ปัญหาสังคม

Problems and Society

นางลักษณา เกยุราพันธ์


แบบฟอร์มสำหรับการนำเสนอบทสรุปผลงานทางวิชาการ

ชื่อผลงานทางวิชาการ : ปัญหาสังคม (Problems and Society)

ประเภทผลงานทางวิชาการ : หนังสือประกอบการเรียนการสอน ปัญหาสังคม

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2557

ข้อมูลเพิ่มเติม : สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : นางลักษณา เกยุราพันธ์ คณะครุศาสตร์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : หนังสือประกอบการเรียนการสอนวิชาปัญหาสังคมนี้ เป็นเนื้อหาที่เน้นปัญหาสังคมที่เกิดจากแนวคิดหรือทัศนคติจากความบกพร่องของสถาบันสังคม ในด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจและสังคม การศึกษาและวัฒนธรรม ปัญหาสังคมที่ส่งผลกระทบต่อสังคมทำให้หน่วยงานจำเป็นต้องให้ความร่วมมือเร่งแก้ปัญหาเพื่อลดความรุนแรง ดังนั้นการนำหนังสือเล่มนี้มาใช้ประกอบการเรียนการสอนจะทำให้ทราบถึงปฏิกิริยาที่แตกต่างกันของบุคคลเมื่อเกิดปัญหาก็จะส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : ปัญหาสังคมเป็นสถานการณ์ที่สมาชิกของสังคมไม่พึงปรารถนาหรือเห็นว่าจะเป็นอันตรายต่อสมาชิก ถ้าปล่อยทิ้งไว้และคนส่วนใหญ่พิจารณาแล้วว่าเป็นสภาวะที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นและเมื่อปัญหาเกิดขึ้นจำเป็นต้องให้ความร่วมมือกันในหมู่สมาชิกของสังคมที่จะช่วยกันขจัดการแก้ไขป้องกันและมีการแสดงออกในรูปแบบของการกระทำที่แตกต่าง สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาสังคม ได้แก่ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เกิดจากการเสียระเบียบทางสังคมและเกิดจากพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากบรรทัดฐานของสังคม

ปัญหาสังคมมี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ปัญหาสังคมอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีกับปัญหาเรื่องของพฤติกรรมการเบี่ยงเบนจากปกติและความไม่เป็นระเบียบในสังคม เมื่อเกิดปัญหาก็จะมีผลกระทบตามมา เช่น ผลเสียทางเศรษฐกิจ ผลเสียทางสังคมและผลที่เกิดแก่ผู้เกี่ยวข้องกับการสร้างปัญหาสังคม เช่น การเสื่อมเสียเกียรติยศ จากสาเหตุการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นทั้งในอดีตและปัจจุบันนั้น พบว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงเป็นอุตสาหกรรมการผลิต การเป็นเจ้าของธุรกิจ การอพยพเคลื่อนย้าย เมืองและสังคมอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ค่านิยมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีวิทยาการสมัยใหม่

วิธีการแก้ไขปัญหาทางสังคมมี 5 ประการ กล่าวคือ

1. ใช้ทฤษฎีเกี่ยวกับพยาธิทางสังคม จำเป็นต้องกำหนดโครงสร้างเพื่อพฤติกรรมหน้าที่ต่างๆ ในสังคม เช่น การผลิตสมาชิกใหม่แต่ละสถาบันต้องปรับตัวเข้าหากัน เช่น สถาบันครอบครัวต้องปฏิบัติตามโครงสร้าง 2. ทฤษฎีการเสียระเบียบหรือความไม่เป็นระเบียบทางสังคม เกิดจากการรวมตัวอย่างมีกฎเกณฑ์และแน่นอนตามที่สังคมคาดหวังให้สมาชิกปฏิบัติตามสังคมนั้นๆ 3. ทฤษฎีเกี่ยวกับความขัดแย้งในคุณค่า พฤติกรรมเบี่ยงเบนอาจเป็นเพียงสถานการณ์ที่ไม่สอดคล้องกับคุณค่าที่กลุ่มยึดถือ แก้ไขโดยการเห็นพ้องต้องกัน การต่อรองหรือการใช้อำนาจ หรือการทำตามที่ตนเห็นสมควร 4. ทฤษฎีพฤติกรรมเบี่ยงเบน ก่อให้เกิดการกระทำผิดมีผลกระทบต่อสังคมโดยตรง เช่น การลักขโมย

