การพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสานวิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา      มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Development of Multimedia e-Learning with Blended  Learning: Courseware Design for Computer Education Bansomdejchaopraya University

 

รวยทรัพย์  เดชชัยศรี* ดร.ธนาวุฒิ  ประกอบผล** อังคาร  ปริญญาชัยศักดิ์***

 

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้บทเรียนระบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสาน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนระบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน แบบประเมินคุณภาพการเรียนและแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า

  1. บทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 93.79/94.91 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 85/85 ที่กำหนดไว้
  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสานวิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  3. ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสานวิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

คำสำคัญ : บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย, เครือข่ายอินเทอร์เน็ต, การเรียนรู้แบบผสมผสาน

 

Abstract

The purposes of this research were 1) to develop and investigate the efficiency of Multimedia e-Learning with Blended  learning:  Courseware Design for Computer Education Bansomdejchaopraya University 2) to compare between the students’ learning achievement of pre-study and that of post-study by using Multimedia e-Learning with Blended  learning and 3) to study the satisfaction of the students towards Multimedia e-Learning with Blended  learning. The sample included the forty of third year students                                      

* นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

** อาจารย์ คณะการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

*** อาจารย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

majoring in Computer Education at Bansomdejchaopraya Rajabhat University. The research instruments included pre-test and post-test, Multimedia e-Learning with Blended  learning quality assessment form, and questionnaire. Data were statistically analyzed in MEAN, standard deviation, and t-test.

The finding revealed as follows:

  1. The efficiency of Multimedia e-Learning with Blended learning: Courseware  Design for Computer Education Bansomdejchaopraya University measured 93.79/94.91, which was higher than the criteria of 85/85.
  2. After using Multimedia e-Learning with Blended learning, the learning achievement of the students was significantly higher than that before the experiment at significance level .05.
  3. The student’s satisfaction towards learning through Multimedia e-Learning with Blended learning was generally found at the highest level.

            Keywords: Multimedia e-Learning, Internet, Blended  Learning

 

บทนำ

การที่ประเทศจะพัฒนาได้นั้นส่วนสำคัญ ที่ขาดไม่ได้คือการให้การศึกษาแก่ประชาชนในชาติอย่างทั่วถึง ไม่ว่าคนเหล่านั้นจะอยู่ในเมืองหลวง ต่างจังหวัด หรือถิ่นทุรกันดาร การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอนจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก การจัดการศึกษาที่ทั่วถึงจะนำมาซึ่งความก้าวหน้า ความคิดสร้างสรรค์ การรู้จักการแก้ปัญหาต่างๆ อีกทั้งสามารถบูรณาการไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง ดังที่ นิพนธ์  ศุขปรีดี (2548, น.11) ได้กล่าวไว้ว่า ในปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในระบบการเรียนการสอนมากขึ้น ทำให้รูปแบบและวิธีการสอนเปลี่ยนแปลงไป จากอดีตที่ผู้สอนมีหน้าที่หลักคือการบรรยายให้ความรู้โดยตรงแก่ผู้เรียนและผู้เรียนมีหน้าที่ในการรับฟังและปฏิบัติตามที่ผู้สอนชี้นำ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือการเรียนแบบยึดผู้สอนเป็นศูนย์กลาง ทำให้การเรียนรู้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร แต่ในปัจจุบันรูปแบบการเรียนการสอนได้เปลี่ยนเป็นการเรียนแบบยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยเน้นให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองโดยใช้สิ่งต่างๆเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับสติปัญญา ความถนัด ความสามารถ และความสะดวกของแต่ละบุคคล

