Category Archives: เทคนิคการสอน สื่อ นวัตกรรม และรูปแบบการสอนที่ทันสมัย

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วนและทศนิยม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนมัธยมวัดดุสิตตาราม โดยการเรียนด้วยเทคนิค STAD

ชื่อผลงานทางวิชาการ การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วนและทศนิยมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนมัธยมวัดดุสิตตาราม โดยการเรียนด้วยเทคนิค STAD
ประเภทผลงานทางวิชาการ งานวิจัย
ปีที่ทำการวิจัย ๒๕๕๘
ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ ศิราณี ศรีชุม ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

หน้าปกบทคัดย่อสารบัญบทที่ 1บทที่ 2บทที่ 3บทที่ 4บทที่ 5บรรณานุกรมภาคผนวกประวัติผู้วิจัย

การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนวัดศาลาครืน โดยใช้แบบ ฝึกทักษะ

ชื่อผลงานทางวิชาการ การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนวัดศาลาครืน โดยใช้แบบฝึกทักษะ

ประเภทผลงานทางวิชาการ งานวิจัย
ปีที่ทำการวิจัย ๒๕๕๘

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ จุฬาลักษณ์ พิมพ์ทอง ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์

หน้าปกบทคัดย่อสารบัญบทที่ 1บทที่ 2บทที่ 3บทที่ 4บทที่ 5บรรณานุกรมภาคผนวกประวัติผู้วิจัย

การศึกษาผลการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนบ้านนายสี โดยใช้แบบฝึกทักษะ

ชื่อผลงานทางวิชาการ การศึกษาผลการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนบ้านนายสี โดยใช้แบบฝึกทักษะ
ประเภทผลงานทางวิชาการ งานวิจัย
ปีที่ทำการวิจัย ๒๕๕๘
ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ เกียรติ์ชู อุมาธันยพัฒน์ (ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา)

หน้าปกบทคัดย่อสารบัญบทที่ 1บทที่ 2บทที่ 3บทที่ 4บทที่ 5บรรณาณุกรมภาคผนวกประวัติผู้วิจัย

พัฒนาการเรียนด้วย e-Learning แบบเรียนรู้ร่วมกัน โดยใช้เทคโนโลยี Augmented Reality (AR) เพื่อพัฒนาทักษะ การฟังภาษาอังกฤษของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

พัฒนาการเรียนด้วย e-Learning แบบเรียนรู้ร่วมกัน
โดยใช้เทคโนโลยี Augmented Reality (AR) เพื่อพัฒนาทักษะ
การฟังภาษาอังกฤษของนิสิตระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
The Development Collaborative e-Learning using
Augmented Reality (AR) to Enhance English listening
skill for undergraduate students at
Bansomdejchaopraya Rajabhat University

ธัชกร สุวรรณจรัส*
*สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
*Corresponding author. E-mail: [email protected]

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างบทเรียน e-Learning แบบเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้เทคโนโลยี Augmented Reality (AR) เพื่อพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษของนิสิตระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ที่มีประสิทธิภาพตาม เกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะการฟังภาษาอังกฤษของนิสิตกลุ่มที่เรียนด้วยบท เรียน e-Learning แบบเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้เทคโนโลยี
Augmented Reality (AR) กับ กลุ่มที่เรียนด้วยบทเรียน e-Learning แบบเรียนรู้ร่วมกันโดยไม่ใช้เทคโนโลยี Augmented Reality (AR) 3) ศึกษาความพึงพอใจของนิสิตกลุ่มที่เรียนด้วยบทเรียน
e-Learning แบบเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้เทคโนโลยี Augmented Reality (AR) กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิต ชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1/2558 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา จ􀄬ำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1)บทเรียน e-Learning แบบเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้เทคโนโลยี Augmented Reality (AR) 2)
แบบทดสอบทักษะการฟังภาษาอังกฤษ 3) แบบประเมินความ พึงพอใจของนิสิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ ทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียน
e-Learning แบบเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้ เทคโนโลยี Augmented Reality (AR) มีประสิทธิภาพ 82.22/81.88 เป็นไปตามเกณฑ์80/80 2) คะแนนทดสอบทักษะการฟังภาษาอังกฤษของนิสิตกลุ่มที่เรียนด้วย
บทเรียน e-Learning แบบเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้เทคโนโลยี Augmented Reality (AR) สูงกว่ากลุ่ม ที่เรียนด้วยบทเรียน e-Learning แบบเรียนรู้ร่วมกันโดยไม่ใช้เทคโนโลยี Augmented Reality (AR)
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ความพึงพอใจของนิสิตกลุ่มที่ เรียนด้วยบทเรียน e-Learning แบบเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้เทคโนโลยี Augmented Reality (AR) สูงกว่านิสิตที่ไม่ได้เรียนโดยใช้
บทเรียน e-Learning ที่สร้างขึ้นอย่างมีนัยส􀄬ำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01

คำสำคัญ: บทเรียน e-Learning การเรียนรู้ร่วมกัน เทคโนโลยี Augmented Reality (AR), ทักษะการฟังภาษาอังกฤษ

Abstract
The purposes of the research study were to 1) create the collaborative e-Learning using Augmented Reality (AR) to enhance English listening skill for undergraduate students to meet standardized efficiency criteria of 80/80 2) compare English listening skill of under-graduate students who learned by e-Learning using Augmented Reality (AR) and learned by e-Learning with no Augmented Reality (AR). 3)study the satisfaction of undergraduate students who learned by e-Learning using Augmented Reality (AR). The instruments used consisted of 1) the collaborative e-Learning using Augmented Reality (AR), 2) a listening English test used to evaluate the students’ achievement, and 3) a satisfaction evaluation of undergraduate
students. The data were analyzed to calculate mean (x̄), standard deviation (S.D.), and t-test. The findings indicated that 1) The efficiency value of the collaborative e-Learning using Augmented Reality (AR) measured 82.22/81.88 which meet standardized efficiency criteria of 80/80 2) The listening achievement scores of undergraduate students learned by collaborative e-Learning using Augmented Reality (AR) were higher than those learned by collaborative e-Learning with no Augmented Reality (AR) were significantly different at the .01 level which was consistent with the hypothesis as set. 3) The satisfaction of undergraduate students learned by collaborative e-Learning using Augmented Reality (AR) were higher than those learned by collaborative e-Learning with no Augmented Reality (AR) were significantly different at the .01 level which was consistent with the hypothesis as set.

Keywords: e-Learning, collaborative Learning, Augmented Reality (AR), English listening skill

View Fullscreen

การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ โดยรูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ สำหรับ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์
โดยรูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ สำหรับ
นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

The Development of Analytical Thinking Ability in
Scientific by Concept Map for Undergraduate Student
in Bansomdejchaopraya Rajabhat University

นันทนัช วัฒนสุภิญโญ*
*สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
*Corresponding Author. E-mail : [email protected]

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ มีการทดสอบก่อนและหลังเรียน เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ในกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 39 คน สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการเลือกแบบสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่แผนการจัดการเรียนรู้ โดยรูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ รายวิชาฟิสิกส์ แผนใหม่สำหรับครูวิทยาศาสตร์ มีค่าประสิทธิภาพเป็น 89.26/89.27 และเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผล ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีค่าของความยากง่าย (p) เท่ากับ 0.22-0.64 ค่าอำนาจจำแนก (r) เท่ากับ 0.48-0.73 และค่าความเชื่อมั่น (rtt –KR 20) เท่ากับ 0.95 ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาที่เรียนโดยรูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คำสำคัญ: การคิดวิเคราะห์ แผนผังมโนทัศน์การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์
โดยรูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Abstract:
This research purpose was to development the analytical thinking ability in scientific for undergraduate student by concept map. The pretest-posttest was used to compare the analytical thinking ability in scientific with the sample group of 39 fourth year students, major of Science, Faculty of education at Bansomdejchaopraya Rajabhat University in the second semester of the academic year 2015. The sample is obtained by cluster random sampling. The research instruments were lesson plan using learning model cooperate with concept map in modern physics for science teacher (89.26/89.27) and analytical thinking test (rtt-KR20=0.95, p=0.22-0.64, r=0.48-0.73). The research finding showed that students’ analytical thinking skill after using the learning model cooperate with concept map is statistically significantly higher than before at a level of .01.

Keyword: Analytical Thinking, Concept Map

View Fullscreen

แนวทางการพัฒนาบทเรียนแสวงรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ Guideline for Developing of Lesson Search for Knowledge To Enhance Creative Thinking

แนวทางการพัฒนาบทเรียนแสวงรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
Guideline for Developing of Lesson Search for Knowledge To Enhance Creative Thinking

บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนาเสนอแนวทางการพัฒนาบทเรียนแสวงรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ โดยผู้เขียนได้จัดทาการสังเคราะห์ วิเคราะห์ องค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาบทเรียนแสวงรู้และความคิดสร้างสรรค์ โดยการจัดสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ของผู้เรียนและกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการแสวงหาความรู้ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฐานในการปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนบนแหล่งความรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ออกแบบวางแผนการเรียนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนาทักษะการค้นหาสารสนเทศไปใช้ในการค้นหาข้อมูลที่ผู้สอนจัดไว้ให้และมีกระบวนการขั้นตอนที่ผู้เรียนมีปฎิสัมพันธ์ร่วม เพื่อช่วยส่งเสริมขั้นคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ แก้ไขปัญหาของผู้เรียนเพื่อส่งเสริมบทบาทของการรู้สารสนเทศเพื่อเน้นให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์
คาสาคัญ : บทเรียนแสวงรู้/ความคิดสร้างสรรค์/การรู้สารสนเทศ

Abstract
The objective of this article was to present the guideline for developing of lesson search for knowledge to enhance creative thinking. The researcher synthesized and analyzed the state of knowledge about a lesson search on developing and creative thinking. A lesson on developing were organized through the students’ learning environment. It also included the learning activities via using technology base; for interacting with the students through internet network. There was learning design for the students; they could bring information search skills are used to search for information provided by the instructor. Moreover, there was an interaction process between teacher and students; the aims were to enhance analysis and synthesis, and to solve the students’ problems for promoting role in information and for encouraging the students’ creativity.

Keywords: Lesson search for knowledge/ Creative Thinking/Information Literacy

View Fullscreen

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน โครงสร้างอะตอมด้วยคอมพิวเตอร์กราฟฟิก

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน โครงสร้างอะตอมด้วยคอมพิวเตอร์กราฟฟิก

นายจิตตวิสุทธิ์ วิมุตติปัญญา

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจของผลงานทางวิชาการ : พบว่าเนื้อหาและการกำหนดขอบเขตแห่งปัญหาการวิจัย สามารถสรุปได้ดังนี้

คำสำคัญ : รูปแบบ , กราฟฟิค

การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันมีความล้ำหน้าด้านเทคโนโลยีอย่างมาก และเป็นยุคการศึกษาที่มีความรู้ไร้พรมแดนและสามารถเชื่อมโยงค้นหาได้อย่างรวดเร็วมาก ซึ่งจะรู้จักกันในส่วนของนวัตกรรมการเรียนรู้ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์กราฟฟิก แอนนิเมชัน มัลติมีเดีย และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการแก้ปัญหาการเรียนรู้ที่ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ โดยสื่อเทคโนโลยีดังกล่าวจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเร็วมากยิ่งขึ้น สะดวกและสามารถใช้เรียนรู้ได้ซ้ำและตลอดเวลาผู้วิจัยจึงขอสรุปเป็นประเด็นความสำคัญของสื่อเทคโนโลยี ดังต่อไปนี้

คำว่า “Animation” นั้นเกิดจากการรวมของคำ “Anima” คา ภาษาละติน ที่แปลว่า      วิญญาณ (Soul and Spirit) ถ้าเป็นคำกริยา คือ Animation จะแปลว่า ทำให้มีชีวิต คำว่า “แอนเมชัน” ใน ความหมายรวมๆ ในปัจจุบันนั้นมีความหมายว่า ภาพเคลื่อนไหว ในความหมายไม่ได้จำกัดเพียง การ์ตูนเท่านั้น แอนนิเมชันยังมีความหมายมีเทคนิคและวิธีสร้างสรรค์อีกหลายวิธี (ธรรมปพน     ลีอำนวยโชค, ๒๕๕๐ : ๑๘) แอนนิเมชัน(Animation) หมายถึง “การสร้างภาพเคลื่อนไหว” ด้วยการนำภาพนิ่งมาเรียงลำดับกันและแสดงผลอย่างต่อเนื่อง ทำให้ดวงตาเห็นภาพที่มีการเคลื่อนไหวในลักษณะภาพติดตา (Persistence of Vision)