สังคมจึงควรให้โอกาสให้ผู้เรียน รู้ระเบียบวินัย ความประพฤติที่ดีงามเพื่อให้เป็นที่สังคมทั้งระบบสังคมยอมรับไม่เข้มงวดเกินไป เปิดโอกาสอันชอบธรรมและเป้าหมายต่างๆ อย่างทั่วถึงจนสามารถสำเร็จได้ และทฤษฎีตีตรา เชื่อว่าการกระทำใดจะเป็นการเบี่ยงเบนขึ้นอยู่กับสังคมที่บุคคลเป็นสมาชิก ดังนั้นควรมีวิธีการแก้ไขปัญหาและป้องกันได้ เช่น การอบรมสั่งสอนและถ่ายทอดวัฒนธรรม การลงโทษ การให้การศึกษา ใช้คำสอนทางศาสนา หน่วยงานแนะแนวและให้คำปรึกษา

หน่วยงานที่ตั้งขึ้นเพื่อบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคม การประกันสังคม การประชาสงเคราะห์ ครอบครัว และการใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับการแก้ปัญหามี 2 วิธีใหญ่ คือ การแก้ปัญหาแบบย่อย และการแก้ไขแบบเท่าทัน สำหรับการแก้ปัญหาสังคมตามแนวคิดทฤษฎี ประกอบด้วยแนวคิดทฤษฎีแนว  Consensus , แนวคิดทฤษฎีแนว Structural – Function , แนวคิดทฤษฎี Conflict , แนวคิดจากทฤษฎี Symbolic Interactionism และแนวคิดทฤษฎี Neoconservative

จุดเด่น / การนำไปใช้ประโยชน์ : พบว่าหนังสือปัญหาสังคมเล่มนี้มีจุดเด่นหลายประการ อาทิเช่น พฤติกรรมและความต้องการของวัยรุ่นขึ้นอยู่กับค่านิยม ซึ่งแต่ละคนยึดถือเป็นแนวปฏิบัติและยึดถือตามกระแสนิยมตอบสนองความต้องการของตัวเอง กลุ่มมีอิทธิพลเพราะต้องการยอมรับในสังคม ต้องการมั่นคงในชีวิต ต้องการเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ

ประโยชน์ / คุณค่าของหนังสือ : มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ผลิตบัณฑิตที่เป็นวัยรุ่นตอนกลางและวัยผู้ใหญ่ จึงมีพฤติกรรมต้องการความรัก ต้องการความสนุกสนาน ต้องการความเป็นอิสระ ต้องการได้รับการยกย่อง มีความสนใจในเรื่องเพศและเพื่อนต่างเพศ ต้องการรวมกลุ่ม ต้องการยอมรับจากผู้ใหญ่ ต้องการแบบอย่างที่ดี ต้องการประสบการณ์ใหม่ๆ ความรู้สึกรุนแรง ต้องการมีอนาคตและต้องการความปลอดภัยและความมั่นคง ดังนั้นคณาจารย์และผู้บริหารมหาวิทยาลัยทุกระดับ ต้องให้ความสำคัญวัยรุ่น เพราะมหาวิทยาลัยมีบทบาทพัฒนาทัศนคติและพฤติกรรม ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่นโดยตรง สิ่งที่คณาจารย์ต้องรีบดำเนินการ ควรให้การยอมรับความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล เปิดโอกาสให้เข้ากลุ่มพบปะสังสรรค์ สอนเรื่องเพศตามความเป็นจริงให้เป็นเรื่องธรรมดา ให้คำแนะนำที่ถูกต้องให้เสรีภาพตามความเหมาะสม ให้รู้จักใช้สิทธิและหน้าที่สร้างความซื่อสัตย์ สร้างระเบียบวินัย การเป็นแบบอย่างที่ดี ปลูกฝังการช่วยเหลือตนเอง ส่งเสริมให้ใช้สติปัญญาและสอนให้รู้จักหลักการประหยัด

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : มหาวิทยาลัยควรจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเน้นด้านป้องกันแก้ไขปัญหาเด็กวัยรุ่นในการกระทำผิด จัดทำค่ายเรียนรู้จากครอบครัวสู่มหาวิทยาลัย เปิดโอกาสให้ครอบครัวมาเข้าร่วมกิจกรรมกับนิสิตนักศึกษาในค่ายนั้นๆ เพราะสถาบันครอบครัวมีการใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา การให้กำลังใจ การใกล้ชิดวัยรุ่นอาจจะช่วยลดปัญหาความขัดแย้งเบื้องต้นของวัยรุ่นได้ระดับหนึ่ง

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร