ชื่อผลงานทางวิชาการ : การจัดซื้อในโซ่อุปทาน 

ประเภทผลงานทางวิชาการ : ตำรา

ปีที่พิมพ์ : 2560

ข้อมูลเพิ่มเติม : เป็นตำราที่ผ่านการพิจารณาขอตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ :  ผู้ช่วยศาสตราจารย์นิตยา มณีวงศ์  สาขาวิชาการจัดการโลจีสติกฺส์   คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

          …………………………………………………………………………….

          ตำรา เรื่อง “ การจัดซื้อในโซ่อุปทาน”  เรียบเรียงขึ้น โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์นิตยา มณีวงศ์   สาขาวิชาการจัดการโลจีสติกฺส์   คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เป็นตำราที่ใช้ในการเรียนการสอนที่เป็นวิชาเอกบังคับ รายวิชา การจัดซื้อในโซ่อุปทาน ให้แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาและสำหรับผู้สนใจทั่วไป  จุดเน้นของตำรานี้ สำหรับศึกษาหาความรู้เบื้องต้นของการจัดซื้อ ที่เป็นกิจกรรมของโลจิสติกส์อันดับแรกในโซ่อุปทาน  นักจัดซื้อที่ดีต้องมีความรู้ ทักษะ ความเข้าใจในวัตถุดิบ สินค้าที่แสวงหาความต้องการเพื่อตอบสนองให้แก่ผู้ใช้ในองค์กรและผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มสุดท้าย สำหรับเนื้อหาในตำราเล่มนี้จะครอบคลุมภาพรวมของจัดซื้อเบื้องต้น มีทั้งหมด 10 บท  ประกอบด้วย แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ จัดซื้อในโซ่อุปทาน วิธีปฏิบัติในการจัดซื้อ การจัดองค์กรจัดซื้อ การจัดซื้อในภาครัฐ การบริหารงานจัดซื้อ            คุณภาพของวัตถุดิบ สินค้า บริการ การสร้างความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์ กลยุทธ์การจัดซื้อ และการเจรจาต่อรอง  ซึ่งในแต่ละบทจะมีภาพและตารางแสดงข้อมูลเพื่อความชัดเจนมากยิ่งขึ้น อันจะเป็นประโยชน์แก่นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไปที่ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการจัดซื้อในโซ่อุปทานเบื้องต้นและนำประยุกต์ใช้ในแนวทางที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละองค์กร หรือประกอบกิจการของตนเอง ดังรายละเอียดสรุปของแต่ละบทดังนี้

 

บทที่  1

แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดหา

          การจัดซื้อ  จัดหา  ถือว่าเป็นกิจกรรมแรก  (Inbound Logistics)   ในโลจิสติกส์ และโซ่อุปทาน ฝ่ายจัดซื้อ จัดหา ต้องทราบความต้องการของผู้ใช้ที่อยู่ทั้งภายในและลูกค้าภายนอก การให้ความสำคัญของทั้งสองกลุ่มถือว่าเป็นการรับผิดชอบเบื้องต้น การจัดซื้อ มีความสำคัญต่อธุรกิจภาคเอกชนและองค์กรของรัฐ ระบบการบริหารงานด้านการจัดซื้อ มีผลที่ดีต่อการสร้างกำไรให้แก่รัฐและองค์กรภาคเอกชน วัตถุประสงค์ของการจัดซื้อ เพื่อทราบแนวทางและให้ตรงกับวัตถุประสงค์ ตามด้วยนโยบายการจัดซื้อที่กล่าวถึง เช่น คุณภาพ ราคาที่เหมาะสม ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้  เป้าหมายของการจัดซื้อจัดหาในด้านวัตถุดิบหรือบริการที่ประกอบด้วย ความถูกต้องของลักษณะวัตถุดิบ สินค้า ปริมาณที่ถูกต้อง สถานที่ถูกต้อง ราคาถูกต้อง เวลาถูกต้อง ผู้ขายที่ตรงตามวัตถุประสงค์ของการซื้อ การบริการที่ถูกต้อง  นอกจากนี้  การจำแนกสินค้าที่มีการซื้อ ทั้งที่เป็นสินค้าอุปโภค บริโภค และสินค้าอุตสาหกรรม รูปแบบของการจัดซื้อและสุดท้ายเป็นการเข้าใจวงจรชีวิตของวัตถุดิบ สินค้าสำเร็จรูป ที่ทำให้นักจัดซื้อได้เข้าใจ วางแผน และตัดสินใจอย่างเหมาะสมในเรื่องของช่วงชีวิตของวัตถุดิบ สินค้าสำเร็จรูปในปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม

 

บรรณานุกรม

ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์.  (2550).  การจัดการลอจิสติกส์.  กรุงเทพฯ : เอ็กซปอร์เน็ท.

ปราณี ตันประยูร.  (2556).  การจัดซื้อเบื้องต้น.  ค้นเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2558  จาก

http://www.nsru.ac.th/e-learning/sonthaya/lesson% 208/lesson%208.html.

