ผู้เขียน   อาจารย์ ดร.ธนกร สรรย์วราภิภู

จากงาน Solo dance competition

วันที่ : ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ / ๑๕.๐๐ น.
สถานที่ : ห้างสรรพสินค้าดิเอ็มควอเธียร์

อาจารย์ฝึกสอน : ดร.ธนกร สรรย์วราภิภู

ผู้ประกวด : นาย ณัฐวุฒิ หลวงขวา
ประเภท : เต้นเดี่ยว (นาฏยศิลป์ร่วมสมัย)

 

รายละเอียดเชิงวิชาการ/ทฤษฎี ที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเข้าประกวด


การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ร่วมสมัย

รูปภาพที่  1 Merce Cunningham
ที่มา: http://media2.fdncms.com

        ความหมายของคำว่านาฏยศิลป์ร่วมสมัย (Contemporary Dance) Maria del Pilar Naranjo Rico นักวิจัยและนักสร้างสรรค์การเต้นชาวโคลัมเบียที่เป็นผู้เขียนหนังสือ The handy e-book of Contemporary Dance History (2011) ที่ให้ข้อมูลได้ชัดเจนในหัวข้อ Merce Cunningham โดยกล่าวไว้ว่า “Merce Cunningham ถือได้ว่าเป็นผู้เปิดประตูของนาฏยศิลป์ร่วมสมัยเพราะเป็นผู้นำเสนอความคิดใหม่เกี่ยวกับการเต้น โดยมุ่งเน้นไปที่นวัตกรรมของความเป็นไปได้ในการสร้างมิติ ให้งานแสดงนาฏยศิลป์   กระบวนการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ร่วมสมัย เทคนิคในการแปลสิ่งที่ต้องการสื่อสารออกมาสู่การ เคลื่อนไหวรวมถึงการใช้ดนตรีในรูปแบบที่ไม่เป็นข้อกำหนด ในการเต้นไปจนถึงหลักปรัชญา (Andre Lepecki. 2012: 44) หากว่ากันตามตรง  Merce  Cunningham คือ นักสร้างสรรค์ การเต้นคนแรกในนาฏยศิลป์ร่วมสมัย เนื่องจากได้ทำการต่อต้านแนวความคิดของนาฏยศิลป์สมัยใหม่และพัฒนาให้  นาฏยศิลป์ร่วมสมัยมีความอิสระมากยิ่งขึ้นซึ่งได้สร้าง หลักการ ไว้ดังนี้

 

  • นามธรรม Merce Cunninghamเชื่อว่าการเคลื่อนไหวคือการขยายความที่เพียงพอ
    แล้วไม่มีความ จำเป็นต้องบอกเรื่องราวหรือสะท้อนอะไร
  • ถูกออกแบบในพื้นที่และเวลาโดยไม่มีเป้าหมายของการสร้างสรรค์เพราะเป้าหมาย นั้นอาจจะเป็น กรอบในการบีบบังคับผลงานทำให้ไม่สามารถเกิดสิ่งใหม่ได้
  • ความนิ่งหรือความเงียบคืออีกหนึ่งสุนทรียภาพ
  • มิติของเพลง
  • ความอิสระไม่กำหนดกรอบซึ่งกันและกันระหว่างเพลงกับนาฏยศิลป์
  • ไม่มีลำดับชั้นของนักเต้น
  • ผู้ชมมีอิสระในการชม
  • ไม่อยู่แต่ภายในโรงละคร สามารถแสดงได้ทุกที่
  • ลำดับของการเต้นจะอยู่บนโครงสร้างที่ไม่สามารถคาดเดา เนื้อหาที่ไม่มั่นคง ไม่จำเป็น ต้องมีตรรกะ
  • เทคนิคของการตีความ ความคิดเชิงปรัชญาที่มีมิติ
  • ความคิดอิสระ

(Maria del Pilar Naranjo Rico.  2016.  Merce Cunningham: online)

นอกจากนั้นมีผู้ให้ความเห็นที่น่าสนใจไว้ว่า “นาฏยศิลป์ร่วมสมัยคือ นาฏยศิลป์ที่ พัฒนาตามช่วงเวลา ตามยุคตามสมัยซึ่งโมเดิร์นแดนซ์เคยเป็นนาฏยศิลป์ร่วมสมัยเช่นกันแต่เมื่อมาถึงปัจจุบันบริบทของสังคมและ
แนวคิดทางศิลปะเปลี่ยนไป นาฏยศิลป์ร่วมสมัยจึงมีแนว คิดที่เปลี่ยนไปจากเดิมแต่สิ่งหนึ่งที่ยังคง
เหมือนเดิมคือ การใช้เครื่องมือและกระบวนการสร้างสรรค์ที่แน่นอน” (วรารมย์ ปัจฉิมสวัสดิ์. สัมภาษณ์: 2559)

จากข้อมูลข้างต้นผู้ศึกษาจึงสรุปว่า นาฏยศิลป์ร่วมสมัย คือ รูปแบบนาฏยศิลป์ที่มี ความอิสระมากโดยมุ่งสู่การตอบคำถามบริบททางสังคมเป็นนาฏยศิลป์ที่ถูกพัฒนามาจากแนว คิดของนาฏยศิลป์สมัยใหม่ มีการนำการแสดงละครหรือเทคโนโลยีเข้ามาปราศจากลำดับขั้นของ นักเต้น สามารถแสดงได้ทุกที่ และควรเกิดจากการทดลองเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่สร้างสรรค์ทั้งใน รูปแบบของการเคลื่อนไหว แนวความคิด หรือ องค์ประกอบในการ สร้างสรรค์  มีอิสระในการตี ความทั้งต่อตัวผู้สร้างสรรค์ผลงานและผู้ชม

 

บรรณานุกรม

Maria del Pilar Naranjo Rico. (2011). The handy e-book of Contemporary Dance History. Available from http://www.contemporary-dance.org. [accessed Date of Access 14th July, 2015].

วรารมย์ ปัจฉิมสวัสดิ์. (2559, 7 มีนาคม).  สัมภาษณ์โดย ธนกร สรรย์วราภิภู ที่สถาบัน Dance Center.