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2545 หมวด 4 มาตรา 22  (2545, น.11-12) ใจความว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และให้ถือ  ว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ ซึ่งบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถพัฒนาขึ้นให้เป็นบทเรียนที่เหมาะสมกับผู้เรียนในลักษณะเสริมการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดีและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดปัญหาที่เป็นข้อคิดแก่ผู้ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนทั้งหลายในอดีต (Bork, 1983) ก็คือคุณภาพของโปรแกรมบทเรียน สำหรับใช้ในห้องเรียนซึ่งปัจจุบันพบว่า โปรแกรมบทเรียนที่ใช้ในการเรียนการสอนโดยตรงนั้น ยังไม่มีคุณภาพสูงเท่าที่ควรจะเป็น คือ มีโปรแกรมบทเรียนจำนวนไม่น้อยในปัจจุบัน ควรปรับปรุงในเรื่องวิธีสอนหรือวิธีเขียน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ การออกแบบการสอนยังควรที่จะต้องได้รับการปรับปรุง ซึ่งในปัจจุบันนักการศึกษาหลายท่านต่างให้ทรรศนะไว้ ดังที่ สวลี มูลวณิชย์ (น.21-22) กล่าวว่า เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอร์ฟแวร์ได้พัฒนามากขึ้น ประกอบกับระบบการสื่อสารก็ได้พัฒนาไปมากเช่นกัน โปรแกรมบทเรียนหรือคอร์สแวร์ ได้พัฒนาเข้าสู่ระบบการเรียนการสอนแบบมัลติมีเดีย และเป็นระบบการเรียนการสอนอย่างแท้จริงมากขึ้น สามารถจัดระบบการเรียนการสอนได้ทั้งแบบออนไลน์หรือออฟไลน์ ดังนั้นปัญหาต่างๆที่ยังเป็นข้อข้องใจ และเป็นข้อข้องใจของนักการศึกษาในการพัฒนาและการใช้โปรแกรมบทเรียน จึงเป็นข้อคิดเพื่อให้พึงระวัง สรุปได้ ดังนี้

  1. โปรแกรมบทเรียนที่พัฒนาขึ้น ควรมีคุณลักษณะครบตามหลักการจัดการเรียนการสอน ไม่ว่าจะเป็นสื่อเสริม และสื่อหลักเพื่อการเรียนการสอน
  2. โปรแกรมบทเรียนควรได้รับการออกแบบและพัฒนาโดยนักเทคโนโลยีการศึกษาหรือครูผู้สอน ทั้งนี้เพื่อให้โปรแกรมบทเรียนที่เป็นระบบการเรียนการสอนอย่างแท้จริง
  3. การใช้คอมพิวเตอร์ในห้องเรียน ควรใช้เป็นเครื่องมือในการทำแบบฝึกหัดและฝึกปฏิบัติ ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์จะเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยด้านนี้ได้ดี แต่ครูควรได้เรียนรู้และสามารถพัฒนาบทเรียนเองได้
  • โปรแกรมบทเรียนที่มีจำหน่ายอยู่ตามท้องตลาดทั่วไปในปัจจุบัน มีไม่มากนักที่ใช้เพื่อการเรียนการสอนตามหลักสูตรโดยตรงได้ ควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาให้แพร่หลายมากขึ้น
  • นักทฤษฎีทางการศึกษาทั้งในและต่างประเทศยังไม่ได้พัฒนาข้อสรุปของปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของคอมพิวเตอร์ในห้องเรียน ครูนำคอมพิวเตอร์มาใช้ เพียงเพราะได้รับความสะดวก และคิดว่าคอมพิวเตอร์เป็นเพียงสื่อการสอนอย่างหนึ่ง ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วคอมพิวเตอร์เป็นได้ทั้งเครื่องมือช่วยจัดการศึกษาและการเรียนการสอน และโปรแกรมบทเรียนก็เป็นได้ทั้งระบบการเรียนการสอนและอื่นๆอีกหลายรูปแบบ ตามที่ผู้ใช้หรือผู้ผลิตจะพัฒนาขึ้นมาใช้ในระบบการเรียนการสอนที่ออกแบบวางแผนไว้
  1. แรงผลักดันจากภายนอก ทำให้ต้องยอมรับเทคโนโลยีต่างๆโดยไม่มีโอกาสได้คิดไตร่ตรองอย่างถ่องแท้ ดูเหมือนว่านวัตกรรมการศึกษาต่างๆ มีแนวโน้มที่จะลดทักษะของครู การฝึกอบรมระยะสั้นเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ อาจไม่เพียงพอที่จะทำให้ครูมีความเข้าใจ และสามารถตัดสินใจใช้เทคโนโลยีใหม่ๆได้อย่างมั่นใจ

ข้อคิดเกี่ยวกับโปรแกรมบทเรียน หรือ คอร์สแวร์ ดังกล่าวนี้ เป็นข้อคิดสำหรับนักออกแบบและนักพัฒนาโปรแกรมไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมบทเรียนแบบออฟไลน์หรือออนไลน์ก็ตาม รวมทั้งผู้ใช้ทั้งหลายในการที่จะพินิจพิจารณาไตร่ตรองและร่วมมือกัน เพื่อให้การพัฒนาโปรแกรมบทเรียน ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลบนพื้นฐานของหลักการและทฤษฎีการเรียนรู้และการเรียนการสอนอย่างเหมาะสมมากยิ่งขึ้นต่อไป

ผู้วิจัย พบว่า ในการเรียนการสอนนั้นเนื้อหาที่เรียนเป็นลักษณะทฤษฎีร่วมกับการปฏิบัติ โดยเมื่อถึงคาบการสอนที่เป็นทฤษฎี บ่อยครั้งที่ผู้เรียนเกิดการเบื่อหน่ายจากการบรรยายที่ลักษณะของเนื้อหาค่อนข้างเข้าใจยากและอาจทำให้เกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อรายวิชา  เพื่อเป็นการสร้างทัศนคติที่ดีในการเรียนการสอน ผู้วิจัยจึงเห็นว่าควรต้องสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความอยากเรียนรู้ จึงได้จัดทำบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อตอบสนองต่อการเรียนการสอนและยังประโยชน์ต่อนิสิตทั้งรุ่นปัจจุบันและอนาคต

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

  1. เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียน โดยใช้บทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา              คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียน ที่มีต่อบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

 

 

 

 

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

          ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 180 คน

            กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีจับสลาก 1 ห้องเรียน จำนวน 40 คน เป็นกลุ่มตัวอย่างเรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสานที่สร้างขึ้น

 

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

  1. บทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสานวิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 ซึ่งเป็นบทเรียนผ่านการนำเสนอด้วยข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และการปฏิสัมพันธ์
  2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งประกอบด้วย แบบทดสอบก่อนเรียน แบบฝึกหัดระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน โดยประเมินผลการเรียนของผู้เรียนตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ตอบถูกได้ 1 คะแนน ตอบผิดได้ 0 คะแนนซึ่งผ่านการหาคุณภาพ แล้วจึงนำไปใช้ในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
  3. แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน ในการเรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสานวิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

 

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

ตอนที่ 1   ผลการพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ตารางที่ 1  สรุปผลการประเมินคุณภาพของบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

อันดับที่ รายการประเมินของ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับ

คุณภาพ

(x̄) (S.D.)
1 ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา                  (3 คน) 4.69 0.19 ดีมาก
2 ผู้เชี่ยวชาญด้านมัลติมีเดีย              (3 คน) 4.40 0.21 ดี

จากตารางที่ 1  ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหามีความเห็นว่า คุณภาพของบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีค่าเท่ากับ 4.69 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.19 ระดับคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ ดีมาก ผู้เชี่ยวชาญด้านมัลติมีเดีย มีความเห็นว่า คุณภาพของบทเรียนด้านมัลติมีเดีย มีค่าเท่ากับ 4.40 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.21 ระดับคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ ดี

ตอนที่ 2  ผลการหาประสิทธิภาพของบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ตารางที่  2  แสดงผลการหาประสิทธิภาพของบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ระหว่างกระบวนการของแต่ละหน่วยการเรียน

บทที่ คะแนนระหว่างกระบวนการเรียน ประสิทธิภาพของบทเรียนระบบมัลติมีเดียระหว่างเรียน (Eli)
1 743 92.88
2 753 94.13
3 755 94.38
                                                                             E1 = 93.79

