ผลการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาของเว็บโอเมตริกซ์ (July 2018)

ผลการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาของเว็บโอเมตริกซ์ (July 2018) 

Webometrics Ranking of World Universities July 2018

 

                ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณุศณี   มีแก้วกุญชร


 

เว็บโอเมตริกซ์ได้ทำการจัดอันดับมหาวิทยาลัยจากทั่วโลกโดยเป็นการวัดความสามารถและคุณสมบัติของมหาวิทยาลัยต่างๆ ในการเป็น “มหาวิทยาลัยอิเล็กทรอนิกส์” โดยอันดับของ Webometrics จะบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ในเว็บไซต์ของสถาบัน จัดทำโดย Cybermetrics Lab (Spanish National Research Council, CSIC) ซึ่งเป็นกลุ่มวิจัย ณ กรุงแมดดริต ประเทศสเปน Webometricsเริ่มจัดอันดับตั้งแต่ปี พศ. ๒๕๔๗ และจะจัดอันดับมหาวิทยาลัยปีละ ๒ ครั้ง ได้แก่ทุกๆ เดือนมกราคมและเดือนกรกฎาคม ข้อมูลจะถูกรวบรวมระหว่างวันที่ ๑ – ๒๐ ของเดือนมกราคม หรือกรกฎาคม วัตถุประสงค์ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยไม่ใช่เพื่อประเมินรูปแบบหรือความนิยมของเนื้อหาบนเว็บไซต์จากจำนวนครั้งของผู้เยี่ยมชม (Visitors) ดัชนีคอมโพสิตที่เว็บโอเมตริกซ์นำมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาเชิงลึกของผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยในระดับโลกประกอบด้วย

  • Visibility (คะแนน ๕๐%): Impact(๕๐%)คุณภาพของเนื้อหาจะถูกประเมินผ่านทาง “Virtual referendum” ซึ่งเป็นการให้คะแนนจำนวนเว็บเพจทั้งหมดของสถาบันที่ได้รับการเชื่อมโยง linkจากเว็บไซต์ภายนอก ข้อมูลจำนวนเครือข่ายภายนอกที่มีการเชื่อมโยง “backlinks” มายังเว็บของมหาวิทยาลัยนี้ จะถูกรวบรวมจากผู้จัดส่งข้อมูลที่สำคัญ ๒ รายได้แก่ Majestic SEO และ Ahrefs
  • Activity (คะแนน ๕๐%)ซึ่งแบ่งเป็น ๓ องค์ประกอบย่อยดังนี้
    • PRESENCE (๕%) เป็นการให้คะแนนจากปริมาณเนื้อหาที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยวัดจากดัชนีตามเครื่องมือของGOOGLE search engine ดัชนีของ google นี้จะนับจำนวนหน้าเว็บเพจแบบstatic และ dynamic ทั้งหมดโดยจะนับรวมจำนวน ของ rich files เช่น pdfด้วย
    • TRANSPARENCY or OPENNESS (๑๐%) ดัชนีตัวนี้จะเป็นการให้คะแนนจากจำนวนการอ้างอิงงานวิจัยโดยใช้ข้อมูลจาก Google Scholar Citations Institutional Profiles ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ในช่วง ๕ ปี (๒๐๑๒ – ๒๐๑๖) ซึ่งมีแหล่งข้อมูลจากTransparency Ranking
    • EXCELLENCE or SCHOLAR (๓๕%) ดัชนีตัวนี้จะเป็นการให้คะแนนจากจำนวนเอกสารทางวิชาการ/ผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติของมหาวิทยาลัยเฉพาะสิ่งพิมพ์ที่มีความเป็นเลิศ๑๐% แรกที่มีการอ้างอิงถึงมากที่สุดในสาขาทางวิทยาศาสตร์ ๒๖ สาขา ที่เผยแพร่ในช่วง ๕ ปี (๒๐๑๒ – ๒๐๑๖) ของเอกสารที่ตีพิมพ์ต้องได้รับการอ้างอิงในงานของสาขาวิทยาศาสตร์ของตนเอง ซึ่งมีแหล่งข้อมูลจาก Scimago group  รายละเอียดดัง ภาพที่ ๑

