![]() ![]() ![]() ความหลากหลายการวิเคราะห์พันธุกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของข้าวพันธุ์พื้นเมืองในเขตพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี ภัทรภร เอื้อรักสกุล, วันทนี สว่างอารมณ์ และ จรัญ ประจันบาล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา |
|||
INTRODUCTION
ข้าว (Oryza sativa) เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกรในประเทศไทยเป็นอย่างมาก การพัฒนาเพื่อให้ได้สายพันธุ์ข้าวที่ดี มีประสิทธิภาพ ให้ผลผลิตมากและมีคุณภาพเมล็ดที่ดีนั้น จำเป็นต้องมีแหล่งพันธุกรรมข้าวที่ดี พันธุ์ข้าวพื้นเมืองนับเป็นแหล่งพันธุกรรมที่ดีเนื่องจากมีความหลากหลาย มีบางลักษณะเหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงของท้องถิ่นจากการคัดเลือกพัฒนามาเป็นระยะเวลายาวนานจนสามารถเจริญเติบโตได้อย่างเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ของประเทศ มีคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะเหมาะแก่การอนุรักษ์พันธุกรรมเพื่อเป็นแหล่งพันธุกรรมในการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปจึงนับเป็นสิ่งที่น่าเสียดายอย่างยิ่งหากพันธุ์ข้าวพื้นเมืองต้องสูญไป อีกทั้งจังหวัดปราจีนบุรีเป็นพื้นที่ที่ยังมีการปลูกข้าวอยู่มาก โครงการวิจัยเรื่อง ความหลากหลาย การวิเคราะห์พันธุกรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ของพันธุ์ข้าวพื้นเมืองในเขตพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. ศึกษาข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับข้าวพื้นเมืองในเขตจังหวัดปราจีนบุรี |
|||
METHODS
1.ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับข้าวพื้นเมือง 2. ศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของพันธุ์ข้าวพื้นเมือง 3. ศึกษาลักษณะพันธุกรรมของพันธุ์ข้าวพื้นเมือง 3.1 สกัดดีเอ็นเอจากใบของข้าวที่คัดเลือกสายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองบางชนิดที่พบในเขตพื้นที่ศึกษา |
RESULTS 2. ผลการศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของพันธุ์ข้าวพื้นเมือง
2.2 การศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของข้าวจินตหรา 2.3 การศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของข้าวเขียวใหญ่ 2.4 การศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของข้าวขาวบ้านนา 2.5 การศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของข้าวเหลืองอ่อน 2.6 การศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของข้าวเหลืองทอง
ลายพิมพ์ดีเอ็นเอจากการเพิ่มปริมาณดีเอ็ นเอด้วยเทคนิค RAPD
|
||
RESULTS
1. ผลการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับข้าวพื้นเมือง ข้าวพื้นเมืองในเขตพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี พบเป็นข้าวนาปีเหมาะสมกับธรรมชาติของพื้นที่เพาะปลูกที่เป็นที่ราบลุ่มน้าท่วมขังและลึก ไม่ต้องดูแลมาก วัชพืชมีน้อยมาก ข้าวพื้นเมืองยืดตัวหนีน้าได้ดี ต้นเอนบังแสงวัชพืช ไม่ต้องใส่ปุ๋ยมากหรืออาจใส่ครั้งเดียวช่วงหว่านข้าวหรือช่วงข้าวใกล้ตั้งท้องจะออกรวง ศัตรูพืชไม่มากจึงไม่ต้องฉีดยาฆ่าแมลง ต้นทุนโดยรวมจึงไม่สูง ไม่ว่าปลูกเร็วหรือช้าแต่เมื่อถึงฤดูกาลน้ำที่แดดดีจะออกดอกออกรวงตามเวลาปกติ และเนื่องจากการคมนาคมที่สะดวกถนนหนทางพัฒนาดีเข้าถึงพื้นที่เพาะปลูกรวมถึงการที่ข้าวส่วนใหญ่จะมีโรงสีมารับซื้อทำเป็นแป้งเพื่อส่งทำก๋วยเตี๋ยวหรือเส้นขนมจีนส่งขายในหลายจังหวัดนับว่ามีตลาดที่ดีรองรับบางพื้นที่มีการจองรับซื้อและในหลายพื้นที่จะมีโรงสีจัดรถมารอรับซื้อถึงริมคันนาเพื่ออำนวยสะดวกต่อชาวนา ด้วยชาวนาบางรายจึงอาจไม่จำเป็นต้องจัดหาพื้นที่หรือยุ้งฉางรองรับข้าวที่เก็บเกี่ยวรอการรับซื้อหรือส่งขายแต่อย่างใด นับเป็นการอำนวยความสะดวกช่วยลดต้นทุนการขนส่งแม้ราคาขายไม่สูงแต่คำนวณกับต้นทุนซึ่งน้อยแล้วจึงมีกำไรค่อนข้างดีจากการสัมภาษณ์พบว่าชาวนาส่วนใหญ่เป็นเจ้าของพื้นที่เพาะปลูกไม่ต้องเช่าทำกินอีกทั้งชาวนาส่วนใหญ่มีรายได้เสริมส่งผลให้ชาวนาในพื้นที่ดังกล่าวมีชีวิตที่มีความสุขดีชาวนาจึงคงนิยมปลูกข้าวพื้นเมืองอย่างกว้างขวางอย่างไรก็ตามประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการปลูกข้าวได้เลือนหายไปอย่างมากอีกทั้งลูกหลานชาวนาไม่นิยมทำนาเป็นอาชีพ ประกอบกับการพัฒนาที่เข้าถึงมากในหลายพื้นที่จึงเริ่มมีนายทุนมากว้านซื้อที่ดินจำนวนมากเพื่อปล่อยเช่าทำนาหรือนำพื้นที่ไปทำรายได้อื่น |
|||
CONCLUSIONS
1. ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับข้าวพื้นเมือง เริ่มสูญหายไปมาก และเหลือเพียงชาวนาผู้สูงวัยบางรายเท่านั้นที่ยังประกอบพิธีกรรม |
|||
REFERENCES พะยอม โคเบลลี่ วราพงษ์ ชมาฤกษ์ และพูนศักดิ์ เมฆวัฒนากาญจน์. 2550. การตรวจสอบความบริสุทธิ์ของพันธุ์ข้าวด้วยโมเลกุลเครื่องหมาย. วารสารวิชาการข้าว 1(1): 44-51. อรุณรัตน์ ฉวีราช. (2554). เครื่องหมายระดับโมเลกุลเพื่อการระบุพืช. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. Wanchana, S., T. Toojinda, S. Tragoonrung and A. Vanavichit. 2003. Duplicated coding sequence in the waxy allele of tropical glutinous rice (Oryza sativa L.) Plant Science 165 : 1193-1199 |
|||
กิตติกรรมประกาศ
งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากโครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยแห่งชาติ ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา |