การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์
โดยรูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ สำหรับ
นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

The Development of Analytical Thinking Ability in
Scientific by Concept Map for Undergraduate Student
in Bansomdejchaopraya Rajabhat University

นันทนัช วัฒนสุภิญโญ*
*สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
*Corresponding Author. E-mail : [email protected]

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ มีการทดสอบก่อนและหลังเรียน เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ในกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 39 คน สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการเลือกแบบสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่แผนการจัดการเรียนรู้ โดยรูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ รายวิชาฟิสิกส์ แผนใหม่สำหรับครูวิทยาศาสตร์ มีค่าประสิทธิภาพเป็น 89.26/89.27 และเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผล ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีค่าของความยากง่าย (p) เท่ากับ 0.22-0.64 ค่าอำนาจจำแนก (r) เท่ากับ 0.48-0.73 และค่าความเชื่อมั่น (rtt –KR 20) เท่ากับ 0.95 ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาที่เรียนโดยรูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คำสำคัญ: การคิดวิเคราะห์ แผนผังมโนทัศน์การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์
โดยรูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Abstract:
This research purpose was to development the analytical thinking ability in scientific for undergraduate student by concept map. The pretest-posttest was used to compare the analytical thinking ability in scientific with the sample group of 39 fourth year students, major of Science, Faculty of education at Bansomdejchaopraya Rajabhat University in the second semester of the academic year 2015. The sample is obtained by cluster random sampling. The research instruments were lesson plan using learning model cooperate with concept map in modern physics for science teacher (89.26/89.27) and analytical thinking test (rtt-KR20=0.95, p=0.22-0.64, r=0.48-0.73). The research finding showed that students’ analytical thinking skill after using the learning model cooperate with concept map is statistically significantly higher than before at a level of .01.

Keyword: Analytical Thinking, Concept Map

View Fullscreen