เมื่อตามนุษย์มองเห็นภาพที่ฉายอย่างต่อเนื่อง เรตินาจะรักษาภาพไว้ในระยะส้นๆ ประมาณ ๑/๓ วินาที หากมีภาพอื่นแทรกเข้ามาในระยะเวลาดังกล่าว สมองมนุษย์ จะเชื่อมโยงภาพทั้งสองเข้าด้วยกันทำให้เห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีความต่อเนื่องกัน แม้ว่าแอนนิเมชันจะใช้หลักการเดียวกันกับวิดีโอแต่แอนนิเมชันสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานต่าง ๆ ได้ มากมาย เช่น งานภาพยนตร์ งานโทรทัศน์ งานพัฒนาเกมนส์ งานสถาปัตย์งานก่อสร้าง งานด้านวิทยาศาสตร์หรืองานพัฒนาเว็บไซต์ เป็นต้น (ทวีศักด์ กาญจนสุวรรณ, ๒๕๕๒ : ๒๒๒)

ในรายวิชาหลักการออกแบบและพัฒนาโปรแกรม ทุกหัวข้ออยู่ในระดับพึงพอใจมาก โดยมีคะแนน เฉลี่ยในความเหมาะสมของเนื้อหากับผู้เรียน ,ความน่าสนใจในการดำเนินเรื่อง, เนื้อหาทำให้เกิดแรงจูงใจต่อการเรียน และความสนุกและการได้รับความรู้สูงที่สุด รองลงมาคือหัวข้อความสอดคล้องระหว่างเนื้อหากับวัตถุประสงค์, ปริมาณเนื้อหาและบทเรียน, ความชัดเจนในการอธิบายเนื้อหา , ความทันสมัยของเนื้อหา, รูปแบบของการทบทวนแบบฝึกหัด, ความน่าสนใจของเกม นุชจรินทร์     แก้ววงวาล (๒๕๕๖)

ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโครงสร้างอะตอมด้วยคอมพิวเตอร์กราฟิก เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดความรู้ ทักษะ และความพึงพอใจ คือ รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เกิดความท้าทาย แปลกใหม่ น่าสนใจ กระตุ้นให้เกิดการอยากเรียนรู้และเสาะแสวงหาความรู้ใหม่เพื่อต่อยอดความรู้เดิม มีการแลกเปลี่ยนทัศนคติ เกิดประสบการณ์จากการลงมือทำ มีการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการประยุกต์ใช้ความรู้ได้อย่างเกิดประโยชน์และมีความหมายในชีวิตจริง สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ในโลกยุคดิจิตอลและไทยแลนด์ ๔.๐

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : พบว่ากระบวนการวิจัยของผลงานมีการกำหนดขั้นตอนและการกำหนดวัตถุประสงค์ไว้เหมาะสมกับการจัดการศึกษาในยุคปัจจุบัน  คือ

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโครงสร้างอะตอมด้วยคอมพิวเตอร์กราฟฟิคเป็นอย่างไร

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโครงสร้างอะตอมด้วยคอมพิวเตอร์กราฟิก

วิธีดำเนินการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (Development) โดยมีขั้นตอนการพัฒนา คือ การศึกษาเอกสาร งานวิจัย และสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เกี่ยวกับโครงสร้างอะตอม ทำการวิเคราะห์สภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอน ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา หลังจากนั้นแยกประเด็นการพัฒนารูปแบบออกเป็น ความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ แนวทางการแก้ปัญหา กระบวนการและขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ผู้วิจัยได้ทำการสร้างรูปแบบจำนวน ๓ รูปแบบ แล้วทำการสร้างเครื่องมือประเมินรูปแบบ ส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๓ คน ทำการประเมินรูปแบบ และเลือกมา รูปแบบที่ผลการประเมินดีที่สุด หลังจากนั้นทำการปรับปรุงแก้ไข และส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจความเหมาะสมหาค่าดัชนีความสอดคล้องของรูปแบบ (IOC) ได้เท่ากับ ๑.๐๐ ก่อนนำไปใช้จริงต่อไป

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโครงสร้างอะตอมด้วยคอมพิวเตอร์กราฟฟิก ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยนำเสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินรูปแบบที่ถูกต้องและเหมาะสมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์งานวิจัย ประกอบด้วย ๑) หลักการ แนวคิด ทฤษฎี ๒) วัตถุประสงค์ ๓) การจัดการเรียนรู้/กระบวนการ และ ๔) การวัดและประเมินผล โดยมีขั้นตอนของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนโครงสร้างอะตอมด้วยคอมพิวเตอร์กราฟิก ดังต่อไปนี้

ภาพที่ ๑. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโครงสร้างอะตอมด้วยคอมพิวเตอร์กราฟฟิค

๑. หลักการ  แนวคิด  และทฤษฎี

หลักการสำคัญของการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดความรู้ ทักษะ และความพึงพอใจ คือ รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เกิดความท้าทาย แปลกใหม่ น่าสนใจ กระตุ้นให้เกิดการอยากเรียนรู้และเสาะแสวงหาความรู้ใหม่เพื่อต่อยอดความรู้เดิม มีการแลกเปลี่ยนทัศนคติ เกิดประสบการณ์จากการลงมือทำ มีการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการประยุกต์ใช้ความรู้ได้อย่างเกิดประโยชน์และมีความหมายในชีวิตจริง สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ในโลกยุคดิจิตอลและไทยแลนด์ ๔.๐

๒. วัตถุประสงค์

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโครงสร้างอะตอมด้วยคอมพิวเตอร์กราฟิก

๓. ลักษณะแนวทางการจัดการเรียนการสอน  ประกอบด้วย  ๓  กระบวนการ  ตามลำดับ  ดังนี้

๓.๑  ขั้นวางแผน

๓.๑.๑ การศึกษาการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโครงสร้างอะตอมด้วยคอมพิวเตอร์กราฟฟิก จัดเตรียมวัสดุ / อุปกรณ์ และสื่อต่างๆ  ตลอดทั้งวางแผนการวัดและประเมินผลผู้เรียน

๓.๑.๒  วางแผนการจัดการเรียนการสอนโดยจัดทำตารางกำหนดการสอน

๓.๒  ขั้นดำเนินการจัดการเรียนการสอน

๓.๒.๑  ดำเนินการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ ดังนี้

ขั้นที่  ๑  การเตรียมความพร้อม  การทำสมาธิ
ขั้นที่  ๒  มีการสร้างความตระหนักต่อความรู้ทางวิทยาศาสตร์
ขั้นที่  ๓  การแสวงหาความรู้
ขั้นที่  ๔  การออกแบบ และตั้งสมมติฐาน
ขั้นที่  ๕  การทดลอง
ขั้นที่  ๖  การสรุปผล

๓.๒.๒ พัฒนาผู้เรียนให้ครอบคลุมทุกด้านตามศักยภาพ ประกอบด้วย ความรู้ ทักษะ จิตใจ คุณธรรม สังคม และการดำเนินชีวิตด้วยการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน

๓.๓  การวัดและประเมินผล

๓.๓.๑  ทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจ
๓.๓.๒  วัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๓.๓.๓  วัดความพึงพอใจ

          โดยผู้วิจัยได้นำเสนอภาพประกอบการสร้างรูปแบบการจัดการเรียนการสอนโครงสร้างอะตอมด้วยคอมพิวเตอร์กราฟิก ดังต่อไปนี้


ภาพที่ ๑. การเชื่อมต่อภายนอกของสนามไฟฟ้า

ภาพที่ ๒ ภาพของรังสีแคโทดหักเหไปทางขั้วบวกของสนามไฟฟ้า

จุดเด่นความสนใจของผลงานทางวิชาการ : งานวิจัยเรื่องนี้มีจุดเด่นตรงประเด็นการอภิปรายผล เพราะสอดคล้องกับทักษะและเทคนิคการสอนสภาพการณ์ปัจจุบันมาก คือ

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโครงสร้างอะตอมด้วยคอมพิวเตอร์กราฟิก ประกอบด้วย ๑) หลักการ แนวคิด ทฤษฎี ๒) วัตถุประสงค์ ๓) การจัดการเรียนรู้/กระบวนการ และ ๔) การวัดและประเมินผล ซึ่งสอดคล้องกับ นุชจรินทร์ แก้ววงวาล (๒๕๕๖) การใช้สื่อแอนิเมชันเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ เรื่อง ผังงาน ในวิชาในวิชาหลักการ ออกแบบและพัฒนาโปรแกรม ทำให้นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง มีผลการเรียนรู้ เรื่อง ผังงาน สูงขึ้นกว่าก่อนเรียน คะแนนเฉลี่ยมีค่าเท่ากับ ๘ ส่วนคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ ๑๕.๐๓ เมื่อนำค่าเฉลี่ยของคะแนนไปทดสอบความแตกต่างโดยใช้ t-test ได้ว่า ๒๔.๗๑ สรุปได้ว่า คะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการใช้สื่อแอนนิเมชันประกอบการเรียนการสอนเรื่องผังงาน ในรายวิชาหลักการออกแบบและพัฒนาโปรแกรม ทุกหัวข้ออยู่ในระดับพึงพอใจมากโดยมีคะแนนเฉลี่ยในความเหมาะสมของเนื้อหากับผู้เรียน ,ความน่าสนใจในการดำเนินเรื่อง, เนื้อหาทำให้เกิดแรงจูงใจต่อการเรียน และความสนุกและการได้รับความรู้สูงที่สุด รองลงมาคือหัวข้อความสอดคล้องระหว่างเนื้อหากับวัตถุประสงค์, ปริมาณเนื้อหาและบทเรียน, ความชัดเจนในการอธิบาย เนื้อหา, ความทันสมัยของเนื้อหา, รูปแบบของการทบทวนแบบฝึกหัด, ความน่าสนใจของเกม

แอนนิเมชัน (Animation) หมายถึง การสร้างภาพเคลื่อนไหว โดยการนำภาพนิ่งหลาย ๆ ภาพที่มีความต่อเนื่อง มาฉายด้วยความเร็วที่เหมาะสมทำให้เกิดภาพลวงตาของการเคลื่อนไหว (ธรรมปพน ลีอำนวยโชค, ๒๕๕๐ : ๑๓) สื่อแอนิเมชันสามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน ทำให้เข้าใจบทเรียนได้ง่ายและเข้าใจ ตรงกันเนื่องจากสามารถแสดงให้เห็นเนื้อหาที่ต้องการสื่อผ่านทางภาพเคลื่อนไหวรวมถึงเอื้อต่อการแสดงรายละเอียดของสิ่งที่ต้องการศึกษาภายในบทเรียน ได้ชัดเจนมากกว่าจะเป็นเพียงตัวหนังสือหรือเป็นภาพนิ่งการสร้างงานแอนิเมชันเป็นการรวมองค์ความรู้และประสบการณ์ทั้งศาสตร์ทุกแขนงแบบจำลองรูปภาพ รวมถึงวัสดุกราฟฟิกในงาน แอนนิเมชัน ที่จะนำมาใช้มาสื่อการเรียนการสอนจะต้องมีความเหมาะสมในการให้รายละเอียดและแสดงข้อมูลหรือสารที่ต้องการให้ ผู้รับสารเข้าใจได้ตรงกันในฐานะของสื่อที่ดี (ธรรมศักดิ์ เอื้อรักสกุล, ๒๕๔๗ : ๕)

การใช้สื่อแอนิเมชันเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ เรื่อง ผังงาน ในวิชาในวิชาหลักการ ออกแบบและพัฒนาโปรแกรม ทำให้นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง มีผลการเรียนรู้ เรื่อง ผังงาน สูงขึ้นกว่าก่อนเรียน คะแนนเฉลี่ยมีค่าเท่ากับ ๘ ส่วนคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ ๑๕.๐๓ เมื่อนำค่าเฉลี่ยของคะแนนไปทดสอบความแตกต่างโดยใช้ t-test ได้ว่า ๒๔.๗๑ สรุปได้ว่า คะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการใช้สื่อแอนนิเมชันประกอบการเรียนการสอนเรื่องผังงาน

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : พบว่าข้อเสนอแนะของการวิจัยสามารถนำไปต่อยอดของกระบวนการการวิจัยทางการศึกษาได้ โดยเฉพาะด้านทักษะและเทคนิคการสอน ได้แก่

