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) การศึกษาค้นคว้าอิสระ. กศ.ม. มหาสารคาม :

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2545.

พงษ์วิภา  ปัญญารมย์. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เรื่อง

คำนาม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต: สกลนคร. มหาวิทยาลัย

ราชภัฏสกลนคร, 2549.

พัชรี  พลาวงค์. “การเรียนด้วยตนเอง,” วารสารรามคำแหง (ฉบับพิเศษพัฒนาบุคลากร). 2536.

พิชิต  ฤทธิ์จรูญ. หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏพระนคร, 2544.

ไพโรจน์  ตีรณธนากุล. ไมโครคอมพิวเตอร์ประยุกต์ทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริม กรุงเทพ,

2528

มนต์ชัย  เทียนทอง. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย สำหรับฝึกอบรมครู

อาจารย์ และนักฝึกอบรมเรื่องการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. วิทยานิพนธ์วิจัย

และพัฒนาหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2543.

ยืน ภู่วรวรรณ. “การใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ช่วยในการเรียนการสอน,” ไมโครคอมพิวเตอร์. 36 : 120-

129 ; กุมภาพันธ์, 2531.

ยุทธ  ไกยวรรณ์. พื้นฐานการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สุวีริยาสาส์น, 2545.

ระวีวรรณ  ชินะตระกูล. การวิจัยการศึกษา. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบัน

เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 2543.

ราชบัณฑิตยสถาน. ศัพท์คอมพิวเตอร์ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพฯ :

ราชบัณฑิตยสถาน, 2543.

โรงเรียนจันทรวิทยา. หลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี.

กรุงเทพฯ : โรงเรียนจันทรวิทยา, 2557

 

 

โรจนฤทธิ์  จันนุ่ม. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องฮาร์ดแวร์และเทคโนโลยีสื่อสาร

ข้อมูล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต : นครสวรรค์

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 2551.

ล้วน  สายยศ และอังคณา  สายยศ. เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : ภาควิชาการวัดผลและ

วิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2538.

 

_______. เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น, 2539.

เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. สรุปความก้าวหน้าการปฏิรูปการศึกษา 2547. กรุงเทพฯ :

สำนักประเมินผลการจัดการศึกษา, 2548.

วชิระ  อินทร์อุดม. ผลการสรุปเนื้อหาในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและวิธีจัดการเรียนที่มีผลต่อ

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. กรุงเทพฯ : วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ, 2539.

วชิราพร  พุ่มบานเย็น. เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น, 2545.

วรัท  พฤกษากุลนันท์. เข้าถึงได้จาก http://www.edtechno.com/new/index.php เมื่อวันที่ 24

กุมภาพันธ์ 2560.

วารินทร์  รัศมีพรหม. สื่อการสอนเทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอนร่วมสมัย. กรุงเทพฯ : โรง

พิมพ์ชวนพิมพ์, 2531.

วิชาการ, กรม. ความรู้เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดียศึกษา. กรุงเทพฯ : ศูนย์พัฒนาหนังสือกรมวิชาการ

กระทรวงศึกษาธิการ, 2544.

_______. คู่มือการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ :

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2545.

_______. คู่มือการพัฒนาโรงเรียนเข้าสู่มาตรฐานการศึกษา ยุทธศาสตร์ในการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 2.

กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2543.

_______. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ

กระทรวงศึกษาธิการ, 2544.

วุฒิชัย  ประสารสอย. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน : นวัตกรรมเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ :

วี.เจ.พริ้นติ้ง, 2543.

_______. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน : นวัตกรรมเพื่อการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ :

ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี, 2547.

วันดี  ภิญญมิตร์. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจในการเรียนวิชา

ภาษาไทยเรื่องประโยคเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับนักเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่ม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 2552.

ศรีไพร  ศักดิ์รุ่งพงศากุล. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2544.

ศึกษาธิการ, กระทรวง. การปฏิรูปการศึกษา. เอกสารประกอบการบรรยายในการประชุมชี้แจง

ทิศทางและมาตรการในการขัดเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวง

ศึกษาธิการ; 4 สิงหาคม 2548; กรุงเทพฯ.  กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวง

ศึกษาธิการ, 2548.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. หนังสือเรียนวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี

สารสนเทศพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : องค์การค้าคุรุสภา, 2542.

สานนท์  เจริญฉาย. โปรแกรมประยุกต์ด้านการศึกษา (ภาษาเบสิก). กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์,

2533.

สิทธิพร  ประทุม. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและ

เทคโนโลยี เรื่องพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2552.

สิทธิเดช  ไชยทองพันธ์. ศึกษาสภาพการเรียนการสอนวิชาทางด้านคอมพิวเตอร์ สำหรับช่าง

อุตสาหกรรมในระดับประกาศนียบัตรชั้นสูง สาขาวิชาช่างไฟฟ้าของวิทยาลัยเทคนิค

สังกัดกรมอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย

เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2543.

สุกรี  รอดโพธิ์ทอง. “การออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน,” วารสารรามคำแหง. 15, 3

(สิงหาคม 2535) : 40

_______.         “เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการ เรื่องการผลิตและการใช้มัลติมีเดียเพื่อการศึกษา,”

วารสารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538.

สุธี  พงศาสกุลชัย. คัมภีร์ Flash MX 2004 Action Script. กรุงเทพฯ : เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอน

ซัลท์. 2549.

สุรพล  อารีย์กุล. Virtual Classroom. เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการ เรื่อง เทคโนโลยีเพื่อการ

เรียนรู้ในทศวรรษหน้า; 23-25 กันยายน 2542; สงขลา. สงขลา : ม.ป.พ., 2542.