รังสรรค์ ศรีวรศาสตร์.  (2557).  ปลัดคลังเผยใต้โต๊ะพุ่ง 30% ดันกฎหมาย จัดซื้อจัดจ้าง สกัด

คอร์รัปชั่น.  ค้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2558 จาก  www.tdir.orth/tag/รังสรรค์-ศรีวรศาสตร์/

วิทยา สุหฤทดำรง.  (2546).  งานบริหารงานโลจิสติกส์อุปทานและอุปสงค์การจัดการวัสดุการส่ง

          บำรุง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สุมนา อยู่โพธิ์.  (2540).  การซื้อและการบริหารพัสดุ.  กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

หทัยวรรณ ทวีเมือง.  (2540).  แนวทางการจัดซื้อ.  ค้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2558.  จาก

http:/thawimumng.blog.com/2008/09/blog-post_9821.html.

________.  (2556).  ผลิตภัณฑ์ – Marketing.  สืบค้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2557 จากข้อมูล

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ elearning.bu.ac.th/mua/course/mk212/ch7.htm MK212: chapter 7.

________.  (2555).  แนวคิดเกี่ยวกับวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์.  สืบค้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2557 จาก

ข้อมูล  www.stou.ac.th/stouonline/data/sms/market/Unit 4/…/U431-1.htm

Betts, S.C. and Taran, Z.  (2003).  Leveraging  Brand Equity: A Life cycle Approach to

          sharing   Economic Rents,  International Business & Economics Research journal

2(7). 67-70.David J. ( 2007).   International Thomson Publishing.  สืบค้นเมื่อวันที่ 14

เมษายน 2557 จาก ข้อมูล

https://plus.google.com/105946574826885250469/…/Xbbn6uQc4v1  QFD

Jim Pregler, C.P.M,. (2003).  Specification Development: An Overview, NIGP Technical

Bulletin4.

Monczka, et al.  (2555).  Purchasing.  สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2558  จาก

www.logisticscorner.com/index.php?option=com_conten&view=artical&id=194:-

purchasing-process & catid=37:procurement&Itemid=88).

Pooler H. Victor & Pooler.  (2012).  Purchasing and Supply Management: Creating the

          Vision.  Springer, Softcover.

 

 

บทที่ 2

โซ่อุปทานกับงานจัดซื้อ

          การได้เข้าใจภาพรวมของโซ่อุปทาน เห็นการเชื่อมโยงของการทำงานทุกฝ่ายเพื่อการเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพทั้งภายในองค์การและภายนอกองค์กร ด้วยการใช้บริการภายนอกในเรื่องการขนส่ง คลังสินค้า การใช้เทคโนโลยีมาประสานข้อมูลข่าวสารทั่วองค์กรธุรกิจเกิดความสมบูรณ์แบบมากขึ้น  การเข้าใจในเรื่องของความสำคัญการจัดซื้อที่มีการจำแนกเป็นกลุ่มวัตถุดิบ กลุ่มอะไหล่สำรอง กลุ่มสินค้าซื้อมาขายไป กลุ่มบริการ และที่จะนำพาให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั้น ต้องเข้าใจการทำงานทั้งกระบวนการของโซ่อุปทานที่ใช้เครื่องมือที่มีคุณภาพในด้านการจัดซื้อ และบุคคลในกลุ่มจัดซื้อที่มีความเชี่ยวชาญชำนาญในแต่ละส่วนได้ด้วย อย่างไรก็ตาม การคำนึงถึงโซ่คุณค่า เป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ตั้งแต่เริ่มดำเนินการ จากกิจกรรมพื้นฐานที่ประกอบด้วย โลจิสติกส์ขาเข้า (Inbond Logistics) การปฏิบัติการ (Operations) โลจิสติกส์ขาออก (Outbound Logistics) การตลาด&การขาย (Marketing and Sales)  บริการ (Service)  และกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะสนับสนุนการทำงานของกิจกรรมหลัก ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานขององค์กร การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาเทคโนโลยี การจัดซื้อจัดหาปัจจัยการผลิต เพื่อประโยชน์สูงสุด มิใช่เรื่องของกำไรของแต่ละกิจกรรมแต่เป็นการได้กำไรให้องค์กรทั้งหมด

 

บรรณานุกรม

ธนัญญา วสุศรี.  (2550).  การจัดการโซ่อุปทาน: กรณีศึกษา ปฏิบัติการจากภาคธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 1)

กรุงเทพฯ: ไอทีแอล เทรด มีเดีย.

ยรรยง ศรีสม.  (2011).  ห่วงโซ่คุณค่า ในงานโลจิสติกส์.  สืบค้นเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2557.  จาก https://ifuselife.wordpress.com/2011/05/12.

วสันต์ กาญจนมุกดา. (2555).  แบบจำลองโซ่คุณค่า (Value Chain Model). สืบค้นเมื่อวันที่  25

วิศวกรรมอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์.

