บทที่ 1 บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

          เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทกับ       การดำเนินชีวิตทุกด้านของคนในสังคม ด้วยคุณสมบัติในการจัดเก็บข้อมูลความสามารถใน   การประมวลผลข้อมูลต่างๆได้รวดเร็วเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตยังมีบทบาทสำคัญในการติดต่อสื่อสารได้ทุกที่ทุกเวลา การจัดการศึกษาจึงได้มีการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อลดปัญหาต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการเรียนเรียนรู้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา ซึ่ง ทำให้มีการพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่ทำให้สามารถติดต่อสื่อสารเชื่อมโยงกันได้ตลอดเวลา ปัจจุบันได้มีการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ วีดีทัศน์หนังสืออิเล็กทรอนิกส์บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction: CAI) หรือเว็บช่วยสอน (Web Based Instruction: WBI) ซึ่งการพัฒนาสื่อเหล่านี้เป็นการส่งเสริมการเรียนเอกัตบุคคล ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าได้ตลอดเวลา เป็นการเพิ่มโอกาสทางการเรียนรู้ (ฐิตาภรณ์ นิลวรรณ, 2546, น.1) คอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้ถูกพัฒนามาใช้ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Web based Instruction) จัดว่าเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทหนึ่งที่นำเสนอองค์ความรู้อย่างเป็นระบบและเป็นขั้นตอนตามหลักการเรียนรู้ วงการศึกษาได้ให้ความสนใจและตื่นตัวในการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นอย่างมาก  เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถตอบสนองการเรียนรู้ในลักษณะต่างๆ ตามความสามารถโดยเน้นความแตกต่างของผู้เรียนเป็นหลัก อัตราการใช้งานของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจึงมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในยุคสารสนเทศที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์, 2538, น.1)

          กระทรวงศึกษาธิการได้ตระหนักถึงความสำคัญของคอมพิวเตอร์ซึ่งมีบทบาทมากขึ้นในชีวิตประจำวันจึงมีนโยบายในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในโรงเรียนในลักษณะต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้จัดวิชาคอมพิวเตอร์ให้เด็กไทยได้เรียนตั้งแต่ชั้นก่อนประถมศึกษาจนถึงชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 และเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาเพื่อให้เด็กไทยได้มีโอกาสใช้คอมพิวเตอร์ได้ตามเป้าหมายของหลักสูตรที่กำหนดไว้ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2553)

          นักการศึกษาได้ให้ความสนใจ พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นอย่างมากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะอยู่ในรูปแบบของมัลติมีเดียคือ มีภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ข้อความ เสียงและมีการปฏิสัมพันธ์ทำให้ผู้เรียนมีความสนใจกระตุ้นให้นักเรียนอยากที่จะเรียนรู้มากขึ้น นักเรียนก็จะจดจำได้ง่ายขึ้น ซึ่งในปัจจุบันเด็กนักเรียนจะอยู่กับคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่อีกอย่างหนึ่งคือนักเรียนสามารถที่จะเข้ามาเรียนได้ในเวลาใดก็ได้ทำให้สะดวกมากขึ้น หากไม่ได้มาเรียนในชั่วโมงเรียนก็สามารถที่จะศึกษาเนื้อหาเองได้ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นการนำเข้ามาช่วยในการเรียนการสอนที่คาดว่าจะช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการสอนได้เพราะสามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในลักษณะของบทเรียนโปรแกรมใช้เป็นสื่อทบทวนบทเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบนำเสนอเนื้อหาในระบบสื่อหลายแบบจะมีองค์ประกอบของการเรียนรู้ที่ดีดังนั้น คอมพิวเตอร์เป็นสื่อที่สามารถตอบสนองได้เป็นอย่างดีต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลเพราะผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความสามารถของแต่ละบุคคลในเรื่องที่ยังไม่เข้าใจนักเรียนสามารถฝึกซ้ำได้จนกว่าจะผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้

