ชื่อผลงานทางวิชาการ             การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตหอยนางรม : กรณีศึกษาเกษตรกร ในเขตอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ปีที่พิมพ์    2556

ข้อมูลเพิ่มเติม      เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิทยาการจัดการและพัฒนาสังคม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ฉบับพิเศษ 19 มกราคม 2560

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ

อาจารย์นเรศ นิภากรพันธ์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ 

คณะวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

บทความวิจัย เรื่อง      การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตหอยนางรม :กรณีศึกษา

เกษตรกร ในเขตอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้ศึกษา คือ อาจารย์นเรศ นิภากรพันธ์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยมีวัตถุประสงค์    เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตหอยนางรม และปัจจัยที่ส่งผลกระทบถึงต้นทุนการผลิต รวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในการผลิตหอยนางรมของเกษตรกร กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือเกษตรผู้เลี้ยงหอยนางรมในเขตพื้นที่อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 52 ราย

จุดเน้นของการวิจัยนี้ จะบ่งชี้ให้เห็นถึงสถิติตัวเลขเกี่ยวกับ การดำเนินงานของเกษตรกรผู้เลี้ยงหอยนางรม ค่าจ้างแรงงาน ค่าเสียโอกาส ต้นทุน ค่าอุปกรณ์และผลตอบแทน รวมถึงรายได้จากการผลิตหอยนางรม ปัจจัยที่ส่งผลต่อต้นทุนการผลิต รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน.

ผลการศึกษาพบว่าการผลิตหอยนางรมของเกษตรกรจะมีต้นทุนเฉลี่ย 1,704.71 บาท/ไร่ และ

รายได้เฉลี่ย 1,716.18 บาท/ไร่ โดยอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนเท่ากับ 1.01 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า รายได้ที่ผู้ผลิตหอยนางรมได้รับนั้นมากกว่าต้นทุนการผลิตหอยนางรม ดังนั้นการผลิตหอยนางรมของเกษตรกรจึงเหมาะสมต่อการลงทุน โดยปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตและต้นทุนการผลิตหอยนางรมของเกษตรกร ได้แก่ปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งประกอบด้วยปริมาณน้ำฝนที่มีจำนวนมากทำให้น้ำทะเลมีความเค็มลดลงส่งผลให้หอยนางรมตาย คิดเป็นร้อยละ 37.96 ของต้นทุนการผลิต การปล่อยน้ำเสียจากบ่อกุ้งและโรงงานอุตสาหกรรมลงสู่ทะเล คิดเป็นร้อยละ 52.06 ของต้นทุนการผลิต และการลักขโมยหอยนางรมคิดเป็นร้อยละ 9.98ของต้นทุนการผลิต  แนวทางแก้ไขจะพบว่า ในด้านของปัญหาการลักขโมยหอยนางรมนั้นเกษตรกรจะต้องทำการเฝ้าระวังเอง ส่วนในด้านของน้ำเสียและฝนตกนั้นยังไม่มีแนวทางแก้ไข แต่จะการผลิต  แนวทางแก้ไขจะพบว่า ในด้านของปัญหาการลักขโมยหอยนางรมนั้นเกษตรกรจะต้องทำการเฝ้าระวังเอง ส่วนในด้านของน้ำเสียและฝนตกนั้นยังไม่มีแนวทางแก้ไข แต่จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลในกรณีที่เกิดภัยธรรมชาติ

ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย  เป็นแนวทางในการตัดสินใจให้แก่เกษตรกร ผู้ที่ต้องการทำอาชีพเลี้ยงหอยนางรม เป็นอาชีพที่น่าลงทุน เนื่องจากมีรายได้มากกว่าต้นทุน รวมถึงแสดงให้เห็นถึงปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงหอยนางรม ว่ามีปัญหาด้านใดบ้าง จะให้เกษตรกรรุ่นหลังเตรียมแก้ไข ป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น

 

การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิต

หอยนางรม : กรณีศึกษาเกษตรกรในเขต

อำเภอกาญจนดิษฐ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี

COST AND BENEFITS ANALYSIS OF OYSTER PRODUCTION

A CASE  STUDY

KANCHANADIT IN SURAT THANI.

 

นเรศ  นิภากรพันธ์1

Naret Nipakronpan1

1อาจารย์ประจำสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์  คณะวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

บทคัดย่อ

     การศึกษาเรื่องการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตหอยนางรม : กรณีศึกษาเกษตรในเขตอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตหอยนางรม และปัจจัยที่ส่งผลกระทบถึงต้นทุนการผลิต รวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในการผลิตหอยนางรมของเกษตรกร

กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือเกษตรผู้เลี้ยงหอยนางรมในเขตพื้นที่อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 52 ราย โดยเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามเกษตรกร และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และร้อยละ ในการคำนวณอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนจะใช้รายได้จากการขายและต้นทุนในการผลิต

ผลการศึกษาพบว่าการผลิตหอยนางรมของเกษตรกรจะมีต้นทุนเฉลี่ย 1,704.71 บาท/ไร่ และรายได้เฉลี่ย 1,716.18 บาท/ไร่ โดยอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนเท่ากับ 1.01 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า รายได้ที่เกษตรกรผู้ผลิตหอยนางรมได้รับนั้นมากกว่าต้นทุนการผลิตหอยนางรม ดังนั้นการผลิตหอยนางรมของเกษตรกรจึงเหมาะสมต่อการลงทุน โดยปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตและต้นทุนการผลิตหอยนางรมของเกษตรกร ได้แก่ปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งประกอบด้วยปริมาณน้ำฝนที่มีจำนวนมากทำให้น้ำทะเลมีความเค็มลดลงส่งผลให้หอยนางรมตาย คิดเป็นร้อยละ 37.96 ของต้นทุนการผลิต การปล่อยน้ำเสียจากบ่อกุ้งและโรงงานอุตสาหกรรมลงสู่ทะเล คิดเป็นร้อยละ 52.06 ของต้นทุนการผลิต และการลักขโมยหอยนางรมคิดเป็นร้อยละ 9.98ของต้นทุนการผลิต  แนวทางแก้ไขจะพบว่า ในด้านของปัญหาการลักขโมยหอยนางรมนั้นเกษตรกรจะต้องทำการเฝ้าระวังเอง ส่วนในด้านของน้ำเสียและฝนตกนั้นยังไม่มีแนวทางแก้ไข แต่จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลในกรณีที่เกิดภัยธรรมชาติ

คำสำคัญ: การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน, การผลิตหอยนางรม, อำเภอกาญจนดิษฐ์, จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

ABSTRACT

     Cost and benefit analysis of oyster production a case study Kanchadit in Surat Thani. The objective to study the cost and benefit analysis of oyster production and the factor affecting production cost. Including the problems happened in the production of oyster agriculturist.