การออกแบบการจัดการเรียนการสอนควรความสนใจที่จะพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโครงสร้างอะตอมด้วยคอมพิวเตอร์กราฟฟิก เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดความรู้ ทักษะ และความพึงพอใจ เกิดความท้าทาย แปลกใหม่ น่าสนใจ กระตุ้นให้เกิดการอยากเรียนรู้และเสาะแสวงหาความรู้ใหม่เพื่อต่อยอดความรู้เดิม มีการแลกเปลี่ยนทัศนคติ เกิดประสบการณ์จากการลงมือทำ มีการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการประยุกต์ใช้ความรู้ได้อย่างเกิดประโยชน์และมีความหมายในชีวิตจริง สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ในโลกยุคดิจิตอลและไทยแลนด์ ๔.๐

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยทฤษฎีคิดนอกกรอบของเดอโบโนในวิชาออกแบบเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนิสิตนักศึกษา สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ ระดับปริญญาบัณฑิต

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยทฤษฎีคิดนอกกรอบของเดอโบโนในวิชาออกแบบเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนิสิตนักศึกษา สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ ระดับปริญญาบัณฑิต

นางสาวกุลนิษก์ สอนวิทย์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : คำสำคัญ : รูปแบบการเรียนการสอน การคิดนอกกรอบ กระบวนการออกแบบ ความคิดสร้างสรรค์

ความคิดสร้างสรรค์ เป็นปัจจัยที่จำเป็นอย่างยิ่งในการส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติ เพราะหากประชากรมีความคิดสร้างสรรค์ จะทำให้มีความกล้าในการจินตนาการ สามารถสร้างสรรค์ผลงานที่แปลกใหม่ ความคิดสร้างสรรค์จึงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นประชากรที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะบทบาทในการทำให้เกิดการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์เพื่อนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการ จากรายงานการวิจัยเกี่ยวกับความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ พบว่า ภาพอนาคตคนไทยที่พึงประสงค์ คือ เป็นคนที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และใช้ประโยชน์จากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรม และควรเตรียมคนในสองทศวรรษหน้าให้เป็นคนที่มีความรู้ความสามารถ ทักษะและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในอาชีพอย่างจริงจัง โดยผ่านกระบวนการเรียนการสอนในทุกระดับชั้น

แต่จากการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง ความคิดสร้างสรรค์กับการพัฒนาประเทศ พบว่าประเทศไทยยังขาดแคลนบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ เพราะคนไทยไม่ชอบคิดนอกกรอบชอบเลียนแบบคนอื่น ไม่มีคนสนับสนุนและต่อยอดทางความคิด รวมทั้งผลการประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา สถานศึกษาที่สามารถจัดการเรียนการสอน โดยมีผลการประเมินที่อยู่ในระดับดี ในเรื่องมีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ มีเพียงร้อยละ ๑๐.๐๔ สอดคล้องกับผลการวิจัยที่พบว่า ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ามาตรฐาน จากปัญหาดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นในการพัฒนาความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน ดังนั้นควรจัดการเรียนการสอนให้เอื้ออำนวยต่อการแสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการในทุกๆ ด้าน

ความคิดสร้างสรรค์เกิดจากความสามารถในการคิดนอกกรอบของความคิดเดิม ทำให้เกิดแนวคิดใหม่ที่สามารถนำมาใช้ในการแก้ปัญหา สอดคล้องกับผลการวิจัยที่พบว่า การนำเทคนิคการคิดนอกกรอบมาใช้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน จะช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนให้สูงขึ้นได้ แสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้ฝึกทักษะทางด้านการคิดด้วยเทคนิคการคิดนอกกรอบจะช่วยกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ซึ่งในการเรียนการสอนด้านการออกแบบ ผู้เรียนต้องใช้ความสามารถในการคิดเพื่อสร้างสรรค์ผลงาน โดยอาศัยหลักการหรือทฤษฎีการออกแบบและกระบวนการออกแบบ ผู้วิจัยเห็นว่า การฝึกให้ผู้เรียนมีทักษะในการคิดนอกกรอบ โดยนำมาใช้ในขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล จะช่วยให้ผู้เรียนเห็นมุมมองที่แตกต่าง เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวคิดที่แปลกใหม่มีความหลากหลาย ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์ผลงานการออกแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสนใจเพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการการเรียนรู้ด้วยทฤษฎีการคิดนอกกรอบของเดอ โบโน ในวิชาการออกแบบเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้ได้รูปแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับระดับอุดมศึกษา สามารถนำไปใช้ได้จริงและเป็นต้นแบบสำหรับวิชาอื่นๆ ในการนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : สามารถสรุปสาระสำคัญได้จากการดำเนินการวิจัย เริ่มต้นตั้งแต่ :

วิธีดำเนินการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนา (Research and Development) มุ่งพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยทฤษฎีการคิดนอกกรอบของเดอ โบโน ในวิชาการออกแบบเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ มีขั้นตอนการดำเนินการวิจัยดังนี้

๑. การศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง

๑.๑ ผู้วิจัยวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการสร้างรูปแบบ

๑.๒ ผู้วิจัยสังเคราะห์รูปแบบการเรียนการสอนของนักวิชาการ เพื่อนำมาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนดังกล่าว

๒. การออกแบบรูปแบบการสอนฯ

๒.๑ ผู้วิจัยนำแนวทางที่ได้จากการวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี หลักการที่เกี่ยวข้องและการสังเคราะห์รูปแบบการเรียนการสอน มากำหนดเป็นองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนดังกล่าว

๒.๒ ผู้วิจัยแบบแบบประเมินรูปแบบการเรียนการสอนดังกล่าว

๒.๓ ผู้วิจัยนำรูปแบบการเรียนการสอน (ต้นแบบ) ที่พัฒนาขึ้นไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน ๕ ท่าน ประเมินความสอดคล้อง/ความเหมาะสมของรูปแบบ ซึ่งผลการประเมินอยู่ในเกณฑ์เหมาะสม โดยความสอดคล้องมี ค่า IOC = ๐.๘๔ และความเหมาะสมมีค่า IOC = ๐.๘๔

๒.๔ ผู้วิจัยนำผลการประเมินรูปแบบการเรียนการสอนจากผู้ทรงคุณวุฒิมาปรับปรุงแก้ไข ซึ่งได้รูปแบบที่เหมาะสมดังนี้

หลักการ

          รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยทฤษฎีการคิดนอกกรอบของเดอ โบโน ในวิชาการออกแบบเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ มีหลักสำคัญ ๔ ประการ ในการจัดการเรียนการสอนดังนี้

          ๑. ทฤษฎีการคิดนอกกรอบ กระบวนการขั้นพื้นฐานของการคิดนอกกรอบ คือ การหลีกหนีจากความคิดเดิมและการกระตุ้นให้เกิดความคิดใหม่ เทคนิคการคิดนอกกรอบแบบการเปลี่ยนแปลงจากภายใน ต้องอาศัยการวิเคราะห์ภายในมโนทัศน์นั้นๆ เพื่อให้เกิดการคิดใหม่ ได้แก่ การบิดเบือนและการขยายความเกินจริง ส่วนเทคนิคการคิดนอกกรอบแบบการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก ต้องอาศัยสิ่งเร้าจากภายนอกเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความคิด ได้แก่ การระดมสมอง

๒. ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับประสบการณ์ของผู้เรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะทางการคิด โดยการให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นและมีอิสระในการติดสินใจจะส่งผลให้เกิดความคิดสร้างสรรค์

๓. ทฤษฎีการออกแบบ กระบวนการออกแบบมีขั้นตอนการทำงานแตกต่างกันไปตามคุณลักษณะของผลงาน ดังนี้ ๑) การศึกษาค้นคว้า ๒) การวิเคราะห์ข้อมูล ๓) การสังเคราะห์ ๔) การนำเสนอผลงาน ๕) การประเมินผล

๔. เครือข่ายสังคมออนไลน์ การนำเสนอผลงานผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ทำให้ผู้สอนและผู้เรียนสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแบ่งปันข้อมูลด้านวิชาการ ผ่านการพูดคุย แสดงความคิดเห็น สอบถาม ให้คำปรึกษา โดยไม่จำกัดเวลาหรือสถานที่ การเรียนรู้จึงเกิดขึ้นตลอดเวลาและยังเป็นการสนับสนุนให้ผู้เรียนกล้าแสดงความคิดเห็น

ผู้วิจัยได้นำหลักการข้างต้นมากำหนดเป็นรูปแบบการเรียนการสอนฯ แสดงดังภาพ ที่ ๑

ภาพที่ ๑ แสดงขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอน โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยทฤษฎีการคิดนอกกรอบของเดอ โบโน ในวิชาการออกแบบเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์

วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนการสอน

เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนิสิตนักศึกษาสาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ระดับปริญญาบัณฑิต

เนื้อหาที่เหมาะสมกับรูปแบบการเรียนการสอน

เนื้อหาวิชาที่นำมาใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ รายวิชา ๒๑๐๙๓๑๙ การออกแบบบรรจุภัณฑ์

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมี ๔ ขั้นตอน ดังนี้

๑. การกำหนดจุดมุ่งหมาย / วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

๒. การกำหนดเนื้อหาการเรียนรู้ ผู้สอนวิเคราะห์เนื้อหา โดยพิจารณาเนื้อหาในหน่วยการเรียนรู้ต่างๆ แล้วกำหนดรายละเอียดและลำดับการนำเสนอเนื้อหาเป็นขั้นๆ อย่างเป็นระบบ โดยนำเสนอเนื้อหาสาระที่มีลักษณะเป็นหลักการหรือกระบวนการที่เป็นพื้นฐานก่อนในขั้นแรก แล้วจึงเข้าสู่ระบบการออกแบบที่เริ่มด้วยการศึกษาค้นคว้า การวิเคราะห์ข้อมูล การสังเคราะห์การนำเสนอผลงานและการประเมินผล

๓. การทดสอบก่อนเรียน ผู้สอนกำหนดให้ผู้เรียนสร้างสรรค์ผลงานการออกแบบบรรจุภัณฑ์มาคนละ ๑ ชิ้น ก่อนเริ่มเรียน จากนั้นจึงประเมินผลงาน โดยใช้แบบประเมินความสร้างสรรค์ของผลงานที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

๔. การดำเนินการเรียนการสอน มี ๒ ขั้นตอนหลัก ดังนี้

๔.๑ ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ มี ๓ ขั้นตอนย่อย ได้แก่

๔.๑.๑ การกำหนดประเด็นปัญหา ผู้สอนเตรียมความรู้พื้นฐานที่จำเป็นในการเรียนรู้ โดยการบรรยายเนื้อหาความรู้แล้วกำหนดประเด็นปัญหาในการออกแบบที่สัมพันธ์กับสาระการเรียนรู้ในหน่วยการเรียนนั้นๆ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถามรายละเอียดเกี่ยวกับประเด็นปัญหาในการออกแบบ

๔.๑.๒ การอภิปราย ผู้สอนมอบหมายให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มเพื่อระดมความคิดและอภิปรายแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาในการออกแบบ การระดมสมองมีขั้นตอนดังนี้

๔.๑.๒.๑ ผู้สอนมอบหมายให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มและกำหนดเวลาที่ใช้ในการประชุม

๔.๑.๒.๒ สมาชิกในกลุ่มเลือกประธานและเลขานุการ โดยประธานทำหน้าที่เป็นผู้นำการประชุมและควบคุมดูแลการประชุมให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ส่วนเลขานุการทำหน้าที่จดบันทึกความคิดเห็นต่างๆ ที่ได้จากสมาชิก

๔.๑.๒.๓ สมาชิกในกลุ่มร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาในการออกแบบได้อย่างอิสระ โดยเลขานุการของทุกกลุ่มจดบันทึก แล้วส่งให้ผู้สอน จากนั้นผู้สอนเขียนความคิดเห็นที่แต่ละกลุ่มเสนอมาบนกระดาน

๔.๑.๒.๔ ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันอภิปรายความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่ได้นำเสนอมาว่าเป็นแนวคิดที่ดี มีความเหมาะสมหรือมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด

๔.๑.๒.๕ การประเมินผลจะเกิดขึ้นหลังการประชุม เพื่อคัดเลือกความคิดที่เป็นประโยชน์โดยตรงออกมา แล้วบันทึกความคิด มุมมองใหม่ๆ ของปัญหา วิธีพิจารณาปัญหา ปัจจัยเพิ่มเติมในการพิจารณาปัญหา ซึ่งนำไปสู่แนวคิดในการแก้ปัญหาการออกแบบ รวมทั้งนำความคิดที่พิจารณาว่าไม่ถูกต้องในตอนแรกมาปรับปรุงหรือหาข้อมูลเพิ่มเติม

๔.๑.๒.๖ เมื่อเสร็จสิ้นการประชุม จะได้ข้อสรุปเกี่ยวกับความคิดที่ใช้ประโยชน์ได้ทันที แหล่งข้อมูลเพิ่มเติมและแนวคิดในการแก้ปัญหา

๔.๑.๓ การวางแผนเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ผู้สอนมอบหมายงานให้ผู้เรียนนำแนวคิดที่ได้จากการอภิปรายมาวางแผน เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางการแก้ปัญหาการออกแบบ โดยพิจารณาถึงข้อมูลที่ต้องศึกษาแนวคิด ขั้นตอนและเทคนิคในการออกแบบ เพื่อเข้าสู่กระบวนการออกแบบต่อไป

๔.๒ กระบวนการออกแบบ มีขั้นตอนดังนี้

๔.๒.๑ การศึกษาค้นคว้า มีแนวทางการศึกษา คือ ๑) บทบาทของข้อมูลในการออกแบบ ๒) แหล่งข้อมูล ๓) การจำแนกประเภทข้อมูล ๔) ปัจจัยที่มีผลต่อการออกแบบ โดยให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าข้อมูล แนวคิดขั้นตอนและเทคนิคในการออกแบบตามแผนที่วางไว้ จากเอกสารอ้างอิงประกอบการค้นคว้า สื่อออนไลน์ ตัวอย่างงานออกแบบเชิงประจักษ์ในท้องตลาด

๔.๒.๒ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้เทคนิคการบิดเบือนและการขยายความเกินจริง มีขั้นตอนดังนี้

๔.๒.๒.๑ ผู้เรียนพิจารณารายละเอียดของสิ่งที่ต้องการเปลี่ยนแปลงมุมมอง

๔.๒.๒.๒ ผู้เรียนกำหนดให้รายละเอียดของแต่ละส่วนมีความบิดเบือนแตกต่างหรือลักษณะเกินไปจากความจริง

๔.๒.๒.๓ ผู้เรียนเขียนรายละเอียดหรือทางเลือกที่มีความเป็นไปได้ เพื่อสรุปเป็นความคิดใหม่

๔.๒.๒.๔ ผู้เรียนนำมุมมองที่เกิดขึ้นใหม่มาใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการค้นหาความคิดที่แปลกแตกต่างจากความคิดเดิมๆ

๔.๒.๓ การสังเคราะห์ โดยให้ผู้เรียนนำข้อสรุปเพื่อการออกแบบที่ได้จากการวิเคราะห์ มาสร้างสรรค์เป็นผลงานที่มีความสวยงามแปลกใหม่ สร้างสรรค์และสามารถแก้ปัญหาในการออกแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๔.๒.๔ การนำเสนอผลงาน โดยให้ผู้เรียนนำเสนอผลงานการออกแบบผ่านทางเครือข่ายสังคมออนไลน์โดยใช้เว็บไซต์เฟซบุ๊ก (Facebook.com) เพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกในกลุ่มได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลงานการออกแบบของผู้เรียนแต่ละคน

๔.๒.๕ การประเมินผลงาน เป็นการประเมินระหว่างเรียน โดยผู้สอนเป็นผู้ประเมินและมอบหมายให้ผู้เรียนร่วมแสดงความคิดเห็นและประเมินผลงานการออกแบบของเพื่อนร่วมชั้นเรียน ผ่านทางเครือข่ายสังคมออนไลน์

การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ

รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีการวัดและประเมินผล ดังนี้

๑. การวัดและประเมินผลระหว่างการจัดการเรียนรู้ ใช้วิธีการประเมิน ๕ แบบ ดังนี้ ๑) การตอบคำถาม ๒) การอภิปรายสถานการณ์ปัญหาและสรุปประเด็นการอภิปราย ๓) การทำผลงานย่อยระหว่างเรียน ๔) การนำเสนอผลงานทางเครือข่ายสังคมออนไลน์และ ๕) การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน

๒. การวัดและประเมินผลหลังการจัดการเรียนรู้ จากการตรวจผลงานที่เสร็จสมบูรณ์ โดยใช้แบบประเมินความสร้างสรรค์ของผลงาน

ผลที่คาดว่าจะได้รับเมื่อนำรูปแบบการเรียนการสอนไปใช้

การเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยทฤษฎีการคิดนอกกรอบของเดอ โบโน ในวิชาการออกแบบเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ สามารถส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้นได้

แนวทางในการนำรูปแบบการเรียนการสอนไปใช้

ผู้สอนควรศึกษารายละเอียดของรูปแบบการเรียนการสอนฯ ในแต่ละองค์ประกอบ วิเคราะห์เนื้อหาสาระของรายวิชาที่สอนตามขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ของรูปแบบและเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ตามขั้นตอนที่ระบุไว้

๓. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนมีขั้นตอน ดังนี้

๓.๑ ผู้วิจัยเลือกรายวิชาที่เหมาะสมกับรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ รายวิชา ๒๑๐๙๓๑๙ การออกแบบบรรจุภัณฑ์

๓.๒ สร้างแผนการจัดการเรียนรู้ ตามรูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ประเมินความเหมาะสมโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน ๕ ท่าน ซึ่งผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่า = ๔.๖๗

๓.๓ สร้างแบบประเมินความสร้างสรรค์ของผลงาน ประเมินความเหมาะสมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๕ ท่าน โดยใช้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) จากนั้นนำแบบประเมินไปทดลองประเมินผลงานของนักศึกษานำคะแนนที่ได้มาหาค่าความเชื่อมั่นด้วยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์ (α – Coeffcient) ของ ครอนบัค (Cronbach) ปรากฏว่ามีความเชื่อมั่นเท่ากับ ๐.๗๗

๓.๔ จัดทำเอกสารประกอบรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ดังนี้

๓.๔.๑ คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอนฯ

๓.๔.๒ แผนการจัดการเรียนรู้

๓.๔.๓ คู่มือการใช้แบบประเมินความสร้างสรรค์ของผลงาน

๓.๕ สร้างแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน

๔. การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน มีขั้นตอนดังนี้

๔.๑ ผู้วิจัยเตรียมความพร้อมก่อนเรียนของกลุ่มทดลอง โดยผู้วิจัยพบว่าผู้เรียนในชั้นเรียนปกติ เพื่อชี้แจงกิจกรรมการเรียนการสอน จากนั้นให้ผู้เรียนสร้างผลงานการออกแบบตามหัวข้อที่กำหนดก่อนเริ่มเรียน

๔.๒ ผู้วิจัยนำผลงานการออกแบบของผู้เรียนกลุ่มทดลองมาประเมิน โดยให้ผู้สอนด้านการออกแบบ จำนวน ๔ ท่านและผู้วิจัยเป็นผู้ตรวจ โดยใช้แบบประเมินความสร้างสรรค์ของผลงาน

๔.๓ ผู้วิจัยจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนฯ จนครบทุกหน่วยการเรียนรู้

๔.๔ ผู้วิจัยให้ผู้เรียนกลุ่มทดลองสร้างผลงานการออกแบบตามหัวข้อเดียวกับที่กำหนดในขั้นตอนก่อนเริ่มเรียน แล้วนำผลงานมาประเมินโดยให้ผู้สอนด้านการออกแบบ จำนวน ๔ ท่านและผู้วิจัยเป็นผู้ตรวจโดยใช้แบบประเมินความสร้างสรรค์ของผลงาน

๔.๕ ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้รับมาวิเคราะห์ผลการทดลอง

๔.๖ ผู้วิจัยประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนกลุ่มทดลอง

๕. การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มไม่อิสระ (t-test for Dependent Samples)

จุดเด่นของผลงานการวิจัย : จุดเด่นของงานวิจัยปรากฏตั้งแต่ ผลของการวิจัยและการอภิปราย ได้แก่

ผลการวิจัย

๑. ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนฯ สรุปได้ดังนี้

รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีหลักการสำคัญ คือ มีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการคิดนอกกรอบตามแนวคิดและเทคนิค เดอ โบโน โดยการหลีกหนีจากความคิดเดิมและการกระตุ้นให้เกิดความคิดใหม่ ซึ่งเทคนิคการคิดนอกกรอบที่นำมาใช้ คือ การระดมสมอง การบิดเบือนและการขยายความเกินจริง โดยมีการจัดลำดับขั้นตอนการเรียนรู้ตามกระบวนการออกแบบ เพื่อช่วยกำหนดทิศทางให้ผู้เรียนสามารถวางแผนและดำเนินการออกแบบได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอนสามารถแก้ปัญหาในการออกแบบได้อย่างเป็นระบบ โดยใช้กระบวนการนี้ซ้ำหลายๆ ครั้ง รวมทั้งการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในขั้นตอนการนำเสนอผลงาน จะช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนได้สื่อสารแลกเปลี่ยนรู้ระหว่างสมาชิกในกลุ่มและบุคคลภายนอก ทั้งยังเปิดโอกาสให้ผู้สอนและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและง่ายขึ้น ดังนั้นการนำกระบวนการออกแบบมาใช้ร่วมกับหลักการข้างต้น จึงเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนได้พิจารณาสิ่งต่างๆ ในมุมมองที่ต่างไปจากเดิม เกิดความคิดที่แปลกใหม่เพื่อนำไปใช้การสร้างสรรค์ผลงานการออกแบบได้อย่างเหมาะสม วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนการสอน คือ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์รายวิชาที่เหมาะสมกับรูปแบบการเรียนการสอนนี้ ควรเป็นรายวิชาที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการออกแบบและมีระยะเวลาของการเรียนการสอนเพียงพอที่จะให้ผู้สอนจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเกิดความคิดในการสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างเหมาะสม โดยมี ๔ ขั้น ได้แก่ ๑) การกำหนดจุดมุ่งหมาย/วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ๒) การกำหนดเนื้อหาการเรียนรู้ ๓) การทดสอบก่อนเรียน ๔) การดำเนินการเรียนการสอนที่มี ๒ ขั้นตอนหลัก ได้แก่ ๔.๑) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้มี ๓ ขั้นตอนย่อย ได้แก่ ๔.๑.๑) การกำหนดประเด็นปัญหา ๔.๑.๒) การอภิปราย ๔.๑.๓) การวางแผนเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ๔.๒) กระบวนการออกแบบ มี ๕ ขั้นตอนย่อย ได้แก่ ๔.๒.๑) การศึกษาค้นคว้า ๔.๒.๒) การวิเคราะห์ข้อมูล ๔.๒.๓) การสังเคราะห์ ๔.๒.๔) การนำเสนอผลงานและ ๔.๒.๕) การประเมินผลงาน

ส่วนการวัดและการประเมินผลนั้น ทำทั้งในระหว่างการจัดการเรียนรู้และหลังการจัดการเรียนรู้ ผลที่คาดว่าได้รับเมื่อมีการนำรูปแบบการเรียนการสอนไปใช้ คือ ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์สูงขึ้นและผู้สอนควรศึกษาแนวทางในการนำรูปแบบการจัดการเรียนการสอนไปใช้ให้เข้าใจ เพื่อให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

ซึ่งรูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นนี้มีผลการประเมิน (ต้นแบบ) จากผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในเกณฑ์เหมาะสม (IOC = ๐.๘๔)

๒. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น สรุปผลได้ ๒ ประเด็นดังนี้

๒.๑ หลังการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยทฤษฎีการคิดนอกกรอบของเดอ โบโน ในวิชาการออกแบบเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ พบว่า ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑

๒.๒ ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยทฤษฎีการคิดนอกกรอบของเดอ โบโน ในวิชาการออกแบบเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในระดับมากที่สุด