          อีเลิร์นนิ่ง e-Learning คือ การเรียนในลักษณะใดก็ได้ซึ่งใช้การถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์เครือข่ายอินเทอร์เน็ตอินทราเน็ตเอ็กซ์ทราเน็ตทางสัญญาณโทรทัศน์หรือสัญญาณดาวเทียม (Satellite) ก็ได้ ซึ่งเนื้อหาสารสนเทศอาจอยู่ในรูปแบบการเรียน เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนการสอนบนเว็บการเรียนออนไลน์และการเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น การเรียนการสอนในปัจจุบันเป็นการจัดการศึกษาเพื่อเน้นให้ผู้เรียนได้มีอิสระในการแสวงหาความรู้โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์และผู้สอนสามารถนำองค์ความรู้ต่างๆ มาพัฒนาบทเรียนออนไลน์ที่ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าได้ตลอดเวลา ไม่จำกัดเรื่องเวลาสถานที่หรือระยะทาง บทเรียนคอมพิวเตอร์ออนไลน์จึงจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนของผู้เรียนอย่างมาก (มนต์ชัย เทียนทอง, 2545) 

          ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มนุษย์มีความผูกพันกับการภาพถ่ายและมีการตกแต่งภาพที่ถ่ายด้วยเทคนิคพิเศษต่างๆ ที่อยู่ในสตูดิโอ ตกแต่งภาพให้ได้ตามต้องการ เช่น การทำภาพขาว-ขอบดำ การซ้อนภาพ การตัดต่อภาพเป็นต้น ซึ่งขั้นตอนการสร้างงานแต่ละครั้งยุ่งยากใช้เวลานานความต้องการในสิ่งต่างๆ ของมนุษย์ไม่มีที่สิ้นสุด จึงเกิดการพัฒนาด้านการตกแต่งภาพด้วยคอมพิวเตอร์ขึ้น ลดขั้นตอนในการใช้เวลาการสร้างงานที่ไม่ยุ่งยากและใช้เวลานาน วิธีดังกล่าวคือ การสร้างงานด้วยโปรแกรมPhotoshop ปัจจุบันได้พัฒนาความสามารถขึ้นเรื่อยๆ ถึงเวอร์ชั่น CC 2014 ซึ่งมีประสิทธิภาพการใช้สำหรับตกแต่งภาพถ่ายและภาพกราฟิก ไม่ว่าจะเป็นงานด้านสิ่งพิมพ์ นิตยสาร และงานด้านมัลติมีเดีย อีกทั้งยังสามารถ Retouching ตกแต่งภาพและการสร้างภาพ การใส่ Effect ต่างๆ ให้กับภาพและตัวหนังสือ การทำภาพขาวดำ การทำภาพถ่ายเป็นภาพเขียน ภาพซ้อน เปลี่ยนสี สร้างภาพเกินความเป็นจริง และอื่นๆ ซึ่งนับว่าเป็นโปรแกรมหนึ่งที่มีความสามารถดีมากและปัจจุบันนิยมกันอย่างแพร่หลาย