ผลการจัดอันดับ Ranking Web of Universities ครั้งที่ ๒ ปี ค.ศ. ๒๐๑๘ เดือน กรกฎาคม ผลปรากฏว่า จำนวนสถาบันการศึกษาที่ถูกจัดอันดับ ๒๘,๐๗๓ แห่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อยู่ในอันดับที่ ๗๕๕๘ ของโลก อันดับที่ ๒๖๑๗ ของเอเชีย อันดับที่ ๓๒๘ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอันดับที่ ๗๔ ของประเทศไทย และเป็นอันดับที่ ๒๑ ในกลุ่มของมหาวิทยาลัยราชภัฏ

ภาพที่ ๑ องค์ประกอบของดัชนีคอมโพสิต

ที่มา:  www.webometrics.info/en

 

เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบในภาพรวมทุกองค์ประกอบของดัชนีคอมโพสิตระหว่าง เดือนมกราคม ปี พ.ศ.๒๕๖๑ – กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ จะเห็นว่ามหาวิทยาลัยฯ มีอันดับที่เพิ่มขึ้นในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในโลก มหาวิทยาลัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยในประเทศไทย และในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ

เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบของดัชนีคอมโพสิตพบว่า มีจำนวน ๒ องค์ประกอบที่มีอันดับลดลงเมื่อเทียบกับอันดับในเดือนมกราคม ๒๕๖๑ (Presence Rank และ Openness Rank) และมีจำนวน ๒ องค์ประกอบที่มีอันดับเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับอันดับในเดือนมกราคม ๒๕๖๑  (Impact Rank และ ExcellenceRank)ดังภาพที่ ๒ และ ๓

ภาพที่ ๒  แสดงผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาระหว่างปี พศ.๒๕๕๗ – ๒๕๖๑ และจำแนกตามองค์ประกอบของดัชนีคอมโพสิต

ภาพที่ ๓ ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในภูมิภาคเอเชีย

ที่มา : http://www.webometrics.info

 

ผลการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาในแต่ละทวีป พบว่า

๑.Harvard University อยู่ในอันดับที่ ๑ ของโลกและในทวีปอเมริกาเหนือ

๒.Universidade de São Paulo  (USP) อยู่ในอันดับที่ ๑ ของลาตินอเมริกา อันดับ ๗๐ ของโลก

๓.University of Oxford อยู่ในอันดับที่ ๑ ของยุโรป อันดับ ๗ ของโลก

๔.Tsinghua Universityอยู่ในอันดับ ๑ ของเอเชียแปซิฟิก อันดับที่ ๔๓ ของโลก

๕.University of Cape Town อยู่ในอันดับ ๑ ของทวีปแอฟริกา อันดับที่ ๒๘๐ ของโลก

๖.University of Melbourneอยู่ในอันดับที่ ๑ ของประเทศที่ติดทะเล (Oceana) อันดับ ๖๐ ของโลก

๗. King Suad University อยู่ในอันดับที่ ๑ ของโลกอาหรับ อันดับที่ ๔๑๘ ของโลก

 

ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของประเทศไทย ๑๐ อันดับแรกเรียงตามลำดับได้ดังนี้

๑.Chulalongkorn University อันดับที่ ๕๑๕ ของโลก

๒.Mahidol University  อันดับที่ ๕๖๒ของโลก

๓.Chiang Mai University อันดับที่ ๗๒๓ ของโลก

๔.Kasetsart University อันดับที่ ๗๗๑ ของโลก

๕.Khon Kaen University อันดับที่ ๗๘๔ ของโลก

๖.Suranaree University of Technology อันดับที่ ๙๓๘ ของโลก

๗.Prince of Songkla University อันดับที่ ๑๐๑๔ ของโลก

๘.King Mongkut’s University of Technology Thonburi อันดับที่ ๑๐๖๑ ของโลก

๙.Thammasat University อันดับที่ ๑๑๒๕ ของโลก

๑๐.Naresuan University อันดับที่ ๑๑๗๗ ของโลก

 

ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยราชภัฏ ๑๐ อันดับแรก เรียงลำดับได้ดังนี้

๑.Buriram Rajabhat อันดับที่ ๗ ของประเทศไทย

๒.Suan Sunandha Rajabhat Universityอันดับที่ ๒๔ ของประเทศไทย

๓.Chiang Mai Rajabaht University อันดับที่ ๒๖ ของประเทศไทย

๔.Nakhon Pathom Rajabhat University อันดับที่ ๓๒ ของประเทศไทย

๕.Pibulsongkram Rajabhat Universityอันดับที่ ๓๔ ของประเทศไทย

๖.Nakhon Ratchathani Rajabhat Universityอันดับที่ ๓๘ ของประเทศไทย

๗.Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University อันดับที่ ๔๐ ของประเทศไทย

๘.Nakhon Si Thammarat Rajabhat University อันดับที่ ๔๒ ของประเทศไทย

๙.Chandrakasem Rajabhat Universityอันดับที่ ๔๔ ของประเทศไทย

๑๐.Chiang Rai Rajabhat University อันดับที่ ๔๗ ของประเทศไทย

….

๒๑.Bansomdejchaopraya Rajabhat University อันดับที่ ๗๔ ของประเทศไทย

 

 

วัฒนธรรมประเพณีไทย ตอนที่ 1 : จุลกฐินถิ่นไทลื้อ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปราณีต ม่วงนวล


       บุญ เป็นคําที่พุทธศาสนิกชนคุ้นชินและปฏิบัติอยู่เสมอ ด้วยควํามเชื่อมั่นศรัทธาในหลักธรรมคําสอนของพระพุทธเจ้ํา กอปรด้วยจิตอันเป็นกุศลส่งผลให้มนุษย์เรา คิดดี ปฎิบัติดี มี ความเอื้อเฟื้อแบ่งปัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทั้งบุญที่พึงเกิดเป็นปัจจุบันรวมถึงส่งบุญโดยสะพานบุญ ไปยังบุพการี ญาติมิตร และสะสมบุญไว้สําหรับการเดินทางของนาวาชีวิตในภายหน้า บุญจากการได้ ร่วมการทอดกฐิน ถือเป็นบุญใหญ่ที่พุทธศาสนิกชนจะได้ร่วมบุญในช่วงออกพรรษา มหาบุญจุลกฐิน ถิ่นไทลื้อ เป็นความพยามยามที่ชาวไทลื้อผู้หวงแหนวัฒนธรรมการทอผ้ํา เป็นวัฒนธรรมประเพณีไทย ที่ผู้เขียนจะนําเสนอเป็น 3 ตอน กล่ําวคือ ตอนที่ 1 จุลกฐินถิ่นไทลื้อ ตอนที่ 2 วิถีชีวิตไทลื้อบนลายผ้ํา ที่เป็นอัตลักษณ์ของชาวไทลื้อ และ ตอนที่ 3 ชุมชนเข้มแข็งด้วย HTSC นับว่าเป็นวัฒนธรรมที่ดีงาม สืบทอดต่อกันหลายรุ่น แฝงด้วยคติธรรมและวิถีชีวิตของชาวไทลื้อที่ผูกพันยึดมั่นในพระพุทธศาสนา

View Fullscreen

       บุญ เป็นกุศลกรรมที่ได้รับการบันทึกไว้ในบัญชีบุญ ดังพุทธวจนะในธรรมบท “บุญที่ได้ทําไว้ในโลกนี้ ย่อมต้อนรับผู้ที่จากไป เหมือนญาติที่รักมาจากที่ไกล ฝูงชนย่อมเต็มใจต้อนรับ (Likewise, good deeds well receive the doer Who has gone from here to the next world, As kinsmen receive a dear friend on his return.)5 เป็นความดีงามที่คงอยู่ให้คนรุ่นหลังยังจดจํา และกล่าวถึง ผู้เขียนขอน้อมนําพระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้ํา กรมพระปรมานุชิตชิโนรส6 จําก เรื่อง กฤษณาสอนน้องคําฉันท์ (อินทรวิเชียรฉันท์) มาเป็นคติธรรมนำใจ

“พฤษภาสร   อีกกุญชรอันปลดปลง

โททนต์เสน่งคง   สําคัญหมายในกายมี

นรชาติวางวาย   มลายสิ้นทั้งอินทรี

สถิตทั่วแต่ชั่วดี   ประดับไว้ในโลกา

ความดีก็ปรากฏ   กิติยศฤาชา

ความชั่วก็นินทา   ทุรยศยินขจร”

       ชีวิตคนเราไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอน ยามสิ้นชีพ เนื้อหนังก็เน่าเปื่อย กระดูกก็ใช้ประโยชน์ อะไรไม่ได้ เหลือไว้แต่คุณงามความดี หรือความเลวร้ํายให้ผู้คนกล่าวขาน


เอกสารอ้างอิง

1. พระครูสุจิณวรคุณ เจ้าอาวาสวัดท่าข้ํามศรีดอนชัย. (2561). ประวัติความเป็นมามหาบุญ จุลกฐินถิ่นไทลื้อ สัมภาษณ์วันที่ 17 มิถุนายน 2561 ณ วัดท่าข้ํามศรีดอนชัย ตำบลศรีดอนชัย อําเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย.

2. พระมหาทองเชิด กตปุญฺโญฺ. (2561). ประเพณีการทอดกฐิน. สัมภาษณ์วันที่ 17 มิถุนายน 2561 ณ วัดท่าข้ํามศรีดอนชัย ตําบลศรีดอนชัย อําเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย.

3. หนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า. หน้า 268.

4. ตัวแทนเยาวชนอําเภอเชียงของ. (2561). การมีส่วนร่วมในกิจกรรมมหาบุญ จุลกฐินถิ่นไทลื้อ สัมภําษณ์วันที่ 17 มิถุนํายน 2561 ณ วัดท่าข้ามศรีดอนชัย ตำบลศรีดอนชัย อําเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย.

5. เสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2537). พุทธวจนะในธรรมบท. (พิมพ์ครั้งที่ 8 ) กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชซิ่ง.

6. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส. (2533). กฤษณาสอนน้องคำฉันท์. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

โรงเรียนซางตาครู้สคอนแวนท์

ระยะเวลาเริ่ม : 11/07/ 2560

ระยะเวลาสิ้นสุด : 

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ระยะเวลาเริ่ม : 21/09/2560 (สัญญาห้าปี)

ระยะเวลาสิ้นสุด : พ.ศ. 2565

 

Phoenix Academy, Perth Australia

ระยะเวลาเริ่ม : 28/04/2559 (สัญญาห้าปี)
ระยะเวลาสิ้นสุด : พ.ศ.2564

University of Science,VNUHCM, Hochi minh City, Vietnam

ระยะเวลาเริ่ม : 22/08/2014 (สัญญาสี่ปี)
ระยะเวลาสิ้นสุด : ค.ศ.  2018

ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยภายในประเทศ

ระยะเวลาเริ่ม : 21/07/2560 (สัญญาห้าปี)
ระยะเวลาสิ้นสุด : 2565

มหาวิทยาลัยบูรพา
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยนเรศวร
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
มหาวิทยาลัยศิลปากร
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
มหาวิทยาลัยพะเยา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

 

สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กับห้างหุ้นส่วนจำกัด จรูญโมลต์

Date: N/A

กระทรวงศึกษาธิการ

ระยะเวลาเริ่ม : 15/07/ 2559
ระยะเวลาสิ้นสุด : –