อภิปรายผล

๑. อภิปรายผลจากผลการวิจัยสามารถนำมาอภิปรายผลได้ดังนี้

๑.๑ รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยทฤษฎีการคิดนอกกรอบของเดอ โบโน ในวิชาการออกแบบเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ มีผลการประเมิน (ต้นแบบ) จากผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในเกณฑ์เหมาะสม ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้เป็นเพราะรูปแบบการเรียนการสอนดังกล่าวมีแนวคิดพื้นฐานมาจากทฤษฎีและหลักการเกี่ยวกับทฤษฎีการคิดนอกกรอบ ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ ทฤษฎีการออกแบบและการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ร่วมกับการสังเคราะห์รูปแบบการเรียนการสอนต่างๆ ทำให้ได้รูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งผลให้เกิดการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ กล่าวคือ ผู้เรียนมีกระบวนการการเรียนรู้ที่ช่วยพัฒนาความคิด โดยหลักการสำคัญของรูปแบบ คือ มีการจัดกิจกรรมฝึกการคิดด้วยเทคนิคการคิดนอกกรอบของเดอ โบโน ในขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ หลังจากที่ผู้สอนได้กำหนดประเด็นปัญหาในการออกแบบ มีการใช้เทคนิคการระดมสมองในการอภิปราย ซึ่งเป็นเทคนิคการใช้ความคิดของสมาชิกแต่ละคนไปช่วยกระตุ้นให้สมาชิกคนอื่นๆ เกิดความคิดต่างๆ ตามมา ซึ่งแนวคิดที่ได้นำมาใช้ในการวางแผนเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ที่กล่าวว่า เทคนิคการระดมสมองเป็นวิธีการนำแนวคิดของผู้อื่นมาเชื่อมโยงกับแนวคิดของตนเอง ทำให้ได้แนวคิดที่แปลกใหม่ในเวลาที่จำกัด โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น เพื่อกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และได้แนวคิดใหม่ที่กว้างขวางสามารถนำไปสู่การตัดสินใจหรือการแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี

นอกจากนั้นในขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลของกระบวนการออกแบบ มีการใช้เทคนิคการบิดเบือนและขยายความเกินจริง ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้เปลี่ยนแปลงรายละเอียดของสิ่งต่างๆ ในแบบที่ผิดปกติเกินกว่าความเป็นจริง เพื่อกระตุ้นให้เกิดมุมมองใหม่ที่แปลกแตกต่างไปจากเดิม เกิดเป็นความคิดที่แปลกใหม่สร้างสรรค์ เพื่อนำมาใช้เป็นแนวคิดในการออกแบบชิ้นงาน ซึ่งเทคนิคดังกล่าวช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ในการเรียนต่อไป และยังใช้กระบวนการออกแบบ เพื่อกำหนดทิศทางให้ผู้เรียนสามารถวางแผนและดำเนินการออกแบบได้อย่างเป็นขั้นตอน สามารถแก้ปัญหาในการออกแบบได้อย่างเป็นระบบ เรื่องผลการสอนกระบวนการออกแบบในวิชาทฤษฎีการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีต่อความเข้าใจขั้นตอนการออกแบบและผลงานของนักศึกษาโปรแกรมศิลปกรรมระดับปริญญาตรีสถาบันราชภัฏ ที่พบว่า นักศึกษามีระดับความเข้าใจการปฏิบัติตามขั้นตอนกระบวนการออกแบบทั้ง ๓ ด้าน คือ ด้านการวิเคราะห์ ด้านการสังเคราะห์และด้านการประเมินผลหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนทุกด้านและนักศึกษามีความคิดเห็นว่า การดำเนินงานตามกระบวนการออกแบบ ทำให้มีการวางแผนและดำเนินงานอย่างเป็นขั้นตอน ลดข้อผิดพลาดในการทำงาน ทำให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพ จะเห็นได้ว่า การเรียนการสอนด้านการออกแบบโดยใช้กระบวนการออกแบบเป็นกรอบในการทำงาน จะช่วยกำหนดทิศทางให้ผู้เรียนสามารถวางแผนและดำเนินงานออกแบบได้อย่างเป็นขั้นตอน สามารถแก้ปัญหาในการออกแบบได้อย่างเป็นระบบ ส่งผลให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพ

ส่วนการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในขั้นตอนการนำเสนอผลงานนั้น ผู้วิจัยเห็นว่า เครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นเทคโนโลยีที่นับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของบุคคลทั่วไป เป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสาร เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่ผู้สอนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เพื่อดึงดูดความสนใจ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาการทางภาษา เพิ่มทักษะด้านการติดต่อสื่อสารและยังช่วยสนับสนุนให้ผู้เรียนกล้าแสดงความคิดเห็น จึงสามารถนำมาใช้ในการส่งเสริมการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น เฟสบุ๊กเป็นสื่อกลางในการเรียนการสอนเพื่อสร้างความสนใจให้แก่ผู้เรียนโดยการส่งเสริมกิจกรรมทางสังคม เช่น การส่งข้อความส่วนตัว การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็น จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถทำงานร่วมกันผ่านกิจกรรมการอภิปราย ส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ของตนเองจากข้อมูลที่มีหลากหลายมุมมอง การใช้เฟสบุ๊กเป็นสื่อกลางในการเรียนการสอนจึงมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้เสริมสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้เรียน

ดังนั้นการนำทฤษฎีการคิดนอกกรอบของเดอ โบโน มาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนมีโอกาสแสดงออกถึงความคิดและจินตนาการโดยมีการจัดลำดับขั้นตอนการเรียนรู้ตามกระบวนการออกแบบ รวมทั้งใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในขั้นตอนการนำเนอผลงาน จึงสามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนได้ ดังนั้นถ้าผู้เรียนได้รับฝึกฝนด้วยเทคนิคดังกล่าวซ้ำๆ จะสามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้สูงขึ้นได้ สรุปได้ว่า รูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นนี้ ช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกคิดในมุมมองที่แตกต่าง เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวคิดที่แปลกใหม่ จึงเป็นรูปแบบการสอนที่สามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้

๑.๒ หลังการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น พบว่า ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้เป็นผลมาจากวิธีการสอนและการจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น ได้ฝึกคิดด้วยเทคนิคการคิดนอกกรอบ ซึ่งเป็นวิธีการคิดโดยการเปลี่ยนมุมมองของการรับรู้และมโนทัศน์ที่แตกต่างจากแนวคิดเดิม เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวคิดที่แปลกใหม่ มีความหลากหลายและสร้างสรรค์ การจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีดังกล่าว ทำให้ผู้เรียนกล้าแสดงออกและสามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี ที่พบว่าผู้เรียนที่เรียนโดยวิธีการสอนบนเว็บด้วยวิธีการสอนแบบคิดนอกกรอบ มีผลคะแนนการสร้างสรรค์สูงกว่าผู้เรียนที่เรียนด้วยวิธีปกติ เรื่อง การสร้างสื่อคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์โดยใช้รูปแบบการฝึกคิดนอกกรอบแบบเลี่ยงแนวคิดเดิมและสร้างแนวคิดใหม่ ที่พบว่า คะแนนความคิดสร้างสรรค์หลังฝึกสูงกว่าก่อนฝึกและผลการประเมินคุณภาพผลงานของผู้เรียนอยู่ในระดับดีมาก เรื่อง การศึกษาผลการใช้เทคนิคการคิดนอกกรอบเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษา : กรณีศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ที่พบว่า คะแนนเฉลี่ยการคิดนอกกรอบและคะแนนเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาหลังการทดลองสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการทดลอง สรุปได้ว่า การจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นนี้ สามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น

๑.๓ ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นนี้ ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ เนื่องจากมีการเน้นให้ผู้เรียนฝึกคิดในรูปแบบที่แปลกแตกต่างไปจากเดิม ด้วยการจัดกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดการคิด เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนกล้าคิดกล้าแสดงออก ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ นอกจากนั้นยังมีการประเมินการสร้างสรรค์ผลงานตามสภาพจริง โดยคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียนและยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน ซึ่งสอดคล้องกับธรรมชาติของการจัดกิจกรรมการเรียนด้านการออกแบบ ที่สามารถนำไปสู่การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนอย่างแท้จริง จึงทำให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอน ที่เสนอว่า ในการจัดการเรียนการสอนควรส่งเสริมการคิดอย่างอิสระ โดยผู้เรียนได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง ควรให้ผู้เรียนพยายามคิดหาคำตอบในเรื่องต่างๆ ด้วยการหาข้อมูลจากหลายๆ ทาง โดยส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นคนช่างซักถาม ช่างสังเกตและมีทักษะในการตอบคำถาม ควรจัดกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองและจากบุคคลอื่น ด้วยการจัดกิจกรรมการสำรวจค้นคว้า ทดลอง ประชุมกลุ่ม ระดมสมองและวิธีการอื่นๆ ที่เป็นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

 

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : งานวิจัยเรื่องนี้มีจุดของผลการวิจัยและข้อเสนอแนะของผู้วิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายศาสตร์และบทคัดย่องานวิจัย ดังนี้

๑. ข้อเสนอแนะในการใช้รูปแบบการสอน

๑.๑ ผู้สอนควรศึกษารายละเอียดของรูปแบบการเรียนการสอนและขั้นตอนการจัดกิจกรรมของเทคนิคการคิดนอกกรอบให้ชัดเจน เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับรายวิชาต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๑.๒ ผู้เรียนควรมีความมั่นใจในตนเอง กล้าอภิปรายแสดงความคิดเห็นและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น กล้าที่จะแสดงออกถึงความคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน

๑.๓ รายวิชาที่เหมาะสมกับรูปแบบการเรียนการสอนนี้ ควรเป็นรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ ซึ่งต้องใช้ความคิดในการสร้างสรรค์ผลงานให้มีความแปลกใหม่

๑.๔ ควรใช้ระยะเวลาการจัดการเรียนการสอน ๑ ภาคเรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และฝึกฝนวิธีการคิดนอกกรอบหลายครั้ง

๑.๕ ควรมีการชี้แจงถึงวัตถุประสงค์และปะโยชน์ที่ผู้เรียนจะได้รับ รวมทั้งแนวทางการปฏิบัติตนของผู้เรียน เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ยอมรับและเกิดความกระตือรือร้นที่จะเรียน

๒. ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป

๒.๑ ควรศึกษาวิจัยรูปแบบการเรียนการสอนกับกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ เพื่อทดสอบว่าการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบนี้เหมาะสมจะนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายใดได้อีกบ้าง

๒.๒ ควรศึกษาวิจัยรูปแบบการเรียนการสอน โดยนำเทคนิคการคิดนอกกรอบแบบอื่นๆ ของเดอ โบโน มาทดลองใช้ เพื่อทดสอบว่ามีเทคนิคใดอีกบ้างที่เหมาะสมกับรูปแบบการสอนนี้

๒.๓ ควรศึกษาวิจัยโดยออกแบบการวิจัยที่ควบคุมตัวแปรอื่นๆ ที่อาจจะส่งผลต่อความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน

๒.๔ ควรศึกษาวิจัยด้านการวัดและการประเมินผลตามสภาพจริง เพื่อดูกระบวนการและพัฒนาการทางด้านการคิดของผู้เรียน ร่วมกับการประเมินโดยใช้แบบประเมินความสร้างสรรค์ของผลงานจากชิ้นงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยทฤษฎีการคิดนอกกรอบของเดอ โบโน ในวิชาการออกแบบเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ก่อนและหลังเรียนของผู้เรียนและเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน ๓๐ คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ๑. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีหลักสำคัญ คือ มีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการคิดนอกกรอบตามแนวคิดและเทคนิคของเดอ โบโน โดยหลีกหนีจากความคิดเดิมและการกระตุ้นให้เกิดความคิดใหม่ โดยมีการจัดลำดับขั้นตอนการเรียนรู้ตามกระบวนการออกแบบ รวมทั้งมีการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในขั้นตอนเสนอผลงาน วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนการสอน คือ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนิสิตนักศึกษาสาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ระดับปริญญาตรี โดยมี ๔ ขั้นตอน ได้แก่ ๑) การกำหนดจุดมุ่งหมาย/วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ๒) การกำหนดเนื้อหาการเรียนรู้ ๓) การทดสอบก่อนเรียน ๔) การดำเนินการเรียนการสอน ที่มี ๒ ขั้นตอนหลัก ได้แก่ ๔.๑) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ มี ๓ ขั้นตอนย่อยได้แก่ ๔.๑.๑) การกำหนดประเด็นปัญหา ๔.๑.๒) การอภิปราย ๔.๑.๓) การวางแผนเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ๔.๒) กระบวนการออกแบบ มี ๕ ขั้นตอนย่อย ได้แก่ ๔.๒.๑) การศึกษาค้นคว้า ๔.๒.๒) การวิเคราะห์ข้อมูล ๔.๒.๓) การสังเคราะห์ ๔.๒.๔) การนำเสนอผลงาน ๔.๒.๕) การประเมินผลงาน ซึ่งรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นนี้มีผลการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในเกณฑ์เหมาะสม ๒. หลังการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น พบว่า ความคิดสร้างสรรค์หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑๓. ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อรูแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นในระดับความพึงพอใจมากที่สุด