The sampling groups were 52 case of oyster agriculturist in Kanchadit, Surat Thani province. The research tools were interview questionnaires, statistics for data analysis such as average percentage. The calculation of return on the using revenue from the sales and production cost.

The results showed that production of agriculturist’s oyster have an average cost 1,704.71 baht /rai and average revenue 1,716.18 baht per rai.ฟังอ่านออกเสียง Return on costs was 1.01 demonstrating that Income agriculturist’s oyster production has been higher than the cost of producing oysters. Therefore, the productions of oyster agriculturist are  suitable for investment. The factors that will affect production and production costs of agriculturist’s oyster. Including external factors that can’t control. Consists of rain that has a lot of the water salinity resulted in reduced oyster mortality. Representing 37.96 percent of the cost of production. Discharge of wastewater from shrimp ponds and factories into the sea. Representing 52.06 percent of the cost of production. And stealing oysters per cent. 9.98 of the cost of production. Solution is found. In the problem of theft of oysters, Agriculturist will have to watch yourself. In the area of waste water and rain is not solution yet. But will receive assistance from the government in the event of natural disasters.

 

Keyword: Cost and Benefit Analysis, Oyster production, Kanchanadit, Surat Thani Province.

บทนำ

          หอยนางรมมีชื่อสามัญคือ Oyster หอยนางรม (วงศ์ Osteridae) นั้นมีหลายสายพันธุ์แต่ที่นิยมใช้เลี้ยงกันอยู่โดยทั่วไปนั้น แบ่งออกเป็น 3 ชนิดด้วยกันคือ หอยนางรมพันธุ์เล็กหรือหอยนางรมปากจีบ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Saccostreacommercoalis หอยนางรมพันธุ์นี้มีเลี้ยงมากทางภาคตะวันออก ส่วนหอยนางรมอีกสองพันธุ์ที่เหลือเป็นหอยนางรมที่ค่อนข้างมีขนาดใหญ่เรียกว่า หอยตะโกรม (Crassostreabelcheri) และหอยตะโกรมกรามดำ (C.lugubris) แม้ว่าจะมีการเลี้ยงกันบ้างในภาคตะวันออก แต่การเลี้ยงส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตจังหวัดภาคใต้

โดยจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ชื่อว่าเป็นแหล่งที่มีการเลี้ยงหอยนางรมเป็นจำนวนมากที่สุดจังหวัดหนึ่ง เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะเลี้ยงหอยนางรมและมีอาหารที่อุดมสมบูรณ์ ลักษณะการขึ้นลงของน้ำทะเลไม่รุนแรงมากนัก อีกทั้งจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีลักษณะเป็นอ่าวที่บรรจบกับแม่น้ำที่เป็นน้ำจืดกับน้ำทะเล จึงทำให้ระดับความเค็มของน้ำทะเลอยู่ในสภาวะสมดุลที่เหมาะกับการเจริญเติบโตของหอย ประกอบกับเป็นบริเวณที่แม่น้ำตาปีไหลมาบรรจบจึงเกิดเป็นน้ำกร่อยที่มีระดับความเค็มพอเหมาะและอุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสมทำให้มีแพลงก์ตอนซึ่งเป็นอาหารของหอยนางรมมีเป็นจำนวนมาก  จากลักษณะที่หอยนางรมเป็นหอยสองฝาที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงจึงมีผู้บริโภคหอยนางรมกันมากและตลาดของหอยนางรมนั้นยังมีแนวโน้มขยายตัวได้อีกมาก เพราะผลผลิตในปัจจุบันยังไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศทำให้การเพาะเลี้ยงหอยนางรมมีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้น

คำขวัญจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่ว่า  เมืองร้อยเกาะ  เงาะอร่อย  หอยใหญ่  ไข่แดง  แหล่งธรรมะซึ่งแสดงให้เห็นว่าหอยนางรมเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี อีกทั้งราคาของหอยนางรมมีราคาสูงมาก  จึงทำให้ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาในเรื่องของต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตหอยนางรม เพื่อทราบถึงต้นทุนและผลตอบแทนที่แท้จริงของการผลิตหอยนางรมและปัจจัยที่ส่งผลกระทบถึงต้นทุนการผลิต รวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในการผลิตหอยนางรมของเกษตรกร โดยนำผลการศึกษาที่ได้ไปเป็นแนวทางในการวางแผนการผลิต หอยนางรมของเกษตรกรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

  1. เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตหอยนางรมของเกษตรกร ในเขตอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  2. เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อต้นทุนในการผลิตหอยนางรมของเกษตรกร ในเขตอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  3. เพื่อศึกษาถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขในการเลี้ยงหอยนางรม

 

ขอบเขตของการศึกษา

การศึกษาเรื่องต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตหอยนางรมนี้  จะศึกษาเกษตรกรในเขต อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยจะทำการศึกษาวิธีการดำเนินการผลิตหอยนางรมของเกษตรกรในเขตอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 52 ราย โดยทำการศึกษาข้อมูลในช่วงเดือนตุลาคม 2555 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2556

 

ระเบียบวิธีวิจัย

การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตหอยนางรมของเกษตรในเขตอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้มีการดำเนินการดังรายละเอียดต่อไปนี้

