ส่วนที่ 5 การวิเคราะห์การทำนายการเตรียมตัวเพื่อการเข้าสู่วัยสูงอายุ

การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณตัวแปรในการทำนายการเตรียมตัวเพื่อการเข้าสู่วัยสูงอายุประกอบด้วย

COMP = การเตรียมตัวเพื่อการเข้าสู่วัยสูงอายุ

AT = ทัศนคติต่อการสูงอายุ

A8 = ประสบการณ์ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวหรือเครือญาติ

INC = ความเพียงพอของรายได้

K = ความรู้เกี่ยวกับผู้สูงอายุ

DI = มีโรคประจำตัว

OC = อาชีพ

       จากการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน(Stepwise Multiple Regression) โดยมีทัศนคติต่อการสูงอายุ ประสบการณ์ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวหรือเครือญาติ ความเพียงพอของรายได้ ความรู้เกี่ยวกับผู้สูงอายุ การมีโรคประจำตัวและอาชีพเป็นตัวทำนายและการเตรียมตัวเพื่อการเข้าสู่วัยสูงอายุเป็นตัวเกณฑ์ ผลการวิเคราะห์พบว่า ตัวแปรที่คงอยู่ในสมการถดถอยพหุแบบขั้นตอนมี 3ตัวคือ ทัศนคติต่อการสูงอายุ ประสบการณ์ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวหรือเครือญาติ ความเพียงพอของรายได้ โดยทัศนคติต่อการสูงอายุ ให้ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยเท่ากับ 1.966 และสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 22.5 เมื่อนาทัศนคติต่อการสูงอายุ ร่วมกับประสบการณ์ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวหรือเครือญาติ สามารถร่วมกันอธิบายการเตรียมตัวเพื่อการเข้าสู่วัยสูงอายุได้ร้อยละ 23.6 อธิบายได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.1 เมื่อนาทัศนคติต่อการสูงอายุ ประสบการณ์ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวหรือเครือญาติ และความเพียงพอของรายได้ร่วมกันอธิบายการเตรียมตัวเพื่อการเข้าสู่วัยสูงอายุได้ร้อยละ 24.1 เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 0 .5 โดยสัมประสิทธิ์ถดถอยของการทำนายมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ดังนั้นสมการถดถอยที่ดีที่สุดคือ

COMP = 38.631 + 1.966AT + 2.881A8 + 1.014INC