การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์โดยรูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับแผนผังมโนทัศน์

สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

The Development of Analysis Thinking Ability in Scientific

by Concept Map for Undergraduate Student in Bansomdejchaopraya Rajabhat University

นันทนัช วัฒนสุภิญโญ

คณะครุศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ปีการศึกษา 2558

(งานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา)

ชื่อเรื่อง การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์

โดยรูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ สาหรับนักศึกษา ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ผู้วิจัย นางสาวนันทนัช วัฒนสุภิญโญ

ระดับการศึกษา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) ฟิสิกส์

สาขาวิชา วิทยาศาสตร์

คณะ ครุศาสตร์

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ปีการศึกษา 2558

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ในการวิจัยนี้ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ สาหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีและเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ โดยมีแบบแผนวิจัยแบบสุ่ม ทดสอบก่อนและหลังเรียน เพื่อเปรียบเทียบผลระหว่างกลุ่มทดลองที่ใช้วิธี สอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ และรูปแบบการสอนปกติในกลุ่มนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จานวน 2 ห้องเรียน จานวน 76 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดาเนินการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ โดยรูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ รายวิชาฟิสิกส์แผนใหม่สาหรับครูวิทยาศาสตร์ มีค่าประสิทธิภาพเป็น 89.26/89.27 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผล คือ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีค่าของความยากง่าย (p) เท่ากับ 0.22-0.64 ค่าอานาจจาแนก (r) เท่ากับ 0.48-0.73 และค่าความเชื่อมั่น (rtt –KR 20) เท่ากับ 0.95

ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาที่เรียนโดยรูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักศึกษากลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนโดยรูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงกว่านักศึกษากลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01

คาสาคัญ: การคิดวิเคราะห์/ แผนผังมโนทัศน์

Abstract

The objectives of this study were to develop of Analysis Thinking Ability in Scientific by Concept Map for Undergraduate Student. A randomized control group pretest-posttest design was used to compare the two fourth year student classrooms, seventy six student in Faculty of Education at Bansomdejchaopraya Rajabhat University, which were the sample groups followed by Concept Map approach in Modern Physics for Science Teachers subjects and the traditional approach. Research instruments consisted of: lesson plan efficiency and analysis thinking test. The findings revealed that the : lesson plan had efficiency higher than a defined criteria 89.26/89.27. The level of difficulty, item discrimination and reliability coefficient (rtt –KR 20) of the analysis thinking test were 0.36-0.64, 0.48-0.73, and 0.95 respectively.

The research finding showed that after sample groups followed by Concept Map approach received higher pre-tests scores at the .01 level of significance and received higher scores than in the traditional approaches at .01 level of significance.

Keyword: Analysis Thinking/ Concept Map