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากร

ประชากรที่ศึกษา ได้แก่เกษตรกรผู้ผลิตหอยนางรมในเขตอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งในเขตอำเภอกาญจนดิษฐ์มีทั้งหมด 13 ตำบล แต่ผู้วิจัยจะทำการศึกษาเฉพาะ 5 ตำบล เนื่องจาก 5 ตำบลนี้จะมีบริเวณที่ติดกับชายฝั่งทะเล ซึ่งจะเป็นบริเวณที่ใช้ในการผลิตหอยนางรมของเกษตรกร ส่วนที่เหลืออีก 8 ตำบล จะไม่มีพื้นที่ติดบริเวณชายฝั่งทะเลจึงทำให้เกษตรกรไม่มีการผลิตหอยนางรม

กลุ่มตัวอย่าง

การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตหอยนางรมของเกษตรกรในเขตอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีจำนวนฟาร์มหอยนางรมทั้งหมด 525 ราย (จากการสอบถามจากเกษตรกร) และเนื่องจากประชากรมีความคล้ายคลึงในด้านของวิธีการผลิต ผู้วิจัยจึงได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 52 ราย จากทั้งหมด 525 ราย มาเป็นตัวแทนในการวิจัย โดยใช้วิธีการสุ่มแบบลูกโซ่ (ตามคำแนะนำของเกษตรกรในพื้นที่และผู้ที่มีความรู้)

 

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือแบบสอบถาม โดยการวางแนวคำถามตามประเด็นในกรอบความคิดของการวิจัย ซึ่งครั้งแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้

ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร

ตอนที่ 2 การดำเนินการผลิตหอยนางรม

ตอนที่ 3 ต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิต

ตอนที่ 4 สภาพปัญหาการผลิตหอยนางรมของเกษตรกร

โดยแบบสอบถามจะมีลักษณะคำถามเป็นคำถามปลายปิด ดังตัวอย่างของแบบสัมภาษณ์ซึ่งสอดคล้องกับกรอบแนวความคิดของการวิจัยที่ได้แนบไว้

 

การเก็บรวบรวมข้อมูล

ผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากเกษตรกรผู้เลี้ยงหอยนางรมในเขตอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยแบบสอบถามที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แบ่งออกเป็น 4 ตอนดังนี้

ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร

ตอนที่ 2 การดำเนินการผลิตหอยนางรม

ตอนที่ 3 ต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิต

ตอนที่ 4 สภาพปัญหาการผลิตหอยนางรมของเกษตรกร

ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามจะได้นำมาทำการรวบรวมข้อมูลโดยการจัดเรียงข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Excel เข้ามาช่วยในการจัดเรียงข้อมูล เพื่อให้เกิดความสะดวกในการนำข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป

การวิเคราะห์ข้อมูล

จากข้อมูลที่ได้จากการสอบถามโดยใช้แบบสอบถามแล้ว ผู้วิจัยจะนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัย โดยใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ดังนี้

  1. ใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 โดยการนำข้อมูลที่จากแบบสอบถามของเกษตรกรมาทำการวิเคราะห์เพื่อศึกษาถึงต้นทุนและผลตอบแทนที่ได้รับจากการผลิตหอยนางรมของเกษตรกร ในการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตหอยนางรม สามารถนำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามมาทำการวิเคราะห์ได้จากดังนี้

การวิเคราะห์ต้นทุน (Cost Analysis)

ต้นทุนรวม (Total Cost: TC)

เป็นต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการใช้ปัจจัยการผลิตชนิดต่างๆ ในการผลิตสินค้าและบริการจำนวนหนึ่ง ประกอบด้วยต้นทุนคงที่รวมและต้นทุนผันแปรรวม สามารถคำนวณได้จากสมการ

TC = TFC + TVC

ต้นทุนคงที่รวม(Total Fixed Cost: TFC)

เป็นต้นทุนที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณการผลิต หรือเป็นต้นทุนที่จ่ายสำหรับปัจจัยคงที่ทุกชนิดของธุรกิจในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ณ ระดับอัตราการผลิตหนึ่ง เช่น ดอกเบี้ย ค่าเช่าที่ดิน ค่าเครื่องมือ-อุปกรณ์ ค่าเช่าโรงเรือน ค่าเสื่อมราคา เป็นต้น เหล่านี้เป็นต้นทุนที่กิจการไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ไม่ว่ากิจการจะทำการผลิตสินค้าหรือไม่ก็ตาม

ต้นทุนผันแปรรวม(Total Variable Cost: TVC)

เป็นต้นทุนที่เปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณการผลิตหรือเป็นต้นทุนที่จ่ายสำหรับการใช้ปัจจัยผันแปรจำนวนต่างๆกัน ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณการผลิต เช่น ค่าวัตถุดิบ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมันเชื่อเพลิง จำนวนแรงงาน หรือชั่วโมงทำงาน ค่าอาหาร  และค่าพาหนะ เป็นต้น

ค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost)

ในการใช้ปัจจัยการผลิต เช่น ค่าเสียโอกาสในการใช้แรงงาน ค่าเสียโอกาสที่ดิน ค่าเสียโอกาสสำหรับเงินทุนของผู้ผลิตเองที่ใช้ในการซื้อเครื่องจักรและเครื่องมือ ค่าเสียโอกาสในการใช้เงินทุนหมุนเวียน

ผลตอบแทนจากการผลิต (Benefit of  Production)

ผลตอบแทนจากการผลิตทาง การเกษตรในที่นี้ หมายถึง รายได้  (Income )

รายรับรวม  (Total Revenue : TR) คือจำนวนเงินที่เกษตรกรได้จากการขายผลผลิตที่ผลิตได้จากฟาร์มซึ่งเท่ากับ ราคาผลผลิต ( P ) คูณด้วยจำนวนผลผลิต ( Q )

 

  1. ใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 และ 3 โดยการนำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามของเกษตรกรมาทำการศึกษาถึงปัจจัยภายในและภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตหอยนางรม รวมทั้งปัญหาและแนวทางแก้ไขที่เกิดขึ้นในการผลิตหอยนางรม

 

