การแข่งขันเชียร์ลีดดิ้งชิงแชมป์ประเทศไทยครั้งที่ 14 (TNCC 2018)

รายชื่อนิสิต นักศึกษา และคณาจารย์ที่เข้าร่วมการประกวดแข่งขัน

(วัน / เวลา / สถานที่) : ๒ ธันวาคม ๒๕๖๑ / ๑๙.๐๐น. / มหาวิทยาลัยรังสิต

ผู้ฝึกสอน : อาจารย์ ดร.ธนกร สรรย์วราภิภู

ประเภท : ทีม CHEER DANCE TEAM

นางสาว มนัญญา มีวัฒนา
นางสาว ธนาภรณ์ มังกรแก้ว
นาย ทรงภพ วุฒิวิกัยการ
นาย ณัฐวุฒิ หลวงขวา
นาย ณฐ์ชญา ฟ้ากลาง
นางสาว ธรรมสรณ์ บรรดา
นางสาว สุทธิดา สว่างศรี
นางสาว อริสรา ชวนจิตร
นาย สุรชัย นิลขลัง
นาย นครินทร์ เลิศจามีกร
นางสาว อรพิมล ทองทิพย์

 

ประเภท : คู่ CHEER DOUBLE DANCE TEAM

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1

นาย ณัฐวุฒิ หลวงขวา
นางสาว ธรรมสรณ์ บรรดา

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 4

นางสาว ธนาภรณ์ มังกรแก้ว
นางสาว สุทธิดา สว่างศรี

 


 

ประเภท CHEER DANCE TEAM

🏆 ได้รับรางวัลชนะเลิศ (ที่1) ได้รับถ้วยประทานจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาธินัดดามาตุ

และ

ประเภท CHEER DOUBLE DANCE TEAM

🥈 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 (ที่2)
🎖 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 4 (ที่5)

 

 


 

ผู้สร้างสรรค์ใช้แนวความคิดของเอ็มมานูเอลคานท์ที่มีอิทธิพลทางด้านการรับรู้สุนทรียะอย่างมากต่อตัวศิลปินและผู้บริโภคผลงานทาง ศิลปะในยุคนั้น ที่มองว่าความเข้าใจทำให้มนุษย์เข้าใจในความงามของวัตถุนั้น ๆ ให้เห็นความงามในแบบที่เป็น และจินตนาการที่จะช่วยส่งเสริมให้มนุษย์ทั้งในการมอง การสัมผัส และสะท้อนความคิดของตนเองออกมาซึ่งเหล่านี้คือกรอบความคิดที่พัฒนาศิลปะสมัยใหม่รวมถึงนาฏศิลป์ตะวันตกสมัยใหม่สามารถเห็นได้ชัดจากนักออกแบบการเต้นที่มีชื่อเสียงและเป็นผู้บุกเบิกทีในช่วงเวลานี้

          อิสดอร่า ดันแคน  เจ้าของทัศนคติจิตวิญญาณแห่งความอิสระ (Free Spirit) การแสดงเป็นไปอย่างไม่เป็นระบบและมีท่าที่ซ้ำไปซ้ำมาบ่อยครั้ง งานของเธอมีลักษณะที่เรียบง่าย เครื่องแต่งกายการแสดงคล้ายชุดกรีกโบราณ เต้นด้วยเท้าเปล่าซึ่งผู้ชมในสมัยนั้นต่างไม่เคยเห็นมาก่อน ในงานของเธอเป็นการแสดงลีลาการแสดงออกของอารมณ์ อิสดอร่า ดันแคนเป็นผู้ที่เปิดรับในอิสรภาพทางความคิดของสตรีที่มีต่อเรื่องความรักและยังให้การสนับสนุนการเรียกร้องสิทธิสตรีในเรื่องสิทธิการปกครองบุตร ธิดา (นราพงษ์ จรัสศรี. 2548: 109-110)อิสดอร่า ดันแคนถือเป็นผู้บุกเบิกการเต้นสมัยใหม่ทำให้ได้รับความนิยมอย่างมากทั้งในอเมริกาและแพร่ขยายความนิยมออกไปทั่วยุโรป ท่ามกลางยุคสมัยที่ผู้ชมในฝั่งซีกโลกตะวันตกกำลังเบื่อหน่ายกับการเต้นบัลเล่ต์ (ศิริมงคล นาฏยกุล.2557: 27)

รูปภาพที่ ๑: Isadora Duncan, http://seenthis.net/

          รุท เซนต์เดนนิส  คืออีกผู้หนึ่งที่หลงใหลในวัฒนธรรมของโลกตะวันออก ผลงานการแสดงทั้งหมด จะเน้นการผสมผสานการเต้นในแบบตะวันตกและตะวันออกเข้าด้วยกันถือเป็นสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นและแสดงแนวความคิดความหลงใหลในตัวตนของศิลปินเอง ถึงแม้ว่าการแสดงในรูปแบบนาฏศิลป์ตะวันออกเธอดูไม่ลึกซึ้งแต่คนดูชื่นชอบในงานของเธอเนื่องจากมีรสชาติของความลึกลับเสมือนมีเวทย์มนต์ และแฝงไปด้วยตัณหาราคะ (นราพงษ์ จรัสศรี. 2548: 111)

รูปภาพที่ ๒ : Ruth St. Denis, http://eastiseverywhere.tumblr.com/

          มาธา เกรแฮม. ผู้คิดค้นเทคนิคการเค้นใหม่การคอนเทรกชั่น (Contraction) และรีลีส (Release) เทคนิคการเต้นที่แตกต่างจากสิ่งที่เคยเป็นมาโดยเน้นที่การหายใจ จนถึงการเล่าเรื่องราวการแสดงโดยถ่ายทอดอารมณ์ผ่านทั้งทางสีหน้าและร่างกาย เพื่อกระตุ้นอารมณ์ความ รู้สึกของผู้ชมให้เข้ามามีส่วนร่วมต่อการแสดงมากยิ่งขึ้น งานส่วนใหญ่จะแสดงออกถึงความรู้สึกทุกข์ทรมานจากภายในซึ่งสะท้อนออกมาให้เห็นในการแสดง ความสุขความสนุกและมีชีวิตชีวา ความเกลียดชัง ความรัก ความริษยา ความคลั่งไคล้ ความรู้สึกที่ปิดบังอีกต่อไปไม่ได้ (นราพงษ์ จรัสศรี. 2548: 111)

รูปภาพที่ ๓: Martha Graham, https://onlineonly.christies.com/

          จากความสำเร็จของนักออกแบบการเต้นสมัยใหม่ทั้ง3คน สะท้อนถึงค่านิยมของผู้บริโภคในยุคสมัยใหม่ที่เกิดความเบื่อหน่ายกับการแสดงนาฏศิลป์ในรูปแบบเดิม การค้นพบและแสดงตัวตนของนักออกแบบทั้ง 3สะท้อนคุณค่าความเป็นธรรมชาติและความเป็นมนุษย์ของตนเอง ให้ผู้บริโภคได้รับรู้ถึงรสนิยมและตัดสินในผลงานของตนเองในรูปแบบเฉพาะตัว หากสังเกตข้อความและบริบทข้างต้นจะพบว่าแนวความคิดยุคสมัยใหม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงกับนาฏศิลป์ตะวันตก นักออกแบบการเต้นค้นหาวิธีที่แสดงถึงความเป็นตนเอง ลักษณะเฉพาะในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่อผู้บริโภค และเทคนิคการเต้นเฉพาะตัวที่ส่งผลในการพัฒนาศาสตร์นาฏศิลป์ตะวันตกจนมาถึงปัจจุบัน

ผู้สร้างสรรค์มุ่งเน้นแนวคิดที่สะท้อนถึงเอกลักษณ์ของการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์สำหรับการประกดวเชียร์ลีดดิ้งที่ไม่ซ้ำรูปแบบกับผู้อื่น และมุ่งการมีส่วนร่วมในการแบ่งปันความคิด ประสบการณ์ที่นักแสดงหรือนักเต้นต้องแบ่งปันพร้อมฝึกฝนมากกว่าเทคนิคการเต้นแบบเดิม ๆ สู่ความเชื่อและความรู้สึกภายในที่แสดงออกมา อันจะทำให้การแสดงนั้น ๆ มีคุณค่ามากขึ้นกว่าการร่ายรำด้วยท่วงท่าเพียงเท่านั้น

 


 

 

บรรณานุกรม

เกษม เพ็ญภินันท์.(สัมภาษณ์, 1 มีนาคม 2559)

นราพงษ์ จรัสศรี. (2548). ประวัติศาสตร์นาฏศิลป์ตะวันตก. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริมงคล นาฏยกุล. (2557).นาฏยศิลป์ตะวันตกปริทัศน์.มหาสารคาม: หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.