          การจัดการเรียนรู้ โปรแกรม Photoshop ในชั้นเรียน การศึกษาจากวีดีโอ การศึกษาจากหนังสือ แต่การศึกษาปัญหาในการสอนแต่ละแบบพบว่ายังมีปัญหาอยู่มาก ปัญหาต่างๆ ที่พบ คือ โปรแกรม Photoshop  มีเนื้อหา สลับซับซ้อนยากต่อการเข้าใจ ต้องใช้เวลานานในการเรียนรู้ วิธีการใช้โปรแกรมได้อย่างถูกต้องภายในเวลาอันรวดเร็ว ในการลำดับเนื้อหาที่สอนโดยครูผู้สอนนั้นไม่สามารถกระทำได้อย่างสม่ำเสมอบางครั้งสลับขั้นตอน แต่ถ้านำมาเสนอด้วยวีดีโอก็ต้องใช้อุปกรณ์เพิ่มขึ้นจากการใช้คอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียว  เช่น โปรเจ็คเตอร์ เครื่องขยายเสียงทำให้จำนวนอุปกรณ์เพิ่มขึ้นยากต่อการดูแลรักษา ส่วนการนำเสนอในหนังสือนั้น ซึ่งการทำความเข้าใจในเนื้อหาแต่ละส่วนเข้าใจยาก และใช้เวลานาน และขาดสิ่งเร้าต่างๆ ซึ่งเป็นการนำเสนอทางเดียวไม่มีการตอบสนองระหว่างบทเรียนคอมพิวเตอร์กับนักเรียนและการเรียนเนื้อหาแต่ละเรื่องไม่สามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความล่าช้าในการใช้งาน ที่สำคัญวิธีการนำเสนอที่ผ่านมาทั้งหมด มุ่งให้นักเรียนเกิดความรู้และความทรงจำเท่านั้น แต่ขาดกระบวนการนำเสนอเพื่อฝึกทักษะของนักเรียน (ยุทธศักดิ์ สัณฑมาศ, 2543, น.1) เหล่านี้เป็นปัญหาที่ผู้ทำวิจัยคิดว่าเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพที่ควรได้รับการแก้ไข ทางเลือกหนึ่งที่ผู้ทำวิจัยคิดว่าน่าจะแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ดีคือการนำเนื้อหาต้องการให้นักเรียนได้ศึกษาในโปรแกรม Photoshop มาพัฒนาในเว็บช่วยสอน เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งจะได้สื่อที่มีการการตอบสนองระหว่างนักเรียนกับบทเรียนและสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองช่วยให้นักเรียนทบทวนเนื้อหาเพื่อความเข้าใจดียิ่งขึ้น ทั้งสิ่งเร้าให้นักเรียนเกิดความสนใจได้ตลอดเวลา ซึ่งสิ่งเร้านี้เป็นคุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ที่สามารถตอบสนองความต้องการได้เป็นอย่างดีและยังประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อหนังสือเรียนราคาแพงเพื่อที่จะได้เรียนรู้โปรแกรม Photoshop มีวิธีการเทคนิคเล็กๆน้อยๆ ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลืองจึงต้องการนำความรู้ในเรื่องโปรแกรม Photoshop มาเป็นบทเรียนเว็บช่วยสอน (WBI:Web Based Instruction)ผ่านบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้แก่ผู้ศึกษาค้นคว้า ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ผสมผสานกันอย่างเป็นระบบในการนำเสนอเนื้อหาความรู้และกิจกรรมในการเรียนการสอนต่างๆ อย่างมีแบบแผน โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลักในการจัดการบทเรียน การใช้เว็บช่วยสอนบางครั้งเรียนว่า (WBT:Web Based Training) สอนเน้นฝึกหัดโดยใช้คอมพิวเตอร์และการที่จะเรียนโปรแกรม Photoshop ซึ่งต้องเน้นการฝึกความสามารถจากการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดทักษะมากกว่าให้เกิดความรู้เพียงอย่างเดียว โดยจัดเตรียมอุปกรณ์พร้อมแบบทดสอบเพื่อให้นักเรียนฝึกปฏิบัติลำดับขั้นตอน

          การนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า WBI (Web Base Instruction) มาใช้เพื่อการเรียนการสอนถือเป็นนวัตกรรมของสื่อการเรียนการสอนอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เน้นให้นักศึกษาได้ศึกษาด้วยตนเองเป็นรายบุคคลจากบทเรียน ที่ใช้หลักการสร้างเหมือนกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction หรือ CAI) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยส่งเสริมการเรียนการทบทวนบทเรียน  การติดต่อสื่อสารใช้ในการจัดการศึกษาและการวัดผลประเมินผลเพื่อช่วยลดปัญหาในการจัดการเรียนรู้และช่วยกระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจและเข้าใจบทเรียนดีขึ้น เนื่องจากมีการปฏิสัมพันธ์โต้ตอบระหว่างตัวบทเรียนและตัวนักเรียนเอง โดยอาศัยเทคนิคในการนำเสนอแบบต่างๆ เช่น มัลติมีเดีย (Multimedia) ไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia) และไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แต่การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ดีและถูกต้องตามหลักการนั้นมิใช่เรื่องง่าย จะเห็นได้จากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตถูกพัฒนามากมายในปัจจุบันและส่วนมากมักมีความใกล้เคียงกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-book) มาก (มนต์ชัย เทียนทอง, 2545, น.74)บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะมีคุณสมบัติต่างๆ ที่ช่วยพัฒนาปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนแต่การทำงานยังเป็นแบบแยกกันทำงาน (Standalone) โดยการติดตั้งโปรแกรม 1 โปรแกรมต่อคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องทำให้สิ้นเปลืองเนื้อที่ในการจัดเก็บการดูแลรักษามีความยุ่งยากเสียเวลาจึงมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาทางด้านการเรียนการสอนที่มีหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ(Web-Based Instruction) มีชื่อเรียกหลายลักษณะ เช่น การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction) เว็บการเรียน (Web-Based Learning) เว็บฝึกอบรม (Web Based Training)อินเทอร์เน็ตฝึกอบรม (Internet-Based Training) อินเทอร์เน็ตช่วยสอน (Internet-Based Instruction) เวิลด์ไวด์เว็บฝึกอบรม (WWW-Based Training) และเวิลด์ไวด์เว็บช่วยสอน (WWW-Based Instruction) (สรรรัช ห่อไพศาล, 2545, ออนไลน์) เป็นการผสมผสานกันระหว่างเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนรู้และแก้ปัญหาในเรื่องข้อจำกัดทางด้านสถานที่และเวลาโดยการสอนบนเว็บจะประยุกต์ใช้คุณสมบัติและทรัพยากรของเวิลด์ไวด์เว็บในการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอนซึ่งการเรียนการสอนที่จัดขึ้นผ่านเว็บนี้อาจเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดของกระบวนการเรียนการสอนก็ได้เวิลด์ ไวด์ เว็บเป็นบริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบันเริ่มเข้ามาเป็น ที่รู้จักในวงการศึกษาในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.2538 ที่ผ่านมาเว็บได้เข้ามามีบทบาทสำคัญทางการศึกษาและกลายเป็นคลังแห่งความรู้ที่ไร้พรมแดนซึ่งผู้สอนได้ใช้เป็นทางเลือกใหม่ในการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเปิดประตูการศึกษาจากห้องเรียนไปสู่โลกแห่งการเรียนรู้อันกว้างใหญ่รวมทั้งการนำการศึกษาไปสู่ผู้ที่ขาดโอกาสด้วย ข้อจำกัดทางด้านเวลาและสถานที่ (ถนอมพร เลาหจรัสแสง, 2544, น.87-94)การเรียนรู้จากเว็บช่วยสอนจึงเป็นสื่อรูปแบบหนึ่งในการนำเสนอความรู้ในรายวิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก โดยโปรแกรม Photoshopในเรื่องของการใช้เครื่องมือและคำสั่ง เทคนิควิธีการต่างๆ โปรแกรม Photoshop เป็นที่นิยมและแพร่หลาย ในการนำมาใช้งาน ต่างๆทั้งในเรื่องของด้านการศึกษา ธุรกิจและ การทำสื่อ โฆษณา ซึ่งมีประโยชน์ต่อนักเรียนเป็นอย่างมาก ดังนั้นผู้วิจัยจึงสร้างเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี เพื่อประกอบกับการเรียนการสอนของรายวิชาการใช้โปรแกรมกราฟิกและเพื่อให้นักเรียนมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนได้นำมาพัฒนาความรู้ความสามารถให้กับนักเรียนในเรื่องของการใช้งานโปรแกรม Photoshop เบื้องต้น ซึ่งในสถานศึกษาส่วนใหญ่มีความพร้อมทางด้านเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่ยังขาดการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพตรงตามความต้องการในด้านการฝึกทักษะ โดยมุ่งหวังงานวิจัยนี้จะช่วยให้นักเรียนมีความสามารถด้านทักษะและนำไปปฏิบัติจริงบนโปรแกรม Photoshop ได้อย่างถูกต้องได้อย่างมีประสิทธิภาพในการทำงานของนักเรียน

วัตถุประสงค์การวิจัย

  1. เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรีให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์85/85
  2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี
  3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี

สมมติฐานของการวิจัย

  1. เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี    มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 85/85
  2. นักเรียนหลังที่เรียนโดยใช้เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี อยู่ในระดับมาก

ขอบเขตของการวิจัย

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจวิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการใช้โปรแกรมกราฟิกภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ทั้งหมด 4 ห้องเรียน จำนวน 150 คน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจวิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรีที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการใช้โปรแกรมกราฟิกภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีจับสลากโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม ได้ 1 ห้องเรียน จำนวน 38 คน

ตัวแปรที่ศึกษา

ตัวแปรอิสระ(Independent Variable) ได้แก่ เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก จำนวน 2 หน่วย

ตัวแปรตาม (Dependent Variable) ได้แก่

  1. ประสิทธิภาพเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี
  2. คะแนนผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี
  3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี

เนื้อหาวิชาที่ใช้ในการทดลอง

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดเนื้อหาในรายวิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก ที่ใช้ในเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI)เพื่อเป็นการทดลอง โดยเลือกเนื้อหาเรื่องการใช้งานโปรแกรมPhotoshop Cs3 เบื้องต้นโดยแบ่งเนื้อหาเป็น 2หน่วยการเรียนรู้ ได้ดังนี้

หน่วยที่ 10การปรับแต่งสีให้กับภาพ

  1. การปรับระดับสีด้วยคำสั่ง Level
  2. การปรับแต่งภาพด้วยคำสั่ง Curveและแก้ไขสีแบบอัตโนมัติด้วยคำสั่ง Auto
  3. การปรับความสมดุลของสีด้วยคำสั่ง Color Balance  
  4. การปรับสีของภาพให้สว่างด้วยคำสั่ง Brightness/ Contrast
  5. การปรับสีของภาพให้สดใสด้วยคำสั่ง Hue/Saturation
  6. การปรับเปลี่ยนโทนสีรูปภาพด้วยคำสั่ง Desiderateและคำสั่ง Match Color 
  7. การปรับระดับสีด้วยคำสั่งReplace Colorและคำสั่งSelective Color
  8. การผสมสีด้วยคำสั่ง Channel Mixer
  9. การปรับแต่งไล่โทนสีของภาพด้วยคำสั่ง Gradient Map และคำสั่ง Photo Filter
  10. การปรับแต่งแสงของภาพด้วยคำสั่ง Exposure และคำสั่ง Shadow/Hightlight
  11. การปรับสี แสงของภาพด้วยคำสั่ง Invert และคำสั่ง Equalize
  12. การปรับภาพด้วยคำสั่ง Threshold และคำสั่งPosterize
  13. การปรับสี ของภาพแบบหลายทางเลือกด้วยคำสั่ง Variations