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตหอยนางรมครั้งนี้ได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 52 ราย จากประชากรทั้งหมด 525 ราย ที่ผลิตหอยนางรมในเขตอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งออกเป็น 5 ตอนดังนี้คือ

ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร

ตารางที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรผู้ผลิตหอยนางรม

รายการ จำนวนราย ร้อยละ n=52
เพศ

ชาย

หญิง

28

24

53.84

46.16

อายุ

25 ปี – 35 ปี

36 ปี – 45 ปี

46 ปี – 55 ปี

55 ปีขึ้นไป

4

20

13

15

7.69

38.46

25.00

28.85

ระดับการศึกษา

ประถมศึกษา

มัธยมศึกษาตอนต้น

มัธยมศึกษาตอนปลาย

อนุปริญญา

ปริญญาตรี

31

6

9

4

2

59.62

11.54

17.31

7.69

3.84

  จำนวน(ราย) ค่าเฉลี่ย สูงสุด ต่ำสุด
ประสบการณ์(ปี) 52 14.42 30 1

ที่มา: จากการสำรวจและการคำนวณ

 

จากการสอบถามพบว่าเกษตรกรผู้ผลิตหอยนางรมส่วนใหญ่(ร้อยละ 54) เป็นเพศชาย โดยอายุของเกษตรกรร้อยละ 38 มีอายุ 36 ปี – 45 ปี ร้อยละ 29 จะเป็นเกษตรกรที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป ร้อยละ 25 จะมีอายุอยู่ที่ 46 ปี – 55 ปี ส่วนอายุ 25 ปี – 35 ปี จะมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 8

ทั้งนี้ระดับการศึกษาของเกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 60 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา โดยเฉพาะในระดับประถมศึกษาปีที่ 4 ร้อยละ17 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 12 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ส่วนเกษตรกรที่จบการศึกษาระดับอนุปริญญาและระดับปริญญาตรี มีร้อยละ 8 และร้อยละ 4 ตามลำดับ

ด้านการประกอบอาชีพพบว่าเกษตรกรได้ทำการผลิตหอยนางรมเป็นอาชีพหลักและเป็นเจ้าของกิจการเองโดยเงินทุนที่ใช้ในการผลิตหอยนางรมจะใช้เงินทุนของตนเอง ในด้านประสบการณ์ในการผลิตหอยนางรมของเกษตรกรเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 14 ปี โดยที่ประสบการณ์ในการผลิตหอยนางรมสูงสุดเท่ากับ 30 ปี และต่ำสุดคือ 1 ปี

ตอนที่ 2 ด้านการดำเนินงาน

ตารางที่ 2 การดำเนินงานของเกษตรกรผู้ผลิตหอยนางรม

รายการ จำนวน(ราย)   ร้อยละ n=52
วิธีการเลี้ยง
แท่งซีเมนต์ 24 46.16
หลอดหรือท่อซีเมนต์ 28 53.84
จำนวน(ราย) ค่าเฉลี่ย สูงสุด ต่ำสุด
พื้นที่เพาะเลี้ยง 52 14.42 100 4
แรงงาน จ้าง ร้อยละ ทำเอง ร้อยละ
การปักแท่งซีเมนต์,หลอดซีเมนต์ 20 38.46 32 61.54
การปักเขต 14 26.92 38 73.08
การเก็บหอย 16 30.77 36 69.23
ค่าจ้างแรงงาน ค่าจ้างแรงงานเฉลี่ย ค่าเสียโอกาสแรงงานเฉลี่ย
การปักแท่งซีเมนต์,หลอดซีเมนต์(บาท/ไร่/เดือน) 83.63

69.38

94.21

0

74.35

35.99

72.09

334.65

การปักเขต(บาท/ไร่/เดือน)
การเก็บหอย(บาท/ไร่/เดือน)
การเฝ้าระวัง(บาท/ไร่/เดือน)
รวม 247.22 517.08

ที่มา : จาการสำรวจและการคำนวณ

 

หมายเหตุ :

  1. ค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยต่อไร่คิดจาก ค่าจ้างแรงรวม/พื้นที่รวม
  2. ค่าเสียโอกาสแรงงานในครัวเรือน ค่าจ้างแรงรวม /พื้นที่รวม โดยค่าจ้างแรงงานครัวเรือนต่อคน คือ 172 บาท /วัน (กระทรวงแรงงาน.2555)

จากการสอบถามพบว่าเกษตรกรผู้ผลิตหอยนางรมส่วนใหญ่(ร้อยละ 54) จะเลี้ยงโดยการใช้หลอดซีเมนต์หรือท่อซีเมนต์ และร้อยละ 46 จะใช้แท่งซีเมนต์ และพื้นที่การเพาะเลี้ยงหอยนางรมของเกษตรกรผู้ผลิตหอยนางรมเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 14 ไร่ โดยมีพื้นที่การผลิตหอยนางรมสูงสุดเท่ากับ 100 ไร่ และต่ำสุดคือ 4 ไร่

ในด้านของแรงงานในการดำเนินการผลิตหอยนางรมของเกษตรกรในขั้นการปักแท่งซีเมนต์หรือหลอดซีเมนต์ส่วนใหญ่(ร้อยละ62) จะดำเนินการทำเองโดยจะมีค่าเสียโอกาสประมาณ 74 บาท/ไร่ ส่วนร้อยละ 38 จะมีการจ้างแรงงานมาดำเนินการแทน โดยจะมีค่าจ้างแรงงานเฉลี่ย 84 บาท/ไร่ ในขั้นของการปักเขตเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของนั้นสวนใหญ่ (ร้อยละ 73) จะมีการดำเนินการเอง โดยจะมีค่าเสียโอกาสประมาณ 36 บาท/ไร่ ส่วนร้อยละ 27 จะมีการจ้างแรงงานมาดำเนินการ โดยจะมีค่าจ้างเฉลี่ย 69 บาท/ไร่ และในขั้นของการเก็บผลผลิตหรือการเก็บหอยนางรมนั้นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 69) จะมีการดำเนินการเอง โดยจะมีค่าเสียโอกาสประมาณ 72 บาท/ไร่ ส่วนร้อยละ 31 จะการจ้างแรงงานมาดำเนินการแทน โดยจะมีค่าจ้างเฉลี่ย 94 บาท/ไร่  ทั้งนี้ในขั้นตอนการเฝ้าระวังนั้นเกษตรกรผู้ผลิตหอยนางรมจะมีการไปเฝ้าเองโดยจะมีค่าเสียโอกาสประมาณ 335 บาท/ไร่

