แบบฟอร์มสำหรับการนำเสนอบทสรุปผลงานทางวิชาการ
ชื่อผลงานทางวิชาการ : การพัฒนาสื่อแอนนิเมชั่น ๓ มิติ เรื่องโครงสร้างอะตอม สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป (The Development of ๓D Animation of Atomic Structure for Students of General Science)
ประเภทผลงานทางวิชาการ : วิจัยเพื่อพัฒนา
ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อมูลเพิ่มเติม : สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์การคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : นายจิตต์วิสุทธิ์ วิมุตติปัญญา และ นายธีรพัฒน์ จันษร ตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กลุ่มวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์
บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อแอนนิเมชั่น ๓ มิติ เรื่อง โครงสร้างอะตอม สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ ๓ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ จำนวน ๓๐ คน ด้วยวิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจ มีความยาก-ง่าย อยู่ระหว่าง ๐.๒๕ – ๐.๖๓ ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง ๐.๔๓ – ๐.๗๕ และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ ๐.๘๒ และแบบวัดความพึงพอใจ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ ๐.๘๗ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้การทดสอบค่าที่ (Dependent-Test)
ผลการวิจัย พบว่า ผลการเรียนรู้ด้วยการพัฒนาสื่อแอนนิเมชั่น ๓ มิติ เรื่องโครงสร้างอะตอม สำหรับนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไปพบว่าความรู้ความเข้าใจของนักศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
คำสำคัญ : อะตอม, แอนนิเมชั่น
สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : สภาพการจัดการศึกษา มีผลมาจากปัจจัยที่บ่งชี้คุณภาพการจัดการศึกษา จำเป็นต้องมีการพัฒนาและการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การพัฒนากระบวนการการเรียนรู้และการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะด้านการจัดหาสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อนำมาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน การจัดให้มีศูนย์สื่อหรือศูนย์วิชาการของสถานการศึกษา โดยเฉพาะการใช้สื่อและนวัตกรรมการสอนหลายวิธีจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนจะมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ตามความสามารถของแต่ละบุคคล สามารถใช้เรียนได้ทั้งแบบกลุ่มและรายบุคคล
แอนนิเมชั่น (Animation) ถือได้ว่าเป็นสื่อนวัตกรรมที่มีการพัฒนาด้วยเทคโนโลยีดิจิตอลที่ทันสมัยและอยู่ในความต้องการความสนใจของผู้ใช้มีเดีย ด้วยระบบการสร้างและเทคนิควิธีในรูปแบบภาพสามมิติสมจริงด้วย การทำให้ภาพนิ่งเกิดการเคลื่อนไหว ซึ่งทำให้มีความน่าสนใจมากขึ้นในเด็กและผู้ใหญ่และยังรวมถึงคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งมนุษย์เรามักเลือกที่จะมองรูปภาพหรืออะไรที่มีสีสันก่อนมองเนื้อหาเสมอ แอนนิเมชั่นนั้นได้เข้ามามีบทบาทกับงานหลายๆ ด้าน ซึ่งแต่ละองค์การ/หน่วยงานก็นำไปประยุกต์ใช้ในงานหลายๆ ประเภท และในการจัดทำสื่อการเรียนรู้การสอนก็ได้หันมาใช้งานแอนนิเมชั่นในการผลิตมากขึ้น งานด้านแอนนิเมชั่นจึงเป็นงานที่มีคุณค่าและต้องอาศัยความสามารถในการผลิตและไม่แปลกที่เราจะนำแอนนิเมชั่นมีมากมาย เช่น สามารถสื่อความหมายให้เข้าใจได้ง่าย ใช้แอนนิเมชั่นในการช่วยจดจำและดึงดูดความสนใจ แอนนิเมชั่นสามารถอธิบายเรื่องราวที่ซับซ้อน เข้าใจยากให้เราเข้าใจได้ง่ายขึ้นเพราะสื่อแอนนิเมชั่นมีความน่ารักสดใสในตัวของมันเองอยู่แล้ว มีทั้งภาพ เสียง เป็นองค์ประกอบหลัก โดยมีการใส่ตัวหนังสือเข้าไปเพื่อส่งเสริมทักษะ ทั้งด้านการฟัง การอ่านและการมองเห็นภาพไปพร้อมๆ กัน
