ชื่อผลงานทางวิชาการ : โครงการการพัฒนาการเรียนการสอน โดยใช้สังคมออนไลน์ Social Network

ประเภทผลงานทางวิชาการ : รายงานวิจัยชั้นเรียน

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2555

ข้อมูลเพิ่มเติม : สนับสนุนโดยสำนักบริหารโครงการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : สิงห์ สิงห์ขจร ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : เป็นการศึกษาวิจัย เรื่อง การพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Network) การพัฒนาการเรียนการสอนที่ดีมีคุณภาพ จำเป็นต้องศึกษาสภาพความเป็นจริงของผู้เรียน ศึกษาหลักสูตร เทคนิควิธีพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพในการดำรงชีวิต ในปัจจุบันสื่อสังคมออนไลน์มีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งปัน สถานที่อยู่ (Location) แบ่งปันภาพถ่าย แบ่งปันแรงบันดาลใจ แบ่งปันข้อมูลข่าวสารดีๆ ออกสู่สาธารณะ สื่อสังคมออนไลน์สามารถเข้าไปอยู่องค์กรเป็นพื้นที่ความคิด เสนอแนะ ความรู้ ประสบการณ์ใหม่ๆ ให้เกิดเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ได้และเรียนรู้ร่วมกันตลอดเวลา หลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เน้นการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ การประชาสัมพันธ์ วารสารศาสตร์ วิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ เน้นให้บัณฑิตมีทั้งความรู้ทางวิชาการและความสามารถทางปฏิบัติการ มีคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ

       การวิจัยชั้นเรียน (Classroom Action Research : CAR) เป็นนวัตกรรมการวิจัยเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษาในชั้นเรียนตามรูปแบบการวิจัยปฏิบัติ (Action Research) ด้วยแบบจำลองคุณภาพที่เรียกว่า การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนตามแบบจำลองคุณภาพที่เรียกว่า การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ตามแบบจำลองคุณภาพนั้น นำแนวคิดของการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง P – D – C – A กิจกรรมกลุ่มคุณภาพ 7QC Circle เครื่องมือคุณภาพ 7QC Tools และ 7QC Story มาขยายแนวคิดของการวิจัยปฏิบัติการ P – A – O – R และนำแบบจำลองที่พัฒนาขึ้นไปปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนจริงมาตรฐานด้านการปฏิบัติงานด้านการสอนในอนาคต เพราะการเรียนรู้ที่ดีมีประสิทธิภาพเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองและเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น ดังนั้นวิจัยชั้นเรียนจึงเป็นการพัฒนาการเรียนการสอนที่รับผิดชอบ จุดเน้นการวิจัยในชั้นเรียน คือ การแก้ปัญหาหรือพัฒนากระบวนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ เป็นการวิจัยที่ควบคู่กับการเรียนการสอน เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอน

       วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ผ่านการเรียนรู้โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์และไม่ใช้สื่อสังคมออนไลน์ และเสนอแนะผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนการสอนผ่านสื่อสังคมออนไลน์

       การวิจัยเป็นการพัฒนาการเรียนการสอนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดยครอบคลุมเนื้อหาในรายวิชาวิจัยนิเทศศาสตร์ของนักศึกษาโปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์

กรอบแนวคิดการวิจัย

สรุปสาระ / ผลการวิจัยเรื่องโครงการการพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Network) : เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ บทเรียนการสอนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ รายวิชาการวิจัยนิเทศศาสตร์ เริ่มตั้งแต่

       1. การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นการวิเคราะห์ลักษณะของนักศึกษา เพื่อเป็นการกำหนดรูปแบบการเรียนให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความสามารถพื้นฐานของนักศึกษาในการเรียนรู้ เนื้อหาในบทเรียน ก่อนที่จะทำการเรียนผ่านสื่อสังคมออนไลน์

       2. ขั้นการออกแบบบทเรียน (Design) นำจุดมุ่งหมายและคำอธิบายรายวิชามาวิเคราะห์เพื่อแบ่งหน่วยการเรียนรู้และวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถ ทัศนคติและประสบการณ์การเรียนรู้ หลังจากจบบทเรียน โดยการแบ่งหน่วยเรียนและกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของแต่ละหน่วยงานให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่นำเสนอ

       3. ขั้นการพัฒนาเนื้อหาลงบนสื่อสังคมออนไลน์เลือกโปรแกรมในการจัดทำบทเรียน โดยเลือกโปรแกรมที่เหมาะสมกับผู้เรียนเบื้องต้น ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการในการพัฒนาบทเรียนโดยใช้สื่อการสอน และโปรแกรมที่ใช้ คือ Facebook โดยการสร้างกลุ่ม (Groups) บนสื่อสังคมออนไลน์ เลือกใช้โปรแกรม Facebook ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มทดลองเข้าร่วมอยู่ในกลุ่มเพื่อนำเนื้อหาของรายวิชา การวิจัยนิเทศศาสตร์นำเสนอในกลุ่มพร้อมให้คำปรึกษาในการเรียนด้วย

