อภิปรายผล

ส่วนที่ 1 ปัจจัยนำ

       จากการวิจัยพบว่า ซาเล้ง คิดเป็นร้อยละ 50 เป็นเพศชาย และคิดเป็นร้อยละ 50 เป็นเพศหญิง การศึกษาของซาเล้งส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 65.0 เนื่องจากการทำงานซาเล้งนั้นมีการใช้กำลังตามความสามารถในการหาของเก่า จึงมีทั้งเพศหญิง เพศชาย ประกอบอาชีพซาเล้งจำนวนเท่ากัน อีกทั้งซาเล้งเป็นงานที่ไม่ต้องใช้ทักษะในการทำงานมากนักจึงไม่จาเป็นต้องมีการศึกษาที่สูงมากนัก ซาเล้งมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,000 บาท และเมื่อรวมรายได้ในครอบครัวมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,000 บาท ซึ่งส่วนใหญ่มีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ทำให้ต้องหารายได้พิเศษ ซึ่งซาเล้งส่วนใหญ่หารายได้พิเศษโดยการรับจ้างทั่วไป เนื่องจากเก็บของเก่าอยู่แล้วจึงมีเวลาว่าง สามารถหาเวลาทำงานรับจ้างอย่างอื่นเพื่อหารายได้พิเศษเพิ่มขึ้นจากการทำงานปกติ เมื่อถามถึงการรับรู้ภาวะสุขภาพของซาเล้งใน 1 สัปดาห์ ที่ผ่านมาพบว่าซาเล้ง คิดเป็นร้อยละ 45.0 คิดว่าสุขภาพยังเข็งแรงอยู่ คงเป็นเพราะว่าอาการเจ็บป่วยของโรคที่เกิดจากการทำงาน ไม่ได้มีอาการเกิดขึ้นทันทีทันใด บางโรคต้องใช้เวลานานจึงเกิดอาการขึ้น ซาเล้งจึงคิดว่าตนเองสุขภาพยังแข็งแรงอยู่ เพราะ ยังสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติ อีกทั้งส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 60.0 มีการตรวจสุขภาพประจำปน ถ้าผลการตรวจ ไม่มีความผิดปกติของผลการตรวจอาจทำให้เชื่อมั่นกับภาวะสุขภาพของตนเองว่ายังแข็งแรงอยู่เสมอ ทั้งที่บางครั้งการตรวจสุขภาพประจำปีอาจไม่สามารถบอกถึงความผิดปกติของทุกโรคได้ สำหรับซาเล้งเมื่อเกิดการเจ็บป่วยส่วนใหญ่จะซื้อยาทานเอง คิดเป็นร้อยละ 53.6 เพราะไม่สามารถจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้ เนื่องจากเป็นวิธีที่กระทำได้ง่าย ไม่ต้องเสียเวลา สำหรับเรื่องความรู้ในการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานของซาเล้งมีระดับคะแนนอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 80.0 อาจจะเป็นเพราะว่า ซาเล้งส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับประถมศึกษาและได้รับการอบรมเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเพื่อการป้องกันโรคและการบาดเจ็บในระดับน้อย แต่สามารถตอบข้อคำถามได้ในเรื่องที่ต้องปฏิบัติงานอยู่เป็นประจำ เช่น การสวมใส่ ถุงมือยาง รองเท้าบู๊ต ผ้าปิดจมูก อย่างสม่ำเสมอ ขณะปฏิบัติงาน ช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดเชื้อ รองลงมาคือ การอาบน้ำทันทีหลังเลิกงาน ช่วยลดการติดเชื้อและการแพร่กระจายเชื้อโรคไปสู่คนอื่นและการปฏิบัติงานต้องสัมผัสเชื้อโรค สารเคมี ของมีคม ซึ่งเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยนั้น สามารถป้องกันได้ทำให้ซาเล้งสามารถตอบได้ถูก ส่วนข้อที่ตอบผิดจะเป็นข้อคำถามที่เป็นลักษณะในเชิงความหมาย เช่น การได้รับบาดเจ็บขณะทำงาน ถือเป็นโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ เช่นเดียวกับการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการทำงาน เป็นต้น สำหรับเจตคติในการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานของซาเล้งนั้นมีระดับคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำ คิดเป็นร้อยละ 80.0 อาจเป็นเพราะว่าซาเล้งไม่ใส่ใจอันตรายที่เกิดขึ้นจากการทำงานจึงทำให้ซาเล้งขาดความตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันโรคจากการบาดเจ็บจากการทำงานจึงทำให้มีเจตคติที่อยู่ในระดับต่ำ

