ชื่อผลงานทางวิชาการ  : การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน 

ประเภทผลงานทางวิชาการ : ตำรา

ปีที่พิมพ์  : ฉบับปรับปรุง 2557

ข้อมูลเพิ่มเติม :  _

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นฤมล สุ่นสวัสดิ์ 

อาจารย์รัชนก ปัญญาสุพัฒน์ อาจารย์โสภณ  สระทองมา

สาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการ คณะวิทยาการจัดการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

   

 

บทนำเข้าสู่ความสนใจ

ตำรา  เรื่อง    “การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน” เรียบเรียงโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นฤมล สุ่นสวัสดิ์  อาจารย์รัชนก ปัญญาสุพัฒน์ อาจารย์โสภณ สระทองมา สาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการ คณะวิทยาการจัดการ   มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีวัตถุประสงค์ เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียนและผู้ที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ในการพัฒนาตนนำไปสู่การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน    และเพื่อพัฒนาให้ทุกคนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข (ม.6) ยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคน/ผู้เกี่ยวข้องมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ (ม.22) เน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม และกระบวนการเรียนรู้ ให้มีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและดำรงตนอย่างมีความสุข (ม.23) จัดเนื้อหาและกิจกรรมโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะและประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา จัดการเรียนการสอนผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ ปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (ม.24) มีการประเมินผู้เรียน โดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรม และการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอน (ม.25) โดยมีเนื้อหาทั้งที่เป็นวิชาการและวิชาชีพ ที่มุ่งพัฒนาคนให้มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงามและความรับผิดชอบต่อสังคม (ม.28) จึงได้มีการให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาไปพร้อมกับฝึกปฏิบัติเพื่อความเข้าใจได้รวดเร็ว โดยในปี 2557 ได้มีการปรับปรุง เพิ่มเติมเนื้อหาที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานและการดำรงชีวิตของผู้เรียนและผู้เกี่ยวข้อง ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน ทำให้ตำราเล่มนี้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

 

 

สรุปสาระของตำรา เรื่อง การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน

การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน เป็นทางแห่งความเจริญก้าวหน้า คนต้องพัฒนาตนจึงอยู่รอด แล้วเจริญก้าวหน้า คนต้องพัฒนาเท่าการเปลี่ยนแปลงของสังคมจึงเข้ากับคนในสังคมนั้นได้ มิฉะนั้นจะเป็นคนที่ถูกเรียกว่าตกรุ่น ในฐานะคนทำงานก็ต้องพัฒนาหรือปรับปรุงตนเองอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากเทคโนโลยี วิธีการทำงานเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การปฏิบัติงานในองค์การต้องตอบรับวัตถุประสงค์เป้าหมายขององค์การ ของหน่วยธุรกิจที่ตนรับใช้อยู่ การจะตอบสนองเป้าหมายขององค์การได้ต้องอาศัยสมรรถนะของตนเอง อันได้แก่ความรู้ ทักษะ เจตคติ ที่ต้องแสวงหา ฝึกฝน ฝึกตนให้มีขีดความสามารถตรงกับที่องค์การหรือหน่วยงานต้องการ รากฐานของการพัฒนาตนเริ่มที่การรู้จักตนเอง รู้ว่าตนมีจุดแข็งจุดอ่อนอะไรบ้าง โดยต้องมีเจตคติด้านบวก มีการตั้งเป้าหมาย และตนเตือนตน ยึดหลักการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เนื้อหาเริ่มจากการมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในการพัฒนาตนเอง ปรับแต่งบุคลิกภาพ เข้าใจความต้องการของมนุษย์ ค่านิยม การสำรวจและแลกเปลี่ยนค่านิยม วัฒนธรรมในการทำงาน การตั้งเป้าหมายในชีวิตและการทำงาน การสำรวจความรู้สึก ปัญหาอุปสรรคและวิธีการพิชิตอุปสรรคในการทำงาน สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง พัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน ซึ่งตำราเล่มนี้ ประกอบด้วย 12 บท แต่ละบทจะประกอบด้วย เนื้อหาที่สำคัญ  บทสรุป กิจกรรมท้ายบท คำถามทบทวน และเอกสารอ้างอิง  ดังนี้