กระบวนการผลิต

 

ตอนที่ 3 ด้านต้นทุนและผลตอบแทน

 

ตารางที่ 3 ต้นทุนค่าอุปกรณ์

รายการ จำนวน

(หน่วย/ไร่)

จำนวนเงิน

(บาท/หน่วย)

จำนวนเงิน

(บาท/ไร่)

อายุการใช้งาน(ปี) ค่าเสื่อม

(บาท/เดือน)

ค่าเสียโอกาส

(บาท/เดือน)

ค่าแท่งปูน 2,565 15 38,475 12 267.19 167
ค่าเรือ 1 12,375 12,375 20 51.56 32.23
ค่าที่พัก 1 35,882 35,882 25 119.61 74.75
รวม 438.36 273.98

ที่มา: จาการสำรวจและคำนวณ

 

หมายเหตุ :

  1. ค่าเสื่อมราคาคิดจาก

ราคาทุน/จำนวนปีใช้งาน *  1/12

  1. ในการคิดค่าเสียโอกาสคิดในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ร้อยละ 0.625/ปี (ธนาคารพาณิชย์.2555)

จากการศึกษาพบว่าในพื้นที่ 1 ไร่ จะสามารถปักแท่งซีเมนต์ได้ประมาณ 2,565 แท่ง โดยจะมีราคาเฉลี่ยแท่งละ 15 บาท และมีอายุการใช้งาน 12 ปี จะมีค่าเสื่อมราคาของแท่งซีเมนต์เท่ากับ 267.19 บาท/เดือนและมีค่าเสียโอกาสเท่ากับ 167 บาท/เดือน และในการดำเนินการผลิตหอยนางรมของเกษตรกรจะมีการใช้เรือยนต์โดยเรือยนต์จะมีราคาเฉลี่ย 12,375 บาท/ลำ มีอายุการใช้งานเฉลี่ย 20 ปี จะมีค่าเสื่อมราคาของเรือเท่ากับ 51.56 บาท/เดือน และมีค่าเสียโอกาสเท่ากับ 32.23 บาท/เดือน ทั้งนี้เกษตรกรยังมีการสร้างที่พักไว้เพื่อพักอาศัยในเวลากลางคืนตอนที่ทำการเฝ้าระวังโดยที่พัก จะมีราคาเฉลี่ย 35,882 บาท/ไร่  มีอายุการใช้งานเฉลี่ย 25 ปี จะมีค่าเสื่อมราคาของที่พักเท่ากับ 119.61 บาท/เดือน และมีค่าเสียโอกาสเท่ากับ 74.75 บาท/เดือน

ตารางที่ 4 ต้นทุนของการผลิตหอยนางรม (ไร่ : เดือน)

รายการ ต้นทุนที่เป็นตัวเงิน ต้นทุนที่ไม่ใช่ตัวเงิน ต้นทุนรวม
ต้นทุนคงที่     719.01
ค่าน้ำ 6.67 6.67
ค่าเสื่อมราคาของอุปกรณ์ 438.36 438.36
ค่าเสียโอกาสเงินทุนอุปกรณ์ 273.98 273.98
ต้นทุนผันแปร     985.7
แรงงาน 247.22 247.22
ค่าเชื้อเพลิง 221.4 221.4
ค่าเสียโอกาสด้านแรงงาน 517.08 517.08
รวม 475.29 962.23 1,704.71

ที่มา: จากการสำรวจและคำนวณ

 

หมายเหตุ :

  1. ค่าน้ำ 80 บาท/ไร่/ปี เมื่อคิดเป็นเดือนจะได้ 6.67 บาท /ไร่/ เดือน
  2. ตัวเลขต้นทุนนำมาจากตารางที่ 2 และตารางที่ 3

             จากการสอบถามจากเกษตรกรผู้เลี้ยงหอยนางรมพบว่าในด้านของต้นทุนการผลิตหอยนางรมจะประกอบด้วยต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร โดยต้นทุนส่วนใหญ่ของเกษตรกรจะเป็นต้นทุนที่ไม่ได้จ่ายออกไปเป็นตัวเงิน และต้นทุนที่จ่ายออกเป็นตัวเงินจะประกอบด้วยต้นทุนคงที่คือค่าน้ำ (อาชญาบัตร) 6.67 บาท /ไร่/เดือน ส่วนต้นทุนผันแปรประกอบด้วยค่าจ้างแรงงาน 247.22 บาท/ไร่/เดือน และค่าเชื้อเพลิง 221.4 บาท/ไร่/เดือน จะเห็นได้ว่าต้นทุนที่จ่ายออกเป็นตัวเงินหรือต้นทุนการผลิตทางบัญชีจะเท่ากับ 475.29 บาท/ไร่/เดือน

ในด้านของต้นทุนที่ไม่ได้จ่ายออกไปเป็นตัวเงินจะประกอบด้วยต้นทุนคงที่คือ ค่าเสื่อมราคาของอุปกรณ์ 438.36 บาท /ไร่ /เดือน และค่าเสียโอกาสเงินทุนอุปกรณ์ 273.98 บาท/ไร่/เดือน ส่วนต้นทุนผันแปรคือ ค่าเสียโอกาสด้านแรงงานในครัวเรือน 517.08 บาท/ไร่/เดือน ซึ่งหากรวมต้นทุนที่ไม่ได้จ่ายออกไปเป็นตัวเงินด้วยแล้วจะได้ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์เท่ากับ 1,704.71 บาท/ไร่/เดือน

 

ตารางที่ 5 รายรับที่ได้จากการผลิตหอยนางรม (ไร่ : เดือน)

รายการ ราคา

(เฉลี่ย)

ปริมาณ

(ตัว/ไร่)

ร้อยละ

n=202

รายได้

(บาท/ไร่)