เอกกมล เอี่ยมศรี.  (2555).  การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า: Value Chain Analysis.  สืบค้นเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2557.  จาก :http://www.oknation.net/blog/print.php?id=887739.

__________.  (2557).   สำนักพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2558. จาก http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/epaper/jan_june2016/pdf/ac06.pdf.

Benton W.C.  (2007).  Purchasing and Supply Management.  McGraw-Hill International

Edition.

Murray Martin.  (2011).  Introduction To Supply Chain Management.  สืบค้นเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2559.  จาก http://Logisitics/Supply Chain.about.com.

Michael E. Porter. (1985).  Competitive Advantage.  สืบค้นหาเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2559. จาก

Logitics.about.com./od/supply chain introduction/a/ainto_scm.htm.

 

บทที่ 3

วิธีปฏิบัติในงานจัดซื้อ

          การดำเนินงานของแผนกจัดซื้อ มีผลต่อการลดต้นทุนและสร้างกำไรให้กับองค์กรธุรกิจ เนื่องด้วย แผนกจัดซื้อเป็นผู้ที่อำนวยความสะดวกในการคัดเลือก คัดสรรวัสดุ วัตถุดิบ สินค้าสำเร็จรูป ฯลฯ ให้กับผู้ใช้ทุกแผนกในองค์กร  และถือว่าเป็นกิจกรรมแรกในการลำเลียงวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิต หรือสินค้าซื้อและขายไปก็ตาม ความสัมพันธ์ที่ดี การสื่อสารที่เข้าใจตรงกันระหว่างแผนกจัดซื้อและแผนกต่าง ๆ ในองค์กร ยิ่งทำให้องค์กรได้เปรียบต่อการแข่งขัน หน้าที่รับผิดชอบของแผนกจัดซื้อ ในเรื่องของความเข้าใจในความต้องการ การกำหนดคุณสมบัติเฉพาะ การเลือกแหล่งขาย การกำหนดราคา การออกคำสั่งซื้อ การติดตามคำสั่งซื้อ การตรวจสอบการเรียกเก็บเงิน การดำเนินกรรมวิธีที่เกี่ยวกับการปฏิเสธ การรับของ การยกเลิกคำสั่ง การบันทึกของผลการจัดซื้อ การทำวิจัย การดำเนินการในเอกสารทั่วไปที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดหา ทำให้ได้รู้กระบวนการดำเนินการจัดซื้อเป็นลำดับขั้นตอน แบบฟอร์มของการจัดซื้อ และสุดท้ายคือเงื่อนไขในการซื้อขายที่จะระบุไว้ในด้านหลังของใบสั่งซื้อที่มีความสำคัญต่อการซื้อขายกับซัพพลายเออร์ด้วยเช่นกัน

 

บรรณานุกรม

จุลศิริ ศรีงามเมือง.  (2536).  การจัดองค์การและการบริหารงานอุตสาหกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 1).

กรุงเทพฯ : ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

พระจอมเกล้าธนบุรี.

สรวิช รัตนพิไชย.  (2554).  กระบวนการจัดซื้อ. บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม สาขาการ

จัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.  สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มกราคม

  1. จาก www.logisticscorner.com.

 

สุมนา อยู่โพธิ์.  (2538).  การจัดซื้อและบริหารพัสดุ.  กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ชวนพิมพ์.

____________.  ความสัมพันธ์ของโซ่อุปทาน.  สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2558. จาก

http:///www.slidesshare.net และ www.pantavanij.com

อดุลย์ จาตุรงคกุล.  (2547).  การจัดซื้อ.  ปรับปรุงครั้งที่ 6.  โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

___________ . ใบขอซื้อ.  สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2559.  จาก http:///

www.freesampletemplages.com.

_______________ . ใบสั่งซื้อ.  สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2559.  จาก

http://www.mindphp.com/forums/viewtopic.php?f=140&t=27672.

วิวัฒน์ อภิสิทธิ์ภิญโญ. (2558).  การจัดการต้นทุน.  วารสารข่าวสารเพื่อการปรับตัวก้าวทัน

เทคโนโลยีอุตสาหกรรม.  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

 

 