ส่วนที่ 2 ข้อมูลปัจจัยเอื้อ

       จากการวิจัย พบว่า ซาเล้งมีความพึงพอใจในงานในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 95.0 อาจเป็นเพราะว่าซาเล้งส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาชั้นประถมศึกษา อายุเฉลี่ยประมาณ 50 ปนขึ้นไปทำให้การหางานทาในปัจจุบันคงเป็นไปได้ยากอีกทั้งการเป็นซาเล้งถือว่ามีความมั่นคงในอาชีพที่ดีกว่าการประกอบอาชีพอื่นๆสำหรับในเรื่องการอบรมเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเพื่อการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานพบว่ามีการอบรมในระดับน้อยคงเป็นเพราะว่าขาดการดูแลเอาใจใส่จากภาครัฐเนื่องจากเป็นแรงงานนอกระบบจึงมีโอกาสในการอบรมค่อนข้างน้อยจึงขาดความรู้วิธีการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการเกิดโรคที่เกิดจากการเก็บขยะซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะที่ต้องเชิญเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาให้ความรู้ในการเก็บขยะจึงอาจไม่เกิดความสะดวกในการอบรมในการรับรู้ข่าวสารด้านสุขภาพซาเล้งจะได้รับข่าวสารจากโทรทัศน์เป็นประจำเพราะในปัจจุบันโทรทัศน์เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีเกือบทุกหลังคาเรือนสามารถรับชมข่าวสารได้สะดวกโดยเฉพาะในช่วงหลังเลิกงานในขณะที่การเปิดรับข่าวสารจากวารสารเป็นสื่อที่รับน้อยที่สุดเพราะวารสารด้านสุขภาพมีเป็นจำนวนไม่มากและความนิยมก็ไม่มากเท่ากับวารสารประเภทอื่นจึงอาจไม่สะดวกในการซื้อหาวารสาร

ส่วนที่ 3 ปัจจัยเสริม

       จากการวิจัยพบว่าการสนับสนุนทางสังคมของซาเล้ง ส่วนใหญ่จะได้รับการสนับสนุนการเอาใจใส่ในเรื่องการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานจากสังคมในระดับต่ำ คิดเป็น ร้อยละ 40.0

ส่วนที่ 4 พฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงาน

       จากการวิจัยพบซาเล้งมีพฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานโดยรวม ในระดับสูงคิดเป็นร้อยละ 60.0 และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าซาเล้งมีพฤติกรรมในการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลทีเกี่ยวข้องกับการอาบน้าและสระผมทุกครั้งหลังเลิกงานโดยมีการปฏิบัติทุกวันอาจเป็นเพราะว่าการจัดเก็บขยะจะสัมผัสกับขยะมูลฝอยที่ปนเปื้อนไปด้วยสิ่งสกปรกเชื้อโรคและสิ่งที่เป็นอันตรายมากมายเช่นเศษแก้วแตกเศษโลหะตะปูและสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคทำให้ร่างกายของซาเล้งมีกลิ่นเหม็นและสกปรกเนื่องจากการจัดเก็บขยะต้องเสี่ยงกับการสัมผัสกับขยะที่มีคมซึ่งทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ง่าย

ส่วนที่ 5 ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริมกับพฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานของซาเล้ง

สมมติฐานที่ 1 ปัจจัยนำ ได้แก่อายุสถานภาพการสมรสระดับการศึกษาสถานภาพทางเศรษฐกิจลักษณะนิสัยส่วนบุคคลประสบการณ์การทำงานการรับรู้ภาวะสุขภาพความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานและเจตคติต่อการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานของซาเล้งผลการวิจัยพบว่า

อายุมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.426) อาจเป็นเพราะว่ากลุ่มตัวอย่างของซาเล้งมีอายุอยู่ในช่วงไม่แตกต่างกันมากอาจทำให้อายุไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงาน ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ วิราภรณ์ ทองยัง (2552 : 91) ที่พบว่าอายุไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานของพนักงานเก็บขยะ

       สถานภาพการสมรสมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.153) สอดคล้องกับการศึกษาของ บุญชู ชาวเชียงขวางและคณะ (2544 : 97) พบว่าสถานภาพการสมรส ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของคนงานก่อสร้างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่า ซาเล้งที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรสคู่ คิดเป็นร้อยละ 70.0 อีกทั้งซาเล้งส่วนใหญ่ใช้เวลาในการทำงานมากกว่าอยู่ที่บ้านฉะนั้นจึงได้เรียนรู้การปฏิบัติงานที่คล้ายๆกันจึงทำให้สถานภาพการสมรสไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงาน

       ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.424) สอดคล้องกับการศึกษาของธนวันต์ ณ สงขลา )2541) ที่พบว่าระดับการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเก็บรวบรวมขยะติดเชื้อของพนักงานทำความสะอาดโรงพยาบาลของรัฐในกรุงเทพมหานคร ซึ่งคงเป็นเพราะว่าส่วนใหญ่ จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 65.0 อีกทั้งการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานนั้นซาเล้งจะได้เรียนรู้จากในสถานที่ทำงานมากกว่าจะรับรู้จากที่อื่นๆจึงทำให้ระดับการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงาน

       สถานภาพทางเศรษฐกิจ มีความสัมพันธ์เชิงลบกับพฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงาน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.324)

       ลักษณะนิสัยของซาเล้งมีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.132)

       ประสบการณ์การทำงานมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.275) ซึ่งแสดงว่าซาเล้งยิ่งมีประสบการณ์ทำงานมากขึ้นกลับทำให้มีพฤติกรรมการป้องกันโรคและบาดเจ็บจากการทำงานมากเป็นต้นอาจเป็นเพราะว่าซาเล้งที่มีประสบการณ์มากนั้นอาจเกิดความมั่นใจในการทำงานมากส่วนซาเล้งที่มีประสบการณ์น้อยกว่าอาจไม่มีความมั่นใจในการทำงานจึงต้องมีความระมัดระวังในการทำงานมากกว่า

       การรับรู้ภาวะสุขภาพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.337) ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของจิราพร อื้อเทียน ( 2546 : 66 – 67) ที่พบว่าการรับรู้ภาวะสุขภาพ ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการปวดหลังส่วนล่างในผู้รับงานไปทาที่บ้านอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้า ซึ่งคงเป็นเพราะว่าซาเล้งส่วนใหญ่รับรู้ภาวะสุขภาพว่าแข็งแรงดึง คิดเป็นร้อยละ 45.0 จึงทำให้การรับรู้ภาวะสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงาน

       ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

       เจตคติต่อการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.05)

สมมติฐานที่ 2 ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ความพึงพอใจในงานการอบรมการได้รับข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพและการดำเนินการด้านสุขภาพและการดำเนินการด้านความปลอดภัยในการทำงานมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานของซาเล้ง

ความพึงพอใจในงานมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.210) อาจเป็นเพราะกลุ่มตัวอย่างของซาเล้ง คิดเป็นร้อยละ 95.0 มีความพึงพอใจในระดับปานกลางซึ่งแสดงว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจที่ใกล้เคียงกันมากจึงอาจทำให้ความพึงพอใจในงานไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงาน

       การอบรมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.345) ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ ธนวันต์ ณ มงคล (2541) ศึกษาเกี่ยวกับความรู้และพฤติกรรมของคนงานเก็บขนขยะมูลฝอยติดเชื้อสำนักรักษาความสะอาดกรุงเทพมหานครผลการศึกษาพบว่าการเข้ารับการอบรมไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเก็บขยะมูลฝอยซึ่งอาจเป็นเพราะว่าพนักงานเก็บขยะทุกคนจะได้รับการอบรมเกี่ยวกับการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานก่อนที่จะปฏิบัติงานอยู่แล้วจึงอาจทำให้การอบรมไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงาน

       การได้รับข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.345)

สมมติฐานที่ 3 ปัจจัยเสริม ได้แก่การได้รับการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานของซาเล้ง

       การได้รับการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจาการทำงานอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.357) ซึ่งอาจเป็นเพราะว่าซาเล้งอยู่ในสภาพทางสังคมที่ไม่แตกต่างกันมากโดยเฉพาะในสถานที่ทำงานเนื่องจากใช้เวลาในการทำงานเป็นส่วนใหญ่จึงอาจทำให้การได้รับการสนับสนุนทางสังคมไม่แตกต่างกันมาอาจส่งผลให้การได้รับการสนับสนุนทางสังคมไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานของซาเล้ง

 

ข้อเสนอแนะ

1. ควรมีการให้ความรู้ความเข้าใจวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกวิธีเพื่อซาเล้งจะได้มีสุขภาพที่ดีในการปฏิบัติงาน

2. ควรมีการจัดอบรมเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงาน

3. ควรมีเจ้าหน้าที่จากภาครัฐเข้าไปดูแลส่งเสริมสุขภาพซาเล้ง

 

บรรณานุกรม

Becker, M.H., Drachman, R.H., & Kirscht, J.P. (1974). A New Approach to Explaining Sick-Role Behavior in Low-Income Populations. American Journal Of Public Health, 64(3), 205-16.

Harris, D.m. & Guten, S. (1979). Health-protective behavior : An exploratory study. Journal of Health and Social Behavior, 20(1), 17-29.

Hubbard, P ., Muhlenkamp, A.F., Brown, N. (1984). The Relationship between Social Support and Self-Care Practice. Nursing Research, 33(5), 266-270.

Ivens, U.I., Lassen J.H., Kaltoft, B.S. and Skov, T. (1998). Injuries among Domestic waste collectors. Am J Ind Med, 33(2), 182-9.

Magaret, B. (1995). Work and Health : A Introduction to Occupational Health Care. Campman & Hall. UK. Poulsen, O.M., Breum, N.O., Ebbehoj, n., Hansen, A.M., Lvens, U.I. &

Leieveld D. (1995). Collection of domestic waste. Review of occupational Health problems and their possible causes. Science of the Total Environment, 170(1-2), 1-19.

Yang, C.Y., Chang, W.T., Chuang, H.Y., Tsai, S.S., Wu, T.N. and Sung, F.C. (2001). Adverse health effects among household waste collectors in Taiwan. Environ Res, 85(3), 195-9.