The development of an Instruction Model for the Model and Technique of Leaning Management Based on Constructivist Intergrated with the Philosophy of Sufficiency Economy in the Learning Management and Environment for Learning of the Students in the Faculty of Education at Bansomdejchaopraya Rajabhat University

The development of an Instruction Model for the Model and Technique of Leaning Management Based on Constructivist Intergrated with the Philosophy of Sufficiency Economy in the Learning Management and Environment for Learning of the Students in the Faculty of Education at Bansomdejchaopraya Rajabhat University

นายจิตตวิสุทธิ์ วิมุตติปัญญา

Background

 

The trends of globalization and information technology have led the changes of  the world society to the new system called information technology, or knowledge society, or knowledge-based society economy. According to Porntida Wichianpanya (2004) and Rungrueng Limchupatapan (2003), knowledge management means the system that needs propagation and knowledge to be a key vehicle to build growth and wealth, and make jobs in every sector of the society – economic sector, agricultural sector, industrial sector, service sector, and educational sector – including the system that needs to use knowledge and innovation. From the study of learning management based on constructivist theory, which the principles are focused on learner center, differences between persons, and encouragement to all learners to develop their full potential in every aspect of life, as well as enhance them to become critical and rational thinkers, love learning and be able to learn by themselves. Furthermore, the principles also explain that people can learn a thing with different ways using their prior experiences, cognitive structures of interest, and inner motivation as bases. However, there may be cognitive conflicts caused from a person who encounters a problem, or a situation that is a problem, or an interaction between persons. These will be motivation and take it to consideration to build cognitive paths that is verified by themselves and others whether it can solve a specific problem or other problems which are in its framework of structure, and use it as a tool to construct other new structures and manage learning activities to develop problem solving, teach learners to be knowledge constructors rather than knowledge receivers, practice in action, solve a problem with their own using their experiences, and emphasize the importance of experience and individual process which gives a knowledge of mathematics and causes the learning achievement of students higher. This means the students can learn well if there is a problem situation and causes cognitive conflict. It may be experience and cognitive structure that has been existing but think it more called cognitive restructuring. By this mean, learners will discuss to the problem, find out the reason to solve cognitive conflict in their own and between persons (Khamkai Noichompoo.2011: 4)

The researcher found that the philosophy of sufficient economy is applicable with learning management by linking its theory with practice usefully and sustainably. This philosophy is from real experiences of the development of all areas in the country and from the royal speech based on the King’s duties and royal projects that the King has developed throughout the regions of Thailand. Therefore, these are real projects that the results are from the people. It is the development that is mainly focused on self-reliance. The philosophy is also moderate practice that there is a process of development, not too strict, and based on the Middle Way of Buddhism and is accepted by people. Also, providing the principles of holistic development and emphasizing the happiness of every person both in objects, society, culture, and environment. Therefore, it gives a wider frame of development than the past that only looks at separate parts. This philosophy does not deny the globalization trends, but it indicates that we should know it well and be able to accept the fluctuation of the changes (SompornThepsittha, 2007).

Therefore, the researcher is interested in developing an instructional model and technique of learning management based on constructivist theory and integrated with the philosophy of sufficient economy in the Learning Management and Environment for Learning of the students in the Faculty of Education at Bansomdejchaopraya Rajabhat University and the effects of the model by using the using the technique of confirmatory factor analysis and causal analysis which are the suitable methods and most often use. (Nongluck Wiratchai, 1998) and investigating the effects of learning design on the model and technique of learning management based on constructivist theory and integrated with the philosophy of sufficient economy in the Learning Management and Environment for Learning of the students in the Faculty of Education at Bansomdejchaopraya Rajabhat University.

 

สรุปสาระสำคัญของการวิจัย : สาระสำคัญจะปรากฏวิธี กำหนดหัวข้อปัญหา กระบวนการวิจัย วัตถุประสงค์ ฯลฯ ดังนี้

Research Question / Research Problem

Are there any factors or causes that affect learning management based on constructivist theory by integrating with the philosophy of sufficient economy?

 

Research Objective

To develop an instructional model and technique of learning management based on constructivist theory and integrated with the philosophy of sufficient economy in the Learning Management and Environment for Learning of the students in the Faculty of Education at Bansomdejchaopraya Rajabhat University

 

Research Methodology

Population

The 716 students of the Faculty of Education that enrolled in Learning Management and Environment for Learning (Course code: 1001302) in the academic year of 2015

Sample

The 300 students of the Faculty of Education that enrolled in Learning Management and Environment for Learning (Course code: 1001302) in the academic year of 2015 selected by determining sample size from a given population table of Krejcie and Morgan (1970) and stratifying with proportion by year of studying. Then selecting by Simple Random Sampling

 

Instruments

The instrument used for gathering data is the questionnaire. It investigates the states and problem of learning management in the course of Learning Management and Environment for Learning. This questionnaire has the reliability of Cronbach’s Alpha Coefficient is .93.

 

Research Findings

  1. The results of the latent factor model analysis of learning management found that the model is consistent with the empirical data which is determined by the chi – square is equal to 93; p = 0.33358,degrees of freedom equal to 1 and the goodness of fit index (GFI) is 1.00.The adjusted goodness of fit index (AGFI) is 1.00.The comparative fit index (CFI) is 1.00. The root mean square error off approximation (RMSEA) is equal to 0.0000. These indicate that the model is consistent with the empirical data. When considering the factor loading, it is found that the latent factor of 4-aspect learning management is between 1.87 and 2.65.
  2. The results of the latent factor model analysis of constructivist theory found that the model is consistent with the empirical data which is determined by the chi – square is equal to 00; p = 1.00000,degrees of freedom equal to 1 and the goodness of fit index (GFI) is 1.00. The adjusted goodness of fit index (AGFI) is 1.00. The comparative fit index (CFI) is 1.00. The root mean square error off approximation (RMSEA) is equal to 0.0000. These indicate that the model is consistent with the empirical data. When considering the factor loading, it is found that the latent factor of 4-aspect constructivist theory is between 0.99 and 2.20.
  3. The results of the latent factor model analysis of the philosophy of sufficient economy found that the model is consistent with the empirical data which is determined by the chi – square is equal to 00; p = 0.00000,degrees of freedom equal to 0 and the goodness of fit index (GFI) is 1.00. The adjusted goodness of fit index (AGFI) is 1.00. The comparative fit index (CFI) is 1.00. The root mean square error off approximation (RMSEA) is equal to 0.0000. These indicate that the model is consistent with the empirical data. When considering the factor loading, it is found that the latent factor of the 3 aspects of the philosophy of sufficient economy is between 1.92and 2.54.

 

  1. The results of the analysis of casual relationship hypothesis model of

learning management based on constructivist theory and integrated with the philosophy of sufficient economy found that the model is consistent with the empirical data which is determined by the chi – square is equal to 383.31; p = 0.14328,degrees of freedom equal to 342 and the goodness of fit index (GFI) is 0.96. The adjusted goodness of fit index (AGFI) is 0.94. The comparative fit index (CFI) is 1.00. The root mean square error off approximation (RMSEA) is equal to 0.037. The Regression Coefficient of casual relationship hypothesis model of learning management based on constructivist theory and integrated with the philosophy of sufficient economy is equal to 0.85, which indicates that the variables in the model can explain the variance of variables in the learning management model equal to 85 percent.

When considering the paths that affects the variables of the casual relationship hypothesis model of learning management based on constructivist theory and integrated with the philosophy of sufficient economy, it is found that the latent variables of learning management are influenced by all the latent variables.

While considering the paths that directly affect each latent variables, it is found that the latent variables of learning management factors has influenced directly to the two latent variables, which are constructivist theory and the philosophy of sufficient economy equal to 1.59 and 0.98 respectively and statistically significant at .01.

In addition, the latent variables of constructivist theory and the philosophy of sufficient economy are also found that the paths affect directly the variables to each other equal to 2.40 and 0.13 respectively and statistically significant at .01.

The results of the partial correlation analysis between variables and path coefficient of casual relationship model

 

Dependent Variables R2 Path Independent Variables
Learning Management

(M)

Constructivist Theory (C) Philosophy of Sufficient Economy(P)
Constructivist Theory (C) 0.95 DE

IE

TE

1.59**

1.59**

0.13**

0.13**

Philosophy of Sufficient Economy (P) 0.53 DE

IE

TE

0.98**

0.98**

2.40**

2.40**

DE=Direct Effect, IE=Indirect Effect, TE=Total Effect, *p < 0.05, **p <  0.01

 

Structural Equation of VariablesLearning Management

R-SQUARE                                              0.85

Chi-square=383.31,   df=342,   P-value =0.14328,   GFI=0.96,    AGFI=0.94,    CFI=1.00        RMSEA=0.037

R-SQUARE of the model and technique of learning management based on constructivist theory integrated with the philosophy of sufficient economy equal to 0.85.

Figure 1 The model of causal relationship hypothesis based on constructivist theory integrated with the philosophy of sufficient economy

     The instructional model and technique of learning management based on constructivist theory integrated with the philosophy of sufficient economy in the Learning Management and Environment for Learning of the students in the Faculty of Education at Bansomdejchaopraya Rajabhat University

Figure 2The instructional model and technique of learning management based on constructivist theory integrated with the philosophy of sufficient economy

As in figure 2, it can be explained the steps and processes of the instructional model and technique of learning management based on constructivist theory integrated with the philosophy of sufficient economy in the Learning Management and Environment for Learning of the students in the Faculty of Education at Bansomdejchaopraya Rajabhat University as follows:

  1. Principle, concept and theory

Activity-based management must have goals and objectives that indicate the results involving in knowledge, skill, and attitude. Also, it must be fun and interactive between student and student or student and teacher. There must be the learning exchange of experiences through activities that reflect the individuality and team in the cultural aspect that pays respect to opinion and view of each person with integral learning management.

  1. Objective

The development of the instructional model and technique of learning management based on constructivist theory integrated with the philosophy of sufficient economy in the Learning Management and Environment for Learning of the students in the Faculty of Education at Bansomdejchaopraya Rajabhat University

  1. The qualities of learning management comprise 4 processes respectively as follows:
    • Warm-up
      • Examine the students’ basic schemata.
      • Inform the learning objective.
      • Stimulate the students’ motivation, recall and link between prior learning and new knowledge appropriately.
    • Presentation
      • Stage: Encountering a situation by integrating with the principle of temperance, meaning of appropriateness, usefulness and possibility comprises the following steps:

Step 1: Encountering a situation relevant to a routine

Step 2: Making understanding to the situation

Step 3: Learners are asked together to question, plan, integrate, analyze, describe and interpret the situation

  • Stage: Brainstorming by integrating based on the rational principles, meaning of reasonableness and relationship comprises the following steps:

Step 1: Presenting ideas to solve the problem

Step 2: Explaining the reasons of how to solve the problem

Step 3: Exchanging opinions to each other

  • Stage: Solution by integrating the principle of having a good immunity, meaning of planning, analysis of expected outcome, effect, and ways to develop sustainability comprises the following steps:

Step 1: Self presentation

Step 2: Discussion and responding the questions

Step 3: Finding reasonableness

Step 4: Selecting an appropriate solution to the problem and local environment

Step 5: Discussing pros and cons, and limitation of selecting the solution by considering the sustainable use

  • Stage: Enhancing experiences by integrating the principle of having a good immunity comprises the following steps:

Step 1: Study visit

Step 2: Learning sources, community, local wisdom

Step 3: Tradition, custom, culture

  • Conclusion
    • Students are together to summarize the concepts, principles, and create their own knowledge.
    • Teacher concludes and provides more details to give the correct concepts and principles.
  • Evaluation and assessment
    • Knowledge (Cognitive Domain)
    • Skill (Psychomotor Domain)
    • Attitude (Affective Domain)
    • Self-evaluation

 

 

จุดเด่น/ความน่าสนใจของการวิจัย : ปรากฏจุดเด่นของผลงานวิจัยไว้ที่ การอภิปรายผล ได้แก่

Discussion

Learning management based on constructivist theory is means for learners to create their own learning process by using their prior experiences that help stimulate learners’ cognitive structure as well as integrating the philosophy of sufficient economy in order for sustainable development which is similar to Paijit Saduakkarn (2000) stating that constructivist theory is the theory that is developed from pragmatism by James and Dewey in the early 20th century and the paradigm change of searching for knowledge in philosophy of science by Popper and Feyerabend in the late 20th century from the pioneer of the key psychologists like Piaget, Ausubel and Kelly. Then there were a group of constructivist students like Driver, Bell, Kamil, Noddings, Von Glasersfeld, Henderson, Underhill, and Sumalee Chaicharoen (2008) said that constructivists believe that learning is a process of knowledge construction rather than receiving information. Therefore, constructivists are focused on constructing new knowledge appropriately to a particular person and environment plays an important role in constructing meaning according to the reality. Constructivist is a method that can be applicable to teaching and learning management which is mainly focused on doing in order to construct knowledge that is different in the aspect of knowledge construction or learning. This is because of the basic principle from the report of Jean Piaget, a Swiss psychologist and educator, and Lev Vygotsky, a Russian psychologist and educator, which can be divided into 2 types: Cognitive Constructivist and Social Constructivist. Cognitive Constructivist is based from the philosophy of perseverance theory that links prior knowledge or experiences to new knowledge with the process that can be proven reasonably. The knowledge that is from thoroughly thought is called pragmatism together with the fundamental theory of psychology. Jean Piaget, a Swiss psychologist divided the theory into 2 parts: Ages and Stages. Both can predict that children are able or unable to understand a thing when they have different ages, and the theory of development that can be explained in the aspect of cognitive ability. Development theory emphasizes the fundamental principle of cognitive constructivist. With regard to teaching and learning, it is believed that humans need to “construct” their own knowledge through their experiences, and those experiences help stimulate learners to construct cognitive structure called schemas and mental model in the brian. These schemas can be changed, enlarged or complicated with the processes of assimilation and accommodation. Social constructivist is found by Vygotsky. It is focused on social context learning. The Piaget’s cognitive theory is the fundamental principle of discovery learning which teacher has limited roles of teaching, whereas the Vygotsky’s theory provides more opportunity for teachers or older leaners to show their potential in learning. There are many aspects that cognitive constructivist and social constructivist are alike, but the Vygotsky’s social constructivist promotes cooperative learning and involves in teachers themselves. The Vygotsky’s theory is believed that culture is a tool of wisdom that is necessary to develop the model and quality of the tool. It is also determined model and rates of development which is more than the Piaget’s theory. The Vygotsky’s theory is also believed that elder people like fathers, mothers, and teachers are cultural and lingual tools. These cultural tools are history, culture, social context, and language including electronic data access and education management that helps develop learners to be holistic learners in terms of physical, mental, emotional, and social strengths on the basis of living with the philosophy of sufficient economy which comprises 1) moderation which mean sufficiency or enough (not too few and too much, and not to exploit yourself and others), for example, producing and consuming in an sufficient level; 2) reasonableness which means making a decision towards the level of sufficiency must be reasonable and think of the relevant cause, factor and possible effect thoroughly; and 3) self-immunity which means to be ready to encounter the effect and changes that happen by thinking of the possibility of situations that will be possible to happen near or far.

 

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : พบจุดสำคัญสำหรับนำไปประยุกต์กับการจัดการเรียนรู้ได้ อยู่ในการให้ข้อเสนอแนะและบทคัดย่อ ได้แก่

Suggestion

From the research findings, it is found that learning management based on constructivist theory integrating with the philosophy of sufficient economy is linked with each other in the aspect of learning processes of each stage and step. Teachers must think of reasons and principle in integration thoroughly, and they must consider the possible impact that might affect the learners by thinking of sustainable development and lifelong learning with constructing cognitive knowledge.

         ABSTRACT

The purpose of this research was to develop an instructional model and technique of learning management based on constructivist theory and integrated with the philosophy of sufficient economy in the Learning Management and Environment for Learning of the students in the Faculty of Education at Bansomdejchaopraya Rajabhat University. Data were gathered by means of a questionnaire which was administered to 300 students of the Faculty of Education who were selected by multi-stage sampling and were taking the Learning Management and Environment for Learning class (Course code 1001302) during the academic year of 2015. This research was analyzed by LISREL model to estimate the parameter value with Maximum Likelihood using the criteria of sample size determination of Hair, Anderson, Tatham and Black (1998), and analyzed the agreement between the Casual Relationship Model and the empirical data with the technique of linear structural analysis.

The research findings showed that the components of relationship factors of the model and technique of learning management based on constructivist theory and integrated with the philosophy of sufficient economy in the Learning Management and Environment for Learning of the students in the Faculty of Education at Bansomdejchaopraya Rajabhat University consists of 1.1 Learning Management; 1.2 Constructivist Theory; and 1.3 Philosophy of Sufficiency Economy. The model demonstrated good fit to the empirical data with factor loadings ranged between 1.51 and 2.32.

The results of hypothesis testing shows that the comparative analysis of difference of the model and technique of learning management based on constructivist theory and integrated with the philosophy of sufficient economy in the Learning Management and Environment for Learning of the students in the Faculty of Education at Bansomdejchaopraya Rajabhat University categorized  by the factors of bio-social and environment, such as genders, family statuses, living places, learning achievement from the first semester to the present, and years of studying using t-test and one-way ANOVA showed no difference in the aspect of learners’ opinion towards the model.

นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา

 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา

นายอดิเรก อัคฮาด

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ :  เนื้อหาสาระของตำราเล่มนี้มีบทนำที่น่าสนใจจำนวน ๗ บท ดังสรุปได้ดังนี้

บทที่ ๑. แนวคิด ทฤษฎี นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา กระบวนการการเกิดนวัตกรรม ขั้นตอนการตัดสินใจยอมรับนวัตกรรม คุณลักษณะของนวัตกรรมที่ส่งผลต่อการยอมรับจากนวัตกรรมสู่เทคโนโลยี ขอบเขตและองค์ประกอบของเทคโนโลยีการศึกษา แนวคิด หลักการ ทฤษฎีพื้นฐานที่สำคัญทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา พัฒนาการทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา พัฒนาการทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

บทที่ ๒. เทคโนโลยีสาสนเทศเพื่อการศึกษา องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศโทรคมนาคม ระบบสารสนเทศ องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ ประเภทของระบบสารสนเทศที่ใช้ในองค์การ แนวโน้มเทคโนโลยีสารสนเทศ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก มัลติมีเดีย อิเล็กทรอนิกส์บุ๊ก ระบบการเรียนการสอนทางไกล วีดีโอเทเลคอมเฟอเรนซ์ ระบบวีดีโอออนดีมานด์ อินเตอร์เน๊ต

บทที่ ๓. การสื่อสารกับการเรียนรู้ การสื่อสารกับการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ ลักษณะของการสื่อสาร วิธีของการสื่อสาร รูปแบบของการสื่อสาร ประเภทของการสื่อสาร องค์ประกอบของการสื่อสาร แบบจำลองของการสื่อสาร การสื่อสารกับการเรียนการสอน

บทที่ ๔. วิธีระบบกับการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ องค์ประกอบของระบบ ระบบใหญ่และระบบย่อย การจัดระบบ การวิเคราะห์ระบบ การสร้างแบบจำลองระบบการสอน การจัดระบบการสอน การนำวิธีระบบมาปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอน ประโยชน์และข้อจำกัดของการใช้ระบบการสอน

บทที่ ๕. การออกแบบและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน การจำแนกประเภทของสื่อการเรียนการสอน คุณค่าของสื่อการเรียนการสอน หลักการเลือกสื่อการเรียนการสอน การวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อยของสื่อการสอน การออกแบบสื่อการเรียนการสอน กระบวนการการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน ขั้นตอนการใช้สื่อการเรียนการสอน การวางแผนใช้สื่อการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ ขั้นตอนการใช้สื่อการเรียนการสอน การทดสอบหาประสิทธิภาพสื่อการเรียนการสอน

บทที่ ๖. แหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ ความสำคัญของแหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ ประเภทแหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายสำหรับนักศึกษา คุณลักษณะพิเศษของเครือข่ายการเรียนรู้ การนำเครือข่ายการเรียนรู้มาใช้ในกระบวนการศึกษา

บทที่ ๗. วิเคราะห์ปัญหาและผลกระทบจากการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้นวัตกรรมการศึกษาในประเทศไทย การเปลี่ยนบทบาทของครู การวิเคราะห์และสังเคราะห์ปัญหา ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศปัญหาและแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ICT

 

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางการศึกษา : นวัตกรรม  หมายถึง แนวคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือการดัดแปลงจากของเดิมให้ทันสมัยและใช้ได้ดียิ่งขึ้น เมื่อนำสิ่งใหม่เหล่านั้นมาใช้การทำงานแล้ว จะทำให้การทำงานนั้นมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล นวัตกรรมมี ๕ ลักษณะ คือ ความคิด หรือการกระทำนั้นใหม่ในบ้านเราทั้งๆ ที่เก่ามาจากที่อื่น ความคิดหรือการกระทำนั้นใหม่ขณะนี้ ความคิดหรือการกระทำนั้นใหม่เนื่องจากมีความคิด ฯลฯ เป็นต้น กระบวนการเกิดนวัตกรรมที่สำคัญ ๓ ขั้นตอน คือ

๑. มีการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมกับสภาพงาน

๒. มีการตรวจสอบหรือทดลองและปรับปรุงพัฒนา

๓. มีการนำมาใช้หรือปฏิบัติในสถานการณ์จริง ซึ่งแตกต่างจากการปฏิบัติที่เคยปฏิบัติมาจึงเป็นนวัตกรรมที่สมบูรณ์

แนวคิด การปฏิบัติหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นมานั้น กว่าที่บุคคลจะเกิดการยอมรับและตัดสินใจนำไปใช้จะต้องผ่านการตัดสินใจอย่างเป็นขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นความรู้ ขั้นจูงใจ ขั้นการตัดสินใจ ขั้นการนำไปใช้และขั้นการยืนยัน คุณลักษณะของนวัตกรรมที่ส่งผลต่อการยอมรับมีดังนี้

๑. การได้รับประโยชน์จากนวัตกรรม

๒. การเข้ากันได้กับสิ่งที่มีอยู่เดิม

๓. ความซับซ้อน

๔. ทดลองปฏิบัติได้

๕. สังเกตเห็นผลได้

เทคโนโลยีการศึกษาเป็นการผสมผสานองค์ประกอบทั้งหลายที่จะเกื้อหนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้

ขอบเขตและองค์ประกอบของเทคโนโลยีการศึกษา ความสำคัญของนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ดังนี้

๑. ช่วยนำมวลประสบการณ์เข้ามาจัดการศึกษา

๒. ช่วยขยายแหล่งวิทยากรมนุษย์ ซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด

๓. ช่วยจัดสภาวะการเรียนได้อย่างหลากหลาย

๔. ทำให้คุณภาพของสถานศึกษาเท่าเทียมกัน

๕. ทำให้เกิดผลการเรียนรู้หลายด้าน

๖. ช่วยอำนายความสะดวกให้กับนักเรียนได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง

๗. ช่วยให้เกิดเหตุการณ์สอนที่สำคัญที่ทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพ

๘. ช่วยทำให้เกิดภาวะเบื้องต้นที่จำเป็นสำหรับการเรียนการสอน

ระบบสารสนเทศ (Information System) ประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ บุคลากร ระเบียบปฏิบัติงานข้อมูลและการเชื่อมต่อ องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ คือ ส่วนต่างๆ ที่ทำให้ระบบสารสนเทศทำงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ได้แก่ บุคลากร ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ฮาร์ตแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูลและเครือข่าย ประเภทของระบบสารสนเทศที่ใช้ในองค์กร จำแนกได้ดังนี้

๑. ระบบประมวลผลรายการ (TPS)

๒. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (MIS)

๓. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS)

๔. ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (EIS)

๕. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)