ร้อยละ (รายได้)
ขนาดใหญ่ 9.75 112 55.32 1092 63.63
ขนาดกลาง 7.85 41 20.21 321.85 18.75
ขนาดเล็ก 6.17 49 24.47 302.33 17.62
รวม   202 100 1716.18 100

ที่มา : จากการสำรวจและคำนวณ

            จากการสอบถามพบว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงหอยนางรมจะมีการจำหน่ายหอยนางรมเป็น 3 ขนาด โดยจะมีการจำหน่ายหอยนางรมขนาดใหญ่ในราคาเฉลี่ยตัวละ 9.75 บาท ขนาดกลางราคา 7.85 บาท/ตัว และขนาดเล็กราคา 6.17 บาท/ตัว โดยผลผลิตหอยนางรมที่ได้รับเฉลี่ย 202 ตัว/ไร่/เดือน และจะมีการจำหน่ายหอยนางรมขนาดใหญ่ ร้อยละ 55 ขนาดกลางและขนาดเล็ก ร้อยละ 20.21 และร้อยละ 24.47 ตามลำดับ

ในด้านผลตอบแทนจากการจำหน่ายหอยนางรมตามขนาดจะได้รับผลตอบแทนคือ หอยนางรมขนาดใหญ่ 1092 บาท/ไร่ คิดเป็นร้อยละ 63.63 หอยนางรมขนาดกลาง 321.85 บาท/ไร่ คิดเป็นร้อยละ 18.75 และหอยนางรมขนาดเล็ก 302.33 บาท/ไร่ คิดเป็นร้อยละ 17.62 ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการจำหน่ายหอยนางรมของเกษตรกรผู้ผลิตหอยนางรมจะมีรายได้จากการจำหน่ายเท่ากับ 1716.18 บาท/ไร่/เดือน

 

ตอนที่ 4 สัดส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนในการผลิตหอยนางรม

            รายได้จากการจำหน่ายหอยนางรมในพื้นที่ 1 ไร่/เดือน โดยจากการการสอบถามจากเกษตรกรพบว่ารายได้จากการจำหน่ายหอยนางรมเท่ากับ 1,716.18 บาท/ไร่/เดือน และมีต้นทุนในการผลิตหอยนางรมตามการคิดต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์เท่ากับ 1,704.71 บาท /ไร่/เดือนดังนั้นสัดส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนในการผลิตหอยนางรมสามารถคำนวณได้จากสูตร

 

จากการคำนวณจะเห็นได้ว่าอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนของการผลิตหอยนางรมมีค่าเท่ากับ 1.01 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า รายได้ที่เกษตรกรผู้ผลิตหอยนางรมได้รับนั้นมีมากกว่าต้นทุนการผลิตหอยนางรม ดังนั้นการผลิตหอยนางรมของเกษตรกรจึงเหมาะสมที่จะลงทุน

 

ตอนที่ 5 ปัจจัยที่ส่งผลต่อต้นทุนการผลิต

ตารางที่ 6 ปัจจัยที่ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตหอยนางรม

ปัจจัยภายนอก ร้อยละ
การลักขโมย 9.98
น้ำเสีย 52.06
ฝนตก 37.96

ที่มา: จากการสำรวจและคำนวณ

 

จากการสอบถามเกษตรกรผู้ผลิตหอยนางรมในเขตอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานีพบว่า ปัจจัยภายในไม่ได้ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตหอยนางรม จะมีเพียงแต่ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนในการผลิตหอยนางรมของเกษตรกร โดยปัจจัยภายนอกได้แก่ การลักขโมยคิดเป็นร้อยละ 9.98 น้ำเสียที่ปล่อยจากบ่อกุ้งและโรงงานอุตสาหกรรมคิดเป็นร้อยละ 52.06 และฝนตกคิดเป็นร้อยละ 37.96 ของต้นทุนการผลิต

 

ตอนที่ 6 ด้านปัญหา

ตารางที่ 7 ปัญหาและอุปสรรคในการผลิตหอยนางรม

ปัญหา ผู้ประสบปัญหา(ราย) ร้อยละ
1.การลักขโมยหอยนางรม 11 17.74
2.น้ำเสีย 15 24.2
3.ฝนตก 36 58.06
รวม 62 100

ที่มา: จากการสำรวจและคำนวณ

หมายเหตุ : ผู้ผลิตหอยนางรมบางรายอาจให้คำตอบมากกว่า 1 คำตอบ

            จากการสอบถามเกษตรกรผู้ผลิตหอยนางรมในเขตอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานีนั้นพบ เกษตรกรส่วนใหญ่ประสบปัญหาเรื่องฝนตกมากที่สุดคือมีจำนวน 36 ราย คิดเป็นร้อยละ 58 รองลงมาคือปัญหาเกี่ยวกับน้ำเสียที่ปล่อยมาจากบ่อกุ้งมีจำนวน 15 ราย คิดเป็นร้อยละ 24.2 และปัญหาการลักขโมยหอยนางรมมีจำนวน 11ราย คิดเป็นร้อยละ 17.7

จากการสอบถามจากเกษตรกรในด้านของแนวทางแก้ไขจะพบว่า ในด้านของปัญหาการลักขโมยหอยนางรมนั้นเกษตรกรจะไปทำการเฝ้าระวังเอง ส่วนในด้านของน้ำเสียและฝนตกนั้นยังไม่มีแนวทางแก้ไข แต่จะมีความช่วยเหลือจากรัฐบาลในกรณีที่เกิดภัยธรรมชาติ อย่างเช่นในปีที่ผ่านเกิดภัยจากธรรมชาติทำให้หอยนางรมตายเป็นจำนวนมาก ทำให้เกษตรกรเกิดการเสียหาย ทางรัฐบาลก็ได้เข้ามาช่วยเหลือโดยให้เงินสนับสนุนเกษตรกร โดยไร่ที่ 1-5 จะได้รับเงินช่วยเหลือไร่ละ 9,000 บาท ส่วนไร่ที่ 6 ขึ้นไปจะได้รับเงินช่วยเหลือไร่ละ 4,500 บาท

 