สุเมธ  อิ่มศักดิ์วาสนา และพัชรา  อังคินันท์. มัลติมีเดีย เอกสารประกอบการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ

สอนทางไกล สำหรับผู้ประสานงานวิชาการ อาจารย์ผู้สอนและผู้จัดการรายวิชา. ตาม

โครงการเครือข่ายสารสนเทศเพื่อการพัฒนาการศึกษา, 2539.

เสาวนีย์  สิกขาบัณฑิต. เทคโนโลยีทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สถาบันเทคโนโลยีพระจอม

เกล้าพระนครเหนือ, 2538.

อติพล  มูลอามาตย์. การผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเลขยกกำลัง วิชาคณิตศาสตร์

สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. ขอนแก่น :

มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2544.

อนิรุทธ์  สติมั่น. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียทางอินเทอร์เน็ต เรื่อง การถ่ายภาพ

สำหรับบุคคลทั่วไป. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2542.

อเนก  ประดิษฐ์พงษ์. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่องชีวิต

และวิวัฒนาการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.

กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2545.

อำนวย  เดชชัยศรี. นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ฟิสิกส์เซ็นเตอร์, 2542.

อำนาจ  ช่างเรียน. “ไปศึกษาอบรมต่างประเทศ เรื่องการวิจัยและพัฒนาการศึกษา”, วารสาร

การศึกษา. กรุงเทพมหานคร : 13(4), 24-28, 2538.

Applewhite, Phillip B. Organization Behavior. New York : Prentice Hall, 1965.

Borg, Walter R. and Merideth Damine Gall. Educational Research. New York : Longman,

1989.

Gagne’, Robert M. and Leslie. Briggs. Principle of Instructional Design. New York : Holt,

Rinehart and Winstion, 1984.

Gay, L.R. Educational Research Competencecies for Analysis and Application. 4th ed.

New York : Merrill Publishing Company, 1992.

Morse, Nancy C. Satisfaction in the White Collar Job. Michigan : University of Michigan,

1955.

Rutherford, David James. “Assessing a Computer-Aided Instructional Strategy in

Geographic Education,” Masters Abstracts International. 38(06) : 1482-A ;

December, 2000.

Strauss, George and Leonard R. Sayles. Personnel : the Human Problems of Management. Englewook Cliffs New Jersey : Prentice Hall, 1960.

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ชื่อผลงานทางวิชาการ : บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มสาระ การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี    สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕

ประเภทผลงานทางวิชาการ : งานสร้างสรร

ปีที่พิมพ์งานวิจัย :  ๒๕๖๐

ชื่อเจ้าของผลงานวิชาการ :   นางสาวนฤมล      คงกำเหนิด    ครุศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา)

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ผลการวิจัย  พบว่าภายหลังเมื่อผู้เรียนได้เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแล้วจะมีความสามารถดังนี้

  • บอกความหมายและประโยชน์ของข้อมูลได้
  • จำแนกประเภทของแหล่งข้อมูลได้
  • อธิบายขั้นตอนในการประมวลผลข้อมูลเป็นสารสนเทศำ

รศ.ดร.อำนวย     เดชชัยศรี    บรรณากร      ( คณะกรรมการนักวิชาการโครงการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ)

ดาวน์โหลด

รายละเอียดห้องสมุดเฉพาะ (Special Library)

รายละเอียดห้องสมุดเฉพาะ (Special Library)

นางสาว วรุณรัตน์ คนชื่อ

View Fullscreen

ครูชอบธรรม

 

ดร. ธนภัทร  จันทร์เจริญ*


 

ทําอยํางไรจึงส่งเสริมเด็กไทยก้าวสู่ที่ 1 ในอาเซียน

 

ดร. ธนภัทร  จันทร์เจริญ*


 

               จุดมุ่งหมายสูงสุดในการพัฒนาประเทศของทุกชนชาติก็คือ การก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำ (The Best) และผู้นำที่มีบทบาทอย่างยิ่งต่อนานาอารยประเทศก็คือ ผู้นำทางด้านการศึกษา เพราะการศึกษาถือเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งเป็นต้นทุนทางสังคมให้มีความรู้ ความสามารถ และศักยภาพเพียงพอที่จะส่งต่อแรงขับเคลื่อนไปสู่การพัฒนาประเทศในมิติอื่นๆ ให้เจริญก้าวหน้าต่อไปโดยลำดับได้ ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) และได้รับการยอมรับจากประเทศสมาชิกว่าเป็นผู้นำที่มีศักยภาพและมีบทบาทอย่างมากต่อการดำเนินงานของกลุ่มประเทศในภูมิภาคนี้ ถือเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมยินดีอย่างยิ่ง แต่ในขณะเดียวกันกลับพบว่า คุณภาพการจัดการศึกษาของไทยลดต่ำลงเรื่อยๆ อย่างน่าใจหายเมื่อเทียบกับผลการประเมินในรอบปีที่ผ่านมา ดังจะเห็นได้จากผลการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาทั้งที่ดำเนินการโดยหน่วยงานภายในประเทศ เช่น ผลการสอบ O-Net และหน่วยงานจากต่างประเทศ เช่น ผลการสอบ PISA เป็นต้น กอปรกับข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ได้จากผลการตรวจประเมินคุณภาพสถานศึกษาของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ที่สรุปในภาพรวมว่า ระดับการเรียนรู้ของเด็กไทยในวิชาหลักลดต่ำลง ขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการแก้ปัญหา ฯลฯ นอกจากนี้ (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, ม.ป.ป., น. 6) ผลการประเมินการศึกษาภาพรวมของไทยชี้ให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่ไม่แตกต่างกันมากนักคือ ประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในอันดับเกือบรั้งท้าย ในขณะที่สิงคโปร์มีศักยภาพการศึกษาภาพรวมดีกว่าไทยและประเทศสมาชิกอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นตัวชี้วัดที่แสดงให้เห็นถึงระดับคุณภาพการจัดการศึกษาของประเทศไทยทั้งสิ้น ประเด็นสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องฉุคิดก็คือ รัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ องค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางการศึกษาต่างก็มุ่งส่งเสริมและพยายามที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวตามแนวคิดและรูปแบบวิธีการต่างๆ ต่อเนื่องกันมาโดยตลอด แต่เหตุใดผลการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาของไทยจึงยังคงไม่บรรลุผลตามที่คาดหวังไว้

