ชื่อผลงานทางวิชาการ : “ความเป็นครู”

ประเภทผลงานทางวิชาการ : ตำรา วิชา ความเป็นครู

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2559

ข้อมูลเพิ่มเติม : โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำกัด เงินทุนโปรแกรมวิชาการบริหารการศึกษา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ / ตำแหน่งทางวิชาการ  : โปรแกรมวิชาการบริหารการศึกษา            รองศาสตราจารย์ ดร. มณี เหมทานนท์ และคณะ

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : เน้นหลักการ แนวคิดของครู ที่มีคุณสมบัติที่มีภาระหนักในการอบรมสั่งสอนลูกศิษย์ เพื่อสร้างศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีมีคุณภาพ การจำแนกประเภทของครูตามกฎหมายมีครูอาชีพ อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา และบุคลากรอื่นที่ทำหน้าที่สนับสนุน อาทิเช่น ศึกษานิเทศก์ วิทยากร ครูช่วยสอน และเจ้าหน้าที่อื่นในวงการครู สำหรับครูในอนาคต ได้แก่ ครูโดยวัฒนธรรม ครูโดยอาชีพ ครูโดยธรรมชาติ ครูโดยเทคโนโลยี และครูโดยตนเอง หลักการของครูที่นำไปปฏิบัติ คือ คำว่า “Teacher” คือ T = Teach            E = Example  A = Ability  C = Characteristic  H = Health  E = Enthusiasm R = Responsibility

สรุปสาระสำคัญ : ครูอาชีพตามแนวปฏิรูปการศึกษา มีภาระงานดังนี้

1. เพื่อให้ตนเองมีคำตอบถูกหลายๆ คำตอบ

2. ครูต้องรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล

3. วิเคราะห์หลักสูตร

4. เตรียมการสอนก่อนเข้าห้องเรียน

5. จดบันทึกข้อดี ข้อเสีย ของการจัดการเรียนการสอนเป็นบันทึกสั้นๆ

6. ปรับปรุงออกแบบการเรียนการสอน

7. เผยแพร่รูปแบบการเรียนการสอนของตนเอง

8. ต้องจัดการเรียนการสอนทุกคาบ

นอกจาก 8 ประการนี้ พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระราชทานแด่ครูถือเป็นปฏิบัติอย่างยิ่ง 4 ประการ ได้แก่

1. ครูต้องมีความรักและเมตตา

2. ครูต้องมีความเสียสละและอดทน

3. ครูต้องทำความดีเพื่อความดี

4. ครูต้องถึงพร้อมด้วยความรู้ ความดีและความสามารถ

ลักษณะของวิชาชีพชั้นสูง และยกระดับคุณภาพมาตรฐานวิชาชีพครู ให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 81 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 53 กำหนดให้วิชาชีพครูต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ โดยองค์กรคุรุสภา พร้อมทั้งกำหนดวันสำคัญของครู คือ วันที่ 16 มกราคม ของทุกปี ส่วนสหประชาชาติกำหนดวัน “ครูโลก” วันที่ 5 ตุลาคม ของทุกปี

ระเบียบคุรุสภาว่าด้วย จรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539 เพื่อเป็นหลักในการปฏิบัติ ประกอบด้วย

จรรยาบรรณ ข้อที่ 1 : ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความไว้วางใจช่วยเหลือส่งเสริมในการให้การศึกษาอย่างเสมอภาคกัน

จรรยาบรรณ ข้อที่ 2 : ครูต้องอบรมสั่งสอน ฝึกฝนสร้างความรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้แก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ

จรรยาบรรณ ข้อที่ 3 : ครูต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย วาจา ใจ

จรรยาบรรณ ข้อที่ 4 : ครูต้องไม่กระทำงานเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจอารมณ์และสังคมของมนุษย์

จรรยาบรรณ ข้อที่ 5 : ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากลูกศิษย์ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติและไม่ใช้ศิษย์ กระทำการใดๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ

จรรยาบรรณ ข้อที่ 6 : ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจสังคม และการเมืองอยู่เสมอ

จรรยาบรรณ ข้อที่ 7 : ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครูและเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ

จรรยาบรรณ ข้อที่ 8 : ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์

จุดเด่น / ความน่าสนใจและการนำไปใช้ประโยชน์ : หนังสือเรียนเล่มนี้มีจุดเด่น คือ การพัฒนาค่านิยมในวิชาชีพครูโดยอาศัยปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ เช่น ผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชาของครูอาจารย์ทุกระดับชั้น จะต้องปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีในด้านคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่ดีงาม

สำหรับการนำเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ไปใช้ประโยชน์นั้น สถาบัน องค์กรผลิตครู ควรนำเนื้อหาของความเป็นครูไปสอนนิสิต / นักศึกษา ที่จะออกไปประกอบอาชีพครูมีความมั่นใจในบุคลิกภาพของตนเองเบื้องต้น และพัฒนาปรับปรุงปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้ดีให้สังคมยอมรับ นั้นคือ บุคลิกภาพภายในและภายนอก โดยการสร้างศรัทธาในอาชีพครูตามหลักพุทธศาสนา คือ ฉันทะ เมตตาและกัลยาณมิตร เพื่อการพัฒนาจิตสำนึกและวิญญาณครูในขณะเดียวกัน ซึ่งความศรัทธาประกอบด้วย 3 มิติ ได้แก่ ศรัทธาต่อตนเอง ศรัทธาต่อครู และศรัทธาต่อองค์กรวิชาชีพครู

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กำเนิดจากฝึกหัดครู -> วิทยาลัยครู -> สถาบันราชภัฏ  และมหาวิทยาลัยราชภัฏ นั้น ปัจจุบันก็ยังผลิตนิสิตนักศึกษาสายวิชาชีพครู ควรพิจารณาผู้สอนวิชาความเป็นครูให้มีประสบการณ์ทางการเป็นผู้ผลิตครู และเป็นต้นแบบที่ดีทั้งด้านบุคลิกภาพภายในและภายนอก