ส่วนที่ 4 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้การเข้าสู่วัยสูงอายุกับการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุด้านต่าง

1. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุ

ตารางที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุ


ปัจจัยส่วนบุคคล การเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุ
p-value
ด้านร่างกายและจิตใจ ด้านเศรษฐกิจ ด้านที่อยู่อาศัย ด้านสังคม รวม

เพศ


.001


.046


.072


.252


.023

อายุ .4845 .004 .0185 .112 .055
สถานภาพ .0005 .000 .000 .000 .000
สมรส .000 .000 .000 .000 .000
การศึกษา .000 .000 .000 .000 .000
อาชีพ .000 .000 .000 .000 .000
รายได้ .000 .000 .000 .000 .000
ความเพียงพอ .000  .000  .000 .000 .000
โรคประจำตัว .015  .000  .031 .045 .015

   จากตารางพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่ไม่มีความสัมพันธ์กับการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุมีเพียงปัจจัยเดียวคืออายุ ส่วนปัจจัยอื่นๆมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยเพศหญิงมีการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุสูงกว่าเพศชาย สถานภาพสมรสที่คู่สมรสอยู่ด้วยกันมีการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุสูงกว่าสถานภาพสมรสหม้าย (คู่สมรสเสียชีวิต) การศึกษาระดับประถมศึกษามีการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุสูงกว่ารวมทุกด้านต่ำกว่าการศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโทหรือสูงกว่า และกลุ่มที่ไม่ได้เรียน อาชีพรับราชการมีการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุสูงกว่าอาชีพเกษตรกรรม ค้าขาย และอื่นๆ กลุ่มที่มีรายได้ระหว่าง 30,001-40,000 บาทมีการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุสูงกว่ากลุ่มอื่นๆกลุ่มที่มีรายได้มากกว่ารายจ่ายมีการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุสูงกว่ากลุ่มรายได้อื่นๆบุคคลที่ไม่มีโรคประจำตัวมีการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุสูงกว่าบุคคลที่มีโรคประจำตัว

2. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมกับการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุ

ตารางที่ 4 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมกับการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุ


ปัจจัยจากสภาพแวดล้อม การเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุ
p-value
ด้านร่างกายและจิตใจ ด้านเศรษฐกิจ ด้านที่อยู่อาศัย ด้านสังคม รวม

ประสบการณ์ดูแลผู้สูงอายุ


.000


.000


.000


.000


.000

ประสบการณ์ทำงาน .000 .000 .001 .000 .000
ภาระการดูแลคนอื่น .0005 .000 .002 .002 .000

       จากตารางพบว่า ปัจจัยสิ่งแวดล้อมทั้ง 3 ด้าน ทุกด้านมีความสัมพันธ์กับการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยผู้ที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุมีการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุกว่าผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุมีการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุกว่าผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ฯผู้ที่มีภาระในการดูแลบุคคลอื่นมีการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุกว่าผู้ที่ไม่มีภาระในการดูแลบุคคลอื่น

 

3. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การเข้าสู่วัยสูงอายุกับการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุ

       การรับรู้การเข้าสู่วัยสูงอายุ มีความสัมพันธ์กับการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01