บทที่ 1  ปรัชญาและอุดมการณ์ในการพัฒนาตนเอง         ประกอบด้วย ความหมายของการพัฒนาตน การรู้จักตนเอง          แนวคิดและหลักการพัฒนาตน ปรัชญาและอุดมการณ์ในการพัฒนาตนเอง       ขอบเขตของเอกสารประกอบการสอน          ทดสอบก่อนเรียน คุณค่าแห่งฉัน   รู้จักกันมากขึ้น

สัญญาการเรียนรู้

บทที่ 2  ผลิตภาพ        ประกอบด้วย     ความหมายของคำว่า ผลิตภาพ     การวัดผลิตภาพ  การใช้ผลิตภาพวิเคราะห์บริษัท   กระบวนการของผลิตภาพ องค์ประกอบและการแบ่งสรรของผลิตภาพ  ผลิตภาพในฐานะกุญแจสู่มาตรฐานการครองชีพที่สูงขึ้น

บทที่ 3 คุณภาพ ประกอบด้วย    ความหมายของคุณภาพ   ความเป็นมาของ “คุณภาพ”สายโซ่คุณภาพ การปฏิบัติงานเป็นกระบวนการ คุณภาพของสินค้าและคุณภาพการบริการ วงล้อคุณภาพ      แนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพ

บทที่ 4 ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน ประกอบด้วย   ความหมายของความมีประสิทธิผลและความมีประสิทธิภาพ       ทำไมคุณภาพจึงสำคัญ   4 C  ของคุณภาพ เป้าหมายขององค์การ   มาตรฐานการปฏิบัติงาน  การสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน

บทที่ 5  การตั้งเป้าหมายของชีวิตและการทำงาน  ประกอบด้วย ความหมายของเป้าหมาย   ความสำคัญของเป้าหมาย    อุปสรรคขวางกั้นการบรรลุเป้าหมาย     หลักการบรรลุเป้าหมาย  ลักษณะของเป้าหมายที่ดี  หลักการกำหนดเป้าหมายการทำงาน    ทวีตัวขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จ

บทที่ 6 เจตคติ ประกอบด้วย     ความหมายของคำว่า เจตคติ องค์ประกอบ ที่มา หน้าที่ ประโยชน์และปัจจัยที่มีผลกระทบต่อเจตคติ การปรับเจตคติ การพูดกับตนเองด้านบวก การมองภาพ

บทที่ 7  ค่านิยม ประกอบด้วย  ความหมายของค่านิยม องค์ประกอบของค่านิยม ประเภทของค่านิยม  กระบวนการเกิดและพัฒนาการของค่านิยม  ค่านิยมองค์การและค่านิยมส่วนตัว ค่านิยมร่วม ค่านิยมกับการทำงาน

บทที่ 8 วัฒนธรรมในองค์การ    ประกอบด้วย     ความหมายของวัฒนธรรมองค์การ แนวคิดของวัฒนธรรมองค์การ          การบ่งชี้วัฒนธรรม         องค์ประกอบของวัฒนธรรมองค์การวัฒนธรรมองค์การของดีลและเคเนดี้  การเข้าใจและบริหารวัฒนธรรมbรูปแบบการแสดงออกของวัฒนธรรมองค์การ  วัฒนธรรมองค์การมีผลต่อผู้บริหาร

บทที่ 9   บุคลิกภาพ      ประกอบด้วย  ความหมายของบุคลิกภาพ  ความสำคัญของบุคลิกภาพการจำแนกบุคลิกภาพ          องค์ประกอบของบุคลิกภาพ  สภาพการควบคุมบุคลิกภาพการปรับปรุงบุคลิกภาพ ลักษณะของคนที่มีบุคลิกภาพที่ดี

บทที่ 10  การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง ประกอบด้วย    ความหมายของการสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง          แนวคิดของความเชื่อมั่นในตนเอง   หลักการในการพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง  การ