 

เมื่อกลุ่มตัวอย่างได้เรียนครบทุกหน่วยการเรียนแล้ว ให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบหลังเรียน เพื่อนำคะแนนที่ได้ไปเป็นข้อมูลในการหาประสิทธิภาพของบทเรียนหลังเรียน มีผลคะแนนสอบรวมและคะแนนเฉลี่ย ดังแสดงในตารางที่ 3

ตารางที่ 3  แสดงผลการหาประสิทธิภาพของบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา หลังกระบวนการเรียน

รายการ จำนวนผู้เรียน คะแนนเต็ม คะแนนรวม ประสิทธิภาพ
ประสิทธิภาพของบทเรียนระบบมัลติมีเดียหลังเรียน (E2) 40 60 2,278 94.91

จากตารางที่ 2 และ 3  ผลที่ได้จากบทที่ 1 มีประสิทธิภาพระหว่างกระบวนการเรียน เท่ากับ  92.88 บทที่ 2 มีประสิทธิภาพระหว่างกระบวนการเรียน เท่ากับ 94.13  บทที่ 3 มีประสิทธิภาพระหว่างกระบวนการเรียน เท่ากับ 94.38 และเมื่อพิจารณาค่าประสิทธิภาพระหว่างกระบวนการเรียน (E1) มีค่าเท่ากับ 93.79 และค่าค่าประสิทธิภาพหลังกระบวนการเรียน (E2) มีค่าเท่ากับ 94.91 ดังนั้น พบว่าประสิทธิภาพของบทเรียน เท่ากับ 93.79/94.91 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 85/85

ตอนที่ 3  ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ตารางที่ 4  แสดงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา หลังกระบวนการเรียน

 

ผลการสอบที่ได้จาก จำนวนผู้เรียน (n) ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t

 

(x̄) (S.D.)
แบบทดสอบก่อนเรียน (Epre)

(60 คะแนน)

40 13.53 3.55
แบบทดสอบหลังเรียน (Epost)

(60 คะแนน)

40 56.95 2.12 -76.416 *

หมายเหตุ * มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  df. 39

จากตารางที่ 4  พบว่า ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คะแนนผลการเรียนรู้ของนักเรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนระบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน สูงกว่าก่อนเรียนด้วยบทเรียนระบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ยจะเห็นว่า คะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนจากการทำแบบทดสอบหลังเรียนมีค่าเท่ากับ  56.95 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียนซึ่งมีค่าเท่ากับ  13.53 ค่า t-test  มีค่าเท่ากับ -76.416 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า บทเรียนระบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา หลังกระบวนการเรียน ทำให้ผู้เรียนมีผลการเรียนรู้สูงขึ้นซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานการศึกษาข้อที่ 2 ที่กำหนดไว้

ตอนที่ 4  ผลการวิเคราะห์หาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ตารางที่ 5 สรุปผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

รายการประเมิน ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับ

ความพึงพอใจ

(x̄) (S.D.)
1. ส่วนประกอบโดยทั่วไปของโปรแกรม 4.67 0.56 ดีมาก
2. การนำเข้าสู่บทเรียน 4.67 0.56 ดีมาก
3. การนำเสนอเนื้อหา 4.65 0.57 ดีมาก
4. การสรุปบทเรียนและแบบฝึกหัด 4.67 0.55 ดีมาก
เฉลี่ย 4.66 0.56 ดีมาก

