ผลการวิจัย
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปได้แก่ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่นอกเขตเทศบาล ร้อยละ 51.4 อยู่ในเขตเทศบาล ร้อยละ 48.6 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 52.5 เพศชาย ร้อยละ 47.5 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อายุ 50 ปี ร้อยละ 12.3 ส่วนใหญ่สมรสและอยู่ร่วมกับคู่สมรส คิดเป็นร้อยละ 75.2 รองลงมาเป็นหม้าย ร้อยละ 10.6ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 40.5
รองลงมาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 24.4 และระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ 20.1 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับราชการ/ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 33.2 รองลงมาอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 29.2 และอาชีพค้าขาย ร้อยละ 13.1 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ระหว่าง 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 22.0 รองลงมารายได้ระหว่าง 10,001-30,000 บาท ร้อยละ 21.8 และต่ำกว่า 3,000 บาท ร้อยละ 13.2 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีรายได้เพียงพอกับรายจ่าย ร้อยละ 48.0 รองลงมารายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ร้อยละ 39.3ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 59.1 และมีโรคประจำตัว ร้อยละ 40.9 ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 41.7 รองลงมาคือโรคเบาหวาน ร้อยละ 25.3 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุ ร้อยละ 61.0 ไม่เคยมีประสบการณ์ ร้อยละ 39.0 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ ร้อยละ 72.4 เคยมีประสบการณ์ฯ ร้อยละ 27.3 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีภาระที่ต้องรับผิดชอบบุคคลอื่น ร้อยละ 64.8 ไม่มีภาระที่ต้องรับผิดชอบ ร้อยละ 35.2 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เห็นว่า หน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุควรเป็นของครอบครัว ร้อยละ 53.8 รองลงมาเห็นว่าเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ร้อยละ 17.3
ส่วนที่ 2 การรับรู้การเข้าสู่วัยสูงอายุ
การรับรู้ประกอบด้วยความรู้เกี่ยวกับผู้สูงอายุและทัศนคติต่อการสูงอายุมีรายละเอียดดังแสดงในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 ระดับการรับรู้การเข้าสู่วัยสูงอายุจำแนกตามจำนวนและร้อยละ
การรับรู้ | ต่ำ | ปานกลาง | สูง | |||
จำนวน | ร้อยละ | จำนวน | ร้อยละ | จำนวน | ร้อยละ | |
ความรู้เกี่ยวกับผู้สูงอายุ |
618 |
38.1 |
981 |
60.6 |
21 |
1.3 |
ทัศนคติต่อการสูงอายุ | 198 | 12.2 | 1,239 | 76.5 | 183 | 11.3 |
รวม |
234 |
14.4 |
1,189 |
73.4 |
197 |
12.2 |
จากตารางพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีการรับรู้การเข้าสู่วัยสูงอายุอยู่ในระดับปานกลางมากที่สุด ร้อยละ 73.4 แยกเป็นมีความรู้อยู่ในระดับปานกลางมากที่สุด ร้อยละ 60.6 มีทัศนคติต่อการสูงอายุอยู่ในระดับปานกลางมากที่สุด ร้อยละ 76.5
ส่วนที่ 3 การเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุ
การเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุประกอบด้วยการเตรียมตัวใน 4 ด้านคือด้านร่างกายและจิตใจด้านเศรษฐกิจด้านที่อยู่อาศัยและด้านสังคมโดยมีรายละเอียดดังนี้
ตารางที่ 2 ระดับการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุจำแนกตามจำนวนและร้อยละ
การเครียมตัวเข้าสู่วัยสูงอาย | ต่ำ | ปานกลาง | สูง | |||
จำนวน | ร้อยละ | จำนวน | ร้อยละ | จำนวน | ร้อยละ | |
ด้านร่างการและจิตใจ |
181 |
11.2 |
1,242 |
76.7 |
197 |
12.2 |
ด้านเศรษฐกิจ | 217 | 13.4 | 1,209 | 74.6 | 194 | 12.0 |
ด้านที่อยู่อาศัย | 219 | 13.5 | 1,172 | 72.3 | 229 | 14.1 |
ด้านสังคม | 234 | 14.4 | 1,133 | 69.9 | 253 | 15.6 |
รวม |
202 |
12.5 |
1,176 |
72.6 |
242 |
14.9 |
จากตารางพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุอยู่ในระดับปานกลางมากที่สุด ร้อยละ 72.6 และเมื่อจำแนกรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับปานกลางมากที่สุด