เผชิญหน้าความจริงกับความสามารถในการสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง วิธีการสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง วิธีเพิ่มความเชื่อมั่นในตนเอง

บทที่ 11 ความต้องการของมนุษย์   ประกอบด้วย  ความหมายของการจูงใจ ทฤษฎีคืออะไร ทำไมจึงเป็นทฤษฎี  ทฤษฎีจูงใจแบบความจำเป็น       ลักษณะความจำเป็น  ทฤษฎีอนามัย-แรงงจูงใจของเฮอร์สเบอร์  ทฤษฎีจูงใจแบบพฤติกรรมและความรู้  การปรับขยายพฤติกรรม

บทที่ 12 การพิชิตปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน ประกอบด้วย  ความหมายของปัญหา  ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับปัญหา  กระบวนการในการแก้ปัญหา ความแตกต่างระหว่างการแก้ปัญหากับการตัดสินใจ         หลักการในการแก้ปัญหา วงจร PDCA เพื่อการบรรลุผล ปรับปรุง แก้ไข

 

 จุดเด่น/การนำไปใช้ประโยชน์   

ตำรา เรื่อง การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานนี้ สิ่งที่จำเป็นและสำคัญลำดับแรกของการพัฒนา คือ ปรัชญาและอุดมการณ์ในการพัฒนาตนเอง เป็นความมุ่งมั่นไขว่คว้าเพื่อเพิ่มสมรรถนะ ขีดความสามารถของตนอันก่อเกิดประโยชน์แก่ตนเองและองค์การที่ทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางเศรษฐกิจของประเทศ ดังนี้

 

จุดเด่นที่ 1 การพัฒนาตน

การพัฒนาตน (Personal Development) เป็นการเพิ่มขีดความสามารถ ขยายความเฉลียวฉลาด สติปัญญาเพื่อให้มีความก้าวหน้าในชีวิตส่วนตัวและการงาน ให้ชีวิตมีความหมายและความพึงพอใจ อาจพัฒนาโดยตนเองนำตนเอง หรือมีคนอื่นมานำให้พัฒนาด้วยการให้การกระตุ้นจูงใจ ให้การสนับสนุน แต่ในท้ายที่สุดก็คือเพิ่มความสามารถให้แก่ตน

จุดเด่นที่ 2 การรู้จักตนเอง

ผู้มีการพัฒนาตนต้องรู้จักตน วิเคราะห์ตนเองให้เห็นชัดว่าตนเป็นใคร มาจากไหน ทำอะไร มีอะไรเป็นเป้าหมายของชีวิต โสกราติส นักปราชญ์ชาวกรีกกล่าวว่า “ชีวิตที่ไม่ได้ตรวจสอบ เป็นชีวิตที่ไร้ค่า” คนที่หวังความก้าวหน้า ควรกำหนดจุดหมายปลายทางชีวิตของตน พิจารณาว่าจะนำตนไปสู่จุดหมายของชีวิตได้อย่างไร ต้องทำตนอย่างไรจึงเผชิญสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม การรู้จักตนเองจึงเป็นรากฐานแห่งการนำชีวิตไปสู่จุดหมายได้อย่างราบเรียบ

 จุดเด่นที่ 3 ความสมดุลระหว่างชีวิต การงานและสังคม

เพื่อเป็นคนที่มีพัฒนาการสมดุลทั้งชีวิตส่วนตัวและการงาน วงล้อแห่งชีวิตมีความจำเป็นและสำคัญสำหรับการจะเป็นคนสมบูรณ์  คนต้องพัฒนาชีวิตทั้งหกด้านควบคู่กันไปให้ได้ดุลกัน คือ

