บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

     การศึกษาวิจัย เรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะเรื่องการหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดบางปะกอก ผู้วิจัยได้เสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับ ดังนี้

  1. สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
  2. การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล
  3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้วิจัยได้กำหนดใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ ในการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้

E1     แทน   ค่าร้อยละของคะแนนเฉลี่ยที่ได้จากการทำแบบทดสอบระหว่างเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะเรื่องการหาร

E2     แทน   ค่าร้อยละของคะแนนเฉลี่ยที่ได้จากการทําแบบทดสอบหลังเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะเรื่องการหาร

      แทน   ค่าคะแนนเฉลี่ย

S       แทน    ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

T      แทน   ค่าสถิติทดสอบใน t – test for dependent sample

N      แทน   จำนวนนักเรียนในกลุ่มตัวอย่าง

*      แทน   นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล

การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ผู้วิจัยได้แบ่งการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้

ตอนที่ 1 ผลการหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะเรื่องการหารสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดบางปะกอก ตามเกณฑ์มาตรฐาน 70/70

ตอนที่ 2 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะเรื่องการหารโดยใช้ t-test for dependent sample

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

ตอนที่ 1 ผลการหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะเรื่องการหารสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดบางปะกอก ตามเกณฑ์มาตรฐาน 70/70

ตารางที่ 1 การหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะเรื่องการหารสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดบางปะกอก

จากตารางที่ 3 พบว่า การหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะ เรื่อง การหารสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 74.49/82.60 ซึ่งไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ คือ 70/70

ตอนที่ 2 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะเรื่องการหารโดยใช้ t-test for dependent sample

ตารางที่ 2 ผลเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียน โดยใช้ชุดฝึกทักษะเรื่องการหารโดยใช้ t-test for dependent sample

* ค่า t มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (ค่าวิกฤต t (.05, 34) = 1.6909)

จากตารางที่ 2 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง การหาร ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.31 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.69 หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.26 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.74 จากการปรียบเทียบค่า t ที่ได้จากการคำนวณเท่ากับ 10.91 ซึ่งมากกว่า t วิกฤตซึ่งมีค่าเท่ากับ 1.6909 ดังนั้นสรุปได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง การหาร หลังเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05