สื่อ (Media) คือ ตัวกลางที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดเรื่องราว สาระ ความรู้สึกและ ฯลฯ แบ่งออกได้ดังนี้ คือ วิธีของการสื่อสารแบ่งออกเป็น ๒ วิธี คือ การสื่อสารโดยอาศัยคำเป็นสัญลักษณ์หรือเรียกว่า วจนภาษา (Verbal Communication) กับการสื่อสารโดยอาศัยสัญลักษณ์อย่างอื่นนอกจากคำหรือเรียกว่า อวัจนภาษา รูปแบบการสื่อสาร แบ่งออกเป็น ๒ รูปแบบ คือ การสื่อสารทางเดียว (One – Way Communication) กับการสื่อสารสองทาง (Two – Way Communication) ประเภทการสื่อสารแบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ การสื่อสารภายในตัวบุคคล (Interpersonal Communication) องค์ประกอบของการสื่อสาร คือ สิ่งที่ประกอบกันเข้าจนเป็นกระบวนการสื่อสารที่สมบูรณ์มีผู้ส่งสารหรือต้นแหล่งของสาร สาร สื่อหรือช่องทาง ผู้รับ ผล และข้อมูลป้อนกลับ

วิธีการนำระบบมาปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย ๔ ขั้นตอน ดังนี้

๑. การกำหนดจุดมุ่งหมายและขอบเขต

๒. การออกแบบ

๓. การพัฒนารูปแบบและการทดลองใช้

๔. การประเมินและการปรับปรุง

ประโยชน์ของการใช้ระบบการสอน สามารถนำไปได้ดังนี้ คือ ระบบการสอนเปรียบเสมือนพิมพ์เขียวที่จัดวางองค์ประกอบของการสอนไว้อย่างเป็นระเบียบ ส่งเสริมให้การจัดการสอนมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ครูทราบปัญหาและหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม ช่วยให้ครูได้นำผลการประเมินและข้อเสนอแนะต่างๆ ไปใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงการเรียนการสอนและการนำวิธีการเชิงระบบไปใช้ในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ทางการศึกษา

การจำแนกสื่อประเภทสื่อตามทรัพยากรการเรียนรู้มี ๕ แบบ คือ คน (People) วัสดุ (Material) อาคารสถานที่ (Setting) เครื่องมือและอุปกรณ์ (Tool and Equipment) และกิจกรรม (Activities)

แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นแหล่งปลูกฝังนิสัยรักการอ่านการค้นคว้าและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เป็นแหล่งสร้างเสริมประสบการณ์ภาคปฏิบัติและเป็นแหล่งสร้างเสริมความรู้ความคิด วิทยาการและประสบการณ์ ประเภทของแหล่งการเรียนรู้แบ่งได้ตามลักษณะการแบ่งของแต่ละบุคคล มี ๒ ประเภท ดังนี้

๑. จัดตามลักษณะของแหล่งการเรียนรู้ ได้แก่ แหล่งการเรียนรู้ตามธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ภูเขา ป่าไม้ กรวด หิน ทราย ชายทะเล เป็นต้น แหล่งการเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อสืบทอดศิลปวัฒนธรรม เช่น โบราณสถาน พิพิธภัณฑ์ ฯลฯ เป็นต้น และบุคคลถ่ายทอดความรู้ความสามารถ

๒. จัดตามแหล่งที่ตั้งของแหล่งการเรียนรู้ ได้แก่ แหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน เช่น ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

แหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้สำหรับการศึกษา ได้แก่ ห้องสมุดและฐานข้อมูล แหล่งทัศนศึกษา หนังสืออิเล็กทรอนิกส์และแหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ทางเทคโนโลยี

ตัวอย่างเครือข่ายการเรียนรู้ในประเทศไทย เช่น เครือข่ายไทยสารหรือเนคเทค(http://www.nectec .or.th/index.php) เครือข่ายยูนิเน็ต (UNINET) (http://www.uni.net.th/uniNeT/index.php) สคูลเน็ต (School Net) (http://www.nectec.or.th/schoolnet/index.php3.htm) เครือข่ายนนทรี (http://llocs. ku.ac.th/new/?lang=th) และโทรทัศน์ครู (http://www.thaiteachens.tvl)

 

จุดเด่นและความน่าสนใจของผลงานทางวิชาการ :  หนังสือนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษานี้มีจุดเด่นที่น่าสนใจสำหรับการศึกษาโดยเฉพาะ ได้แก่

จุดเด่นที่ ๑. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) เป็นการนำเอาเทคโนโลยีรวมกันกับการออกแบบโปรแกรมการสอนมาใช้ช่วยสอน เรียกทั่วไปเรียกว่า บทเรียน ปัจจุบันอยู่ในรูปของสื่อประสม (Multimedia) หมายถึงการนำเสนอได้ทั้งภาพ ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวเหมาะกับการศึกษาด้วยตนเองและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับบทเรียนได้ตลอด

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีหลายแบบ มีลักษณะการใช้ดังนี้

๑. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อการสอน (Tutoring)

๒. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อการฝึก (Drill and Practice)

๓. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อสร้างสถานการณ์จำลอง (Simulation)

๔. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อเป็นเกมในการเรียนการสอน

๕. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อการทดสอบ (Testing)

๖. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อการไต่ถามข้อมูล (Inquiry)

จุดเด่นที่ ๒. ระบบการเรียนการสอนทางไกล (Distance Learning) หมายถึง การเรียนการสอนที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ไกลกัน ใช้วิธีการถ่ายทอดเนื้อหาสาระและประสบการณ์ โดยอาศัยสื่อประสมในหลายรูปแบบ ได้แก่ สื่อที่เป็นหนังสือ สื่อทางไปรษณีย์ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ การประชุมทางไกลด้วยภาพและเสียง อินเตอร์เน็ต เป็นต้น ช่วยให้ผู้เรียนที่อยู่ต่างถิ่นที่กันสามารถศึกษาความรู้ได้

องค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนทางไกล ได้แก่

๑. เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางที่มีอิสระในการกำหนดเวลา สถานที่ และวิธีเรียน เช่น การสอนสดโดยผ่านสื่อสารทางไกลและผ่านระบบสารสนเทศทางอินเตอร์เน็ต เป็นต้น

๒. ผู้สอนเน้นการสอนโดยใช้สื่อสารทางไกลแบบ ๒ ทาง และอาศัยสื่อหลายชนิด ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนเรียนได้ด้วยตนเองได้

๓. ระบบบริหารและการจัดการ จัดโครงสร้างอื่นๆ เพื่อเสริมการสอน เช่น การจัดศูนย์วิทยุบริการ จัดระบบอาจารย์ที่ปรึกษา ระบบการผลิตสื่อและจัดส่งสื่อให้ผู้เรียนโดยตรง

๔. การควบคุมคุณภาพ จัดทำอย่างเป็นระบบและดำเนินการต่อเนื่องสม่ำเสมอ โดยเน้นการควบคุมคุณภาพในด้านองค์ประกอบของการสอน เช่น ขั้นตอนการวางแผนงานละเอียด ฯลฯ เป็นต้น

กระบวนการการเรียนการสอน มีขั้นตอนสำคัญๆ ๓ ขั้นตอน คือ การเรียน-การสอน การถาม-ตอบ และการประเมินผล

จุดเด่นที่ ๓. อินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีรากฐานความเป็นมา โดยการสนับสนุนของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาที่มีความประสงค์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ       อินเตอร์เน็ตมีประโยชน์ต่อการศึกษามาก ทำให้มหาวิทยาลัยต่างๆ ตื่นตัวต่อการใช้ ทั้งนี้เพราะว่าในระบบเครือข่ายมีข้อมูล ข่าวสารที่ต้องการมากมาย จึงมีอัตราการขยายตัวของผู้ใช้สูง และครอบคลุมทุกแห่งทั่วโลก จึงทำให้อินเตอร์เน็ตมีบทบาทต่อการศึกษาดังนี้

๑. การใช้เป็นระบบสื่อสารส่วนบุคคล

๒. ระบบข่าวสารบนอินเตอร์เน็ตมีลักษณะเหมือนกระดานข่าวที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก

๓. การใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลข่าวสารต่างๆ บนอินเตอร์เน็ต มีแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงกันและติดต่อกับห้องสมุดทั่วโลก ทำให้การค้นหาข้อมูลโดยใช้เวลาอันสั้น

๔. ฐานข้อมูล เครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Web) เป็นฐานข้อมูลแบบเอกสารและมีรูปภาพจนมาปัจจุบัน ฐานข้อมูลเหล่านี้ได้พัฒนาขึ้นมาเป็นแบบมัลติมีเดีย มีทั้งข้อความ รูปภาพ วีดิทัศน์และเสียง

๕. การพูดคุยแบบโต้ตอบหรือคุยเป็นกลุ่ม บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสามารถเชื่อมต่อกันและพูดคุยกันได้ด้วยเวลาจริง ผู้พูดสามารถพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดบนเครือข่าย

๖. การส่งถ่ายข้อมูลระหว่างกันแบบ FTP (Files Transfer Protocol) สามารถโอนย้ายถ่ายเทข้อมูลระหว่างกันเป็นจำนวนมากๆ ได้ โดยส่งผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งทำให้สะดวกต่อการรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็ว

๗. การใช้ทรัพยากรที่ห่างไกล ผู้เรียนอาจจะเรียนอยู่ที่บ้านและเรียกใช้ข้อมูลเป็นทรัพยากรการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยได้และต่างมหาวิทยาลัยได้ด้วย

 

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : เนื้อหาสาระที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ยังมีเนื้อหาสาระอื่นๆ ที่สามารถนำไปใช้ประยุกต์ใช้ได้ อาทิเช่น

๑. การออกแบบสื่อการเรียนการสอน เป็นการวางแผนสร้างสรรค์สื่อการเรียนการสอนหรือการปรับปรุงสื่อการเรียนการอสนให้มีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เช่น หลักการ ทฤษฎีเทคโนโลยีการศึกษา ทฤษฎีจิตวิทยาการศึกษาและหลักการทางศิลปะ ฯลฯ เป็นต้น

ลักษณะการออกแบบที่ดีควรเหมาะสมกับจุดมุ่งหมายของการนำไปใช้ ง่ายต่อการทำความเข้าใจเหมาะสมกับสภาพการใช้งานของสื่อและควรมีความกลมกลื่นกับส่วนประกอบและสภาพแวดล้อม

๒. ปัจจัยพื้นฐานของการออกแบบสื่อการสอน หรือวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ๓ ด้าน คือ พุทธพิสัย จิตตพิสัยและทักษะพิสัย

การออกแบบและผลิตสื่อ จำเป็นที่ผู้ผลิตต้องมีความรู้เกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอน ผู้ออกแบบต้องศึกษาองค์ประกอบของการออกแบบหรือส่วนประกอบในการสร้างภาพ ได้แก่ จุด (Dots) เส้น (Line) รูปร่าง (Shape) รูปทรง (Form) แสงและเงา (Light and Shade) สี (Color) และลักษณะพื้นผิว (Texture)

๓. การใช้นวัตกรรมการศึกษาในประเทศไทย

๓.๑ ใช้วิธีระบบ (System Approach)

๓.๒ ศูนย์การเรียนรู้ (Learning Center)

สื่อช่วยสอนที่ทันสมัย

๑) การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม เช่น โรงเรียนวังไกลกังวล

๒) เคเบิลทีวีใช้สอนสำหรับการศึกษาทั้งในและนอกโรงเรียน เช่น การสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น

๓) วิดีโอดิสก์ (Video Disc) เป็นสื่อนิยมใช้ปัจจุบันมีขนาดเล็ก เก็บรักษาง่าย

๔) คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ช่วยครูในการเรียนการสอนจะบรรจุเนื้อหาที่จะสอนไว้ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์

๔. การวิเคราะห์และสังเคราะห์ปัญหา

๑. ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ เกิดจากปัญหาเด็กติดเกม ปัญหาการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างคนในสังคมลดลง ปัญหาภาพโป๊หรือคลิปวีดีโออนาจาร

๒. ปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

๑. มีผลกระทบต่อความคิดและพฤติกรรมมนุษย์

๒. เทคโนโลยีสารสนเทศและสังคมมีผลกระทบซึ่งกันและกัน

๓. เทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลกระทบต่อสังคม

๔. เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต

ปัญหาและแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ICT

๑. ปัญหาในใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ ปัญหาด้านบุคลากร ด้านวัสดุ อุปกรณ์และงบประมาณเกี่ยวกับนวัตกรรม

๒. ปัญหาด้านสภาพการเรียนการสอนและปัญหาอุปสรรคในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสถานศึกษา

๓. ปัญหาจากเทคโนโลยีสารสนเทศและทฤษฎีเรื่องจริยธรรมและการเมืองและความเป็นมนุษย์