การรับรู้และการเตรียมตัวเพื่อการเข้าสู่วัยสูงอายุของประชากรไทยก่อนวัยสูงอายุ*

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรณรา ชื่นวัฒนา**

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชูชีพ เบียดนอก***

* ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช) ปีงบประมาณ 2554

** อาจารย์ประจำสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

*** อาจารย์ประจำ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ : การรับรู้/ วัยสูงอายุ/ วัยก่อนวัยสูงอายุ

 

บทคัดย่อ

       การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้และการเตรียมตัว เพื่อการเข้าสู่วัยสูงอายุ ของประชากรไทยวัย 50-59 ปี ศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการรับรู้และการเตรียมตัวเพื่อการเข้าสู่วัยสูงอายุ ศึกษารูปแบบ หรือวิธีการในการเตรียมตัวเพื่อการเข้าสู่วัยสูงอายุ และวิเคราะห์รูปแบบ หรือวิธีการในการส่งเสริมให้มีการเตรียมตัวเพื่อการเข้าสู่วัยสูงอายุ วิธีการวิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative) โดยใช้แบบสอบถามประชากรผู้ที่มีอายุ 50-59 ปี ใน 4 ภาคของประเทศไทย ภาคละ 4 จังหวัด รวม 16 จังหวัดจำนวนทั้งสิ้น 1,620 ตัวอย่าง

       ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีการรับรู้การเข้าสู่วัยสูงอายุอยู่ในระดับปานกลางมากที่สุด ร้อยละ 73.4 แยกเป็นมีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 60.6 มีทัศนคติต่อการสูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 76.5 การเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุพบว่ามีการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุอยู่ในระดับปานกลางมากที่สุด ร้อยละ 72.6 และเมื่อจำแนกรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับปานกลางมากที่สุด ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุมีเพียงปัจจัยเดียวที่ไม่มีความสัมพันธ์คืออายุ ส่วนปัจจัยอื่นๆมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมกับการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุทุกด้านมีความสัมพันธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และการรับรู้การเข้าสู่วัยสูงอายุ มีความสัมพันธ์กับการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จากการวิเคราะห์ด้วยสมการถดถอย พบว่ารูปแบบในการส่งเสริมให้มีการเตรียมตัวเพื่อการเข้าสู่วัยสูงอายุได้ดีที่สุดคือการสร้างเสริมทัศนคติต่อการสูงอายุร่วมกับการ สร้างประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุ และการสร้างความเพียงพอของรายได้ โดยเน้นกลุ่มบุคคลที่เป็น เป้าหมายสำคัญคือกลุ่มบุคคลที่มีการเตรียมตัวเข้าสู่ วัยสูงอายุน้อยกว่ากลุ่มคนอื่นๆ มีการให้ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตในวัยสูงอายุควบคู่ไปกับการสร้างทัศนคติทางบวก และควรมีการศึกษาวิเคราะห์/ วิจัยว่า บทบาทของครอบครัว รัฐบาล และตัวผู้สูงอายุ แต่ละฝ่ายควรมีบทบาทในการดูแลผู้สูงอายุ/ ตนเองอย่างไร

Abstract

       The purposes of the present research were to study the perception and preparation for aging of Thai population aged between 50-59 years old, to examine the factors related to the perception and preparation for aging, to investigate the pattern or methods of the perception and preparation for aging, and to analyze the pattern or methods to promote the preparation for aging. Research methodology was quantitative using questionnaire for population aged between 50-59 years old in 4 parts of Thailand. There were 16 provinces selected from each part. The samples were totally 1,620.

       The research results revealed that most of samples had the perception for aging at the moderated level (73.4%). They were divided as the moderated levels in knowledge (60.6%), attitude towards aging (76.5%), and preparation for aging (72.6). Considering each aspect revealed that every aspect was at the moderated level. The relationship between personal factors and the preparation for aging showed that the age factor was only one factor which did not relate to the preparation for aging. The other factors showed the relation at the statistically significant level of .05. The environmental factor had the relation with the preparation for aging at the statistically significant level of .01 and the perception for aging had the relation with the preparation for aging at the statistically significant level of .01. The pattern to promote the preparation for aging can be explained in terms of regression equation was that the preparation for aging must have the promotion of attitude towards aging, creating the experience in old people caring, and creating the enough outcomes focused on the person group who shows the least preparation to aging comparing to the other groups. The knowledge for aging living should be given along with creating positive attitude and the analytic study/research should be conducted to investigate the roles of family, government, and old persons in old people caring or self-caring.