บทที่ 4

การจัดองค์กรในจัดซื้อ

            การจัดองค์การฝ่ายจัดซื้อ ได้รับการออกแบบให้มีลักษณะการทำงานเป็นทีม ประสานงานให้เข้ากับฝ่ายต่าง ๆ ได้ดี มีการแบ่งงานกันทำตามความถนัด การกระจายอำนาจหน้าที่เพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน โครงสร้างองค์การฝ่ายจัดซื้อ แบ่งความรับผิดชอบการบริหารเป็น 3 ระดับ ที่เป็นผู้บริหารระดับต้น กลาง และระดับสูง พร้อมทั้งได้เข้าใจ โครงสร้างของฝ่ายจัดซื้อขนาดเล็ก      ที่มีบุคลกรเพียง 2 – 4 คนในการดูแลเรื่องจัดซื้อ แต่ละบุคคลมีความรู้ ความชำนาญเฉพาะด้านและรายงานตรงกับหัวหน้าฝ่ายจัดซื้อ โครงสร้างขนาดกลางเกิน 2 – 4 คน จะแบ่งหน้าที่รับผิดชอบตามแต่ละสินค้าของแต่ละองค์กร และอาจมีรับผิดชอบย่อย ๆ กว่านี้อีก ส่วน โครงสร้างฝ่ายจัดซื้อขนาดใหญ่ จะมีลักษณะการกระจายอำนาจมากขึ้น เพราะมีขนาดการจัดซื้อที่ใหญ่กว่า นอกจากนี้การดำเนินงานของผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อที่มีภาระหน้าที่ความสามารถ การวางแผน การประสานงาน การเจรจาต่อรอง การติดตามงานและยังต้องมีความถี่ในการติดต่อประสานงานกับฝ่ายอื่น ๆ เป็นทั้งที่เป็นไตรมาส เดือน สัปดาห์และวัน ด้วย นอกจากนี้ยังกล่าวถึงระบบการจัดซื้อแบบกระจายอำนาจ แบบรวมอำนาจที่ขึ้นอยู่กับการนำไปประยุกต์ใช้แต่ละองค์กรแต่ปัจจุบันได้ปรับมาใช้เป็นการผสมผสานระหว่างระบบแบบกระจายสินค้าและแบบรวมอำนาจ

 

บรรณานุกรม

คำนาย อภิปรัชญาสกุล.  (2553).  หลักการจัดซื้อ. กรุงเทพฯ : โฟกัสมีเดีย แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด.  ธิดารัตน์ ภัทราดุลย์. (2555).   เกณฑ์การตัดสินใจในการจัดซื้อ (Criteria in purchasing

               Decisions).    สืบค้นเมื่อวันที่  20 ตุลาคม 2555.  แหล่งที่มา

http://www.logisticscorner.com/index.php/2009- 05-25-00-45- 43/procurement/1426อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2547). การจัดซื้อ.  (ปรับปรุงครั้งที่ 4).    กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์.

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรุณ บริรักษ์.  (2550) กรณีศึกษา: การบริหารงานจัดซื้อในประเทศไทย.  (พิมพ์ครั้งที่ 1).

กรุงเทพฯ:ไอทีแอล เทรด มีเดีย.

Arjan J. Van Weele,  (2005).   Purchasing & Supply Chain Management: Analysis, Strategy

Planning  and Practice.  (4 th ed.).   Thomson, London.

Michiel R. Leenders, P. Fraser Johnson, Anna E. Flynn and Harold E. Fearon, 2006.

Purchasing and Supply Management with 50 Supply Chain Cases. (13 th ed).

McGraw-Hill,  Singapore.

 

บทที่ 5 การจัดซื้อภาครัฐ

          การจัดซื้อภาครัฐ     เป็นการบริหารพัสดุ  (วัสดุ ครุภัณฑ์)  สิ่งก่อสร้าง     กระบวนการบริหารพัสดุนั้น ประกอบด้วย การกำหนดความต้องการพัสดุ การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง  การควบคุมพัสดุ การจำหน่ายพัสดุ วงจรของการบริหารพัสดุที่วางแผนของการจัดโครงการ แล้วดำเนินข้อกำหนดความต้องการพัสดุที่สอดคล้องกับการบริหารพัสดุ นอกจากนั้นยังกล่าวถึงวิธีการจัดซื้อของภาครัฐ ประกอบด้วย 6 วิธี 1) วิธีตกลงราคา ไม่เกิน 100,000 บาท 2) วิธีสอบราคา เป็นการกำหนดที่เกิน 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 2,000,000 บาท 3) วิธีประกวดราคา ต้องเกิน 2,000,000 บาท 4) วิธีพิเศษ ต้องเกิน 100,000 บาท เฉพาะกรณี ตามข้อ 23 5) วิธีกรณีพิเศษ เป็นการซื้อหรือการจ้างจากส่วนราชการหน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นหรือรัฐวิสาหกิจในกรณีตามข้อ 26  6) วิธีประมูลด้วยระบบอีเล็กทรอนิกส์ที่เกินกว่า 2,000,000 บาท  นอกนั้น จะกล่าวถึง ลักษณะของดำเนินงานแบบ  e- Procurement ที่ปัจจุบันองค์กร    ต่าง ๆ ได้ให้ความสนใจไม่ต่างกับการประมูลสินค้าและการบริการออนไลน์ ที่ผู้ใช้และผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้นและเข้าใจมากขึ้น เปิดโอกาสให้เกิดธุรกิจใหม่ ๆ ตามมา

 

บรรณานุกรม

เกศอนงค์ ยืนยงชัยวัฒน์.  (2557).  การพัฒนาระบบติดตามการจัดซื้อภาครัฐ.  วิทยาศาสตร์บัณฑิต

สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ภาควิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะ           เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

คำนาย อภิปรัชญาสกุล.  (2558).  หลักการจัดซื้อ.  กรุงเทพฯ : โฟกัสมีเดีย แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด.

