ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปราณีต ม่วงนวล


       บุญ เป็นคําที่พุทธศาสนิกชนคุ้นชินและปฏิบัติอยู่เสมอ ด้วยควํามเชื่อมั่นศรัทธาในหลักธรรมคําสอนของพระพุทธเจ้ํา กอปรด้วยจิตอันเป็นกุศลส่งผลให้มนุษย์เรา คิดดี ปฎิบัติดี มี ความเอื้อเฟื้อแบ่งปัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทั้งบุญที่พึงเกิดเป็นปัจจุบันรวมถึงส่งบุญโดยสะพานบุญ ไปยังบุพการี ญาติมิตร และสะสมบุญไว้สําหรับการเดินทางของนาวาชีวิตในภายหน้า บุญจากการได้ ร่วมการทอดกฐิน ถือเป็นบุญใหญ่ที่พุทธศาสนิกชนจะได้ร่วมบุญในช่วงออกพรรษา มหาบุญจุลกฐิน ถิ่นไทลื้อ เป็นความพยามยามที่ชาวไทลื้อผู้หวงแหนวัฒนธรรมการทอผ้ํา เป็นวัฒนธรรมประเพณีไทย ที่ผู้เขียนจะนําเสนอเป็น 3 ตอน กล่ําวคือ ตอนที่ 1 จุลกฐินถิ่นไทลื้อ ตอนที่ 2 วิถีชีวิตไทลื้อบนลายผ้ํา ที่เป็นอัตลักษณ์ของชาวไทลื้อ และ ตอนที่ 3 ชุมชนเข้มแข็งด้วย HTSC นับว่าเป็นวัฒนธรรมที่ดีงาม สืบทอดต่อกันหลายรุ่น แฝงด้วยคติธรรมและวิถีชีวิตของชาวไทลื้อที่ผูกพันยึดมั่นในพระพุทธศาสนา

View Fullscreen

       บุญ เป็นกุศลกรรมที่ได้รับการบันทึกไว้ในบัญชีบุญ ดังพุทธวจนะในธรรมบท “บุญที่ได้ทําไว้ในโลกนี้ ย่อมต้อนรับผู้ที่จากไป เหมือนญาติที่รักมาจากที่ไกล ฝูงชนย่อมเต็มใจต้อนรับ (Likewise, good deeds well receive the doer Who has gone from here to the next world, As kinsmen receive a dear friend on his return.)5 เป็นความดีงามที่คงอยู่ให้คนรุ่นหลังยังจดจํา และกล่าวถึง ผู้เขียนขอน้อมนําพระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้ํา กรมพระปรมานุชิตชิโนรส6 จําก เรื่อง กฤษณาสอนน้องคําฉันท์ (อินทรวิเชียรฉันท์) มาเป็นคติธรรมนำใจ

“พฤษภาสร   อีกกุญชรอันปลดปลง

โททนต์เสน่งคง   สําคัญหมายในกายมี

นรชาติวางวาย   มลายสิ้นทั้งอินทรี

สถิตทั่วแต่ชั่วดี   ประดับไว้ในโลกา

ความดีก็ปรากฏ   กิติยศฤาชา

ความชั่วก็นินทา   ทุรยศยินขจร”

       ชีวิตคนเราไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอน ยามสิ้นชีพ เนื้อหนังก็เน่าเปื่อย กระดูกก็ใช้ประโยชน์ อะไรไม่ได้ เหลือไว้แต่คุณงามความดี หรือความเลวร้ํายให้ผู้คนกล่าวขาน


เอกสารอ้างอิง

1. พระครูสุจิณวรคุณ เจ้าอาวาสวัดท่าข้ํามศรีดอนชัย. (2561). ประวัติความเป็นมามหาบุญ จุลกฐินถิ่นไทลื้อ สัมภาษณ์วันที่ 17 มิถุนายน 2561 ณ วัดท่าข้ํามศรีดอนชัย ตำบลศรีดอนชัย อําเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย.

2. พระมหาทองเชิด กตปุญฺโญฺ. (2561). ประเพณีการทอดกฐิน. สัมภาษณ์วันที่ 17 มิถุนายน 2561 ณ วัดท่าข้ํามศรีดอนชัย ตําบลศรีดอนชัย อําเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย.

3. หนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า. หน้า 268.

4. ตัวแทนเยาวชนอําเภอเชียงของ. (2561). การมีส่วนร่วมในกิจกรรมมหาบุญ จุลกฐินถิ่นไทลื้อ สัมภําษณ์วันที่ 17 มิถุนํายน 2561 ณ วัดท่าข้ามศรีดอนชัย ตำบลศรีดอนชัย อําเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย.

5. เสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2537). พุทธวจนะในธรรมบท. (พิมพ์ครั้งที่ 8 ) กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชซิ่ง.

6. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส. (2533). กฤษณาสอนน้องคำฉันท์. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.