สรุปการวิจัย อภิปราย และข้อเสนอแนะ

หอยนางรมเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และหอยนางรมเป็นหอยสองฝาที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงจึงมีผู้บริโภคหอยนางรมกันมากและตลาดของหอยนางรมนั้นยังมีแนวโน้มขยายตัวได้อีกมาก เพราะผลผลิตในปัจจุบันยังไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศทำให้การเพาะเลี้ยงหอยนางรมมีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้น

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตหอยนางรม : กรณีศึกษาเกษตรกรในเขตอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยการนำแบบสอบถามจำนวน 52 ราย มาใช้ในการวิเคราะห์ในเรื่องของต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตหอยนางรม เพื่อทราบถึงต้นทุนและผลตอบแทนที่แท้จริงของการผลิตหอยนางรมและปัจจัยที่ส่งผลถึงต้นทุนในการผลิตหอยนางรม รวมถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขที่เกิดขึ้นในการผลิตหอยนางรมของเกษตรกร

สรุปผลการวิจัย

จากการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตหอยนางรม : กรณีศึกษาเกษตรในเขตอำเภอ

กาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้

  1. จากการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้

จากการศึกษาพบว่าเกษตรกรที่ทำการผลิตหอยนางรมส่วนใหญ่เป็นเพศชาย และจบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาโดยเฉพาะประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นส่วนใหญ่ โดยเกษตรจะทำการผลิตหอยนางรมเป็นอาชีพหลักและเป็นเจ้าของกิจการเองโดยเงินทุนที่ใช้ในการผลิตหอยนางรมจะใช้เงินทุนของตนเอง ในด้านประสบการณ์ในการผลิตหอยนางรมของเกษตรกรเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 14 ปี ในด้านการดำเนินงานเกษตรกรส่วนใหญ่ (ร้อยละ 54) จะทำการเลี้ยงหอยนางรมโดยใช้หลอดซีเมนต์หรือท่อซีเมนต์ โดยมีพื้นที่การผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 14 ไร่ และในด้านแรงงานจะพบว่าส่วนใหญ่จะใช้แรงงานในครัวเรือนมากกว่าการจ้างแรงงาน โดยเฉพาะการเฝ้าระวังหอยนางรมเกษตรกรจะมีการดำเนินการเอง

ส่วนในเรื่องของต้นทุนในการผลิตหอยนางรมจะพบว่า ต้นทุนส่วนใหญ่จะเป็นต้นทุนที่เกษตรกรไม่จ่ายเป็นตัวเงิน ซึ่งทำให้การคำนวณต้นทุนทางบัญชีได้ผลการคำนวณออกมาคือ 475.29 บาท /ไร่ /เดือน แต่ต้นทุนทางบัญชีไม่ได้รวมถึงต้นทุนในด้านที่ไม่ได้จ่ายเป็นตัวเงิน ดังนั้นจึงต้องคำนวณต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์เพื่อที่จะได้นำต้นทุนที่ไม่ได้จ่ายเป็นตัวเงินมาคำนวณไว้ในต้นทุนด้วย โดยต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ที่คำนวณได้คือ 1,704.71 บาท /ไร่ /เดือน และด้านผลตอบแทนจากการจำหน่ายหอยนางรมของเกษตรกรผู้ผลิตหอยนางรมพบว่า การจำหน่ายหอยนางรมของเกษตรกรมีรายได้จากการจำหน่ายเท่ากับ 1,716.18 บาท /ไร่ /เดือน และมีอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนของการผลิตหอยนางรมจะพบว่าสัดส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนในการผลิตมีค่าเท่ากับ 1.01 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า รายได้ที่เกษตรกรผู้ผลิต  หอยนางรมได้รับนั้นมีมากกว่าต้นทุนการผลิตหอยนางรม ดังนั้นการผลิตหอยนางรมของเกษตรกรจึงเหมาะสมต่อการลงทุน อีกทั้งการผลิตหอยนางรมของเกษตรกรนั้นจะเป็นการลงทุนที่มีการลงทุนที่ละน้อยและค่อยๆ ขยายตัว รวมทั้งค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิตก็ไม่สูง จึงสามารถที่จะลงทุนในการประกอบอาชีพได้

  1. จากการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้

จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตหอยนางรมจะเป็นปัจจัยภายนอกได้แก่ การลักขโมยหอยนางรมร้อยละ 9.98 น้ำเสียร้อยละ 52.06 และฝนตกร้อยละ37.96 ส่วนปัจจัยภายในนั้นจะไม่มีผลต่อต้นทุนการผลิตหอยนางรม

  1. จากการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้

จากการศึกษาพบว่าปัญหาในการผลิตหอยนางรมของเกษตรได้แก่ ปริมาณน้ำฝนที่มีจำนวนมากทำให้น้ำทะเลมีความเค็มลดลงส่งให้หอยนางรมตายและอุปกรณ์การเลี้ยงหอยเกิดการเสียหายซึ่งจะส่งผลทำให้ต้นทุนในการผลิตหอยนางรมสูงขึ้น  น้ำเสียที่ปล่อยมาจากบ่อกุ้งจะส่งผลให้หอยนางรมตาย และการลักขโมยหอยนางรมจะเป็นปัญหาที่ส่งผลทำให้เกิดต้นทุนในการผลิตที่สูงขึ้นเนื่องจากจะต้องใช้แรงงานในการเฝ้าระวังฟาร์มหอยนางรม

ด้านของแนวทางแก้ไขพบว่า ปัญหาการลักขโมยหอยนางรมนั้นเกษตรกรจะไปทำการเฝ้าระวังเอง ส่วนปัญหาน้ำเสียและปริมาณน้ำฝนที่มีจำนวนมากนั้นยังไม่มีแนวทางแก้ไข แต่จะมีความช่วยเหลือจากรัฐบาล อย่างเช่นในปีที่ผ่านเกิดภัยจากธรรมชาติทำให้หอยนางรมตายเป็นจำนวนมาก ทำให้เกษตรกรเกิดการเสียหาย ทางรัฐบาลก็ได้เข้ามาช่วยเหลือโดยให้เงินสนับสนุนเกษตรกรไร่ละ 4,500 บาท