หน่วยที่ 11การแก้ไขตกแต่งภาพ

  1. การปรับภาพให้เบลอและคมชัด
  2. การลบริ้วรอยบนใบหน้าด้วยคำสั่ง Clone Stamp Tool
  3. การลบริ้วรอยบนใบหน้าด้วยคำสั่ง Spot Healing  Brush Tool
  4. การลบริ้วรอยบนใบหน้าด้วยคำสั่ง Healing  Brush Tool
  5. การลบริ้วรอยบนใบหน้าด้วยคำสั่ง Patch Tool
  6. การแก้ไขภาพที่ดวงตามีสีแดงจากแสงแฟล็ชสะท้อน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เป็นแนวทางในการพัฒนาเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี จะเป็นประโยชน์สำหรับการให้ประกอบการสอนของอาจารย์และเพื่อให้นักเรียนใช้เรียนเสริมด้วยตนเองได้ด้วย ทั้งยังเป็นแนวทางการนำไปสู่การพัฒนาบทเรียนวิชาการใช้โปรแกรมกราฟิกมากยิ่งขึ้น
  2. เป็นแนวทางพัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่สามารถเข้าถึงเนื้อหาได้ทุกเวลาทุกสถานที่ในรูปแบบการเรียนการสอนใหม่ๆ ที่ทันสมัย
  3. ได้สื่อการเรียนการสอนที่สามารถโต้ตอบและมองเห็นด้วยภาพและเสียงของเนื้อหาในบทเรียนเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดียได้อย่างชัดเจนทำให้นักเรียนเกิดแรงจูงใจกับการเรียนวิชา การใช้โปรแกรมกราฟิก
  4. ส่งเสริมการเรียนรู้ให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองโดยไม่จำกัดเวลา และสถานที่ในการเรียนรู้อีกทั้งยังเป็นการสร้างความเท่าเทียมกันทางศึกษาและเป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษาอีกด้วย
  5. เป็นแหล่งความรู้ทางวิชาการให้แก่ บุคลากร คณาจารย์ นักศึกษาและผู้ที่สนใจทั่วไปได้ศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตนเอง และนำความรู้นี้ไปเป็นแหล่งอ้างอิง

นิยามศัพท์เฉพาะ

เว็บ(Web) หมายถึง การเผยแพร่ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตผ่านสื่อประเภทเว็บเพจ ซึ่งเป็น   หน้าใดๆ ของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดเก็บในรูปของภาษาเอชทีเอ็มแอล (HTML) หรือไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) ซึ่งภาพในเอกสารประกอบด้วยส่วนต่างๆ เช่น ตัวอักษร สื่อประสม การเชื่อมโยง เป็นต้น

เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย(MMWBI) หมายถึง เว็บช่วยสอนที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอนในวิชาการใช้โปรแกรมกราฟิกสำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพของนักเรียนชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจวิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยใช้เว็บบราวเซอร์เป็นตัวจัดการ

เครือข่ายอินเทอร์เน็ต หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่เป็นเครือข่ายใหญ่ และเครือข่ายย่อย จำนวนมากเชื่อมต่อกันเป็นจำนวนหลายร้อยล้านเครื่อง ซึ่งใช้ในการติดต่อสื่อสารข้อมูลที่เป็นรูปภาพข้อความ และเสียง โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้ใช้งานกระจายอยู่ทั่วโลก

Web Based Instruction:WBI หมายถึง ศึกษาค้นคว้า ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัย ผสมผสานกันอย่างเป็นระบบในการนำเสนอเนื้อหาความรู้ และกิจกรรมในการเรียนการสอนต่างๆ อย่างมีแบบแผน โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลักในการจัดการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

แบบทดสอบ หมายถึง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนครบทุกหน่วย

ประสิทธิภาพของการพัฒนาเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย หมายถึง ผลการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยผ่านบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่นักเรียนได้เรียนแล้วทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นโดยใช้เกณฑ์มาตรฐานไม่ต่ำกว่า 85/85

เกณฑ์มาตรฐาน หมายถึง คะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบการเรียนรู้มาตรฐานวัดความสามารถ ตั้งแต่ 85 คะแนนขึ้นไป

85 ตัวแรก หมายถึง ประสิทธิภาพของกระบวนการซึ่งได้จากคะแนนของนักเรียนเมื่อเรียนจากเว็บดังกล่าวแล้วทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียนได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 85

85 ตัวหลัง หมายถึง ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ซึ่งคะแนนของนักเรียนเมื่อเรียนจบจากเว็บดังกล่าวแล้วทำแบบทดสอบหลังเรียนได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 85

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนที่ได้จากการทดสอบทั้งก่อนและหลังการเรียนรู้ โดยใช้เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรีซึ่งประกอบด้วยข้อทดสอบ  จำนวน 50 ข้อ

ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกชอบพอใจของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ของนักเรียนชั้นปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้เว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก

กรอบแนวคิดในการวิจัย

ผู้วิจัยได้กำหนดกรอบแนวคิดในการพัฒนาเว็บช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย (MMWBI) วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรีได้ ดังนี้