       4. ขั้นการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์แบบทดสอบเป็นการนำวัตถุประสงค์ของแต่ละหน่วยการเรียนมากำหมดน้ำหนักพฤติกรรมย่อยที่จะใช้แบบทดสอบสำหรับพฤติกรรที่ใช้ในการวัดผลเพื่อวัดผลการเรียนรู้จากวิชาดังกล่าว ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ

       4.1 ด้านคุณธรรมจริยธรรม

       4.2 ด้านความรู้

       4.3 ด้านทักษะปัญญา

       4.4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

       4.5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

       สรุปผลวิจัย พบว่า

       การศึกษาเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ด้านคุณธรรมจริยธรรมของกลุ่มทดลองในบทเรียนการสอนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ใช้บทเรียนการสอนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ด้านคุณธรรมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

       การศึกษาเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ของกลุ่มทดลองใช้บทเรียนการสอนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ใช้บทเรียนการสอนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

       การศึกษาเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ ด้านทักษะปัญญาของกลุ่มทดลองใช้บทเรียนการสอนผ่านสื่อสังคมออนไลน์สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ใช้บทเรียนการสอนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะปัญญาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

       การศึกษาเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบของกลุ่มทดลองใช้บทเรียนการสอนผ่านสื่อสังคมออนไลน์สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ใช้บทเรียนการสอนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

       การศึกษาเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของกลุ่มทดลองใช้บทเรียนการสอนผ่านสื่อสังคมออนไลน์สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ใช่บทเรียนการสอนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ มีคะแนนสัมฤทธิ์ผลด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแตกต่างกันอย่างไรไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

       ข้อเสนอแนะของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนการสอนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ พบว่าต้องการให้พัฒนาบทเรียนให้เป็นรูปแบบวีดีโอในยูทูป (Youtube) และต้องการให้พัฒนาการเรียนการสอนบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เตอร์เน็ตด้วย

จุดเด่น / ความน่าสนใจของผลการวิจัยชั้นเรียน : พบว่าในส่วนของการอภิปรายผล ดังนี้

       ในส่วนของการศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ผ่านการเรียนรู้โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์นั้น ปัจจุบันนั้นการใช้สื่อการสอนหรือบทเรียนออนไลน์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นตามไปกับอัตราการขยายตัวอย่างรวดเร็วของการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วโลก ทั้งนี้เพราะข้อได้เปรียบของสื่ออินเตอร์เน็ตในการจัดหาสารสนเทศให้แก่ผู้เรียนในลักษณะสื่อประเภทอื่นๆ ไม่สามารถทำได้นั้นเอง

       นอกจากนี้ยังพบว่าความสามารถของเทคโนโลยีบนเครือข่ายในการแสดงสื่อประสม เช่น ข้อความ เสียง ภาพนิ่ง กราฟฟิค ภาพเคลื่อนไหวและความสะดวกในการแก้ไขและเปลี่ยนแปลงข้อมูลสารสนเทศให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ดังนั้นจะเห็นได้ว่าทางสังคมช่วยให้ผู้ใช้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีกว่า ซึ่งรวมทั้งบทเรียน แบบใช้ปัญหาเป็นหลักบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง E-Learning ที่สร้างขึ้นสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้

       ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านระบบคอมพิวเตอร์เอกเทศแบบประยุกต์รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือจะประกอบด้วยทักษะทางสังคม ทักษะกระบวนการคิด มีความรับผิดชอบและเกิดการพัฒนาตนเองตามหลักประชาธิปไตย ทำให้มีทักษะกระบวนการกลุ่มมีผลการสร้างสื่อประสมวีดีทัศน์นำมาใช้จัดกิจกรรมทางการเรียนการสอน โดยการออกแบบและพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้ที่สามารถใช้งานได้จริง โดยเฉพาะในระดับมัธยมศึกษา

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : จากผลการวิจัยเสนอแนะให้มีการพัฒนา การเรียนการสอนบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เครือข่ายทางสังคมบทบาทของเครือข่ายสาธารณะที่มีต่อการใช้ชีวิตของกลุ่มวัยรุ่น เนื่องจากรูปแบบและวิธีการใช้งานที่ดึงดูดใจ สามารถทำให้พบปะผู้คนจำนวนมาก เพื่อผลประโยชน์ทางใดทางหนึ่ง เช่น การสื่อสาร การแสวงหาคนรัก ฯลฯ เป็นต้น นอกจากนี้เวปไซต์ยังแสดงอัตลักษณ์ของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้ได้ หรือเขียนแสดงความคิดเห็น บันทึกประจำวัน ทำให้ผู้อื่นเข้ามาแสดงความคิดเห็นได้ จึงเปรียบเสมือนกิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นบนเครือข่ายส่งผลให้วัฒนธรรมการสื่อสารของวันรุ่นเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร