ผลการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาของเว็บโอเมตริกซ์ (July 2018) 

Webometrics Ranking of World Universities July 2018

 

                ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณุศณี   มีแก้วกุญชร


 

เว็บโอเมตริกซ์ได้ทำการจัดอันดับมหาวิทยาลัยจากทั่วโลกโดยเป็นการวัดความสามารถและคุณสมบัติของมหาวิทยาลัยต่างๆ ในการเป็น “มหาวิทยาลัยอิเล็กทรอนิกส์” โดยอันดับของ Webometrics จะบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ในเว็บไซต์ของสถาบัน จัดทำโดย Cybermetrics Lab (Spanish National Research Council, CSIC) ซึ่งเป็นกลุ่มวิจัย ณ กรุงแมดดริต ประเทศสเปน Webometricsเริ่มจัดอันดับตั้งแต่ปี พศ. ๒๕๔๗ และจะจัดอันดับมหาวิทยาลัยปีละ ๒ ครั้ง ได้แก่ทุกๆ เดือนมกราคมและเดือนกรกฎาคม ข้อมูลจะถูกรวบรวมระหว่างวันที่ ๑ – ๒๐ ของเดือนมกราคม หรือกรกฎาคม วัตถุประสงค์ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยไม่ใช่เพื่อประเมินรูปแบบหรือความนิยมของเนื้อหาบนเว็บไซต์จากจำนวนครั้งของผู้เยี่ยมชม (Visitors) ดัชนีคอมโพสิตที่เว็บโอเมตริกซ์นำมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาเชิงลึกของผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยในระดับโลกประกอบด้วย

  • Visibility (คะแนน ๕๐%): Impact(๕๐%)คุณภาพของเนื้อหาจะถูกประเมินผ่านทาง “Virtual referendum” ซึ่งเป็นการให้คะแนนจำนวนเว็บเพจทั้งหมดของสถาบันที่ได้รับการเชื่อมโยง linkจากเว็บไซต์ภายนอก ข้อมูลจำนวนเครือข่ายภายนอกที่มีการเชื่อมโยง “backlinks” มายังเว็บของมหาวิทยาลัยนี้ จะถูกรวบรวมจากผู้จัดส่งข้อมูลที่สำคัญ ๒ รายได้แก่ Majestic SEO และ Ahrefs
  • Activity (คะแนน ๕๐%)ซึ่งแบ่งเป็น ๓ องค์ประกอบย่อยดังนี้
    • PRESENCE (๕%) เป็นการให้คะแนนจากปริมาณเนื้อหาที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยวัดจากดัชนีตามเครื่องมือของGOOGLE search engine ดัชนีของ google นี้จะนับจำนวนหน้าเว็บเพจแบบstatic และ dynamic ทั้งหมดโดยจะนับรวมจำนวน ของ rich files เช่น pdfด้วย
    • TRANSPARENCY or OPENNESS (๑๐%) ดัชนีตัวนี้จะเป็นการให้คะแนนจากจำนวนการอ้างอิงงานวิจัยโดยใช้ข้อมูลจาก Google Scholar Citations Institutional Profiles ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ในช่วง ๕ ปี (๒๐๑๒ – ๒๐๑๖) ซึ่งมีแหล่งข้อมูลจากTransparency Ranking
    • EXCELLENCE or SCHOLAR (๓๕%) ดัชนีตัวนี้จะเป็นการให้คะแนนจากจำนวนเอกสารทางวิชาการ/ผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติของมหาวิทยาลัยเฉพาะสิ่งพิมพ์ที่มีความเป็นเลิศ๑๐% แรกที่มีการอ้างอิงถึงมากที่สุดในสาขาทางวิทยาศาสตร์ ๒๖ สาขา ที่เผยแพร่ในช่วง ๕ ปี (๒๐๑๒ – ๒๐๑๖) ของเอกสารที่ตีพิมพ์ต้องได้รับการอ้างอิงในงานของสาขาวิทยาศาสตร์ของตนเอง ซึ่งมีแหล่งข้อมูลจาก Scimago group  รายละเอียดดัง ภาพที่ ๑

ผลการจัดอันดับ Ranking Web of Universities ครั้งที่ ๒ ปี ค.ศ. ๒๐๑๘ เดือน กรกฎาคม ผลปรากฏว่า จำนวนสถาบันการศึกษาที่ถูกจัดอันดับ ๒๘,๐๗๓ แห่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อยู่ในอันดับที่ ๗๕๕๘ ของโลก อันดับที่ ๒๖๑๗ ของเอเชีย อันดับที่ ๓๒๘ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอันดับที่ ๗๔ ของประเทศไทย และเป็นอันดับที่ ๒๑ ในกลุ่มของมหาวิทยาลัยราชภัฏ