ดังนั้นการพัฒนาสื่อแอนนิเมชั่น ๓ มิติ เรื่อง โครงสร้างอะตอม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารให้เกิดภาพอุดมคติและความรู้ ความเข้าใจยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้เรียนสูงขึ้นตลอดทั้งสามารถอธิบายและประยุกต์ความรู้ไปใช้ประกอบการทดลองและประดิษฐ์ที่จะเกี่ยวข้องกับการเรียนเรื่องโครงสร้างอะตอม โดยบูรณาการและเชื่อมโยงกับเนื้อหาอื่นได้อย่างมีความหมาย วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อพัฒนาสื่อแอนนิเมชั่น ๓ มิติ เรื่องโครงสร้างอะตอมเป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น (Pre-Experimental Design) ใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียว สอบก่อนสอบหลัง (One Group Pretest-posttest Design) ประชากรได้แก่ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ จำนวน ๓๐ คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงและใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดี่ยวทดสอบ ก่อน-หลัง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจ มีความยาก-ง่าย อยู่ระหว่าง ๐.๒๕ – ๐.๖๓ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง ๐.๔๓ – ๐.๗๕ และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ ๐.๘๒ และแบบวัดความพึงพอใจมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ ๐.๘๗ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้การทดสอบค่าที่ (Dependen T-Test) นำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการพัฒนาสื่อแอนนิเมชั่น ๓ มิติ เรื่องโครงสร้างอะตอมสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาจิตวิทยาศาสตร์ทั่วไป ไปทดลองใช้กับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ เริ่มต้นด้วยการออกแบบการจัดกิจกรรมตามรูปแบบ / จัดหา สื่อ วัสดุอุปกรณ์และแหล่งการเรียนรู้ หากประสิทธิภาพสร้างเครื่องมือวัดและประเมินพฤติกรรมในการเรียนรู้ดำเนินการจัดกิจกรรมตามขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ ๑ สร้างความพร้อมทางจิตใจด้วยการปฏิบัติสมาธิ
ขั้นที่ ๒ การแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
ขั้นที่ ๓ การอภิปราย
ขั้นที่ ๔ การเสริมแรง
ขั้นที่ ๕ วัดและประเมินผล
จุดเด่นของการวิจัยเรื่อง การพัฒนาสื่อแอนนิเมชั่น ๓ มิติ : เรื่องโครงสร้างอะตอมสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป สำหรับผลการจัดการเรียนรู้ด้วยการพัฒนาสื่อแอนนิเมชั่น ๓ มิติ ฯลฯ นี้ พบว่า ความรู้ความเข้าใจของนักศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
จากการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาสาขาฟิสิกส์ เปรียบเทียบปีการศึกษา ๒๕๕๖ และ ๒๕๕๗ คณะครุศาสตร์ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ๖๐ เปอร์เซ็นต์ ร้อยละ ๗๐ ของนักศึกษาที่เรียนวิชาแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเป็นปัญหาสำหรับนักศึกษาทุกปีที่มีการเรียนรู้ในเรื่องดังกล่าว ทำการวิเคราะห์สภาพปัจจัยที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่าสื่อมีผลสำคัญต่อการจัดการเรียนที่จะทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่เสมือนจริง ดังตาราง
ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การพัฒนาสื่อแอนนิเมชั่น ๓ มิติ เรื่องโครงสร้างอะตอม
*p<.05
ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อด้วยการพัฒนาสื่อแอนนิเมชั่น ๓ มิติ เรื่องโครงสร้างอะตอม พบว่าความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
การอภิปรายผล เป็นการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนได้เรียนรู้จากสื่อดิจิตอลที่สามารถเข้าใจและเกิดจินตนาการจากการเรียนรู้สิ่งที่มองไม่เห็นให้สามารถสื่ออกมาเป็นภาพและการเคลื่อนไหวได้
อื่นๆ ตามความเหมาะสม : จากผลการวิจัย สามารถนำข้อเสนอแนะจากผู้ดำเนินการวิจัย จะได้นำไปใช้ประกอบการศึกษาเกี่ยวกับการวิจัยการจัดการเรียนการสอน อาทิเช่น
๑. เนื่องจากผลการวิจัย การจัดการเรียนรู้ด้วยการพัฒนาสื่อแอนนิเมชั่น ๓ มิติ เรื่องโครงสร้างอะตอม ทำให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจที่มากขึ้นและยังสามารถอธิบายปรากฏการณ์อะตอมในแต่ละระดับขั้นพลังงานได้อย่างถูกต้องและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น มีนัยสำคัญทางสถิติ
๒. ควรมีการศึกษาความรู้พื้นฐานของผู้เรียนแต่ละคน ก่อนที่จะเรียนรู้โครงสร้างอะตอมเพื่อสามารถเชื่อมโยงความรู้และบรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้
๓. ควรมีการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ด้วยการพัฒนาสื่อแอนนิเมชั่น ๓ มิติ เรื่องโครงสร้างอะตอม เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและเสริมสร้างการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร