ชื่อเรื่อง การจัดการความรู้ของบุคลากรสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดสมุทรสาคร
ชื่อผู้วิจัย อรุณวรรณ แสงทอง
สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก ดร. พนัส  จันทร์ศรีทอง
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม รองศาสตราจารย์ ดร.มณี  เหมทานนท์
ปีการศึกษา 2560

 

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งศึกษาระดับการจัดการความรู้ของบุคลากรสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสมุทรสาคร ใน 7 ด้าน คือ 1) ด้านการบ่งชี้ความรู้ 2) ด้านการสร้างและแสวงหาความรู้ 3) ด้านการจัดการความรู้ให้เป็นระบบ 4) ด้านการประมวลและกลั่นกรองความรู้ 5) ด้านการเข้าถึงความรู้ 6) ด้านการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ และ 7) ด้านการเรียนรู้ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ และอัตราจ้าง สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 110 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบตรวจสอบรายการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

ผลการวิจัยพบว่า ระดับการจัดการความรู้ของบุคลากรสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสมุทรสาคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการสร้างและแสวงหาความรู้ ด้านการเรียนรู้ ด้านการบ่งชี้ความรู้ ด้านการเข้าถึงความรู้ ด้านการจัดการความรู้ให้เป็นระบบ ด้านการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ และด้านการประมวลและกลั่นกรองความรู้

คำสำคัญ : การจัดการความรู้

 


 

Title The Knowledge Management of Personnel under Samutsakhon Provincial Office of Non-Formal and Informal Education
Author Arunwan Saengthong
Program Educational Administration
Major Advisor Dr. Panus Junsrithong
Co-Advisor Associate Professor Dr.Manee Hemthanon
Academic Year 2017

 

ABSTRACT

             The purpose of this research was to study The Knowledge Management of Personnel under Samutsakhon Provincial Office of Non-Formal and Informal Education in 7 aspects.
1) Knowledge Identification 2) Knowledge Creation and Acquisition 3) Knowledge Organization 4) Knowledge Codification and Refinement 5) Knowledge Access 6) Knowledge Sharing and 7) Learning. The population consisted of 110 person including administrators, government officers, permanent employees, government employees, and temporary employees in Samutsakhon Provincial Office of Non-Formal and Informal Education. Data were collected using 5 – point rating scale questionnaire and checklist and was statistically analyzed in percentage, arithmetic mean, and standard deviation.

The findings revealed that The Knowledge Management of Personnel under SamutsakhonProvincial Office of Non-Formal and Informal Education was generally at the high level. After item analysis, all of them could be rearranged by mean score in descending as follows : Knowledge Creation and Acquisition, Learning, Knowledge Identification, Knowledge Access, Knowledge Organization,  Knowledge Sharing, and Knowledge Codification and Refinement.

Keyword : Knowledge Management