จากตารางที่ 5  ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน พบว่า โดยภาพรวม ผู้เรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก (x̄= 4.66, S.D. = 0.56) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ผู้เรียนมีความพึงพอใจในระดับดีมากทุกข้อ โดยเรียงลำดับได้ดังนี้ แบบฝึกหัดมีความยากง่ายเหมาะสมเพียงใด     (x̄= 4.78,S.D. = 0.42) บทเรียนคอมพิวเตอร์สามารถเก็บบันทึกข้อมูลการเรียนได้ดีเพียงใด และ เทคนิคในการนำเสนอเนื้อหา ช่วยให้สามารถทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อ และน่าสนใจมากเพียงใด เท่ากัน ( x̄= 4.75 , S.D. = 0.44 ) หลังจากเรียนเสร็จแล้วทำให้มีความรู้เพิ่มขึ้นเพียงใด และการนำเข้าสู่บทเรียนมีการใช้ภาพเคลื่อนไหวเร้าความสนใจได้ดีเพียงใด มีค่าเท่ากัน (x̄= 4.73, S.D. = 0.51 ) การนำเข้าสู่บทเรียนสามารถทำให้ผู้เรียนทราบถึงหัวเรื่องของเนื้อหาที่จะเรียนได้ดีเพียงใด               (x̄= 4.73 , S.D. = 0.55) การนำเข้าสู่บทเรียนมีการใช้เสียงประกอบเร้าความสนใจได้ดีเพียงใด, บทเรียนมีความสนุกสนานเพียงใด และ การนำเข้าสู่บทเรียนมีการใช้ตัวหนังสือเร้าความสนใจได้ดีเพียงใด (x̄= 4.70,    S.D. = 0.52 และ 0.56) ปริมาณของเนื้อหามีความเหมาะสมเพียงใด และเสียงบรรยายมีความชัดเจน และสามารถกระตุ้นให้เกิดความสนใจได้มากเพียงใด (x̄= 4.68, S.D. = 0.57 และ 0.62) ระยะเวลาที่ใช้ในการเรียนมีความเหมาะสมเพียงใด, แบบฝึกหัดให้ผลย้อนกลับในทันที ทำให้สามารถวัดความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนได้มากเพียงใด (x̄= 4.65, S.D. = 0.58 และ 0.62) มีการยกตัวอย่างภาพประกอบการสอนอย่างชัดเจนเพียงใด และบทเรียนคอมพิวเตอร์สามารถใช้งานได้ง่ายเพียงใด (x̄= 4.63, S.D. = 0.59 และ 0.63) การออกแบบหน้าจอมีความเหมาะสมเพียงใด (x̄= 4.60, S.D. = 0.67) บทเรียนสามารถทบทวน และสรุปเนื้อหาที่เรียนได้มากเพียงใด (x̄= 4.58 , S.D. = 0.64) เทคนิคในการนำเสนอเนื้อหา ช่วยให้สามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้นเพียงใด          (x̄= 4.55, S.D. = 0.64) และการนำเข้าสู่บทเรียนมีการใช้ภาพเร้าความสนใจได้ดีเพียงใด (x̄= 4.53, S.D. = 0.68)       ส่วนข้อเสนอแนะ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แล้วนำเสนอแบบพรรณนาความ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ผู้เรียนส่วนใหญ่มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า บทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสานนั้นทำให้ผู้เรียนสนใจเรียน ไม่เบื่อ และสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

 