               การพัฒนาประเทศให้สามารถก้าวเข้าสู่การแข่งขันในเวทีประชาคมอาเซียนได้นั้น สิ่งสำคัญ คือ ต้องพัฒนากระบวนการศึกษาของชาติให้มีมาตรฐานทางวิชาการในระดับสากล (International Standard) ให้ได้ก่อน เพราะการศึกษาจะเป็นเครื่องมืออันสำคัญที่จะช่วยพัฒนาคนให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพเพื่อที่จะสามารถพัฒนาสังคมให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไปอย่างยั่งยืน อีกทั้งจะสามารถนำพาประเทศชาติก้าวพ้นเวทีการแข่งขันในระดับต่างๆ ได้อีกด้วย การพัฒนาคุณภาพการศึกษาจึงถือเป็นรากฐานสำคัญที่จะพัฒนาคุณภาพคนไทยให้มีศักยภาพก้าวไกลไปสู่มาตรฐานสากล โดยเฉพาะการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งถือเป็นพื้นฐานสำคัญของชีวิตในอนาคตของเด็กและเยาวชน โดยเหตุนี้การปฏิรังสรรค์การศึกษาของไทยจึงคำนึงถึงแนวความคิดเดิมๆ ที่เน้นเพียงแค่อ่านออก เขียนเป็นและสื่อสารได้นั้นคงไม่เพียงพอ ต้องกำหนดจุดมุ่งหมายใหม่ที่ก้าวไกลไปมากกว่าเดิม คือ พัฒนาให้ก้าวไปสู่การเป็นผู้นำที่เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) และก้าวนำการพัฒนาตนเองของประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนที่สามารถพัฒนาการศึกษาของตนให้ก้าวหน้าไปมากอย่างคาดไม่ถึง  การขับเคลื่อนด้านการศึกษาของประเทศไทยจึงมีโจทย์สำคัญว่าจะส่งเสริมผู้เรียนให้ก้าวขึ้นสู่การเป็นที่ 1 ในอาเซียนได้อย่างไร ซึ่งเรื่องนี้ก็ยังคงเป็นข้อคำถามที่ท้าทายความคิดของนักวิชาการ นักการศึกษาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนทุกฝ่ายให้ต้องขบคิดกันต่อไป ในฐานะที่ผู้เขียนเป็นบุคลากรคนหนึ่งที่อยู่ในแวดวงการศึกษามานานมองเห็นว่าแนวความคิดสำคัญสำหรับการจัดการศึกษาของไทยที่จะ “ส่งเสริมเด็กไทยก้าวสู่ที่ 1 ในอาเซียน” นั้นมีอยู่ 5 ประการ ดังนี้

  1. ล้มเลิกความเชื่อว่า “เราสู้เขาไม่ได้”

               ในอดีตที่ผ่านมามีผู้นำหรือบุคคลสำคัญจำนวนไม่น้อยได้กล่าวไว้ว่า “คิดทำการใหญ่ ต้องกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง” และการเปลี่ยนแปลงที่ท้าทายที่สุดก็คือ การเปลี่ยนแปลงความเชื่อ  เพราะ “ความเชื่อ” เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เมื่อมนุษย์มีความเชื่ออย่างไรก็จะคิด ปฏิบัติ และดำเนินวิถีชีวิตไปตามความเชื่อเหล่านั้น หากเราพิจารณาถึงผลที่ได้รับจากความเชื่อก็จะพบว่า ความเชื่อบางเรื่องราวนั้นเป็นสิ่งดีงาม สร้างสรรค์ จรรโลงสังคม และชี้นำไปสู่การพัฒนาให้เกิดความเจริญก้าวหน้าอย่างคาดไม่ถึง ความเชื่อเหล่านี้จึงควรได้รับการถ่ายทอดและส่งต่อไปยังอนุชนรุ่นหลังให้ได้สัมผัสและใช้ประโยชน์สืบต่อกันไป ทำนองเดียวกันก็มี    ความเชื่ออีกส่วนหนึ่งที่ปลูกฝังหรือสร้างค่านิยมให้คนนิ่งเฉย ดูดาย ไม่คิดที่จะเปลี่ยนแปลงชะตากรรมชีวิตของตนเองให้ดีขึ้น ความเชื่อในลักษณะนี้จึงเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการพัฒนาในทุกๆ ด้าน และสมควรที่จะปรับเปลี่ยนหรือล้มเลิกความเชื่อเหล่านั้นไปเสีย เพื่อมิให้ส่งผลต่อความคิดอ่านของบุคคลอันเป็นอุปสรรคสำหรับการพัฒนาต่อไป