พรวิลัย เดชอมรชัย.  ( 2556).   เอกสารการอบรม เรื่องแนวทางการสร้างความโปร่งใสในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของทางราชการ. สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง.

วนิดา วรรณรัตน์.  (2548).   ปัญหาการปฏิบัติงานบัญชีขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขต

หนองบัวลำภู. การค้นคว้าอิสระ บธ.ม. (การบริหารธุรกิจ).  เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สิริเกียรติ์ บุญวรเศรษฐ์.  (2547).  การจัดซื้อเชิงกลยุทธ์.  วารสาร logistics Thailand, 2(17), 50-52.

สุนันทา บุญญกิตติกุล.  (2547).  การศึกษาเปรียบเทียบระบบการจัดซื้อจัดจ้างแบบเดิมกับระบบ e-       Procurement.  สารนิพนธ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต.

อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2547).  การจัดซื้อ, ปรับปรุงครั้งที่ 4.  กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรุณ บริรักษ์.  (2550).  กรณีศึกษา: การบริหารงานจัดซื้อในประเทศไทย (พิมพ์ครั้งที่ 1).

กรุงเทพฯ :ไอทีแอล เทรด มีเดีย.

 

 

บทที่ 6

การบริหารงานจัดซื้อ

          ทุกองค์กรได้ให้ความสนใจ การบริหารจัดซื้อในเรื่องของการสั่งซื้อวัตถุ เพื่อการผลิต หรือการสั่งซื้อเพื่อการบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า การที่ทำให้ลูกค้าพอใจได้นั้น เกิดจากหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องกับฝ่ายจัดซื้อ ประกอบด้วย ผู้ใช้ ผู้ผลิต ผู้ขาย ผู้จำหน่ายและบัญชี ต้องประสานงานกันในเรื่องข้อมูลต่าง ๆ อันส่งผลให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ นอกจากนี้ 7Rs’ เป็นหัวใจสำคัญของการจัดซื้อที่ต้องคำนึง คุณภาพตรงความต้องการ (Right Quality) ปริมาณที่เหมาะสม/ต้องการ (Right Quantity) การส่งของได้ถูกสถานที่ (Right Place) ต้องมีการคำนึงถึงส่วนของการขนส่งหลายรูปแบบที่เหมาะสม การได้ในเวลาที่ต้องการ (Right Time) ตามความต้องการด้านการผลิตและตามความต้องการของลูกค้า การซื้อจากแหล่งเชื่อถือได้ (Right Source) ด้วยการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและมีการประเมินผู้ขายว่าไว้ใจได้อย่างไร ด้วยราคาที่ดีที่ยุติธรรม (Right Price) เรื่องราคาเป็นส่วนที่กระทำได้ยากที่สุด เนื่องจากนักจัดซื้อต้องการซื้อในราคาที่ถูกที่สุดต่อหน่วยหรือต่อปริมาณ แต่ไม่ได้คำนึงถึงมองภาพรวมของต้นทุนทั้งหมด และการส่งให้ลูกค้าที่ถูกต้อง (Right Service/Customer) เป็นส่วนปลายทางที่มีผลต่อการจัดซื้อที่จะทำให้ลูกค้าประทับใจด้วยการส่งให้ถูกต้อง  และต้องไม่ลืมว่านักจัดซื้อต้องให้ความสำคัญทั้งลูกค้าภายในและภายนอก

 

บรรณานุกรม

เชี่ยวชาญ ชำนาญการ.  (2551).  ทำอย่างไรจึงจะลดต้นทุนได้อย่างยั่งยืน.  เอกสารการเรียนรู้เคล็ด

ลับการจัดซื้อสืบค้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2557 (www.thai.org/amc) สืบค้นเมื่อวันที่ 25            เมษายน 2557.

บูรณะศักดิ์ มาดหมาย.  (2552).  ซัพพลายเชนในกระบวนการเติมเต็มสินค้าคงเหลือให้เพียงพอ ตลอดเวลา.  ไทยแลนด์อินดัสตรี้ดอทคอม.

นงลักษณ์ บุญสุข.  (2557).  ผู้ที่เกี่ยวข้องในงานจัดซื้อ.  สืบค้นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2559.  จาก

http:///factoryguide.com.

พรธิภา องค์คุณารักษ์.  (2553).  การจัดการโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมเกษตรเบื้องต้น.  กรุงเทพฯ:

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุชาติ ศุภมงคล.  (2552).  Lean Organization by reduced Inventory Cost.

ThailandIndustry.com

สุชาติ ศุภมงคล.  (2009).  การหาค่าของการสั่งซื้อ (Cost of Order).  ไทยแลนด์อินดัสตรี้ดอทคอ

หทัยวรรณ ทวีเมือง.  การจัดซื้อ.  สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2559.  จาก       http://thawimuang.blogspot.com/2008/09/blog-post_9821.html.
Alen Rushton, John Oxley, PhillCrocher.  (2000).  The Handbook of Logistics and Distribution

Arjan J. Van Weele.  (2005).  Purchasing& Supply Chain Management: Analysis Strategy,          Planning and Practice. 4thed.  London: Thomson Learning.