ภาพที่ ๑ องค์ประกอบของดัชนีคอมโพสิต

ที่มา:  www.webometrics.info/en

 

เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบในภาพรวมทุกองค์ประกอบของดัชนีคอมโพสิตระหว่าง เดือนมกราคม ปี พ.ศ.๒๕๖๑ – กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ จะเห็นว่ามหาวิทยาลัยฯ มีอันดับที่เพิ่มขึ้นในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในโลก มหาวิทยาลัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยในประเทศไทย และในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ

เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบของดัชนีคอมโพสิตพบว่า มีจำนวน ๒ องค์ประกอบที่มีอันดับลดลงเมื่อเทียบกับอันดับในเดือนมกราคม ๒๕๖๑ (Presence Rank และ Openness Rank) และมีจำนวน ๒ องค์ประกอบที่มีอันดับเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับอันดับในเดือนมกราคม ๒๕๖๑  (Impact Rank และ ExcellenceRank)ดังภาพที่ ๒ และ ๓

ภาพที่ ๒  แสดงผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาระหว่างปี พศ.๒๕๕๗ – ๒๕๖๑ และจำแนกตามองค์ประกอบของดัชนีคอมโพสิต

ภาพที่ ๓ ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในภูมิภาคเอเชีย

ที่มา : http://www.webometrics.info

 

ผลการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาในแต่ละทวีป พบว่า

๑.Harvard University อยู่ในอันดับที่ ๑ ของโลกและในทวีปอเมริกาเหนือ

๒.Universidade de São Paulo  (USP) อยู่ในอันดับที่ ๑ ของลาตินอเมริกา อันดับ ๗๐ ของโลก

๓.University of Oxford อยู่ในอันดับที่ ๑ ของยุโรป อันดับ ๗ ของโลก

๔.Tsinghua Universityอยู่ในอันดับ ๑ ของเอเชียแปซิฟิก อันดับที่ ๔๓ ของโลก

๕.University of Cape Town อยู่ในอันดับ ๑ ของทวีปแอฟริกา อันดับที่ ๒๘๐ ของโลก

๖.University of Melbourneอยู่ในอันดับที่ ๑ ของประเทศที่ติดทะเล (Oceana) อันดับ ๖๐ ของโลก

๗. King Suad University อยู่ในอันดับที่ ๑ ของโลกอาหรับ อันดับที่ ๔๑๘ ของโลก

 

ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของประเทศไทย ๑๐ อันดับแรกเรียงตามลำดับได้ดังนี้

๑.Chulalongkorn University อันดับที่ ๕๑๕ ของโลก

๒.Mahidol University  อันดับที่ ๕๖๒ของโลก

๓.Chiang Mai University อันดับที่ ๗๒๓ ของโลก

๔.Kasetsart University อันดับที่ ๗๗๑ ของโลก

๕.Khon Kaen University อันดับที่ ๗๘๔ ของโลก

๖.Suranaree University of Technology อันดับที่ ๙๓๘ ของโลก

๗.Prince of Songkla University อันดับที่ ๑๐๑๔ ของโลก

๘.King Mongkut’s University of Technology Thonburi อันดับที่ ๑๐๖๑ ของโลก

๙.Thammasat University อันดับที่ ๑๑๒๕ ของโลก

๑๐.Naresuan University อันดับที่ ๑๑๗๗ ของโลก

 

ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยราชภัฏ ๑๐ อันดับแรก เรียงลำดับได้ดังนี้

๑.Buriram Rajabhat อันดับที่ ๗ ของประเทศไทย

๒.Suan Sunandha Rajabhat Universityอันดับที่ ๒๔ ของประเทศไทย

๓.Chiang Mai Rajabaht University อันดับที่ ๒๖ ของประเทศไทย

๔.Nakhon Pathom Rajabhat University อันดับที่ ๓๒ ของประเทศไทย

๕.Pibulsongkram Rajabhat Universityอันดับที่ ๓๔ ของประเทศไทย

๖.Nakhon Ratchathani Rajabhat Universityอันดับที่ ๓๘ ของประเทศไทย

๗.Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University อันดับที่ ๔๐ ของประเทศไทย

๘.Nakhon Si Thammarat Rajabhat University อันดับที่ ๔๒ ของประเทศไทย

๙.Chandrakasem Rajabhat Universityอันดับที่ ๔๔ ของประเทศไทย

๑๐.Chiang Rai Rajabhat University อันดับที่ ๔๗ ของประเทศไทย

….

๒๑.Bansomdejchaopraya Rajabhat University อันดับที่ ๗๔ ของประเทศไทย