  1. สุขภาพและร่างกาย มีร่างกายแข็งแรง สุขภาพดี จึงดำรงชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ คนตายไม่อาจทำงานได้ คนป่วยก็ไม่อาจทำงานได้เต็มที่
  2. สติปัญญาและการศึกษา การเรียนรู้และพัฒนาตนตลอด ทำให้เติบโตทั้งความคิดและจิตใจ พร้อมเผชิญหน้าสิ่งท้าทายในงานอาชีพ ทำให้มีทักษะฝ่าฟันสร้างสรรค์
  3. การเงินและอาชีพ การเงินดี ทำให้มีเจตคติบวกและสภาพคล่องในการดำรงชีวิต เป็นส่วนสำคัญในการจัดการงานอาชีพ การมีอาชีพเหมาะกับทักษะก็ทำให้ทำงานอย่างมีความสนุก มีรายได้
  4. ครอบครัวและบ้านเรือน ครอบครัวที่อยู่ครบพร้อมหน้าใกล้ชิด บ้านเรือนที่น่าอยู่ สร้างสัมพันธ์ภาพของคนให้แน่นเหนียว มีจิตใจมั่นคง เป็นแรงใจแก่กัน
  5. จริยธรรมและจิตวิญญาณ ปรัชญาความเชื่อ ศีลธรรม จรรยามารยาท ความเชื่อที่อยู่นอกเหนือสภาพทางวัตถุ เป็นแหล่งแห่งพลังและการสร้างสรรค์ในการเพิ่มการเกื้อหนุนให้แก่คนอื่น
  6. สังคมและวัฒนธรรม ความสามารถในการเข้ากันได้กับผู้อื่น อยู่ร่วมกับคนอื่นในชุมชน ในสังคมโลกได้อย่างกลมเกลียว ทักษะความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคมจำเป็นในการสร้างความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น

จุดเด่นที่ 4 เส้นทางอาชีพ

การรู้เส้นทาง ช่วยให้เดินทางรวดเร็ว ถูกต้อง เส้นทางอาชีพก็ช่วยให้ผู้ประกอบอาชีพมีความเจริญก้าวหน้า เส้นทางอาชีพ คือ โอกาสในการเจริญเติบโตในงานอาชีพ นักขายอาจเริ่มจากการเป็นนักขายฝึกหัด นักขายผู้น้อย นักขายอาวุโส ผู้จัดการฝ่ายขาย ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายการตลาด ผู้จัดการฝ่ายการตลาด รองประธานบริษัทฝ่ายการตลาด และเป็นประธานบริษัท หรืออาจจากการเป็นผู้จัดการฝ่ายขายไปรับผิดชอบงานด้านค้าปลีก หรือ งานโฆษณาก็ได้

การรู้เส้นทางอาชีพว่าจะเจริญเติบโตไปได้ในทางใด ทำให้มีการวางแผนชีวิตของตนเองได้ ทำให้มีการตั้งเป้าหมายให้ไปสู่จุดหมายสูงสุดที่ตนต้องการเป็น การรู้เส้นทางอาชีพจึงเป็นทางพัฒนาตนเองอีกทางหนึ่งเปรียบเสมือนรู้จักแผนที่เพื่อเดินทางไปถึงจุดหมายปลายทาง

ดังนั้น ทุกคนต้องมีอุดมการณ์ในการพัฒนาตนเองก่อนเป็นลำดับแรก

จุดเด่นที่ 5 เป้าหมายในการพัฒนาตนเอง เป็นการปรับปรุงผลิตภาพส่วนตัว คือทำงานได้ผลผลิตมากกว่าปัจจัยนำเข้า เนื่องจากผลิตภาพส่วนตัวของผู้ปฏิบัติงานมีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ผลิตภาพเกิดจากความมีประสิทธิผล ความมีประสิทธิภาพในการทำงาน ทำงานได้ตามเป้าหมาย รู้จักใช้นวัตกรรม เนื่องจากผู้ปฏิบัติงานมีสมรรถนะ คือ ความรู้ ทักษะและเจตคติ กับทั้งทำงานมีประสิทธิภาพ คือ ทำงานได้งานตามปริมาณ ตรงคุณภาพ   โดยใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด ประกอบด้วยเจตคติและการตั้งเป้าหมาย เจตคติเป็นความคิดจิตใจ เป็นฝ่ายนำของการปฏิบัติ มีเจตคติเช่นใดก็จะแสดงท่าทีและพฤติกรรมออกมาเช่นนั้น เจตคติที่ควรมีคือเจตคติด้านบวก  ส่วนการตั้งเป้าหมาย เป็นการกำหนดทิศทางที่ต้องการไปให้ถึง เป็นป้ายบอกทางให้การดำเนินงาน ดำเนินชีวิตได้ตรงความตั้งใจ คาดหวัง หรือมุ่งมาดปรารถนา

จุดเด่นที่ 6 ความเจริญก้าวหน้าของประเทศ อยู่ที่ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจซึ่งทำให้เกิดมาตรฐานการครองชีพสูง ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น เนื่องจากได้รับเงินค่าจ้างสูงขึ้น มีเงินจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น คุณภาพชีวิตดีขึ้น ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเกิดจากการผลิตที่ได้ผลผลิตต่อหน่วยมากกว่าทรัพยากรที่เป็นปัจจัยนำเข้า มีความแกร่งทางการแข่งขันสูงขึ้น ผลิตภาพของประเทศเป็นตัวชี้วัดอัตราเติบโตของเศรษฐกิจ ในตำราเล่มนี้เริ่มด้วยผลิตภาพ เพื่อให้ทราบแนวคิดว่าการพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานล้วนเสริมผลิตภาพของประเทศเกิดจากผลรวมของผลิตภาพระดับอุตสาหกรรมหรือบริษัท ซึ่งเป็นผลรวมมาจากผลิตภาพของผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมหรือบริษัท ดังนั้นการเพิ่มผลิตภาพของประเทศจึงอยู่ที่การเพิ่มผลิตของคนทำงานแต่ละคน  มีส่วนโดยตรงต่อการเพิ่มผลิตภาพของประเทศ การทำงานอย่างมีประสิทธิผลคือทำงานได้ตรงตามเป้าหมาย ได้ผลลัพธ์ดังที่กำหนดไว้ ส่วนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเป็นการทำงานที่ใช้ปัจจัยผลิต คือ แรงงาน วัสดุ เครื่องจักร ได้อย่างประหยัด ในอีกด้านหนึ่ง เชื่อว่า เจตคติ เป็นส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดการทำงานเพิ่มผลิตภาพ การมีเจตคติด้านบวก การตั้งเป้าหมายจึงมีผลต่อการทำงานที่มีประสิทธิผลและการทำงานที่มีประสิทธิภาพ โดยที่การทำงานให้ได้ผลตรงตามความต้องการของลูกค้าเป็นการทำงานมีคุณภาพ ดังนั้นคุณภาพของงานหรือผลผลิตทำให้ลูกค้าพึงพอใจ

ลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ปฏิบัติงานที่จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล นอกจากมีเจตคติด้านบวกแล้ว ยังมีค่านิยม ที่ส่งเสริมการทำงานอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานในองค์การต้องมีกาวผนึกความเป็นปึกแผ่นของคนทำงานเข้าด้วยกัน วัฒนธรรมองค์การ เป็นตัวเชื่อมประสานจิตใจของผู้คนให้เป็นอันหนึ่งน้ำใจเดียวกัน

ผู้ปฏิบัติงานคนใด หากขาดความเชื่อมั่นในตนเอง จะทำงานไม่ค่อยได้ผลมากนัก การสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ตนเองจึงมีความสำคัญ  แต่ละคนมีความต้องการไม่เหมือนกัน การรู้ความต้องการของมนุษย์ จะช่วยในการจูงใจให้คนทำงานให้มีประสิทธิภาพประสิทธิผล ส่วนบุคลิกภาพ เป็นส่วนทำให้เข้ากับคนอื่นได้ การทำความเข้าใจต่อกันและกันอาศัยการสื่อสาร  หากไม่เข้าใจหรือมีข้อขัดแย้งก็ต้องอาศัยเรื่องการพิชิตปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน

จะเห็นได้ว่า ตำราเรื่องการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานนี้ ผู้ที่สนใจทุกคนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงทั้งในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพทุกศาสตร์ ทุกองค์กรของภาครัฐและภาคเอกชน เช่น การบริหารงานบุคคล การตลาด การบัญชี การท่องเที่ยว และธุรกิจบันเทิง   เป็นต้น

บรรณานุกรม

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2556). การจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: พิมพ์ครั้งที่ 8, ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จำกัด.

พุทธทาส อินทปัญญา (2540). ข้อหัวธรรมในคำกลอน. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

ระเด่น   ทักษณา. (2542).  มาดต้องตา วาจาต้องใจ ภายในต้องเยี่ยม. กรุงเทพฯ : แว่นแก้ว.

วารินทร์  สินสูงสุด และวันทิพย์ สินสูงสุด. (2544). กิจกรรม 5 ส. สร้างสรรค์มาตรฐานงาน. กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตบัณฑิตธรรม.

วิเชียร วิทยอุดม. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: พิมพ์ครั้งที่ 4, ธนธัชการพิมพ์ จำกัด.

สมชาติ กิจยรรยง. (2539).  เกมและกิจกรรมเพื่อพัฒนาบุคลากร.กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สุพจน์  รัตนาพันธุ์. (2552). พฤติกรรมองค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ท็อป จำกัด.

Aldag, R. J., & Kuzahara, L. W. (2001). Organizational behavior and management        : An integrated skills approach. OH: South-Western.

Brinkerhoff, R. O., & Dressler, D.E. (1990). Productivity measurement : A guide for       managers and evaluators. New Burly Park: Sage.

Capon, C. (2000).  Understand organizational context. Harlow: Prentice Hall.

Champous, J. E. (2000). Organizational behavior: essential tenets for a new    millennium. Cincinnati: South-Western College.

Crosby, P. B. (1986).  Quality is free. Boston: McGraw-Hill.

Drennan, D. (1999). 12 Ladders to world class performance. London: Kogan Page.

Dubrin, A.J. (2002). Fundamentals of organizational behavior. OH:

South- Western.

Ducker, P. (1997). Productivity concepts and their applications. Singapore:

Prentice Hall.

Griffin, M. (2001). Organizational behavior. New York: Houghton Mifflin.

Guideline on concept and use of the process approach for management system

(2005). ISO 9000:2000. (Online). Available:

http://www.ISO.ch/  (2005, Septembers 8).

Han K. H. (1990). Productivity in transition. Singapore:  McGraw-Hill.

Hodgetts, R. M.(1966). Modern human relations at work. (4th ed.).: Dryden.

Juran, J. M. (1999). Quality control handbook. New York: McGraw-Hill.

Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (2001). The strategy-focused organization. Massachusetts:            Harvard Business School.

Kotter, J. P. (2003). Leading change. Boston: Harvard Business School.

Leman, C. M., & Dufrene, D.D. (2002). Business communication. (13th ed.).OH:

South – Western.

Maslow, A. (1970). Motivation and personality. New York: Harbera Row.

National Productivity and Standard Board (1999). Productivity measurement.

Singapore: Author.

Oakland, J. (2000). Total Quality Management. (2nd ed.). Oxford:

Butterworth Heinemann.

Robbins,S. P. (2001). Organizational behavior, (9th ed.). NJ: Prentice Hall.

Robbins S. P., & Mary C. (2003). Management. (7th ed.) Pearson Education.

Rouillard, L. A. (1993). Goals and goal setting. London: Kogan Page.

Saiyadain, M. S. (2003). Organizational behavior. New Delhi: Tata. McGraw-Hill.

Smith, P. R. (2005). Practice management digest. New York: AIA.

Waters, M. (1996). Dictionary of personal development. Shaftsbury Dorset: Element Books.

etc.

 

สำนักพิมพ์วันทิพย์ พิมพ์ที่สยามมิตรการพิมพ์ กทม.

ผศ.ดร.นฤมล สุ่นสวัสดิ์  โทร. 089-7468850

จำนวน   ๓๙๖   หน้า