 

 อภิปรายผล

            จากการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตหอยนางรม : กรณีศึกษาเกษตรกรในเขตอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบประเด็นสำคัญที่ได้จากผลการวิจัย และผู้วิจัยได้นำมาอภิปรายผลโดยการนำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาอ้างอิงสนับสนุนหรือขัดแย้งดังนี้

จากผลการวิจัยพบว่า ต้นทุนการผลิตหอยนางรมของเกษตรกรจะประกอบด้วยต้นทุนที่จ่ายออกไปเป็นตัวเงิน(ต้นทุนทางบัญชี) และต้นทุนที่ไม่ได้จ่ายเป็นตัวเงิน(ค่าเสื่อมราคาและค่าเสียโอกาส)  จึงทำให้เมื่อคำนวณต้นทุนการผลิตทางเศรษฐศาสตร์จะได้ต้นทุนการผลิตคือ 1,704.72 บาท/ไร่/เดือน และในด้านของผลตอบแทน (รายได้) จากการจำหน่ายหอยนางรมของเกษตรกรจะเท่ากับ 1,716.18 บาท/ไร่/เดือน ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าเกษตรกรจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่าผลตอบแทน

จากผลการศึกษาเรื่องเศรษฐกิจการผลิตหอยนางรมในประเทศไทย(สมคิด.2550) จะได้ผลการศึกษาว่าผลตอบแทน (รายได้) ที่ได้รับจากการจำหน่ายหอยนางรมของเกษตรกรสูงกว่าต้นทุนการผลิตของหอยนางรม และในด้านของปัญหาในการผลิตหอยนางรมจะประกอบไปด้วย น้ำเสีย และภัยธรรมชาติ

ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าการที่ผลการศึกษาไม่มีความต่างกัน และถึงแม้ในปีที่ผ่านมาเกษตรกรผู้ผลิตหอยนางรมได้ประสบปัญหาในด้านของผลผลิตเสียหายจากภัยธรรมชาติ จึงทำให้ผลตอบแทนที่ได้รับอยู่ในอัตราที่ลดลง

 

ข้อเสนอแนะ

จากผลการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตหอยนางรม : กรณีศึกษาเกษตรกรในเขตอำเภอกาญจนดิษฐ์  จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีข้อเสนอแนะดังนี้

  1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้

ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลที่ได้จากเกษตรกรโดยข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลในปี 2555 จึงทำให้ข้อมูลอาจจะแตกต่างจากปีอื่นๆ เนื่องมาจากในปี 2555 เกษตรกรผู้ผลิตหอยนางรมได้ประสบปัญหาในการดำเนินการผลิตซึ่งส่งผลให้ต้นทุนสูงขึ้นและรายรับลดลงเป็นจำนวนมาก

  1. ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป

.2.1 ควรมีการทำการวิจัยในเรื่องของตลาดของหอยนางรมว่ามีแนวโน้มเป็นอย่างไร และราคาของหอยนางรมนั้นเป็นอย่างไร เพื่อให้เกษตรกรสามารถวางแผนการผลิตหอยนางรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.2 ควรมีการทำวิจัยเรื่องปัญหาการผลิตหอยนางรมอย่างละเอียดว่าเกิดจากสาเหตุใด เพื่อที่จะได้หาแนวทางป้องกันและแก้ไขทำให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งศึกษาถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและให้การสนับสนุนการผลิตหอยนางรมของเกษตรกร

 

เอกสารอ้างอิง (Reference)

 

จุฑามาศ ทวีไพบูลย์วงษ์(แปล) .2550. เศรษฐศาสตร์จุลภาค. กรุงเทพฯ : เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโด

ไชน่า .

ชยันต์ ตันติวัสดาการ. 2550. เศรษฐศาสตร์จุลภาค : ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นราทิพย์ ชุติวงศ์. 2548. หลักเศรษฐศาสตร์ : จุลเศรษฐศาสตร์.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทรูปลูกปัญญา. 2552. .หอยนางรมจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี.(ออนไลน์).สืบค้นได้จาก :

Error! Hyperlink reference not valid.true/knowledge_detail.php?mul_content_id=41.

[กุมภาพันธ์ 2554]

ธนาคารแห่งประเทศไทย. 2554. อัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร.(ออนไลน์).สืบค้นได้จาก :

http://www.bot.or.th/thai/statistics/financialmarkets/interestrate/_layouts/application/

interest_rate/in_rate.aspx.[กุมภาพันธ์ 2554]

มือทอง. 2554. อัตราค่าจ้างแรงงานปี 2554.(ออนไลน์).สืบค้นได้จาก :

http://www.oknation.net/blog/Pasakorn/2010/12/09/entry-1.[กุมภาพันธ์ 2554]

ยุพิน ผัดแสน. 2545. การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการลงทุนเลี้ยงปลานิลจากลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยง

 ปลานิล   อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย.หลักสูตรปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สมพงษ์ อรพินท์. 2539. เศรษฐศาตร์จุลภาค. กรุงเทพฯ : แมคกรอ-ฮิล .

เสาวลักษณ์ กล้าอยู่. 2545. การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนจากการเลี้ยงกุ้งกุลาดำขนาด 3-4ไร่ ใน

อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช.หลักสูตรปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.

อภิรัฐ ตั้งกระจ่าง. 2546. เศรษฐศาสตร์การจัดการ. กรุงเทพฯ : บริษัท ธรรมสาร จำกัด.

อมร สุวรรณชนะและคณะ. 2552. การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตไผ่หวานของสมาชิก

ในวิสาหกิจชุมชน : กรณีศึกษาบ้านคลองเรือ จังหวัดสุราษฎร์ธานี.สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Robin Bade, Michael Parkin. 2008. Foundations of microeconomics. Pearson Education

Indochina Ltd.

Janya HIGANO. 2009. Research of oyster.(ออนไลน์). สืบค้นได้จาก : http://www.fra.affrc.go.jp/

bulletin/ bull/bull29/5.pdf. [ธันวาคม 2553]