Daniel Hultreng. (2014).  The B2B Pricing & Sales Blog.  สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2559.

จาก http:///www.pricingleadership.com

Deming, Juran, Crosby, Feigenbaum, Ishikawa.  (2010).  A reflection of different TQM Approaches: Deming, Juran, Crosby, Feigenbaum, and Ishikawa. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2558.  จาก http:///www.twostepaheadtoday.com.

Michiel R Leenders, and others.  (2006).  Purchasing and Supply Management with 50 Supply           Chain Cases. 13th ed. Singapore: McGraw-Hill.

 

บทที่ 7

คุณภาพของวัตถุดิบสินค้าและบริการ

          นักจัดซื้อต้องให้สำคัญ คุณภาพของวัตถุดิบ สินค้า และบริการ องค์ประกอบของคุณภาพที่ดีคือ มีข้อกำหนดของสเปค (Conform to Spec.) และความเหมาะสมต่อวัตถุประสงค์ (Fit for Purpose) บทบาทของฝ่ายจัดซื้อในการออกข้อกำหนด ต้องได้รับความร่วมมือกับผู้ใช้ทุกแผนกขององค์กร  การใช้เครื่องมือ เทคนิค วิธีปฏิบัติสำหรับนักจัดซื้อในโซ่อุปทาน ที่มิได้มองเฉพาะแค่ในองค์กรแต่ต้องมองในภาพรวมทั้งภายในและภายนอกที่มีผลต่อการดำเนินงานของโซ่อุปทาน เช่น การจัดการเรื่อง การใช้เงินในการจัดซื้อ (Spend Analysis) และการใช้ กฎ 20/80 และการประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ ABC เพื่อรับทราบการใช้เงินของกลุ่มจัดซื้อและการบริการจัดการ ตามกลุ่มงบประมาณของแต่ละซัพพลายเออร์ รวมถึงการเขียนข้อกำหนดของการบริการที่ยากต่อการเขียนเพราะที่ไม่สามารถระบุเป็นตัวเลขได้ เพราะอาศัยความรู้สึกของผู้ใช้และลูกค้า ประเภทของการให้บริการจำแนกตามความสำคัญของการบริการในฐานะที่เป็นผลิตภัณฑ์ของหน่วยงาน และตามระดับความคาดหวังของผู้รับบริการ

 

บรรณานุกรม

กิตติกร โชติสกุลรัตน์. (2550).  การศึกษาและการจัดการข้อมูลรายจ่าย (Spend Analysis) วารสาร

อิเล็กทรอนิกส์ ฉบับที่ 41 ประจำเดือน กุมภาพันธ์ www.pantavanij.com.

รวีวรรณ โปรยรุ่งโรจน์. (2551).  จิตวิทยาการบริการ. กรุงเทพฯ :โอเดียนสโตร์, หน้า 15-18.

สมวงศ์ พงศ์สถาพร. (2550). เคล็ดไม่ลับการตลาดบริการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:ยูบีซีแอลบุ๊คส์        Prepareto principles: http://iamia.wordpress.com.

Gelderman, C. J., & Van Weele, A. J. (2003).  Handling measurement issuesand strategic

            directions in Kraljic’s purchasing portfolio model. Journal of purchasing and supply          management, 9(5), 207-216.

Juran J.M.  (1998).  Juran’sQuality.  Handbook: McGraw Hill.

Kraljic, P. (1983). Purchasing must become supply management. Harvard business review, 61(5), 109-117.

Kotler, P., &Aderson, A.R. (1987).  Strategic Marketing of Behavior: A Meta Analysis of the            Empirical Literature.  “ Personally and Social Psychology Bulletin 21 (No. 1, January)

Render B, Stair Jr R, Hanna M.E.  (2015). Quantitative Analysis for Management (12/E).

Prentice Hall.

Zeithaml, V.A. Parasuraman, &Berry. (1985).  Problem and Strategic in Service Marketing. Journal of Marketing 49 (6) ,12 – 14.

 

บทที่ 8

ความสัมพันธ์ระหว่างจัดซื้อกับซัพพลายเออร์

          การบริหารความสัมพันธ์ซัพพลายเออร์ (Supplier Relationship Management) ที่ผู้บริหารต้องให้ความสนใจเพราะเป็นการสร้างความมั่นใจและร่วมมือการทำงานระหว่างองค์กรและคู่ค้า ในดำเนินการด้วยความราบรื่น แต่การสร้างความสัมพันธ์นั้นจะขาดไม่ได้คือ ต้องมีการจัดกลุ่มพัสดุ สินค้า บริการ (Supply Position Model) เพื่อได้กำหนดแนวทางในการปฏิบัติงานของแต่ละกลุ่มการทำงานได้อย่างเหมาะสม ในขณะเดียวกันยังต้องเข้าใจระดับความน่าสนใจในสายตาของซัพพลายเออร์ (Supply Perception Model) ที่พิจารณาถึงองค์กรฯ จัดซื้อในด้านชื่อเสียง ขนาดของบริษัท การสั่งซื้อสม่ำเสมอ การชำระเงินด้วยความยุติธรรม ฯลฯ นอกจากนั้น ระดับความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรจัดซื้อกับซัพพลายเออร์ที่ต้องพิจารณาเข้าใจ และการพัฒนาซัพพลายเออร์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกองค์กร

 

บรรณานุกรม

เชี่ยวชาญ รัตนามนัทธนะ.  (2557).  เจาะลึกกลุยทธ์ของนักจัดซื้อมืออาชีพ.  เอกสารประกอบการ

บรรยาย ในวันที่ 12 กันยายน 2557.  ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น 15 โรงแรมเมเปิล บางนา.

ไชยยศ ไชยมั่นคง.  (2556).  กลยุทธ์โลจิสติกส์และซัพพลายเชนเพื่อการแข่งขันในตลาดโลก.

(พิมพ์ครั้งที่ 7).  นนทบุรี: ดวงกมลสมัย.

ชนิดา พงษ์พานารัตน์.  (2554).  การพัฒนาและทดสอบความตรงของตัวชี้วัดกระบวนการบริหาร

ซัพพลายเชนในอุตสาหกรรมบริการ.  สถาบันวิจัยและคำให้ปรึกษา

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ธนัญญา วสุศรี.  (2550).  การจัดการโซ่อุปทาน กรณีศึกษาปฏิบัติการภาคธุรกิจ.  Logistics Book.

กรุงเทพฯ: น. 80.

ธนิต โสรัตน์.  (2550).  การประยุกต์ใช้โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน.  กรุงเทพ: ประชุมทอง พริ้นติ้ง

กรุ๊ป.

วีรวิชญ์ เลิศไทยตระกูล.  (2553).  Supplier Relationship Management.เอกสารประกอบการสอน

สถาบันไทย-เยอรมัน www.east.spu.ac.th/business/depart…/Open_knowledge_count.php?

อดุลย์ จาตุรงคกุล.  (2552).  การจัดซื้อ.  กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Bernard Burnes & Barrie Dale.  (1998).  Working in Partnership.  Sloan Management Review         Summer.

Fitzgerald, Kevin R.,  (2000).  Purchasing Occupies Key Position in Supply Chain, Supply

            Chain   Yearbook 2000. Cahners: New York.

Kraljic, P. (1983).  Purchasngmus become supply management.  Harvard Business Review.

Tennyson, R. & Wilde L.  (2000). The guiding hand: brokering partnerships for sustainable        development (ed. S. McManus).  United Nations Department of Public Information.

 

บทที่ 9

กลยุทธ์การจัดซื้อ

          ในการดำเนินต่างๆ ของการวางแผนกลยุทธ์จัดซื้อ ต้องทราบขั้นตอนการเนินการจัดซื้อเชิงกลยุทธ์ แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ การเตรียมความพร้อม ดำเนินการจัดซื้อเชิงกลยุทธ์ การประเมินผลและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เมื่อดำเนินการตามการวางแผนกลยุทธ์จัดซื้อแล้ว ต้องพิจารณาถึง กลยุทธ์จัดซื้อที่จะนำมาใช้  ประกอบด้วย กลยุทธ์เชิงปริมาณ กลยุทธ์เชิงต้นทุน และกลยุทธ์เชิงคุณภาพ การดำเนินกลยุทธ์ใดก็ตามขึ้นอยู่กับนโยบายขององค์กรและปัจจัยที่เกื้อหนุนการดำเนินการ เพราะกลยุทธ์ที่นำประยุกต์มีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน จะมีประโยชน์ต่อการบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ แต่ไม่สามารถกล่าวว่าประยุกต์ใช้กลยุทธ์ใดที่ดีที่สุด และที่สำคัญการวางแผนกลยุทธ์ที่ดีนั้น ต้องทราบถึงกลยุทธ์ด้านราคาของผู้ขายเพื่อเตรียมความพร้อมทั้งการวางแผนกลยุทธ์การจัดซื้อและกลยุทธ์ด้านราคาขายของซัพพลายเออร์

 

บรรณานุกรม

โทมัส, ที. เอ็น.  (2551).  กลยุทธ์การตั้งราคา [The Strategy and Tactics of Pricing]

(สุวินัย ต่อศิริสุข, ผู้แปลและเรียบเรียง).  กรุงเทพฯ: :ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ธวัชชัย มงคลสกลฤทธิ์.  (2550).  คัมภีร์การตั้งราคาสินค้า: Power pricing.

กรุงเทพฯ: ไอ เอ็ม บุ๊คส์.

ธิดา ชีวศรีพฤฒา.  (2548).  การเพิ่มประสิทธิภาพองค์กรด้วยการจ้างงานภายนอก กรณีศึกษาเทศโก้ โลตัส

ภาคนิพนธ์ (ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สุมนา  อยู่โพธิ์, 2538.  การจัดซื้อและบริหารพัสดุ.  กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์.

Pantavanij.  (2550).  วารสารอิเล็กทรอนิคส์. ฉบับที่ 44 ประจำเดือนพฤษภาคม 2550.  สืบค้น 21

มิถุนายน 2559.  จาก http://www.pantavanij.com.

อรุณ บริรักษ์.  (2550).  กรณีศึกษาการบริหารงานจัดซื้อ ในประเทศไทย.  เล่มที่ 2: 134-136

กรุงเทพฯ : ไอทีแอล เทรด มีเดีย.

Michael E. Porter.  (1985).  Competitive Advantage: Creating and Sustaining

Performer อ้างใน การจัดการเชิงกลยุทธ์กรณีศึกษา จาก ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ.

กรุงเทพฯ:ธรรมสาร ปี 2546.

Robert E. Speakman  & Michiel R. Leenders.  (2550).  Purchasing  Strategies

(1st ed.). McGraw-Hill.pp.

 

บทที่ 10

การเจรจาต่อรอง ข้อตกลงเกี่ยวกับกฎหมายและจรรยาบรรณของนักจัดซื้อ

                ในกระบวนการทำงานด้านการจัดซื้อ วิธีการซื้อ เป็นสิ่งสำคัญที่นักจัดซื้อต้องแสวงหาแหล่งขายที่สามารถตอบสนองความต้องการและได้ประโยชน์สูงสุด วิธีการจัดซื้อที่นิยมมากที่สุด คือ การเจรจาต่อรองรวมถึงเงื่อนไขต่าง ๆ กับผู้ขาย  และนักจัดซื้อต้องมีทักษะในการเจรจาต่อรองอย่างชาญฉลาดด้วยความเข้าใจหลักการ เพิ่มทักษะ และความมีเหตุผลการเจรจาต่อรอง ผู้เจรจาต่อรองต้องรู้จักการพูด การฟัง ต้องศึกษาข้อมูลทั้งสองฝ่ายให้มาก รู้ต่อรอง อย่ารีบร้อนหรือตัดสินใจเร็ว ไม่เปิดเผยความลับหรือจุดอ่อนของตนเอง มีความยืดหยุ่น มีข้อมูลหลายประเภท รวมทั้งมีพื้นฐานในเรื่องของกฎหมายลักษณะการซื้อขายหลักฐานเพื่อการฟ้องร้องบังคับคดีและเรื่องจรรยาบรรณในการซื้อขาย

 

บรรณานุกรม

กองบรรณธิการ.  (2553).  Winning Negotiation. กรุงเทพฯ: ไอ เอ็มบุ๊คส์.

กอบกาญจน์ วิเศษรัมย์.  (2556).  ทักษะเพื่อการสื่อสาร.  (พิมพ์ครั้งที่ 5).  กรุงเทพฯ:

โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.

เกียรติกศักดิ์ วัฒนศักดิ์.  (2553).  การเจรจาต่อรอง.  วารสารนักบริหาร 30 (1): 74-75. มหาวิทยาลัย

กรุงเทพ.

ขนบพันธุ์ เอี่ยมโอกาส.  (2543).  การจัดการบริการลูกค้า.  (พิมพ์ครั้งที่ 2).  กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ณัฏฐ์ชุดา วิจิตรจามรี.  (2558). การสื่อสารในองค์กร. (พิมพ์ครั้งที่ 3).  กรุงเทพฯ:   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ไพโรจน์ บาลัน.  (2549).  การเจรจาต่อรอง.  กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด.

สร้อยตระกูล อรรถมานะ.  (2541).  พฤติกรรมองค์การ: ทฤษฏีและการประยุกต์.  กรุงเทพฯ:    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. หน้า 201 -205.

วารุณี ผสมบุญ.  (2553).  การเจรจาต่อรองของหัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาลประจำการ

            โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ศรีบุรินทร์.  การศึกษาค้นคว้าอิสระ.  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิชัย ปิติเจริญธรรม.  (2548).  การเจรจาต่อรองทางธุรกิจ.  กรุงเทพฯ: วันเนส มีเดีย.

เคน ลองดอน.  (2551).  การเจรจาต่อรองทางธุรกิจ[Succeed of Negotiation].วรินดา อลอนโซ,

ผู้แปลและเรียบเรียง).  กรุงเทพฯ: กู๊ดมอร์นิ่ง.

AkanitSamitabindu.  (2558).  Essential Knowledge for Purchasing Professional #1.

Purchasing and Supply Chain Management Association of Thailand.

Prinkley, Robin L.  (1990).  Dimension of conflict frame: Disputant interpretations of

            conflict.  Journal of Applied Psychology, Vol 75(2), Apr 1990: 117.

 

สนใจติดต่อ

ผศ.นิตยา  มณีวงศ์  สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะวิทยาการจัดการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โทร.062-1985669