               ในแวดวงการศึกษาก็เช่นกันมีผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้มีส่วนเกี่ยวจำนวนหนึ่งซึ่งยึดหลักความเชื่ออันล้าหลังที่มีมาแต่ช้านานว่า “เราสู้เขา (ประเทศเพื่อนบ้าน) ไม่ได้” แนวความเชื่อนี้จึงก่อให้เกิดอุปสรรคที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาการศึกษาของชาติ เพราะส่งผลให้บุคคลขาดแรงกระตุ้น แรงบันดาลใจและ ความเพียรพยายามที่จะเสาะแสวงหาหรือคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์มาใช้เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ระบบการจัดการศึกษาของไทยก้าวหน้าต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพได้ ที่สำคัญแต่ละบุคคลซึ่งไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้เรียน ผู้ปกครองหรือแม้แต่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องก็จะปฏิบัติภารกิจของตนเองไปตามหน้าที่เท่านั้น มิได้คำนึงถึงความสมบูรณ์ ความสำเร็จ และความก้าวหน้าจากงานในหน้าที่ความรับผิดชอบของตน ดังนั้นความจำเป็นพื้นฐานประการแรกสำหรับการพัฒนาการศึกษาให้สามารถส่งเสริมเด็กไทยก้าวเป็นที่ 1 ในอาเซียนได้นั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องล้มเลิกความเชื่ออันเป็นอุปสรรคนี้แล้วสร้างความเชื่อที่ก่อให้เกิดพลังอันยิ่งใหญ่มีความหวังหรือเห็นทางรอดของเราขึ้นใหม่ว่า “เขาสู้เราไม่ได้” เพราะความเชื่อนี้จะสร้างแรงผลักดันภายในทั้งตัวบุคคลและประเทศชาติจนก่อให้เกิดการคิดค้นนวัตกรรมและแสวงหาปัจจัยสนับสนุนต่างๆ มาสนับสนุนระบบ   การจัดการศึกษาของไทยให้สามารถขับเคลื่อนไปสู่การพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศได้

  1. จัดระบบโรงเรียนหรือการศึกษาแนวใหม่ (เด็กได้เรียนรู้จากคนอื่น ฝึกให้มาก ปฏิบัติให้เป็น อดทนและรับผิดชอบ)

               การปฏิรูปการศึกษาของไทยที่ผ่านมาเป็นการปฏิรูปตามฐานคิดเดิม วิถีของการปฏิรูปจึงวนเวียนอยู่ในกรอบคิดติดยึด (Mindset) และบริบทเดิมๆ มิได้เปลี่ยนแปลงไปตามบริบทหรือ Context ของสังคมในยุคปัจจุบัน (สุมน อมรวิวัฒน์, 2554, น. 2) แนวทางการจัดการศึกษาจึงไม่สะท้อนถึงทิศทางหรือกระแสการศึกษาที่ชัดเจนอย่างเพียงพอว่า เราต้องให้การศึกษาของเรานำพาคนและสังคมของเราให้เป็นและเป็นไปอย่างไร (ไพฑูรย์  สินลารัตน์, 2555, น. 1) การศึกษาการศึกษาของไทยจึงอยู่ในสภาวะที่ไม่ก้าวหน้าไปตามความคาดหวัง ระบบโรงเรียนของประเทศไทยในปัจจุบันไม่สามารถแข่งขันกับหลายๆ ประเทศในภูมิภาคเอเชียและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศอาเซียนได้ จะเห็นได้จากประเทศที่เคยล้าหลังมากกว่าไทยอย่างเวียดนามปัจจุบันก็กลับมีผล    การประเมินทางด้านการศึกษา (PISA) แซงหน้าประเทศไทยไปแล้ว ดังนั้นหากเรายังไม่ตื่นตัวและรีบยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างจริงจังและเร่งด่วน ผลการประเมินทางด้านการศึกษาของเราในครั้งถัดไปก็คงจะลดอันดับลงไปเรื่อยๆ  ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่จะส่งผลให้ผลการประเมินดังกล่าวสามารถยกระดับสูงขึ้นได้นั้นก็คือ    การจัดระบบโรงเรียนหรือการศึกษาแนวใหม่ เพื่อมุ่งส่งเสริมผู้เรียนให้มีคุณลักษณะ ดังนี้

               1) เรียนรู้จากคนอื่น (Experiential Learning) ในชีวิตจริงการเรียนรู้บางเรื่องราวนั้น เราก็ไม่ได้มีเวลามากพอสำหรับการลองผิดลองถูก จึงจำเป็นต้องอาศัยการเรียนรู้จากคนอื่น เนื่องจากประหยัดเวลาและย่นระยะทางในการเรียนรู้ได้ การทบทวนประสบการณ์จากอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่นรวมทั้งการศึกษาเรื่องราวจากบุคคลและสิ่งรอบข้างในปัจจุบันจะเป็นแนวทางให้เราวางอนาคตได้ถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น การเรียนรู้จากคนอื่นจึงทำให้เรามองเห็นผลดีและข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นอันจะรวมเป็นประสบการณ์ที่มีคุณค่าซึ่งผู้เรียนสามารถนำมาปรับใช้ในการเรียนรู้และการดำเนินชีวิตของตนเองให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จได้ภายในระยะเวลาอันสั้น

               2)  ฝึกให้มาก ปฏิบัติให้เป็น (Learning by Doing) โดยเดินตามแนวคิดที่ว่า “Practice Make Perfect”  ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องจำเป็นและต้องเติมเต็มลงในหลักสูตรการศึกษาของไทยเป็นอย่างยิ่ง เพราะระบบการศึกษาของไทยแม้แต่ในช่วงหลังการปฏิรูปการศึกษาในปี พ.ศ. 2542 ก็ตาม การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาครูผู้สอนก็ยังคงยึดตำราเป็นตัวตั้ง เน้นวิชาการความรู้มากกว่าการฝึกปฏิบัติและการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงโลกแห่งการเรียนรู้เข้ากับชีวิตจริง กิจกรรมการเรียนการสอนก็เน้นการแข่งขันมากกว่าการส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  ที่สำคัญวิธีการวัดและประเมินผลก็เน้นการสอบที่เป็นข้อเขียนและภาคทฤษฎีมากกว่าการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง (Authentic Assessment) ที่ฝึกให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองอย่างจริงจังหรือคิดสร้างผลผลิต (Product) ขึ้นเองอย่างสร้างสรรค์ การจัดการศึกษาจึงต้องก้าวข้ามสาระวิชา (Subject Matter) ไปสู่การเรียนรู้ที่เน้นทักษะและการปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะแห่งการเรียนรู้ (Learning Skills) อันจะสามารถนำไปประยุกต์ในการเรียนรู้และการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

