บทนำ

       จากสภาพการณ์ปัจจุบันประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากทั้งในด้านเศรษฐกิจสังคมการเมืองและความเป็นอยู่ของประชาชนมีการพัฒนาจากประเทศเกษตรกรรมไปเป็นประเทศอุตสาหกรรมมีการพัฒนำความเป็นอยู่จากสังคมชนบทเป็นสังคมเมืองมากขึ้นการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของประชาชนดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบทั้งในด้านบวกและด้านลบต่อสภาพความเป็นอยู่และสุขภาพของประชาชนในประเทศส่งผลให้สถานการณ์ปัญหาสาธารณสุขของประเทศเปลี่ยนแปลงไปกล่าวคือประชาชนเสียชีวิตด้วยโรคไม่ติดต่อมีแนวโน้มสูงขึ้นได้แก่โรคมะเร็งโรคหลอดเลือดในสมองเบาหวานและความดันโลหิตสูงซึ่งโรคดังกล่าวสามารถป้องกันได้จากการมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองอย่างเหมาะสมนอกจากสถานการณ์โรคที่กล่าวมาข้างต้นปัจจุบันยังพบว่าการทำงานลักษณะงานสิ่งแวดล้อมในการทำงานและกระบวนงานในแต่ละอาชีพอาจนำมาซึ่งอุบัติเหตุก่อให้เกิดการบาดเจ็บจากการทำงานรวมถึงการเจ็บป่วยทั้งโรคติดเชื้อและโรคไร้เชื้อได้ด้วยเช่นกัน

       กลุ่มบุคคลที่ประกอบอาชีพเก็บขยะไม่ว่าจะเป็นการเก็บแบบเดินเก็บหรือการเก็บแบบมีรถซาเล้งเป็นของตัวเองก็ตามตามลักษณะงานโดยทั่วไปจะมีหน้าที่การเก็บเศษวัสดุสิ่งของที่เหลือใช้ตามบ้านเรือนซึ่งมีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่อาจส่งผลต่อสุขภาพได้แก่สภาพอากาศที่ร้อนฝุ่นควันการสัมผัสเชื้อโรคสัตว์นำโรคจากขยะมูลฝอยกลิ่นเหม็นเน่าการสัมผัสสารเคมีสิ่งเหล่านี้ถ้ามีปริมาณมากและบุคคลที่ทำอาชีพซาเล้งมีโอกาสสัมผัสหรือเผชิญอยู่ทุกวันย่อมมีโอกาสเสี่ยงต่อสุขภาพและความปลอดภัยขณะปฏิบัติงานยิ่งไปกว่านั้นอันเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุจากการทำงานได้ง่ายนอกเหนือไปจากลักษณะงานกระบวนการทำงานและสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงและส่งผลกระทบต่อสุขภาพแล้วนั้นในด้านปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับตัวบุคคลก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานกล่าวคือบุคคลที่ประกอบอาชีพซาเล้งส่วนมากยังละเลยขาดความตระหนักในเรื่องของการป้องกันตนเองและการดูแลสุขภาพไม่ชอบสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อสุขภาพเช่นชอบสูบบุหรี่ดื่มสุราขาดความรู้และขาดทักษะในการปฏิบัติตนเพื่อให้เกิดความปลอดภัยจากการทำงาน

       จากการศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องพบว่ายังมีการศึกษาเกี่ยวกับแรงงานนอกระบบโดยเฉพาะซาเล้งไม่มากนัก ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานของซาเล้ง เขตยานาวา กรุงเทพมหานคร ซึ่งผลการศึกษาครั้งนี้จะช่วยให้ทราบถึงข้อมูลพื้นฐาน และพฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานของซาเล้ง ในเขตยานาวา กรุงเทพมหานคร ซึ่งจะเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานให้กับซาเล้งและยังเป็นแนวทางในการบริหารจัดการเกี่ยวกับระบบการเก็บขน สิ่งของที่นำมาขายได้หรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้ให้มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. ศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานของซาเล้ง

2. เพื่อศึกษาคุณลักษณะของปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานของซาเล้งได้แก่ปัจจัยนำปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริม

3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริมกับพฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานของซาเล้ง