พฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานของซาเล้ง

 

ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.วรรณรา ชื่นวัฒนา*

กนกวรรณ เขื่อนคา, ณภัทร งิ้ววิจิตร, ภาคภูมิ ตอบสันเทียะ, วิทวัส ละดาพงษ์ และอิ๊ด สรวลสันต์ **

* ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

** นิสิตสาขาวิทยาศาสตร์ความปลอดภัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (นักวิจัย)

คำสำคัญ : พฤติกรรมการป้องกันโรค / การบาดเจ็บจากการทำงาน/ การป้องกันโรคของชาเล้ง


 

บทคัดย่อ

       การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานของซาเล้ง ในเขตพื้นที่ยานนาวา กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบอาชีพซาเล้ง จำนวน 20 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา และฟิชเชอร์ เอ็กแชคเทส (Fisher’s Exast Test)

       ผลการวิจัยพบว่า ซาเล้งส่วนใหญ่มีอายุ 51 ปีขึ้นไป เพศชายเท่ากับเพศหญิง สถานภาพ สมรสคู่ การศึกษาระดับประถมมีรายได้ประมาณเดือนละ 5,000 บาทมีรายได้พอกับรายจ่ายสุขภาพปานกลางถึงแข็งแรงดีมีการตรวจสุขภาพประจำปีเมื่อเจ็บป่วยจะมีการซื้อยามารับประทานเองมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานระดับปานกลางเจตคติเกี่ยวกับการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานในระดับต่ำมีความพึงพอใจในการประกอบอาชีพซาเล้งระดับสูงได้รับการอบรมด้านพฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานในระดับปานกลางระดับพฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานระดับสูง

       ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานกับพฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานและเจตคติกับพฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานมีความสอดคล้องอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

       จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะคือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการจัดอบรมให้ความรู้กับซาเล้งในเรื่องการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานเพื่อส่งเสริมความรู้และเจตคติของซาเล้งในการประกอบอาชีพได้อย่างปลอดภัย

 

Abstract

       This descriptive research aims to study the factors relate to disease and injuries from works protection behaviors of “Zaleng” in Yannawa area Bangkok. Target groups are 20 three wheel cart drivers. To collect data by interviewing and analyse the data by descriptive statistics and Fisher’s Exact Test.

The research results show that Zaleng have of 51 year old men equal with women, with marital status and primary school education, average incomes 5,000 baht per month. Their incomes fit with their expenses and their healths are average to good level. They can get yearly health check service. When they are ill, they will buy the medicine by themselves and have average knowledge of disease and injuries from works protection. Their attitudes toward disease and injuries protection are low while their occupation contentment is high. They are acknowledged for disease and injuries from works protection in average level. The level of disease and injuries from works protection behavior is high.

       The relationship between knowledge of prevention and injuries from works and prevention behaviors and attitude have no statistical related significance at level 0.05.

From research results, the recommendation is that the involved institutes should provide the training of disease and injuries from works protection for “Zaleng” to give them knowledge and raise their attitudes toward their harmless working.