               3) มีความอดทนและรับผิดชอบ สืบเนื่องมาจากประเทศไทยใช้ระบบการศึกษาทางเดียวมานาน และแม้ว่าพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 จะมีหลักการที่ดีในหลายเรื่องหลายประเด็น แต่ในทางปฏิบัติกลับยังมองไม่เห็นผลเท่าที่ควร จุดอ่อนที่สำคัญของผู้ที่จบการศึกษาในระบบของไทย คือ ไม่อดทน และไม่รับผิดชอบ แต่เรากลับพบว่าทักษะเหล่านี้เป็นจุดเด่นและมีอยู่ในผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ (ประเวศ  วะสี, 2559) ดังนั้น การศึกษาของไทยจึงมีหน้าที่ที่จะต้องปรับเปลี่ยนและเสริมสร้างพฤติกรรมของผู้เรียนให้มี  ความอดทน คือ เป็นคนที่ไม่ท้อถอยต่ออุปสรรคใดๆ มีความตั้งมั่น ตั้งใจ ไม่ล้มเลิกหรือละทิ้งภาระงานหรือหน้าที่ลงกลางคัน ควบคู่ไปกับการมีความรับผิดชอบ ทั้งในเรื่องของตนเอง ชุมชน สังคมและประเทศชาติ เพื่อที่จะสร้างเด็กไทยในอนาคตให้เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพควบคู่ไปกับการมีคุณธรรม

  1. ต่อยอดศักยภาพของเด็กไทยให้ถึงจุดสูงสุด

               เมื่อพูดถึงความรู้ ความสามารถ และศักยภาพของเด็กไทย ถือได้ว่าไม่น้อยหน้าชาติใดในโลก เพราะในรอบหลายปีที่ผ่านๆ มา เด็กไทยได้ก้าวขึ้นสู่เวทีการแข่งขันในระดับนานาชาติและเวทีโลกมาแล้วมากมาย ที่สำคัญได้คว้ารางวัลกลับมาให้คนไทยทั้งประเทศได้ชื่นชมอย่างน่าภาคภูมิใจ ไม่ว่าจะเป็นรางวัลประเภทเดี่ยวหรือประเภททีม เช่น รางวัลการแข่งขันวิชาการโอลิมปิกเอเชีย การแข่งขันคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ  การแข่งขันคณิตศาสตร์นานาชาติ การประกวดสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ IEYI รางวัลความคิดสร้างสรรค์โลก รางวัลแชมป์หุ่นยนต์นานาชาติ (World Robot Game) ฯลฯ ถือได้ว่าเป็นการสร้างชื่อเสียงและประกาศเกียรติภูมิของประเทศไทยให้ชาติอื่นได้เห็นถึงความสามารถของเด็กไทย และนี่นับเป็นอีกตัวชี้วัดหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าแท้ที่จริงแล้วเด็กไทยจำนวนไม่น้อยมีความรู้ ความสามารถและมีความพร้อมใน    การพัฒนาตนเอง เพียงแค่ได้รับการส่งเสริมและการสนับสนุนที่เป็นระบบอย่างต่อเนื่องและถูกต้องเท่านั้น ซึ่งสามารถกระทำได้โดย

               1) ครูผู้สอนต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ท้าทายความสามารถของผู้เรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความรู้ความสามารถของตนเองผ่านกิจกรรมการเรียนทั้งในระบบกลุ่มและรายบุคคล อันจะส่งผลให้ผู้เรียนได้ค้นพบความสามารถของตนเองจากการเรียนรู้และครูได้ค้นพบตัวตน (ทั้งพรสวรรค์และพรแสวง) ที่แท้จริง ของศิษย์

               2) จากนั้นครูก็มีหน้าที่ที่จะต้องออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการและต่อยอดความสามารถของผู้เรียนแต่ละคนให้ก้าวไปสู่การพัฒนาตนเองอย่างเต็มตามศักยภาพสูงสุด โดยเน้นให้ผู้เรียนได้มีโอกาสที่จะเรียนรู้ทางวิชาการหรือภาคทฤษฎีควบคู่ไปกับการฝึกฝนให้มากและปฏิบัติให้เป็นจนเกิดทักษะที่จำเป็น (Skills) ความเชี่ยวชาญหรือชำนาญ (Relate) และเกิดการเรียนรู้แบบรู้จริง (Mastery)

               3) สถานศึกษา ครูผู้สอนและผู้ปกครองต้องส่งเสริมและสนับสนุนผู้เรียนให้กล้าที่จะออกไปเผชิญโลกภายนอกตามสภาพแห่งความเป็นจริงและแสวงหาประสบการณ์ตรงที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองทั้งในด้านการเรียนและการดำเนินชีวิตในอนาคตจากการเข้าร่วมกิจกรรมนอกห้องเรียนหรือแสดงความสามารถบนเวทีการแข่งขันในทุกระดับ

               4) การดำเนินการดังกล่าวมิอาจสำเร็จได้โดยครูผู้สอนเพียงฝ่ายเดียว จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องกัน นับตั้งแต่ฝ่ายนโยบาย ฝ่ายบริหาร เพื่อนครู ผู้ปกครองเรื่อยลงมาจนถึงตัวผู้เรียนเอง จึงจะส่งเสริมให้ระบบการจัดการศึกษาของไทยสามารถต่อยอดศักยภาพของเด็กไทยให้พัฒนาก้าวหน้าถึงจุดสูงสุดได้อย่างสมบูรณ์