สรุปผลการวิจัย

  1. การพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ดังนี้ บทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ผ่านการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ ด้านเนื้อหา และด้านมัลติมีเดีย โดยค่าเฉลี่ยด้านเนื้อหา เท่ากับ 4.69 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.19 คุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในเกณฑ์ ดีมาก และค่าเฉลี่ยด้านมัลติมีเดีย เท่ากับ 4.40 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.21 คุณภาพด้านมัลติมีเดียอยู่ในเกณฑ์ ดี
  2. ประสิทธิภาพของบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ดังนี้ บทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยามีประสิทธิภาพ 93.79/94.91 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ คือ 85/85 หมายถึง ผลการทดลองนี้พบว่าผู้เรียนสามารถทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทที่ 1 ได้คะแนนเฉลี่ย 18.58 บทที่ 2 ได้คะแนนเฉลี่ย 18.83 บทที่ 3 ได้คะแนนเฉลี่ย 18.88 และสามารถทำแบบทดสอบหลังเรียนได้คะแนนเฉลี่ย 56.95 แสดงว่า บทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยามีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอนได้
  3. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้บทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ดังนี้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยการเรียนด้วยบทเรียน มัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ยจะเห็นว่า คะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนจากการทำแบบทดสอบหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 56.95 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียน ซึ่งมีค่าเท่ากับ 13.53 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานคะแนนสอบก่อนเรียนมีค่าเท่ากับ 3.55 มีการกระจายมากกว่า ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานคะแนนสอบหลังเรียนมีค่าเท่ากับ 2.12 ค่า t-test ตารางมีค่าเท่ากับ -76.416 แสดงให้เห็นว่า การเรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
  4. ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ดังนี้ ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.66, S.D. = 0.56) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดทุกข้อ โดยเรียงลำดับได้ดังนี้ แบบฝึกหัดมีความยากง่ายเหมาะสมเพียงใด (x̄= 4.78,S.D. = 0.42) บทเรียนคอมพิวเตอร์สามารถเก็บบันทึกข้อมูลการเรียนได้ดีเพียงใด และ เทคนิคในการนำเสนอเนื้อหา ช่วยให้สามารถทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อ และน่าสนใจมากเพียงใด เท่ากัน (x̄= 4.75 , S.D. = 0.44 ) หลังจากเรียนเสร็จแล้วทำให้มีความรู้เพิ่มขึ้นเพียงใด และการนำเข้าสู่บทเรียนมีการใช้ภาพเคลื่อนไหวเร้าความสนใจได้ดีเพียงใด มีค่าเท่ากัน (x̄= 4.73, S.D. = 0.51 ) การนำเข้าสู่บทเรียนสามารถทำให้ผู้เรียนทราบถึงหัวเรื่องของเนื้อหาที่จะเรียนได้ดีเพียงใด (x̄= 4.73, S.D. = 0.55) การนำเข้าสู่บทเรียนมีการใช้เสียงประกอบเร้าความสนใจได้ดีเพียงใด , บทเรียนมีความสนุกสนานเพียงใด และ การนำเข้าสู่บทเรียนมีการใช้ตัวหนังสือเร้าความสนใจได้ดีเพียงใด(x̄= 4.70, S.D.= 0.52 และ 0.56) ปริมาณของเนื้อหามีความเหมาะสมเพียงใด และเสียงบรรยายมีความชัดเจน และสามารถกระตุ้นให้เกิดความสนใจได้มากเพียงใด (x̄= 4.68, S.D. = 0.57 และ 0.62) ระยะเวลาที่ใช้ในการเรียนมีความเหมาะสมเพียงใด, แบบฝึกหัดให้ผลย้อนกลับในทันที ทำให้สามารถวัดความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนได้มากเพียงใด (x̄= 4.65, S.D. = 0.58 และ 0.62) มีการยกตัวอย่างภาพประกอบการสอนอย่างชัดเจนเพียงใด และบทเรียนคอมพิวเตอร์สามารถใช้งานได้ง่ายเพียงใด (x̄= 4.63, S.D. = 0.59 และ 0.63) การออกแบบหน้าจอมีความเหมาะสมเพียงใด (x̄= 4.60, S.D. = 0.67) บทเรียนสามารถทบทวน และสรุปเนื้อหาที่เรียนได้มากเพียงใด (x̄= 4.58 ,  S.D. = 0.64) เทคนิคในการนำเสนอเนื้อหา ช่วยให้สามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้นเพียงใด (x̄= 4.55, S.D. = 0.64) และการนำเข้าสู่บทเรียนมีการใช้ภาพเร้าความสนใจได้ดีเพียงใด(x̄= 4.53, S.D. = 0.68)

สรุปได้ว่าบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ที่สร้างขึ้นในการวิจัยครั้งนี้มีประสิทธิภาพที่สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้ตรงตามสมมติฐานการวิจัย

 

ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะเพื่อการนำผลการวิจัยไปใช้

  1. ความพร้อมของอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสานวิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในเรื่องของระบบอินเทอร์เน็ต กรณีที่ผู้เรียนต้องเรียนพร้อมกันเป็นจำนวนมาก
  2. ก่อนการเรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนรู้แบบผสมผสานวิชาการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ควรอธิบายเกี่ยวกับการใช้บทเรียนให้กับผู้เรียน เพื่อง่ายต่อการนำไปใช้ในการเรียนการสอน

ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

ผู้วิจัย ควรมีการศึกษารูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อนำมาเป็นรูปแบบการเรียนรู้ในลักษณะอื่นๆ เช่น เกมการเรียนรู้  การเรียนรู้แบบความจริงเสมือน การเรียนรู้แบบร่วมมือกัน หรือการทดลองที่มากกว่า 1 กลุ่ม โดยใช้ประโยชน์จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้มากที่สุด และจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลายมากขึ้น

 

เอกสารอ้างอิง  

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

กิดานันท์  มลิทอง.(2548). เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา.  กรุงเทพฯ:

อรุณการพิมพ์.

จาดูร  จันโทริ. (2551). การสร้างบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่ายเรื่องการตัดเย็บเสื้อเชิ้ตสตรีสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ .วิทยานิพนธ์

ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จรูญพร  ปรปักษ์ประลัย. (2551). สะดุดโลกแอนิเมชั่น. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเด็ก.

ใจทิพย์  ณ สงขลา. (2542). การสอนผ่านเครือข่ายเวิลด์ ไวด์ เว็บ. วารสารครุศาสตร์, 27(3), 18-28.

ชูชีพ  อ่อนโคกสูง. (2548). เอกสารประกอบการสอนวิชาจิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ:

วรวุฒิการพิมพ์.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2547) การบริหารสื่อและเทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์

ไทยพัฒนาพานิช จำกัด

 

ณัฐกร  สงคราม. (2553). การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์

แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญใจ  ศรีสถิตย์นรากูร. (2555). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย: คุณสมบัติการวัด

            เชิงจิตวิทยา. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม  ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาสน์.

มนต์ชัย  เทียนทอง.  (2545).  เทคโนโลยีการศึกษาทางไกล.  กรุงเทพฯ.  ศูนย์ผลิตตำราเรียน

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สวลี  มูลวณิชย์. (2555). ผลการพัฒนาบทเรียนบนเว็บ เรื่อง การออกแบบระบบเครือข่ายและเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ด้วยการเรียนแบบผสมผสานของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง.

สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุรชัย  สิกขาบัณฑิต. (2541). กิจกรรมปฏิสัมพันธ์การสอนทางไกล. กรุงเทพฯ: สํานักสื่อ และเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

สุรางค์ โค้วตระกูล (2548) จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อรอนงค์  กลางณรงค์. (2550). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานประดิษฐ์สำหรับนักเรียน ช่วงชั้นที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Driscoll, M. (1997).Defining Internet-Based and Web-BasedTraining.Performance Improvement. 36(4), April 1997: 5-9.

Egger, M. R. (2000) “Web-based Course in Higher Education : Creating Active learning Environment.” Dissert Abstracts International. (60): 4301.

Good, Carter. (1973). Dictionary of Education. 3rd ed. New York : McGraw – Hill Book Inc.

Khan, B.H, (Ed.).(1997).Web- based instruction. Englewood Cliffs, NJ: Educational TechnologiesPublications.

Likert, R. A. (1932, May). “Technique for the Measure- ment of Attitudes”,

 Arch Psychological. 25(140): 1–55.

Malone, T W (1981). Towards a theory of intrinsically motivating instruction. Congnitive

Science.

Martina Holenko. (2008) “Using Online Discussions in a Blended Learning Course.”

International Journal of Emerging Technologied in Learning.

Meyer, J. P. & Allen, N. J. (1984). Testing the “side bet theory” of organizational

commitment: Some methodological considerations. Journal of Applied Psychology,

69, 372-378.

Michael B. Horn. & Heather Staker. ( 2011 ) The Rise of K-12 Blended Learning. Unpublished Paper,

Innosight Institute.

Oliver, M. and Trigwell, K. (2005). Can ‘blended learning’ be redeemed? E-learning, 2(1), 17–26.