 

  1. ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษอย่างจริงจัง

               นานาประเทศต่างให้การยอมรับว่า “ภาษาอังกฤษ” เป็นภาษาโลก เพราะการติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศทั้งในด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจการค้า ความร่วมมือในด้านต่างๆ ฯลฯ และรวมไปถึงด้านการศึกษาต่างต้องพึ่งพิงภาษาอังกฤษด้วยกันทั้งสิ้น นอกจากนี้การติดต่อสื่อสารในระดับภูมิภาคอย่างเช่นกลุ่มประชาคมอาเซียนก็ยังบัญญัติในกฎบัตรอาเซียนข้อที่ 34 ว่า “The Working Language of ASEAN shall be English” แปลความได้ว่าภาษาที่ใช้ในการทำงานของอาเซียน คือ ภาษาอังกฤษ จากความหมายข้างต้นนี้มิได้ตีความเพียงแค่ว่าเป็นการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารระหว่างกันสำหรับการทำงานร่วมกันของเจ้าหน้าที่ในองค์กรและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของภาครัฐและภาคเอกชนเท่านั้น แต่ทว่าตีความรวมไปถึงการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาของอาเซียนสำหรับการทำงานร่วมกันในทุกภาคส่วนของประชาคมอาเซียนด้วย ซึ่งชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าแต่นี้ไปพลเมืองใน 10 ประเทศอาเซียนจะต้องใช้ภาษาอังกฤษกันมากขึ้น นอกเหนือไปจากการใช้ภาษาแม่หรือภาษาประจำชาติของตน ภาษาอังกฤษจึงกลายเป็นภาษากลางของมนุษยชาติ เป็นภาษาที่พลโลกต้องใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างกันเป็นหลักทุกประเทศจึงจำเป็นต้องบรรจุวิชาภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองรองลงมาจากภาษาประจำชาติเป็นแกนหลักของหลักสูตรการศึกษาทุกระดับนับตั้งแต่ปฐมวัยไปจนถึงการศึกษาตลอดชีวิต นั่นหมายความว่าทุกคนที่เป็นพลโลกจำเป็นต้องเรียนรู้และใช้ภาษาอังกฤษให้ได้ นับตั้งแต่นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ข้าราชการ พนักงานรัฐ-เอกชน นักเรียน นักศึกษา เด็กและเยาวชน รวมไปจนถึงชาวไร่ ชาวนา และชาวบ้านทั่วไป ฯลฯ ด้วย

               ประเทศไทยถือเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ได้จัดระบบการศึกษาตามแนวคิดดังกล่าว คือ ได้กำหนดให้การเรียนภาษาอังกฤษและภาษาอื่นๆ เป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้หนึ่งในการจัดหลักสูตรการศึกษาเริ่มตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานไปจนถึงระดับอุดมศึกษา นับว่าผู้เรียนทุกคนได้รับโอกาสที่จะเรียนรู้และฝึกฝนทักษะการใช้ภาษาอังกฤษทุกชั้นปีต่อเนื่องกันไปเป็นเวลายาวนานหลายปีมาก แต่ผลสรุปกลับพบว่า คนไทยมีขีดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในระดับที่มีคุณภาพจำนวนน้อย แม้ว่าปัจจุบันจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจากแต่เดิมบ้างก็ตาม ทั้งนี้ก็เนื่องมากจากการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยไม่ได้รับการส่งเสริมอย่างจริงจัง ขาดการกำกับติดตามที่เป็นระบบ การจัดการเรียนการสอนส่วนใหญ่เน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้หลักไวยากรณ์ (Grammar) หรือหลักทฤษฎีโดยการท่องจำมากกว่าการได้ฝึกปฏิบัติทักษะ (Skills) การฟัง พูด อ่าน และเขียนซึ่งเป็นหัวใจหลักสำคัญที่สุดสำหรับการเรียนรู้ภาษาอย่างจริงจัง ที่สำคัญกิจกรรมการเรียนการสอนมักจะถูกจำกัดอยู่ในห้องเรียนสี่เหลี่ยมที่มีสื่อประกอบการเรียนการสอนอย่างหลากหลาย แต่ขาดการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงหรือสถานการณ์จริงตามสภาพที่ควรจะเป็น สิ่งเหล่านี้นับเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งสิ้น และจริงอยู่ที่ว่าภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างชาติต่างแดน โดยธรรมชาติของมนุษย์แล้วจึงเป็นเรื่องยากที่จะเรียนรู้ได้เสมอเหมือนกันทุกคน ทุกวัย และทุกวัฒนธรรม แต่หากครูผู้สอนได้เน้นย้ำให้ความสำคัญและจัดการเรียนการสอนอย่างจริงจังโดยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกให้มาก (ใช้มากๆ) และปฏิบัติให้เป็น (ใช้บ่อยๆ) ในสถานการณ์จริงนอกห้องเรียน เช่น ในชุมชนที่มีชาวต่างชาติ ตลาด แหล่งท่องเที่ยว สถานีโดยสาร ฯลฯ เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสัมผัสและฝึกใช้ภาษาโดยตรง นอกจากนี้ครูยังต้องวางแผนให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้และฝึกทักษะเพิ่มเติมจากสื่อออนไลน์และโลกโซเชียล (Social Network) ที่มีอยู่อย่างมากมายจากการดูหนัง ฟังเพลง ชมโฆษณา อ่านป้ายกำกับสินค้าฯลฯ เพียงเท่านี้เด็กไทยก็จะสามารถเรียนรู้และพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษให้มีขีดความสามารถที่สูงขึ้นได้ อันจะสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในค้นคว้าและแสวงหาความรู้ รวมทั้งติดต่อสื่อสารกับมิตรประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยต้องให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษอย่างจริงจังและหวังผลในระดับก้าวหน้า (Progressive) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของประกรไทยให้สามารถก้าวเข้าสู่ระบบการแข่งขันและการดำเนินชีวิตที่สมบูรณ์ในฐานะประชาคมอาเซียนและพลโลกได้

 

  1. เปลี่ยนปรัชญาชีวิตของคนไทยใหม่

               การดำรงชีวิตของมนุษย์จำเป็นต้องมีหลักในการยึดถือและปฏิบัติ หลักดังกล่าวนั้นเรียกว่า “ปรัชญาชีวิต” (Philosophy of Life) เป็นทัศนะซึ่งบุคคลจะยึดถือและให้คุณค่าอันนำไปสู่พฤติกรรมต่างๆ ที่มนุษย์แสดงออกมา และภายใต้การดำเนินชีวิตของมนุษย์ก็จะถูกขับเคลื่อนไปด้วยกลไกของความคิดดังกล่าว มนุษย์ทุกคน (ไม่ว่าเจ้าตัวจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม) จึงต่างก็มีปรัชญาในการดำรงชีวิตของตนเพื่อทำหน้าที่กำหนดและตัดสินใจว่าจะเลือกประพฤติกับใครและปฏิบัติตนอย่างไร ปรัชญาชีวิตจึงเป็นรากฐานเริ่มต้นอันสำคัญของความคิดและพฤติกรรมของมนุษย์ รวมทั้งจะเป็นตัวกำหนดทิศทางชีวิตของแต่ละบุคคล ซึ่ง Thomas Carlyle (อ้างใน อมร แสงมณี, 2554) ได้กล่าวไว้ว่า คนที่ไม่มีเป้าหมายชีวิตก็เหมือนเรือที่ไร้หางเสือ (A Man without a Goal is Like a Ship without a Rudder) ชีวิตของบุคคลเหล่านั้นจึงดำเนินไปแบบไร้ทิศทาง

               ปรัชญาชีวิตเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์มากและหลายต่อหลายคนอาจจะมองข้ามไปเพราะนึกว่าไม่สำคัญและไม่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต แท้ที่จริงแล้วการดำเนินชีวิตประจำวันของเราแทบทุกเรื่องนั้นล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับปรัชญาชีวิตทั้งสิ้น และเมื่อวิเคราะห์การดำเนินชีวิตของคนไทยในอดีต ก็อาจกล่าวได้ว่าน่าจะมีหลักปรัชญาชีวิตที่ว่า “อยู่รอดหรืออยู่ดีได้ก็เพียงพอแล้ว” เพราะในการดำเนินชีวิตประจำวันมักจะพึงพอใจกับสภาพที่มีอยู่ เป็นอยู่ หรือบางคนก็ถึงขั้นวางเฉยไม่ต้องการดิ้นรนหรือขวนขวายพยายามเพื่อที่จะนำพาตนเองไปสู่ชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต หลักคิดนี้ก็ไม่ผิดแปลกอะไรมากนักและอาจเป็นเรื่องปกติธรรมดาไปเสียด้วย เพราะสภาพสังคมและเศรษฐกิจในขณะนั้นมิได้มีการแข่งขันและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รุนแรงและเป็นพลวัตรเหมือนเช่นปัจจุบัน ในภาพรวมๆ ประชากรจึงสามารถดำเนินชีวิตผ่านไปได้อย่างปกติ ผิดไปจากปัจจุบันที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รุนแรง และซับซ้อนในทุกมิติทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และการศึกษา อันเป็นผลมาจากการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) ส่งผลให้ประเทศต่างๆ ในโลกต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีความเชื่อมโยงระหว่างกัน และในขณะเดียวกันก็เกิดการแข่งขันระหว่างกันมากขึ้นด้วย ต่างคนต่างมุ่งหวังที่จะพัฒนาประเทศชาติของตนให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศหรือก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ประเทศไทยเป็นสังคมหน่วยหนึ่งของโลกจึงต้องน้อมรับการเปลี่ยนแปลงและ     ความจำเป็นในการพัฒนาตนเองตามแนวคิดดังกล่าวข้างต้นด้วย หลักปรัชญาชีวิตเดิมๆ ที่เคยใช้กันมาและยังคงใช้กันอยู่จึงไม่อาจดำเนินต่อไปได้ เพราะเมื่อเรากำหนดเป้าหมายใหม่ที่จะขับเคลื่อนประเทศและพัฒนาเด็กไทยให้เป็นที่หนึ่งในอาเซียนแล้วก็จำเป็นต้องเปลี่ยนหลักปรัชญาชีวิตที่ว่า “อยู่รอดหรืออยู่ดีได้ก็เพียงพอแล้ว” มาสู่    “อยู่รอดหรือวางเฉยไม่ได้ ต้องหวังก้าวไปให้ถึงจุดสูงสุด” เพราะหลักคิดนี้จะช่วยกระตุ้นและชี้นำแนวทางใหม่ในการดำเนินชีวิตของคนไทยให้ตระหนัก เตรียมพร้อมและก้าวสู่วงจรการแข่งขันสำหรับการพัฒนาประเทศในทุกๆ ด้านอย่างมีประสิทธิภาพและมีจุดมุ่งหมายต่อไป

               จากแนวคิดที่ได้นำเสนอมาในเบื้องต้น เป็นเพียงมุมมองหนึ่งที่ชี้ให้เห็นถึงความจริงตามสภาพที่ปรากฏอยู่ในระบบการจัดการศึกษาของไทยในปัจจุบัน เป็นภาพสะท้อนอีกมุมมองหนึ่งที่ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นและแนวทางที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบการศึกษาไทยให้ก้าวทันกับโลกในยุคปัจจุบันและก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำของอาเซียนอย่างมีคุณภาพ แนวความคิดนี้เป็นเพียงความคิดหนึ่งที่เกิดจากการมองภาพการศึกษาไทยจากประสบการณ์ที่เคยทำหน้าที่ทั้งเป็นครูผู้สอนและผู้ร่วมบริหารในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมานานกว่า 10 ปี กอปรกับการศึกษาข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ได้ศึกษาและค้นพบจากแหล่งข้อมูลต่างๆ อีกทั้งยังได้ติดตามสภาพปัจจุบันและความเคลื่อนไหวทางการศึกษามาโดยตลอด หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถจุดประกายความคิด (Inspire) ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งระดับนโยบาย ฝ่ายบริหาร ครูผู้สอนและผู้ปกครองให้นำไปคิดต่อยอดและเชื่อมโยงไปสู่การลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรมมากขึ้น เพื่อส่งเสริมเด็กไทยให้ก้าวสู่ที่ 1 ในอาเซียนสมดังเจตนารมณ์ให้ได้

 

บรรณานุกรม

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (ม.ป.ป.). การเตรียมความพร้อมประเทศไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน.สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2560. จาก http://kpi.ac.th/media/pdf/M7_214.pdf.

ประเวศ วะสี. (2559). “หมอประเวศ” ชี้จุดอ่อนเรียนจบไทย “ทำงานไม่เป็น-ไม่อดทน-ขาดความรับผิดชอบ”แนะ 3 ทางเลือกจัดการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2559. จาก http://www.manager.co.th/qol/viewnews.aspx?NewsID=9590000050618.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2555). ผู้นำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ: กระบวนทัศน์ใหม่และผู้นำใหม่ทางการศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2554). ครุศึกษากับความเปลี่ยนแปลงที่ท้าทาย. กรุงเทพฯ:  หจก. โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี. พี.

อมร แสงมณี. (2554). คนที่ไม่มีเป้าหมายชีวิตก็เหมือนเรือที่ไร้หางเสือ. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2559.จาก http://languagemiracle.blogspot.com/2010/10/blog-post_30.html.

การประยุกต์ใช้ ESD ในการสอนวิชาภาษาอังกฤษ

ชื่อผลงานทางวิชาการ                     การประยุกต์ใช้ ESD ในการสอนวิชาภาษาอังกฤษ

ประเภทผลงานทางวิชาการ              บทความทางวิชาการ

ปีที่เขียนบทความทางวิชาการ          ๒๕๕๒

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ           อาจารย์สายสุนีย์     อุลิศ     อาจารย์ประจำสาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

            อาจารย์สายสุนีย์    อุลิศ  ได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนจากคณะครุศาสตร์   มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา   เข้าร่วมประชุมปฏิบัติการระดับภูมิภาค การศึกษาเพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืน  (Education  for  Sustainable  Development : ESD)    .สถาบันพัฒนาครู  คณาจารย์    และบุคลากรทางการศึกษาจังหวัดนครปฐม    หลังจากเสร็จสิ้นการอบรมแล้วสิ่งที่ตกตะกอน  ESD ได้รับการเผยแพร่จากอาจารย์สายสุนีย์  อุลิศ

            โดยอธิบายให้เห็นเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ไปสู่  สังคม  สิ่งแวดล้อม   เศรษฐกิจ     และมีวัฒนธรรมเป็นตัวเชื่อมโยงอันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยเฉพาะการใช้ชีวิตประจำวันในระดับท้องถิ่นและระดับโลก

            บทความวิชาการยังระบุถึงวิสัยทัศน์ของผู้ผ่านการศึกษา ESD สามารถใช้กระบวนการคิดไตร่ตรอง   แสดงความเห็นหาเหตุและผล  หาวิธีการและการป้องกัน  รวมทั้งเกิดจิตสำนึกทีมีต่อส่วนรวมในการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะช่วยแก้ไขเรื่องต่างๆให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น   รายละเอียดสามารถสืบค้นได้จาก  web-online ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

รศ.ดร.อำนวย    เดชชัยศรี    บรรณากร

ผลจากการนำ ESD ประยุกต์ใช้ในการสอนภาษาอังกฤษ

สรุปผลงานทางวิชาการ

ชื่อผลงานทางวิชาการ                ผลจากการนำ ESD ประยุกต์ใช้ในการสอนภาษาอังกฤษ

ประเภทผลงานทางวิชาการ         บทความทางวิชาการ

ปีที่เขียนบทความทางวิชาการ      ๒๕๕๓

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ       อาจารย์สายสุนีย์ อุลิศ  อาจารย์ประจำสาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์   มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพพระยา

            ผู้เขียนได้เคยนำเสนอการประยุกต์ใช้ ESDในการสอนภาษาอังกฤษ  นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งองค์การสหประชาชาติด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมให้การสนับสนุน  ไม่เพียงแต่มุมมองแค่วงการศึกษาเท่านั้นยังมีความสำคัญเกี่ยวข้องด้านการทำธุรกิจการค้า  การทำงานอื่นๆในระดับสูงที่ต้องอาศัยความรู้และทักษะความสามารถทางภาษาอังกฤษ ผลจากการนำ ESD ประยุกต์ใช้ในการสอนภาษาอังกฤษ ก่อให้เกิดผลดีต่อการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาด้านการศึกษในประเด็นหลักๆได้แก่   ด้านความรู้   ด้านการทำงาน   ด้านสังคม ด้านคุณธรรม ด้านการพัฒนาผู้เรียน ด้านการสอน ด้านวัฒนธรรม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ   

ในรายละเอียดสามารถสืบค้นได้จาก web-online  ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

รศ.ดร.อำนวย   เดชชัยศรี   บรรณากร